เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
ข้อสอบออนไลน์ ( พัฒนาความรู้ครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 254/2559
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาเขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ที่เชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่ - พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาเขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เมื่อวันเสาร์ที่ 18มิถุนายน 2559 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ อำเภอเมืองเชียงใหม่
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ก ารประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาในภาพรวมของประเทศ ตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เนื่องจากเมื่อ คสช. ได้เข้ามาบริหารประเทศเมื่อปี 2557 ก็มีเจตนารมณ์ที่จะเร่งพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเริ่มต้นจากการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งส่งผลถึงความก้าวหน้ามาถึงคุณภาพการศึกษาในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีส่วนสำคัญทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 15,396 โรงที่เข้าร่วมโครงการในภาพรวมสูงขึ้น และมีส่วนสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูไม่ครบชั้น/ไม่ตรงวิชาเอกในโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านั้นเป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม เมื่อปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2558 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการทบทวนการทำงานในห้วงต่างๆ ซึ่งปรากฏว่า พื้นที่การศึกษาใน เขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ (ชายขอบ) และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีคุณภาพการศึกษาน่าห่วงใยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสอบ O-NET เพราะเมื่อเจาะลึกลงไปในบางโรงเรียนและบางเขตพื้นที่การศึกษาเหล่านี้ยังพบว่ามีคะแนนต่ำ ซึ่งทำให้ฉุดภาพรวมของประเทศจึงได้ปรึกษากับผู้บริหาร สพฐ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ทำการสำรวจข้อมูลและหาแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในพื้นที่เหล่านี้ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่จะต้องเรียนให้รู้เรื่องก่อน เพราะหากอ่านเขียนไม่ได้ก็จะกระทบกับการเรียนวิชาอื่นๆ ไปทั้งหมด ซึ่งกลุ่มสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. พิจารณาเห็นว่าควรปรับปรุงเทคนิคและวิธีการสอนภาษาไทย โดยนำรูปแบบที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ อาทิ การสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำ เป็นต้น
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ในการเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานศึกษาตามโครงการต่างๆ เพื่อต้องการให้กำลังใจในการทำงาน รวมทั้งการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจครูและผู้บริหารโรงเรียนใน เขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เพราะทราบดีว่ามีความลำบากและความเสียสละเป็นอย่างสูงในความทุ่มเทการทำงานเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ เพราะหากนักเรียนเรียนแล้วมีคะแนนดีขึ้น ย่อมทำให้ตัวเองมีความสุข ส่งผลให้ครูและผู้ปกครองต่างก็มีความสุขเช่นเดียวกันด้วย
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ฝากให้ผู้บริหารนำ "หลักอิทธิบาท 4" มาใช้ในการทำงานเพื่อให้ผลงานสู่ความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยฉันทะ : ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น, วิริยะ : ความพากเพียรในสิ่งนั้น, จิตตะ :ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น, วิมังสา : ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น ซึ่งมีผลทำให้เราสามารถทบทวนการปฏิบัติงานเป็นขั้นๆ ไป
และในโอกาส เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 จึงขอรณรงค์ให้ช่วยกันทำงานความดีและทำงานตามหน้าที่ ปฏิบัติตามหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 23 ประการ เพื่อถวายพระเกียรติพระองค์ในฐานะพระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ซึ่งการทำงานและการทำความดีดังกล่าวจะเป็นพระโอสถหรือยาขนานเอกที่จะถวายในหลวงให้มีพระวรกายและพระราชหฤทัยดีขึ้น
"สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่าง 17-20 มิถุนายน 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน เขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินการอ่านเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลสอบ O-NET ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนงานโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาตามแนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” รวมถึงเป็นแนวทางให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและโรงเรียนอื่นๆ ดำเนินการตามแนวทางพระราชดำริดังกล่าว โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้านวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เชียงใหม่ เขต 1-6, สพป.เชียงราย เขต 2, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1-2, สพป.ตาก เขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 34 รวม 11 เขต มีผู้เข้าร่วมจำนวนประมาณ 600 คน โดยมีวิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการให้ความรู้และร่วมวิเคราะห์เจาะลึกการยกระดับการทดสอบ O-NET รวมทั้งคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการถ่ายทอดการพัฒนาภาษาไทยอย่างเข้มข้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ต่อไป"
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 254/2559
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาเขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ที่เชียงใหม่
อย่างไรก็ตาม เมื่อปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2558 กระทรวงศึกษาธิการได้มีการทบทวนการทำงานในห้วงต่างๆ ซึ่งปรากฏว่า พื้นที่การศึกษาใน เขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ (ชายขอบ) และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีคุณภาพการศึกษาน่าห่วงใยอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลสอบ O-NET เพราะเมื่อเจาะลึกลงไปในบางโรงเรียนและบางเขตพื้นที่การศึกษาเหล่านี้ยังพบว่ามีคะแนนต่ำ ซึ่งทำให้ฉุดภาพรวมของประเทศจึงได้ปรึกษากับผู้บริหาร สพฐ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ทำการสำรวจข้อมูลและหาแนวทางการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนในพื้นที่เหล่านี้ โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่จะต้องเรียนให้รู้เรื่องก่อน เพราะหากอ่านเขียนไม่ได้ก็จะกระทบกับการเรียนวิชาอื่นๆ ไปทั้งหมด ซึ่งกลุ่มสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. พิจารณาเห็นว่าควรปรับปรุงเทคนิคและวิธีการสอนภาษาไทย โดยนำรูปแบบที่ประสบผลสำเร็จมาใช้ อาทิ การสอนอ่านแบบแจกลูกสะกดคำ เป็นต้น
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ในการเดินทางไปตรวจเยี่ยมสถานศึกษาตามโครงการต่างๆ เพื่อต้องการให้กำลังใจในการทำงาน รวมทั้งการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้กำลังใจครูและผู้บริหารโรงเรียนใน เขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เพราะทราบดีว่ามีความลำบากและความเสียสละเป็นอย่างสูงในความทุ่มเทการทำงานเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ เพราะหากนักเรียนเรียนแล้วมีคะแนนดีขึ้น ย่อมทำให้ตัวเองมีความสุข ส่งผลให้ครูและผู้ปกครองต่างก็มีความสุขเช่นเดียวกันด้วย
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ฝากให้ผู้บริหารนำ "หลักอิทธิบาท 4" มาใช้ในการทำงานเพื่อให้ผลงานสู่ความสำเร็จ ซึ่งประกอบด้วยฉันทะ : ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น, วิริยะ : ความพากเพียรในสิ่งนั้น, จิตตะ :ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น, วิมังสา : ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น ซึ่งมีผลทำให้เราสามารถทบทวนการปฏิบัติงานเป็นขั้นๆ ไป
และในโอกาส เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 จึงขอรณรงค์ให้ช่วยกันทำงานความดีและทำงานตามหน้าที่ ปฏิบัติตามหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 23 ประการ เพื่อถวายพระเกียรติพระองค์ในฐานะพระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน ซึ่งการทำงานและการทำความดีดังกล่าวจะเป็นพระโอสถหรือยาขนานเอกที่จะถวายในหลวงให้มีพระวรกายและพระราชหฤทัยดีขึ้น
"สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จัดขึ้นระหว่าง 17-20 มิถุนายน 2559 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใน เขตพื้นที่สูงจังหวัดชายแดนภาคเหนือ ได้ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินการอ่านเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และผลสอบ O-NET ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อนำไปสู่การกำหนดแผนงานโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาตามแนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” รวมถึงเป็นแนวทางให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและโรงเรียนอื่นๆ ดำเนินการตามแนวทางพระราชดำริดังกล่าว โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้านวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) เชียงใหม่ เขต 1-6, สพป.เชียงราย เขต 2, สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1-2, สพป.ตาก เขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 34 รวม 11 เขต มีผู้เข้าร่วมจำนวนประมาณ 600 คน โดยมีวิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการให้ความรู้และร่วมวิเคราะห์เจาะลึกการยกระดับการทดสอบ O-NET รวมทั้งคณาจารย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการถ่ายทอดการพัฒนาภาษาไทยอย่างเข้มข้น เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการของแต่ละพื้นที่ต่อไป"
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ฟรี... ติวสอบครูผู้ช่วย ติวสอบผู้บริหาร บุคลากรการศึกษา-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น