อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 236/2561ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. 14/2561
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 14/2561 เมื่อวันอังคารที่ 17 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ และศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการรวมทั้งผู้บริหารองค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับเข้าร่วมประชุม
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า ได้แจ้งให้ ที่ประชุมรับทราบประเด็นหารือในการประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้
● กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ.2561
คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 5,900 ล้านบาท ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสนอ เพื่อใช้สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 โดยนายกรัฐมนตรีได้ให้ข้อเสนอแนะให้ทบทวนภารกิจของเจ้าของหน่วยงาน และควรใช้คำว่า "การเติมส่วนที่ขาด" ซึ่งมีความสอดคล้องกับขอบเขตภารกิจหน้าที่ของกองทุนฯ
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เสนอแต่งตั้งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นกรรมการกองทุนฯ โดย รมว.ศธ.ขอให้ผู้เกี่ยวข้องทำหน้าที่อย่างจริงจังและคำนึงถึงภาพรวมประเทศ พร้อมทำหน้าที่สำคัญในการเป็นตัวแทนกระทรวงศึกษาธิการในการเสนอข้อมูลและชี้แจงต่อที่ประชุมถึงงานและภารกิจที่อาจเกิดความซ้ำซ้อนกัน หากจำเป็นต้องส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม ขอให้เลือกส่งผู้ที่มีความเข้าใจงานและมีอำนาจตัดสินใจเข้าร่วมประชุมแทน
● รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายสาเหตุของโรคไข้เลือดออก
จากการรายงานสถิติจำนวนประชาชนที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในระยะนี้มีสถิติจำนวนผู้ใหญ่ป่วยเพิ่มมากขึ้น และแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายส่วนใหญ่ก็เป็นพื้นที่สาธารณะ ดังนั้น จึงได้สั่งการให้สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการทุกแห่ง ประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อออกมาตรการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในที่ต่าง ๆ ที่จะเป็นการป้องกันการเกิดพาหะนำโรคไข้เลือดออกทั้งในสถานศึกษา บ้านเรือน และชุมชน
● รณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รายงานสภาวการณ์การใช้ถุงพลาสติกทั่วโลก ซึ่งกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ในส่วนของประเทศไทยก็มีปริมาณการใช้ถุงพลาสติกมีมูลค่าสูงถึง 45,000 ล้านบาทต่อปี จึงขอให้ทุกหน่วยงานช่วยกันรณรงค์การลดใช้ถุงพลาสติกแก่ประชาชนและสังคมโดยรวม โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการจะให้ความรู้แก่นักเรียนนักศึกษาในสถานศึกษาเกี่ยวกับการใช้ถุงพลาสติก อาทิ การย่อยถุงพลาสติก 1 ใบต้องใช้เวลาถึง 450 ล้านปี, การนำกลับมาใช้ใหม่, สารตกค้างต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น, การใช้ถุงผ้า, การแยกขยะ เป็นต้น เพื่อให้เด็กได้มีความรู้ความเข้าใจและนำไปบอกต่อกับพ่อแม่ผู้ปกครองและคนในครอบครัว ที่จะส่งผลต่อการลดใช้ถุงพลาสติกต่อไป
● การถอดบทเรียนเหตุภัยพิบัติเด็กติดถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
จากเหตุการณ์ที่เยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย จำนวน 13 คน ประสบภัยพิบัติติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถอดบทเรียนจากภัยพิบัติในครั้งนี้แล้ว
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ จะรอผลสรุปภาพใหญ่ก่อน จากนั้นจึงจะเตรียมการในระดับกระทรวงต่อไป โดยมีหลายหน่วยงานเสนอที่จะให้ความช่วยเหลือและแนะนำ อาทิ ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย เพื่อช่วยดูแลฟื้นฟูสภาพจิตใจของเด็ก เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นด้วยกับการให้ความช่วยเหลือเยียวยาเด็กในฐานะเป็นผู้ประสบภัยพิบัติ แต่ทุกอย่างควรเป็นไปอย่างพอเหมาะพอสม โดยได้มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และหน่วยงานต่าง ๆ เตรียมการและวางแผนเป็นอย่างดีก่อนที่จะดำเนินการในทุกเรื่อง สิ่งสำคัญคือไม่ควรเกาะกระแสจากเหตุการณ์ดังกล่าว แต่ควรให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ และตรงกับความเชี่ยวชาญภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ อาทิ การจัดตารางเรียนเสริมแทนช่วงเวลาที่หยุดเรียน การให้ความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวหรืออุทยานต่าง ๆ การเอาตัวรอดจากสภาวการณ์หรือภัยพิบัติ การดูแลฟื้นฟูสุขภาพ เป็นต้น
รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำถึงการสื่อสารข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาต่อสาธารณชนด้วยว่า ขอให้สื่อสารด้วยความรอบคอบ มีข้อมูลสนับสนุนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และสื่อสารในทิศทางเดียวกัน เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและชัดเจน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานในการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความมุ่งหมายให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานติดตามและกำกับงาน แทนการเป็นหน่วยปฏิบัติอย่างเช่นที่ผ่านมา โดยจะต้องแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ทันภายในเดือนกรกฎาคมนี้ จากนั้นจึงจะสามารถโอนแผนงาน โครงการ และงบประมาณต่าง ๆ มาให้กระทรวงศึกษาธิการได้
ปัจจุบัน ศอ.บต. ดำเนินงานหลักในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณางบประมาณโครงการในปีงบประมาณพ.ศ.2561 ที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานหลัก ก็ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และในวันนี้ (18 ก.ค.61) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับงบประมาณโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ที่มีความซ้ำซ้อนหรือคาบเกี่ยวกับโครงการของหน่วยงานหลัก ทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.), กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานอื่น ๆ เป็นต้น
ในส่วนของผลสัมฤทธิ์การจัดการศึกษาโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยนักเรียนโครงการรุ่นที่ 1 กำลังจะจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และส่วนใหญ่ได้รับทุนศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ทั้งยังมีผลงานด้านกีฬาโดดเด่นทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศ อาทิ รางวัลเหรียญทองวิ่ง 5,000 เมตร และ 10,000 เมตร จากการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งได้รับการทาบทามให้เป็นนักกรีฑาทีมชาติไทยเรียบร้อยแล้ว, ได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาฮอกกี้ทีมชาติไทย และรางวัลการแข่งขันกีฬาระดับภูมิภาคอีกมากมาย ทั้งยังสามารถขยายโครงการสานฝันฯ ไปสู่ "โครงการห้องเรียนกีฬา" ในทุกภูมิภาคอีก 8 โรงเรียนใน 9 จังหวัดด้วย
ในส่วนของการดำเนินงานด้านการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้เสนอของบประมาณโครงการเร่งด่วนปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เพื่อพัฒนา บุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี จำนวน 390 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนและมีสถานศึกษาในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติงานตามโครงการดังกล่าว จึงขอให้องค์กรหลักที่เกี่ยวข้องประสานงานเชื่อมต่อข้อมูลและบูรณาการการทำงานกับ สกพอ.อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะโครงการใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และเป้าหมายในการผลิต เพราะขณะนี้มีข้อมูลความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษา (Demand Side) ในพื้นที่สมบูรณ์และชัดเจนอยู่แล้ว จากการดำเนินงานที่เข้มแข็งของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รมว.ศธ. กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า หากทุกหน่วยงานมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันจริง ๆ มีการสื่อสารระหว่างกันอย่างชัดเจน ก็จะไม่ส่งผลให้เกิดความซ้ำซ้อนของแผนงานโครงการและงบประมาณต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นต้น
ในขณะที่ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หลักการทำงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นเรื่องที่ดี ย้ำให้ทุกหน่วยงานจัดระบบการเสนอของบประมาณโครงการต่าง ๆ และระบบสื่อสารกับหน่วยงานหลักในการผลิตกำลังคน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน พร้อมฝากให้องค์กรหลักตรวจสอบข้อมูลแผนงานโครงการกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี รองรับพื้นที่ EEC ด้วย
นอกจากนี้ นพ.อุดม ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบการดำเนินโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School)" ว่าเมื่อวันจันทร์ที่ 16 ก.ค.61 ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนวัดจุฬามณีฯ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกในโครงการ จากทั้งหมด 50 โรงเรียนใน 30 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งจะมีบริษัทชั้นนำเข้ามาสนับสนุน 12 แห่ง
ทั้งนี้ ตั้งใจจะไปเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจและชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และประชาชน เกี่ยวกับความเป็นอิสระในการดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) อิสระในการออกแบบหลักสูตร ในสัดส่วนร้อยละ 30% เพื่อสร้างหลักสูตรเตรียมอนาคต เตรียมอาชีพ เชื่อมโยงกับชุมชนต่าง ๆ 2) อิสระในการที่ออกแบบการเรียนการสอนจากการปฏิบัติจริงและของจริง เพราะไม่ต้องการให้การเรียนอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว 3) อิสระในการบริหารจัดการ โดยขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และยังเป็นโรงเรียนของ สพฐ. ตลอดจนครูและผู้บริหารก็ยังทำงานร่วมเช่นเดิม รวมทั้งได้ปลดล็อคเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่คล่องตัวในหลายเรื่อง และเชื่อว่าทุกคนเข้าใจและพร้อมจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยได้ฝากให้ทุกฝ่ายช่วยดูแลและหากมีปัญหาสามารถแจ้งมาที่ส่วนกลางได้ทันที
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 236/2561ผลประชุมองค์กรหลัก ศธ. 14/2561
รมว.ศึกษาธิการ ได้ย้ำถึงการสื่อสารข้อมูลข่าวสารด้านการศึกษาต่อสาธารณชนด้วยว่า ขอให้สื่อสารด้วยความรอบคอบ มีข้อมูลสนับสนุนที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และสื่อสารในทิศทางเดียวกัน เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและชัดเจน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานในการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ให้เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความมุ่งหมายให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานติดตามและกำกับงาน แทนการเป็นหน่วยปฏิบัติอย่างเช่นที่ผ่านมา โดยจะต้องแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ.2553 ให้แล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ทันภายในเดือนกรกฎาคมนี้ จากนั้นจึงจะสามารถโอนแผนงาน โครงการ และงบประมาณต่าง ๆ มาให้กระทรวงศึกษาธิการได้
ปัจจุบัน ศอ.บต. ดำเนินงานหลักในหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณางบประมาณโครงการในปีงบประมาณพ.ศ.2561 ที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานหลัก ก็ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว และในวันนี้ (18 ก.ค.61) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับงบประมาณโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ที่มีความซ้ำซ้อนหรือคาบเกี่ยวกับโครงการของหน่วยงานหลัก ทั้งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.), กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และหน่วยงานอื่น ๆ เป็นต้น
ในส่วนของผลสัมฤทธิ์การจัดการศึกษาโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตลอดระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยนักเรียนโครงการรุ่นที่ 1 กำลังจะจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และส่วนใหญ่ได้รับทุนศึกษาต่อในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น ทั้งยังมีผลงานด้านกีฬาโดดเด่นทั้งในระดับภูมิภาคและประเทศ อาทิ รางวัลเหรียญทองวิ่ง 5,000 เมตร และ 10,000 เมตร จากการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งได้รับการทาบทามให้เป็นนักกรีฑาทีมชาติไทยเรียบร้อยแล้ว, ได้รับคัดเลือกเป็นนักกีฬาฮอกกี้ทีมชาติไทย และรางวัลการแข่งขันกีฬาระดับภูมิภาคอีกมากมาย ทั้งยังสามารถขยายโครงการสานฝันฯ ไปสู่ "โครงการห้องเรียนกีฬา" ในทุกภูมิภาคอีก 8 โรงเรียนใน 9 จังหวัดด้วย
ในส่วนของการดำเนินงานด้านการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้เสนอของบประมาณโครงการเร่งด่วนปีงบประมาณ พ.ศ.2560 เพื่อพัฒนา บุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี จำนวน 390 ล้านบาท กระทรวงศึกษาธิการในฐานะหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนากำลังคนและมีสถานศึกษาในพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติงานตามโครงการดังกล่าว จึงขอให้องค์กรหลักที่เกี่ยวข้องประสานงานเชื่อมต่อข้อมูลและบูรณาการการทำงานกับ สกพอ.อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะโครงการใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และเป้าหมายในการผลิต เพราะขณะนี้มีข้อมูลความต้องการกำลังคนอาชีวศึกษา (Demand Side) ในพื้นที่สมบูรณ์และชัดเจนอยู่แล้ว จากการดำเนินงานที่เข้มแข็งของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รมว.ศธ. กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า หากทุกหน่วยงานมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันจริง ๆ มีการสื่อสารระหว่างกันอย่างชัดเจน ก็จะไม่ส่งผลให้เกิดความซ้ำซ้อนของแผนงานโครงการและงบประมาณต่าง ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ การดำเนินงานของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นต้น
ในขณะที่ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า หลักการทำงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นเรื่องที่ดี ย้ำให้ทุกหน่วยงานจัดระบบการเสนอของบประมาณโครงการต่าง ๆ และระบบสื่อสารกับหน่วยงานหลักในการผลิตกำลังคน ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน พร้อมฝากให้องค์กรหลักตรวจสอบข้อมูลแผนงานโครงการกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย และเทคโนโลยี รองรับพื้นที่ EEC ด้วย
นอกจากนี้ นพ.อุดม ได้รายงานให้ที่ประชุมรับทราบการดำเนินโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School)" ว่าเมื่อวันจันทร์ที่ 16 ก.ค.61 ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียนวัดจุฬามณีฯ อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นโรงเรียนแห่งแรกในโครงการ จากทั้งหมด 50 โรงเรียนใน 30 จังหวัดทั่วทุกภูมิภาค ซึ่งจะมีบริษัทชั้นนำเข้ามาสนับสนุน 12 แห่ง
ทั้งนี้ ตั้งใจจะไปเยี่ยมเพื่อให้กำลังใจและชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทั้งกระทรวงศึกษาธิการทุกระดับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และประชาชน เกี่ยวกับความเป็นอิสระในการดำเนินการ 3 เรื่อง ได้แก่ 1) อิสระในการออกแบบหลักสูตร ในสัดส่วนร้อยละ 30% เพื่อสร้างหลักสูตรเตรียมอนาคต เตรียมอาชีพ เชื่อมโยงกับชุมชนต่าง ๆ 2) อิสระในการที่ออกแบบการเรียนการสอนจากการปฏิบัติจริงและของจริง เพราะไม่ต้องการให้การเรียนอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว 3) อิสระในการบริหารจัดการ โดยขึ้นตรงกับเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และยังเป็นโรงเรียนของ สพฐ. ตลอดจนครูและผู้บริหารก็ยังทำงานร่วมเช่นเดิม รวมทั้งได้ปลดล็อคเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่คล่องตัวในหลายเรื่อง และเชื่อว่าทุกคนเข้าใจและพร้อมจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยได้ฝากให้ทุกฝ่ายช่วยดูแลและหากมีปัญหาสามารถแจ้งมาที่ส่วนกลางได้ทันที
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น