อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ด่วน! ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชโองการโปรดเกล้าฯ กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.- การได้มาซึ่ง ส.ว.
วันที่ 12 ก.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งสิ้น 99 มาตรา
โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 จำนวนทั้งสิ้น 178 มาตรา โดยในมาตรา 2 กำหนดให้พ.ร.ป.นี้ ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90
วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ก.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
กฎหมายเลือกตั้งส.ส. ที่จำกัดสิทธิผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากห้ามลงรับสมัครส.ส.และส.ว.และสมาชิกสภาท้องถิ่น ยังห้ามดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
มาตรา 70 ระบุถึงการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่กกต.กำหนด จนถึงเวลา 18.00 น.ของวันก่อนเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ในส่วนของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.นั้น มีทั้งสิ้น 99 มาตรา โดยมาตรา 2 กำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ส่วนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีทั้งสิ้น 178 มาตรา ซึ่งมาตรา 2 กำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ดังนั้น การกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 150 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลนั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาของกฎหมายลูกส.ส.ต่อไป ซึ่งถ้าพิจารณาตามเวลาที่กำหนดแล้ว การเลือกตั้งอาจจะเกิดได้จนถึง เดือน พ.ค. 2562
อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญของกฎหมายลูกส.ว. ในวาระเริ่มแรกกำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก ส.ว. จำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคำแนะนำ โดยส.ว.จะมีที่มาตามที่มาตรา 90 กำหนด ดังนี้
1.ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการเลือกส.ว.ด้วยวิธีการเลือกกันเองของผู้สมัครทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ให้ได้จำนวน 200 คนให้แล้วเสร็จก่อนวันที่เลือกตั้งสส.ไม่น้อยกว่า 15 วัน และส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้ คสช.เป็นผู้เลือกให้เหลือ 50 คน
2.ให้คณะกรรมการสรรหาส.ว.คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและการปฏิรูปประเทศ จํานวนไม่เกิน 400 คน และเสนอให้คสช.เลือกให้เหลือ 194 คนเช่นกัน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่ช้ากว่า 15 วันก่อนวันเลือกตั้งส.ส.
3.ให้ผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เป็นส.ว.โดยตำแหน่ง รวม 6 คน
วันที่ 12 ก.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ความว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ(พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งส.ว. พ.ศ. 2561 จำนวนทั้งสิ้น 99 มาตรา
โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันถัดไปนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และพ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2561 จำนวนทั้งสิ้น 178 มาตรา โดยในมาตรา 2 กำหนดให้พ.ร.ป.นี้ ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90
วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเย็นวันที่ 12 ก.ย. เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2561 และพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561
กฎหมายเลือกตั้งส.ส. ที่จำกัดสิทธิผู้ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากห้ามลงรับสมัครส.ส.และส.ว.และสมาชิกสภาท้องถิ่น ยังห้ามดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองและข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการรัฐสภา
มาตรา 70 ระบุถึงการหาเสียงเลือกตั้งด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่กกต.กำหนด จนถึงเวลา 18.00 น.ของวันก่อนเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ในส่วนของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.นั้น มีทั้งสิ้น 99 มาตรา โดยมาตรา 2 กำหนดให้กฎหมายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ส่วนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีทั้งสิ้น 178 มาตรา ซึ่งมาตรา 2 กำหนดให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ดังนั้น การกำหนดวันเลือกตั้งภายใน 150 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลนั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาของกฎหมายลูกส.ส.ต่อไป ซึ่งถ้าพิจารณาตามเวลาที่กำหนดแล้ว การเลือกตั้งอาจจะเกิดได้จนถึง เดือน พ.ค. 2562
อย่างไรก็ตาม สาระสำคัญของกฎหมายลูกส.ว. ในวาระเริ่มแรกกำหนดให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิก ส.ว. จำนวน 250 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์แต่งตั้งตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ถวายคำแนะนำ โดยส.ว.จะมีที่มาตามที่มาตรา 90 กำหนด ดังนี้
1.ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จัดให้มีการเลือกส.ว.ด้วยวิธีการเลือกกันเองของผู้สมัครทั้งในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ให้ได้จำนวน 200 คนให้แล้วเสร็จก่อนวันที่เลือกตั้งสส.ไม่น้อยกว่า 15 วัน และส่งบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้ คสช.เป็นผู้เลือกให้เหลือ 50 คน
2.ให้คณะกรรมการสรรหาส.ว.คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมปฏิบัติหน้าที่ของวุฒิสภาและการปฏิรูปประเทศ จํานวนไม่เกิน 400 คน และเสนอให้คสช.เลือกให้เหลือ 194 คนเช่นกัน ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จไม่ช้ากว่า 15 วันก่อนวันเลือกตั้งส.ส.
3.ให้ผู้ดํารงตําแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เป็นส.ว.โดยตำแหน่ง รวม 6 คน
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น