เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 7 มิถุนายน 2559
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (7 มิถุนายน
2559)
เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี
สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรา
ชั่งตวงวัด
พ.ศ. 2552 พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออก ใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน
รวม 5 ฉบับ
5. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553
รวม 3 ฉบับ
ออกไปอีก 2 ปี
6. เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาล
แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย
ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
ต่างประเทศ
7. เรื่อง การปรับปรุงความตกลงที่ใช้ก่อตั้งกองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์
(Common Fund for
Commodities : CFC)
8. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย
– ยูเครน
9. เรื่อง การถอนข้อสงวนข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
10. เรื่อง การเสนอตราสารขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
สมัยประชุมที่ 99-104
11. เรื่อง การมีผลบังคับใช้ของความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลาม อิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(Trade
Agreement between the Government of the Islamic
Republic of Iran and the Government of the Kingdom
of Thailand)
12. เรื่อง การเข้าร่วมงานนิทรรศการโลก Astana Expo
2017 ณ ประเทศสาธารณรัฐ คาซัคสถาน
แต่งตั้ง
13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
14. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงกีโต
สาธารณรัฐเอกวาดอร์
(กระทรวงการต่างประเทศ)
15. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
16. เรื่อง การรับโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ตำแหน่งที่ปรึกษา พิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบดังนี้
1.
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติภาษี
เงินได้ ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ของกระทรวงพลังงาน (พน.) ที่สำนักานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2.
รับทราบผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติภาษี
เงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งผลการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบด้วย
3.
ให้กระทรวงพลังงานศึกษาโครงสร้างขององค์กร
อำนาจหน้าที่ กลไกการใช้งบประมาณและ
บุคลากร
ผลกระทบ ข้อดี ข้อเสีย
และแนวทางในการดำเนินการของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ
และร่วมกับกระทรวงการคลัง ศึกษาผลกระทบ
ข้อดี ข้อเสีย และแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงกฎหมายตามข้อเสนอของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
รวม 2 ฉบับ ให้ละเอียดรอบคอบ
หากเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขในประเด็นใด ๆ
ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
ปิโตรเลียม
พ.ศ. 2514 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1
กำหนดเพิ่มทางเลือกในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมโดยนำระบบสัญญาแบ่งปัน
ผลผลิตมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม
1.2
กำหนดให้ผู้ใดที่จะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมต้องได้รับสัมปทานหรือได้รับสัญญาแบ่งปัน
ผลผลิต โดยการขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด
3/1 สัญญาแบ่งปันผลผลิต
1.3
กำหนดหน้าที่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นผู้นำส่งค่าภาคหลวง
โดยหักจากผลผลิตรวม
ของปิโตรเลียมในอัตราร้อยละสิบ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
1.4
เพิ่มหมวด 3/2
สัญญาจ้างสำรวจและผลิต
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญา
จ้างสำรวจและผลิต
กำหนดวิธีการในการนำระบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิตมาใช้
1.5
กำหนดหน้าที่ให้ส่วนราชการที่ได้เงินมาจากการขายหรือจำหน่ายผลผลิตปิโตรเลียมต้อง
นำมาจ่ายเป็นค่าภาคหลวงก่อนจะนำมาจ่ายค่าจ้างสำรวจและผลิตหรือค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ และหากยังมีเงินคงเหลือ
ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
โดยต้องจ่ายค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละสิบของผลผลิตปิโตรเลียมที่ผลิตได้
1.6
ยกเว้นให้ผู้รับสัมปทานไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย
เฉพาะกรณีก๊าซธรรมชาติที่ผลิตและใช้ไปในสภาพเดิมในราชอาณาจักร เพื่อการวิเคราะห์ ทดลอง ผลิต และอนุรักษ์ปิโตรเลียม
1.7
ยกเลิกการให้ชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราต่างประเทศได้
2.
ร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
พ.ศ. 2514 เพื่อกำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น
และกำหนดอัตราและหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ในระบบการทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
2. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด
พ.ศ. 2552 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด
พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด
พ.ศ. 2552 พ.ศ. ....
เป็นการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ
การออกใบอนุญาตให้ผู้ผลิตหรือผู้ซ่อมเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองการต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ การออกใบแทนใบอนุญาต
การตรวจสอบให้คำรับรอง สำหรับเครื่องชั่งตวงวัด
การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องชั่งตวงวัด
เพื่อให้เป็นไปตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557
และปรับปรุงระดับตำแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ไปตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดนอกสถานที่
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. ....
เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาต
เป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตาม
4. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน รวม 5 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน
(รง.) รวม 5 ฉบับที่
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วและให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงทั้ง
5 ฉบับ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ตามที่ กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
ดังนี้
1.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
2.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
3.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
4.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ.
.... และ
5. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัด กระทรวง กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงแรงงาน
พ.ศ. 2545
2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2545
3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2554
4. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2552
5. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2554
5. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชลบุรี
และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553 รวม 3 ฉบับ ออกไปอีก 2 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชลบุรี
และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553 รวม 3 ฉบับ ออกไปอีก 2 ปี นับจากวันที่ 31 กรกฎาคม
2559
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจร่างกฎหมายและร่าง
อนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของกระทรวงพลังงาน
และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้
1.
ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และชะอำ
จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2553
2.
ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2553
3.
ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553
(
ซึ่งจะหมดอายุการใช้บังคับในวันที่ 30 กรกฎาคม 2559 และขอขยายบังคับใช้ต่อไปอีก 2
ปี ) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ต่างประเทศ
6. เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม
(วธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาล
แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย
ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
3.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามในแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย
ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
4.
หากมีความจำเป็นสามารถปรับปรุงถ้อยคำของแผนปฏิบัติการฯ
ได้เท่าที่ไม่ขัดกับหลักการและสาระสำคัญที่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
ร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับอินเดียให้ขยายผลยิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
เนื่องจากเป็นลักษณะแผนงานที่กำหนดรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมด้านวัฒนธรรมที่จะดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา
4 ปี ครอบคลุมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนการเยือนและจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน
มุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันและมีศักยภาพ
และคล้ายคลึงกับแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ผ่านมา
อาทิ ด้านโบราณคดี การอนุรักษ์โบราณสถาน ศิลปวัตถุและศาสนสถาน
การจัดนิทรรศการด้านพุทธศาสนา โดยแต่ละฝ่ายจะจัดนิทรรศการ จำนวน 1 ครั้ง
การแลกเปลี่ยนการจัดการแสดงของคณะนาฏศิลป์ และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน
รวมทั้งความร่วมมือในสาขาทัศนศิลป์ จดหมายเหตุ หอสมุด สื่อสิ่งพิมพ์
หัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งทั้งสองฝ่าย
จะแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีชื่อเสียง จำนวนไม่เกิน 3 คน และการแปลงานวรรณกรรม
เป็นต้น
ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้งด้านวัฒนธรรม
และเป็นประโยชน์ต่อการขยายผลทางการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างสองฝ่ายต่อไป
แผนปฏิบัติการนี้มีข้อกำหนดที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันซึ่งประกอบด้วย
ข้อกำหนดทั่วไป เช่น
ภาคีคู่สัญญาจะมีสิทธิแลกเปลี่ยนกันใช้วัสดุอุปกรณ์ในสาขาสารสนเทศ วิทยุ
และโทรทัศน์ในรายการของตนและภาคีผู้รับจะต้องไม่มอบรายการดังกล่าวให้แก่ฝ่ายที่สาม
ภาคีผู้ส่งจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้เขียนและศิลปิน
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และข้อกำหนดด้านการเงิน เช่น
ในเรื่องการแลกเปลี่ยนนิทรรศการ ได้กำหนดให้ภาคี
ผู้ส่งจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งอุปกรณ์การจัดนิทรรศการจนถึงเมืองของประเทศผู้รับ
และภาคีผู้รับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งอุปกรณ์การจัดนิทรรศการไปยังสถานที่อื่น
ๆ ภายในประเทศผู้รับ รวมทั้ง
ภาคีผู้รับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการติดตั้งนิทรรศการ
การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์การจัดนิทรรศการและการเผยแพร่
รวมถึงการจัดเตรียมแคตตาล็อก แผ่นพับ
รวมถึงค่าใช้จ่ายในการประกันภัยตลอดระยะเวลาการ
จัดนิทรรศการในดินแดนตน เป็นต้น ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าว
จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ลงนาม และจะมีผล
ใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 และอาจต่ออายุอีกเป็นเวลา 3 ปี
ก่อนที่แผนปฏิบัติการฯ จะหมดอายุ
ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาร่วมและประเมินแผนปฏิบัติการนี้ก่อนการต่ออายุหรือสิ้นสุดแผนปฏิบัติการ
7. เรื่อง
การปรับปรุงความตกลงที่ใช้ก่อตั้งกองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ (Common Fund
for Commodities : CFC)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างความตกลงที่ใช้ก่อตั้งกองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ฉบับปรับปรุง
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ.
รายงานว่า
1.
กองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ (Common Fund
for Commodities: CFC) เป็นสถาบัน
รัฐบาลระหว่างประเทศด้านการเงิน ที่อยู่ภายใต้กรอบโครงสร้างองค์การสหประชาชาติ (United
National) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์
โดยมุ่งเน้นให้เงินทุนสนับสนุนแก่โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าโภคภัณฑ์
และการเข้าสู่ตลาดของประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด มีจำนวนสมาชิก 105 ประเทศ
(รวมประเทศไทย) และ 10 องค์กร
2.
ประเทศไทยในฐานะสมาชิก CFC
จะต้องให้การรับรองการแก้ไขความตกลงก่อตั้ง CFC โดย
แจ้งให้สำนักงานเลขาธิการ
CFC ทราบภายในเดือนมกราคม 2560 หากพ้นกำหนด จะถือว่าร่างความตกลงฯ
ฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
โดยร่างความตกลงฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการบูรณาการสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาภาคสินค้าโภคภัณฑ์
และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.
การแก้ไขปรับปรุงความตกลงฯ เป็นการปรับปรุงโครงสร้างของ CFC
เพื่อให้สามารดำเนินงานได้คล่องตัวยิ่งขึ้น
โดยลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน
ลดขนาดและภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
และไม่มีการแก้ไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย
8. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – ยูเครน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย –
ยูเครน
พร้อมทั้งร่างพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วย
บริการเดินอากาศระหว่างไทย
– ยูเครน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงดังกล่าว
2.
เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทยและยูเครนและอนุมัติให้กระทรวงการ
ต่างประเทศ
(กต.)
ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลบังคับใช้ของบันทึกความเข้าใจและพิธีสารแก้ไขความตกลงฯ
ระหว่างไทย – ยูเครน ต่อไป โดยให้ กต.
สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ
บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย
– ยูเครน ที่ลงนามเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย
ได้หารือร่วมกัน
สรุปได้
ดังนี้
1)
การปรับปรุงแก้ไขความตกลงฯ
(พิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ
ระหว่างไทย –
ยูเครน) มีการเพิ่มข้อบทต่าง ๆ ดังนี้
ข้อบท
รายละเอียดของบันทึกความเข้าใจ
1)
ความปลอดภัยการบิน
เพิ่มการตรวจสอบการปฏิบัติการบำรุงรักษาอากาศยานในลานจอด
ซึ่งมีสาระสำคัญและถ้อยคำเหมือนกับที่ฝ่ายไทยทำความตกลงกับยุโรป
2)
การกำหนดสายการบินและการอนุญาตดำเนินการ
แก้ไขสิทธิการกำหนดสายการบิน
โดยภาคีแต่ละฝ่ายสามารถแต่งตั้งสายการบินที่กำหนดได้ “หนึ่งหรือหลายสายการบิน”
3)
พิกัดอัตราค่าขนส่ง
ให้สายการบินสามารถกำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่งของตนเอง
และแจ้งพิกัดอัตราค่าขนส่งที่สายการบินกำหนดให้กับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจไม่ต้องทำการอนุมัติพิกัดอัตราค่าขนส่งดังกล่าว
4)
การปกป้องการแข่งขัน
กำหนดการกระทำของสายการบินบางประการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการทำลายกลไกการแข่งขันในตลาด หรือการกระทำที่เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดในทางมิชอบ
5)
การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน
ให้ใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
หรือสายการบินของประเทศที่สาม
2)
ใบพิกัดเส้นทางบิน
มีการแก้ไขใบพิกัดเส้นทางบินเป็นแบบเปิดเพื่อให้สายการบินที่
กำหนดของทั้งสองฝ่ายมีความยืดหยุ่นในการทำการบินและสามารถขยายเครือข่ายการบินได้อย่างเสรี
ดังนี้
ไทย
จุดต่าง ๆ ในไทย – จุดระหว่างทางใด ๆ
– จุดต่าง ๆ ในยูเครน – จุดพ้นใด ๆ
ยูเครน
จุดต่าง ๆ ในยูเครน –
จุดระหว่างทางใด ๆ – จุดต่าง ๆ ในไทย –
จุดพ้นใด ๆ
3)
ความจุความถี่
มีการปรับปรุงสิทธิความจุความถี่ให้สายการบินของแต่ละฝ่ายสามารถ
ทำการบินได้จากเดิม
3 เที่ยวต่อสัปดาห์ เป็น 21 เที่ยวต่อสัปดาห์
3.
การปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงฯ
ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความตกลงฯ ดังกล่าวมีความ
ทันสมัย
สอดคล้องกับสถานการณ์การบินในปัจจุบันและกฎหมายภายในของทั้งสองฝ่าย ซึ่งปัจจุบัน
สายการบินยูเครนทำการบินมายังประเทศไทยเพียงฝ่ายเดียว (เส้นทาง เคียฟ- กรุงเทพฯ)
และกลับ สัปดาห์ละ 3 เที่ยว เท่านั้น คค.
จึงเห็นว่าการเจรจาการบินกับฝ่ายยูเครนดังกล่าวมีความเหมาะสมและเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับสายการบินของไทยในอนาคตหากมีความประสงค์ที่จะทำการบินในเส้นทางดังกล่าว
9. เรื่อง
การถอนข้อสงวนข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม
(ยธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบให้ประเทศไทยถอนข้อสงวน ข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
2.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการถอนข้อสงวนข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบต่อองค์การสหประชาชาติต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ.
รายงานว่า
1.
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International
Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : CERD) เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ซึ่งรับรองโดยข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 2106 ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
สมัยสามัญ สมัยที่ 20 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2508 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
4 มกราคม 2512 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านและขจัดการเหยียดผิวและการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ฉบับที่แล้ว 177 ประเทศ
และลงนามในอนุสัญญาฯ แล้ว จำนวน 6 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2559)
สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
และให้จัดทำข้อสงวนข้อบทที่ 4 ซึ่ง กต.
ได้ดำเนินการภาคยานุวัติเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ส่งผลให้อนุสัญญาฯ
มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา
2.
อนุสัญญาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านและขจัดการเหยียดผิว
และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ โดยข้อบทที่ 4 ของอนุสัญญาฯ
กำหนดให้รัฐภาคีประณามการโฆษณาชวนเชื่อทั้งมวลและองค์กรทั้งปวงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดหรือทฤษฎีของความเหนือกว่าของชนชาติหนึ่งเชื้อชาติใด
หรือของกลุ่มบุคคลตามสีผิวหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด หรือที่พยายามให้เหตุผลรองรับ
หรือส่งเสริมความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติในรูปแบบใดก็ตามและตกลงที่จะจัดให้มีมาตรการในทางบวกในทันทีที่จะขจัดการกระตุ้นหรือการกระทำที่เลือกปฏิบัติและเพื่อการนี้
จะดำเนินการต่าง ๆ โดยคำนึงถึงหลักการที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและสิทธิต่าง
ๆ
3.
การถอนข้อสงวนในส่วนข้อบทที่ 4 ของอนุสัญญาฯ
เป็นการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ไทยได้รับไว้ในชั้นการนำเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยตามกลไก
Universal
Periodic Review (UPR) รอบที่ 1
และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติแห่งสหประชาชาติ
ซึ่งประเทศไทยต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
ภายในปี 2559
ซึ่งการถอนข้อสงวนดังกล่าวจะเป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกประการที่ประเทศไทยสามารถนำเสนอต่อเวทีโลก
อันจะส่งผลเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ
10. เรื่อง
การเสนอตราสารขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยประชุมที่ 99-104
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบอนุสัญญา
พิธีสาร และข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยประชุมที่ 99-104 (พ.ศ.
2553-2558) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
รง.
เสนอว่า
1.
ประเทศไทยโดย รง.
เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International
Labour Organization : ILO ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) โดยทุกปีประเทศไทยแต่งตั้งผู้แทนสามฝ่าย (Credential) ประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาล
ฝ่ายนายจ้าง
และฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีเพื่อร่วมพิจารณาประเด็นทางวิชาการ
แผนงานและแผนงบประมาณขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งการร่วมโหวตเพื่อรับรองตราสาร
(Instrument)
ประกอบด้วยอนุสัญญา (Convention) พิธีสาร (Protocol) และข้อแนะ (Recommendation)
ฉบับใหม่เมื่อมีการเสนอเข้าสู่วาระการประชุม
2.
ในการประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International
Labour Conference :
ILC) สมัยประชุมที่ 99- 104 ระหว่างปี พ.ศ.
2553-2558
มีอนุสัญญาพิธีสารและข้อแนะได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย
2.1
อนุสัญญาฉบับที่ 189
ว่าด้วยคนงานทำงานในบ้าน ค.ศ. 2011
2.2
พิธีสารเพื่อเป็นส่วนเสริมอนุสัญญาฉบับที่
29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930
2.3
ข้อแนะฉบับที่ 200
ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ และโลกแห่งการทำงาน ค.ศ. 2010
2.4
ข้อแนะฉบับที่ 201
ว่าด้วยคนงานทำงานในบ้าน ค.ศ. 2011
2.5
ข้อแนะฉบับที่ 202
ว่าด้วยพื้นฐานความคุ้มครองทางสังคม ค.ศ. 2012
2.6
ข้อแนะฉบับที่ 203
ว่าด้วยมาตรการส่วนเสริมสำหรับการปราบปรามการใช้แรงงาน
บังคับ ค.ศ.
2014
2.7
ข้อแนะฉบับที่ 204
ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจนอกระบบเป็นในระบบ
ค.ศ. 2015
3.
โดยที่ธรรมนูญองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
มาตรา 19 วรรค 5 (ข) (ค) และวรรค 6
(ข) (ค)
ระบุพันธกรณีของประเทศสมาชิกในเรื่องอนุสัญญาและข้อแนะว่าประเทศสมาชิกจะต้องนำอนุสัญญาและข้อแนะที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ไปเสนอต่อทางราชการหรือหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อรับทราบเกี่ยวกับสถานภาพการออกอนุสัญญาและข้อแนะ
และประเทศสมาชิกต้องแจ้งต่อผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ
ซึ่งในบริบทของประเทศไทยหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกกฎหมายคือสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธกิจในฐานะสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในการนำเสนออนุสัญญา
พิธีสาร และข้อแนะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อทราบ
11 เรื่อง
การมีผลบังคับใช้ของความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(Trade
Agreement between the Government of the Islamic Republic of Iran and the
Government of the Kingdom of Thailand)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
เสนอให้ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(Trade Agreement between the Government of the Islamic Republic of Iran
and the Government of the Kingdom of Thailand) มีผลบังคับใช้ตามข้อ
11 ของความตกลงฯ ที่ระบุว่า
ความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งถึงภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งระบุว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายและกฎระเบียบของตนเพื่อการมีผลบังคับใช้ของความตกลงนี้เรียบร้อยแล้ว
เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.)
จัดทำหนังสือแจ้งการมีผลบังคับใช้ของความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ความตกลงทางการค้าฯ
มีสาระสำคัญครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย
1.
การส่งเสริมให้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
และระเบียบข้อบังคับของแต่ละประเทศ
2.
การอำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่กัน อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การจัดตั้งสำนักงานการค้าหรือศูนย์เพื่อการค้า
ความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าและการแลกเปลี่ยนผู้แทนการค้า
3.
การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง
ๆ ของทั้งสองประเทศ เพื่อติดตามและทบทวนการปฏิบัติตามความตกลงฯ และ
วิเคราะห์โอกาส
และแนวทางในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน
12. เรื่อง การเข้าร่วมงานนิทรรศการโลก Astana Expo
2017 ณ ประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถาน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้ประเทศไทยเข้าร่วมงานนิทรรศการโลก
Astana
Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา ประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถาน ตามที่กระทรวงพาณิชย์
(พณ.) เสนอ
โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน (พน.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบการเข้าร่วมงานฯ
ดังกล่าว และให้ พณ. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเข้าร่วมงานฯ ดังกล่าว
โดยหน่วยงานหลักรับผิดชอบการเข้าร่วมงานฯ
จะเป็นผู้นำเสนอรายละเอียดแผนงานและแผนเงินให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
พณ. รายงานว่า
1. สถานเอกอัครราชทูตคาซัคสถานประจำประเทศไทยได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมจัดนิทรรศการในงาน
Astana
Expo 2017 ภายใต้แนวคิด Future Energy ระหว่างวันที่
10 มิถุนายน – 10 กันยายน 2560
ณ กรุงอัสตานา ประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถาน ภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต”
(Future Energy) หัวข้อรองได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
(Reducing CO2 Emission) พลังงานเพื่อมวลมนุษยชาติ (Energy
for all) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Living Energy
Efficiency)
2.
พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศไทยสามารถใช้การเข้าร่วมงาน Astana
Expo 2017 ซึ่งเป็นเวทีในการแสดงให้นานาชาติเห็นว่า
ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญในด้านพลังงาน
โดยรัฐบาลไทยได้วางแผนและกำหนดนโยบายด้านการพลังงานแห่งอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อตอบสนองความสำคัญที่ประชาคมโลกจัดเป็นประเด็นหลัก (World Issue) และ พน. ยินดีมีส่วนร่วมจัดนิทรรศการในงาน Astana Expo 2017
3. ประโยชน์ที่จะได้รับ
3.1
เป็นการสร้างภาพลักษณ์การประชาสัมพันธ์นโยบายและศักยภาพด้านความมั่นคงทางพลังงานของไทย
รวมทั้งความร่วมมือด้านการสร้างเครือข่ายพลังงาน
3.2
เป็นโอกาสที่ดีที่จะศึกษาแนวโน้มการพัฒนาด้านพลังงานของโลกและคู่แข่ง
เพื่อนำมาประกอบการวางยุทธศาสตร์ส่งเสริมนโยบายด้านพลังงานของไทย
3.3
สร้างโอกาสทางการค้าให้กับสินค้าและบริการของไทย ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
และส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย
3.4 เป็นเวทีประกาศศักยภาพด้านการค้า
การลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย
รวมถึงประชาสัมพันธ์บทบาทและมาตรการของประเทศไทยในการส่งเสริมความมั่นคงของพลังงานอย่างยั่งยืนในเวทีโลก
แต่งตั้ง
13. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย
ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายวีระวุฒิ ศรีเปารยะ
รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านการบริหารเหรียญกษาปณ์และทรัพย์สินมีค่า
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2558
2. นายจำเริญ โพธิยอด
รองอธิบดีกรมศุลกากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี
(นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559
3. นายเอกวัฒน์ มานะแก้ว
รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์
2559
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
14. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงกีโต
สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง
นายเฮนรี ยันดุน (Mr.
Henry Yandun) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงกีโต สาธารณรัฐเอกวาดอร์
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมสาธารณรัฐเอกวาดอร์ แทน นายหลุยส์ การ์เซีย ฆารา (Mr.
Luis Garcia Jara) ซึ่งถึงแก่กรรม
15. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง
นายเสรี ศุภราทิตย์ เป็นผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ 270,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่
7 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป
16. เรื่อง การรับโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอนและแต่งตั้ง
นายรังสรรค์ มณีเล็ก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(นักบริหารระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
********************************************
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
|
http://www.thaigov.go.th
วันนี้ (7 มิถุนายน
2559)
เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี
สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรา
ชั่งตวงวัด พ.ศ. 2552 พ.ศ. ....
ชั่งตวงวัด พ.ศ. 2552 พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออก ใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. ....
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน
รวม 5 ฉบับ
5. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553
รวม 3 ฉบับ
ออกไปอีก 2 ปี
6. เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาล
แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย
ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
ต่างประเทศ
|
7. เรื่อง การปรับปรุงความตกลงที่ใช้ก่อตั้งกองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์
(Common Fund for
Commodities : CFC)
8. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย
– ยูเครน
9. เรื่อง การถอนข้อสงวนข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ ทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
10. เรื่อง การเสนอตราสารขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
สมัยประชุมที่ 99-104
11. เรื่อง การมีผลบังคับใช้ของความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลาม อิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(Trade
Agreement between the Government of the Islamic
Republic of Iran and the Government of the Kingdom
of Thailand)
12. เรื่อง การเข้าร่วมงานนิทรรศการโลก Astana Expo
2017 ณ ประเทศสาธารณรัฐ คาซัคสถาน
แต่งตั้ง
|
13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
14. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงกีโต สาธารณรัฐเอกวาดอร์
14. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงกีโต สาธารณรัฐเอกวาดอร์
(กระทรวงการต่างประเทศ)
15. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
16. เรื่อง การรับโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ตำแหน่งที่ปรึกษา พิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)
*******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ.
.... และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบดังนี้
1.
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติภาษี
เงินได้ ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ของกระทรวงพลังงาน (พน.) ที่สำนักานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2.
รับทราบผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม
พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติภาษี
เงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งผลการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบด้วย
3.
ให้กระทรวงพลังงานศึกษาโครงสร้างขององค์กร
อำนาจหน้าที่ กลไกการใช้งบประมาณและ
บุคลากร
ผลกระทบ ข้อดี ข้อเสีย
และแนวทางในการดำเนินการของบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ
และร่วมกับกระทรวงการคลัง ศึกษาผลกระทบ
ข้อดี ข้อเสีย และแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงกฎหมายตามข้อเสนอของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
รวม 2 ฉบับ ให้ละเอียดรอบคอบ
หากเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขในประเด็นใด ๆ
ให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1.
ร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ
ปิโตรเลียม
พ.ศ. 2514 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1
กำหนดเพิ่มทางเลือกในการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมโดยนำระบบสัญญาแบ่งปัน
ผลผลิตมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียม
1.2
กำหนดให้ผู้ใดที่จะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมต้องได้รับสัมปทานหรือได้รับสัญญาแบ่งปัน
ผลผลิต โดยการขอและการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด
3/1 สัญญาแบ่งปันผลผลิต
1.3
กำหนดหน้าที่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นผู้นำส่งค่าภาคหลวง
โดยหักจากผลผลิตรวม
ของปิโตรเลียมในอัตราร้อยละสิบ ตามหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาที่กำหนดในกฎกระทรวง
1.4
เพิ่มหมวด 3/2
สัญญาจ้างสำรวจและผลิต
เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญา
จ้างสำรวจและผลิต
กำหนดวิธีการในการนำระบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิตมาใช้
1.5
กำหนดหน้าที่ให้ส่วนราชการที่ได้เงินมาจากการขายหรือจำหน่ายผลผลิตปิโตรเลียมต้อง
นำมาจ่ายเป็นค่าภาคหลวงก่อนจะนำมาจ่ายค่าจ้างสำรวจและผลิตหรือค่าใช้จ่ายอื่น
ๆ และหากยังมีเงินคงเหลือ
ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยต้องจ่ายค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละสิบของผลผลิตปิโตรเลียมที่ผลิตได้
ให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน โดยต้องจ่ายค่าภาคหลวงในอัตราร้อยละสิบของผลผลิตปิโตรเลียมที่ผลิตได้
1.6
ยกเว้นให้ผู้รับสัมปทานไม่ต้องเสียค่าภาคหลวงสำหรับปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย
เฉพาะกรณีก๊าซธรรมชาติที่ผลิตและใช้ไปในสภาพเดิมในราชอาณาจักร เพื่อการวิเคราะห์ ทดลอง ผลิต และอนุรักษ์ปิโตรเลียม
1.7
ยกเลิกการให้ชำระค่าภาคหลวงเป็นเงินตราต่างประเทศได้
2.
ร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติม
พระราชบัญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
พ.ศ. 2514 เพื่อกำหนดผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น
และกำหนดอัตราและหลักเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ในระบบการทำสัญญาแบ่งปันผลผลิตตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
2. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด
พ.ศ. 2552 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด
พ.ศ. 2552 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมออกตามความในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด
พ.ศ. 2552 พ.ศ. ....
เป็นการปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมต่าง
ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ
การออกใบอนุญาตให้ผู้ผลิตหรือผู้ซ่อมเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองการต่ออายุใบอนุญาต
การออกใบแทนหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ การออกใบแทนใบอนุญาต
การตรวจสอบให้คำรับรอง สำหรับเครื่องชั่งตวงวัด
การตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องชั่งตวงวัด
เพื่อให้เป็นไปตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2557
และปรับปรุงระดับตำแหน่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ไปตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดนอกสถานที่
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม
พ.ศ. ....
เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและออกใบอนุญาต
เป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตาม
เป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนผลิตหรือซ่อม พร้อมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ขออนุญาตต้องปฏิบัติตาม
4. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน รวม 5 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงาน
(รง.) รวม 5 ฉบับที่
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วและให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงทั้ง
5 ฉบับ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ตามที่ กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
ดังนี้
1.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
2.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
3.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
4.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พ.ศ.
.... และ
5. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1.
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัด กระทรวง กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงแรงงาน
พ.ศ. 2545
2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการจัดงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2545
3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2554
4. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2552
5. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญให้ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานประกันสังคม
กระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2554
5. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553 รวม 3 ฉบับ ออกไปอีก 2 ปี
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชลบุรี และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553 รวม 3 ฉบับ ออกไปอีก 2 ปี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชลบุรี
และจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553 รวม 3 ฉบับ ออกไปอีก 2 ปี นับจากวันที่ 31 กรกฎาคม
2559
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจร่างกฎหมายและร่าง
อนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของกระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้
อนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของกระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้
1.
ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2553
ในบริเวณพื้นที่อำเภอบ้านแหลม อำเภอเมืองเพชรบุรี อำเภอท่ายาง และชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน และอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2553
2.
ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2553
ในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2553
3.
ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2553
(
ซึ่งจะหมดอายุการใช้บังคับในวันที่ 30 กรกฎาคม 2559 และขอขยายบังคับใช้ต่อไปอีก 2
ปี ) ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ต่างประเทศ
|
6. เรื่อง การจัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม
(วธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาล
แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
2.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย
ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
3.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามในแผนปฏิบัติการว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินเดีย
ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2562
4.
หากมีความจำเป็นสามารถปรับปรุงถ้อยคำของแผนปฏิบัติการฯ
ได้เท่าที่ไม่ขัดกับหลักการและสาระสำคัญที่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีหรือเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย
โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
ร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับอินเดียให้ขยายผลยิ่งขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
เนื่องจากเป็นลักษณะแผนงานที่กำหนดรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมด้านวัฒนธรรมที่จะดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา
4 ปี ครอบคลุมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนการเยือนและจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมระหว่างกัน
มุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกันและมีศักยภาพ
และคล้ายคลึงกับแผนปฏิบัติการฯ ฉบับที่ผ่านมา
อาทิ ด้านโบราณคดี การอนุรักษ์โบราณสถาน ศิลปวัตถุและศาสนสถาน การจัดนิทรรศการด้านพุทธศาสนา โดยแต่ละฝ่ายจะจัดนิทรรศการ จำนวน 1 ครั้ง การแลกเปลี่ยนการจัดการแสดงของคณะนาฏศิลป์ และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาทัศนศิลป์ จดหมายเหตุ หอสมุด สื่อสิ่งพิมพ์ หัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งทั้งสองฝ่าย
จะแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีชื่อเสียง จำนวนไม่เกิน 3 คน และการแปลงานวรรณกรรม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้งด้านวัฒนธรรม และเป็นประโยชน์ต่อการขยายผลทางการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างสองฝ่ายต่อไป
อาทิ ด้านโบราณคดี การอนุรักษ์โบราณสถาน ศิลปวัตถุและศาสนสถาน การจัดนิทรรศการด้านพุทธศาสนา โดยแต่ละฝ่ายจะจัดนิทรรศการ จำนวน 1 ครั้ง การแลกเปลี่ยนการจัดการแสดงของคณะนาฏศิลป์ และศิลปะการแสดงพื้นบ้าน รวมทั้งความร่วมมือในสาขาทัศนศิลป์ จดหมายเหตุ หอสมุด สื่อสิ่งพิมพ์ หัตถกรรมพื้นบ้าน ซึ่งทั้งสองฝ่าย
จะแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีชื่อเสียง จำนวนไม่เกิน 3 คน และการแปลงานวรรณกรรม เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างให้ประชาชนทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้งด้านวัฒนธรรม และเป็นประโยชน์ต่อการขยายผลทางการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างสองฝ่ายต่อไป
แผนปฏิบัติการนี้มีข้อกำหนดที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันซึ่งประกอบด้วย
ข้อกำหนดทั่วไป เช่น
ภาคีคู่สัญญาจะมีสิทธิแลกเปลี่ยนกันใช้วัสดุอุปกรณ์ในสาขาสารสนเทศ วิทยุ
และโทรทัศน์ในรายการของตนและภาคีผู้รับจะต้องไม่มอบรายการดังกล่าวให้แก่ฝ่ายที่สาม
ภาคีผู้ส่งจะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับสิทธิของผู้เขียนและศิลปิน
รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และข้อกำหนดด้านการเงิน เช่น
ในเรื่องการแลกเปลี่ยนนิทรรศการ ได้กำหนดให้ภาคี
ผู้ส่งจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งอุปกรณ์การจัดนิทรรศการจนถึงเมืองของประเทศผู้รับ และภาคีผู้รับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งอุปกรณ์การจัดนิทรรศการไปยังสถานที่อื่น ๆ ภายในประเทศผู้รับ รวมทั้ง ภาคีผู้รับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการติดตั้งนิทรรศการ การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์การจัดนิทรรศการและการเผยแพร่ รวมถึงการจัดเตรียมแคตตาล็อก แผ่นพับ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการประกันภัยตลอดระยะเวลาการ
จัดนิทรรศการในดินแดนตน เป็นต้น ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าว จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ลงนาม และจะมีผล
ใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 และอาจต่ออายุอีกเป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่แผนปฏิบัติการฯ จะหมดอายุ ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาร่วมและประเมินแผนปฏิบัติการนี้ก่อนการต่ออายุหรือสิ้นสุดแผนปฏิบัติการ
ผู้ส่งจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งอุปกรณ์การจัดนิทรรศการจนถึงเมืองของประเทศผู้รับ และภาคีผู้รับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งอุปกรณ์การจัดนิทรรศการไปยังสถานที่อื่น ๆ ภายในประเทศผู้รับ รวมทั้ง ภาคีผู้รับจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการติดตั้งนิทรรศการ การรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์การจัดนิทรรศการและการเผยแพร่ รวมถึงการจัดเตรียมแคตตาล็อก แผ่นพับ รวมถึงค่าใช้จ่ายในการประกันภัยตลอดระยะเวลาการ
จัดนิทรรศการในดินแดนตน เป็นต้น ทั้งนี้ แผนปฏิบัติการดังกล่าว จะมีผลใช้บังคับนับแต่วันที่ลงนาม และจะมีผล
ใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 และอาจต่ออายุอีกเป็นเวลา 3 ปี ก่อนที่แผนปฏิบัติการฯ จะหมดอายุ ทั้งสองฝ่ายจะพิจารณาร่วมและประเมินแผนปฏิบัติการนี้ก่อนการต่ออายุหรือสิ้นสุดแผนปฏิบัติการ
7. เรื่อง
การปรับปรุงความตกลงที่ใช้ก่อตั้งกองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ (Common Fund
for Commodities : CFC)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างความตกลงที่ใช้ก่อตั้งกองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ฉบับปรับปรุง
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กษ.
รายงานว่า
1.
กองทุนร่วมเพื่อสินค้าโภคภัณฑ์ (Common Fund
for Commodities: CFC) เป็นสถาบัน
รัฐบาลระหว่างประเทศด้านการเงิน ที่อยู่ภายใต้กรอบโครงสร้างองค์การสหประชาชาติ (United
National) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532
มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้ผลิตสินค้าโภคภัณฑ์
โดยมุ่งเน้นให้เงินทุนสนับสนุนแก่โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสินค้าโภคภัณฑ์
และการเข้าสู่ตลาดของประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุด มีจำนวนสมาชิก 105 ประเทศ
(รวมประเทศไทย) และ 10 องค์กร
2.
ประเทศไทยในฐานะสมาชิก CFC
จะต้องให้การรับรองการแก้ไขความตกลงก่อตั้ง CFC โดย
แจ้งให้สำนักงานเลขาธิการ
CFC ทราบภายในเดือนมกราคม 2560 หากพ้นกำหนด จะถือว่าร่างความตกลงฯ
ฉบับแก้ไขมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
โดยร่างความตกลงฯ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการบูรณาการสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา
และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาภาคสินค้าโภคภัณฑ์
และเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
3.
การแก้ไขปรับปรุงความตกลงฯ เป็นการปรับปรุงโครงสร้างของ CFC
เพื่อให้สามารดำเนินงานได้คล่องตัวยิ่งขึ้น
โดยลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน
ลดขนาดและภารกิจขององค์กรให้มีประสิทธิภาพ
และไม่มีการแก้ไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย
8. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – ยูเครน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย –
ยูเครน
พร้อมทั้งร่างพิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วย
บริการเดินอากาศระหว่างไทย
– ยูเครน และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงดังกล่าว
2.
เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทยและยูเครนและอนุมัติให้กระทรวงการ
ต่างประเทศ
(กต.)
ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลบังคับใช้ของบันทึกความเข้าใจและพิธีสารแก้ไขความตกลงฯ
ระหว่างไทย – ยูเครน ต่อไป โดยให้ กต.
สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ
บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย
– ยูเครน ที่ลงนามเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย
ได้หารือร่วมกัน
สรุปได้
ดังนี้
1)
การปรับปรุงแก้ไขความตกลงฯ
(พิธีสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศ
ระหว่างไทย –
ยูเครน) มีการเพิ่มข้อบทต่าง ๆ ดังนี้
ข้อบท
|
รายละเอียดของบันทึกความเข้าใจ
|
1)
ความปลอดภัยการบิน
|
เพิ่มการตรวจสอบการปฏิบัติการบำรุงรักษาอากาศยานในลานจอด
ซึ่งมีสาระสำคัญและถ้อยคำเหมือนกับที่ฝ่ายไทยทำความตกลงกับยุโรป
|
2)
การกำหนดสายการบินและการอนุญาตดำเนินการ
|
แก้ไขสิทธิการกำหนดสายการบิน
โดยภาคีแต่ละฝ่ายสามารถแต่งตั้งสายการบินที่กำหนดได้ “หนึ่งหรือหลายสายการบิน”
|
3)
พิกัดอัตราค่าขนส่ง
|
ให้สายการบินสามารถกำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่งของตนเอง
และแจ้งพิกัดอัตราค่าขนส่งที่สายการบินกำหนดให้กับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจไม่ต้องทำการอนุมัติพิกัดอัตราค่าขนส่งดังกล่าว
|
4)
การปกป้องการแข่งขัน
|
กำหนดการกระทำของสายการบินบางประการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการทำลายกลไกการแข่งขันในตลาด หรือการกระทำที่เป็นการใช้อำนาจเหนือตลาดในทางมิชอบ
|
5)
การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน
|
ให้ใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินของภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
หรือสายการบินของประเทศที่สาม
|
2)
ใบพิกัดเส้นทางบิน
มีการแก้ไขใบพิกัดเส้นทางบินเป็นแบบเปิดเพื่อให้สายการบินที่
กำหนดของทั้งสองฝ่ายมีความยืดหยุ่นในการทำการบินและสามารถขยายเครือข่ายการบินได้อย่างเสรี
ดังนี้
ไทย
|
จุดต่าง ๆ ในไทย – จุดระหว่างทางใด ๆ
– จุดต่าง ๆ ในยูเครน – จุดพ้นใด ๆ
|
ยูเครน
|
จุดต่าง ๆ ในยูเครน –
จุดระหว่างทางใด ๆ – จุดต่าง ๆ ในไทย –
จุดพ้นใด ๆ
|
3)
ความจุความถี่
มีการปรับปรุงสิทธิความจุความถี่ให้สายการบินของแต่ละฝ่ายสามารถ
ทำการบินได้จากเดิม
3 เที่ยวต่อสัปดาห์ เป็น 21 เที่ยวต่อสัปดาห์
3.
การปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงฯ
ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความตกลงฯ ดังกล่าวมีความ
ทันสมัย
สอดคล้องกับสถานการณ์การบินในปัจจุบันและกฎหมายภายในของทั้งสองฝ่าย ซึ่งปัจจุบัน
สายการบินยูเครนทำการบินมายังประเทศไทยเพียงฝ่ายเดียว (เส้นทาง เคียฟ- กรุงเทพฯ)
และกลับ สัปดาห์ละ 3 เที่ยว เท่านั้น คค.
จึงเห็นว่าการเจรจาการบินกับฝ่ายยูเครนดังกล่าวมีความเหมาะสมและเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับสายการบินของไทยในอนาคตหากมีความประสงค์ที่จะทำการบินในเส้นทางดังกล่าว
9. เรื่อง
การถอนข้อสงวนข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรม
(ยธ.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบให้ประเทศไทยถอนข้อสงวน ข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
2.
มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการถอนข้อสงวนข้อบทที่ 4
ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบต่อองค์การสหประชาชาติต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
ยธ.
รายงานว่า
1.
อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International
Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination : CERD) เป็นหนึ่งในสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
ซึ่งรับรองโดยข้อมติสมัชชาสหประชาชาติที่ 2106 ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
สมัยสามัญ สมัยที่ 20 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2508 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
4 มกราคม 2512 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านและขจัดการเหยียดผิวและการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
ปัจจุบันมีประเทศที่เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ฉบับที่แล้ว 177 ประเทศ
และลงนามในอนุสัญญาฯ แล้ว จำนวน 6 ประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2559)
สำหรับประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2545 เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
และให้จัดทำข้อสงวนข้อบทที่ 4 ซึ่ง กต.
ได้ดำเนินการภาคยานุวัติเพื่อเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ส่งผลให้อนุสัญญาฯ
มีผลใช้บังคับกับประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา
2.
อนุสัญญาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านและขจัดการเหยียดผิว
และการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ โดยข้อบทที่ 4 ของอนุสัญญาฯ
กำหนดให้รัฐภาคีประณามการโฆษณาชวนเชื่อทั้งมวลและองค์กรทั้งปวงตั้งอยู่บนพื้นฐานของความคิดหรือทฤษฎีของความเหนือกว่าของชนชาติหนึ่งเชื้อชาติใด
หรือของกลุ่มบุคคลตามสีผิวหรือเผ่าพันธุ์กำเนิด หรือที่พยายามให้เหตุผลรองรับ
หรือส่งเสริมความเกลียดชังระหว่างเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติในรูปแบบใดก็ตามและตกลงที่จะจัดให้มีมาตรการในทางบวกในทันทีที่จะขจัดการกระตุ้นหรือการกระทำที่เลือกปฏิบัติและเพื่อการนี้
จะดำเนินการต่าง ๆ โดยคำนึงถึงหลักการที่ปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและสิทธิต่าง
ๆ
3.
การถอนข้อสงวนในส่วนข้อบทที่ 4 ของอนุสัญญาฯ
เป็นการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่ไทยได้รับไว้ในชั้นการนำเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยตามกลไก
Universal
Periodic Review (UPR) รอบที่ 1
และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติแห่งสหประชาชาติ
ซึ่งประเทศไทยต้องส่งรายงานผลการดำเนินงานของประเทศไทยตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
ภายในปี 2559
ซึ่งการถอนข้อสงวนดังกล่าวจะเป็นพัฒนาการที่สำคัญอีกประการที่ประเทศไทยสามารถนำเสนอต่อเวทีโลก
อันจะส่งผลเชิงบวกต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ
10. เรื่อง
การเสนอตราสารขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยประชุมที่ 99-104
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบอนุสัญญา
พิธีสาร และข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ สมัยประชุมที่ 99-104 (พ.ศ.
2553-2558) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป โดยให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
รง.
เสนอว่า
1.
ประเทศไทยโดย รง.
เข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International
Labour Organization : ILO ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) โดยทุกปีประเทศไทยแต่งตั้งผู้แทนสามฝ่าย (Credential) ประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาล
ฝ่ายนายจ้าง
และฝ่ายลูกจ้างเข้าร่วมการประชุมใหญ่ประจำปีซึ่งจัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีเพื่อร่วมพิจารณาประเด็นทางวิชาการ
แผนงานและแผนงบประมาณขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ รวมทั้งการร่วมโหวตเพื่อรับรองตราสาร
(Instrument)
ประกอบด้วยอนุสัญญา (Convention) พิธีสาร (Protocol) และข้อแนะ (Recommendation)
ฉบับใหม่เมื่อมีการเสนอเข้าสู่วาระการประชุม
2.
ในการประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International
Labour Conference :
ILC) สมัยประชุมที่ 99- 104 ระหว่างปี พ.ศ.
2553-2558
มีอนุสัญญาพิธีสารและข้อแนะได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ
จำนวน 7 ฉบับ ประกอบด้วย
2.1
อนุสัญญาฉบับที่ 189
ว่าด้วยคนงานทำงานในบ้าน ค.ศ. 2011
2.2
พิธีสารเพื่อเป็นส่วนเสริมอนุสัญญาฉบับที่
29 ว่าด้วยแรงงานบังคับ ค.ศ. 1930
2.3
ข้อแนะฉบับที่ 200
ว่าด้วยเอชไอวี/เอดส์ และโลกแห่งการทำงาน ค.ศ. 2010
2.4
ข้อแนะฉบับที่ 201
ว่าด้วยคนงานทำงานในบ้าน ค.ศ. 2011
2.5
ข้อแนะฉบับที่ 202
ว่าด้วยพื้นฐานความคุ้มครองทางสังคม ค.ศ. 2012
2.6
ข้อแนะฉบับที่ 203
ว่าด้วยมาตรการส่วนเสริมสำหรับการปราบปรามการใช้แรงงาน
บังคับ ค.ศ.
2014
2.7
ข้อแนะฉบับที่ 204
ว่าด้วยการปรับเปลี่ยนจากเศรษฐกิจนอกระบบเป็นในระบบ
ค.ศ. 2015
3.
โดยที่ธรรมนูญองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
มาตรา 19 วรรค 5 (ข) (ค) และวรรค 6
(ข) (ค)
ระบุพันธกรณีของประเทศสมาชิกในเรื่องอนุสัญญาและข้อแนะว่าประเทศสมาชิกจะต้องนำอนุสัญญาและข้อแนะที่ได้รับการรับรองจากที่ประชุมใหญ่ไปเสนอต่อทางราชการหรือหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อรับทราบเกี่ยวกับสถานภาพการออกอนุสัญญาและข้อแนะ
และประเทศสมาชิกต้องแจ้งต่อผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ
ซึ่งในบริบทของประเทศไทยหน่วยงานที่มีอำนาจในการออกกฎหมายคือสภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามพันธกิจในฐานะสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในการนำเสนออนุสัญญา
พิธีสาร และข้อแนะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อทราบ
11 เรื่อง
การมีผลบังคับใช้ของความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(Trade
Agreement between the Government of the Islamic Republic of Iran and the
Government of the Kingdom of Thailand)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
เสนอให้ความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
(Trade Agreement between the Government of the Islamic Republic of Iran
and the Government of the Kingdom of Thailand) มีผลบังคับใช้ตามข้อ
11 ของความตกลงฯ ที่ระบุว่า
ความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งสุดท้ายโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งถึงภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งระบุว่าได้ดำเนินการตามกฎหมายและกฎระเบียบของตนเพื่อการมีผลบังคับใช้ของความตกลงนี้เรียบร้อยแล้ว
เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.)
จัดทำหนังสือแจ้งการมีผลบังคับใช้ของความตกลงทางการค้าระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
ความตกลงทางการค้าฯ
มีสาระสำคัญครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย
1.
การส่งเสริมให้มีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกันภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย
และระเบียบข้อบังคับของแต่ละประเทศ
และระเบียบข้อบังคับของแต่ละประเทศ
2.
การอำนวยความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ให้แก่กัน อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้า การจัดตั้งสำนักงานการค้าหรือศูนย์เพื่อการค้า
ความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้าและการแลกเปลี่ยนผู้แทนการค้า
3.
การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง
ๆ ของทั้งสองประเทศ เพื่อติดตามและทบทวนการปฏิบัติตามความตกลงฯ และ
วิเคราะห์โอกาส
และแนวทางในการขยายความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างกัน
12. เรื่อง การเข้าร่วมงานนิทรรศการโลก Astana Expo
2017 ณ ประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถาน
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้ประเทศไทยเข้าร่วมงานนิทรรศการโลก
Astana
Expo 2017 ณ กรุงอัสตานา ประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถาน ตามที่กระทรวงพาณิชย์
(พณ.) เสนอ
โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน (พน.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบการเข้าร่วมงานฯ
ดังกล่าว และให้ พณ. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเข้าร่วมงานฯ ดังกล่าว
โดยหน่วยงานหลักรับผิดชอบการเข้าร่วมงานฯ
จะเป็นผู้นำเสนอรายละเอียดแผนงานและแผนเงินให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
สาระสำคัญของเรื่อง
พณ. รายงานว่า
1. สถานเอกอัครราชทูตคาซัคสถานประจำประเทศไทยได้เชิญประเทศไทยเข้าร่วมจัดนิทรรศการในงาน
Astana
Expo 2017 ภายใต้แนวคิด Future Energy ระหว่างวันที่
10 มิถุนายน – 10 กันยายน 2560
ณ กรุงอัสตานา ประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถาน ภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต” (Future Energy) หัวข้อรองได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Reducing CO2 Emission) พลังงานเพื่อมวลมนุษยชาติ (Energy for all) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Living Energy Efficiency)
ณ กรุงอัสตานา ประเทศสาธารณรัฐคาซัคสถาน ภายใต้หัวข้อหลัก “พลังงานแห่งอนาคต” (Future Energy) หัวข้อรองได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Reducing CO2 Emission) พลังงานเพื่อมวลมนุษยชาติ (Energy for all) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Living Energy Efficiency)
2.
พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศไทยสามารถใช้การเข้าร่วมงาน Astana
Expo 2017 ซึ่งเป็นเวทีในการแสดงให้นานาชาติเห็นว่า
ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญในด้านพลังงาน
โดยรัฐบาลไทยได้วางแผนและกำหนดนโยบายด้านการพลังงานแห่งอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อตอบสนองความสำคัญที่ประชาคมโลกจัดเป็นประเด็นหลัก (World Issue) และ พน. ยินดีมีส่วนร่วมจัดนิทรรศการในงาน Astana Expo 2017
3. ประโยชน์ที่จะได้รับ
3.1
เป็นการสร้างภาพลักษณ์การประชาสัมพันธ์นโยบายและศักยภาพด้านความมั่นคงทางพลังงานของไทย
รวมทั้งความร่วมมือด้านการสร้างเครือข่ายพลังงาน
3.2
เป็นโอกาสที่ดีที่จะศึกษาแนวโน้มการพัฒนาด้านพลังงานของโลกและคู่แข่ง
เพื่อนำมาประกอบการวางยุทธศาสตร์ส่งเสริมนโยบายด้านพลังงานของไทย
3.3
สร้างโอกาสทางการค้าให้กับสินค้าและบริการของไทย ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
และส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย
3.4 เป็นเวทีประกาศศักยภาพด้านการค้า
การลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย
รวมถึงประชาสัมพันธ์บทบาทและมาตรการของประเทศไทยในการส่งเสริมความมั่นคงของพลังงานอย่างยั่งยืนในเวทีโลก
แต่งตั้ง
|
13. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงการคลัง)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
1. นายวีระวุฒิ ศรีเปารยะ
รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง
ที่ปรึกษาด้านการบริหารเหรียญกษาปณ์และทรัพย์สินมีค่า
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2558
2. นายจำเริญ โพธิยอด
รองอธิบดีกรมศุลกากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี
(นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร ตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2559
3. นายเอกวัฒน์ มานะแก้ว
รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์
2559
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
14. เรื่อง การแต่งตั้งกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงกีโต
สาธารณรัฐเอกวาดอร์ (กระทรวงการต่างประเทศ)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง
นายเฮนรี ยันดุน (Mr.
Henry Yandun) เป็นกงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำกรุงกีโต สาธารณรัฐเอกวาดอร์
โดยมีเขตกงสุลครอบคลุมสาธารณรัฐเอกวาดอร์ แทน นายหลุยส์ การ์เซีย ฆารา (Mr.
Luis Garcia Jara) ซึ่งถึงแก่กรรม
15. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง
นายเสรี ศุภราทิตย์ เป็นผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค
โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในปีแรกอัตราเดือนละ 270,000 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่
7 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป
16. เรื่อง การรับโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
ตำแหน่งที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักนายกรัฐมนตรี)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรับโอนและแต่งตั้ง
นายรังสรรค์ มณีเล็ก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(นักบริหารระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
********************************************
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น