อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 21 กันยายน 2561
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ“ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
ในวันที่ 20 กันยายนของทุกปีจะเป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 2 พระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในฐานะ “ยุวกษัตริย์” คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในส่วนของรัฐบาลนี้ ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการที่จะส่งเสริมให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เจริญเติบโตสมตามวัย ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และมีความเข้าใจในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ด้วยแนวคิด “เด็กคิด เด็กนำ เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุน” นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้เยาวชนหนุ่มสาวได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง ที่จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ภายใต้แนวคิด “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” นโยบายดังกล่าว มุ่งหวังที่จะให้เยาวชนซึ่งเป็นวัยที่มีพลัง กล้าคิด กล้าแสดงออก พร้อมที่จะเติบใหญ่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ สามารถพัฒนาศักยภาพอย่างสร้างสรรค์ แสดงความสามารถของตนเองโดยการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม อาทิ กิจกรรมจิตอาสา ที่ส่งเสริมการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ พร้อมเป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในอนาคต อันเป็นที่มาของการจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ “ภูมิธรรม ภูมิไทย เยาวชนรุ่นใหม่ภูมิใจแผ่นดินเกิด” ซึ่งเป็นการนำเสนอกิจกรรมหรือเรื่องราวคุณความดีของเยาวชนที่ได้เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ โดยสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ ความร่วมมือร่วมใจกันของทุกคน ทุกฝ่าย และความภาคภูมิใจ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ณ ภูมิลำเนาของตนในแต่ละจังหวัดทั่วพื้นแผ่นดินไทย ซึ่งจะเป็นการจุดประกายแห่งพลังความรู้รักสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมอีกด้วย
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
เด็กเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้นการจะสร้างคนให้เก่ง ดี และมีภูมิคุ้มกันนั้น ย่อมจะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับบ้านเมืองในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสภาพสังคมในทศวรรษใหม่จะเป็นยุคดิจิทัล หรือยุคแห่งความเร็วและความล้ำสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสาร ยิ่งกว่านั้นยังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ก่อให้เกิดการหล่อหลอม รวมความคิดและความเชื่อของกลุ่มคน ที่เราทุกคนในสังคมจะต้องตั้งรับการมีวิถีชีวิตยุคใหม่นี้อย่างมีวิจารณญาณ มิฉะนั้นสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียน เยาวชนของชาติ ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฐานรากไม่มั่นคง จนไม่สามารถปรับตัวได้ทันและไม่เหมาะสม อาจเกิดปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ สุขภาพ อาทิ นิยมความรุนแรง เลียนแบบผิด ๆ ติดเกมส์ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รวมไปถึงติดยาเสพติด ดังนั้นการจะส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการปฏิรูปและการสร้างชาติในอนาคต โดยการบริหารจัดการด้านการศึกษา ที่จะต้องมุ่งเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติและยึดถือในชีวิตประจำวัน อาทิ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง การสร้างหลักคิดอย่างมีตรรกะ มีเหตุ มีผล ความคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์รอบ ๆ ตัว ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและที่สำคัญก็คือความรู้คุณค่าในตนเอง
พี่น้องประชาชนครับ
นอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีเวทีระดับโลกอีกมายมาย ที่เป็นพื้นที่การแสดงศักยภาพของเยาวชน ทรัพยากรมนุษย์ของแต่ละประเทศ วันนี้ผมก็มีผลงานที่สร้างรอยยิ้มและความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งชาติ มาเล่าให้ฟังเป็นตัวอย่างอีกครั้ง ก็เป็นการชนะเลิศในเวทีการประกวด การแข่งขันระดับโลกด้านศิลปวัฒนธรรม ทั้งประเภทคณะ และเดี่ยว อาทิ
(1) คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู“ชนะเลิศ” ในงานเทศกาลและการประกวดร้องประสานเสียงนานาชาติ ครั้งที่ 2 ที่เมืองคอร์ฟู ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 12 – 16 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นรายการแข่งขันขับร้องประสานเสียงที่มีชื่อเสียงที่สุดรายการหนึ่งของโลก มีทีมเข้าร่วมแข่งขันจาก 22 ประเทศ ในทุกทวีป รวม 37 ทีมทั่วโลก เช่น รัสเซีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ อาร์เจนตินา เทียบเท่ากับการแข่งขันโอลิมปิกด้านดนตรี ทีมไทยของเรานั้น ที่มีทั้งเสียงชาย-หญิง จากหลากหลายอายุและสาขาอาชีพ สามารถคว้ารางวัล 3 เหรียญทองจาก 3 สาขาที่เข้าแข่งขัน น่าภูมิใจนะครับ อันได้แก่ สาขาบทเพลงคติชนวิทยา (หรือ “เพลงพื้นบ้าน”) สาขาบทเพลงศาสนาคริสต์ และสาขาวงประสานเสียง
(2) คณะนักเต้นเยาวชนของไทย คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทต่าง ๆ ทั้งแบบเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทกลุ่ม ในรายการเต้นที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 20 ณ ประเทศสิงคโปร์ จากผู้เข้าร่วมแข่งทั้งหมดกว่า 1,700 คน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 3 กันยายนที่ผ่านมา
และ (3) คณะวงดุริยางค์สากล จากโรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในรายการ Singapore International Band Festival 2018 ณ ประเทศสิงคโปร์ ประเภท Division 1 และวิทยาลัยนาฏศิลป์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
นับเป็นความสำเร็จของคนไทย ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางศิลปะการแสดง ที่นำชื่อเสียงสร้างความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทั้งชาติ อีกทั้งก็จะเป็นการช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทย สร้างภาพลักษณ์และเกียรติภูมิไทยในเวทีโลก โอกาสนี้ ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชมคณะนักร้องประสานเสียง “ทีมวงสวนพลู” อีกทั้งเยาวชนไทยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ และขอบคุณผู้ฝึกสอน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยกันสร้างรอยยิ้มให้แก่ชาวไทย รวมทั้งขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมคนไทยไปแข่งขันในเวทีโลกนะครับ
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมได้ไปตรวจราชการที่จังหวัดลพบุรี และได้ไปเยี่ยมชมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ที่ตำบลเขาพระงาม โครงการนี้เป็นต้นแบบที่ดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย โดยเป็นโครงการที่ท้องถิ่นคือเทศบาลเขาพระงามดำเนินการดูแลพี่น้องประชาชนของเขาเอง ซึ่งเทศบาลแห่งนี้เป็นอีกแห่งของความภาคภูมิใจของเราทุกคน เนื่องจากเพิ่งได้รับรางวัลที่ 2 ของ United Nations Public Service Award ในสาขานวัตกรรมและความเป็นเลิศของการให้บริการด้านสุขภาพของเอเชียและเอเชียแปซิฟิก ก็เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ผมเลือกไปที่ตำบลเขาพระงาม ก็เพราะประเทศของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งปัจจุบันเราจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 10 ล้านคน หรือประมาณ 15% ของประชากรทั้งหมด และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอีกประมาณ 10 ปี จะมีจำนวนเพิ่มเป็น 20 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559 แสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่จัดอยู่ในภาวะเปราะบาง โดย 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ลูกหลานซึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้สูงอายุมีสัดส่วนลดลง ร้อยละของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียวหรือตามลำพังกับผู้สูงอายุด้วยกันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงประมาณ 400,000 คน และผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ 600,000 ในปี 2559 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก ในกลุ่มดังกล่าว ในช่วงท้ายของชีวิต หลาย ๆ คนจะเข้าสู่ภาวะติดเตียง จากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมไปถึงจากภาวะชราภาพที่ทำให้ช่วยตนเองไม่ได้ หากในช่วงเวลาที่ประเทศไทยของเรามีผู้สูงอายุในภาวะติดเตียงประมาณ 200,000 คนที่รอความช่วยเหลือ ในขณะที่ครอบครัวของเรามีฐานะ มีรายได้ที่มั่นคง ก็จะสามารถจ้างคนมาช่วยดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ญาติของเราที่ต้องอยู่ป่วยติดเตียงได้ แต่ในความเป็นจริงนั้น ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในชนบท มีหลายครอบครัวไม่มีเงินพอที่จะจ้างคนมาช่วยดูแลได้ ผู้สูงอายุที่ติดเตียงเหล่านั้น จึงไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม หลายคนต้องมีความยากลำบาก มีแผลตามตัว มีปัญหาสุขภาพ โรคต่าง ๆ ลุกลามมากขึ้น
รัฐบาลจึงได้เตรียมการที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุเหล่านั้น โดยในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ก็ได้มีมติเพิ่มสิทธิอีกประการให้กับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง มีสิทธิที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ โดยปลายเดือนนี้คณะกรรมการกระจายอำนาจ จะได้มอบเรื่องการจัดจ้าง “นักบริบาลชุมชน” ที่จะมาดูแลผู้สูงอายุในภาวะติดเตียง ให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น เพื่อให้เขาสามารถให้บริการเรื่องนี้ได้อย่างทั่วถึงและตรงจุด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะได้เตรียมเรื่องหลักสูตรที่เหมาะสมให้กับนักบริบาลชุมชนเหล่านี้ต่อไป เรื่องนี้ใช้งบประมาณไม่มากนัก แต่เป็นปัญหาความทุกข์ยากของคนจำนวนมาก ซึ่งถ้าเราทำได้เช่นนี้ ผู้สูงอายุที่เป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติของเรา ก็จะได้รับการดูแลที่เหมาะสม ครอบครัว เพื่อนบ้าน ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม ว่าจะช่วยกันดูแลผู้สูงอายุในภาวะติดเตียงได้อย่างไร ท่านเหล่านั้นก็จะมีสุขภาวะที่ดี แข็งแรง ทุกครอบครัวก็จะมีความสุขมากขึ้น เป็นการคืนความสุขให้กับคนไทยอีกทางหนึ่งครับ
พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่านครับ
เมื่อต้นสัปดาห์ ผมและคณะรัฐมนตรีได้มีโอกาสไปลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ภาคเอกชน และข้าราชการในพื้นที่ ณ จังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ มีการประชุม ครม. ในพื้นที่ด้วยนะครับ ที่ผมประทับใจอย่างมากและก็ขอชื่นชม ก็คือความเข้มแข็ง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชุมชน ในการที่จะพัฒนาท้องถิ่นของตนให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการกระชับความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐอย่างเข้มแข็ง ในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ด้วย หากเรามองย้อนกลับไปหลายปีก่อน พื้นที่บริเวณรอยต่อของจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ต่อสู้กับอำนาจรัฐมาอย่างยาวนานนับสิบปี ในช่วงเวลานั้นมีความต่างทางความคิดในพื้นที่สูง จนนำไปสู่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ ความเชื่อ และรุนแรงขึ้นถึงขั้นมีการสูญเสียในที่สุด แต่ปัจจุบันเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านั้น ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว และเป็นสิ่งคอยเตือนใจให้เราเรียนรู้ว่าความแตกต่างไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความแตกแยกเสมอไป หากเรารู้จักเรียนรู้ เข้าใจ บริหารจัดการและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกัน อีกทั้งไม่ปล่อยให้ใครรู้สึกว่าถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ผมได้เห็นตัวอย่างของการพัฒนาในหลากหลายมิติ ที่ไม่ได้แค่เข้ามาลบร่องรอยแห่งความขัดแย้งได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังสร้างความเจริญให้กับพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นความเข้มแข็ง ความสามัคคีของชุมชน ความหลากหลายชาติพันธุ์ในจังหวัดเลย ที่ต่างอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างผสานกลมกลืน จนเป็น “สังคมสมานไมตรี” ทุกคนในพื้นที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความคิดด้านบวก และก็พร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ในการจะพัฒนาชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้า นอกจากนี้ผมยังเห็นภาพของความเข้าใจ ยอมรับ และเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของคนในจังหวัดเลย ซึ่งก็ได้ถูกนำมาใช้สร้างเสน่ห์ให้กับการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ รวมถึงการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนและนวัตวิถี ตามแนวทางประชารัฐ ที่อำเภอเชียงคาน ซึ่งเราได้เห็นถนนคนเดินที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา และคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างมีเอกลักษณ์ ก็สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนั้นสามารถจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเราได้ไม่แพ้ชาติใดในโลกครับ
ในส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็มีการจัดการโครงการชุมชนไม้มีค่าตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะเป็นการสนับสนุนให้พี่น้องประชาชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในวันข้างหน้า ด้วยการปลูกไม้มีค่าบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังคำกล่าวที่ว่าประเทศได้ป่า ประชาได้หลักทรัพย์ หมายถึง นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้อย่างหลากหลายในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ในสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ หัวไร่ปลายนา หรือบริเวณบ้านเรือน และในพื้นที่ว่างเป็นต้นแล้ว รัฐยังมีการปรับปรุงร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือที่ดินที่มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ได้โดยชอบตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นทั้งการออม เป็นหลักประกัน และการสร้างอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน ทุกคนช่วยกันลองคิดตามผมนะครับ จากตัวอย่างง่าย ๆ ถึงมูลค่าไม้สัก จากการประเมินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 146 เซนติเมตร มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 33,000 บาท และจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เฉลี่ยปีละเกือบ 1,400 บาท (หรือ เฉลี่ย 3.72 บาท/วัน) นี่คือมูลค่าทางเศรษฐกิจของไม้สักเพียง 1 ต้น ที่เหลือก็คงต้องคำนวณตามศักยภาพในการปลูกของแต่ละคนเองอีกด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายระยะสั้น 1 - 2 ปี คือ ทำให้เกิดชุมชนไม้มีค่า 2,000 ชุมชน มีประชาชนได้รับผลประโยชน์ 100,000 ครัวเรือน โดยรัฐจะผลักดันกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ครบทุกมิติและเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายระยะยาว 10 ปีข้างหน้า คือเราจะขยายชุมชนไม้มีค่าเป็น 20,000 ชุมชน ประชาชนได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ กว่า 2,600,000 ครัวเรือน ประเทศชาติได้ป่า ได้ต้นไม้เพิ่ม 1,040 ล้านต้น คิดเป็นพื้นที่ป่าราว 26 ล้านไร่ อาจเทียบมูลค่าทางเศรษฐกิจได้คร่าว ๆ ประมาณ 1,040,000 ล้านบาท หากมองในภาพที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ชาวโลกโดยเฉพาะชาวไทยที่อยู่กับผืนป่านี้ ย่อมจะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เนื่องจากต้นไม้เหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก โดยการกักเก็บคาร์บอน 676,000 ตันต่อปี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ที่เราทุกคนสูดดมอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งก็เป็นภัยบั่นทอนสุขภาพของพวกเราทุกคน ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย ก็ต้องสิ้นเปลืองเงินทองค่าหมอ ค่ายา ซึ่งก็เป็นวงจรไม่พึงประสงค์ของปัญหาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมนั่นเอง
นอกจากนี้ เรายังได้เห็นการริเริ่มโครงการสินค้าเกษตรปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีน มาร์เก็ต” โดยคนในชุมชนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่ม เปลี่ยนจากกรอบแนวคิดแบบเดิม ที่มีต้นทุนการผลิตสูงจากการใช้สารเคมี ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน พ่อค้าคนกลาง เป็นแนวคิดใหม่ ที่สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร โดยสร้างพ่อค้าคนกลางของเกษตรกรขึ้นมาเอง เพื่อให้เกษตรกรและตลาดได้มีความเชื่อมโยงกันโดยตรง และเป็นการแข่งขันกับพ่อค้าคนกลางที่เป็นเอกชนทั่วไป สร้างอำนาจต่อรอง ควบคุมกลไกการตลาดได้บ้าง ซึ่งก็จะเป็นการบริหารโครงการ ทำในรูปแบบคณะกรรมการ ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อจะผสมผสานจุดเด่น ข้อดีของแต่ละภาคส่วน อาทิ ความยืดหยุ่น คล่องตัวของภาคเอกชน การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของภาครัฐ และการลงมือดำเนินการเองของภาคประชาชน โดยจะมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกษตรรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อจะสอบถามความต้องการของตลาด และแจ้งให้สมาชิกที่เป็นเกษตรกร ทำการเพาะปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ (GAP) หรือผักอินทรีย์ (ORGANIC) แล้วนำมาส่งขาย ซึ่งจะได้ราคาที่สูงกว่าในท้องตลาดประมาณหนึ่งเท่าตัว นอกจากนี้ก็ยังมีการสนับสนุนเรื่องการรับรองมาตรฐานการผลิต ให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครื่องหมาย “กรีน มาร์เก็ต เพชรบูรณ์” ด้วย
จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นลงมือสร้างทำด้วยการร่วมแรงร่วมใจของคนในชนบทนั้น มีความสำคัญมาก และถือได้ว่าเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จที่ยั่งยืนจากภายใน เพราะคนในชุมชนนั้น ๆ รู้จักรากเหง้า ตัวตน แนวคิด และมรดกต้นทุนของท้องถิ่นดีกว่าคนอื่นซึ่งเป็นคนนอก เมื่อมีข้อติดขัดหรืออุปสรรค ก็สามารถขอความช่วยเหลือ หรือขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างราบรื่น ในขณะที่ภาครัฐก็ต้องอำนวยความสะดวกให้กับสิ่งที่ประชาชนคิดและลงมือทำ บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อให้การพัฒนาดำเนินไปได้จนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งก็คือนัยยะที่แท้จริงของคำ “ประชารัฐ” ที่จะทำให้การสร้างไทยไปด้วยกันเกิดขึ้นได้จริง
ในส่วนของการสนับสนุนจากภาครัฐนั้น ก็ได้มีการหารือกับภาคเอกชน พี่น้องเกษตรกรและผู้บริหารท้องถิ่น ถึงความต้องการด้านต่าง ๆ ของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และภาคเหนือตอนล่าง 1 เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ ให้สามารถรองรับการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนและชุมชนได้ ซึ่งผมขอยกตัวอย่างหลัก ๆ ได้แก่ การพิจารณาสนับสนุนการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง – อินโดจีน – เมาะลำไย (LIMEC) ผ่านการเข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายถนนในพื้นที่ และการเชื่อมโยงการค้าระหว่างภาคเหนือตอนล่าง และประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดและสนับสนุนด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ทั้งโครงข่ายคมนาคมทางถนน ผ่านการขยายช่องการจราจร และเพิ่มความปลอดภัยของการจราจรในพื้นที่สำคัญ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางเชื่อมโยงหลัก ระหว่างจังหวัดและภาค รวมถึงการคมนาคมทางอากาศ เช่น การพัฒนาศักยภาพของท่าอากาศยานเลยและอุดรธานี เพื่อรองรับการเติบโตของนักเดินทางและนักท่องเที่ยว รวมถึงพิจารณาความจำเป็นของสนามบินใหม่ในพื้นที่ อีกทั้งยังหารือในเรื่องการสนับสนุนการคมนาคมทางราง ได้แก่ การสร้างท่าเรือบก และการศึกษาเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อทุกจังหวัดในกลุ่ม ที่จะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความจำเป็นเร่งด่วน เป็นสำคัญ
ส่วนด้านการเกษตร ก็ได้มีการพิจารณาเร่งรัด หรือสนับสนุนการดำเนินการด้านแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรและการแก้ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง เช่น การเสริมความจุอ่างเก็บน้ำ การเพิ่มศักยภาพระบบระบายน้ำ การปรับปรุงฝายและประตูระบายน้ำในหลายพื้นที่ ผมก็ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อเสนอต่าง ๆ ไปพิจารณาตามความเร่งด่วนแล้ว สำหรับด้านการยกระดับผลผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตในพื้นที่นั้น ก็ได้มีการหารือกันถึงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมไม้ผลและพืชผักเศรษฐกิจภาคเหนือ เพื่อจะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ในการรับรองมาตรฐานของพืชผักและผลไม้ การขยายพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ การพิจารณาก่อตั้ง Excellent Center เพื่อวิจัยและพัฒนาความรู้ สำหรับส่งเสริม SMEs การประกาศให้กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นคลัสเตอร์ยางพารา (Rubber Economic Cluster) เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเรื่องยางพาราอย่างครบวงจร การจัดตั้งศูนย์การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมไปถึงการพิจารณาประกาศให้จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองสมุนไพร (Herbal City) เพิ่มเติม ซึ่งจะต้องพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยมีการศึกษาการนำ Digital platform มาใช้ในการยกระดับการท่องเที่ยว และเกษตรปลอดภัย รวมไปถึงการพัฒนาผู้ประกอบการที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก การสนับสนุนการผลักดันแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geo-parks) ตามขั้นตอน รวมทั้งจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร และเชื่อมโยงกันด้วย ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายทางการแพทย์และการสาธารณสุขต้นแบบ ด้วยเทคโนโลยี Big Data, AI และ Mobile Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางการแพทย์ และการดูแลตนเองของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 และก็จะพิจารณาเร่งรัดการก่อสร้างอาคารของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และโรงพยาบาลหล่มสัก รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพการบริหารสุขภาพโรงพยาบาลในจังหวัดเลยอีกด้วย
จะเห็นได้ว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผมขอเชิญพี่น้องประชาชน เยาวชน ผู้ประกอบการ และทุกคนที่สนใจ มาเยี่ยมชมงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ภายใต้แนวคิด “Thailand BIG DATA – โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน” ซึ่งจะนำนวัตกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติ หลากหลายสาขามาแสดง จะเป็นการเปิดหูเปิดตาต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยให้ได้เห็นและเข้าใจถึงประโยชน์ ความสะดวกสบาย โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเราสามารถนำ BIG DATA มาผนวกกับนวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวม และการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ขณะนี้จัดงานขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 - 23 กันยายน นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจและขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทย ช่วยส่งกำลังใจไปถึงแนวหน้าของเรานะครับ ทั้งอาสาสมัครทหารพราน ตำรวจตระเวนชายแดน ทหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานปฏิบัติการตามแนวตะเข็บชายแดน หรือแนวพื้นที่ห่างไกล เพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศ และป้องกันการกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ทั้งการขนยาเสพติด การลักลอบค้าของเถื่อน สินค้าผิดกฎหมาย ไปจนถึงการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข และประชาชนแนวหลังทุกคนนอนหลับอย่างมีความสุข ผมขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกท่านมีสวัสดิภาพ และสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมเกียรติ สมดังอุดมการณ์ “รักชาติ รักแผ่นดิน” ของทุก ๆ คน ด้วยความไม่ประมาทและมีสติอยู่เสมอ ความยากในการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ก็คือผู้ก่อความไม่สงบ มักจะอาศัยการแต่งตัวเลียนแบบเจ้าหน้าที่ เลียนแบบทหารตำรวจระหว่างการก่อเหตุร้ายต่าง ๆ นอกจากจะง่ายต่อการหลบหนี แฝงตัวปะปนอยู่กับชาวบ้านโดยไม่มีใครสงสัย ยังยากต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดต่อพี่น้องประชาชนได้โดยง่ายอีกด้วย ก็ขอให้ทุก ๆ คน ช่วยกันเป็นหู เป็นตา ช่วยกันดูแลบ้านเมืองของเรา หากพบเห็นสิ่งผิดปกติสามารถแจ้งสายด่วน 191 หรือพบอุบัติเหตุฉุกเฉินโทรสายด่วน 1669 ทั้ง 2 เบอร์ ที่จำง่าย และใช้ได้ทุก ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ กรุณาบันทึกไว้ในโทรศัพท์ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีสวัสดิภาพ และทุกครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยนะครับสวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ“ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
ในวันที่ 20 กันยายนของทุกปีจะเป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 2 พระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในฐานะ “ยุวกษัตริย์” คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในส่วนของรัฐบาลนี้ ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการที่จะส่งเสริมให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เจริญเติบโตสมตามวัย ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และมีความเข้าใจในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ด้วยแนวคิด “เด็กคิด เด็กนำ เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุน” นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้เยาวชนหนุ่มสาวได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง ที่จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ภายใต้แนวคิด “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” นโยบายดังกล่าว มุ่งหวังที่จะให้เยาวชนซึ่งเป็นวัยที่มีพลัง กล้าคิด กล้าแสดงออก พร้อมที่จะเติบใหญ่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ สามารถพัฒนาศักยภาพอย่างสร้างสรรค์ แสดงความสามารถของตนเองโดยการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม อาทิ กิจกรรมจิตอาสา ที่ส่งเสริมการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ พร้อมเป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในอนาคต อันเป็นที่มาของการจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ “ภูมิธรรม ภูมิไทย เยาวชนรุ่นใหม่ภูมิใจแผ่นดินเกิด” ซึ่งเป็นการนำเสนอกิจกรรมหรือเรื่องราวคุณความดีของเยาวชนที่ได้เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ โดยสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ ความร่วมมือร่วมใจกันของทุกคน ทุกฝ่าย และความภาคภูมิใจ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ณ ภูมิลำเนาของตนในแต่ละจังหวัดทั่วพื้นแผ่นดินไทย ซึ่งจะเป็นการจุดประกายแห่งพลังความรู้รักสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมอีกด้วย
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
เด็กเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้นการจะสร้างคนให้เก่ง ดี และมีภูมิคุ้มกันนั้น ย่อมจะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับบ้านเมืองในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสภาพสังคมในทศวรรษใหม่จะเป็นยุคดิจิทัล หรือยุคแห่งความเร็วและความล้ำสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสาร ยิ่งกว่านั้นยังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ก่อให้เกิดการหล่อหลอม รวมความคิดและความเชื่อของกลุ่มคน ที่เราทุกคนในสังคมจะต้องตั้งรับการมีวิถีชีวิตยุคใหม่นี้อย่างมีวิจารณญาณ มิฉะนั้นสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียน เยาวชนของชาติ ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฐานรากไม่มั่นคง จนไม่สามารถปรับตัวได้ทันและไม่เหมาะสม อาจเกิดปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ สุขภาพ อาทิ นิยมความรุนแรง เลียนแบบผิด ๆ ติดเกมส์ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รวมไปถึงติดยาเสพติด ดังนั้นการจะส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการปฏิรูปและการสร้างชาติในอนาคต โดยการบริหารจัดการด้านการศึกษา ที่จะต้องมุ่งเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติและยึดถือในชีวิตประจำวัน อาทิ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง การสร้างหลักคิดอย่างมีตรรกะ มีเหตุ มีผล ความคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์รอบ ๆ ตัว ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและที่สำคัญก็คือความรู้คุณค่าในตนเอง
พี่น้องประชาชนครับ
นอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีเวทีระดับโลกอีกมายมาย ที่เป็นพื้นที่การแสดงศักยภาพของเยาวชน ทรัพยากรมนุษย์ของแต่ละประเทศ วันนี้ผมก็มีผลงานที่สร้างรอยยิ้มและความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งชาติ มาเล่าให้ฟังเป็นตัวอย่างอีกครั้ง ก็เป็นการชนะเลิศในเวทีการประกวด การแข่งขันระดับโลกด้านศิลปวัฒนธรรม ทั้งประเภทคณะ และเดี่ยว อาทิ
(1) คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู“ชนะเลิศ” ในงานเทศกาลและการประกวดร้องประสานเสียงนานาชาติ ครั้งที่ 2 ที่เมืองคอร์ฟู ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 12 – 16 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นรายการแข่งขันขับร้องประสานเสียงที่มีชื่อเสียงที่สุดรายการหนึ่งของโลก มีทีมเข้าร่วมแข่งขันจาก 22 ประเทศ ในทุกทวีป รวม 37 ทีมทั่วโลก เช่น รัสเซีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ อาร์เจนตินา เทียบเท่ากับการแข่งขันโอลิมปิกด้านดนตรี ทีมไทยของเรานั้น ที่มีทั้งเสียงชาย-หญิง จากหลากหลายอายุและสาขาอาชีพ สามารถคว้ารางวัล 3 เหรียญทองจาก 3 สาขาที่เข้าแข่งขัน น่าภูมิใจนะครับ อันได้แก่ สาขาบทเพลงคติชนวิทยา (หรือ “เพลงพื้นบ้าน”) สาขาบทเพลงศาสนาคริสต์ และสาขาวงประสานเสียง
(2) คณะนักเต้นเยาวชนของไทย คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทต่าง ๆ ทั้งแบบเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทกลุ่ม ในรายการเต้นที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 20 ณ ประเทศสิงคโปร์ จากผู้เข้าร่วมแข่งทั้งหมดกว่า 1,700 คน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 3 กันยายนที่ผ่านมา
และ (3) คณะวงดุริยางค์สากล จากโรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในรายการ Singapore International Band Festival 2018 ณ ประเทศสิงคโปร์ ประเภท Division 1 และวิทยาลัยนาฏศิลป์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
นับเป็นความสำเร็จของคนไทย ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางศิลปะการแสดง ที่นำชื่อเสียงสร้างความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทั้งชาติ อีกทั้งก็จะเป็นการช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทย สร้างภาพลักษณ์และเกียรติภูมิไทยในเวทีโลก โอกาสนี้ ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชมคณะนักร้องประสานเสียง “ทีมวงสวนพลู” อีกทั้งเยาวชนไทยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ และขอบคุณผู้ฝึกสอน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยกันสร้างรอยยิ้มให้แก่ชาวไทย รวมทั้งขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมคนไทยไปแข่งขันในเวทีโลกนะครับ
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมได้ไปตรวจราชการที่จังหวัดลพบุรี และได้ไปเยี่ยมชมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ที่ตำบลเขาพระงาม โครงการนี้เป็นต้นแบบที่ดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย โดยเป็นโครงการที่ท้องถิ่นคือเทศบาลเขาพระงามดำเนินการดูแลพี่น้องประชาชนของเขาเอง ซึ่งเทศบาลแห่งนี้เป็นอีกแห่งของความภาคภูมิใจของเราทุกคน เนื่องจากเพิ่งได้รับรางวัลที่ 2 ของ United Nations Public Service Award ในสาขานวัตกรรมและความเป็นเลิศของการให้บริการด้านสุขภาพของเอเชียและเอเชียแปซิฟิก ก็เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ผมเลือกไปที่ตำบลเขาพระงาม ก็เพราะประเทศของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งปัจจุบันเราจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 10 ล้านคน หรือประมาณ 15% ของประชากรทั้งหมด และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอีกประมาณ 10 ปี จะมีจำนวนเพิ่มเป็น 20 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559 แสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่จัดอยู่ในภาวะเปราะบาง โดย 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ลูกหลานซึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้สูงอายุมีสัดส่วนลดลง ร้อยละของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียวหรือตามลำพังกับผู้สูงอายุด้วยกันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงประมาณ 400,000 คน และผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ 600,000 ในปี 2559 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก ในกลุ่มดังกล่าว ในช่วงท้ายของชีวิต หลาย ๆ คนจะเข้าสู่ภาวะติดเตียง จากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมไปถึงจากภาวะชราภาพที่ทำให้ช่วยตนเองไม่ได้ หากในช่วงเวลาที่ประเทศไทยของเรามีผู้สูงอายุในภาวะติดเตียงประมาณ 200,000 คนที่รอความช่วยเหลือ ในขณะที่ครอบครัวของเรามีฐานะ มีรายได้ที่มั่นคง ก็จะสามารถจ้างคนมาช่วยดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ญาติของเราที่ต้องอยู่ป่วยติดเตียงได้ แต่ในความเป็นจริงนั้น ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในชนบท มีหลายครอบครัวไม่มีเงินพอที่จะจ้างคนมาช่วยดูแลได้ ผู้สูงอายุที่ติดเตียงเหล่านั้น จึงไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม หลายคนต้องมีความยากลำบาก มีแผลตามตัว มีปัญหาสุขภาพ โรคต่าง ๆ ลุกลามมากขึ้น
รัฐบาลจึงได้เตรียมการที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุเหล่านั้น โดยในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ก็ได้มีมติเพิ่มสิทธิอีกประการให้กับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง มีสิทธิที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ โดยปลายเดือนนี้คณะกรรมการกระจายอำนาจ จะได้มอบเรื่องการจัดจ้าง “นักบริบาลชุมชน” ที่จะมาดูแลผู้สูงอายุในภาวะติดเตียง ให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น เพื่อให้เขาสามารถให้บริการเรื่องนี้ได้อย่างทั่วถึงและตรงจุด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะได้เตรียมเรื่องหลักสูตรที่เหมาะสมให้กับนักบริบาลชุมชนเหล่านี้ต่อไป เรื่องนี้ใช้งบประมาณไม่มากนัก แต่เป็นปัญหาความทุกข์ยากของคนจำนวนมาก ซึ่งถ้าเราทำได้เช่นนี้ ผู้สูงอายุที่เป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติของเรา ก็จะได้รับการดูแลที่เหมาะสม ครอบครัว เพื่อนบ้าน ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม ว่าจะช่วยกันดูแลผู้สูงอายุในภาวะติดเตียงได้อย่างไร ท่านเหล่านั้นก็จะมีสุขภาวะที่ดี แข็งแรง ทุกครอบครัวก็จะมีความสุขมากขึ้น เป็นการคืนความสุขให้กับคนไทยอีกทางหนึ่งครับ
พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่านครับ
เมื่อต้นสัปดาห์ ผมและคณะรัฐมนตรีได้มีโอกาสไปลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ภาคเอกชน และข้าราชการในพื้นที่ ณ จังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ มีการประชุม ครม. ในพื้นที่ด้วยนะครับ ที่ผมประทับใจอย่างมากและก็ขอชื่นชม ก็คือความเข้มแข็ง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชุมชน ในการที่จะพัฒนาท้องถิ่นของตนให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการกระชับความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐอย่างเข้มแข็ง ในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ด้วย หากเรามองย้อนกลับไปหลายปีก่อน พื้นที่บริเวณรอยต่อของจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ต่อสู้กับอำนาจรัฐมาอย่างยาวนานนับสิบปี ในช่วงเวลานั้นมีความต่างทางความคิดในพื้นที่สูง จนนำไปสู่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ ความเชื่อ และรุนแรงขึ้นถึงขั้นมีการสูญเสียในที่สุด แต่ปัจจุบันเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านั้น ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว และเป็นสิ่งคอยเตือนใจให้เราเรียนรู้ว่าความแตกต่างไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความแตกแยกเสมอไป หากเรารู้จักเรียนรู้ เข้าใจ บริหารจัดการและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกัน อีกทั้งไม่ปล่อยให้ใครรู้สึกว่าถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ผมได้เห็นตัวอย่างของการพัฒนาในหลากหลายมิติ ที่ไม่ได้แค่เข้ามาลบร่องรอยแห่งความขัดแย้งได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังสร้างความเจริญให้กับพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นความเข้มแข็ง ความสามัคคีของชุมชน ความหลากหลายชาติพันธุ์ในจังหวัดเลย ที่ต่างอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างผสานกลมกลืน จนเป็น “สังคมสมานไมตรี” ทุกคนในพื้นที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความคิดด้านบวก และก็พร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ในการจะพัฒนาชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้า นอกจากนี้ผมยังเห็นภาพของความเข้าใจ ยอมรับ และเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของคนในจังหวัดเลย ซึ่งก็ได้ถูกนำมาใช้สร้างเสน่ห์ให้กับการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ รวมถึงการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนและนวัตวิถี ตามแนวทางประชารัฐ ที่อำเภอเชียงคาน ซึ่งเราได้เห็นถนนคนเดินที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา และคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างมีเอกลักษณ์ ก็สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนั้นสามารถจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเราได้ไม่แพ้ชาติใดในโลกครับ
ในส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็มีการจัดการโครงการชุมชนไม้มีค่าตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะเป็นการสนับสนุนให้พี่น้องประชาชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในวันข้างหน้า ด้วยการปลูกไม้มีค่าบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังคำกล่าวที่ว่าประเทศได้ป่า ประชาได้หลักทรัพย์ หมายถึง นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้อย่างหลากหลายในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ในสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ หัวไร่ปลายนา หรือบริเวณบ้านเรือน และในพื้นที่ว่างเป็นต้นแล้ว รัฐยังมีการปรับปรุงร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือที่ดินที่มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ได้โดยชอบตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นทั้งการออม เป็นหลักประกัน และการสร้างอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน ทุกคนช่วยกันลองคิดตามผมนะครับ จากตัวอย่างง่าย ๆ ถึงมูลค่าไม้สัก จากการประเมินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 146 เซนติเมตร มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 33,000 บาท และจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เฉลี่ยปีละเกือบ 1,400 บาท (หรือ เฉลี่ย 3.72 บาท/วัน) นี่คือมูลค่าทางเศรษฐกิจของไม้สักเพียง 1 ต้น ที่เหลือก็คงต้องคำนวณตามศักยภาพในการปลูกของแต่ละคนเองอีกด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายระยะสั้น 1 - 2 ปี คือ ทำให้เกิดชุมชนไม้มีค่า 2,000 ชุมชน มีประชาชนได้รับผลประโยชน์ 100,000 ครัวเรือน โดยรัฐจะผลักดันกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ครบทุกมิติและเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายระยะยาว 10 ปีข้างหน้า คือเราจะขยายชุมชนไม้มีค่าเป็น 20,000 ชุมชน ประชาชนได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ กว่า 2,600,000 ครัวเรือน ประเทศชาติได้ป่า ได้ต้นไม้เพิ่ม 1,040 ล้านต้น คิดเป็นพื้นที่ป่าราว 26 ล้านไร่ อาจเทียบมูลค่าทางเศรษฐกิจได้คร่าว ๆ ประมาณ 1,040,000 ล้านบาท หากมองในภาพที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ชาวโลกโดยเฉพาะชาวไทยที่อยู่กับผืนป่านี้ ย่อมจะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เนื่องจากต้นไม้เหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก โดยการกักเก็บคาร์บอน 676,000 ตันต่อปี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ที่เราทุกคนสูดดมอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งก็เป็นภัยบั่นทอนสุขภาพของพวกเราทุกคน ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย ก็ต้องสิ้นเปลืองเงินทองค่าหมอ ค่ายา ซึ่งก็เป็นวงจรไม่พึงประสงค์ของปัญหาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมนั่นเอง
นอกจากนี้ เรายังได้เห็นการริเริ่มโครงการสินค้าเกษตรปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีน มาร์เก็ต” โดยคนในชุมชนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่ม เปลี่ยนจากกรอบแนวคิดแบบเดิม ที่มีต้นทุนการผลิตสูงจากการใช้สารเคมี ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน พ่อค้าคนกลาง เป็นแนวคิดใหม่ ที่สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร โดยสร้างพ่อค้าคนกลางของเกษตรกรขึ้นมาเอง เพื่อให้เกษตรกรและตลาดได้มีความเชื่อมโยงกันโดยตรง และเป็นการแข่งขันกับพ่อค้าคนกลางที่เป็นเอกชนทั่วไป สร้างอำนาจต่อรอง ควบคุมกลไกการตลาดได้บ้าง ซึ่งก็จะเป็นการบริหารโครงการ ทำในรูปแบบคณะกรรมการ ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อจะผสมผสานจุดเด่น ข้อดีของแต่ละภาคส่วน อาทิ ความยืดหยุ่น คล่องตัวของภาคเอกชน การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของภาครัฐ และการลงมือดำเนินการเองของภาคประชาชน โดยจะมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกษตรรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อจะสอบถามความต้องการของตลาด และแจ้งให้สมาชิกที่เป็นเกษตรกร ทำการเพาะปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ (GAP) หรือผักอินทรีย์ (ORGANIC) แล้วนำมาส่งขาย ซึ่งจะได้ราคาที่สูงกว่าในท้องตลาดประมาณหนึ่งเท่าตัว นอกจากนี้ก็ยังมีการสนับสนุนเรื่องการรับรองมาตรฐานการผลิต ให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครื่องหมาย “กรีน มาร์เก็ต เพชรบูรณ์” ด้วย
จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นลงมือสร้างทำด้วยการร่วมแรงร่วมใจของคนในชนบทนั้น มีความสำคัญมาก และถือได้ว่าเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จที่ยั่งยืนจากภายใน เพราะคนในชุมชนนั้น ๆ รู้จักรากเหง้า ตัวตน แนวคิด และมรดกต้นทุนของท้องถิ่นดีกว่าคนอื่นซึ่งเป็นคนนอก เมื่อมีข้อติดขัดหรืออุปสรรค ก็สามารถขอความช่วยเหลือ หรือขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างราบรื่น ในขณะที่ภาครัฐก็ต้องอำนวยความสะดวกให้กับสิ่งที่ประชาชนคิดและลงมือทำ บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อให้การพัฒนาดำเนินไปได้จนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งก็คือนัยยะที่แท้จริงของคำ “ประชารัฐ” ที่จะทำให้การสร้างไทยไปด้วยกันเกิดขึ้นได้จริง
ในส่วนของการสนับสนุนจากภาครัฐนั้น ก็ได้มีการหารือกับภาคเอกชน พี่น้องเกษตรกรและผู้บริหารท้องถิ่น ถึงความต้องการด้านต่าง ๆ ของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และภาคเหนือตอนล่าง 1 เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ ให้สามารถรองรับการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนและชุมชนได้ ซึ่งผมขอยกตัวอย่างหลัก ๆ ได้แก่ การพิจารณาสนับสนุนการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง – อินโดจีน – เมาะลำไย (LIMEC) ผ่านการเข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายถนนในพื้นที่ และการเชื่อมโยงการค้าระหว่างภาคเหนือตอนล่าง และประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดและสนับสนุนด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ทั้งโครงข่ายคมนาคมทางถนน ผ่านการขยายช่องการจราจร และเพิ่มความปลอดภัยของการจราจรในพื้นที่สำคัญ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางเชื่อมโยงหลัก ระหว่างจังหวัดและภาค รวมถึงการคมนาคมทางอากาศ เช่น การพัฒนาศักยภาพของท่าอากาศยานเลยและอุดรธานี เพื่อรองรับการเติบโตของนักเดินทางและนักท่องเที่ยว รวมถึงพิจารณาความจำเป็นของสนามบินใหม่ในพื้นที่ อีกทั้งยังหารือในเรื่องการสนับสนุนการคมนาคมทางราง ได้แก่ การสร้างท่าเรือบก และการศึกษาเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อทุกจังหวัดในกลุ่ม ที่จะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความจำเป็นเร่งด่วน เป็นสำคัญ
ส่วนด้านการเกษตร ก็ได้มีการพิจารณาเร่งรัด หรือสนับสนุนการดำเนินการด้านแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรและการแก้ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง เช่น การเสริมความจุอ่างเก็บน้ำ การเพิ่มศักยภาพระบบระบายน้ำ การปรับปรุงฝายและประตูระบายน้ำในหลายพื้นที่ ผมก็ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อเสนอต่าง ๆ ไปพิจารณาตามความเร่งด่วนแล้ว สำหรับด้านการยกระดับผลผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตในพื้นที่นั้น ก็ได้มีการหารือกันถึงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมไม้ผลและพืชผักเศรษฐกิจภาคเหนือ เพื่อจะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ในการรับรองมาตรฐานของพืชผักและผลไม้ การขยายพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ การพิจารณาก่อตั้ง Excellent Center เพื่อวิจัยและพัฒนาความรู้ สำหรับส่งเสริม SMEs การประกาศให้กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นคลัสเตอร์ยางพารา (Rubber Economic Cluster) เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเรื่องยางพาราอย่างครบวงจร การจัดตั้งศูนย์การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมไปถึงการพิจารณาประกาศให้จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองสมุนไพร (Herbal City) เพิ่มเติม ซึ่งจะต้องพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยมีการศึกษาการนำ Digital platform มาใช้ในการยกระดับการท่องเที่ยว และเกษตรปลอดภัย รวมไปถึงการพัฒนาผู้ประกอบการที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก การสนับสนุนการผลักดันแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geo-parks) ตามขั้นตอน รวมทั้งจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร และเชื่อมโยงกันด้วย ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายทางการแพทย์และการสาธารณสุขต้นแบบ ด้วยเทคโนโลยี Big Data, AI และ Mobile Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางการแพทย์ และการดูแลตนเองของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 และก็จะพิจารณาเร่งรัดการก่อสร้างอาคารของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และโรงพยาบาลหล่มสัก รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพการบริหารสุขภาพโรงพยาบาลในจังหวัดเลยอีกด้วย
จะเห็นได้ว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผมขอเชิญพี่น้องประชาชน เยาวชน ผู้ประกอบการ และทุกคนที่สนใจ มาเยี่ยมชมงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ภายใต้แนวคิด “Thailand BIG DATA – โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน” ซึ่งจะนำนวัตกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติ หลากหลายสาขามาแสดง จะเป็นการเปิดหูเปิดตาต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยให้ได้เห็นและเข้าใจถึงประโยชน์ ความสะดวกสบาย โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเราสามารถนำ BIG DATA มาผนวกกับนวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวม และการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ขณะนี้จัดงานขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 - 23 กันยายน นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจและขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทย ช่วยส่งกำลังใจไปถึงแนวหน้าของเรานะครับ ทั้งอาสาสมัครทหารพราน ตำรวจตระเวนชายแดน ทหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานปฏิบัติการตามแนวตะเข็บชายแดน หรือแนวพื้นที่ห่างไกล เพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศ และป้องกันการกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ทั้งการขนยาเสพติด การลักลอบค้าของเถื่อน สินค้าผิดกฎหมาย ไปจนถึงการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข และประชาชนแนวหลังทุกคนนอนหลับอย่างมีความสุข ผมขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกท่านมีสวัสดิภาพ และสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมเกียรติ สมดังอุดมการณ์ “รักชาติ รักแผ่นดิน” ของทุก ๆ คน ด้วยความไม่ประมาทและมีสติอยู่เสมอ ความยากในการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ก็คือผู้ก่อความไม่สงบ มักจะอาศัยการแต่งตัวเลียนแบบเจ้าหน้าที่ เลียนแบบทหารตำรวจระหว่างการก่อเหตุร้ายต่าง ๆ นอกจากจะง่ายต่อการหลบหนี แฝงตัวปะปนอยู่กับชาวบ้านโดยไม่มีใครสงสัย ยังยากต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดต่อพี่น้องประชาชนได้โดยง่ายอีกด้วย ก็ขอให้ทุก ๆ คน ช่วยกันเป็นหู เป็นตา ช่วยกันดูแลบ้านเมืองของเรา หากพบเห็นสิ่งผิดปกติสามารถแจ้งสายด่วน 191 หรือพบอุบัติเหตุฉุกเฉินโทรสายด่วน 1669 ทั้ง 2 เบอร์ ที่จำง่าย และใช้ได้ทุก ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ กรุณาบันทึกไว้ในโทรศัพท์ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีสวัสดิภาพ และทุกครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยนะครับสวัสดีครับ
ในวันที่ 20 กันยายนของทุกปีจะเป็น “วันเยาวชนแห่งชาติ” เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี 2 พระองค์ ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในฐานะ “ยุวกษัตริย์” คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ในส่วนของรัฐบาลนี้ ได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการที่จะส่งเสริมให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เจริญเติบโตสมตามวัย ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และมีความเข้าใจในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ด้วยแนวคิด “เด็กคิด เด็กนำ เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุน” นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้เยาวชนหนุ่มสาวได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเอง ที่จะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต ภายใต้แนวคิด “ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” นโยบายดังกล่าว มุ่งหวังที่จะให้เยาวชนซึ่งเป็นวัยที่มีพลัง กล้าคิด กล้าแสดงออก พร้อมที่จะเติบใหญ่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพของประเทศ สามารถพัฒนาศักยภาพอย่างสร้างสรรค์ แสดงความสามารถของตนเองโดยการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน สังคม อาทิ กิจกรรมจิตอาสา ที่ส่งเสริมการเป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ พร้อมเป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในอนาคต อันเป็นที่มาของการจัดงานวันเยาวชนแห่งชาติในปีนี้ ภายใต้หัวข้อ “ภูมิธรรม ภูมิไทย เยาวชนรุ่นใหม่ภูมิใจแผ่นดินเกิด” ซึ่งเป็นการนำเสนอกิจกรรมหรือเรื่องราวคุณความดีของเยาวชนที่ได้เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ โดยสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ ความร่วมมือร่วมใจกันของทุกคน ทุกฝ่าย และความภาคภูมิใจ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ณ ภูมิลำเนาของตนในแต่ละจังหวัดทั่วพื้นแผ่นดินไทย ซึ่งจะเป็นการจุดประกายแห่งพลังความรู้รักสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมอีกด้วย
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
เด็กเป็นอนาคตของชาติ ดังนั้นการจะสร้างคนให้เก่ง ดี และมีภูมิคุ้มกันนั้น ย่อมจะเป็นการสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับบ้านเมืองในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งสภาพสังคมในทศวรรษใหม่จะเป็นยุคดิจิทัล หรือยุคแห่งความเร็วและความล้ำสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสาร ยิ่งกว่านั้นยังมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ วัฒนธรรม ก่อให้เกิดการหล่อหลอม รวมความคิดและความเชื่อของกลุ่มคน ที่เราทุกคนในสังคมจะต้องตั้งรับการมีวิถีชีวิตยุคใหม่นี้อย่างมีวิจารณญาณ มิฉะนั้นสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้ อาจส่งผลกระทบต่อเด็กวัยเรียน เยาวชนของชาติ ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฐานรากไม่มั่นคง จนไม่สามารถปรับตัวได้ทันและไม่เหมาะสม อาจเกิดปัญหาด้านอารมณ์และจิตใจ สุขภาพ อาทิ นิยมความรุนแรง เลียนแบบผิด ๆ ติดเกมส์ ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร รวมไปถึงติดยาเสพติด ดังนั้นการจะส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ต่อการปฏิรูปและการสร้างชาติในอนาคต โดยการบริหารจัดการด้านการศึกษา ที่จะต้องมุ่งเสริมสร้างทักษะชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชน สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติและยึดถือในชีวิตประจำวัน อาทิ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง การสร้างหลักคิดอย่างมีตรรกะ มีเหตุ มีผล ความคิดเชิงวิเคราะห์ ทักษะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารและเหตุการณ์รอบ ๆ ตัว ความคิดสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบต่อสังคมและที่สำคัญก็คือความรู้คุณค่าในตนเอง
พี่น้องประชาชนครับ
นอกจากการแข่งขันกีฬาแล้ว ยังมีเวทีระดับโลกอีกมายมาย ที่เป็นพื้นที่การแสดงศักยภาพของเยาวชน ทรัพยากรมนุษย์ของแต่ละประเทศ วันนี้ผมก็มีผลงานที่สร้างรอยยิ้มและความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งชาติ มาเล่าให้ฟังเป็นตัวอย่างอีกครั้ง ก็เป็นการชนะเลิศในเวทีการประกวด การแข่งขันระดับโลกด้านศิลปวัฒนธรรม ทั้งประเภทคณะ และเดี่ยว อาทิ
(1) คณะนักร้องประสานเสียงสวนพลู“ชนะเลิศ” ในงานเทศกาลและการประกวดร้องประสานเสียงนานาชาติ ครั้งที่ 2 ที่เมืองคอร์ฟู ประเทศกรีซ ระหว่างวันที่ 12 – 16 กันยายน ที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นรายการแข่งขันขับร้องประสานเสียงที่มีชื่อเสียงที่สุดรายการหนึ่งของโลก มีทีมเข้าร่วมแข่งขันจาก 22 ประเทศ ในทุกทวีป รวม 37 ทีมทั่วโลก เช่น รัสเซีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส อังกฤษ อาร์เจนตินา เทียบเท่ากับการแข่งขันโอลิมปิกด้านดนตรี ทีมไทยของเรานั้น ที่มีทั้งเสียงชาย-หญิง จากหลากหลายอายุและสาขาอาชีพ สามารถคว้ารางวัล 3 เหรียญทองจาก 3 สาขาที่เข้าแข่งขัน น่าภูมิใจนะครับ อันได้แก่ สาขาบทเพลงคติชนวิทยา (หรือ “เพลงพื้นบ้าน”) สาขาบทเพลงศาสนาคริสต์ และสาขาวงประสานเสียง
(2) คณะนักเต้นเยาวชนของไทย คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทต่าง ๆ ทั้งแบบเดี่ยว ประเภทคู่ และประเภทกลุ่ม ในรายการเต้นที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 20 ณ ประเทศสิงคโปร์ จากผู้เข้าร่วมแข่งทั้งหมดกว่า 1,700 คน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ถึง 3 กันยายนที่ผ่านมา
และ (3) คณะวงดุริยางค์สากล จากโรงเรียนสุรนารีวิทยา ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในรายการ Singapore International Band Festival 2018 ณ ประเทศสิงคโปร์ ประเภท Division 1 และวิทยาลัยนาฏศิลป์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
นับเป็นความสำเร็จของคนไทย ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถทางศิลปะการแสดง ที่นำชื่อเสียงสร้างความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทั้งชาติ อีกทั้งก็จะเป็นการช่วยเผยแพร่วัฒนธรรมไทย สร้างภาพลักษณ์และเกียรติภูมิไทยในเวทีโลก โอกาสนี้ ผมขอแสดงความยินดีและชื่นชมคณะนักร้องประสานเสียง “ทีมวงสวนพลู” อีกทั้งเยาวชนไทยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ และขอบคุณผู้ฝึกสอน ผู้ที่เกี่ยวข้อง ที่ช่วยกันสร้างรอยยิ้มให้แก่ชาวไทย รวมทั้งขอขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมคนไทยไปแข่งขันในเวทีโลกนะครับ
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ผมได้ไปตรวจราชการที่จังหวัดลพบุรี และได้ไปเยี่ยมชมโครงการบ้านสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ที่ตำบลเขาพระงาม โครงการนี้เป็นต้นแบบที่ดีอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย โดยเป็นโครงการที่ท้องถิ่นคือเทศบาลเขาพระงามดำเนินการดูแลพี่น้องประชาชนของเขาเอง ซึ่งเทศบาลแห่งนี้เป็นอีกแห่งของความภาคภูมิใจของเราทุกคน เนื่องจากเพิ่งได้รับรางวัลที่ 2 ของ United Nations Public Service Award ในสาขานวัตกรรมและความเป็นเลิศของการให้บริการด้านสุขภาพของเอเชียและเอเชียแปซิฟิก ก็เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ท้องถิ่นอื่น ๆ ที่ผมเลือกไปที่ตำบลเขาพระงาม ก็เพราะประเทศของเรากำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งปัจจุบันเราจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีมากกว่า 10 ล้านคน หรือประมาณ 15% ของประชากรทั้งหมด และกำลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าอีกประมาณ 10 ปี จะมีจำนวนเพิ่มเป็น 20 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ
จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559 แสดงให้เห็นว่า มีผู้สูงอายุจำนวนมากที่จัดอยู่ในภาวะเปราะบาง โดย 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน ลูกหลานซึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้สำคัญของผู้สูงอายุมีสัดส่วนลดลง ร้อยละของผู้สูงอายุที่อยู่ตามลำพังคนเดียวหรือตามลำพังกับผู้สูงอายุด้วยกันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงประมาณ 400,000 คน และผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ 600,000 ในปี 2559 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก ในกลุ่มดังกล่าว ในช่วงท้ายของชีวิต หลาย ๆ คนจะเข้าสู่ภาวะติดเตียง จากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมไปถึงจากภาวะชราภาพที่ทำให้ช่วยตนเองไม่ได้ หากในช่วงเวลาที่ประเทศไทยของเรามีผู้สูงอายุในภาวะติดเตียงประมาณ 200,000 คนที่รอความช่วยเหลือ ในขณะที่ครอบครัวของเรามีฐานะ มีรายได้ที่มั่นคง ก็จะสามารถจ้างคนมาช่วยดูแลพ่อแม่ ปู่ย่า ญาติของเราที่ต้องอยู่ป่วยติดเตียงได้ แต่ในความเป็นจริงนั้น ในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในชนบท มีหลายครอบครัวไม่มีเงินพอที่จะจ้างคนมาช่วยดูแลได้ ผู้สูงอายุที่ติดเตียงเหล่านั้น จึงไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสม หลายคนต้องมีความยากลำบาก มีแผลตามตัว มีปัญหาสุขภาพ โรคต่าง ๆ ลุกลามมากขึ้น
รัฐบาลจึงได้เตรียมการที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุเหล่านั้น โดยในช่วงที่ผ่านมา คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ก็ได้มีมติเพิ่มสิทธิอีกประการให้กับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิง มีสิทธิที่จะได้รับการดูแลจากรัฐ โดยปลายเดือนนี้คณะกรรมการกระจายอำนาจ จะได้มอบเรื่องการจัดจ้าง “นักบริบาลชุมชน” ที่จะมาดูแลผู้สูงอายุในภาวะติดเตียง ให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่น เพื่อให้เขาสามารถให้บริการเรื่องนี้ได้อย่างทั่วถึงและตรงจุด โดยกระทรวงสาธารณสุขจะได้เตรียมเรื่องหลักสูตรที่เหมาะสมให้กับนักบริบาลชุมชนเหล่านี้ต่อไป เรื่องนี้ใช้งบประมาณไม่มากนัก แต่เป็นปัญหาความทุกข์ยากของคนจำนวนมาก ซึ่งถ้าเราทำได้เช่นนี้ ผู้สูงอายุที่เป็นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติของเรา ก็จะได้รับการดูแลที่เหมาะสม ครอบครัว เพื่อนบ้าน ได้รับคำแนะนำที่เหมาะสม ว่าจะช่วยกันดูแลผู้สูงอายุในภาวะติดเตียงได้อย่างไร ท่านเหล่านั้นก็จะมีสุขภาวะที่ดี แข็งแรง ทุกครอบครัวก็จะมีความสุขมากขึ้น เป็นการคืนความสุขให้กับคนไทยอีกทางหนึ่งครับ
พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่านครับ
เมื่อต้นสัปดาห์ ผมและคณะรัฐมนตรีได้มีโอกาสไปลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชน ภาคเอกชน และข้าราชการในพื้นที่ ณ จังหวัดเลยและเพชรบูรณ์ มีการประชุม ครม. ในพื้นที่ด้วยนะครับ ที่ผมประทับใจอย่างมากและก็ขอชื่นชม ก็คือความเข้มแข็ง ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชุมชน ในการที่จะพัฒนาท้องถิ่นของตนให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการกระชับความร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐอย่างเข้มแข็ง ในการขับเคลื่อนโครงการต่าง ๆ ด้วย หากเรามองย้อนกลับไปหลายปีก่อน พื้นที่บริเวณรอยต่อของจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก เดิมเคยเป็นพื้นที่ที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญของกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่ต่อสู้กับอำนาจรัฐมาอย่างยาวนานนับสิบปี ในช่วงเวลานั้นมีความต่างทางความคิดในพื้นที่สูง จนนำไปสู่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ ความเชื่อ และรุนแรงขึ้นถึงขั้นมีการสูญเสียในที่สุด แต่ปัจจุบันเหตุการณ์ทั้งหมดเหล่านั้น ได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว และเป็นสิ่งคอยเตือนใจให้เราเรียนรู้ว่าความแตกต่างไม่จำเป็นต้องนำไปสู่ความแตกแยกเสมอไป หากเรารู้จักเรียนรู้ เข้าใจ บริหารจัดการและพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม สามารถพึ่งพาอาศัยกันและกัน อีกทั้งไม่ปล่อยให้ใครรู้สึกว่าถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง
ในการลงพื้นที่ครั้งนี้ ผมได้เห็นตัวอย่างของการพัฒนาในหลากหลายมิติ ที่ไม่ได้แค่เข้ามาลบร่องรอยแห่งความขัดแย้งได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังสร้างความเจริญให้กับพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นความเข้มแข็ง ความสามัคคีของชุมชน ความหลากหลายชาติพันธุ์ในจังหวัดเลย ที่ต่างอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างผสานกลมกลืน จนเป็น “สังคมสมานไมตรี” ทุกคนในพื้นที่ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความคิดด้านบวก และก็พร้อมที่จะร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน ในการจะพัฒนาชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้า นอกจากนี้ผมยังเห็นภาพของความเข้าใจ ยอมรับ และเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของคนในจังหวัดเลย ซึ่งก็ได้ถูกนำมาใช้สร้างเสน่ห์ให้กับการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ รวมถึงการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนและนวัตวิถี ตามแนวทางประชารัฐ ที่อำเภอเชียงคาน ซึ่งเราได้เห็นถนนคนเดินที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดตา และคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอย่างมีเอกลักษณ์ ก็สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยนั้นสามารถจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเราได้ไม่แพ้ชาติใดในโลกครับ
ในส่วนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ก็มีการจัดการโครงการชุมชนไม้มีค่าตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะเป็นการสนับสนุนให้พี่น้องประชาชนมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ในวันข้างหน้า ด้วยการปลูกไม้มีค่าบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ ดังคำกล่าวที่ว่าประเทศได้ป่า ประชาได้หลักทรัพย์ หมายถึง นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ปลูกต้นไม้อย่างหลากหลายในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ในสวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ หัวไร่ปลายนา หรือบริเวณบ้านเรือน และในพื้นที่ว่างเป็นต้นแล้ว รัฐยังมีการปรับปรุงร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือที่ดินที่มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ได้โดยชอบตามกฎหมาย ซึ่งจะเป็นทั้งการออม เป็นหลักประกัน และการสร้างอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน ทุกคนช่วยกันลองคิดตามผมนะครับ จากตัวอย่างง่าย ๆ ถึงมูลค่าไม้สัก จากการประเมินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ที่มีขนาดเส้นรอบวงลำต้น 146 เซนติเมตร มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 33,000 บาท และจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี เฉลี่ยปีละเกือบ 1,400 บาท (หรือ เฉลี่ย 3.72 บาท/วัน) นี่คือมูลค่าทางเศรษฐกิจของไม้สักเพียง 1 ต้น ที่เหลือก็คงต้องคำนวณตามศักยภาพในการปลูกของแต่ละคนเองอีกด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลมีเป้าหมายระยะสั้น 1 - 2 ปี คือ ทำให้เกิดชุมชนไม้มีค่า 2,000 ชุมชน มีประชาชนได้รับผลประโยชน์ 100,000 ครัวเรือน โดยรัฐจะผลักดันกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ครบทุกมิติและเป็นรูปธรรม เพื่อนำไปสู่เป้าหมายระยะยาว 10 ปีข้างหน้า คือเราจะขยายชุมชนไม้มีค่าเป็น 20,000 ชุมชน ประชาชนได้รับประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ กว่า 2,600,000 ครัวเรือน ประเทศชาติได้ป่า ได้ต้นไม้เพิ่ม 1,040 ล้านต้น คิดเป็นพื้นที่ป่าราว 26 ล้านไร่ อาจเทียบมูลค่าทางเศรษฐกิจได้คร่าว ๆ ประมาณ 1,040,000 ล้านบาท หากมองในภาพที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น ชาวโลกโดยเฉพาะชาวไทยที่อยู่กับผืนป่านี้ ย่อมจะมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เนื่องจากต้นไม้เหล่านี้จะช่วยลดผลกระทบจากก๊าซเรือนกระจก โดยการกักเก็บคาร์บอน 676,000 ตันต่อปี หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เป็นการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ที่เราทุกคนสูดดมอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ซึ่งก็เป็นภัยบั่นทอนสุขภาพของพวกเราทุกคน ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย ก็ต้องสิ้นเปลืองเงินทองค่าหมอ ค่ายา ซึ่งก็เป็นวงจรไม่พึงประสงค์ของปัญหาสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมนั่นเอง
นอกจากนี้ เรายังได้เห็นการริเริ่มโครงการสินค้าเกษตรปลอดภัย ภายใต้สัญลักษณ์ “กรีน มาร์เก็ต” โดยคนในชุมชนของจังหวัดเพชรบูรณ์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างมูลค่าเพิ่ม เปลี่ยนจากกรอบแนวคิดแบบเดิม ที่มีต้นทุนการผลิตสูงจากการใช้สารเคมี ถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน พ่อค้าคนกลาง เป็นแนวคิดใหม่ ที่สร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร โดยสร้างพ่อค้าคนกลางของเกษตรกรขึ้นมาเอง เพื่อให้เกษตรกรและตลาดได้มีความเชื่อมโยงกันโดยตรง และเป็นการแข่งขันกับพ่อค้าคนกลางที่เป็นเอกชนทั่วไป สร้างอำนาจต่อรอง ควบคุมกลไกการตลาดได้บ้าง ซึ่งก็จะเป็นการบริหารโครงการ ทำในรูปแบบคณะกรรมการ ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน เพื่อจะผสมผสานจุดเด่น ข้อดีของแต่ละภาคส่วน อาทิ ความยืดหยุ่น คล่องตัวของภาคเอกชน การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของภาครัฐ และการลงมือดำเนินการเองของภาคประชาชน โดยจะมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกษตรรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อจะสอบถามความต้องการของตลาด และแจ้งให้สมาชิกที่เป็นเกษตรกร ทำการเพาะปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ (GAP) หรือผักอินทรีย์ (ORGANIC) แล้วนำมาส่งขาย ซึ่งจะได้ราคาที่สูงกว่าในท้องตลาดประมาณหนึ่งเท่าตัว นอกจากนี้ก็ยังมีการสนับสนุนเรื่องการรับรองมาตรฐานการผลิต ให้ผู้บริโภคมั่นใจในมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครื่องหมาย “กรีน มาร์เก็ต เพชรบูรณ์” ด้วย
จะเห็นได้ว่า การเริ่มต้นลงมือสร้างทำด้วยการร่วมแรงร่วมใจของคนในชนบทนั้น มีความสำคัญมาก และถือได้ว่าเป็นแนวทางแห่งความสำเร็จที่ยั่งยืนจากภายใน เพราะคนในชุมชนนั้น ๆ รู้จักรากเหง้า ตัวตน แนวคิด และมรดกต้นทุนของท้องถิ่นดีกว่าคนอื่นซึ่งเป็นคนนอก เมื่อมีข้อติดขัดหรืออุปสรรค ก็สามารถขอความช่วยเหลือ หรือขอรับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างราบรื่น ในขณะที่ภาครัฐก็ต้องอำนวยความสะดวกให้กับสิ่งที่ประชาชนคิดและลงมือทำ บนพื้นฐานของคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อให้การพัฒนาดำเนินไปได้จนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งก็คือนัยยะที่แท้จริงของคำ “ประชารัฐ” ที่จะทำให้การสร้างไทยไปด้วยกันเกิดขึ้นได้จริง
ในส่วนของการสนับสนุนจากภาครัฐนั้น ก็ได้มีการหารือกับภาคเอกชน พี่น้องเกษตรกรและผู้บริหารท้องถิ่น ถึงความต้องการด้านต่าง ๆ ของพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 และภาคเหนือตอนล่าง 1 เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ ให้สามารถรองรับการเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคเอกชนและชุมชนได้ ซึ่งผมขอยกตัวอย่างหลัก ๆ ได้แก่ การพิจารณาสนับสนุนการเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ หลวงพระบาง – อินโดจีน – เมาะลำไย (LIMEC) ผ่านการเข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือ ACMECS รวมถึงการพัฒนาโครงข่ายถนนในพื้นที่ และการเชื่อมโยงการค้าระหว่างภาคเหนือตอนล่าง และประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ยังมีการเร่งรัดและสนับสนุนด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ทั้งโครงข่ายคมนาคมทางถนน ผ่านการขยายช่องการจราจร และเพิ่มความปลอดภัยของการจราจรในพื้นที่สำคัญ อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเส้นทางเชื่อมโยงหลัก ระหว่างจังหวัดและภาค รวมถึงการคมนาคมทางอากาศ เช่น การพัฒนาศักยภาพของท่าอากาศยานเลยและอุดรธานี เพื่อรองรับการเติบโตของนักเดินทางและนักท่องเที่ยว รวมถึงพิจารณาความจำเป็นของสนามบินใหม่ในพื้นที่ อีกทั้งยังหารือในเรื่องการสนับสนุนการคมนาคมทางราง ได้แก่ การสร้างท่าเรือบก และการศึกษาเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อทุกจังหวัดในกลุ่ม ที่จะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความจำเป็นเร่งด่วน เป็นสำคัญ
ส่วนด้านการเกษตร ก็ได้มีการพิจารณาเร่งรัด หรือสนับสนุนการดำเนินการด้านแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรและการแก้ปัญหาอุทกภัย ภัยแล้ง เช่น การเสริมความจุอ่างเก็บน้ำ การเพิ่มศักยภาพระบบระบายน้ำ การปรับปรุงฝายและประตูระบายน้ำในหลายพื้นที่ ผมก็ได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อเสนอต่าง ๆ ไปพิจารณาตามความเร่งด่วนแล้ว สำหรับด้านการยกระดับผลผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตในพื้นที่นั้น ก็ได้มีการหารือกันถึงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาต่อยอดนวัตกรรมไม้ผลและพืชผักเศรษฐกิจภาคเหนือ เพื่อจะพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหลังการเก็บเกี่ยว ในการรับรองมาตรฐานของพืชผักและผลไม้ การขยายพื้นที่ทำเกษตรอินทรีย์ การพิจารณาก่อตั้ง Excellent Center เพื่อวิจัยและพัฒนาความรู้ สำหรับส่งเสริม SMEs การประกาศให้กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นคลัสเตอร์ยางพารา (Rubber Economic Cluster) เพื่อสนับสนุนให้มีการพัฒนาเรื่องยางพาราอย่างครบวงจร การจัดตั้งศูนย์การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมไปถึงการพิจารณาประกาศให้จังหวัดอุดรธานีเป็นเมืองสมุนไพร (Herbal City) เพิ่มเติม ซึ่งจะต้องพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยมีการศึกษาการนำ Digital platform มาใช้ในการยกระดับการท่องเที่ยว และเกษตรปลอดภัย รวมไปถึงการพัฒนาผู้ประกอบการที่จะสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก การสนับสนุนการผลักดันแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เป็นอุทยานธรณีโลก (UNESCO Global Geo-parks) ตามขั้นตอน รวมทั้งจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างครบวงจร และเชื่อมโยงกันด้วย ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะเข้าไปสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายทางการแพทย์และการสาธารณสุขต้นแบบ ด้วยเทคโนโลยี Big Data, AI และ Mobile Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางการแพทย์ และการดูแลตนเองของประชาชนในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 และก็จะพิจารณาเร่งรัดการก่อสร้างอาคารของโรงพยาบาลเพชรบูรณ์ และโรงพยาบาลหล่มสัก รวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพการบริหารสุขภาพโรงพยาบาลในจังหวัดเลยอีกด้วย
จะเห็นได้ว่านวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ผมขอเชิญพี่น้องประชาชน เยาวชน ผู้ประกอบการ และทุกคนที่สนใจ มาเยี่ยมชมงาน Digital Thailand Big Bang 2018 ภายใต้แนวคิด “Thailand BIG DATA – โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน” ซึ่งจะนำนวัตกรรมดิจิทัลระดับนานาชาติ หลากหลายสาขามาแสดง จะเป็นการเปิดหูเปิดตาต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ช่วยให้ได้เห็นและเข้าใจถึงประโยชน์ ความสะดวกสบาย โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ และการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเราสามารถนำ BIG DATA มาผนวกกับนวัตกรรมดิจิทัลต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวม และการเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจได้ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ขณะนี้จัดงานขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 - 23 กันยายน นี้ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจและขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทย ช่วยส่งกำลังใจไปถึงแนวหน้าของเรานะครับ ทั้งอาสาสมัครทหารพราน ตำรวจตระเวนชายแดน ทหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกคนที่ปฏิบัติหน้าที่ ณ ฐานปฏิบัติการตามแนวตะเข็บชายแดน หรือแนวพื้นที่ห่างไกล เพื่อรักษาอธิปไตยของประเทศ และป้องกันการกระทำผิดกฎหมายต่าง ๆ ทั้งการขนยาเสพติด การลักลอบค้าของเถื่อน สินค้าผิดกฎหมาย ไปจนถึงการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข และประชาชนแนวหลังทุกคนนอนหลับอย่างมีความสุข ผมขอให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกท่านมีสวัสดิภาพ และสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมเกียรติ สมดังอุดมการณ์ “รักชาติ รักแผ่นดิน” ของทุก ๆ คน ด้วยความไม่ประมาทและมีสติอยู่เสมอ ความยากในการปฏิบัติงานในปัจจุบัน ก็คือผู้ก่อความไม่สงบ มักจะอาศัยการแต่งตัวเลียนแบบเจ้าหน้าที่ เลียนแบบทหารตำรวจระหว่างการก่อเหตุร้ายต่าง ๆ นอกจากจะง่ายต่อการหลบหนี แฝงตัวปะปนอยู่กับชาวบ้านโดยไม่มีใครสงสัย ยังยากต่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่แล้ว ยังอาจก่อให้เกิดการเข้าใจผิดต่อพี่น้องประชาชนได้โดยง่ายอีกด้วย ก็ขอให้ทุก ๆ คน ช่วยกันเป็นหู เป็นตา ช่วยกันดูแลบ้านเมืองของเรา หากพบเห็นสิ่งผิดปกติสามารถแจ้งสายด่วน 191 หรือพบอุบัติเหตุฉุกเฉินโทรสายด่วน 1669 ทั้ง 2 เบอร์ ที่จำง่าย และใช้ได้ทุก ๆ พื้นที่ทั่วประเทศ กรุณาบันทึกไว้ในโทรศัพท์ด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีสวัสดิภาพ และทุกครอบครัวมีความสุข ปลอดภัยนะครับสวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น