หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 7 กันยายน2561

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 7 กันยายน2561

title

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ“ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 7 กันยายน2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน

นิตยสารท่องเที่ยวชั้นนำของประเทศสหรัฐฯ ได้รายงานผลการจัดอันดับต่าง ๆ ด้านการท่องเที่ยว ซึ่งก็เป็นผลมาจากการโหวตของผู้อ่านนิตยสารดังกล่าวทั่วโลก ในปีนี้ก็เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยได้รับการโหวตให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดสำหรับผู้คน อันดับ 1 ของโลก และเป็นประเทศที่ดีที่สุด อันดับ 3 รองจากอิตาลี และกรีซ นอกจากนี้ เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังติดอันดับที่ 9 ของเกาะที่ดีที่สุดในโลกอีกด้วย  และผมขอแสดงความยินดีกับโรงแรม Mandarin Oriental กรุงเทพมหานคร และโรงแรม Six Senses เกาะยาวน้อย จังหวัดพังงา ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับที่ 4 และ 5 ตามลำดับ ประเภทโรงแรมที่ดีที่สุดในทวีปเอเชียและอินเดีย ด้วย
นอกจากนี้ ก็ยังมีการโหวตในเรื่องอื่น ๆ อาทิ สายการบิน สนามบิน และสถาปัตยกรรมที่ดีที่สุดในโลกอีกด้วย ก็คงเป็นการดู การสัมผัสได้จากนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เขาประทับใจ ด้วยประสบการณ์ตรงหรือผ่านคำบอกเล่า บอกต่อ เกี่ยวกับความเป็นไทย ด้วยรอยยิ้ม อัธยาศัย ความสุภาพอ่อนน้อมของคนไทยในภาพรวม รวมทั้งการให้บริการต่าง ๆ นับตั้งแต่การเดินทางด้วยสายการบิน ความสะดวกในการสัญจรไปยังแหล่งท่องเที่ยวทั้งใกล้และไกล การสืบค้นข้อมูลร้านอาหาร สินค้า ไปจนถึงการไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขูดรีด ความสะอาดของที่พัก โรงแรม โฮมสเตย์ และการใช้ชีวิตในเมืองไทย ด้วยความอบอุ่นใจ เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เราจึงได้รับเกียรติให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดสำหรับผู้คน อันดับ 1 ของโลกในครั้งนี้

สำหรับภาพลักษณ์ของความเป็นไทย ความรู้รักสามัคคี ที่แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จากเหตุการณ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทีมหมูป่า ณ ถ้ำหลวง จังหวัดเชียงราย ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ติดตาม และได้รับข่าวสารเชิงบวกอีกมากมาย เกี่ยวกับ เรื่องของจิตอาสา จิตสาธารณะของคนไทยในยามที่เกิดวิกฤต   ที่ชาวโลกได้ประจักษ์ ไปจนถึงการบริหารจัดการกับสถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ และระบบระเบียบของการบริหารบ้านเมือง จนเป็นที่ยอมรับของชาวโลก

การได้รับเกียรติจากการโหวตและสิ่งต่าง ๆ ที่ผมกล่าวมานี้ ย่อมเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันของคนไทยทั้งชาติ ไม่ง่ายนักนะครับกว่าเราจะมาถึงจุด ๆ นี้ แต่ที่ยากยิ่งกว่าก็คือ การรักษาภาพลักษณ์ และคุณงามความดีทั้งหลายเหล่านี้ ให้คงอยู่คู่สังคมไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน ที่จะร่วมแรงร่วมใจสร้างเมืองไทยของเราให้สดใส งดงาม ผมก็ขอให้คนไทยทุกคน พึงระลึกอยู่เสมอว่า สุภาษิตกล่าวว่า “ปลาเน่าตัวเดียว เหม็นทั้งข้อง” โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลแล้ว ความผิดพลาดใด ๆ เพียงเล็กน้อยของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น อาจถูกขยายเป็นเรื่องใหญ่ เกินการควบคุมในสื่อออนไลน์ที่ไปไกลทั่วโลก เพียงการกดปุ่มคลิกเดียวเท่านั้น
 
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
ทิศทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลนี้ เน้นการกระจายลงไปยังท้องถิ่นเพื่อช่วยกระจายรายได้ สร้างงานให้พี่น้อง ในลักษณะท่องเที่ยวชุมชน นอกจากจะช่วยให้เศรษฐกิจระดับฐานรากตื่นตัว ช่วยแก้ปัญหาความยากจนแล้ว ยังช่วยสร้างความเข้มแข็งในชุมชนได้อีกด้วย เราได้ตั้งเป้าว่าประเทศไทยจะมีรายได้จากการท่องเที่ยว ในภาพรวมของประเทศในปีหน้า 2562 ประมาณ 3.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่เราต้องดำเนินการปรับปรุง รัฐบาลนี้ก็ได้ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา อาทิ โครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านการคมนาคมและดิจิทัล เพื่ออำนวยความสะดวก สามารถรองรับปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างเพียงพอ
เรื่องของโรงแรม ที่พัก ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ รัฐบาลจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากเนื่องจากยังคงมีข้อจำกัดด้านกฎหมาย ที่อาจจะไม่ส่งเสริม ไม่สอดรับกับรสนิยมการท่องเที่ยวในปัจจุบัน ซึ่งต้องการเข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติ วิถีชุมชนโดยตรงด้วยตัวเอง เช่น นอนในหมู่บ้านชาวประมง ป่าโกงกาง ที่ตื่นขึ้นมาก็ได้สัมผัสกลิ่นไอป่าชายเลนยามเช้า ล่องเรือชมหิ่งห้อยยามค่ำเป็นต้น รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ๆ ตามปฏิทินการท่องเที่ยว และตามฤดูกาล เช่น การเก็บกินผลไม้จากต้นในสวน ที่ก็ต้องเป็นสวนเกษตรอินทรีย์ด้วย ดังนั้น โรงแรมใหญ่ ๆ อาจจะไม่ใช่คำตอบสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวแนวนี้ นับวันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันนั้นกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกับ Air BNBแพลตฟอร์มให้เช่าที่พักระดับโลก  เพื่อจะเพิ่มมูลค่าและเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยว ให้กระจายในเมืองท่องเที่ยวรองและชุมชนพื้นบ้าน โดยสนับสนุนให้คนไทยที่เป็นเจ้าบ้าน เปิดห้องพักในบ้านของตนให้เช่าชั่วคราวระยะสั้น ๆ ซึ่งบ้านที่เข้าร่วมโครงการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพียงแต่เป็นบ้านพักอาศัยในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ที่สมัครใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ จากนั้น อปท. จะตรวจสอบสภาพบ้านให้มีความสะอาด ปลอดภัย มีอาหารการกินที่ดี มีเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เพื่อยกระดับชาวบ้านให้เป็นผู้ประกอบการ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ ส่วนข้อกังวลที่เกี่ยวกับกฎหมายโรงแรมและที่พัก กรมการปกครองก็ได้ชี้แจงว่า กรณีที่มีห้องพักไม่เกิน 4 ห้อง มีแขกเข้าพักไม่เกิน 20 คน ไม่เข้าข่ายธุรกิจโรงแรม สามารถเปิดบริการเป็นที่พักได้ เพียงแต่เจ้าของบ้านต้องจดแจ้งกับอำเภอ เพื่อให้บริการที่พักที่ไม่ใช่โรงแรมได้ โดยเจ้าหน้าที่จะต้องไปตรวจสอบว่าบ้านพัก สามารถเข้าโครงการได้หรือไม่ หรือมีคำแนะนำอย่างไร ที่สำคัญโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อชาวชุมชนในทุกท้องถิ่นทั่วไทย ซึ่งผ่านการพิจารณาของ อปท. ให้เข้าร่วมแล้วเท่านั้น  โดยเชื่อมโยงเจ้าบ้าน และผู้เข้าพัก  แขก นักท่องเที่ยว บนแพลตฟอร์ม Air BNB ที่กล่าวมาแล้ว
       
ล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมฯ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ กล่าวคือให้อาคารที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข ให้มีลักษณะหรือมาตรฐานความปลอดภัยของอาคารตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งก็มีอยู่แล้วเป็นจำนวนมาก สามารถจะขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารเพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมได้ รวมทั้งมีการผ่อนปรนข้อกำหนดบางประการ ของอาคารที่สูงน้อยกว่า 4 ชั้นอีกด้วย โดยมีเงื่อนไขว่าในกรณีที่หากจะมีการดัดแปลงอาคาร ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี เป็นระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย นับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้ ทำเพื่อทุกคน ก็อย่ามาหาว่าไปเอื้อประโยชน์อะไรกับใครเลยนะครับ เพราะว่ารัฐบาลไม่ได้มุ่งหวังประโยชน์จากใครทั้งสิ้น แต่ต้องการให้พี่น้องประชาชนที่ประกอบการในเรื่องเหล่านี้ ได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม เข้าถึงโอกาสทุกโอกาส เพื่อจะแก้ไขปัญหาการประกอบกิจการโรงแรมในภาพรวมของประเทศ ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศ ในการกระจายรายได้ให้สู่ประชาชนในท้องถิ่น อย่างทั่วถึง  มีธุรกิจเชื่อมโยงอีกหลายอย่างด้วยกัน อาทิ บางครอบครัวสามารถนำค่าที่พัก รายวัน รายสัปดาห์ มาจุนเจือค่าผ่อนส่งบ้าน ที่เป็นภาระยาวนานของครัวเรือนไทย ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งด้วยตัวเอง ผมก็ไม่อยากให้เป็นอย่างที่ใครบางคนพูดในอดีตว่า กฎหมายเป็นเครื่องมือของนายทุน ใช้กีดกันชาวบ้าน  ผู้มีรายได้น้อย ออกจากวงจรการแข่งขันทางธุรกิจ โดยแนวทางนี้ จะช่วยให้บ้านที่เป็นต้นทุนในอนาคตของทุก ๆ คน สามารถนำมาหารายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม และ ส่งเสริมให้คนไทยมีทักษะผู้ประกอบการ เกิดการเชื่อมโยงเป็นห่วงโซ่ทางธุรกิจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วยครับ
        จากรายการ “เดินหน้าประเทศไทย สร้างไทยไปด้วยกัน” วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม ที่ผ่านมา เรื่องธุรกิจท่องเที่ยววิสาหกิจเพื่อชุมชน ซึ่งมี มิว นิษฐา เป็นศิลปินจิตสาธารณะคนหนึ่ง ในการดำเนินเรื่องราวให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้อย่างลึกซึ้ง มากกว่าคำว่า “ท่องเที่ยวชุมชน” เนื่องจากมีการเชื่อมโยงกัน เป็น “วิสาหกิจเพื่อชุมชน” เช่นเจ้าของที่พักอาจมีการจ้างแม่ครัวปรุงอาหาร และซื้อวัตถุดิบ เครื่องปรุง เช่น เนื้อ ผัก ผลไม้ จากเกษตรกรในชุมชน มารับรองนักท่องเที่ยว การใช้ชีวิตในหมู่บ้าน ก็อาจจำเป็นต้องสร้างไกด์เยาวชนที่พูดภาษาท้องถิ่น ภาษาอังกฤษ นำเที่ยว เล่าเรื่องราวสนุก ๆ น่าสนใจ รวมทั้งพาผู้มาเยือนเลือกซื้อหาสินค้าหัตถกรรม ถักทอ จักสาน หรืออื่น ๆ สินค้า OTOP สินค้า GI ในชุมชน เป็นต้น ไปจนถึงการได้สัมผัสวิถีชุมชน และหลักคิด เช่น เมื่อแต่ละคนได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่ของวิสาหกิจเพื่อชุมชน เมื่อมีรายได้เกิดขึ้น ก็นำเงินส่วนหนึ่งเข้ากองกลาง กลับมาพัฒนาหมู่บ้าน เช่น การกำจัดขยะ การบูรณะสถานที่ท่องเที่ยว การอบรมเพิ่มพูนความรู้ ในลักษณะกองทุนหมู่บ้าน กองทุนท่องเที่ยว เป็นต้น ที่เป็นโมเดลการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาล ซึ่งอยู่ระหว่างการผลักดันกฎหมายต่าง ๆ ขึ้นมารองรับ รวมทั้งมาตรการทางภาษี เพื่อส่งเสริมให้เกิดวิสาหกิจเพื่อสังคมนี้ทั่วประเทศ ทั้งนี้ เมื่อชุมชนเข้มแข็ง ประเทศชาติก็จะมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ที่เราปรับอย่างนี้เพราะว่าหลายคนก็เกรงว่าจะมีผลกระทบกับโรงแรมใหญ่ ๆ อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ อันนี้เราต้องมีหลาย ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งนี้เพื่อให้แขกของเรา นักท่องเที่ยว ได้มีโอกาสเลือก มีทั้งรายได้มาก รายได้น้อย คนรักความสะดวกสบายก็ไปอยู่ตามโรงแรมใหญ่ ๆ อะไรทำนองนี้ ที่จะลงไปข้างล่าง ก็อาจจะเป็นพวกรายได้น้อยกว่า อะไรทำนองนี้ บางคนก็ชอบธรรมชาติมาก ในเวลานี้ก็เป็นทางเลือกของคนที่จะมาเที่ยวบ้านเรา แล้วข้อสำคัญคือไปถึงชาวบ้านให้ได้ด้วย
 
พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่เคารพครับ
ที่ผ่านมาก็มีพี่น้องประชาชนหลายราย  ได้รับความเดือดร้อนจากการเป็นหนี้ ด้วยความจำเป็นจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รายได้จากการขายลดลง หลายรายไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนของภาครัฐ หรือภาคเอกชนได้ ก็ต้องหันมาพึ่งพาหนี้นอกระบบ โดยเฉพาะการกู้ยืมเงินที่มีการขายฝากที่ดิน ซึ่งมักไม่ได้รับความเป็นธรรม จนต้องสูญเสียที่ดินที่เป็นทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว แล้วก็เป็นเครื่องมือหารายได้ของครอบครัว  ที่ผ่านมาแม้จะมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขายฝาก ซึ่งกำหนดระยะเวลาไถ่ถอน เพดานของอัตราดอกเบี้ย และกระบวนการในการทำสัญญาไว้แล้ว แต่ก็ยังมีช่องว่างให้เกิดการทำนาบนหลังคน เอารัดเอาเปรียบพี่น้องเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากผู้ขายฝาก มักไม่มีอำนาจต่อรอง แต่ต้องการเงินทุนเร่งด่วน บางทีก็ไม่เข้าใจกฎหมาย จึงทำให้ผู้รับซื้อหรือนายทุนใจร้าย ชักจูงให้ทำสัญญาขายฝากที่ดินแบบไม่เป็นธรรม อาทิ กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้สั้นมาก เช่น ต้องมาไถ่ถอนใน 3 - 4 เดือน ก็เป็นไปได้ว่าผู้ขายฝาก ไม่มีทางหรือไม่สามารถจะหาเงินมาไถ่ถอนได้ทัน ต้องทำสัญญาใหม่บ่อย ๆ ทุกครั้งต้องเสียเงินในการทำสัญญาหลายหมื่นบาท หรือเวลาที่ครบกำหนดสัญญาไม่สอดคล้องกับการเพาะปลูก ทำให้พี่น้องเกษตรกรไม่สามารถหาเงินมาไถ่ถอนได้ จนต้องสูญเสียทรัพย์สินไปในที่สุด
ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถจะป้องกันเกษตรกรจากการสูญเสียที่ดินให้กับนายทุนได้ อันนี้เป็นปัญหาที่สั่งสมมานานกว่า 50 ปี แล้ว ปัจจุบันประเทศไทยมีที่ดินทำกินรวม 300 ล้านไร่ ในจำนวนนี้มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 150 ล้านไร่ และครึ่งหนึ่งของ 150 ล้านไร่นี้  เป็นที่ดินที่เกษตรกรต้องเช่าจากคนอื่นในการทำกิน ก็สะท้อนให้เห็นว่า เกษตรกรในกลุ่มนี้อาจเป็นผู้ที่สูญเสียที่ดินไปแล้ว จากกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ยิ่งกว่านั้นที่ดินราว 30 ล้านไร่จากส่วนที่เหลือ 70 ล้านไร่นั้นก็อยู่ในระหว่างการจำนองและการขายฝาก โดยที่ดินที่มีการขายฝากอาจมีอยู่หลายแสนไร่ และก็มีโอกาสหลุดมือสูงมาก เนื่องจากนายทุนหลายคน อาศัยกฎหมายฉบับเดิม เป็นช่องทางในการยึดที่ดินจากประชาชน โดยไม่ได้สนใจการชำระดอกเบี้ยการขายฝากนั้นเลย

ล่าสุดจึงได้มีการยกร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ ได้แก่ พ.ร.บ. คุ้มครองประชาชนในการขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย ที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เคยมีอยู่เดิม เช่น กำหนดให้การขายฝากเป็นธุรกิจคุ้มครองของผู้บริโภค โดยต้องทำเป็นหนังสือที่ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาสัญญา จากนิติกรหรือพนักงานที่ดิน ก่อนนำไปจดทะเบียนที่สำนักงานที่ดิน มีรายละเอียดทั้งชื่อของคู่สัญญา แหล่งที่ตั้ง จำนวนสินไถ่อัตราดอกเบี้ย วันกำหนดการชำระอย่างชัดเจน นอกจากนี้การสละสิทธิไถ่ถอนไม่สามารถทำได้ เพื่อป้องกันการตั้งใจให้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกรตั้งแต่ต้น รวมถึงกำหนดให้การทำสัญญาขายฝากมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่ง เพื่อป้องกันการทำสัญญาระยะสั้น และการไถ่ถอนสามารถทำได้สะดวกขึ้น นายทุนไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้โดยง่าย อีกต่อไป ก็คาดว่ากฎหมายใหม่ฉบับนี้ จะช่วยปิดช่องโหว่และแก้ปัญหาการสูญเสียที่ดินจากสัญญาที่ไม่เป็นธรรมของพี่น้องเกษตรกรได้ เกษตรกรต้องเรียนรู้ กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งกับท่าน

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีกลไกต่าง ๆ ที่ดำเนินการควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยให้เกษตรกร สามารถไถ่ถอนที่ดินจากการขายฝากได้ง่ายขึ้น เช่น
1. กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งผู้มีสิทธิขอความช่วยเหลือในการกู้เงินเพื่อไปไถ่ถอนที่ดิน ได้แก่ เกษตรกร หรือพ่อ แม่ ลูก ของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย โดยจะอนุมัติเงินกู้จำนวนตามที่เป็นหนี้จริง แต่ไม่เกินรายละ 2,500,000 บาท มีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 5 และกำหนดระยะเวลาการชำระหนี้คืนภายใน 20 ปี

2. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นหนี้เกี่ยวกับการเกษตร โดยจะมีเงื่อนไขบางอย่าง เช่น เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนหนี้ให้ถูกต้อง หรือเป็นหนี้ผิดนัดชำระ ถึงหนี้บังคับขายทอดตลาด โดยมีวงเงินกู้ยืมไม่เกินรายละ 2,500,000 บาท และกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี และ

3. สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ที่จะสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกร ในกรณีต่าง ๆ เช่น  (1) ไถ่ถอนที่ดินจากการจำนองหรือการขายฝาก ที่ยังอยู่ในอายุสัญญา (2) ชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินที่ใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน (3) การชำระหนี้ตามคำพิพากษาที่เกี่ยวกับที่ดิน และ (4) การซื้อที่ดินที่ถูกขายทอดตลาด หรือหลุดขายฝากไปแล้วไม่เกิน 5 ปี โดยเจ้าของเดิมถูกบังคับจำนองด้วยการขายทอดตลาด 

ทั้งนี้ ผมหวังว่าการดำเนินการของภาครัฐในหลาย ๆ ด้านควบคู่กันไปเช่นนี้ จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้ และเราก็จะเห็นตัวเลขที่ดินทำกินของพี่น้องเกษตรกรที่ไม่ใช่มาจากการเช่าที่ดินทำกิน มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาวอีกด้วย อย่าไปฟังอย่างอื่น มันทำไม่ได้ ต้องทำในลักษณะแบบนี้ที่ต้องทำทั้งระบบ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวก็มีมาพูดจาว่าเดี๋ยวจะทำโน่นทำนี่แล้วทำไม่ได้จริง ถ้าไม่ได้ทำตามขั้นตอนของกฎหมายก็ทำไม่ได้ทั้งสิ้น ผ่านมา 30 - 40 ปีแล้วเรื่องนี้ เราต้องกลับไปสู่อดีตให้ได้ คือทุกคนมีที่ทำกิน เรามีพี่น้องเกษตรกรอีกมากที่มีปัญหาในเรื่องนี้ สำหรับพี่น้องประชาชนที่เป็นหนี้นอกระบบ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่ก็ตาม ก็ต้องเผชิญกับความไม่เป็นธรรม ท่านก็สามารถจะร้องเรียนขอความช่วยเหลือจากศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567 ในพื้นที่ของท่านได้ ซึ่งภาครัฐมีกระบวนการที่จะเข้าไปช่วยเหลือดูแลเช่นกัน
 
พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่านครับ
การกำหนดมาตรการแก้ปัญหาปากท้องต่าง ๆ ของพี่น้องประชาชนที่ผมได้กล่าวมานั้น  รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ส่วนหนึ่งมาจากการร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องเรียนต่าง ๆ ส่วนหนึ่งมาจากการลงพื้นที่ของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี เจ้าหน้าที่ของรัฐ มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการรับฟังเสียงสะท้อน ความต้องการของพี่น้องประชาชน เพื่อนำมากำหนดนโยบายสาธารณะ หรือปรับปรุงกฎหมายเพื่ออุดช่องโหว่ในอดีต อย่างไรก็ตาม การสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจนั้น จำเป็นอย่างยิ่ง ทำอย่างไรจะให้ทั่วถึงพี่น้องประชาชน ยังคงเป็นอุปสรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ผู้หาเช้ากินค่ำ จึงไม่ได้รับรู้รับทราบในสิ่งต่าง ๆ ที่รัฐบาลพยายามจะทำ พยายามจะหยิบยื่นให้ อย่างเช่น กรณีป้าเทียน ที่ประสบปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกู้หนี้นอกระบบ รวมทั้งสัญญาขายฝากที่ถูกเอาเปรียบ ซึ่งมี “แบรี่ ณเดชน์” เป็นศิลปินจิตสาธารณะอีกคนหนึ่งที่ต้องการร่วมสร้างสรรค์สังคม และมองเห็นประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ เป็นที่ตั้ง โดยอาสานำเสนอเรื่องราว “ทางออก แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” สู่สายตาประชาชนผ่านรายการเดินหน้าประเทศไทย ช่วงที่ผ่านมา

ดังนั้น รัฐบาลและ คสช. จึงให้มีกิจกรรม “ร่วมใจสร้างไทยไปด้วยกัน” เพื่อแสดงความขอบคุณน้ำใจของศิลปินทุก ๆ ท่านจากหลากหลายค่าย แบบไร้ข้อจำกัด อาทิ โป๊ป ธนวรรธน์, ตุ้ย เกียรติกมล, ท็อป จรณ, แบรี่ ณเดชน์, เต้ย พงศกร, มิว นิษฐา และโอม อัชชา ที่ได้ออกอากาศสู่สายตาประชาชนไปแล้ว รวมทั้งที่อยู่ระหว่างเตรียมการผลิตในอนาคต เช่น ตั๊ก มยุรา, บี้ สุกฤษฎิ์, เฌอปราง, โตโน่, ฟิล์ม ธนภัทร และบี น้ำทิพย์ เป็นต้น  และทราบว่ามีคิวศิลปินที่จะมาร่วมในรายการ ยาวไปจนถึงสิ้นปี โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ โดยวันพรุ่งนี้ ก็จะเป็น “วู้ดดี้” ที่จะดำเนินเรื่องคลินิกครอบครัว และการดูแลสุขภาพ 

อย่างไรก็ตาม การเป็นจิตอาสา จิตสาธารณะนั้น ก็ไม่ได้จำกัดรูปแบบ แต่เพียงการเป็นผู้ดำเนินรายการ ที่ผมกล่าวมาแล้ว  ซึ่งผมอยากจะย้อนกล่าวถึง “ตูน บอดี้แสลม” ที่ได้ทุ่มเท แรงกาย แรงใจ และมุ่งมั่นวิ่งระยะทางไกลครั้งแรกกว่า 400 กิโลเมตร และครั้งที่สองกว่า  2,000 กิโลเมตร ในโครงการก้าวคนละก้าว เพื่อหารายได้ให้กับโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วประเทศ ในการหาซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ สำหรับช่วยเหลือพี่น้องคนไทยทุกคน ล่าสุดทราบว่ากำลังจะจัดกิจกรรมก้าวคนละก้าว ครั้งที่ 3 ภายใต้ชื่อ “ก้าวนี้ เพื่อศิริราช” ครั้งนี้ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วประเทศ ในการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ให้กับอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  โดยจะมีกิจกรรมการฉายภาพยนตร์ ให้พี่น้องประชาชนได้เข้าชมฟรี ระหว่างวันที่ 6 - 16 กันยายน นี้ ณ โรงหนังในเครือ SF และเครือ Major ทั่วประเทศ จำนวน 2,880 รอบ  และที่อาคารนิมิตรบุตร ในวันที่ 14 - 16 กันยายน นี้ พี่น้องประชาชนสามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือร่วมบริจาคผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ อีกทั้งหากองค์กรหรือภาคเอกชนต้องการที่จะเหมารอบฉายและร่วมบริจาค เพื่อเป็นนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR ขององค์กร ก็สามารถติดต่อเข้าไปร่วมได้เช่นกันครับ

สุดท้ายนี้ ผมอยากบอกว่า การทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติและประชาชนนั้นทุกคน สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบและทุกโอกาส เพียงแต่เราต้องมีศรัทธาและอุดมการณ์ ปราศจากการคิดทุจริต มีหิริ โอตตัปปะ ละอายเกรงกลัวต่อบาป ในการทำความดี แต่ที่ง่ายที่สุด ก็คือการรักษาสุขภาพของตนเอง ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และถูกสุขลักษณะ จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ มีกำลังแรงงานในการเดินหน้า ทำงานสร้างรายได้ เมื่อเราแข็งแรงแล้วก็จะไม่เป็นภาระแก่ครอบครัว แล้วยังสามารถดูแลคนรอบข้างได้อีกด้วย อีกทั้งยังมีเรี่ยวแรง สามารถไปทำประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศชาติได้อย่างเต็มที่อีกด้วย  จะได้ร่วมกันสร้างไทยไปด้วยกันนะครับ

ขอบคุณครับ  ขอให้ทุกคนรักษาสุขภาพ และทุกครอบครัวมีความสุขนะครับ สวัสดีครับ
...............................................................
กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักโฆษก
 








ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)  

โดย  อ.นิกร  ติวสอบดอทคอม 
(ฟรีสรุป-ข้อสอบ-เฉลย ภาค กขค)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม