อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 246/2561 รมว.ศธ. ลงพื้นที่อุบลราชธานี-ศรีสะเกษ ก่อนประชุม ครม.สัญจร
23 กรกฎาคม 2561 - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามการดำเนินงานและตรวจเยี่ยมโรงเรียนปทุมวิทยากร อ.เมืองอุบลราชธานี และจังหวัด ศรีสะเกษ ที่โรงเรียนอนุบาลกันทรารมย์ โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา และ โรงเรียนภูมิซรอลวิทยาก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 5/2561 (กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 : อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ) โดยมี ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงพื้นที่ อาทิ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ฯลฯ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังดำเนินการแก้ปัญหาภาระงานครูที่มากเกินไป เช่น งานเอกสาร งานจัดซื้อจัดจ้าง งานธุรการ เป็นต้น ทำให้ครูไม่มีเวลาอยู่กับเด็กหรือสอนเด็กได้ไม่เต็มที่ โดยที่ผ่านมาได้มีการพยายามแก้ปัญหาด้วยการจ้างนักธุรการหรือให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้ามาช่วย ซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่สำคัญคือ เราต้องรู้ว่าหน้าที่ของครูคืออะไร เพราะหน้าที่ของครูคือการสอนและเตรียมการสอน ส่วนงานธุรการเป็นหน้าที่รอง หากมีเวลาว่างจากการทำหน้าที่ครูก็ไปช่วยงานธุรการได้ ในขณะที่ผู้ที่มีหน้าที่ด้านธุรการจริง ๆ คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จากการหารือก็เห็นว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ยอมรับหน้าที่ส่วนนี้ พร้อมเป็นผู้เสนอว่าต่อไปนี้งานธุรการหรือการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบ หากคนไม่พอก็ต้องแก้ปัญหาภายใน อีกทั้งหน่วยงานส่วนกลางก็ต้องไม่นำภาระไปให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามากเกินไป เช่น ระบบประเมินโครงการต่าง ๆ ซึ่งมีนับร้อยและทำให้ครูไม่ได้เข้าห้องเรียน โดยให้ตั้งหลักว่าใครมีหน้าที่อะไร หากจะเพิ่มคนที่ทำงานธุรการมีงบประมาณเพียงพอหรือไม่หรือต้องจ้างเพิ่มจำนวนทั้งหมดกี่คน ให้ศึกษาและวิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมด
สำหรับระบบการประเมินและประกันคุณภาพก็มีกฎหมายใหม่แล้ว ขอให้ทุกคนทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า รูปแบบการประกันคุณภาพจะดำเนินการในลักษณะให้เกรด 5 ระดับ ตามแนวทางการประเมินของโรงเรียนประชารัฐ คือ เกรด 1 โรงเรียนที่กำลังพัฒนา (Developing) เกรด 2 ปานกลาง (Fair) เกรด 3 ดี (Good) เกรด 4 ดีเลิศ (Great) และเกรด 5 ยอดเยี่ยม (Excellent)โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณาว่าโรงเรียนของตนอยู่เกรดระดับใด พร้อมเขียนรายงานและแสดงหลักฐานประกอบ และเมื่อรู้ว่าโรงเรียนของตนอยู่ระดับใด ให้เขียนแผนหรือแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยจะไม่มีการประเมินด้วยกระดาษที่กำหนดตัวชี้วัดต่าง ๆ ไปเพิ่มภาระให้ครูที่โรงเรียนอีกแล้ว
ข่าวที่ 246/2561 รมว.ศธ. ลงพื้นที่อุบลราชธานี-ศรีสะเกษ ก่อนประชุม ครม.สัญจร
23 กรกฎาคม 2561 - นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อติดตามการดำเนินงานและตรวจเยี่ยมโรงเรียนปทุมวิทยากร อ.เมืองอุบลราชธานี และจังหวัด ศรีสะเกษ ที่โรงเรียนอนุบาลกันทรารมย์ โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา และ โรงเรียนภูมิซรอลวิทยาก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 5/2561 (กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 : อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ) โดยมี ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมลงพื้นที่ อาทิ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ฯลฯ
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังดำเนินการแก้ปัญหาภาระงานครูที่มากเกินไป เช่น งานเอกสาร งานจัดซื้อจัดจ้าง งานธุรการ เป็นต้น ทำให้ครูไม่มีเวลาอยู่กับเด็กหรือสอนเด็กได้ไม่เต็มที่ โดยที่ผ่านมาได้มีการพยายามแก้ปัญหาด้วยการจ้างนักธุรการหรือให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเข้ามาช่วย ซึ่งก็ได้ข้อสรุปที่สำคัญคือ เราต้องรู้ว่าหน้าที่ของครูคืออะไร เพราะหน้าที่ของครูคือการสอนและเตรียมการสอน ส่วนงานธุรการเป็นหน้าที่รอง หากมีเวลาว่างจากการทำหน้าที่ครูก็ไปช่วยงานธุรการได้ ในขณะที่ผู้ที่มีหน้าที่ด้านธุรการจริง ๆ คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
จากการหารือก็เห็นว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็ยอมรับหน้าที่ส่วนนี้ พร้อมเป็นผู้เสนอว่าต่อไปนี้งานธุรการหรือการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบ หากคนไม่พอก็ต้องแก้ปัญหาภายใน อีกทั้งหน่วยงานส่วนกลางก็ต้องไม่นำภาระไปให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามากเกินไป เช่น ระบบประเมินโครงการต่าง ๆ ซึ่งมีนับร้อยและทำให้ครูไม่ได้เข้าห้องเรียน โดยให้ตั้งหลักว่าใครมีหน้าที่อะไร หากจะเพิ่มคนที่ทำงานธุรการมีงบประมาณเพียงพอหรือไม่หรือต้องจ้างเพิ่มจำนวนทั้งหมดกี่คน ให้ศึกษาและวิเคราะห์ภาพรวมทั้งหมด
สำหรับระบบการประเมินและประกันคุณภาพก็มีกฎหมายใหม่แล้ว ขอให้ทุกคนทำความเข้าใจให้ตรงกันว่า รูปแบบการประกันคุณภาพจะดำเนินการในลักษณะให้เกรด 5 ระดับ ตามแนวทางการประเมินของโรงเรียนประชารัฐ คือ เกรด 1 โรงเรียนที่กำลังพัฒนา (Developing) เกรด 2 ปานกลาง (Fair) เกรด 3 ดี (Good) เกรด 4 ดีเลิศ (Great) และเกรด 5 ยอดเยี่ยม (Excellent)โดยให้ผู้อำนวยการโรงเรียนพิจารณาว่าโรงเรียนของตนอยู่เกรดระดับใด พร้อมเขียนรายงานและแสดงหลักฐานประกอบ และเมื่อรู้ว่าโรงเรียนของตนอยู่ระดับใด ให้เขียนแผนหรือแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้น โดยจะไม่มีการประเมินด้วยกระดาษที่กำหนดตัวชี้วัดต่าง ๆ ไปเพิ่มภาระให้ครูที่โรงเรียนอีกแล้ว
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น