เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 245/2559รมว.ศธ.หารือกับผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย
ศึกษาธิการ – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารองค์กรหลัก ให้การต้อนรับนายโธมัส ดาวิน (Mr.Thomas Davin) ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย เนื่องในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือความร่วมมือด้านการศึกษา เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2559 ที่ห้องรับรองจันทรเกษม
นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ยูนิเซฟให้การสนับสนุนการศึกษาของไทยมาโดยตลอด โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการเข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น
-
การลดความเหลื่อมล้ำและ การสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส โดยเฉพาะ การดูแลเด็กที่ออกนอกระบบการศึกษากลางคันหรือเด็กตกหล่นในประเทศไทย ซึ่งยูนิเซฟได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์เด็กตกหล่นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจะแสดงให้เห็นปริมาณของเด็กตกหล่นในประเทศไทยและสามารถนำไปจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายทางการศึกษาเพื่อดูแลเด็กกลุ่มดังกล่าวได้ต่อไป อีกประการหนึ่งคือ การพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาและครูพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนเพื่อให้เด็กสามารถอยู่ในระบบการศึกษาได้นานขึ้น เพราะเด็กที่ออกกลางคันมีความคิดว่าการศึกษาไม่มีประโยชน์ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการหาสาเหตุอย่างแท้จริงที่ทำให้เด็กออกกลางคัน ทั้งนี้ ได้สนับสนุนให้ประเทศไทยมีมาตรการในการตามหาตัวเด็กที่หายไปจากชั้นเรียน โดยสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ ดังเช่นในต่างประเทศจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปยังผู้ปกครองเมื่อเด็กไม่เข้าชั้นเรียน เป็นต้น
-
การเรียนการสอนแบบคละชั้น กล่าวคือการผสมผสานชั้นเรียนและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
-
การศึกษาทักษะชีวิต ซึ่งเน้นพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและเครื่องมือที่ใช้ในการส่งเสริมการบูรณาการทักษะชีวิตกับกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อทำให้เด็กนักเรียนสามารถอยู่รอดในสังคมยุคปัจจุบันได้
-
การสนับสนุนให้เด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อฝึกทักษะด้านอาชีพด้วย
-
การใช้โปรแกรมสำรวจติดตามการใช้จ่ายด้านการศึกษาของภาครัฐ กล่าวคือ การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับสถานศึกษาจะทำให้เกิดประสิทธิภาพจากการใช้จ่ายเงินมากขึ้น
-
การป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษา และการป้องการความรุนแรงของเด็กในมิติต่าง ๆ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา
-
การพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการส่งเสริมศูนย์สื่อทรัพยากรสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูในเขตพื้นที่การศึกษา เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนาการศึกษาประสบผลสำเร็จ
ทั้งนี้ ยูนิเซฟยินดีให้ความช่วยเหลือการศึกษาไทยอย่างครบวงจร รวมถึงให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วน ซึ่งจะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการในการหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมของเด็กนักเรียนไทยต่อไป
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเทศไทยและยูนิเซฟมีความร่วมมือด้านการศึกษาในด้านต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการดูแลเด็กด้อยโอกาส และ แนวทางการแก้ปัญหาเด็กออกนอกระบบการศึกษากลางคัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญเช่นกัน ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยจะเริ่มเข้าไปดูแลเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม โดยหาสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่เข้าสู่ระบบการศึกษา ส่วนการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ซึ่งจะทำการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการสนับสนุนการศึกษาของประเทศผ่านโครงการประชารัฐ ด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ และด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ซึ่งโครงการประชารัฐสามารถช่วยพัฒนาสถานศึกษาในระดับต่าง ๆ ได้ เช่น โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาอาชีวศึกษาด้วย โดยเน้นการดำเนินงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งการดำเนินการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการของยูนิเซฟในการส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกอาชีพ โดยให้เด็กนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 ได้ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ 4 ด้าน (Head, Heart, Hands , Health) เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้ตัวเองว่ามีความสามารถและมีศักยภาพด้านใด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกศึกษาต่อในสาขาต่าง ๆ ในอนาคตด้วย
สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่ยูนิเซฟจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมนั้น ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องส่งรูปแบบแนวทางการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาให้เกิดการดำเนินงานที่ปฏิบัติได้จริง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า จากนโยบายและปัญหาด้านการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น กระทรวงศึกษาธิการต้องทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน อาทิ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันแก้ไข และถือเป็นโอกาสอันดีที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับความร่วมมือจากยูนิเซฟซึ่งเป็นองค์การระดับโลก และมีประสบการณ์อย่างมากในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กและการศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำมาจัดทำแผนดูแลการศึกษาทั้งระบบต่อไปด้วย
อรพรรณ ฤทธิ์มั่น
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี : ถ่ายภาพ
13/6/2559
About UNICEF *องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations International Children's Emergency Fund : UNICEF) ถือกำเนิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กๆ ในทวีปยุโรปและเอเชียที่ต้องเผชิญกับภาวะอดอยากและโรคระบาดอันเป็นผลมาจากสงคราม โดยยูนิเซฟได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2489 และเพียง 2 ปีหลังจากนั้น ยูนิเซฟก็ได้เปิดสำนักงานขึ้นในประเทศไทยใน พ.ศ. 2491
งานของยูนิเซฟในประเทศไทยในช่วงแรก เน้นเรื่องสุขอนามัยและโภชนาการของเด็ก เราทำโครงการที่ขจัดโรคร้ายในเด็ก เช่น โรคคุดทะราด และช่วยริเริ่มโครงการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ในขณะเดียวกัน เราจัดหาน้ำดื่มสะอาดและรณรงค์เรื่องสุขอนามัยในท้องถิ่นทุรกันดาร และพัฒนาการโภชนาการของเด็กโดยโครงการดื่มนมในโรงเรียนและการแจกจ่ายเกลือไอโอดีน
จากวันนั้นถึงวันนี้ ความเป็นอยู่ของเด็กในประเทศไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมาก และภารกิจของยูนิเซฟก็ได้เพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมประเด็นอื่นมากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันภารกิจหลักของเรา คือ
• ปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกทำร้าย การถูกล่วงละเมิด การถูกแสวงประโยชน์ และการถูกทอดทิ้ง
• ทำให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
• ป้องกันเด็กจากการติดเชื้อเอชไอวี และให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวีและเอดส์
• งานด้านสุขภาพเด็กและพัฒนาการของเด็กเล็ก
• สนับสนุนการศึกษาต่างๆ เพื่อติดตามตรวจสอบนโยบายสังคม
• รณรงค์ให้เกิดกฎหมายและนโยบายที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก
• รณรงค์เรื่องสิทธิเด็กในหมู่สื่อมวลชน
• ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วมใหญ่ใน พ.ศ. 2554 และสึนามิ
• สร้างความตระหนักเรื่องไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ H1N1
จะเห็นว่า ในขณะที่ประเทศไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากเดิม ภารกิจของยูนิเซฟก็ได้มีการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป แต่สิ่งที่จะยังคงเหมือนเดิม คือ ความมุ่งมั่นของยูนิเซฟในการทำให้ความเจริญก้าวหน้าได้ลงไปสู่เด็กทุกคนรวมถึงเด็กยากจนและเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง
ปัจจุบัน ยูนิเซฟมีเจ้าหน้าที่กว่า 30 คนที่ประจำอยู่ที่สำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อทำงานร่วมกับ ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคธุรกิจ องค์การอื่นๆ ภายใต้องค์การสหประชาชาติ และตัวเด็กและเยาวชนเอง
ยูนิเซฟเชื่อว่าเรากำลังเดินทางไปสู่วันที่เด็กทุกคนในประเทศไทย ไม่ว่าเพศใด เชื้อชาติใด สถานภาพทางสังคมหรือสถานภาพทางกฎหมายใด จะสามารถได้รับสิทธิที่ตนพึงได้ ในการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร อบอุ่น มีคุณภาพ และปลอดภัย เพื่อที่พวกเขาจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่
* อ้างอิงจาก : เว็บไซต์ยูนิเซฟ ประเทศไทย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 245/2559รมว.ศธ.หารือกับผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย
ศึกษาธิการ – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และผู้บริหารองค์กรหลัก ให้การต้อนรับนายโธมัส ดาวิน (Mr.Thomas Davin) ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย เนื่องในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะและหารือความร่วมมือด้านการศึกษา เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน 2559 ที่ห้องรับรองจันทรเกษม นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า ยูนิเซฟให้การสนับสนุนการศึกษาของไทยมาโดยตลอด โดยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการเข้าถึงการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น
การลดความเหลื่อมล้ำและ การสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มเด็กด้อยโอกาส โดยเฉพาะ การดูแลเด็กที่ออกนอกระบบการศึกษากลางคันหรือเด็กตกหล่นในประเทศไทย ซึ่งยูนิเซฟได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการทำวิจัยเพื่อวิเคราะห์เด็กตกหล่นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งจะแสดงให้เห็นปริมาณของเด็กตกหล่นในประเทศไทยและสามารถนำไปจัดทำข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายทางการศึกษาเพื่อดูแลเด็กกลุ่มดังกล่าวได้ต่อไป อีกประการหนึ่งคือ การพัฒนาศักยภาพของสถานศึกษาและครูพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนเพื่อให้เด็กสามารถอยู่ในระบบการศึกษาได้นานขึ้น เพราะเด็กที่ออกกลางคันมีความคิดว่าการศึกษาไม่มีประโยชน์ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการหาสาเหตุอย่างแท้จริงที่ทำให้เด็กออกกลางคัน ทั้งนี้ ได้สนับสนุนให้ประเทศไทยมีมาตรการในการตามหาตัวเด็กที่หายไปจากชั้นเรียน โดยสามารถใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ ดังเช่นในต่างประเทศจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การโทรศัพท์หรือส่งข้อความไปยังผู้ปกครองเมื่อเด็กไม่เข้าชั้นเรียน เป็นต้น การเรียนการสอนแบบคละชั้น กล่าวคือการผสมผสานชั้นเรียนและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การศึกษาทักษะชีวิต ซึ่งเน้นพัฒนาสื่อการเรียนการสอนและเครื่องมือที่ใช้ในการส่งเสริมการบูรณาการทักษะชีวิตกับกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อทำให้เด็กนักเรียนสามารถอยู่รอดในสังคมยุคปัจจุบันได้ การสนับสนุนให้เด็กนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาเข้าฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อฝึกทักษะด้านอาชีพด้วย การใช้โปรแกรมสำรวจติดตามการใช้จ่ายด้านการศึกษาของภาครัฐ กล่าวคือ การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้กับสถานศึกษาจะทำให้เกิดประสิทธิภาพจากการใช้จ่ายเงินมากขึ้น การป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษา และการป้องการความรุนแรงของเด็กในมิติต่าง ๆ ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา การพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการส่งเสริมศูนย์สื่อทรัพยากรสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูในเขตพื้นที่การศึกษา เนื่องจากเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนาการศึกษาประสบผลสำเร็จ ทั้งนี้ยูนิเซฟยินดีให้ความช่วยเหลือการศึกษาไทยอย่างครบวงจร รวมถึงให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาหรือภารกิจเร่งด่วน ซึ่งจะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการในการหาแนวทางหรือวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมของเด็กนักเรียนไทยต่อไป
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ประเทศไทยและยูนิเซฟมีความร่วมมือด้านการศึกษาในด้านต่าง ๆ มาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะการดูแลเด็กด้อยโอกาส และ แนวทางการแก้ปัญหาเด็กออกนอกระบบการศึกษากลางคัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกให้ความสำคัญเช่นกัน ขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง โดยจะเริ่มเข้าไปดูแลเด็กตั้งแต่แรกเริ่ม โดยหาสาเหตุที่ทำให้เด็กไม่เข้าสู่ระบบการศึกษา ส่วนการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ซึ่งจะทำการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคมในการสนับสนุนการศึกษาของประเทศผ่านโครงการประชารัฐ ด้านการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ และด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ ซึ่งโครงการประชารัฐสามารถช่วยพัฒนาสถานศึกษาในระดับต่าง ๆ ได้ เช่น โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งสถานศึกษาอาชีวศึกษาด้วย โดยเน้นการดำเนินงานที่โปร่งใสตรวจสอบได้ รวมทั้งการดำเนินการตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการของยูนิเซฟในการส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกอาชีพ โดยให้เด็กนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 ได้ทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะ 4 ด้าน (Head, Heart, Hands , Health) เพื่อส่งเสริมให้เด็กรู้ตัวเองว่ามีความสามารถและมีศักยภาพด้านใด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเลือกศึกษาต่อในสาขาต่าง ๆ ในอนาคตด้วย สำหรับโครงการต่าง ๆ ที่ยูนิเซฟจะเข้ามาให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมนั้น ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องส่งรูปแบบแนวทางการดำเนินงาน เพื่อพิจารณาให้เกิดการดำเนินงานที่ปฏิบัติได้จริง รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า จากนโยบายและปัญหาด้านการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น กระทรวงศึกษาธิการต้องทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน อาทิ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและร่วมกันแก้ไข และถือเป็นโอกาสอันดีที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับความร่วมมือจากยูนิเซฟซึ่งเป็นองค์การระดับโลก และมีประสบการณ์อย่างมากในการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเด็กและการศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการนำมาจัดทำแผนดูแลการศึกษาทั้งระบบต่อไปด้วย อรพรรณ ฤทธิ์มั่น
บัลลังก์ โรหิตเสถียร
สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี : ถ่ายภาพ
13/6/2559
About UNICEF *องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations International Children's Emergency Fund : UNICEF) ถือกำเนิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เด็กๆ ในทวีปยุโรปและเอเชียที่ต้องเผชิญกับภาวะอดอยากและโรคระบาดอันเป็นผลมาจากสงคราม โดยยูนิเซฟได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2489 และเพียง 2 ปีหลังจากนั้น ยูนิเซฟก็ได้เปิดสำนักงานขึ้นในประเทศไทยใน พ.ศ. 2491 งานของยูนิเซฟในประเทศไทยในช่วงแรก เน้นเรื่องสุขอนามัยและโภชนาการของเด็ก เราทำโครงการที่ขจัดโรคร้ายในเด็ก เช่น โรคคุดทะราด และช่วยริเริ่มโครงการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ในขณะเดียวกัน เราจัดหาน้ำดื่มสะอาดและรณรงค์เรื่องสุขอนามัยในท้องถิ่นทุรกันดาร และพัฒนาการโภชนาการของเด็กโดยโครงการดื่มนมในโรงเรียนและการแจกจ่ายเกลือไอโอดีน จากวันนั้นถึงวันนี้ ความเป็นอยู่ของเด็กในประเทศไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมาก และภารกิจของยูนิเซฟก็ได้เพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมประเด็นอื่นมากขึ้นตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันภารกิจหลักของเรา คือ • ปกป้องคุ้มครองเด็กจากการถูกทำร้าย การถูกล่วงละเมิด การถูกแสวงประโยชน์ และการถูกทอดทิ้ง • ทำให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาและพัฒนาคุณภาพการศึกษา • ป้องกันเด็กจากการติดเชื้อเอชไอวี และให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเอชไอวีและเอดส์ • งานด้านสุขภาพเด็กและพัฒนาการของเด็กเล็ก • สนับสนุนการศึกษาต่างๆ เพื่อติดตามตรวจสอบนโยบายสังคม • รณรงค์ให้เกิดกฎหมายและนโยบายที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก • รณรงค์เรื่องสิทธิเด็กในหมู่สื่อมวลชน • ให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น น้ำท่วมใหญ่ใน พ.ศ. 2554 และสึนามิ • สร้างความตระหนักเรื่องไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ H1N1 จะเห็นว่า ในขณะที่ประเทศไทยมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากเดิม ภารกิจของยูนิเซฟก็ได้มีการปรับเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป แต่สิ่งที่จะยังคงเหมือนเดิม คือ ความมุ่งมั่นของยูนิเซฟในการทำให้ความเจริญก้าวหน้าได้ลงไปสู่เด็กทุกคนรวมถึงเด็กยากจนและเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยง ปัจจุบัน ยูนิเซฟมีเจ้าหน้าที่กว่า 30 คนที่ประจำอยู่ที่สำนักงานในกรุงเทพฯ เพื่อทำงานร่วมกับ ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคธุรกิจ องค์การอื่นๆ ภายใต้องค์การสหประชาชาติ และตัวเด็กและเยาวชนเอง ยูนิเซฟเชื่อว่าเรากำลังเดินทางไปสู่วันที่เด็กทุกคนในประเทศไทย ไม่ว่าเพศใด เชื้อชาติใด สถานภาพทางสังคมหรือสถานภาพทางกฎหมายใด จะสามารถได้รับสิทธิที่ตนพึงได้ ในการเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร อบอุ่น มีคุณภาพ และปลอดภัย เพื่อที่พวกเขาจะสามารถพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ * อ้างอิงจาก : เว็บไซต์ยูนิเซฟ ประเทศไทย |
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น