อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ในหลวง ร.10 โปรดเกล้าฯ แบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 ทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์ ด้วยพระองค์เอง
วันที่ 11 มี.ค.62 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรับปรุงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานตราสัญลักษณ์พร้อมความหมาย เพื่อใช้ในการเผยแพร่งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
ในการนี้รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ ตามอาคารสถานที่ และบ้านเรือน เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน
มีความหมายสำคัญดังนี้
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ประกอบด้วย
1.อักษรพระปรมาภิไธย วปร อยู่ตรงกลาง พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร ตามความหมายแห่งพระนามมหาวชิราลงกรณ อักษร วปร อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์ ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบนพระแสงขรรค์ชัยศรีกับพระแส้จามรี ทอดไขว้อยู่เบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว้อยู่เบื้องซ้ายและฉลองพระบาทเชิงงอนอยู่เบื้องล่าง
2.พระมหาพิชัยมงกฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
3.พระแสงขรรค์ชัยศรี หมายถึง ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย
4.ธารพระกร หมายถึง ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง
5.พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์
6.ฉลองพระบาทเชิงงอน หมายถึง ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานพระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึง พระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ เบื้องล่างกรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียว ถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒" ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อนประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร 7ชั้นหมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลายกนกนาค แสดงถึง ปีมะโรง นักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ
7.สีทอง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน
ที่มา ; https://www.newtv.co.th/news/31292
สำหรับหลักเกณฑ์การเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ไปประดิษฐานหรือประดับในสิ่งของต่างๆมีดังนี้
1.ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ได้แก่ งานสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องงานพระราชพิธีฯ ประดับบนผืนธง ประดับบนซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนป้ายเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนโต๊ะหมู่บูชา ประดับตามอาคารสถานที่ บ้านเรือนและสถานที่ราชการ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและแสดงความจงรักภักดี ในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งในครั้งนี้ โดยประดับในห้วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563
2.ใช้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นการเชิญตราสัญลักษณ์ฯ มาประดิษฐานเป็นการถาวร ได้แก่ อาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีวัตถุประสงคผืเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสมหามงคลนี้ ประดับบนสิ่งของ เล่น เสื้อ และหมวก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติ
สิ่งที่ไม่อนุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ไปใช้ประดับ เช่น แก้วน้ำ ขวดแก้ว จาน ชาม ช้อน แจกัน เหยือกน้ำ (เนื่องจากเป็นของแตกสลายได้) กำไล จี้ กล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการอำนนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สำหรับหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือบริษัท ห้าง ร้าน ที่มีความประสงค์จะเชิญตราสัญลักษณ์ไปประดับหรือประดิษฐาน ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมแบบคำขอใช้ตราสัญลักษณ์ ไปที่คณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร 022834228 ถึง 9 โทรสาร 022834248 ถึง 9 ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (www.opm.go.th)
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นแบบตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562” ซึ่งสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการจัดทำเข็มที่ระลึกฯ เพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขึ้นแบบเข็มที่ระลึก
ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกฯ ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ในส่วนของเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำเสื้อต้นแบบ คาดว่าจะสามาาถจำหน่ายได้พร้อมกับเข็มที่ระลึกฯ ใสช่วงต้นเดือนเมษายน 2562 โดยในวันที่ 31 มีนาคม 2562 จะเปิดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปเป็นปฐมฤกษ์ จำนวนอย่างละ 20,000 ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์
วันที่ 11 มี.ค.62 เมื่อเวลา 15.00 น. ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานแถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 โดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรับปรุงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานตราสัญลักษณ์พร้อมความหมาย เพื่อใช้ในการเผยแพร่งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562
ในการนี้รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระฉายาลักษณ์ ตามอาคารสถานที่ และบ้านเรือน เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณโดยพร้อมเพรียงกัน
มีความหมายสำคัญดังนี้
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ประกอบด้วย
ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ประกอบด้วย
1.อักษรพระปรมาภิไธย วปร อยู่ตรงกลาง พื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชร ตามความหมายแห่งพระนามมหาวชิราลงกรณ อักษร วปร อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์ ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลม อันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบนพระแสงขรรค์ชัยศรีกับพระแส้จามรี ทอดไขว้อยู่เบื้องขวา ธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว้อยู่เบื้องซ้ายและฉลองพระบาทเชิงงอนอยู่เบื้องล่าง
2.พระมหาพิชัยมงกฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
3.พระแสงขรรค์ชัยศรี หมายถึง ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย
4.ธารพระกร หมายถึง ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง
5.พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์
6.ฉลองพระบาทเชิงงอน หมายถึง ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานพระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึง พระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ เบื้องล่างกรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียว ถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒" ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคชสีห์กายม่วงอ่อนประคองฉัตร 7 ชั้น หมายถึง ข้าราชการฝ่ายทหาร เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร 7ชั้นหมายถึง ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลายกนกนาค แสดงถึง ปีมะโรง นักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ
7.สีทอง หมายถึงความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน
ที่มา ; https://www.newtv.co.th/news/31292
สำหรับหลักเกณฑ์การเชิญตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ไปประดิษฐานหรือประดับในสิ่งของต่างๆมีดังนี้
1.ใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ โดยใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ได้แก่ งานสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องงานพระราชพิธีฯ ประดับบนผืนธง ประดับบนซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนป้ายเฉลิมพระเกียรติ ประดับบนโต๊ะหมู่บูชา ประดับตามอาคารสถานที่ บ้านเรือนและสถานที่ราชการ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองและแสดงความจงรักภักดี ในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งในครั้งนี้ โดยประดับในห้วงเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563
2.ใช้เพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเป็นการเชิญตราสัญลักษณ์ฯ มาประดิษฐานเป็นการถาวร ได้แก่ อาคารสิ่งปลูกสร้างที่มีวัตถุประสงคผืเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสมหามงคลนี้ ประดับบนสิ่งของ เล่น เสื้อ และหมวก เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความจงรักภักดีและเฉลิมพระเกียรติ
สิ่งที่ไม่อนุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์ไปใช้ประดับ เช่น แก้วน้ำ ขวดแก้ว จาน ชาม ช้อน แจกัน เหยือกน้ำ (เนื่องจากเป็นของแตกสลายได้) กำไล จี้ กล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยกเว้นสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการจัดพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ซึ่งดำเนินการโดยคณะกรรมการอำนนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
สำหรับหน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรม หรือบริษัท ห้าง ร้าน ที่มีความประสงค์จะเชิญตราสัญลักษณ์ไปประดับหรือประดิษฐาน ให้มีหนังสือแจ้งความประสงค์พร้อมแบบคำขอใช้ตราสัญลักษณ์ ไปที่คณะอนุกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทร 022834228 ถึง 9 โทรสาร 022834248 ถึง 9 ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม 2562 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (www.opm.go.th)
ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นแบบตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ.2562” ซึ่งสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการจัดทำเข็มที่ระลึกฯ เพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขึ้นแบบเข็มที่ระลึก
ทั้งนี้ รายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกฯ ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ในส่วนของเสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำเสื้อต้นแบบ คาดว่าจะสามาาถจำหน่ายได้พร้อมกับเข็มที่ระลึกฯ ใสช่วงต้นเดือนเมษายน 2562 โดยในวันที่ 31 มีนาคม 2562 จะเปิดจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปเป็นปฐมฤกษ์ จำนวนอย่างละ 20,000 ณ อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์
ที่มา ; เว็บhttps://news.mthai.com/general-news/714462.html
6 เมษายน ที่จะมีพลีกรรม ตักน้ำทุกจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
8-9 เมษายน จะมีพิธีปลุกเสกน้ำทุกจังหวัดพร้อมกัน
18-19 เมษายน จะเป็นการปลุกเสกน้ำรวมที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่ง ต้องเป็นน้ำสะอาด ต้องมีการพิสูจน์ คัดกรองอย่างดี บริสุทธิ์ และเป็นมงคล เพื่อใช้ในพระราชพิธี
และ 22-23 เมษายน จะเป็นพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ
เดือนพฤษภาคม
วันที่ 2 พฤษภาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จบวงสรวงด้วยพระองค์เอง
วันที่ 3 พฤษภาคม เชิญพระสุพรรณบัฏเข้าวัง ประกาศการบรมราชาภิเษก โดยจะมีคณะรัฐมนตรีร่วมด้วย
วันที่ 4 พฤษภาคม จะมีกิจกรรมตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงค่ำ ตั้งแต่การบรมราชาภิเษก การถวายพระพร ประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก สักการะพระบรมอัฐิ เฉลิมพระแท่นบรรจถรณ์
วันที่ 5 พฤษภาคม ช่วงเช้าจะเฉลิมพระปรมาภิไธย ขณะที่ช่วงเย็นเสด็จเลียบพระนคร
วันที่ 6 พฤษภาคม เสด็จออกให้ประชาชนและคณะทูตเข้าเฝ้า
ซึ่งคณะกรรมการจัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีมติให้วันที่ 6 พฤษภาคมเป็นวันหยุด เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยดี
ที่มา ; https://news.mthai.com/general-news/704510.html
ที่มา ; เว็บhttps://news.mthai.com/general-news/714462.html
6 เมษายน ที่จะมีพลีกรรม ตักน้ำทุกจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
8-9 เมษายน จะมีพิธีปลุกเสกน้ำทุกจังหวัดพร้อมกัน
18-19 เมษายน จะเป็นการปลุกเสกน้ำรวมที่วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่ง ต้องเป็นน้ำสะอาด ต้องมีการพิสูจน์ คัดกรองอย่างดี บริสุทธิ์ และเป็นมงคล เพื่อใช้ในพระราชพิธี
และ 22-23 เมษายน จะเป็นพิธีจารึกพระสุพรรณบัฏ
เดือนพฤษภาคม
วันที่ 2 พฤษภาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จบวงสรวงด้วยพระองค์เอง
วันที่ 3 พฤษภาคม เชิญพระสุพรรณบัฏเข้าวัง ประกาศการบรมราชาภิเษก โดยจะมีคณะรัฐมนตรีร่วมด้วย
วันที่ 4 พฤษภาคม จะมีกิจกรรมตั้งแต่ช่วงเช้าจนถึงช่วงค่ำ ตั้งแต่การบรมราชาภิเษก การถวายพระพร ประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภก สักการะพระบรมอัฐิ เฉลิมพระแท่นบรรจถรณ์
วันที่ 5 พฤษภาคม ช่วงเช้าจะเฉลิมพระปรมาภิไธย ขณะที่ช่วงเย็นเสด็จเลียบพระนคร
วันที่ 6 พฤษภาคม เสด็จออกให้ประชาชนและคณะทูตเข้าเฝ้า
ซึ่งคณะกรรมการจัดการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีมติให้วันที่ 6 พฤษภาคมเป็นวันหยุด เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปด้วยดี
ที่มา ; https://news.mthai.com/general-news/704510.html
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น