อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 353/2561นโยบาย การประกันคุณภาพการศึกษาของไทย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษ "การประกันคุณภาพการศึกษา" ในการประชุมสามัญประจำปี สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) * เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561 ณ โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ โดยมี ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายประยูร หรั่งทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, ผู้บริหารสมาคมโรงเรียนนานาชาติ ตลอดจนผู้บริหาร ผู้แทน และคณาจารย์โรงเรียนนานาชาติ เข้าร่วมงาน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การพบปะกับผู้บริหารและ สมาคมโรงเรียนนานาชาติในครั้งนี้ เพื่อต้องการทำความเข้าใจแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาระบบใหม่ เช่นเดียวกับที่เคยทำความเข้าใจกับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
จากการพบปะพูดคุยครั้งนี้ก็มีผลการตอบรับที่ดี เนื่องจากโรงเรียนนานาชาติไม่ต้องกังวลเรื่องการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาอีกต่อไปแล้ว ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ เพราะแต่เดิมกฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่ประกาศใช้เมื่อปี 2553 ไม่สอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกไม่สัมพันธ์กัน อีกทั้งยังมีตัวชี้วัดจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้กระดาษและงบประมาณมากมายสำหรับการประเมินในแต่ละครั้ง อีกทั้งยังไม่สะท้อนผลการจัดการศึกษาตามความเป็นจริง ที่สำคัญเป็นการสร้างภาระให้กับสถานศึกษา บุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ซึ่งถือเป็นการปฏิรูประบบการประกันคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการศึกษาไทย มุ่งเน้นการประกันคุณภาพที่เป็นรูปธรรม ดำเนินการได้ง่ายขึ้น สะท้อนคุณภาพการศึกษาที่เป็นจริง สิ่งสำคัญคือ "ลดภาระงานของครู เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา" ได้ตรงตามความมุ่งหวังที่ตั้งไว้
การประเมินและประกันคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่นี้ หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะมีบทบาท ดังนี้
-
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทำหน้าที่เป็น Regulator รับรายงานผลการประเมินตนเอง และดำเนินการประเมินร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมทั้งส่งรายงานการประเมินให้ต้นสังกัดและสถานศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
-
สพฐ. สร้างมาตรฐานของสถานศึกษาที่มีคุณภาพ และสนับสนุนการศึกษาให้พร้อมรับการประเมิน ด้วยการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในมาตรฐานของสถานศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างความเข้าใจวิธีการประเมินแนวใหม่ การเขียนรายงานการประเมินตนเองแบบใหม่ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องเป็นผู้ประเมินโรงเรียน โดยให้รายงานข้อมูล 3 เรื่อง ได้แก่ ประเมินสถานศึกษาของตนเองว่ามีการจัดการศึกษาอยู่ในมาตรฐานใดในปัจจุบัน, แนบหลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง และเสนอแผนที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานหรืออยู่ในระดับที่ดีขึ้น หากสถานศึกษาอยู่ในระดับดีที่สุดแล้ว ก็ให้เสนอแผนในการรักษามาตรฐานที่ดีนั้นไว้
-
สถานศึกษา ทำให้เกิดสถานศึกษาที่มีมาตรฐาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า การประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับโรงเรียนนานาชาตินั้น จะใช้การประกันคุณภาพจากองค์กรต่างประเทศที่ได้มาตรฐานและมีความเป็นสากล โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เป็นผู้ดูแล คาดว่าจะประกาศมาตรฐานการประกันคุณภาพดังกล่าวได้ในเร็ว ๆ นี้
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 353/2561นโยบาย การประกันคุณภาพการศึกษาของไทย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายพิเศษ "การประกันคุณภาพการศึกษา" ในการประชุมสามัญประจำปี สมาคมโรงเรียนนานาชาติแห่งประเทศไทย (ISAT) * เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กันยายน 2561 ณ โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ กรุงเทพฯ โดยมี ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายประยูร หรั่งทรัพย์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านส่งเสริมมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, ผู้บริหารสมาคมโรงเรียนนานาชาติ ตลอดจนผู้บริหาร ผู้แทน และคณาจารย์โรงเรียนนานาชาติ เข้าร่วมงาน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การพบปะกับผู้บริหารและ สมาคมโรงเรียนนานาชาติในครั้งนี้ เพื่อต้องการทำความเข้าใจแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาระบบใหม่ เช่นเดียวกับที่เคยทำความเข้าใจกับโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
จากการพบปะพูดคุยครั้งนี้ก็มีผลการตอบรับที่ดี เนื่องจากโรงเรียนนานาชาติไม่ต้องกังวลเรื่องการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาอีกต่อไปแล้ว ทำให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ เพราะแต่เดิมกฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาที่ประกาศใช้เมื่อปี 2553 ไม่สอดคล้องกับหลักการประกันคุณภาพการศึกษาที่แท้จริง ทำให้การประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอกไม่สัมพันธ์กัน อีกทั้งยังมีตัวชี้วัดจำนวนมาก ซึ่งต้องใช้กระดาษและงบประมาณมากมายสำหรับการประเมินในแต่ละครั้ง อีกทั้งยังไม่สะท้อนผลการจัดการศึกษาตามความเป็นจริง ที่สำคัญเป็นการสร้างภาระให้กับสถานศึกษา บุคลากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ประกาศกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 ซึ่งถือเป็นการปฏิรูประบบการประกันคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการศึกษาไทย มุ่งเน้นการประกันคุณภาพที่เป็นรูปธรรม ดำเนินการได้ง่ายขึ้น สะท้อนคุณภาพการศึกษาที่เป็นจริง สิ่งสำคัญคือ "ลดภาระงานของครู เพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพการศึกษา" ได้ตรงตามความมุ่งหวังที่ตั้งไว้
การประเมินและประกันคุณภาพการศึกษารูปแบบใหม่นี้ หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง จะมีบทบาท ดังนี้
- สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ทำหน้าที่เป็น Regulator รับรายงานผลการประเมินตนเอง และดำเนินการประเมินร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมทั้งส่งรายงานการประเมินให้ต้นสังกัดและสถานศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาต่อไป
- สพฐ. สร้างมาตรฐานของสถานศึกษาที่มีคุณภาพ และสนับสนุนการศึกษาให้พร้อมรับการประเมิน ด้วยการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจในมาตรฐานของสถานศึกษาที่มีคุณภาพ สร้างความเข้าใจวิธีการประเมินแนวใหม่ การเขียนรายงานการประเมินตนเองแบบใหม่ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนต้องเป็นผู้ประเมินโรงเรียน โดยให้รายงานข้อมูล 3 เรื่อง ได้แก่ ประเมินสถานศึกษาของตนเองว่ามีการจัดการศึกษาอยู่ในมาตรฐานใดในปัจจุบัน, แนบหลักฐานสนับสนุนผลการประเมินตนเอง และเสนอแผนที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานหรืออยู่ในระดับที่ดีขึ้น หากสถานศึกษาอยู่ในระดับดีที่สุดแล้ว ก็ให้เสนอแผนในการรักษามาตรฐานที่ดีนั้นไว้
- สถานศึกษา ทำให้เกิดสถานศึกษาที่มีมาตรฐาน และจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า การประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับโรงเรียนนานาชาตินั้น จะใช้การประกันคุณภาพจากองค์กรต่างประเทศที่ได้มาตรฐานและมีความเป็นสากล โดยให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เป็นผู้ดูแล คาดว่าจะประกาศมาตรฐานการประกันคุณภาพดังกล่าวได้ในเร็ว ๆ นี้
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น