อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 234/2561รมว.ศธ.เปิด การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 13
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 13 (The 13th Conference on Science and Technology for Youths) "นวัตกรรมสร้างสรรค์สู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน" พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง "ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่เวทีโลก ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม" เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ โดยมี ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานกรรมการ สสวท., ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา, คณาจารย์ และนักเรียนนักศึกษาจากประเทศไทยและนานาประเทศ เข้าร่วมงาน
รมว.ศึกษาธิการ บรรยายพิเศษตอนหนึ่งว่า การปฏิรูปการศึกษาที่ดีควรมีข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อเป็นทิศทางในการขับเคลื่อนการปฏิรูป โดยหนึ่งในข้อมูลเชิงประจักษ์ก็คือ การวิเคราะห์ผลการสอบ PISA วัดการนำความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่านไปใช้ในชีวิตจริง
ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมทดสอบ PISA ยังมีความเหลื่อมล้ำในกลุ่มเด็กไทยเองประมาณ 7 ปีการศึกษา แม้จะมีเด็กเก่งได้รางวัลนานาชาติจำนวนมาก แต่ก็มาจากไม่กี่โรงเรียนเท่านั้น และทำคะแนนเทียบเท่ากับเด็กในประเทศที่เจริญ ซึ่งมีคะแนนสูงติดอันดับ 2-3 ของโลก แต่ในขณะเดียวกับเด็กที่ได้คะแนนเฉลี่ยในระดับต่ำจำนวนมาก และช่องว่างของเด็กเก่งกับเด็กอ่อนไม่เคยแคบลง ดังนั้น เราต้องหันกลับมามองเด็ก ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเมือง เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำโดยให้โอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ตลอดจนยกระดับความสามารถและศักยภาพให้สูงขึ้นด้วย สิ่งสำคัญคือ ทุกคนต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และทำให้ครูเก่งมีแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสอนเด็กที่อ่อนที่สุด และรักวิชาที่ตนสอน
ในส่วนของ สสวท. ซึ่งเป็นองค์กรหลักขับเคลื่อนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีมากว่า 40 ปี แล้ว การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ จึงขอฝากให้นำโครงการดี ๆ เช่นนี้ขยายไปถึงเด็กและเยาวชนในทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความคุ้นชินให้กับเด็กเยาวชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้สนใจได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่รายล้อมรอบตัวเราด้วย
ในส่วนของ ศธ. มีแผนขับเคลื่อนนโยบายด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อสร้างคนที่มีความสามารถในงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีเป้าหมาย อาทิ มีจำนวนผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น, คะแนนเฉลี่ยของประเทศในวิชาวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์สูงขึ้น เป็นต้น พร้อมได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบกับในปัจจุบันนักเรียนและครูเองก็มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นมากขึ้น
เพราะโลกกำลังขับเคลื่อนด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ หากเราไม่สร้างคนเพื่อให้มีองค์ความรู้ไปสู่การทำงานด้านวิทยาศาสตร์ และพัฒนาต่อยอดสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีได้ ประเทศก็หยุดอยู่กับที่ และเราก็จะต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศอยู่เรื่อยไป แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเรียนวิทยาศาสตร์ผู้เรียนต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างมาก เพราะเรียนในสิ่งที่ยาก แต่เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะหางานได้ง่ายเพราะมีคนเรียนน้อยและจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงด้วย
ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ กล่าวถึงการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ว่าเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียนทุนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 รวมถึงนิสิตนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ โดยถือเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษามีความสนใจงานวิจัยและต้องการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พร้อมทั้งสร้างนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนักวิจัยให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับนโยบายของประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ในส่วนของโครงการ พสวท. นั้น ได้เริ่มดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2527 โดยในระยะแรกเป็นความร่วมมือระหว่าง สสวท. กับกระทรวงศึกษาธิการ, สพฐ., สกอ.และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยสนับสนุนทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยมืออาชีพที่มีศักยภาพสูง สำหรับเข้าปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ และหน่วยงานในกำกับของรัฐ ได้นำความรู้ความสามารถไปพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมทั้งประดิษฐ์ คิดค้นผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวม เชื่อมโยงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ปัจจุบันมีผู้รับทุน พสวท. ที่กำลังศึกษาอยู่จำนวน 1,672 คน และมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วหรือบัณฑิต พสวท. จำนวน 1,324 คน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยภาครัฐทั่วประเทศ โดยมีผลงานในเชิงประจักษ์ เช่น รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ, รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ, รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่อีกจำนวนมาก ตลอดมีผลงานได้รับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรมากกว่า 200 เรื่อง และได้รับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 7,200 เรื่อง
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 234/2561รมว.ศธ.เปิด การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 13
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 13 (The 13th Conference on Science and Technology for Youths) "นวัตกรรมสร้างสรรค์สู่การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน" พร้อมบรรยายพิเศษเรื่อง "ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่เวทีโลก ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม" เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ โดยมี ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), รศ.ดร.ธัชชัย สุมิตร ประธานกรรมการ สสวท., ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา, คณาจารย์ และนักเรียนนักศึกษาจากประเทศไทยและนานาประเทศ เข้าร่วมงาน
รมว.ศึกษาธิการ บรรยายพิเศษตอนหนึ่งว่า การปฏิรูปการศึกษาที่ดีควรมีข้อมูลที่ชัดเจน เพื่อเป็นทิศทางในการขับเคลื่อนการปฏิรูป โดยหนึ่งในข้อมูลเชิงประจักษ์ก็คือ การวิเคราะห์ผลการสอบ PISA วัดการนำความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่านไปใช้ในชีวิตจริง
ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมทดสอบ PISA ยังมีความเหลื่อมล้ำในกลุ่มเด็กไทยเองประมาณ 7 ปีการศึกษา แม้จะมีเด็กเก่งได้รางวัลนานาชาติจำนวนมาก แต่ก็มาจากไม่กี่โรงเรียนเท่านั้น และทำคะแนนเทียบเท่ากับเด็กในประเทศที่เจริญ ซึ่งมีคะแนนสูงติดอันดับ 2-3 ของโลก แต่ในขณะเดียวกับเด็กที่ได้คะแนนเฉลี่ยในระดับต่ำจำนวนมาก และช่องว่างของเด็กเก่งกับเด็กอ่อนไม่เคยแคบลง ดังนั้น เราต้องหันกลับมามองเด็ก ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในเมือง เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำโดยให้โอกาสได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ตลอดจนยกระดับความสามารถและศักยภาพให้สูงขึ้นด้วย สิ่งสำคัญคือ ทุกคนต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และทำให้ครูเก่งมีแรงบันดาลใจและความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะสอนเด็กที่อ่อนที่สุด และรักวิชาที่ตนสอน
ในส่วนของ สสวท. ซึ่งเป็นองค์กรหลักขับเคลื่อนการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีมากว่า 40 ปี แล้ว การจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนงานด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ จึงขอฝากให้นำโครงการดี ๆ เช่นนี้ขยายไปถึงเด็กและเยาวชนในทุกระดับอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความคุ้นชินให้กับเด็กเยาวชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ผู้สนใจได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่รายล้อมรอบตัวเราด้วย
ในส่วนของ ศธ. มีแผนขับเคลื่อนนโยบายด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อสร้างคนที่มีความสามารถในงานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างมีเป้าหมาย อาทิ มีจำนวนผู้เรียนสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น, คะแนนเฉลี่ยของประเทศในวิชาวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์สูงขึ้น เป็นต้น พร้อมได้ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบกับในปัจจุบันนักเรียนและครูเองก็มีความตื่นตัวและกระตือรือร้นมากขึ้น
เพราะโลกกำลังขับเคลื่อนด้วยสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ หากเราไม่สร้างคนเพื่อให้มีองค์ความรู้ไปสู่การทำงานด้านวิทยาศาสตร์ และพัฒนาต่อยอดสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีได้ ประเทศก็หยุดอยู่กับที่ และเราก็จะต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศอยู่เรื่อยไป แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเรียนวิทยาศาสตร์ผู้เรียนต้องมีความมุ่งมั่นตั้งใจอย่างมาก เพราะเรียนในสิ่งที่ยาก แต่เมื่อจบการศึกษาแล้ว จะหางานได้ง่ายเพราะมีคนเรียนน้อยและจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงด้วย
ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ กล่าวถึงการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ว่าเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อเป็นเวทีให้นักเรียนทุนในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และ ปีที่ 4 รวมถึงนิสิตนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาจากภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการ โดยถือเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนนักศึกษามีความสนใจงานวิจัยและต้องการเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พร้อมทั้งสร้างนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนักวิจัยให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับนโยบายของประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ในส่วนของโครงการ พสวท. นั้น ได้เริ่มดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2527 โดยในระยะแรกเป็นความร่วมมือระหว่าง สสวท. กับกระทรวงศึกษาธิการ, สพฐ., สกอ.และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อผลิตผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยสนับสนุนทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงระดับปริญญาเอก เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยมืออาชีพที่มีศักยภาพสูง สำหรับเข้าปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หน่วยงานราชการ และหน่วยงานในกำกับของรัฐ ได้นำความรู้ความสามารถไปพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมทั้งประดิษฐ์ คิดค้นผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวม เชื่อมโยงนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
ปัจจุบันมีผู้รับทุน พสวท. ที่กำลังศึกษาอยู่จำนวน 1,672 คน และมีผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วหรือบัณฑิต พสวท. จำนวน 1,324 คน ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยภาครัฐทั่วประเทศ โดยมีผลงานในเชิงประจักษ์ เช่น รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นแห่งชาติ, รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ, รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่อีกจำนวนมาก ตลอดมีผลงานได้รับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรมากกว่า 200 เรื่อง และได้รับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในวารสารทั้งในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 7,200 เรื่อง
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น