อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 327/2561นโยบายการ จัดการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2561 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมมอบนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 โดยมีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาผู้มีความต้องการพิเศษและผู้ด้อยโอกาส เข้าร่วมกว่า 200 คน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า ต้องการมาสื่อสารถึงนโยบายการพัฒนาการศึกษาพิเศษในช่วงเวลาของ Roadmap ที่เหลืออยู่ เพราะเรื่องของการดูแลเด็กพิเศษและผู้ด้อยโอกาส ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ใช้วัดถึงความเจริญของประเทศนั้น ๆ ว่าให้ความสำคัญและมีระบบดูแลทรัพยากรมนุษย์ดีเพียงใด ในส่วนของประเทศไทยเชื่อว่าในเรื่องของการดูแลเด็กพิเศษเราไม่ได้แพ้ชาติใด ๆ และแม้จะยังมีปัญหาบางจุดและมีงบประมาณน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ก็ยิ่งต้องจัดระบบบริหารจัดการงบประมาณที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในส่วนของนโยบายศึกษาธิการ จะไม่ดูแลเด็กพิเศษคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะกำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการเริ่มต้นระบบการจัดการศึกษาพิเศษใหม่ จากพื้นฐานที่มีอยู่จริงและสิ่งที่ดำเนินการไว้แล้ว พร้อมน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้คือ “เมื่อต้องแก้ปัญหา ควรมองปัญหาในภาพรวมก่อนเสมอ แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหานั้น ควรมองในสิ่งที่คนมักจะมองข้ามแล้วเริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็ก ๆ ก่อน” โดยจะดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ
1) การบริหารจัดการงบประมาณ ตามรูปแบบการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูแบบครบวงจร (คูปองครู) เพื่อกระจายงบประมาณสำหรับการจัดการศึกษาพิเศษที่มีอยู่กว่า 1,000 ล้านบาท ลงไปถึงเด็กและสถานศึกษาจริง ๆ โดยให้ฝ่ายปฏิบัติในพื้นที่เสนอแผนงานโครงการขึ้นมายังส่วนกลาง ที่จะทำให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการมากที่สุด ซึ่งในปีแรก ๆ อาจจะยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์ แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี และเชื่อว่าในปีต่อ ๆ ไป ทุกฝ่ายก็จะเรียนรู้และนำมาพัฒนาปรับปรุงให้การทำงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้
2) การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้บริหาร ทั้งระดับผู้อำนวยการสำนักและผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ ควรมีการจัดระบบการเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความชำนาญงานเฉพาะทางการศึกษาพิเศษ มีประสบการณ์และผูกพันในงานที่ทำ จึงจะสามารถผลักดันงานไปข้างหน้าได้ โดยในอนาคตก็จะนำหลักการเช่นนี้ มาปรับใช้กับการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารเฉพาะทางอื่นในหน่วยงานของ สพฐ.ด้วย อาทิ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา, สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
ดังนั้น การเริ่มต้นการทำงานแบบใหม่อย่างถูกต้อง เปรียบเสมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรก ด้วยการจัดระบบการสรรหาผู้บริหารที่ดี มีความเข้าใจประสบการณ์ความชำนาญงานเฉพาะทางมาสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่การจัดการศึกษาเด็กพิเศษอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้มอบเลขาธิการ กพฐ. ร่างมาตรฐานการเข้าสู่ตำแหน่งเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา และหาแนวทางจัดสรรงบประมาณลงไปให้ถึงตัวเด็กมากที่สุด โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและความจำเป็นอย่างสมดุลตามบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นไป พร้อมดึงชุมชน ผู้ปกครอง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 327/2561นโยบายการ จัดการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 กันยายน 2561 ณ โรงแรมรอยัลริเวอร์ กรุงเทพฯ โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมมอบนโยบายการจัดการศึกษาพิเศษเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กันยายน 2561 โดยมีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาผู้มีความต้องการพิเศษและผู้ด้อยโอกาส เข้าร่วมกว่า 200 คน
ในส่วนของนโยบายศึกษาธิการ จะไม่ดูแลเด็กพิเศษคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะกำหนดนโยบายเพื่อเป็นแนวทางในการเริ่มต้นระบบการจัดการศึกษาพิเศษใหม่ จากพื้นฐานที่มีอยู่จริงและสิ่งที่ดำเนินการไว้แล้ว พร้อมน้อมนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาปรับใช้คือ “เมื่อต้องแก้ปัญหา ควรมองปัญหาในภาพรวมก่อนเสมอ แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหานั้น ควรมองในสิ่งที่คนมักจะมองข้ามแล้วเริ่มแก้ปัญหาจากจุดเล็ก ๆ ก่อน” โดยจะดำเนินการใน 2 เรื่อง คือ
1) การบริหารจัดการงบประมาณ ตามรูปแบบการดำเนินงานโครงการพัฒนาครูแบบครบวงจร (คูปองครู) เพื่อกระจายงบประมาณสำหรับการจัดการศึกษาพิเศษที่มีอยู่กว่า 1,000 ล้านบาท ลงไปถึงเด็กและสถานศึกษาจริง ๆ โดยให้ฝ่ายปฏิบัติในพื้นที่เสนอแผนงานโครงการขึ้นมายังส่วนกลาง ที่จะทำให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการมากที่สุด ซึ่งในปีแรก ๆ อาจจะยังไม่เรียบร้อยสมบูรณ์ แต่ก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี และเชื่อว่าในปีต่อ ๆ ไป ทุกฝ่ายก็จะเรียนรู้และนำมาพัฒนาปรับปรุงให้การทำงานดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้
2) การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้บริหาร ทั้งระดับผู้อำนวยการสำนักและผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ ควรมีการจัดระบบการเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความชำนาญงานเฉพาะทางการศึกษาพิเศษ มีประสบการณ์และผูกพันในงานที่ทำ จึงจะสามารถผลักดันงานไปข้างหน้าได้ โดยในอนาคตก็จะนำหลักการเช่นนี้ มาปรับใช้กับการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารเฉพาะทางอื่นในหน่วยงานของ สพฐ.ด้วย อาทิ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา, สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
2) การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้บริหาร ทั้งระดับผู้อำนวยการสำนักและผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ ควรมีการจัดระบบการเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ เพื่อให้ได้ผู้ที่มีความชำนาญงานเฉพาะทางการศึกษาพิเศษ มีประสบการณ์และผูกพันในงานที่ทำ จึงจะสามารถผลักดันงานไปข้างหน้าได้ โดยในอนาคตก็จะนำหลักการเช่นนี้ มาปรับใช้กับการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารเฉพาะทางอื่นในหน่วยงานของ สพฐ.ด้วย อาทิ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา, สำนักทดสอบทางการศึกษา, สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
ดังนั้น การเริ่มต้นการทำงานแบบใหม่อย่างถูกต้อง เปรียบเสมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรก ด้วยการจัดระบบการสรรหาผู้บริหารที่ดี มีความเข้าใจประสบการณ์ความชำนาญงานเฉพาะทางมาสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่การจัดการศึกษาเด็กพิเศษอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้มอบเลขาธิการ กพฐ. ร่างมาตรฐานการเข้าสู่ตำแหน่งเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณา และหาแนวทางจัดสรรงบประมาณลงไปให้ถึงตัวเด็กมากที่สุด โดยคำนึงถึงลำดับความสำคัญและความจำเป็นอย่างสมดุลตามบริบทของโรงเรียนแต่ละแห่ง เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นไป พร้อมดึงชุมชน ผู้ปกครอง และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น