อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 214/2561 การประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามกลไกประชารัฐ ในพื้นที่ชายแดนใต้
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามกลไกประชารัฐ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เพื่อติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานและโครงการที่สำคัญในรอบ 6 เดือน (เมษายน-กันยายน 2561) พร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากผู้นำศาสนา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า การประชุมนี้เกิดจากแนวคิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมประสานงานกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ตามกลไกประชารัฐ โดยมอบหมายให้หัวหน้าและผู้แทนพิเศษของรัฐบาลฯ อีก 12 ท่าน ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงการทำงานไปยังคณะรัฐมนตรีและการบริหารราชการส่วนกลาง เพื่อช่วยคลี่คลายปัญหาและประสานงานให้เกิดความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นสังคมสันติสุขและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สำหรับการประชุมครั้งนี้ มีความก้าวหน้าการปฏิบัติภารกิจและบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ตามบทบาทหน้าที่ของผู้แทนพิเศษของรัฐบาลทั้ง 7 กลุ่มภารกิจที่สำคัญในรอบ 6 เดือน (เมษายน-กันยายน 2561) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มงาน ดังนี้
1) งานพัฒนา ประกอบด้วย งานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม และงานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ
- การจัดทำหลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ โดยความเห็นชอบของสำนักจุฬาราชมนตรี ในการจัดทำร่างหลักสูตรอิสลามศึกษา เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพมาตรฐาน ผู้เรียนได้รับวุฒิการศึกษาเพื่อใช้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการสอนของโต๊ะครู ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยได้จัดพิธีมอบหลักสูตรแกนกลางแก่สถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมอบรมชี้แจงแนวทางการใช้หลักสูตรแกนกลาง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา
- การแก้ปัญหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนจังหวัดและตำบล ได้ติดตามเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีอยู่จำนวน 45,289 คน จากจำนวนประชากรวัยเรียน (3-18 ปี) ทั้งหมด 730,727 คน เพื่อนำกลับเข้ามาในระบบการศึกษา โดยสามารถนำเด็กกลับมาเรียนได้จำนวน 25,093 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กพิการและเด็กที่จบชั้น ม.3 แล้วไม่ได้เรียนต่อ มากที่สุด และสามารถแบ่งออกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้ สงขลา 2,809 คน, สตูล 2,448 คน, ปัตตานี 6,082 คน, ยะลา 5,203 คน และนราธิวาส 8,551 คน
- ทุนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับเด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จำนวน 19,903 ทุน ภายใต้การดำเนินโครงการหลัก 5 โครงการ ได้แก่
1) โครงการประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4,634 คน สำหรับนักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อย พร้อมที่พัก อาหาร และอุปกรณ์การเรียน
2) ทุนโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,314 ทุน สำหรับนักเรียนที่มีความถนัดด้านกีฬา 10 ประเภท พร้อมที่พัก อาหาร และอุปกรณ์การเรียนและกีฬา
3) ทุนโครงการภูมิทายาท 13,401 ทุน สำหรับนักเรียนที่ครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม มีความประพฤติดี เรียนดี มีความสามารถพิเศษ หรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
4) ทุนโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2561 จำนวน 154 ทุน แก่นักเรียนที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเรียนอยู่ในโรงเรียนของรัฐ โดยมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.75 ให้ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย 35,000 บาทต่อคนต่อปี
5) ทุนโครงการอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 ทุน แก่นักเรียนนักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- โครงการเสริมสร้างชุมชนชาวพุทธเข้มแข้ง ได้มีการพบปะ ให้กำลังใจ พร้อมประชุมหารือร่วมกับอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) เพื่อรับฟังความคิดเห็นและรับทราบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านชุมชนไทยพุทธ
- โครงการเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่วัฒนธรรมอำเภอและเจ้าหน้าที่พระพุทธศาสนาอำเภอ โดยได้ดำเนินการขอเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่วัฒนธรรมอำเภอและเจ้าหน้าที่พระพุทธศาสนาอำเภอ จำนวน 74 คนใน 37 อำเภอ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) พิจารณาในเดือนกรกฎาคม 2561
- โครงการวัฒนธรรมเชื่อมชายแดนใต้สันติสุข หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้จัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ โครงเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม โครงการถนนสายวัฒนธรรม โครงการวิถีถิ่นตานีวิถีอาเซียน งานแสดงสินค้าวัฒนธรรมของดีเมืองตานี และงานกาชาดจังหวัดปัตตานี ประจำปี 2561 เป็นต้น
- การเดินสำรวจที่ดินเพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกินและคุณภาพชีวิตประชาชน โดยได้สำรวจที่ดินและรับรองสิทธิ์ในการทำกินของประชาชนครอบคลุม 9 อำเภอ ในปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พร้อมดำเนินโครงการส่งเสริมด้านอาชีพเพื่อพัฒนาประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ พร้อมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
2) งานความมั่นคง ประกอบด้วย งานรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน, งานอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ, งานเพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐและการขับเคลื่อนนโยบายฯ และงานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ
- การจัดเวทีชาวบ้านในโครงการชุมชนศรัทธากัมปงตักวา ใน 1,800 หมู่บ้านจากหมู่บ้านเป้าหมายกว่า 2,000 แห่ง โดยได้รับความสนใจจากประชาชนในแต่ละพื้นที่ และได้รับความร่วมมือจากอิหม่าม โต๊ะครู กำนันผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ได้จัดวิทยากรบรรยายสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง จนสามารถต่อยอดสู่โครงการขยายผลการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชนเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับพัฒนาชุมชนให้เป็นสังคมที่ดีและมีคุณภาพด้วยคนในชุมชนเอง โดยในปี 2560 มีหมู่บ้านผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกว่า 40 หมู่บ้าน และอีก 80 หมู่บ้านในปี 2561 นี้ด้วย
- การจัดชุดคุ้มครองตำบล จำนวน 60 ชุด เพื่อลงปฏิบัติงานใน 60 ตำบล โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชาชน
- การป้องกันและบำบัดยาเสพติดให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสร้างจิตอาสาในหมู่บ้านเป้าหมาย พร้อมวางระบบใช้สถาบันศึกษาปอเนาะเป็นศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้ชุมชนและประชาชนดูแลคนในชุมชนเอง
- การจัดตั้งสถานีตำรวจ เพิ่มเติม 3 แห่ง เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
- การดำเนินโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เปิดโลกทัศน์และได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม
- การจัดระบบการช่วยเหลือเยียวยาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปรับปรุงกฎหมายเยียวยากลาง เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
- การแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร์ เพื่อดำเนินการให้ผู้ไม่มีบัตรประชาชนได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการของรัฐ
3) งานเผยแพร่และสร้างความเข้าใจ ซึ่งครอบคลุมงานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ
- การสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ที่ยึดหลักกฎหมายตามแนวทางสันติวิธีและการเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักความโปร่งใส เพื่อสร้างความสงบสุขในหมู่บ้าน ชุมชน และสังคม โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายผลสู่การเป็นวิทยากรประจำหน่วยต่อไป
- การจัดพิธีมอบบันทึกความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมและการพัฒนามนุษย์ (Southern Universities' Networking for Multicultural Societies and Human Development) เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับอุดมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และสถานศึกษาอาชีวศึกษา 18 แห่งในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษาในพื้นที่ พร้อมจัดกิจกรรมอบรม “โครงการค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา” ภายใต้ผลการวิจัย เรื่องชาติพันธุ์และชาตินิยมมลายู กับการสร้างทัศนคติเชิงบวกของชาวมลายูมุสลิมรุ่นใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ และวัดความรู้ความเข้าใจพหุวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม
- การสร้างเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส, อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นเมืองต้นแบบที่มีการพัฒนาในลักษณะพิเศษ โดยมีการลงทุนจากภาคเอกชนที่สามารถสร้างงาน และสร้างรายได้ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น
- การสร้างชุมชนต้นแบบอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา โดยการสร้างจิตสำนึกร่วมกันของชุมชนเพื่อร่วมแรงร่วมใจรักษาผืนป่า ตระหนักถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติระหว่างคนกับป่าและคนกับต้นน้ำ การจัดการน้ำ การจัดวิสาหกิจชุมชน การใช้พลังงานน้ำเพื่อความเป็นอยู่ของคนในชุมชน โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแผนที่จะขยายผลสร้างชุมชนต้นแบบด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากที่สุด เพื่อให้คนอยู่ร่วมธรรมชาติได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน
- การสร้างความรู้ความเข้าใจกับองค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organisations: NGOs) และองค์การภาคเอกชนระหว่างประเทศ (International Governmental Organisations: IGOs) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล การดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลข้อเท็จจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อขยายผลสู่ความร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่จะสร้างผลดีแก่พื้นที่ สู่สาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดในการประชุมองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of the Islamic Cooperation) หรือ OIC เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยที่ให้การส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตามวิถีชีวิตของชาวมุสลิมเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือร่วมกันถึงข้อมูลสุขภาวะอนามัยของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานเขตสุขภาพที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูแล ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสุขภาวะอนามัยของประชากรในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก เด็กและเยาวชนวัยเรียน คนวัยทำงาน แรงงาน และประชาชน ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา อาทิ ทันตกรรม สภาวะโลหิตจาง ทุพโภชนาการ สุขภาวะของเด็กแรกเกิด ยาเสพติด การดูแลรักษาสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาและส่งเสริมป้องกันในหลายประการ อาทิ การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาวะอนามัยที่ถูกต้องแก่ประชาชน, การสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ตลอดจนการให้ผู้นำชุมชนเป็นต้นแบบในการดูแลและรักษาสุขภาพของประชาชน, ความสะดวกในการเข้าถึงบริการภาครัฐ, ความเพียงพอของจำนวนแพทย์และสถานพยาบาลในชุมชนและหมู่บ้าน, การร่วมมือและบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวด้วยว่า การประชุมครั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการดำเนินงานให้มีความสำเร็จก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง พร้อมขอบคุณทุกภาคส่วนที่มาร่วมรับทราบความก้าวหน้าที่จะสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างเป็นขั้นเป็นตอน
โดยในห้วงของเดือนมหามงคล เดือนแห่งการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ 10) เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 66 พรรษา ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 ขอเชิญชวนให้ช่วยกันรณรงค์การทำความดีตลอดเดือนมหามงคลนี้พร้อมกับประชาชนชาวไทยทั่วประเทศ โดยการน้อมนำศาสตร์พระราชา ยุทธศาสตร์พระราชทานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 คือ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" เป็นหลักชัยในการดำเนินงาน ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 10 ทรงสืบสานพระบรมราชปณิธาน และทรงเจริญรอยตามพระยุคลบาทของพระราชบิดา
ต่อจากนั้นขอให้ร่วมกันจัดงานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา ในวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม 2561 ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างหาที่สุดมิได้ ซึ่งที่ผ่านมาเชื่อว่าทุกคนได้ทำความดีผ่านโครงการต่าง ๆ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นโครงการปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน, โครงการถนนวัฒนธรรม, การจัดงานแสดงสินค้าและของดีประจำถิ่น (OTOP) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างความสุขและความสามัคคีให้กับประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะการจัดงานตามประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ประเพณีสงกรานต์, การถือศีลอดของชาวมุสลิมในเดือนรอมฎอน, การจัดงานวันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมด้วยความร่มเย็นเป็นสุข บนพื้นฐานความดีงามของการสร้างบุญกุศลร่วมกันทั้งสิ้น
นอกจากนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะผู้แทนพิเศษของรัฐบาลทั้ง 7 งานตามภารกิจ พร้อมกล่าวฝากความรัก ความปรารถนาดี และความระลึกถึงทุกคน และขอให้ช่วยกันทำงานและสร้างคุณความดีด้วยความรู้รักสามัคคีตามวิถี “คนไทยไม่ทิ้งกัน” เพื่อสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน
โอกาสเดียวกันนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้นำคณะผู้เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลกะลุวอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีพระราชดำริให้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2525 เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาในการนำไปพัฒนาพื้นที่พรุ (Peatlands หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ) ในจังหวัดนราธิวาสกว่า 300,000 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะมีสารไพไรท์ทำให้เกิดกรดกำมะถันที่จะทำให้ดินเปรี้ยวด้วย ทำให้ประชากรจำนวนมากไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรให้ได้ผลผลิตได้ จึงมอบให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน และนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบอย่างในการที่จะพัฒนาพื้นที่พรุในโอกาสต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 214/2561 การประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามกลไกประชารัฐ ในพื้นที่ชายแดนใต้
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามกลไกประชารัฐ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 มิถุนายน 2561 ณ ห้องประชุมศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาส เพื่อติดตามความก้าวหน้าการขับเคลื่อนงานและโครงการที่สำคัญในรอบ 6 เดือน (เมษายน-กันยายน 2561) พร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากผู้นำศาสนา ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- การจัดทำหลักสูตรแกนกลางของสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ร่วมกับหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ โดยความเห็นชอบของสำนักจุฬาราชมนตรี ในการจัดทำร่างหลักสูตรอิสลามศึกษา เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะให้มีคุณภาพมาตรฐาน ผู้เรียนได้รับวุฒิการศึกษาเพื่อใช้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ตลอดจนช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการสอนของโต๊ะครู ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเหมาะสมกับสภาพความเปลี่ยนแปลงทางสังคม โดยได้จัดพิธีมอบหลักสูตรแกนกลางแก่สถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมอบรมชี้แจงแนวทางการใช้หลักสูตรแกนกลาง เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา
- การแก้ปัญหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษา โดยกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนจังหวัดและตำบล ได้ติดตามเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีอยู่จำนวน 45,289 คน จากจำนวนประชากรวัยเรียน (3-18 ปี) ทั้งหมด 730,727 คน เพื่อนำกลับเข้ามาในระบบการศึกษา โดยสามารถนำเด็กกลับมาเรียนได้จำนวน 25,093 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กพิการและเด็กที่จบชั้น ม.3 แล้วไม่ได้เรียนต่อ มากที่สุด และสามารถแบ่งออกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้ สงขลา 2,809 คน, สตูล 2,448 คน, ปัตตานี 6,082 คน, ยะลา 5,203 คน และนราธิวาส 8,551 คน
- ทุนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับเด็กในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จำนวน 19,903 ทุน ภายใต้การดำเนินโครงการหลัก 5 โครงการ ได้แก่
1) โครงการประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4,634 คน สำหรับนักเรียนที่ครอบครัวมีรายได้น้อย พร้อมที่พัก อาหาร และอุปกรณ์การเรียน
2) ทุนโครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,314 ทุน สำหรับนักเรียนที่มีความถนัดด้านกีฬา 10 ประเภท พร้อมที่พัก อาหาร และอุปกรณ์การเรียนและกีฬา
3) ทุนโครงการภูมิทายาท 13,401 ทุน สำหรับนักเรียนที่ครอบครัวมีปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม มีความประพฤติดี เรียนดี มีความสามารถพิเศษ หรือได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
4) ทุนโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2561 จำนวน 154 ทุน แก่นักเรียนที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และเรียนอยู่ในโรงเรียนของรัฐ โดยมีผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 2.75 ให้ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย 35,000 บาทต่อคนต่อปี
5) ทุนโครงการอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2561 จำนวน 400 ทุน แก่นักเรียนนักศึกษาระดับ ปวช. และ ปวส. ที่มีภูมิลำเนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- โครงการเสริมสร้างชุมชนชาวพุทธเข้มแข้ง ได้มีการพบปะ ให้กำลังใจ พร้อมประชุมหารือร่วมกับอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) เพื่อรับฟังความคิดเห็นและรับทราบปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านชุมชนไทยพุทธ
- โครงการเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่วัฒนธรรมอำเภอและเจ้าหน้าที่พระพุทธศาสนาอำเภอ โดยได้ดำเนินการขอเพิ่มอัตราเจ้าหน้าที่วัฒนธรรมอำเภอและเจ้าหน้าที่พระพุทธศาสนาอำเภอ จำนวน 74 คนใน 37 อำเภอ ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมรายละเอียดให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) พิจารณาในเดือนกรกฎาคม 2561
- โครงการวัฒนธรรมเชื่อมชายแดนใต้สันติสุข หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ได้จัดกิจกรรมทางศาสนา ศิลปวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาทิ โครงเสริมสร้างสังคมพหุวัฒนธรรม โครงการถนนสายวัฒนธรรม โครงการวิถีถิ่นตานีวิถีอาเซียน งานแสดงสินค้าวัฒนธรรมของดีเมืองตานี และงานกาชาดจังหวัดปัตตานี ประจำปี 2561 เป็นต้น
- การเดินสำรวจที่ดินเพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกินและคุณภาพชีวิตประชาชน โดยได้สำรวจที่ดินและรับรองสิทธิ์ในการทำกินของประชาชนครอบคลุม 9 อำเภอ ในปัตตานี ยะลา และนราธิวาส พร้อมดำเนินโครงการส่งเสริมด้านอาชีพเพื่อพัฒนาประชาชนในหมู่บ้านต่าง ๆ พร้อมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
- การจัดเวทีชาวบ้านในโครงการชุมชนศรัทธากัมปงตักวา ใน 1,800 หมู่บ้านจากหมู่บ้านเป้าหมายกว่า 2,000 แห่ง โดยได้รับความสนใจจากประชาชนในแต่ละพื้นที่ และได้รับความร่วมมือจากอิหม่าม โต๊ะครู กำนันผู้ใหญ่บ้าน ตลอดจนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ได้จัดวิทยากรบรรยายสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง จนสามารถต่อยอดสู่โครงการขยายผลการพัฒนาหมู่บ้าน ชุมชนเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ซึ่งให้การสนับสนุนงบประมาณสำหรับพัฒนาชุมชนให้เป็นสังคมที่ดีและมีคุณภาพด้วยคนในชุมชนเอง โดยในปี 2560 มีหมู่บ้านผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกว่า 40 หมู่บ้าน และอีก 80 หมู่บ้านในปี 2561 นี้ด้วย
- การจัดชุดคุ้มครองตำบล จำนวน 60 ชุด เพื่อลงปฏิบัติงานใน 60 ตำบล โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของประชาชน
- การป้องกันและบำบัดยาเสพติดให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสร้างจิตอาสาในหมู่บ้านเป้าหมาย พร้อมวางระบบใช้สถาบันศึกษาปอเนาะเป็นศูนย์ฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด เพื่อให้ชุมชนและประชาชนดูแลคนในชุมชนเอง
- การจัดตั้งสถานีตำรวจ เพิ่มเติม 3 แห่ง เพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
- การดำเนินโครงการสานใจไทยสู่ใจใต้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เปิดโลกทัศน์และได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม
- การจัดระบบการช่วยเหลือเยียวยาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และปรับปรุงกฎหมายเยียวยากลาง เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปในแนวทางและมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ
- การแก้ไขปัญหาสถานะและสิทธิของคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร์ เพื่อดำเนินการให้ผู้ไม่มีบัตรประชาชนได้รับสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการของรัฐ
- การสร้างความเข้าใจในนโยบายของรัฐบาล เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ที่ยึดหลักกฎหมายตามแนวทางสันติวิธีและการเคารพสิทธิมนุษยชน ตลอดจนหลักความโปร่งใส เพื่อสร้างความสงบสุขในหมู่บ้าน ชุมชน และสังคม โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้อบรมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายผลสู่การเป็นวิทยากรประจำหน่วยต่อไป
- การจัดพิธีมอบบันทึกความเข้าใจในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ของมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรมและการพัฒนามนุษย์ (Southern Universities' Networking for Multicultural Societies and Human Development) เมื่อวันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน 2561 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการขับเคลื่อนกิจกรรมพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับอุดมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยความร่วมมือร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี และสถานศึกษาอาชีวศึกษา 18 แห่งในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและสถานศึกษาในพื้นที่ พร้อมจัดกิจกรรมอบรม “โครงการค่ายพัฒนาเพื่อการเรียนรู้สังคมพหุวัฒนธรรม ระดับมัธยมศึกษา” ภายใต้ผลการวิจัย เรื่องชาติพันธุ์และชาตินิยมมลายู กับการสร้างทัศนคติเชิงบวกของชาวมลายูมุสลิมรุ่นใหม่ ในสถาบันอุดมศึกษา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ และวัดความรู้ความเข้าใจพหุวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม
- การสร้างเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี, อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส, อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นเมืองต้นแบบที่มีการพัฒนาในลักษณะพิเศษ โดยมีการลงทุนจากภาคเอกชนที่สามารถสร้างงาน และสร้างรายได้ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดจนเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้น
- การสร้างชุมชนต้นแบบอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา โดยการสร้างจิตสำนึกร่วมกันของชุมชนเพื่อร่วมแรงร่วมใจรักษาผืนป่า ตระหนักถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติระหว่างคนกับป่าและคนกับต้นน้ำ การจัดการน้ำ การจัดวิสาหกิจชุมชน การใช้พลังงานน้ำเพื่อความเป็นอยู่ของคนในชุมชน โดยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมีแผนที่จะขยายผลสร้างชุมชนต้นแบบด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากที่สุด เพื่อให้คนอยู่ร่วมธรรมชาติได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน
- การสร้างความรู้ความเข้าใจกับองค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Governmental Organisations: NGOs) และองค์การภาคเอกชนระหว่างประเทศ (International Governmental Organisations: IGOs) เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาล การดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนข้อมูลข้อเท็จจริงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อขยายผลสู่ความร่วมมือในการเผยแพร่ข้อมูลและข้อเท็จจริงที่จะสร้างผลดีแก่พื้นที่ สู่สาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งล่าสุดในการประชุมองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of the Islamic Cooperation) หรือ OIC เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยที่ให้การส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนตามวิถีชีวิตของชาวมุสลิมเป็นอย่างดี
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น