อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 232/2561
รมช.ศธ.(นพ.อุดม) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน Partnership School ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เป็นแห่งแรกที่โรงเรียนวัดจุฬามณี (ชุณหะจันทนประชาสวรรค์) อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2561 โดยมีนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการบริษัท บริษัทไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง (ไทยเบฟ) และคณะทำงาน, นายสนิท แย้มเกษร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนผู้บริหารกระทรวง รองศึกษาธิการภาค 1 ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน ตลอดจนผู้นำชุมชน ให้การต้อนรับและประชุมหารือร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจสู่โรงเรียน
นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้มาเยี่ยมชมโรงเรียนวัดจุฬามณี (ชุณหะจันทนประชาสวรรค์) ซึ่งเป็น 1 ใน 50 โรงเรียนที่ได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) โดยโรงเรียนนี้เป็น 1 ใน 18 แห่งที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด โรงเรียนนี้เป็นแห่งแรกที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล โดย ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เปิดเทอมเดือนพฤษภาคม 2561 เพื่อต้องการสร้างโรงเรียนต้นแบบตามโครงการ ใน 30 จังหวัด ที่มีการร่วมพัฒนากับทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง เชื่อมโยงไปสู่ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาตามโครงการอาชีวะและบัณฑิตพันธุ์ใหม่
หลักการสำคัญของโครงการ Partnership School เพื่อต้องการให้โรงเรียนมีความคล่องตัวและสามารถบริหารจัดการโรงเรียน ภายใต้ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และชุมชน โดยมีความอิสระ 3 ส่วน คือ
-
อิสระในการออกแบบหลักสูตรเอง ในสัดส่วนร้อยละ 30 ของเวลาเรียน ซึ่งจะทำให้เป็นโรงเรียนต้นแบบที่จะสร้างอนาคต
สร้างอาชีพให้กับนักเรียน เชื่อมโยงและร่วมแก้ปัญหาของชุมชน ดัง เช่นตัวอย่างของโรงเรียน นี้ท ี่เน้น Smart Farming โดยจัดหลักสูตรให้นำนักเรียนไปศึกษาดูงานบริษัทใกล้เคียงโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้เรียนจากของจริงทุกวันศุกร์ ไม่ใช่เรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น
-
อิสระในการออกแบบจัดการเรียนการสอนเอง โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ ครูต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่ต้องหมั่นตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกคิด จากนั้นจึงใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้จากของจริง ครูจึงต้องพานักเรียนมาเรียนของจริงในสถานที่จริง ให้เด็กได้เรียนในแปลงเกษตรของโรงเรียน สามารถบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งภูมิอากาศ สภาพดิน เคมีในปุ๋ย ปุ๋ยธรรมชาติ ฯลฯ
-
อิสระในการบริหารจัดการเอง โดยรูปแบบของโรงเรียนร่วมพัฒนามีความพิเศษคือ ขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง มีการปลดล็อคระเบียบต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากผู้แทน 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยบริหารจัดการ คือ ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง โดยมีผู้แทนภาคเอกชนเป็นประธานกรรมการสถานศึกษา เพื่อจะได้นำแนวคิดการทำงานแบบใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนให้ไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จะมีบทบาทในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานในด้านต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง ถือเป็นจุดเริ่มต้นสนองตอบต่อ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2561 ที่ระบุไว้ว่า "...จัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ และ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าว มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล..."
"ด้วยรูปแบบโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบขยายไปสู่ 30,000 โรงเรียนทั่วประเทศ และกระจายให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมดูแลจัดการศึกษาในพื้นที่ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้กระทรวงเล็กลง โดยกระทรวงจะตามในเรื่องคุณภาพการศึกษาเท่านั้น เพราะกระทรวงไม่ใช่เจ้าของการศึกษา หากแต่เจ้าของที่แท้จริงคือ ประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กล่าวว่า กลุ่มไทยเบฟรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะมาร่วมทำหน้าที่ในการบริหารจัดการโรงเรียนตามโครงการนี้ โดยจะเติมเต็มในส่วนที่เราถนัด พร้อมทั้งจะหารือกับภาคีเครือข่าย รวมทั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเข้ามาพัฒนาและสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นตามภูมิสังคม โดยจะให้ความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน 3 เรื่องที่สำคัญ คือ ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะอาชีพ และการเป็นคนดีของสังคม
นอกจากนี้ จะได้ต่อยอดความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนวัดจุฬามณี ซึ่งจะยังคงหลักการทำงานของ "บ ว ร" ไว้อย่างเหนียวแน่น นอกจากคำนึงถึงการเป็น "บ้าน-วัด-โรงเรียน" แล้ว อาจต้องขยายความให้ครอบคลุมไปถึง "บ" คือบริษัท "ว" คือ วิสาหกิจชุมชน และ "ร" คือราชการ
"เด็กที่นี่มีความฝัน มีความต้องการที่เป็นจุดหมายของตัวเอง ผู้ใหญ่อย่างเราเพียงแค่ช่วยกระตุ้นส่งเสริม ให้พวกเขาได้เป็นในสิ่งที่คาดหวังอย่างเข้มแข็ง ทั้งทางทักษะความรู้ ความคิด คุณธรรม การสร้างรายได้ ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นรากเหง้าของความเป็นท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเด็กเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่และประเทศได้ในอนาคต"
นายชาญวิทย์ ผลชีวิน คณะทำงาน กล่าวว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาแห่งนี้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้จริง ๆ จากสถานที่จริง รวมทั้งการธำรงรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นเอาไว้เป็นอย่างดี เช่น นายขนมต้ม พร้อมทั้งมีการเพิ่มทักษะนอกห้องเรียน เน้นให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นทีม ก็จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ชัดเจน เช่น เริ่มต้นจากการเป็นมัคคุเทศก์น้อย พูดได้ 3 ภาษา ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณธรรม นำความรู้ทักษะที่หลากหลายจากท้องถิ่นไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต โดยที่ทักษะเหล่านี้จะร้อยเรียงติดตัวกันจนเติบโต
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 232/2561
รมช.ศธ.(นพ.อุดม) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน Partnership School ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
รมช.ศธ.(นพ.อุดม) ตรวจเยี่ยมโรงเรียน Partnership School ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School) เป็นแห่งแรกที่โรงเรียนวัดจุฬามณี (ชุณหะจันทนประชาสวรรค์) อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม 2561 โดยมีนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการบริษัท บริษัทไทยเบฟเวอเรจ มาร์เก็ตติ้ง (ไทยเบฟ) และคณะทำงาน, นายสนิท แย้มเกษร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนผู้บริหารกระทรวง รองศึกษาธิการภาค 1 ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู ผู้ปกครอง นักเรียน ตลอดจนผู้นำชุมชน ให้การต้อนรับและประชุมหารือร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจสู่โรงเรียน
หลักการสำคัญของโครงการ Partnership School เพื่อต้องการให้โรงเรียนมีความคล่องตัวและสามารถบริหารจัดการโรงเรียน ภายใต้ความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่และชุมชน โดยมีความอิสระ 3 ส่วน คือ
- อิสระในการออกแบบหลักสูตรเอง ในสัดส่วนร้อยละ 30 ของเวลาเรียน ซึ่งจะทำให้เป็นโรงเรียนต้นแบบที่จะสร้างอนาคต
สร้างอาชีพให้กับนักเรียน เชื่อมโยงและร่วมแก้ปัญหาของชุมชน ดัง เช่นตัวอย่างของโรงเรียน นี้ท ี่เน้น Smart Farming โดยจัดหลักสูตรให้นำนักเรียนไปศึกษาดูงานบริษัทใกล้เคียงโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้เรียนจากของจริงทุกวันศุกร์ ไม่ใช่เรียนแต่ในห้องเรียนเท่านั้น - อิสระในการออกแบบจัดการเรียนการสอนเอง โดยเน้นการคิดวิเคราะห์ ครูต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่ต้องหมั่นตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้ฝึกคิด จากนั้นจึงใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้จากของจริง ครูจึงต้องพานักเรียนมาเรียนของจริงในสถานที่จริง ให้เด็กได้เรียนในแปลงเกษตรของโรงเรียน สามารถบูรณาการการเรียนการสอนในวิชาต่าง ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งภูมิอากาศ สภาพดิน เคมีในปุ๋ย ปุ๋ยธรรมชาติ ฯลฯ
- อิสระในการบริหารจัดการเอง โดยรูปแบบของโรงเรียนร่วมพัฒนามีความพิเศษคือ ขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยตรง มีการปลดล็อคระเบียบต่าง ๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น มีคณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากผู้แทน 4 ฝ่ายเข้ามาช่วยบริหารจัดการ คือ ภาคประชาสังคม ท้องถิ่น ภาคเอกชน และมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง โดยมีผู้แทนภาคเอกชนเป็นประธานกรรมการสถานศึกษา เพื่อจะได้นำแนวคิดการทำงานแบบใหม่ ๆ ที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโรงเรียนให้ไปสู่เป้าหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ส่วนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด จะมีบทบาทในการช่วยส่งเสริมสนับสนุนงานในด้านต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วง ถือเป็นจุดเริ่มต้นสนองตอบต่อ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2561 ที่ระบุไว้ว่า "...จัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ และ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าว มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล..."
"ด้วยรูปแบบโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน จะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบขยายไปสู่ 30,000 โรงเรียนทั่วประเทศ และกระจายให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมดูแลจัดการศึกษาในพื้นที่ได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้กระทรวงเล็กลง โดยกระทรวงจะตามในเรื่องคุณภาพการศึกษาเท่านั้น เพราะกระทรวงไม่ใช่เจ้าของการศึกษา หากแต่เจ้าของที่แท้จริงคือ ประชาชน ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น"
นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กล่าวว่า กลุ่มไทยเบฟรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะมาร่วมทำหน้าที่ในการบริหารจัดการโรงเรียนตามโครงการนี้ โดยจะเติมเต็มในส่วนที่เราถนัด พร้อมทั้งจะหารือกับภาคีเครือข่าย รวมทั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเข้ามาพัฒนาและสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นตามภูมิสังคม โดยจะให้ความสำคัญในการบริหารจัดการศึกษาสำหรับนักเรียน 3 เรื่องที่สำคัญ คือ ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะอาชีพ และการเป็นคนดีของสังคม
นอกจากนี้ จะได้ต่อยอดความร่วมมือในการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนวัดจุฬามณี ซึ่งจะยังคงหลักการทำงานของ "บ ว ร" ไว้อย่างเหนียวแน่น นอกจากคำนึงถึงการเป็น "บ้าน-วัด-โรงเรียน" แล้ว อาจต้องขยายความให้ครอบคลุมไปถึง "บ" คือบริษัท "ว" คือ วิสาหกิจชุมชน และ "ร" คือราชการ
"เด็กที่นี่มีความฝัน มีความต้องการที่เป็นจุดหมายของตัวเอง ผู้ใหญ่อย่างเราเพียงแค่ช่วยกระตุ้นส่งเสริม ให้พวกเขาได้เป็นในสิ่งที่คาดหวังอย่างเข้มแข็ง ทั้งทางทักษะความรู้ ความคิด คุณธรรม การสร้างรายได้ ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นรากเหง้าของความเป็นท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเด็กเติบโตเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่และประเทศได้ในอนาคต"
นายชาญวิทย์ ผลชีวิน คณะทำงาน กล่าวว่า โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาแห่งนี้ ทำให้เด็กได้เรียนรู้จริง ๆ จากสถานที่จริง รวมทั้งการธำรงรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นเอาไว้เป็นอย่างดี เช่น นายขนมต้ม พร้อมทั้งมีการเพิ่มทักษะนอกห้องเรียน เน้นให้เด็กทำงานร่วมกันเป็นทีม ก็จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ชัดเจน เช่น เริ่มต้นจากการเป็นมัคคุเทศก์น้อย พูดได้ 3 ภาษา ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณธรรม นำความรู้ทักษะที่หลากหลายจากท้องถิ่นไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต โดยที่ทักษะเหล่านี้จะร้อยเรียงติดตัวกันจนเติบโต
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น