เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 223/2559 ผลประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
-
การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งรัฐบาลเชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมใจกันร่วมกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะข้าราชการและทุกส่วนราชการที่จะแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีโดยพร้อมเพรียงกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2560 รวมทั้ง ร่วมประดับธงตราสัญลักษณ์ฯ ทั้งภายนอกอาคาร และภายในอาคาร เช่น ในห้องประชุมต่างๆ เป็นต้น
-
นมโรงเรียน ครม.ได้ฝากให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้พิจารณาดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแจกจ่ายนมสำหรับเด็กนักเรียน รวมทั้งสถานที่เก็บเพื่อไม่ให้นมบูดเน่า ตลอดจนพิจารณาเรื่องคุณค่า
ทางโภชนาการของเด็กในการดื่มนม ซึ่งควรให้เด็กดื่มนมทุกวันในช่วงเช้าไม่เกิน 10.00 น.
-
ให้ทุกกระทรวงปรับปรุงแผนปฏิบัติการของส่วนราชการ ทั้งระยะที่ 1 (พ.ศ.2557-2560) ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการมีโครงการสำคัญที่ได้ขยายผลและดำเนินการต่อเนื่อง เช่น โครงการทวิภาคี DLTV เป็นต้น และระยะที่ 2 ซึ่งเป็น
แผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 20 ปี(พ.ศ.2560-2579) เพื่อส่งต่อไปสู่การปฏิรูปและรัฐบาลต่อไป โดยมอบสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ดำเนินการ
-
นวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์
ขอให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ( สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอให้รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) ซึ่งกำกับดูแลเรื่องผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของประเทศ เพื่อสนับสนุนและการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ
-
รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่าไอเอ็มดี (International Institute for Management Development : IMD) จัดอันดับความสามารถของประเทศไทยดีขึ้นถึง 2 อันดับ มาเป็นอันดับที่ 28 ในปีนี้ แต่ในหมวดของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ผลการจัดอันดับของไทยในหมวดนี้ยังอยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งทำให้กระทรวงศึกษาธิการต้องมีส่วนสำคัญในการดำเนินการด้านต่างๆ ต่อการพัฒนา เช่น เพิ่มสัดส่วนแพทย์ต่อประชากร การประหยัดพลังงาน การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
-
การมีธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ในการประชุม ครม. ครั้งนี้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับอนุมัติให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
ที่ไม่เป็นส่วนราชการ รวมทั้งประเด็นกรณีปัญหาในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ที่มีจำนวนมากถึง 2,500 คน ทั้งที่ได้รับการอนุญาตให้รับนักศึกษาเพียง 500 คนเท่านั้น ซึ่งกรณีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง
รมว.ศึกษาธิการ แถลงข่าวภายหลังประชุมในประเด็นนี้ด้วยว่า ขณะนี้การบริหารงานอุดมศึกษาอยู่ในขั้นวิกฤต กำลังหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพราะในความเป็นจริงมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดี ๆ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มีปัญหา แต่กลุ่มที่เป็นปัญหาหากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำให้ปัญหาลุกลามหากเราไม่หยุดยั้งจึงได้ระดมนักกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการและคณะทำงานด้านกฎหมายฯ ได้ร่วมกันพิจารณาว่ามีกฎหมายข้อใดบ้างที่สามารถแก้ไขปัญหาอุดมศึกษาได้ แต่หากพิจารณาแล้วไม่มีกฎหมายที่สามารถนำมาใช้แก้ไขได้ ก็อาจจำเป็นต้องใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เพื่อแก้ปัญหาให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม โดยย้ำว่าการจะใช้คำสั่งมาตรา 44 ก็ต่อเมื่อมีความชัดเจนแล้วว่าการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้กฎหมายปกติเกิดข้อติดขัด ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และการใช้คำสั่งดังกล่าวไม่ได้ทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง
นอกจากนี้ ผู้บริหารแต่ละองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ ดังนี้
-
แผนงานการส่งเสริมภาษาอังกฤษของอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งได้รายงานความก้าวหน้าการยกระดับผลสัมฤทธิ์ภาษาอังกฤษ การจัดหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตร
MEP/EP ซึ่งเริ่มดำเนินการในสถานศึกษาอาชีวะจำนวน 5 แห่ง มาตั้งแต่ปี 2555 และมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 170 แห่งในปีการศึกษา 2559 ส่วนสถานศึกษาทั้งหมด 426 แห่งจะเน้นการประเมินคุณภาพการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งการฝึกอบรมทั้งครูภาษาอังกฤษและครูวิชาชีพให้มากขึ้น ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการเห็นว่า ต้องการให้อาชีวะเพิ่มปริมาณมากกว่านี้ เพราะขนาด (Scale) ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของอาชีวะตามเป้าหมายน้อยไป ควรสร้างเด็กรุ่นใหม่เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการก็มีโครงการสำคัญในการยกระดับภาษาอังกฤษมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรมครูแบบเข้ม, การขยายเวลาเรียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาจากเดิม 1 ชม./สัปดาห์ เป็น 5 ชม./สัปดาห์, การสร้างแอพพลิเคชั่น Echo English ที่จะมีส่วนสำคัญให้ครู นักเรียนนักศึกษา ผู้บริหารอาชีวะกว่า 2 หมื่นคนใช้เพื่อพัฒนาตนเองได้
-
นวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์ (สอศ.) ได้นำเสนอแนวทางพัฒนา นวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์ใน 4 ด้าน คือ เพื่อใช้เอง เชิงพาณิชย์ เชิงอุตสาหกรรม และเชิงชุมชน มีหลายชิ้นที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาจนสามารถขายสิทธิบัตรให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำหน่ายแล้ว เช่น กาลักน้ำ ขายสิทธิบัตรได้ในราคา 5 แสนบาท โดยรายได้ 80% เป็นของนักประดิษฐ์ อีก 10% เป็นของหน่วยงาน และ 10% เป็นรายได้แผ่นดิน
-
การรายงานประเด็นปัญหาของสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง (สกอ.) เช่น ประ
เด็นปัญหาความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
-
การรับนักเรียน ในเงื่อนไขพิเศษ (สพฐ.) ขอให้กำชับผู้บริหารโรงเรียนดูแลการรับนักเรียนกลุ่มนี้ให้เป็นไปตาม 7 เงื่อนไขพิเศษที่ สพฐ.กำหนดไว้ด้วย
-
การดูแลความปลอดภัยในโรงเรียน (สป.) ที่ประชุมเห็นว่าแม้จะมีการกำหนดมาตรการต่างๆ ไว้แล้ว แต่ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานในการซักซ้อมตามมาตรการที่วางไว้อย่างจริงจัง จึงให้ทุกองค์กรหลักดำเนินการในเรื่องนี้ รวมทั้งตรวจสอบอุปกรณ์/อาคารเรียนให้มีความปลอดภัย พร้อมทั้งจัดระบบการรายงานเมื่อเกิดเหตุ ตลอดจนการสร้างมาตรฐานการดูแลนักเรียนเมื่อเกิดเหตุในสถานศึกษาด้วย
-
โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สำหรับโรงเรียนชายขอบและโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ (สป.) เพื่อให้ขยายผลเต็มพื้นที่ 76 จังหวัด โดยร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย
-
ร่างแผนการศึกษาชาติฯ (สกศ.) จะเสนอต่อที่ประชุมสภาการศึกษาพิจารณาในวันที่ 7 มิถุนายนนี้
-
การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (สำนักงาน ก.ค.ศ.) โดยขอให้รายงาน รมว.ศึกษาธิการ รับทราบจำนวนและเงื่อนไขตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอขอไปแล้ว
-
การนำหลักเกณฑ์การนำบัญชีสอบครูผู้ช่วยไปใช้ (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ซึ่งจะมีการประชุม ก.ค.ศ.เพื่อพิจารณาในประเด็นนี้เพิ่มเติม
-
การเปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลทั่วประเทศ (สำนักงาน กศน.) ในวันที่ 13 มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมเซ็นทาราศูนย์ราชการและศูนย์การประชุม แจ้งวัฒนะ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
-
การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน (สำนักงาน กศน.) ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่าได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยกระทรวง ICT จะเป็นผู้จัดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุม กศน. ตำบลทั่วประเทศ ส่วน DTAC จะเป็นผู้จัดทำเนื้อหา (Content) ในการดำเนินการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต
-
การให้นักศึกษา กศน.ทั่วประเทศใช้งานแอพพลิเคชั่น Echo English (สำนักงาน กศน.) เพื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2559 จะ รับฟังความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานตามนโยบายจากผู้บริหารองค์กรหลัก หน่วยงานในสังกัด และองค์กรในกำกับ เช่น ปัญหา แนวทางแก้ไข แนวทาง/แผนงานจัดการศึกษา การบริหารงานบุคคล แม้แต่งานธุรการ ซึ่งต้องลงลึกรายละเอียดในเรื่องเหล่านี้ด้วย เพื่อช่วยกันอุดช่องว่างในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการศึกษา โดยมอบสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. ให้เตรียมการประชุม
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 223/2559 ผลประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก
ศึกษาธิการ - พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักกระทรวงศึกษาธิการ ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน 2559 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
การจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งรัฐบาลเชิญชวนประชาชนชาวไทยร่วมใจกันร่วมกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ โดยเฉพาะข้าราชการและทุกส่วนราชการที่จะแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีโดยพร้อมเพรียงกันในการจัดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2560 รวมทั้ง ร่วมประดับธงตราสัญลักษณ์ฯ ทั้งภายนอกอาคาร และภายในอาคาร เช่น ในห้องประชุมต่างๆ เป็นต้น - นมโรงเรียน ครม.ได้ฝากให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้พิจารณาดำเนินการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการแจกจ่ายนมสำหรับเด็กนักเรียน รวมทั้งสถานที่เก็บเพื่อไม่ให้นมบูดเน่า ตลอดจนพิจารณาเรื่องคุณค่า
ทางโภชนาการของเด็กในการดื่มนม ซึ่งควรให้เด็กดื่มนมทุกวันในช่วงเช้าไม่เกิน 10.00 น. - ให้ทุกกระทรวงปรับปรุงแผนปฏิบัติการของส่วนราชการ ทั้งระยะที่ 1 (พ.ศ.2557-2560) ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลนี้เข้ามาบริหารประเทศ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการมีโครงการสำคัญที่ได้ขยายผลและดำเนินการต่อเนื่อง เช่น โครงการทวิภาคี DLTV เป็นต้น และระยะที่ 2 ซึ่งเป็น
แผนยุทธศาสตร์ระยะยาว 20 ปี(พ.ศ.2560-2579) เพื่อส่งต่อไปสู่การปฏิรูปและรัฐบาลต่อไป โดยมอบสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ดำเนินการ - นวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์
ขอให้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ( สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำเสนอให้รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) ซึ่งกำกับดูแลเรื่องผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของประเทศ เพื่อสนับสนุนและการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานว่าไอเอ็มดี (International Institute for Management Development : IMD) จัดอันดับความสามารถของประเทศไทยดีขึ้นถึง 2 อันดับ มาเป็นอันดับที่ 28 ในปีนี้ แต่ในหมวดของโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ผลการจัดอันดับของไทยในหมวดนี้ยังอยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งทำให้กระทรวงศึกษาธิการต้องมีส่วนสำคัญในการดำเนินการด้านต่างๆ ต่อการพัฒนา เช่น เพิ่มสัดส่วนแพทย์ต่อประชากร การประหยัดพลังงาน การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ เป็นต้น - การมีธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษา ในการประชุม ครม. ครั้งนี้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา คือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับอนุมัติให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
ที่ไม่เป็นส่วนราชการ รวมทั้งประเด็นกรณีปัญหาในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ซึ่งไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ที่มีจำนวนมากถึง 2,500 คน ทั้งที่ได้รับการอนุญาตให้รับนักศึกษาเพียง 500 คนเท่านั้น ซึ่งกรณีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง
รมว.ศึกษาธิการ แถลงข่าวภายหลังประชุมในประเด็นนี้ด้วยว่า ขณะนี้การบริหารงานอุดมศึกษาอยู่ในขั้นวิกฤตกำลังหาแนวทางแก้ไขปัญหา เพราะในความเป็นจริงมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ดี ๆ มีเพียง 10% เท่านั้นที่มีปัญหา แต่กลุ่มที่เป็นปัญหาหากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะทำให้ปัญหาลุกลามหากเราไม่หยุดยั้งจึงได้ระดมนักกฎหมายของกระทรวงศึกษาธิการและคณะทำงานด้านกฎหมายฯ ได้ร่วมกันพิจารณาว่ามีกฎหมายข้อใดบ้างที่สามารถแก้ไขปัญหาอุดมศึกษาได้ แต่หากพิจารณาแล้วไม่มีกฎหมายที่สามารถนำมาใช้แก้ไขได้ ก็อาจจำเป็นต้องใช้คำสั่งตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เพื่อแก้ปัญหาให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม โดยย้ำว่าการจะใช้คำสั่งมาตรา 44 ก็ต่อเมื่อมีความชัดเจนแล้วว่าการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้กฎหมายปกติเกิดข้อติดขัด ทำให้ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และการใช้คำสั่งดังกล่าวไม่ได้ทำเพื่อใครคนใดคนหนึ่ง
- แผนงานการส่งเสริมภาษาอังกฤษของอาชีวศึกษา (สอศ.) ซึ่งได้รายงานความก้าวหน้าการยกระดับผลสัมฤทธิ์ภาษาอังกฤษ การจัดหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว การเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตร
MEP/EP ซึ่งเริ่มดำเนินการในสถานศึกษาอาชีวะจำนวน 5 แห่ง มาตั้งแต่ปี 2555 และมีเป้าหมายเพิ่มเป็น 170 แห่งในปีการศึกษา 2559 ส่วนสถานศึกษาทั้งหมด 426 แห่งจะเน้นการประเมินคุณภาพการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษ รวมทั้งการฝึกอบรมทั้งครูภาษาอังกฤษและครูวิชาชีพให้มากขึ้น ซึ่ง รมว.ศึกษาธิการเห็นว่า ต้องการให้อาชีวะเพิ่มปริมาณมากกว่านี้ เพราะขนาด (Scale) ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของอาชีวะตามเป้าหมายน้อยไป ควรสร้างเด็กรุ่นใหม่เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น ซึ่งขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการก็มีโครงการสำคัญในการยกระดับภาษาอังกฤษมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรมครูแบบเข้ม, การขยายเวลาเรียนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษาจากเดิม 1 ชม./สัปดาห์ เป็น 5 ชม./สัปดาห์, การสร้างแอพพลิเคชั่น Echo English ที่จะมีส่วนสำคัญให้ครู นักเรียนนักศึกษา ผู้บริหารอาชีวะกว่า 2 หมื่นคนใช้เพื่อพัฒนาตนเองได้ นวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์ (สอศ.) ได้นำเสนอแนวทางพัฒนา นวัตกรรมและผลงานสิ่งประดิษฐ์ใน 4 ด้าน คือ เพื่อใช้เอง เชิงพาณิชย์ เชิงอุตสาหกรรม และเชิงชุมชน มีหลายชิ้นที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาจนสามารถขายสิทธิบัตรให้ภาคเอกชนนำไปผลิตจำหน่ายแล้ว เช่น กาลักน้ำ ขายสิทธิบัตรได้ในราคา 5 แสนบาท โดยรายได้ 80% เป็นของนักประดิษฐ์ อีก 10% เป็นของหน่วยงาน และ 10% เป็นรายได้แผ่นดิน - การรายงานประเด็นปัญหาของสถาบันอุดมศึกษาบางแห่ง (สกอ.) เช่น ประ
เด็นปัญหาความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ การรับนักเรียน ในเงื่อนไขพิเศษ (สพฐ.) ขอให้กำชับผู้บริหารโรงเรียนดูแลการรับนักเรียนกลุ่มนี้ให้เป็นไปตาม 7 เงื่อนไขพิเศษที่ สพฐ.กำหนดไว้ด้วย การดูแลความปลอดภัยในโรงเรียน (สป.) ที่ประชุมเห็นว่าแม้จะมีการกำหนดมาตรการต่างๆ ไว้แล้ว แต่ยังไม่มีแผนการปฏิบัติงานในการซักซ้อมตามมาตรการที่วางไว้อย่างจริงจัง จึงให้ทุกองค์กรหลักดำเนินการในเรื่องนี้ รวมทั้งตรวจสอบอุปกรณ์/อาคารเรียนให้มีความปลอดภัย พร้อมทั้งจัดระบบการรายงานเมื่อเกิดเหตุ ตลอดจนการสร้างมาตรฐานการดูแลนักเรียนเมื่อเกิดเหตุในสถานศึกษาด้วย โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สำหรับโรงเรียนชายขอบและโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ (สป.) เพื่อให้ขยายผลเต็มพื้นที่ 76 จังหวัด โดยร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย ร่างแผนการศึกษาชาติฯ (สกศ.) จะเสนอต่อที่ประชุมสภาการศึกษาพิจารณาในวันที่ 7 มิถุนายนนี้ การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย (สำนักงาน ก.ค.ศ.) โดยขอให้รายงาน รมว.ศึกษาธิการ รับทราบจำนวนและเงื่อนไขตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอขอไปแล้ว การนำหลักเกณฑ์การนำบัญชีสอบครูผู้ช่วยไปใช้ (สำนักงาน ก.ค.ศ.) ซึ่งจะมีการประชุม ก.ค.ศ.เพื่อพิจารณาในประเด็นนี้เพิ่มเติม การเปิดศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลทั่วประเทศ (สำนักงาน กศน.) ในวันที่ 13 มิถุนายนนี้ ที่โรงแรมเซ็นทาราศูนย์ราชการและศูนย์การประชุม แจ้งวัฒนะ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน การจัดตั้งศูนย์ดิจิทัลชุมชน (สำนักงาน กศน.) ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบว่าได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยกระทรวง ICT จะเป็นผู้จัดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุม กศน. ตำบลทั่วประเทศ ส่วน DTAC จะเป็นผู้จัดทำเนื้อหา (Content) ในการดำเนินการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต การให้นักศึกษา กศน.ทั่วประเทศใช้งานแอพพลิเคชั่น Echo English (สำนักงาน กศน.) เพื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเอง
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น