อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 240/2561 ผลสัมฤทธิ์การจัดการศึกษาของ ศธ.ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา
กระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่บทความ " ผลสัมฤทธิ์การจัดการศึกษาของ ศธ.ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา" ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 และเพจ "ศธ.360 องศา" "กระทรวงศึกษาธิการ"
ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตกเป็นจำเลยของสังคมหลายเรื่อง นับแต่คุณภาพการศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับครู การผลิตคนไม่ตรงความต้องการของประเทศ บัณฑิตล้นตลาด ธรรมาภิบาล เหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนที่ออกมา
กว่า 4 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นที่จะทำให้การปฏิรูปเกิดผลอย่างแท้จริง ต่อนักเรียน ครู ห้องเรียน โดยมีเป้าหมาย แผนปฏิบัติการ แผนปฏิรูป ตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ชัดเจนหลายสิบเรื่อง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ในเรื่องต่าง ๆ
ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพผู้เรียน
ยกระดับภาษาอังกฤษของผู้เรียนผ่านโครงการ Bootcamp ร่วมกับภาคประชารัฐ ปรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ เปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตื่นตัวเรื่องภาษาในทุกโรงเรียน จัดตั้งศูนย์พัฒนาครู 18 แห่งทั่วประเทศ พัฒนาครูภาษาอังกฤษ 20,000 คน กำหนดมาตรฐานภาษาอังกฤษในแต่ละช่วงชั้น โดยใช้มาตรฐาน CEFR ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ช่วยเสริม แอปพลิเคชั่น ECHO English ECHO Hybrid ECHO V ให้ประชาชนสามารถเรียนภาษา ได้ทุกที่ทุกเวลา
ยกระดับการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา โดยปรับหลักสูตร เพิ่มวิชา Coding Programming เปลี่ยนแบบเรียน พัฒนาครู พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยร่วมกับภาครัฐ และเอกชน ขยายศูนย์ฝึกอบรมและให้คำปรึกษา 261 แห่ง ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่ เป้าหมายคะแนน PISA เพิ่ม 30 คะแนนในทุกรอบการสอบ ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา ด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก 15,191 โรงเรียน รวมทั้งเริ่มโครงการติวฟรีดอทคอม และติวเข้มเติมเต็มความรู้ โดยเชิญติวเตอร์ที่มีชื่อเสียง มาสอนเสริมนอกบทเรียนในรูปแบบออนไลน์
ที่สำคัญให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดหา Hi-Speed Internet ที่มีเครือข่ายที่ดีที่สุด และเร่งรัดจัดทำ Big Data ด้านการศึกษา รวมทั้งนำกลไกประชารัฐมาใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ผ่านโครงการโรงเรียนประชารัฐ 5,697 โรงเรียน โดยภาคเอกชนชั้นนำ 12 องค์กรได้สนับสนุนงบประมาณขั้นต่ำโรงเรียนละ 1 ล้านบาท รวมทั้งบุคลากร สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย และโครงการ Partnership School 50 โรงเรียน
อีกทั้งยังมีโรงเรียนประชารัฐชายแดนใต้ อาชีวศึกษาประชารัฐ จัดหลักสูตรอิสลามศึกษา พัฒนาหลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ การแก้ปัญหาเด็กวัยเรียนที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา จัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า และศูนย์พัฒนาบุคลากรชายแดนใต้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพ และสร้างความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืน
ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ผ่านห้องเรียนดนตรี ห้องเรียนกีฬา ห้องเรียนภาษาจีน ให้ความสำคัญกับนักเรียนพิการ ผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้ได้รับการพัฒนาตามความสามารถ ศักยภาพและความถนัด
ตอบโจทย์การพัฒนาครูทั้งระบบ
ก่อนหน้ารัฐบาล คสช.เข้ามา ครูต้องแบกรับภาระงานด้านการประกัน ประเมินคุณภาพการศึกษาในเชิงงานกระดาษ งานวิจัย ทำให้เสียเวลากว่า 50% ของเวลาสอน ขณะนี้ได้แก้กฎกระทรวง ให้เป็นการประเมินตนเอง ประเมินโดยโรงเรียน ลดภาระครู ครูมีเวลาสอนมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย 35,000 ล้านบาทในการประเมินวิทยฐานะ เชื่อมโยงกับการปรับเกณฑ์วิทยฐานะแนวใหม่ เป็นการประเมินจากประสบการณ์ และผลการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งปรับระบบการคัดเลือก ผอ.สถานศึกษา ที่เน้นการประเมิน 360 องศา
นอกจากนี้ จัดให้มีระบบผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยคัดเลือกคนเก่ง คนดี มาเรียนครู กลับไปปฏิบัติงานในภูมิลำเนาของตน เป้าหมายปีละ 5,000 คน ต่อเนื่อง 10 ปี จัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา เพื่อรองรับการคัดเลือกหลักสูตรพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ในอดีตการอบรมครูถูกควบคุมโดยส่วนกลาง ครูจำนวนมากที่อยู่ห่างไกล ไม่ได้รับการพัฒนา คูปองครู ทำให้ครูได้รับการพัฒนาและอบรมตามยุทธศาสตร์ของโรงเรียนและเขตพื้นที่ ครูมีโอกาส มีอำนาจในการเลือกหลักสูตร เป็นที่ชื่นชอบของครู และเป็นการสร้างความเสมอภาค ประหยัดงบประมาณ และกระจายงบประมาณลงพื้นที่ ที่ผ่านมามีครู 300,000 คน จากทั้งหมด 400,000 คน ได้เลือกหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ
ลดภาระหนี้สินครูเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ โดย สกสค.ยกดอกเบี้ยให้ 1% ทำให้ครู 400,000 คนทั่วประเทศ ได้รับประโยชน์
ตอบโจทย์การผลิตคนให้ตรงความต้องการของการพัฒนาประเทศ
เร่งสร้างบัณฑิตและอาชีวะพันธุ์ใหม่ ปรับภาพลักษณ์ “อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” ส่งผลให้การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาลดลง พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา จัดอาชีวศึกษา E to E อบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น อาชีวศึกษาทวิภาคี ที่เน้นการมีส่วนร่วมกับสถานประกอบการ ภาคเอกชน 13,686 แห่ง ฝึกปฏิบัติงานจริงอย่างน้อย 50% ของเวลาเรียน เตรียมกำลังคนเพื่อรองรับพื้นที่ EEC ที่เน้น เรียนจบ ทำได้จริง และขณะนี้มีมหาวิทยาลัยชั้นนำจากต่างประเทศ เข้ามาจัดการศึกษาในพื้นที่ เช่น Carnegie Mellon University
ใช้คำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาที่สะสมมานานให้โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล เช่น คุรุสภา สกสค. องค์การค้าของ สกสค. และมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งประกาศให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการไร้แป๊ะเจี๊ยะ ปฏิรูปการบริหารราชการในภูมิภาค โดยมีศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัดเกิดขึ้น แก้ปัญหาการทุจริตต่างๆ อาทิ กองทุนเสมาพัฒนาชีวิต MOENet อควาเรียมสงขลา อาหารกลางวันเด็ก เพื่อสร้างธรรมภิบาลให้เกิดขึ้นทุกระดับ
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการทำด้วยหัวใจ เพื่อให้เด็ก ผู้ปกครอง ครู และประชาชนมีความสุข โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 240/2561 ผลสัมฤทธิ์การจัดการศึกษาของ ศธ.ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา
กระทรวงศึกษาธิการ เผยแพร่บทความ " ผลสัมฤทธิ์การจัดการศึกษาของ ศธ.ในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา" ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 19 กรกฎาคม 2561 และเพจ "ศธ.360 องศา" "กระทรวงศึกษาธิการ"
ที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการ ได้ตกเป็นจำเลยของสังคมหลายเรื่อง นับแต่คุณภาพการศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับครู การผลิตคนไม่ตรงความต้องการของประเทศ บัณฑิตล้นตลาด ธรรมาภิบาล เหล่านี้เป็นเสียงสะท้อนที่ออกมา
กว่า 4 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นที่จะทำให้การปฏิรูปเกิดผลอย่างแท้จริง ต่อนักเรียน ครู ห้องเรียน โดยมีเป้าหมาย แผนปฏิบัติการ แผนปฏิรูป ตามยุทธศาสตร์ชาติ ที่ชัดเจนหลายสิบเรื่อง ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม ตอบโจทย์ในเรื่องต่าง ๆ
ตอบโจทย์เรื่องคุณภาพผู้เรียน
ยกระดับภาษาอังกฤษของผู้เรียนผ่านโครงการ Bootcamp ร่วมกับภาคประชารัฐ ปรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ เปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตื่นตัวเรื่องภาษาในทุกโรงเรียน จัดตั้งศูนย์พัฒนาครู 18 แห่งทั่วประเทศ พัฒนาครูภาษาอังกฤษ 20,000 คน กำหนดมาตรฐานภาษาอังกฤษในแต่ละช่วงชั้น โดยใช้มาตรฐาน CEFR ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ช่วยเสริม แอปพลิเคชั่น ECHO English ECHO Hybrid ECHO V ให้ประชาชนสามารถเรียนภาษา ได้ทุกที่ทุกเวลา
ยกระดับการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา โดยปรับหลักสูตร เพิ่มวิชา Coding Programming เปลี่ยนแบบเรียน พัฒนาครู พัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยร่วมกับภาครัฐ และเอกชน ขยายศูนย์ฝึกอบรมและให้คำปรึกษา 261 แห่ง ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่ เป้าหมายคะแนน PISA เพิ่ม 30 คะแนนในทุกรอบการสอบ ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา ด้วยการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม DLTV สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก 15,191 โรงเรียน รวมทั้งเริ่มโครงการติวฟรีดอทคอม และติวเข้มเติมเต็มความรู้ โดยเชิญติวเตอร์ที่มีชื่อเสียง มาสอนเสริมนอกบทเรียนในรูปแบบออนไลน์
ที่สำคัญให้สถานศึกษาทุกแห่งจัดหา Hi-Speed Internet ที่มีเครือข่ายที่ดีที่สุด และเร่งรัดจัดทำ Big Data ด้านการศึกษา รวมทั้งนำกลไกประชารัฐมาใช้ในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา ผ่านโครงการโรงเรียนประชารัฐ 5,697 โรงเรียน โดยภาคเอกชนชั้นนำ 12 องค์กรได้สนับสนุนงบประมาณขั้นต่ำโรงเรียนละ 1 ล้านบาท รวมทั้งบุคลากร สื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย และโครงการ Partnership School 50 โรงเรียน
อีกทั้งยังมีโรงเรียนประชารัฐชายแดนใต้ อาชีวศึกษาประชารัฐ จัดหลักสูตรอิสลามศึกษา พัฒนาหลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ การแก้ปัญหาเด็กวัยเรียนที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา จัดตั้งกระทรวงศึกษาธิการส่วนหน้า และศูนย์พัฒนาบุคลากรชายแดนใต้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพ และสร้างความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างยั่งยืน
ส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ผ่านห้องเรียนดนตรี ห้องเรียนกีฬา ห้องเรียนภาษาจีน ให้ความสำคัญกับนักเรียนพิการ ผู้ด้อย พลาด และขาดโอกาสทางการศึกษา เพื่อให้ได้รับการพัฒนาตามความสามารถ ศักยภาพและความถนัด
ตอบโจทย์การพัฒนาครูทั้งระบบ
ก่อนหน้ารัฐบาล คสช.เข้ามา ครูต้องแบกรับภาระงานด้านการประกัน ประเมินคุณภาพการศึกษาในเชิงงานกระดาษ งานวิจัย ทำให้เสียเวลากว่า 50% ของเวลาสอน ขณะนี้ได้แก้กฎกระทรวง ให้เป็นการประเมินตนเอง ประเมินโดยโรงเรียน ลดภาระครู ครูมีเวลาสอนมากขึ้น ลดค่าใช้จ่าย 35,000 ล้านบาทในการประเมินวิทยฐานะ เชื่อมโยงกับการปรับเกณฑ์วิทยฐานะแนวใหม่ เป็นการประเมินจากประสบการณ์ และผลการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งปรับระบบการคัดเลือก ผอ.สถานศึกษา ที่เน้นการประเมิน 360 องศา
นอกจากนี้ จัดให้มีระบบผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น โดยคัดเลือกคนเก่ง คนดี มาเรียนครู กลับไปปฏิบัติงานในภูมิลำเนาของตน เป้าหมายปีละ 5,000 คน ต่อเนื่อง 10 ปี จัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา เพื่อรองรับการคัดเลือกหลักสูตรพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร ในอดีตการอบรมครูถูกควบคุมโดยส่วนกลาง ครูจำนวนมากที่อยู่ห่างไกล ไม่ได้รับการพัฒนา คูปองครู ทำให้ครูได้รับการพัฒนาและอบรมตามยุทธศาสตร์ของโรงเรียนและเขตพื้นที่ ครูมีโอกาส มีอำนาจในการเลือกหลักสูตร เป็นที่ชื่นชอบของครู และเป็นการสร้างความเสมอภาค ประหยัดงบประมาณ และกระจายงบประมาณลงพื้นที่ ที่ผ่านมามีครู 300,000 คน จากทั้งหมด 400,000 คน ได้เลือกหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการ
ลดภาระหนี้สินครูเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ โดย สกสค.ยกดอกเบี้ยให้ 1% ทำให้ครู 400,000 คนทั่วประเทศ ได้รับประโยชน์
ตอบโจทย์การผลิตคนให้ตรงความต้องการของการพัฒนาประเทศ
เร่งสร้างบัณฑิตและอาชีวะพันธุ์ใหม่ ปรับภาพลักษณ์ “อาชีวะฝีมือชน คนสร้างชาติ” ส่งผลให้การทะเลาะวิวาทของนักศึกษาลดลง พัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา จัดอาชีวศึกษา E to E อบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น อาชีวศึกษาทวิภาคี ที่เน้นการมีส่วนร่วมกับสถานประกอบการ ภาคเอกชน 13,686 แห่ง ฝึกปฏิบัติงานจริงอย่างน้อย 50% ของเวลาเรียน เตรียมกำลังคนเพื่อรองรับพื้นที่ EEC ที่เน้น เรียนจบ ทำได้จริง และขณะนี้มีมหาวิทยาลัยชั้นนำจากต่างประเทศ เข้ามาจัดการศึกษาในพื้นที่ เช่น Carnegie Mellon University
ใช้คำสั่ง คสช. ตามมาตรา 44 เพื่อแก้ปัญหาที่สะสมมานานให้โปร่งใส และมีธรรมาภิบาล เช่น คุรุสภา สกสค. องค์การค้าของ สกสค. และมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งประกาศให้ปี 2561 เป็นปีแห่งการไร้แป๊ะเจี๊ยะ ปฏิรูปการบริหารราชการในภูมิภาค โดยมีศึกษาธิการภาคและศึกษาธิการจังหวัดเกิดขึ้น แก้ปัญหาการทุจริตต่างๆ อาทิ กองทุนเสมาพัฒนาชีวิต MOENet อควาเรียมสงขลา อาหารกลางวันเด็ก เพื่อสร้างธรรมภิบาลให้เกิดขึ้นทุกระดับ
เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการทำด้วยหัวใจ เพื่อให้เด็ก ผู้ปกครอง ครู และประชาชนมีความสุข โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ที่มา; เว็บสำนักงานรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น