อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ
พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ
พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขากฎหมายจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยเป็นที่ประจักษ์ ถึงพระปรีชาสามารถด้านกฎหมาย
และพระกรณียกิจด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ
อาทิทรงริเริ่มโครงการช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังหญิงภายใต้ “โครงการกำลังใจ” ในปี 2549 ด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ และนอกจากนั้น โครงการนี้
ภายใต้พระดำริของพระเจ้าหลานเธอฯ ก็ได้แพร่ขยายความร่วมมือไปยังพื้นที่ต่างๆ
ของประเทศ อีกทั้งทรงผลักดันให้เกิดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ
และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นหญิง
อันเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศฉบับใหม่ หรือที่เรียกว่า “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ซึ่งที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ
ได้มีมติให้การรับรองไว้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 จนนำไปสู่การจัดตั้ง “สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย” และในเวลาต่อมา เพื่อสานต่อพระกรณียกิจดังกล่าว
นอกจากนี้ ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศไทยอย่างมาก ที่สหประชาชาติได้ถวายรางวัลเกียรติยศสูงสุดแด่พระเจ้าหลานเธอฯ
ในฐานะที่ทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติ
ในการที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิง
และผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง
นับเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ได้ทรงมีพระเมตตาโดยทรงริเริ่มและช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม
แล้วก็เป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทย จะได้รำลึกถึงคุณูปการ ของพระเจ้าหลานเธอฯ
อย่างมิอาจลืมเลือน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น
เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีประวัติเก่าแก่ และมีชื่อเสียงในลำดับต้นของสาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขานิติศาสตร์
ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ
จนเป็นที่ยอมรับ นับว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศแห่งที่ 2 ที่ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
กิตติมศักดิ์ แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
หลังจากที่มหาวิทยาลัยชิคาโก-เค้นส์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาในสาขาเดียวกันมาแล้ว
ในปี 2555
ในการดังกล่าวนี้ พระเจ้าหลานเธอฯ
ทรงมีพระดำรัสตอบรับ การถวายปริญญาฯ อันมีสาระสำคัญ ที่ผมขอเชิญมากล่าวซ้ำ
สำหรับปวงชนชาวในวันนี้ คือ “...หลักนิติธรรมเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน
สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
โดยทรงตระหนักอยู่เสมอว่าระบบยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ
และทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคนั้น มีความ สำคัญยิ่ง เพราะเป็นหลักประกันว่า
เราทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาร่วมกัน ไม่ว่าจะคนผู้นั้นจะเป็นผู้ยากไร้ เด็ก เหยื่ออาชญากรรม ผู้ลี้ภัยจากสงคราม เหตุการณ์ความไม่สงบ ผู้ประสบภัยธรรมชาติ หรือ
กลุ่มผู้เปราะบางอื่นใดในสังคม...”
ซึ่งในพระดำรัสดังกล่าวจะมีคำว่า “ความเสมอภาค” ที่สังคมของเรา ยังแยกความแตกต่างไม่ออก หรือ
อาจยังไม่เข้าใจกับอีกคำ คือ “ความเท่าเทียม” หมายถึงการให้ทุกคนได้ทุกอย่าง เหมือนกัน เช่น
โครงการรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรี ซึ่งไม่ว่ายาก ดี มี จน ก็ได้รับสิทธิ์นี้
เท่าเทียมกัน แต่อาจจะกลับเป็นภาระด้านงบประมาณเกินไป ขัดหลักความคุ้มค่าอันเป็น “1 ใน 6” ของหลักธรรมาภิบาล
ดังนั้น รัฐบาลนี้ จึงเห็นว่า
เราควรยึดแนวทาง “ความเสมอภาค” ซึ่งไม่ใช่ความเท่าเทียมเท่านั้น
แต่หมายความว่าทุกคนจะได้รับ “โอกาสในการเข้าถึง...เหมือนกัน” แต่เราจะต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อนว่าการจะทำให้เกิดความเท่าเทียมนั้นจะต้องให้มีความเสมอภาคกันก่อน
จึงจะเกิด “ความยุติธรรม” ในสังคม ทั้งนี้
คนที่มีโอกาสน้อยที่สุดควรจะได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมมากที่สุด
ส่วนคนที่ได้เปรียบอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับอะไรมาเสริม
หรือหนุนเนื่อง แต่ในทางกลับกัน อาจจะต้องเสียสละให้คนอื่นที่ไม่มีโอกาสอีกด้วย
เช่น กรณีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่รัฐได้จัดทำเวลานี้ สำหรับผู้มีรายได้น้อย
ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ไม่ใช่การเอามา “หารยาว” จึงสามารถลดภาระด้านงบประมาณได้บางส่วน
แล้วนำไปเพิ่มเติมในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ในอนาคต ซึ่งแนวคิดในการตั้ง “กองทุนชราภาพ” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย
ซึ่งหากมีผู้สูงอายุ ที่มีกำลังทรัพย์ ดูแลตัวเองได้ ลูกหลานดูแลได้
สละสิทธิ์สวัสดิการในส่วนนี้ของตนเอง เพียง 10% จากการประเมินเบื้องต้นทราบว่าจะมีเงินเข้ากองทุนชราภาพนี้ราว
4,000 ล้านบาทต่อปี
รัฐบาลก็สามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยได้ดีกว่าในปัจจุบัน เป็นต้น
ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจหลักการข้อนี้ และหลักคิดของรัฐบาลนี้ ในการบริหารประเทศด้วย จะได้ไม่มีใครหยิบยกเป็นประเด็นบิดเบือน
ด้วยการว่ามีช่องว่าง ของความไม่เข้าใจจนนำไปสู่ความไม่ไว้ใจกัน
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
การขับเคลื่อนประเทศ ให้ผ่านพ้นประเทศรายได้ปานกลาง
คือการสนับสนุน ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ได้มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ
มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อจะยกระดับศักยภาพให้กับภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคบริการของประเทศ อื่น ๆ ด้วย
เรามักจะมองว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าต้องมาจากการคิดค้น
ที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก มหาศาล เหล่านี้ จำเป็นต้องมีการผลิตของโรงงานขนาดใหญ่
แต่ที่จริงแล้วนั้น การสร้างมูลค่าให้กับสินค้าไม่จำเป็น
ที่ต้องใช้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเสมอไป เราทำแบบของเรา แบบไทย ๆ
ค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ เช่น พี่น้องเกษตรกรก็สามารถแปรรูปผลผลิต
เพิ่มเติมจากการขายผลผลิตที่เป็นผลไม้สด อาหารสด หรืออื่น ๆ อาจจะใช้วิธีการตากแดด
อบแห้ง หรือ ใช้เครื่องจักรในการแพ็คอาหารแบบสุญญากาศ ซึ่งก็จะช่วยถนอมอาหาร เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ยืดอายุสินค้าเกษตร สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร แล้วขายผ่านช่องทางออนไลน์
ส่งทางไปรษณีย์ เหล่านี้เราเรียกว่าเป็นการใช้นวัตกรรม
ใช้ดิจิตอลมาเสริมในการสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน โดยขณะนี้ “ยุค 4.0” ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัว เพราะในชีวิตประจำวันนี้
เทคโนโลยีดิจิทัล และสารสนเทศใกล้ตัวและอยู่รอบตัวเราแล้ว เช่น
วันนี้เราใช้โทรศัพท์ ใช้สมาร์ทโฟนในมือท่านก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
เพราะนอกจากท่านสามารถสืบค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้เพียงจากปลายนิ้วสัมผัสแล้ว
ท่านยังสามารถเชื่อมโยง สร้างเครือข่ายสำหรับการทำงาน การทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ เพียงเราทุกคนรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์
เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเราทุกคน
ผมขอชื่นชมเกษตรกรจำนวนมากที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
มีการพัฒนาตนเองร่วมมือกับรัฐในโครงการต่าง ๆ จนเกิดผลเป็นรูปธรรม
สร้างมูลค่าเพิ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วจำนวนมาก ทั้งสมาร์ทฟาร์มเมอร์
ทั้งการค้าขายออนไลน์มีการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับการเกษตร
มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานในภาคการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น ทำปศุสัตว์มากขึ้น
แล้วก็ใช้ประโยชน์จาก Agri Map แผนที่ทางการเกษตร ที่ระบุไว้เรื่องดิน เรื่องน้ำ
แล้วพื้นที่ ๆ เหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละชนิด และข้อมูลทันสมัยต่างๆ
ที่เราได้แพร่ออกไปในปัจจุบันมาประกอบการทำเกษตรกรรม
แล้วนำตัวอย่างจากบรรดาปราชญ์ชาวบ้าน หรือ สปก. ของกระทรวงเกษตรที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีการแพร่กระจายกันกว้างไกลออกไป
มีการพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ส่วนในเรื่องของการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น
ผมเคยบอกไว้แล้วว่าเราประเทศไทยต้องเจริญไปด้วยกันในทุกภาคส่วน เจริญได้ 2 อย่าง คือเจริญจากภายใน
เข้มแข็งจากภายในที่เรากำลังเสริมสร้างวันนี้ แล้วเสริมด้วยจากภายนอกจากต่างประเทศด้วย
อะไรด้วยมาช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนไปมาเหล่านี้
จะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นเราจำเป็นต้องทำควบคู่กันไปด้วย
กับในส่วนเล็กๆ ที่เราทำกันอยู่ ไม่ว่าจะภายใน ระดับพื้นที่
ระดับชุมชนหรือกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ เราจะต้องเติบโตพร้อม ๆ
กันไปอย่างสมดุล รัฐบาลก็ได้เห็นชอบในหลักการ
ในเรื่องของมาตรในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิต
ธุรกิจบริการ ให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการใช้หุ่นยนต์
และระบบอัตโนมัติทดแทนบ้าง มากยิ่งขึ้นรวมทั้ง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
ในด้านต้นทุนการผลิตของประเทศ อาทิ มาตรการภาษี มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ
50 สำหรับกิจการที่นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นเวลา
3 ปี ก็คาดว่ามาตรการนี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใช้หุ่นยนต์
ในปีแรกได้ 12,000 ล้านบาทนะครับ
และในระยะ 5 ปี ต่อไป
จะเกิดการลงทุนในห่วงโซ่การผลิตไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท เราจะ สามารถทดแทนการนำเข้าหุ่นยนต์ได้ 30% จากเดิมที่มีการขาดทุนแต่ละปีกว่า 1.3 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ รัฐบาลก็มีแนวทาง ในการที่จะให้การสนับสนุนผ่านกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวทางประชารัฐ
แล้วสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐ
ในการจัดซื้อจัดจ้างหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตในประเทศได้อีกด้วย
เราต้องคิดร่วมกันว่าทำอย่างไร
เราจะสร้างความสมดุลในการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่
กับในเรืองของการจ้างแรงงานในประเทศของเรา
ที่ยังคงมีความจำเป็นอยู่ในการประกอบอาชีพ
เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานของเราให้มากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ทุกคนก็ต้องยอมรับว่าไม่ค่อยชอบการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก
เป็นสาเหตุสำคัญในการที่เรามีความจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวในขณะนี้
แต่ต้องอย่าลืมว่า เมื่อถึงเวลาที่ประเทศเขามีการพัฒนา
เขาก็กลับไปทำงานที่ประเทศเขา เราก็จะขาดแคลนแรงงานทันที เพราะฉะนั้นอยากจะให้ทุกคนได้เข้าใจด้วย
แรงงานไทยก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นหัวหน้างาน
ไปสู่การทำงานที่ใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้น ตัวเองก็จะได้รายได้มากขึ้น
ถ้าส่วนใหญ่ไปอยู่ในภาคการท่องเที่ยวและบริการในอนาคตอาจจะมากเกินไป
เกินความจำเป็นจนหางานทำได้ยาก เพราะฉะนั้นต้องไปทั้ง 2 ทางนั่นแหละ
ทั้งนี้
การเตรียมความพร้อมของคนในประเทศนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
ก็ไม่อยากให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นกังวล
แต่ควรแปลงความกังวลเหล่านั้นเป็นการปรับตัว เรียนรู้และยกระดับตัวเอง
เพิ่มทักษะในการทำงาน เช่น จากผู้ใช้แรงงานที่เป็นเพียงควบคุมการทำงานแบบง่าย ๆ
วันนี้ก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การมีความรู้ เป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ได้
ซึ่งคงต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย สำหรับค่าแรง ค่าจ้าง ก็จะสูงขึ้น ตามทักษะ
แล้วก็มาตรฐานในการทำงานที่มากขึ้นด้วย มีการใช้สติ ปัญญา มากยิ่งขึ้น ใช้ฝีมือ
ใช้ความรู้มากขึ้นรัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบในหลักการสำหรับการจัดให้มีการจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร
จำนวน 1,500 คน ภายใน 5 ปีนะครับ
ในการที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้
และการจัดสัมมนาธุรกิจและวิชาการหุ่นยนต์ระดับชาติและนานาชาติอันนี้เป็นสิ่งจำเป็นนะครับ
ต้องเตรียมการเพื่ออนาคต เมื่อเราขาดแรงงานจากต่างประเทศนะครับโดย ทั้งนี้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้พิจารณาแนวทางการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ ประเทศอุตสาหกรรม
โดยเฉพาะที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ
อาทิ ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน สหรัฐฯ เหล่านี้เป็นต้น เพื่อนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง
มาประยุกต์ใช้ ตามห้วงระยะเวลาที่เหมาะสม ในการที่จะปรับปรุงพัฒนาอุตสาหกรรม
ของไทยให้เหมาะสมต่อไป นี่คือโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ก็ไปทางโน้น
ของเดิมเราก็พัฒนาไปพร้อมๆ กันด้วย
ขออย่ากังวลว่าจะไม่มีงานทำ
ตราบใดทีประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ทางด้านภูมิศาสตร์แล้ว
ยังไงเราก็มีศักยภาพ ถ้าเราช่วยกันพัฒนาตนเอง สร้างงานให้มากขึ้น
ก็จะทำให้เครือข่าย หรือว่าห่วงโซ่ในเรื่องของการทำงาน ห่วงโซ่ในเรื่องรายได้
ห่วงโซ่ในเรื่องของการผลิต การแปรรูป การตลาด ก็จะกว้างขวางยิ่งขึ้น
รัฐบาลกำลังทำทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่เราก็ต้องทำให้เต็มที่
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา
เมื่อสัปดาห์ก่อนก็ได้มีการนำ “YuMi หุ่นยนต์อัจฉริยะชงกาแฟ” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตยุค 4.0 muj
ที่สามารถการทำงานร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
ไม่เป็นอันตราย มีความแม่นยำ และคล่องแคล่วสูง
สามารถตั้งโปรแกรมในการใช้งานในหลากหลายลักษณะ
ผมอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้พาครอบครัว
ลูกหลาน นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการ และหน่วยงาน ภาครัฐ นักธุรกิจ SMEs
Startup และผู้สนใจเรื่องดิจิทัลมาร่วมในกิจกรรม
งานนิทรรศการนานาชาติ Digital Thailand Big Bang 2017 ซึ่งเป็นมหกรรมการแสดงนิทรรศการนานาชาติ
ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จะเห็นได้ว่าถ้าบ้านเมืองเราสงบก็มีการจัดงานต่าง ๆ
มากมายในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย อันนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 และ 2 ศูนย์ประชุมอิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
ภายใต้สโลแกน Digital Transformation โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน
อันนี้เป็นชื่อของสโลแกน ชื่อของงาน เป็นการเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายทุกรายการ
ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม ในรายละเอียดตามช่องทางต่าง ๆ ที่ปรากฎบนหน้าจอ
ทุกคนเกี่ยวข้องกันทั้งหมด ใครส่วนหนึ่งมีความสามารถก็ใช้ไป
อันไหนที่อยากจะพัฒนาตนเองก็ไปเรียนรู้เรื่องการบังคับเครื่องมือ ใช้เครื่องมือต่าง
ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ของเราในอนาคต ถ้าอยู่ที่เดิมก็เท่าเดิม
มุ่งหวังแต่เพียงอย่างเดียวให้ขึ้นค่าแรง ๆ อย่างเดียวก็คงเป็นไปได้ยาก
ก็ต้องช่วยกันทั้งหมดหลายมาตรการด้วยกันพวกเราอย่ากังวลว่าจะตกงาน
เพราะเป็นการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์นั้นเราทดแทนในอุตสาหกรรมที่มีอันตราย
มีมาตรฐานสูง ต้องการความปลอดภัยสูง หรือแม้กระทั่งในการใช้ในครัวเรือน
ก็จะใช้ในการดูแลคนไข้ผู้สูงอายุ
สำหรับผู้ที่มีกำลังทรัพย์สามารถจะไปซื้อหามาใช้งานได้ อื่น ๆ
ถ้ากำลังทรัพย์ไม่พอก็คงต้องใช้แรงงานอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ต้องพัฒนาแรงงานให้มากยิ่งขึ้น
ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยที่ทำงานอยู่ภาคบริการ ท่องเที่ยวอะไรต่าง ๆ มากมาย
ต้องไปเรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้ด้วย
เผื่อวันหน้ามีปัญหาเราจะได้มีงานทำทางด้านนี้อีก
ผมอยากให้พี่น้องสื่อมวลชนทุกแขนง
ได้นำบรรยากาศ จินตนาการ วิสัยทัศน์ องค์ความรู้ แห่งอนาคตภายในงาน
ช่วยกันเผยแพร่ไปสู่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและทั่วถึง
เพราะเป็นการจัดงานระดับชาติเมื่อใช้จ่ายงบประมาณแล้วก็อยากให้คุ้มค่าที่สุด
ไม่ใช่เพียงคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น
ผมอยากให้คนไทยทั้ง 65 ล้านคนได้มีโอกาส ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ต่าง ๆ
ผ่านช่องทางสื่อมวลชน และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว แต่อาจไม่ทั่วถึง
หรือไม่ตื่นตาตื่นใจ เท่ากับสื่อมืออาชีพ เราก็ต้องขอร้อง
ขอให้ท่านร่วมมือช่วยเหลือในการนำเสนอด้วย เพราะเป็นกิจกรรมที่ดี
กิจกรรมภายในงานก็ล้วนแต่เป็นสาธารณะประโยชน์ ตอบโจทย์นโยบาย “ประเทศไทย 4.0” แล้วเราก็ไม่ลืมคน 1.0, 2.0, 3.0 ไปด้วย ว่าจะใช้กันตรงไหนอย่างไร ไม่ใช่ทั้งหมดจะเลิก
อันนี้ไปใช้อันโน้นอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้
อยากจะฝากถึง “เน็ต-ไอดอล” หรือ “ยู-ทูบเบอร์” ที่ปกติก็จะมีการแชร์ประสบการณ์ นำเสนอสิ่งต่าง ๆ
สู่สายตา “ผู้ติดตาม (Followers)” ของท่าน ที่เป็นเยาวชนอยู่แล้ว ผมก็อยากให้ชักชวนกัน
มานำเสนอในมุมมองที่จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนเกี่ยวกับกิจกรรมในงานนี้ ขอให้ใช้ “พรสวรรค์ - ความริเริ่ม” ของท่าน
มาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
เพราะท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของกลไกประชารัฐ ด้วย
ผมเชื่อว่าจะเป็นการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลาย ๆ คน
ในการเข้าสู่วงการดิจิทัล หุ่นยนต์ เครื่องจักรอัจฉริยะของประเทศในอนาคต
ผมอยากให้ทุกคนสนใจเรื่องนี้ให้มาก ๆ มีแนวโน้มใช้กันมากขึ้นในโลกอนาคต อันนี้ทุกคนในประเทศไทยมีการใช้โทรศัพท์
ใช้สมาร์ทโฟนกันมากอยู่แล้ว หรืออาจจะถือได้ว่ามากลำดับแรก ๆ ของอาเซียนเลย ของโลกด้วยซ้ำไป ในสัดส่วนของ 60 กว่าล้าน ผมทราบตัวเลขคร่าว ๆ 50 กว่าล้าน ใช้กันหมดแล้ว ใช้ให้เกิดประโยชน์
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ในช่วงต้นอาทิตย์ที่ผ่านมา
ไทยเราได้มีโอกาสต้อนรับคณะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น เกือบ 600 ราย เป็นมิตรประเทศที่สำคัญของเรา ที่นำโดยนายฮิโรชิ
เซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม
ของญี่ปุ่น หรือ “เมติ”
(METI) ตามที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ได้เรียนเชิญไว้ในระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมที่ประเทศญี่ปุ่น
ในนามของรัฐบาลในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ความเป็นมาก็คือ
ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นนั้น เรามีความสัมพันธ์อันดีทางการทูต ระหว่างกันมาอย่างยาวนานและแน่นแฟ้น
ทั้งระดับสถาบัน ระดับรัฐบาล และระดับประชาชน มีการไปมาหาสู่กัน
มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาในอดีต ซึ่งจะครบรอบ 130 ปี ในวันที่ 26 กันยายน 2560 นี้
ญี่ปุ่นนั้นเป็นมิตรประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศของไทยมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในด้านการค้า
ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในคู่ค้าหลัก อันดับต้น ๆ ของไทยมาโดยตลอด จนถึงในปัจจุบัน
ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 15.8 ของการนำเข้าทั้งหมดและ
เป็นประเทศที่ไทยส่งออกสินค้าไปเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 9.5 ของการส่งออกทั้งหมด ในช่วงที่ทั้งสองประเทศ
อยู่ระหว่างการฟื้นตัวนั้น มูลค่าการค้าระหว่างกัน ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาตามลำดับ
เมื่อเทียบในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ไทยเรายังคงเป็นตลาดส่งออก
ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นด้วย
สำหรับเรื่องการลงทุนนั้น
ประเทศญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยบริษัทญี่ปุ่นมีการลงทุน ถึง 1 ใน 5 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในด้านอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการลงทุนใน SMEs และธุรกิจท้องถิ่นของญี่ปุ่น
ที่เข้ามาใช้ไทยเป็นฐานในการลงทุน ต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
สอดคล้องกับนโยบาย Thailand+1 ของรัฐบาลด้วย
ในช่วงพบปะหารือกันนั้นคณะนักลงทุนญี่ปุ่น
ได้แสดงความสนใจ ในนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลและ
ต้องการจะศึกษาลู่ทางการลงทุน รวมถึงการขยายการลงทุนต่อยอดและการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในไทย ที่กำหนดไว้มากขึ้น
ซึ่งผมได้เล่าให้นักลงทุนญี่ปุ่นฟังถึงทิศทางเศรษฐกิจ สังคม
และการเมืองของรัฐบาลไทย ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ
ของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยผมได้เน้นย้ำ ความพยายามของรัฐบาลไทย
ในการจะปรับปรุงในเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ (หรือ Ease of doing
business) ให้กับนักลงทุน
ทั้งในและต่างประเทศเช่น การตั้ง “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS)” เพื่อให้การทำธุรกรรมในการประกอบธุรกิจ
การขอหรือออกใบอนุญาตต่าง ๆ สามารถดำเนินการ ณ ที่เดียวได้โดยไม่ต้องวิ่งเอกสารไปยัง 6 -
7 กระทรวงเหมือนเดิม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญในกระบวนการเริ่มต้นของการลงทุน
นอกจากนี้
ผมได้อธิบายนโยบายของรัฐบาลนี้ในการส่งเสริมการลงทุนและทิศทางในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
โดยเฉพาะเรื่องของการจัดตั้ง “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศตามกลไก “ประชารัฐ”ที่เราต้องการพัฒนาให้ EEC เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อจะยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมถึง จะเป็น “พื้นที่ยุทธศาสตร์” ของภูมิภาค และของโลก เพื่อจะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ “1
Belt 1 Road” ของจีน
ทั้งในมิติการคมนาคมขนส่ง และ เชื่อมโยงเทคโนโลยีโดยการพัฒนา EEC ให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านอีกครั้งและต่อยอด “ยุคโชติช่วงชัชวาล” ในอดีต คือยุคสมัยที่เราทำอีสเทิร์นซีบอร์ด
จนประสบความสำเร็จมาแล้วให้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยให้ประเทศไทยเป็น “ที่หมาย” ในการลงทุนขนาดใหญ่ และการเชื่อมโยงธุรกิจ
และภาคการผลิตในทุกระดับ ทั้งนี้ EEC จะมีโครงสร้างพื้นฐาน
ด้านการคมนาคมขนส่งที่เพียบพร้อม ทั้งทางบก ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ อาทิ
ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด สนามบินอู่ตะเภา รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เหล่านี้ เป็นต้น
สำหรับการยกระดับด้านการบริหารจัดการและการให้บริการภาครัฐ
นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เราจะทำอะไรใหม่ ๆ ก็ตามต้องปรับปรุงทั้งหมด
รัฐบาลนี้ได้ผลักดันให้มี พ.ร.บ. EEC อันเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการขับเคลื่อน EEC ก็สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาล
ในการสนับสนุนการลงทุนในโครงการนี้เพื่อจะให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์
ในการพัฒนาประเทศในระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลและนโยบายภาครัฐที่ชัดเจนเหล่านี้
จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของคณะนักลงทุนญี่ปุ่นเหล่านี้ในอนาคต
เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนให้ได้
เพราะการลงทุนขนาดใหญ่นั้นมีความเสี่ยง
การที่เขามาลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลก็เพื่อต้องการฐานการผลิตที่มั่นคง ดังนั้น
ความไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงสำคัญ
วันนี้รัฐบาลได้ทำให้เขาเห็นและทำให้เขาเกิดความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น
ผมได้เน้นย้ำในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางการเมืองโดยจะมุ่งบริหารประเทศตาม Roadmap ที่ชัดเจนเพื่อเดินหน้าประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
ในแบบฉบับที่สอดคล้องกับบริบทของเรา ที่ไม่ขัดแย้งกับของสากลด้วย ทั้งนี้
เมื่อทุกอย่างลงตัว กระบวนการด้านกฎหมายมีความพร้อม ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ
มีความปรองดอง เราก็จะมี “การเลือกตั้งทั่วไป” ในปีหน้า นอกจากนี้ การมียุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว 20 ปี ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนว่า
การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยจะมีความต่อเนื่องและมั่นคง
มีการปฏิรูปประเทศในทุก ๆ ด้าน
ย่อมแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคต
นอกจากนั้น นโยบายที่มุ่งผลักดันประเทศไทยเข้าสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ การขับเคลื่อนประเทศด้วย “นวัตกรรม” เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค ที่ให้ความสำคัญกับการผลิต
ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง เราก็ได้เตรียมการในด้านต่าง ๆ
ทั้งเรื่องบุคลากร นโยบายสนับสนุนนวัตกรรมและการปรับกฎระเบียบ
ให้เอื้อต่อการลงทุน ซึ่งภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่น
จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การถ่ายทอด
การสร้างบุคลากรทางเทคนิคขั้นสูง เพื่อเข้าสู่ยุค 4.0 และ สามารถใช้ไทยเป็นฐาน ในการพัฒนาบุคลากร
ในภูมิภาคร่วมกันในการดำเนินการเหล่านั้น ผ่านความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้ และบุคลากร
ระหว่างกัน ในอนาคตต่อไป
คณะนักลงทุนญี่ปุ่น ได้ให้ความสนใจดูงาน
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการประชุมร่วม มีการจับคู่สนทนา
เจรจาเจรจาธุรกิจร่วมกันจำนวนมาก และได้ไปเยี่ยมชมพื้นที่ EEC ให้ความสนใจ
ได้รับรายงานว่าจากการลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช
และอื่น ๆ ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะของญี่ปุ่น
รู้สึกพอใจที่ประเทศไทยเห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับญี่ปุ่น
ที่เป็นมิตรอันดีของเราของเขาด้วย ภายใต้กรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0
โดยรับทราบเจตนารมย์อันมุ่งมั่น
และมีความเข้าใจ ต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย และยืนยันว่าบริษัทญี่ปุ่น
ที่มีการลงทุนในไทยอยู่แล้ว จะขยายการลงทุนต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณ
ในช่วงที่ผ่านมานั้น
น้ำท่วมในพื้นที่อุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งก็ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกไปเลย
มีแต่ปรับปรุงและพัฒนาต่อก็แสดงว่า เขารักประเทศไทย มีความคุ้นเคย มีความพอใจ
เราก็ต้องช่วยดูแลเขาด้วย เช่นเดียวกัน ต้องดูแลทุกประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทย
เราคาดว่าจะมีนักลงทุนญี่ปุ่นรายใหม่ที่มีความเชื่อมั่น ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้
ทั้งสองฝ่ายยังได้มีโอกาสหารือในเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินสะอาด
ซึ่งมีการทดสอบแล้ว ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันว่า มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก
และมีความปลอดภัยต่อชุมชนอย่างไร ซึ่งเราก็ต้องศึกษา พิจารณากันต่อไป
ญี่ปุ่นพร้อมให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน - ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวกับไทย อีกทั้งยังมีความร่วมมือในสาขายานยนต์สมัยใหม่
ซึ่งญี่ปุ่นยินดีร่วมมือกับไทย ในการยกระดับให้ไทยเป็น “ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า” ที่สำคัญในภูมิภาคต่อไปด้วย
วันนี้เขาคิดไปถึงระยะต่อไปหลังจากรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ
เขาคิดต่อแล้วว่าจะพัฒนาไปสู่พลังงานไฮโดรเจนได้อย่างไร
ผมคุยกับท่านรัฐมนตรีญี่ปุ่นมา
ในส่วนของด้านการแพทย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจฯ ญี่ปุ่น ก็ได้นำคณะธุรกิจ
และภาครัฐ ในสาขาการแพทย์ เข้าพบปะกับภาครัฐ และภาคเอกชนของไทย
เพื่อแนะนำเครื่องมือทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพสูงของญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์
อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้
การมาเยือนไทยของคณะนักลงทุนญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
ที่เราได้เห็นการลงนามใน MOU และ MOI จำนวน 7 ฉบับ ระหว่างนักธุรกิจญี่ปุ่น กับนักธุรกิจไทย ซึ่งนับเป็นอีกก้าว
ในการไปสู่ความสำเร็จของการส่งเสริมการค้า การลงทุน และ
ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นเหนือกาลเวลาของทั้งสองประเทศด้วย ทั้งนี้
เรายังคงให้ความสำคัญกับทุกโครงการของมิตรประเทศของเรา ในสิ่งที่เรามีศักยภาพและ
ตรงกับความต้องการของซึ่งกันและกัน
พี่น้องประชาชน ครับ
ต้นสัปดาห์หน้า วันที่ 18 - 19 กันยายนนี้ ผมและคณะรัฐมนตรี
จะได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะพี่น้องประชาชน
อีกครั้งโดยครั้งนี้จะเดินทางไปพบพี่น้องชาวสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ส่วนรัฐมนตรีต่าง ๆ
ก็มีแผนที่จะกระจายกันลงปฏิบัติภารกิจในพื้นที่
เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐ เพราะผ่านไปแล้ว ออกนโยบายไปแล้ว ขับเคลื่อนไปแล้ว
ก็ต้องติดตามประเมินผล ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกรัฐบาล กำกับดูแล
เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
ทั้งนี้
รัฐบาลพร้อมรับทราบปัญหา ข้อเรียกร้องจากพี่น้องประชาชนเพิ่มเติมเช่นเคย
ในพื้นที่ก็ขอให้ส่ง ผมจะให้มีการเปิดศูนย์รับเรื่องความเดือดร้อน
ข้อเสนอแนะอะไรต่าง ๆ ก็ส่งให้เขา ไม่ต้องตรวจดูให้ตรง เดี๋ยวก็ถึงผมเอง
ไม่งั้นจะวุ่นวายสับสน มีปัญหาเรื่อง รปภ. อีก เพราะรัฐบาลนี้ เห็นว่า “ตำบล - ชุมชน -หมู่บ้าน” ประชาชนทุกหมู่เหล่านั้นแหละเป็น
จุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ หากเราสามารถสร้างความเข้มแข็งในระดับฐานรากนี้
ได้สำเร็จ เหมือนกับเราปลูกต้นไม้มีรากแก้วที่มั่นคงประเทศชาติก็จะมั่นคง มั่งคั่ง
อย่างยั่งยืนด้วยถ้าประชาชนเราเข้มแข็ง ทราบว่ามีหลายโครงการ ทั้งในปัจจุบัน
และในปีหน้า ตามแผนพัฒนาภาคกลาง เราบอกแล้วว่าเรามีการพัฒนาโครงการเป็นภาค 6 ภาคด้วยกัน
ในการบริหารจัดการด้วยงบประมาณในแผนงานดำเนินโครงการต่าง ๆ
ซึ่งผมต้องการรับทราบความคืบหน้า และ ลงไปแก้ปัญหาให้ โดยหยิบยกขึ้นมาสู่ “โต๊ะประชุม ครม.” เพื่อให้การสั่งการต่าง ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น อะไรทำได้ และต้องเร่งดำเนินการ
ก็ให้ทำทันทีทั้งการเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตร เรื่องเกษตรแปลงใหญ่ - เกษตรปลอดภัย การยกระดับภาคอุตสาหกรรม การค้า และการลงทุน รวมทั้งการค้าชายแดน การพัฒนาโครงการพิเศษขนาดใหญ่ อาทิ
โครงการเมืองสมุนไพร การบริหารจัดการน้ำ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงธรรมชาติ เชิงประวัติศาสตร์ และที่สำคัญ คือการพัฒนาสังคม
การยกระดับคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมก็ดีใจที่จะได้ไปพบพี่น้องถึงถิ่นอาศัยของท่าน
บางท่านอาจจะต้องเดินทางมาบ้าง
เพราะเราไม่มีเวลามากขนาดนั้นที่จะไปเยี่ยมในทุกพื้นที่ ก็อยากให้มาทุกภาคส่วน
รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการก็มีความกระตือรือร้นและเตรียมทำการบ้านล่วงหน้า
ก่อนลงพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนสูงสุด ส่วนราชการต้องไม่สร้างภาระให้กับประชาชนในการต้อนรับ
หรือมีพิธีการใหญ่โต ไปเอาเรื่องว่าเราจะทำงานกันยังไง พบปะประชาชนพ่อแม่พี่น้อง
คนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกกลุ่ม ต้องไม่สร้างความเข้าใจผิด ให้ใครนำไปบิดเบือนได้เช่นที่ผ่านมา
รัฐบาลและ คสช. ต้องการลงไปรับทราบปัญหา และเร่งแก้ไข ไม่ใช่ไปสร้างคะแนนเสียง
ความนิยมอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กันในปัจจุบัน ผมทำอะไรที่แตกต่าง
เพราะวันนี้หลายคนก็อ้างว่าไม่มี สส.ไม่มีใครไปดูแล
วันนี้เราก็มีศูนย์ดำรงธรรมรับข้อมูลอยู่แล้วทุกพื้นที่ระดับอำเภอ และคล้าย ๆ
กับมี สส. อยู่แล้ว แต่เราไปรับทุกคน ทุกพวก ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะใครก็ตามทุกกลุ่ม
และก็ขึ้นมา ที่ผ่านมาหลายล้านเรื่อง ก็แก้ปัญหาได้ประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ อะไรที่ซับซ้อน
อะไรที่มีปัญหาเรื่องกฎหมายก็ต้องใช้เวลาบ้าง ยังไม่ทั่วถึงทั้งหมด
เพราะมีจำนวนมากมายมหาศาล เรามีคนตั้งเกือบ 70 ล้านคน รายได้น้อยก็ 14 ล้านกว่า ต่ำกว่า 3 หมื่น 14 ล้านกว่าเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่
อันนี้ผมก็จะนำผลการลงพื้นที่ดังกล่าวในรายการครั้งหน้า
สุดท้ายนี้ ผมอ่านหนังสือมาก หนังสือราชการ หนังสือนอก
หนังสือทั่วไปในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมาผมได้ให้ข้อมูลมีหนังสือ 1 เล่มไม่ได้แจก ให้เฉพาะสรุปใบข้างหน้า 10 ข้อหลักการของเขาที่ผมให้เขาย่อมา มีชื่อว่า The
Speed of Trust ให้ ครม. ไปอ่านหลักการไปก่อน
แล้วค่อยไปหาหนังสืออ่านเพราะเล่มใหญ่
แล้วพิจารณาตนเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์เช่นกัน
หากพี่น้องประชาชนได้รับทราบ รับฟังด้วย กล่าวโดยสรุปได้ว่า สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ
หากขาดหายไปไม่ได้ ถ้าหากขาดหายไป เราจะไม่ประสบความสำเร็จ
ไม่ว่าจะทำงานหรือดำรงชีวิตอะไรก็ตาม แต่ถ้าสามารถสร้างขึ้นมาได้ ทั้งตนเอง
ทั้งชุมชน ครอบครัว เพื่อนฝูงยิ่งมาก ก็จะยิ่งให้ประสบความสำเร็จ อันยิ่งใหญ่ สิ่งนั้นก็คือ “ความไว้วางใจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้ แต่ต้อง “แลกกันด้วยใจ” ต้อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ต้องพิสูจน์ตนเอง และผมหวังว่า “ความจริงใจ” ของผมที่มีต่อพี่น้องประชาชน
และประเทศชาติจะสามารถสร้าง "ความไว้เนื้อเชื่อใจ" ให้กับทุกคน
จนนำไปสู่ความเข้าใจและความร่วมมือกันในการช่วยกัน นำพาประเทศก้าวข้ามอุปสรรคต่าง
ๆ และเดินหน้าต่อไป อย่างยั่งยืน
ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” มีความสุขในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
วันศุกร์ที่ 15 กันยายน 2560 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ
พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขากฎหมายจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยเป็นที่ประจักษ์ ถึงพระปรีชาสามารถด้านกฎหมาย และพระกรณียกิจด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ อาทิทรงริเริ่มโครงการช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังหญิงภายใต้ “โครงการกำลังใจ” ในปี 2549 ด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ และนอกจากนั้น โครงการนี้ ภายใต้พระดำริของพระเจ้าหลานเธอฯ ก็ได้แพร่ขยายความร่วมมือไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ อีกทั้งทรงผลักดันให้เกิดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นหญิง อันเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศฉบับใหม่ หรือที่เรียกว่า “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ซึ่งที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ ได้มีมติให้การรับรองไว้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 จนนำไปสู่การจัดตั้ง “สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย” และในเวลาต่อมา เพื่อสานต่อพระกรณียกิจดังกล่าว นอกจากนี้ ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศไทยอย่างมาก ที่สหประชาชาติได้ถวายรางวัลเกียรติยศสูงสุดแด่พระเจ้าหลานเธอฯ ในฐานะที่ทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติ ในการที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิง และผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง นับเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ได้ทรงมีพระเมตตาโดยทรงริเริ่มและช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม แล้วก็เป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทย จะได้รำลึกถึงคุณูปการ ของพระเจ้าหลานเธอฯ อย่างมิอาจลืมเลือน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีประวัติเก่าแก่ และมีชื่อเสียงในลำดับต้นของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขานิติศาสตร์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับ นับว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศแห่งที่ 2 ที่ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา หลังจากที่มหาวิทยาลัยชิคาโก-เค้นส์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาในสาขาเดียวกันมาแล้ว ในปี 2555
ในการดังกล่าวนี้ พระเจ้าหลานเธอฯ ทรงมีพระดำรัสตอบรับ การถวายปริญญาฯ อันมีสาระสำคัญ ที่ผมขอเชิญมากล่าวซ้ำ สำหรับปวงชนชาวในวันนี้ คือ “...หลักนิติธรรมเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยทรงตระหนักอยู่เสมอว่าระบบยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ และทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคนั้น มีความ สำคัญยิ่ง เพราะเป็นหลักประกันว่า เราทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาร่วมกัน ไม่ว่าจะคนผู้นั้นจะเป็นผู้ยากไร้ เด็ก เหยื่ออาชญากรรม ผู้ลี้ภัยจากสงคราม เหตุการณ์ความไม่สงบ ผู้ประสบภัยธรรมชาติ หรือ กลุ่มผู้เปราะบางอื่นใดในสังคม...”
ซึ่งในพระดำรัสดังกล่าวจะมีคำว่า “ความเสมอภาค” ที่สังคมของเรา ยังแยกความแตกต่างไม่ออก หรือ อาจยังไม่เข้าใจกับอีกคำ คือ “ความเท่าเทียม” หมายถึงการให้ทุกคนได้ทุกอย่าง เหมือนกัน เช่น โครงการรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรี ซึ่งไม่ว่ายาก ดี มี จน ก็ได้รับสิทธิ์นี้ เท่าเทียมกัน แต่อาจจะกลับเป็นภาระด้านงบประมาณเกินไป ขัดหลักความคุ้มค่าอันเป็น “1 ใน 6” ของหลักธรรมาภิบาล
ดังนั้น รัฐบาลนี้ จึงเห็นว่า เราควรยึดแนวทาง “ความเสมอภาค” ซึ่งไม่ใช่ความเท่าเทียมเท่านั้น แต่หมายความว่าทุกคนจะได้รับ “โอกาสในการเข้าถึง...เหมือนกัน” แต่เราจะต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อนว่าการจะทำให้เกิดความเท่าเทียมนั้นจะต้องให้มีความเสมอภาคกันก่อน จึงจะเกิด “ความยุติธรรม” ในสังคม ทั้งนี้ คนที่มีโอกาสน้อยที่สุดควรจะได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมมากที่สุด ส่วนคนที่ได้เปรียบอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับอะไรมาเสริม หรือหนุนเนื่อง แต่ในทางกลับกัน อาจจะต้องเสียสละให้คนอื่นที่ไม่มีโอกาสอีกด้วย เช่น กรณีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่รัฐได้จัดทำเวลานี้ สำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ไม่ใช่การเอามา “หารยาว” จึงสามารถลดภาระด้านงบประมาณได้บางส่วน แล้วนำไปเพิ่มเติมในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ในอนาคต ซึ่งแนวคิดในการตั้ง “กองทุนชราภาพ” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งหากมีผู้สูงอายุ ที่มีกำลังทรัพย์ ดูแลตัวเองได้ ลูกหลานดูแลได้ สละสิทธิ์สวัสดิการในส่วนนี้ของตนเอง เพียง 10% จากการประเมินเบื้องต้นทราบว่าจะมีเงินเข้ากองทุนชราภาพนี้ราว 4,000 ล้านบาทต่อปี รัฐบาลก็สามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยได้ดีกว่าในปัจจุบัน เป็นต้น ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจหลักการข้อนี้ และหลักคิดของรัฐบาลนี้ ในการบริหารประเทศด้วย จะได้ไม่มีใครหยิบยกเป็นประเด็นบิดเบือน ด้วยการว่ามีช่องว่าง ของความไม่เข้าใจจนนำไปสู่ความไม่ไว้ใจกัน
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
การขับเคลื่อนประเทศ ให้ผ่านพ้นประเทศรายได้ปานกลาง คือการสนับสนุน ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ได้มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อจะยกระดับศักยภาพให้กับภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคบริการของประเทศ อื่น ๆ ด้วย เรามักจะมองว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าต้องมาจากการคิดค้น ที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก มหาศาล เหล่านี้ จำเป็นต้องมีการผลิตของโรงงานขนาดใหญ่ แต่ที่จริงแล้วนั้น การสร้างมูลค่าให้กับสินค้าไม่จำเป็น ที่ต้องใช้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเสมอไป เราทำแบบของเรา แบบไทย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ เช่น พี่น้องเกษตรกรก็สามารถแปรรูปผลผลิต เพิ่มเติมจากการขายผลผลิตที่เป็นผลไม้สด อาหารสด หรืออื่น ๆ อาจจะใช้วิธีการตากแดด อบแห้ง หรือ ใช้เครื่องจักรในการแพ็คอาหารแบบสุญญากาศ ซึ่งก็จะช่วยถนอมอาหาร เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ยืดอายุสินค้าเกษตร สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร แล้วขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งทางไปรษณีย์ เหล่านี้เราเรียกว่าเป็นการใช้นวัตกรรม ใช้ดิจิตอลมาเสริมในการสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน โดยขณะนี้ “ยุค 4.0” ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัว เพราะในชีวิตประจำวันนี้ เทคโนโลยีดิจิทัล และสารสนเทศใกล้ตัวและอยู่รอบตัวเราแล้ว เช่น วันนี้เราใช้โทรศัพท์ ใช้สมาร์ทโฟนในมือท่านก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะนอกจากท่านสามารถสืบค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้เพียงจากปลายนิ้วสัมผัสแล้ว ท่านยังสามารถเชื่อมโยง สร้างเครือข่ายสำหรับการทำงาน การทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทั้งนี้ เพียงเราทุกคนรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเราทุกคน
ผมขอชื่นชมเกษตรกรจำนวนมากที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการพัฒนาตนเองร่วมมือกับรัฐในโครงการต่าง ๆ จนเกิดผลเป็นรูปธรรม สร้างมูลค่าเพิ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วจำนวนมาก ทั้งสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ทั้งการค้าขายออนไลน์มีการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานในภาคการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น ทำปศุสัตว์มากขึ้น แล้วก็ใช้ประโยชน์จาก Agri Map แผนที่ทางการเกษตร ที่ระบุไว้เรื่องดิน เรื่องน้ำ แล้วพื้นที่ ๆ เหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละชนิด และข้อมูลทันสมัยต่างๆ ที่เราได้แพร่ออกไปในปัจจุบันมาประกอบการทำเกษตรกรรม แล้วนำตัวอย่างจากบรรดาปราชญ์ชาวบ้าน หรือ สปก. ของกระทรวงเกษตรที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีการแพร่กระจายกันกว้างไกลออกไป มีการพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ส่วนในเรื่องของการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น ผมเคยบอกไว้แล้วว่าเราประเทศไทยต้องเจริญไปด้วยกันในทุกภาคส่วน เจริญได้ 2 อย่าง คือเจริญจากภายใน เข้มแข็งจากภายในที่เรากำลังเสริมสร้างวันนี้ แล้วเสริมด้วยจากภายนอกจากต่างประเทศด้วย อะไรด้วยมาช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนไปมาเหล่านี้ จะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นเราจำเป็นต้องทำควบคู่กันไปด้วย กับในส่วนเล็กๆ ที่เราทำกันอยู่ ไม่ว่าจะภายใน ระดับพื้นที่ ระดับชุมชนหรือกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ เราจะต้องเติบโตพร้อม ๆ กันไปอย่างสมดุล รัฐบาลก็ได้เห็นชอบในหลักการ ในเรื่องของมาตรในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจบริการ ให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติทดแทนบ้าง มากยิ่งขึ้นรวมทั้ง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในด้านต้นทุนการผลิตของประเทศ อาทิ มาตรการภาษี มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 สำหรับกิจการที่นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นเวลา 3 ปี ก็คาดว่ามาตรการนี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใช้หุ่นยนต์ ในปีแรกได้ 12,000 ล้านบาทนะครับ และในระยะ 5 ปี ต่อไป จะเกิดการลงทุนในห่วงโซ่การผลิตไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท เราจะ สามารถทดแทนการนำเข้าหุ่นยนต์ได้ 30% จากเดิมที่มีการขาดทุนแต่ละปีกว่า 1.3 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ รัฐบาลก็มีแนวทาง ในการที่จะให้การสนับสนุนผ่านกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวทางประชารัฐ แล้วสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐ ในการจัดซื้อจัดจ้างหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตในประเทศได้อีกด้วย เราต้องคิดร่วมกันว่าทำอย่างไร เราจะสร้างความสมดุลในการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ กับในเรืองของการจ้างแรงงานในประเทศของเรา ที่ยังคงมีความจำเป็นอยู่ในการประกอบอาชีพ เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานของเราให้มากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ทุกคนก็ต้องยอมรับว่าไม่ค่อยชอบการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก เป็นสาเหตุสำคัญในการที่เรามีความจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวในขณะนี้ แต่ต้องอย่าลืมว่า เมื่อถึงเวลาที่ประเทศเขามีการพัฒนา เขาก็กลับไปทำงานที่ประเทศเขา เราก็จะขาดแคลนแรงงานทันที เพราะฉะนั้นอยากจะให้ทุกคนได้เข้าใจด้วย แรงงานไทยก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นหัวหน้างาน ไปสู่การทำงานที่ใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้น ตัวเองก็จะได้รายได้มากขึ้น ถ้าส่วนใหญ่ไปอยู่ในภาคการท่องเที่ยวและบริการในอนาคตอาจจะมากเกินไป เกินความจำเป็นจนหางานทำได้ยาก เพราะฉะนั้นต้องไปทั้ง 2 ทางนั่นแหละ
ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมของคนในประเทศนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ก็ไม่อยากให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นกังวล แต่ควรแปลงความกังวลเหล่านั้นเป็นการปรับตัว เรียนรู้และยกระดับตัวเอง เพิ่มทักษะในการทำงาน เช่น จากผู้ใช้แรงงานที่เป็นเพียงควบคุมการทำงานแบบง่าย ๆ วันนี้ก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การมีความรู้ เป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ได้ ซึ่งคงต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย สำหรับค่าแรง ค่าจ้าง ก็จะสูงขึ้น ตามทักษะ แล้วก็มาตรฐานในการทำงานที่มากขึ้นด้วย มีการใช้สติ ปัญญา มากยิ่งขึ้น ใช้ฝีมือ ใช้ความรู้มากขึ้นรัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบในหลักการสำหรับการจัดให้มีการจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร จำนวน 1,500 คน ภายใน 5 ปีนะครับ ในการที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ และการจัดสัมมนาธุรกิจและวิชาการหุ่นยนต์ระดับชาติและนานาชาติอันนี้เป็นสิ่งจำเป็นนะครับ ต้องเตรียมการเพื่ออนาคต เมื่อเราขาดแรงงานจากต่างประเทศนะครับโดย ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาแนวทางการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ ประเทศอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อาทิ ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน สหรัฐฯ เหล่านี้เป็นต้น เพื่อนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้ ตามห้วงระยะเวลาที่เหมาะสม ในการที่จะปรับปรุงพัฒนาอุตสาหกรรม ของไทยให้เหมาะสมต่อไป นี่คือโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ก็ไปทางโน้น ของเดิมเราก็พัฒนาไปพร้อมๆ กันด้วย
ขออย่ากังวลว่าจะไม่มีงานทำ ตราบใดทีประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ทางด้านภูมิศาสตร์แล้ว ยังไงเราก็มีศักยภาพ ถ้าเราช่วยกันพัฒนาตนเอง สร้างงานให้มากขึ้น ก็จะทำให้เครือข่าย หรือว่าห่วงโซ่ในเรื่องของการทำงาน ห่วงโซ่ในเรื่องรายได้ ห่วงโซ่ในเรื่องของการผลิต การแปรรูป การตลาด ก็จะกว้างขวางยิ่งขึ้น รัฐบาลกำลังทำทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่เราก็ต้องทำให้เต็มที่
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา เมื่อสัปดาห์ก่อนก็ได้มีการนำ “YuMi หุ่นยนต์อัจฉริยะชงกาแฟ” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตยุค 4.0 muj ที่สามารถการทำงานร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ไม่เป็นอันตราย มีความแม่นยำ และคล่องแคล่วสูง สามารถตั้งโปรแกรมในการใช้งานในหลากหลายลักษณะ
ผมอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้พาครอบครัว ลูกหลาน นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการ และหน่วยงาน ภาครัฐ นักธุรกิจ SMEs Startup และผู้สนใจเรื่องดิจิทัลมาร่วมในกิจกรรม งานนิทรรศการนานาชาติ Digital Thailand Big Bang 2017 ซึ่งเป็นมหกรรมการแสดงนิทรรศการนานาชาติ ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้ว่าถ้าบ้านเมืองเราสงบก็มีการจัดงานต่าง ๆ มากมายในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย อันนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 และ 2 ศูนย์ประชุมอิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้สโลแกน Digital Transformation โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน อันนี้เป็นชื่อของสโลแกน ชื่อของงาน เป็นการเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายทุกรายการ ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม ในรายละเอียดตามช่องทางต่าง ๆ ที่ปรากฎบนหน้าจอ ทุกคนเกี่ยวข้องกันทั้งหมด ใครส่วนหนึ่งมีความสามารถก็ใช้ไป อันไหนที่อยากจะพัฒนาตนเองก็ไปเรียนรู้เรื่องการบังคับเครื่องมือ ใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ของเราในอนาคต ถ้าอยู่ที่เดิมก็เท่าเดิม มุ่งหวังแต่เพียงอย่างเดียวให้ขึ้นค่าแรง ๆ อย่างเดียวก็คงเป็นไปได้ยาก ก็ต้องช่วยกันทั้งหมดหลายมาตรการด้วยกันพวกเราอย่ากังวลว่าจะตกงาน เพราะเป็นการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์นั้นเราทดแทนในอุตสาหกรรมที่มีอันตราย มีมาตรฐานสูง ต้องการความปลอดภัยสูง หรือแม้กระทั่งในการใช้ในครัวเรือน ก็จะใช้ในการดูแลคนไข้ผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่มีกำลังทรัพย์สามารถจะไปซื้อหามาใช้งานได้ อื่น ๆ ถ้ากำลังทรัพย์ไม่พอก็คงต้องใช้แรงงานอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ต้องพัฒนาแรงงานให้มากยิ่งขึ้น ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยที่ทำงานอยู่ภาคบริการ ท่องเที่ยวอะไรต่าง ๆ มากมาย ต้องไปเรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้ด้วย เผื่อวันหน้ามีปัญหาเราจะได้มีงานทำทางด้านนี้อีก
ผมอยากให้พี่น้องสื่อมวลชนทุกแขนง ได้นำบรรยากาศ จินตนาการ วิสัยทัศน์ องค์ความรู้ แห่งอนาคตภายในงาน ช่วยกันเผยแพร่ไปสู่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพราะเป็นการจัดงานระดับชาติเมื่อใช้จ่ายงบประมาณแล้วก็อยากให้คุ้มค่าที่สุด ไม่ใช่เพียงคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ผมอยากให้คนไทยทั้ง 65 ล้านคนได้มีโอกาส ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ต่าง ๆ ผ่านช่องทางสื่อมวลชน และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว แต่อาจไม่ทั่วถึง หรือไม่ตื่นตาตื่นใจ เท่ากับสื่อมืออาชีพ เราก็ต้องขอร้อง ขอให้ท่านร่วมมือช่วยเหลือในการนำเสนอด้วย เพราะเป็นกิจกรรมที่ดี กิจกรรมภายในงานก็ล้วนแต่เป็นสาธารณะประโยชน์ ตอบโจทย์นโยบาย “ประเทศไทย 4.0” แล้วเราก็ไม่ลืมคน 1.0, 2.0, 3.0 ไปด้วย ว่าจะใช้กันตรงไหนอย่างไร ไม่ใช่ทั้งหมดจะเลิก อันนี้ไปใช้อันโน้นอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้
อยากจะฝากถึง “เน็ต-ไอดอล” หรือ “ยู-ทูบเบอร์” ที่ปกติก็จะมีการแชร์ประสบการณ์ นำเสนอสิ่งต่าง ๆ สู่สายตา “ผู้ติดตาม (Followers)” ของท่าน ที่เป็นเยาวชนอยู่แล้ว ผมก็อยากให้ชักชวนกัน มานำเสนอในมุมมองที่จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนเกี่ยวกับกิจกรรมในงานนี้ ขอให้ใช้ “พรสวรรค์ - ความริเริ่ม” ของท่าน มาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ เพราะท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของกลไกประชารัฐ ด้วย ผมเชื่อว่าจะเป็นการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลาย ๆ คน ในการเข้าสู่วงการดิจิทัล หุ่นยนต์ เครื่องจักรอัจฉริยะของประเทศในอนาคต
ผมอยากให้ทุกคนสนใจเรื่องนี้ให้มาก ๆ มีแนวโน้มใช้กันมากขึ้นในโลกอนาคต อันนี้ทุกคนในประเทศไทยมีการใช้โทรศัพท์ ใช้สมาร์ทโฟนกันมากอยู่แล้ว หรืออาจจะถือได้ว่ามากลำดับแรก ๆ ของอาเซียนเลย ของโลกด้วยซ้ำไป ในสัดส่วนของ 60 กว่าล้าน ผมทราบตัวเลขคร่าว ๆ 50 กว่าล้าน ใช้กันหมดแล้ว ใช้ให้เกิดประโยชน์
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ในช่วงต้นอาทิตย์ที่ผ่านมา ไทยเราได้มีโอกาสต้อนรับคณะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น เกือบ 600 ราย เป็นมิตรประเทศที่สำคัญของเรา ที่นำโดยนายฮิโรชิ เซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น หรือ “เมติ” (METI) ตามที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เรียนเชิญไว้ในระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมที่ประเทศญี่ปุ่น ในนามของรัฐบาลในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ความเป็นมาก็คือ ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นนั้น เรามีความสัมพันธ์อันดีทางการทูต ระหว่างกันมาอย่างยาวนานและแน่นแฟ้น ทั้งระดับสถาบัน ระดับรัฐบาล และระดับประชาชน มีการไปมาหาสู่กัน มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาในอดีต ซึ่งจะครบรอบ 130 ปี ในวันที่ 26 กันยายน 2560 นี้ ญี่ปุ่นนั้นเป็นมิตรประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศของไทยมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในด้านการค้า ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในคู่ค้าหลัก อันดับต้น ๆ ของไทยมาโดยตลอด จนถึงในปัจจุบัน ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 15.8 ของการนำเข้าทั้งหมดและ เป็นประเทศที่ไทยส่งออกสินค้าไปเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 9.5 ของการส่งออกทั้งหมด ในช่วงที่ทั้งสองประเทศ อยู่ระหว่างการฟื้นตัวนั้น มูลค่าการค้าระหว่างกัน ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาตามลำดับ เมื่อเทียบในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ไทยเรายังคงเป็นตลาดส่งออก ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นด้วย
สำหรับเรื่องการลงทุนนั้น ประเทศญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยบริษัทญี่ปุ่นมีการลงทุน ถึง 1 ใน 5 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการลงทุนใน SMEs และธุรกิจท้องถิ่นของญี่ปุ่น ที่เข้ามาใช้ไทยเป็นฐานในการลงทุน ต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบาย Thailand+1 ของรัฐบาลด้วย
ในช่วงพบปะหารือกันนั้นคณะนักลงทุนญี่ปุ่น ได้แสดงความสนใจ ในนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลและ ต้องการจะศึกษาลู่ทางการลงทุน รวมถึงการขยายการลงทุนต่อยอดและการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในไทย ที่กำหนดไว้มากขึ้น ซึ่งผมได้เล่าให้นักลงทุนญี่ปุ่นฟังถึงทิศทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของรัฐบาลไทย ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ ของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยผมได้เน้นย้ำ ความพยายามของรัฐบาลไทย ในการจะปรับปรุงในเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ (หรือ Ease of doing business) ให้กับนักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศเช่น การตั้ง “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS)” เพื่อให้การทำธุรกรรมในการประกอบธุรกิจ การขอหรือออกใบอนุญาตต่าง ๆ สามารถดำเนินการ ณ ที่เดียวได้โดยไม่ต้องวิ่งเอกสารไปยัง 6 - 7 กระทรวงเหมือนเดิม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญในกระบวนการเริ่มต้นของการลงทุน
นอกจากนี้ ผมได้อธิบายนโยบายของรัฐบาลนี้ในการส่งเสริมการลงทุนและทิศทางในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของการจัดตั้ง “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศตามกลไก “ประชารัฐ”ที่เราต้องการพัฒนาให้ EEC เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อจะยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมถึง จะเป็น “พื้นที่ยุทธศาสตร์” ของภูมิภาค และของโลก เพื่อจะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ “1 Belt 1 Road” ของจีน ทั้งในมิติการคมนาคมขนส่ง และ เชื่อมโยงเทคโนโลยีโดยการพัฒนา EEC ให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านอีกครั้งและต่อยอด “ยุคโชติช่วงชัชวาล” ในอดีต คือยุคสมัยที่เราทำอีสเทิร์นซีบอร์ด จนประสบความสำเร็จมาแล้วให้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยให้ประเทศไทยเป็น “ที่หมาย” ในการลงทุนขนาดใหญ่ และการเชื่อมโยงธุรกิจ และภาคการผลิตในทุกระดับ ทั้งนี้ EEC จะมีโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งที่เพียบพร้อม ทั้งทางบก ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ อาทิ ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด สนามบินอู่ตะเภา รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เหล่านี้ เป็นต้น
สำหรับการยกระดับด้านการบริหารจัดการและการให้บริการภาครัฐ นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เราจะทำอะไรใหม่ ๆ ก็ตามต้องปรับปรุงทั้งหมด รัฐบาลนี้ได้ผลักดันให้มี พ.ร.บ. EEC อันเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการขับเคลื่อน EEC ก็สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาล ในการสนับสนุนการลงทุนในโครงการนี้เพื่อจะให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาประเทศในระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลและนโยบายภาครัฐที่ชัดเจนเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของคณะนักลงทุนญี่ปุ่นเหล่านี้ในอนาคต เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนให้ได้ เพราะการลงทุนขนาดใหญ่นั้นมีความเสี่ยง การที่เขามาลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลก็เพื่อต้องการฐานการผลิตที่มั่นคง ดังนั้น ความไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงสำคัญ วันนี้รัฐบาลได้ทำให้เขาเห็นและทำให้เขาเกิดความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ผมได้เน้นย้ำในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางการเมืองโดยจะมุ่งบริหารประเทศตาม Roadmap ที่ชัดเจนเพื่อเดินหน้าประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ในแบบฉบับที่สอดคล้องกับบริบทของเรา ที่ไม่ขัดแย้งกับของสากลด้วย ทั้งนี้ เมื่อทุกอย่างลงตัว กระบวนการด้านกฎหมายมีความพร้อม ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ มีความปรองดอง เราก็จะมี “การเลือกตั้งทั่วไป” ในปีหน้า นอกจากนี้ การมียุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว 20 ปี ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยจะมีความต่อเนื่องและมั่นคง มีการปฏิรูปประเทศในทุก ๆ ด้าน ย่อมแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคต
นอกจากนั้น นโยบายที่มุ่งผลักดันประเทศไทยเข้าสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ การขับเคลื่อนประเทศด้วย “นวัตกรรม” เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค ที่ให้ความสำคัญกับการผลิต ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง เราก็ได้เตรียมการในด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องบุคลากร นโยบายสนับสนุนนวัตกรรมและการปรับกฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการลงทุน ซึ่งภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่น จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การถ่ายทอด การสร้างบุคลากรทางเทคนิคขั้นสูง เพื่อเข้าสู่ยุค 4.0 และ สามารถใช้ไทยเป็นฐาน ในการพัฒนาบุคลากร ในภูมิภาคร่วมกันในการดำเนินการเหล่านั้น ผ่านความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้ และบุคลากร ระหว่างกัน ในอนาคตต่อไป
คณะนักลงทุนญี่ปุ่น ได้ให้ความสนใจดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการประชุมร่วม มีการจับคู่สนทนา เจรจาเจรจาธุรกิจร่วมกันจำนวนมาก และได้ไปเยี่ยมชมพื้นที่ EEC ให้ความสนใจ ได้รับรายงานว่าจากการลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช และอื่น ๆ ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะของญี่ปุ่น รู้สึกพอใจที่ประเทศไทยเห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับญี่ปุ่น ที่เป็นมิตรอันดีของเราของเขาด้วย ภายใต้กรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 โดยรับทราบเจตนารมย์อันมุ่งมั่น และมีความเข้าใจ ต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย และยืนยันว่าบริษัทญี่ปุ่น ที่มีการลงทุนในไทยอยู่แล้ว จะขยายการลงทุนต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณ
ในช่วงที่ผ่านมานั้น น้ำท่วมในพื้นที่อุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งก็ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกไปเลย มีแต่ปรับปรุงและพัฒนาต่อก็แสดงว่า เขารักประเทศไทย มีความคุ้นเคย มีความพอใจ เราก็ต้องช่วยดูแลเขาด้วย เช่นเดียวกัน ต้องดูแลทุกประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทย เราคาดว่าจะมีนักลงทุนญี่ปุ่นรายใหม่ที่มีความเชื่อมั่น ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้มีโอกาสหารือในเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินสะอาด ซึ่งมีการทดสอบแล้ว ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันว่า มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก และมีความปลอดภัยต่อชุมชนอย่างไร ซึ่งเราก็ต้องศึกษา พิจารณากันต่อไป
ญี่ปุ่นพร้อมให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน - ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวกับไทย อีกทั้งยังมีความร่วมมือในสาขายานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นยินดีร่วมมือกับไทย ในการยกระดับให้ไทยเป็น “ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า” ที่สำคัญในภูมิภาคต่อไปด้วย วันนี้เขาคิดไปถึงระยะต่อไปหลังจากรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ เขาคิดต่อแล้วว่าจะพัฒนาไปสู่พลังงานไฮโดรเจนได้อย่างไร ผมคุยกับท่านรัฐมนตรีญี่ปุ่นมา ในส่วนของด้านการแพทย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจฯ ญี่ปุ่น ก็ได้นำคณะธุรกิจ และภาครัฐ ในสาขาการแพทย์ เข้าพบปะกับภาครัฐ และภาคเอกชนของไทย เพื่อแนะนำเครื่องมือทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพสูงของญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ การมาเยือนไทยของคณะนักลงทุนญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่เราได้เห็นการลงนามใน MOU และ MOI จำนวน 7 ฉบับ ระหว่างนักธุรกิจญี่ปุ่น กับนักธุรกิจไทย ซึ่งนับเป็นอีกก้าว ในการไปสู่ความสำเร็จของการส่งเสริมการค้า การลงทุน และ ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นเหนือกาลเวลาของทั้งสองประเทศด้วย ทั้งนี้ เรายังคงให้ความสำคัญกับทุกโครงการของมิตรประเทศของเรา ในสิ่งที่เรามีศักยภาพและ ตรงกับความต้องการของซึ่งกันและกัน
พี่น้องประชาชน ครับ
ต้นสัปดาห์หน้า วันที่ 18 - 19 กันยายนนี้ ผมและคณะรัฐมนตรี จะได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะพี่น้องประชาชน อีกครั้งโดยครั้งนี้จะเดินทางไปพบพี่น้องชาวสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ส่วนรัฐมนตรีต่าง ๆ ก็มีแผนที่จะกระจายกันลงปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐ เพราะผ่านไปแล้ว ออกนโยบายไปแล้ว ขับเคลื่อนไปแล้ว ก็ต้องติดตามประเมินผล ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกรัฐบาล กำกับดูแล เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมรับทราบปัญหา ข้อเรียกร้องจากพี่น้องประชาชนเพิ่มเติมเช่นเคย ในพื้นที่ก็ขอให้ส่ง ผมจะให้มีการเปิดศูนย์รับเรื่องความเดือดร้อน ข้อเสนอแนะอะไรต่าง ๆ ก็ส่งให้เขา ไม่ต้องตรวจดูให้ตรง เดี๋ยวก็ถึงผมเอง ไม่งั้นจะวุ่นวายสับสน มีปัญหาเรื่อง รปภ. อีก เพราะรัฐบาลนี้ เห็นว่า “ตำบล - ชุมชน -หมู่บ้าน” ประชาชนทุกหมู่เหล่านั้นแหละเป็น จุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ หากเราสามารถสร้างความเข้มแข็งในระดับฐานรากนี้ ได้สำเร็จ เหมือนกับเราปลูกต้นไม้มีรากแก้วที่มั่นคงประเทศชาติก็จะมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนด้วยถ้าประชาชนเราเข้มแข็ง ทราบว่ามีหลายโครงการ ทั้งในปัจจุบัน และในปีหน้า ตามแผนพัฒนาภาคกลาง เราบอกแล้วว่าเรามีการพัฒนาโครงการเป็นภาค 6 ภาคด้วยกัน ในการบริหารจัดการด้วยงบประมาณในแผนงานดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งผมต้องการรับทราบความคืบหน้า และ ลงไปแก้ปัญหาให้ โดยหยิบยกขึ้นมาสู่ “โต๊ะประชุม ครม.” เพื่อให้การสั่งการต่าง ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น อะไรทำได้ และต้องเร่งดำเนินการ ก็ให้ทำทันทีทั้งการเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตร เรื่องเกษตรแปลงใหญ่ - เกษตรปลอดภัย การยกระดับภาคอุตสาหกรรม การค้า และการลงทุน รวมทั้งการค้าชายแดน การพัฒนาโครงการพิเศษขนาดใหญ่ อาทิ โครงการเมืองสมุนไพร การบริหารจัดการน้ำ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงธรรมชาติ เชิงประวัติศาสตร์ และที่สำคัญ คือการพัฒนาสังคม การยกระดับคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมก็ดีใจที่จะได้ไปพบพี่น้องถึงถิ่นอาศัยของท่าน บางท่านอาจจะต้องเดินทางมาบ้าง เพราะเราไม่มีเวลามากขนาดนั้นที่จะไปเยี่ยมในทุกพื้นที่ ก็อยากให้มาทุกภาคส่วน รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการก็มีความกระตือรือร้นและเตรียมทำการบ้านล่วงหน้า ก่อนลงพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนสูงสุด ส่วนราชการต้องไม่สร้างภาระให้กับประชาชนในการต้อนรับ หรือมีพิธีการใหญ่โต ไปเอาเรื่องว่าเราจะทำงานกันยังไง พบปะประชาชนพ่อแม่พี่น้อง คนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกกลุ่ม ต้องไม่สร้างความเข้าใจผิด ให้ใครนำไปบิดเบือนได้เช่นที่ผ่านมา
รัฐบาลและ คสช. ต้องการลงไปรับทราบปัญหา และเร่งแก้ไข ไม่ใช่ไปสร้างคะแนนเสียง ความนิยมอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กันในปัจจุบัน ผมทำอะไรที่แตกต่าง เพราะวันนี้หลายคนก็อ้างว่าไม่มี สส.ไม่มีใครไปดูแล วันนี้เราก็มีศูนย์ดำรงธรรมรับข้อมูลอยู่แล้วทุกพื้นที่ระดับอำเภอ และคล้าย ๆ กับมี สส. อยู่แล้ว แต่เราไปรับทุกคน ทุกพวก ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะใครก็ตามทุกกลุ่ม และก็ขึ้นมา ที่ผ่านมาหลายล้านเรื่อง ก็แก้ปัญหาได้ประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ อะไรที่ซับซ้อน อะไรที่มีปัญหาเรื่องกฎหมายก็ต้องใช้เวลาบ้าง ยังไม่ทั่วถึงทั้งหมด เพราะมีจำนวนมากมายมหาศาล เรามีคนตั้งเกือบ 70 ล้านคน รายได้น้อยก็ 14 ล้านกว่า ต่ำกว่า 3 หมื่น 14 ล้านกว่าเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ อันนี้ผมก็จะนำผลการลงพื้นที่ดังกล่าวในรายการครั้งหน้า
สุดท้ายนี้ ผมอ่านหนังสือมาก หนังสือราชการ หนังสือนอก หนังสือทั่วไปในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมาผมได้ให้ข้อมูลมีหนังสือ 1 เล่มไม่ได้แจก ให้เฉพาะสรุปใบข้างหน้า 10 ข้อหลักการของเขาที่ผมให้เขาย่อมา มีชื่อว่า The Speed of Trust ให้ ครม. ไปอ่านหลักการไปก่อน แล้วค่อยไปหาหนังสืออ่านเพราะเล่มใหญ่ แล้วพิจารณาตนเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์เช่นกัน หากพี่น้องประชาชนได้รับทราบ รับฟังด้วย กล่าวโดยสรุปได้ว่า สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ หากขาดหายไปไม่ได้ ถ้าหากขาดหายไป เราจะไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทำงานหรือดำรงชีวิตอะไรก็ตาม แต่ถ้าสามารถสร้างขึ้นมาได้ ทั้งตนเอง ทั้งชุมชน ครอบครัว เพื่อนฝูงยิ่งมาก ก็จะยิ่งให้ประสบความสำเร็จ อันยิ่งใหญ่ สิ่งนั้นก็คือ “ความไว้วางใจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้ แต่ต้อง “แลกกันด้วยใจ” ต้อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ต้องพิสูจน์ตนเอง และผมหวังว่า “ความจริงใจ” ของผมที่มีต่อพี่น้องประชาชน และประเทศชาติจะสามารถสร้าง "ความไว้เนื้อเชื่อใจ" ให้กับทุกคน จนนำไปสู่ความเข้าใจและความร่วมมือกันในการช่วยกัน นำพาประเทศก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ และเดินหน้าต่อไป อย่างยั่งยืน
ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” มีความสุขในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ
เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาทรงรับการทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขากฎหมายจากมหาวิทยาลัยอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยเป็นที่ประจักษ์ ถึงพระปรีชาสามารถด้านกฎหมาย และพระกรณียกิจด้านกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ อาทิทรงริเริ่มโครงการช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังหญิงภายใต้ “โครงการกำลังใจ” ในปี 2549 ด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ และนอกจากนั้น โครงการนี้ ภายใต้พระดำริของพระเจ้าหลานเธอฯ ก็ได้แพร่ขยายความร่วมมือไปยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ อีกทั้งทรงผลักดันให้เกิดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ และมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นหญิง อันเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศฉบับใหม่ หรือที่เรียกว่า “ข้อกำหนดกรุงเทพ” ซึ่งที่ประชุมใหญ่องค์การสหประชาชาติ ได้มีมติให้การรับรองไว้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 จนนำไปสู่การจัดตั้ง “สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย” และในเวลาต่อมา เพื่อสานต่อพระกรณียกิจดังกล่าว นอกจากนี้ ถือเป็นเกียรติภูมิของประเทศไทยอย่างมาก ที่สหประชาชาติได้ถวายรางวัลเกียรติยศสูงสุดแด่พระเจ้าหลานเธอฯ ในฐานะที่ทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติ ในการที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิง และผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง นับเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ ที่พระบรมวงศานุวงศ์ ได้ทรงมีพระเมตตาโดยทรงริเริ่มและช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม แล้วก็เป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทย จะได้รำลึกถึงคุณูปการ ของพระเจ้าหลานเธอฯ อย่างมิอาจลืมเลือน ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีประวัติเก่าแก่ และมีชื่อเสียงในลำดับต้นของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขานิติศาสตร์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ จนเป็นที่ยอมรับ นับว่าเป็นสถาบันอุดมศึกษาของต่างประเทศแห่งที่ 2 ที่ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา หลังจากที่มหาวิทยาลัยชิคาโก-เค้นส์ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาในสาขาเดียวกันมาแล้ว ในปี 2555
ในการดังกล่าวนี้ พระเจ้าหลานเธอฯ ทรงมีพระดำรัสตอบรับ การถวายปริญญาฯ อันมีสาระสำคัญ ที่ผมขอเชิญมากล่าวซ้ำ สำหรับปวงชนชาวในวันนี้ คือ “...หลักนิติธรรมเป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ โดยทรงตระหนักอยู่เสมอว่าระบบยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ และทุกคนเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคนั้น มีความ สำคัญยิ่ง เพราะเป็นหลักประกันว่า เราทุกคนจะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาร่วมกัน ไม่ว่าจะคนผู้นั้นจะเป็นผู้ยากไร้ เด็ก เหยื่ออาชญากรรม ผู้ลี้ภัยจากสงคราม เหตุการณ์ความไม่สงบ ผู้ประสบภัยธรรมชาติ หรือ กลุ่มผู้เปราะบางอื่นใดในสังคม...”
ซึ่งในพระดำรัสดังกล่าวจะมีคำว่า “ความเสมอภาค” ที่สังคมของเรา ยังแยกความแตกต่างไม่ออก หรือ อาจยังไม่เข้าใจกับอีกคำ คือ “ความเท่าเทียม” หมายถึงการให้ทุกคนได้ทุกอย่าง เหมือนกัน เช่น โครงการรถเมล์ฟรีและรถไฟฟรี ซึ่งไม่ว่ายาก ดี มี จน ก็ได้รับสิทธิ์นี้ เท่าเทียมกัน แต่อาจจะกลับเป็นภาระด้านงบประมาณเกินไป ขัดหลักความคุ้มค่าอันเป็น “1 ใน 6” ของหลักธรรมาภิบาล
ดังนั้น รัฐบาลนี้ จึงเห็นว่า เราควรยึดแนวทาง “ความเสมอภาค” ซึ่งไม่ใช่ความเท่าเทียมเท่านั้น แต่หมายความว่าทุกคนจะได้รับ “โอกาสในการเข้าถึง...เหมือนกัน” แต่เราจะต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานก่อนว่าการจะทำให้เกิดความเท่าเทียมนั้นจะต้องให้มีความเสมอภาคกันก่อน จึงจะเกิด “ความยุติธรรม” ในสังคม ทั้งนี้ คนที่มีโอกาสน้อยที่สุดควรจะได้รับการช่วยเหลือส่งเสริมมากที่สุด ส่วนคนที่ได้เปรียบอยู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับอะไรมาเสริม หรือหนุนเนื่อง แต่ในทางกลับกัน อาจจะต้องเสียสละให้คนอื่นที่ไม่มีโอกาสอีกด้วย เช่น กรณีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่รัฐได้จัดทำเวลานี้ สำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง ไม่ใช่การเอามา “หารยาว” จึงสามารถลดภาระด้านงบประมาณได้บางส่วน แล้วนำไปเพิ่มเติมในกิจกรรมอื่น ๆ ได้ในอนาคต ซึ่งแนวคิดในการตั้ง “กองทุนชราภาพ” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งหากมีผู้สูงอายุ ที่มีกำลังทรัพย์ ดูแลตัวเองได้ ลูกหลานดูแลได้ สละสิทธิ์สวัสดิการในส่วนนี้ของตนเอง เพียง 10% จากการประเมินเบื้องต้นทราบว่าจะมีเงินเข้ากองทุนชราภาพนี้ราว 4,000 ล้านบาทต่อปี รัฐบาลก็สามารถดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยได้ดีกว่าในปัจจุบัน เป็นต้น ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจหลักการข้อนี้ และหลักคิดของรัฐบาลนี้ ในการบริหารประเทศด้วย จะได้ไม่มีใครหยิบยกเป็นประเด็นบิดเบือน ด้วยการว่ามีช่องว่าง ของความไม่เข้าใจจนนำไปสู่ความไม่ไว้ใจกัน
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
การขับเคลื่อนประเทศ ให้ผ่านพ้นประเทศรายได้ปานกลาง คือการสนับสนุน ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วน ได้มีการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ ๆ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อจะยกระดับศักยภาพให้กับภาคการผลิต ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และ ภาคบริการของประเทศ อื่น ๆ ด้วย เรามักจะมองว่าการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าต้องมาจากการคิดค้น ที่มีเงินลงทุนจำนวนมาก มหาศาล เหล่านี้ จำเป็นต้องมีการผลิตของโรงงานขนาดใหญ่ แต่ที่จริงแล้วนั้น การสร้างมูลค่าให้กับสินค้าไม่จำเป็น ที่ต้องใช้ต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลเสมอไป เราทำแบบของเรา แบบไทย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปก็ได้ เช่น พี่น้องเกษตรกรก็สามารถแปรรูปผลผลิต เพิ่มเติมจากการขายผลผลิตที่เป็นผลไม้สด อาหารสด หรืออื่น ๆ อาจจะใช้วิธีการตากแดด อบแห้ง หรือ ใช้เครื่องจักรในการแพ็คอาหารแบบสุญญากาศ ซึ่งก็จะช่วยถนอมอาหาร เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ยืดอายุสินค้าเกษตร สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร แล้วขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งทางไปรษณีย์ เหล่านี้เราเรียกว่าเป็นการใช้นวัตกรรม ใช้ดิจิตอลมาเสริมในการสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน โดยขณะนี้ “ยุค 4.0” ไม่ใช่เป็นเรื่องไกลตัว เพราะในชีวิตประจำวันนี้ เทคโนโลยีดิจิทัล และสารสนเทศใกล้ตัวและอยู่รอบตัวเราแล้ว เช่น วันนี้เราใช้โทรศัพท์ ใช้สมาร์ทโฟนในมือท่านก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เพราะนอกจากท่านสามารถสืบค้นหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ได้เพียงจากปลายนิ้วสัมผัสแล้ว ท่านยังสามารถเชื่อมโยง สร้างเครือข่ายสำหรับการทำงาน การทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ทั้งนี้ เพียงเราทุกคนรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างโอกาส สร้างรายได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพวกเราทุกคน
ผมขอชื่นชมเกษตรกรจำนวนมากที่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีการพัฒนาตนเองร่วมมือกับรัฐในโครงการต่าง ๆ จนเกิดผลเป็นรูปธรรม สร้างมูลค่าเพิ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้วจำนวนมาก ทั้งสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ทั้งการค้าขายออนไลน์มีการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงการทำงานในภาคการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น ทำปศุสัตว์มากขึ้น แล้วก็ใช้ประโยชน์จาก Agri Map แผนที่ทางการเกษตร ที่ระบุไว้เรื่องดิน เรื่องน้ำ แล้วพื้นที่ ๆ เหมาะสมในการปลูกพืชแต่ละชนิด และข้อมูลทันสมัยต่างๆ ที่เราได้แพร่ออกไปในปัจจุบันมาประกอบการทำเกษตรกรรม แล้วนำตัวอย่างจากบรรดาปราชญ์ชาวบ้าน หรือ สปก. ของกระทรวงเกษตรที่จัดตั้งขึ้นนั้นมีการแพร่กระจายกันกว้างไกลออกไป มีการพัฒนากระบวนการผลิตที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ส่วนในเรื่องของการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้น ผมเคยบอกไว้แล้วว่าเราประเทศไทยต้องเจริญไปด้วยกันในทุกภาคส่วน เจริญได้ 2 อย่าง คือเจริญจากภายใน เข้มแข็งจากภายในที่เรากำลังเสริมสร้างวันนี้ แล้วเสริมด้วยจากภายนอกจากต่างประเทศด้วย อะไรด้วยมาช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนไปมาเหล่านี้ จะทำให้พี่น้องประชาชนคนไทยนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในส่วนของการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่นั้นเราจำเป็นต้องทำควบคู่กันไปด้วย กับในส่วนเล็กๆ ที่เราทำกันอยู่ ไม่ว่าจะภายใน ระดับพื้นที่ ระดับชุมชนหรือกลุ่มต่าง ๆ เหล่านั้น ในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการ เราจะต้องเติบโตพร้อม ๆ กันไปอย่างสมดุล รัฐบาลก็ได้เห็นชอบในหลักการ ในเรื่องของมาตรในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิต ธุรกิจบริการ ให้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยการใช้หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติทดแทนบ้าง มากยิ่งขึ้นรวมทั้ง การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในด้านต้นทุนการผลิตของประเทศ อาทิ มาตรการภาษี มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 สำหรับกิจการที่นำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้เป็นเวลา 3 ปี ก็คาดว่ามาตรการนี้จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใช้หุ่นยนต์ ในปีแรกได้ 12,000 ล้านบาทนะครับ และในระยะ 5 ปี ต่อไป จะเกิดการลงทุนในห่วงโซ่การผลิตไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท เราจะ สามารถทดแทนการนำเข้าหุ่นยนต์ได้ 30% จากเดิมที่มีการขาดทุนแต่ละปีกว่า 1.3 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ รัฐบาลก็มีแนวทาง ในการที่จะให้การสนับสนุนผ่านกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวทางประชารัฐ แล้วสนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานภาครัฐ ในการจัดซื้อจัดจ้างหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ผลิตในประเทศได้อีกด้วย เราต้องคิดร่วมกันว่าทำอย่างไร เราจะสร้างความสมดุลในการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี่สมัยใหม่ กับในเรืองของการจ้างแรงงานในประเทศของเรา ที่ยังคงมีความจำเป็นอยู่ในการประกอบอาชีพ เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาฝีมือแรงงานของเราให้มากขึ้น คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ทุกคนก็ต้องยอมรับว่าไม่ค่อยชอบการทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก เป็นสาเหตุสำคัญในการที่เรามีความจำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวในขณะนี้ แต่ต้องอย่าลืมว่า เมื่อถึงเวลาที่ประเทศเขามีการพัฒนา เขาก็กลับไปทำงานที่ประเทศเขา เราก็จะขาดแคลนแรงงานทันที เพราะฉะนั้นอยากจะให้ทุกคนได้เข้าใจด้วย แรงงานไทยก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นหัวหน้างาน ไปสู่การทำงานที่ใช้เทคโนโลยีได้มากขึ้น ตัวเองก็จะได้รายได้มากขึ้น ถ้าส่วนใหญ่ไปอยู่ในภาคการท่องเที่ยวและบริการในอนาคตอาจจะมากเกินไป เกินความจำเป็นจนหางานทำได้ยาก เพราะฉะนั้นต้องไปทั้ง 2 ทางนั่นแหละ
ทั้งนี้ การเตรียมความพร้อมของคนในประเทศนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ก็ไม่อยากให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานเป็นกังวล แต่ควรแปลงความกังวลเหล่านั้นเป็นการปรับตัว เรียนรู้และยกระดับตัวเอง เพิ่มทักษะในการทำงาน เช่น จากผู้ใช้แรงงานที่เป็นเพียงควบคุมการทำงานแบบง่าย ๆ วันนี้ก็ต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การมีความรู้ เป็นผู้ควบคุมเครื่องจักรกล หุ่นยนต์ได้ ซึ่งคงต้องหาความรู้เพิ่มเติมอีกมากมาย สำหรับค่าแรง ค่าจ้าง ก็จะสูงขึ้น ตามทักษะ แล้วก็มาตรฐานในการทำงานที่มากขึ้นด้วย มีการใช้สติ ปัญญา มากยิ่งขึ้น ใช้ฝีมือ ใช้ความรู้มากขึ้นรัฐบาลได้ให้ความเห็นชอบในหลักการสำหรับการจัดให้มีการจัดฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร จำนวน 1,500 คน ภายใน 5 ปีนะครับ ในการที่จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือแลกเปลี่ยนความรู้ และการจัดสัมมนาธุรกิจและวิชาการหุ่นยนต์ระดับชาติและนานาชาติอันนี้เป็นสิ่งจำเป็นนะครับ ต้องเตรียมการเพื่ออนาคต เมื่อเราขาดแรงงานจากต่างประเทศนะครับโดย ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พิจารณาแนวทางการประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ ประเทศอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์หุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ อาทิ ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน สหรัฐฯ เหล่านี้เป็นต้น เพื่อนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง มาประยุกต์ใช้ ตามห้วงระยะเวลาที่เหมาะสม ในการที่จะปรับปรุงพัฒนาอุตสาหกรรม ของไทยให้เหมาะสมต่อไป นี่คือโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ก็ไปทางโน้น ของเดิมเราก็พัฒนาไปพร้อมๆ กันด้วย
ขออย่ากังวลว่าจะไม่มีงานทำ ตราบใดทีประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ทางด้านภูมิศาสตร์แล้ว ยังไงเราก็มีศักยภาพ ถ้าเราช่วยกันพัฒนาตนเอง สร้างงานให้มากขึ้น ก็จะทำให้เครือข่าย หรือว่าห่วงโซ่ในเรื่องของการทำงาน ห่วงโซ่ในเรื่องรายได้ ห่วงโซ่ในเรื่องของการผลิต การแปรรูป การตลาด ก็จะกว้างขวางยิ่งขึ้น รัฐบาลกำลังทำทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก แต่เราก็ต้องทำให้เต็มที่
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ผ่านมา เมื่อสัปดาห์ก่อนก็ได้มีการนำ “YuMi หุ่นยนต์อัจฉริยะชงกาแฟ” ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตยุค 4.0 muj ที่สามารถการทำงานร่วมกับมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ไม่เป็นอันตราย มีความแม่นยำ และคล่องแคล่วสูง สามารถตั้งโปรแกรมในการใช้งานในหลากหลายลักษณะ
ผมอยากเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้พาครอบครัว ลูกหลาน นักเรียนนักศึกษา ข้าราชการ และหน่วยงาน ภาครัฐ นักธุรกิจ SMEs Startup และผู้สนใจเรื่องดิจิทัลมาร่วมในกิจกรรม งานนิทรรศการนานาชาติ Digital Thailand Big Bang 2017 ซึ่งเป็นมหกรรมการแสดงนิทรรศการนานาชาติ ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะเห็นได้ว่าถ้าบ้านเมืองเราสงบก็มีการจัดงานต่าง ๆ มากมายในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย อันนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน 2560 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 และ 2 ศูนย์ประชุมอิมแพคเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ภายใต้สโลแกน Digital Transformation โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน อันนี้เป็นชื่อของสโลแกน ชื่อของงาน เป็นการเข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายทุกรายการ ผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติม ในรายละเอียดตามช่องทางต่าง ๆ ที่ปรากฎบนหน้าจอ ทุกคนเกี่ยวข้องกันทั้งหมด ใครส่วนหนึ่งมีความสามารถก็ใช้ไป อันไหนที่อยากจะพัฒนาตนเองก็ไปเรียนรู้เรื่องการบังคับเครื่องมือ ใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะเป็นการเพิ่มรายได้ของเราในอนาคต ถ้าอยู่ที่เดิมก็เท่าเดิม มุ่งหวังแต่เพียงอย่างเดียวให้ขึ้นค่าแรง ๆ อย่างเดียวก็คงเป็นไปได้ยาก ก็ต้องช่วยกันทั้งหมดหลายมาตรการด้วยกันพวกเราอย่ากังวลว่าจะตกงาน เพราะเป็นการใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์นั้นเราทดแทนในอุตสาหกรรมที่มีอันตราย มีมาตรฐานสูง ต้องการความปลอดภัยสูง หรือแม้กระทั่งในการใช้ในครัวเรือน ก็จะใช้ในการดูแลคนไข้ผู้สูงอายุ สำหรับผู้ที่มีกำลังทรัพย์สามารถจะไปซื้อหามาใช้งานได้ อื่น ๆ ถ้ากำลังทรัพย์ไม่พอก็คงต้องใช้แรงงานอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ต้องพัฒนาแรงงานให้มากยิ่งขึ้น ก็ขอเชิญชวนพี่น้องคนไทยที่ทำงานอยู่ภาคบริการ ท่องเที่ยวอะไรต่าง ๆ มากมาย ต้องไปเรียนรู้ในเรื่องเหล่านี้ด้วย เผื่อวันหน้ามีปัญหาเราจะได้มีงานทำทางด้านนี้อีก
ผมอยากให้พี่น้องสื่อมวลชนทุกแขนง ได้นำบรรยากาศ จินตนาการ วิสัยทัศน์ องค์ความรู้ แห่งอนาคตภายในงาน ช่วยกันเผยแพร่ไปสู่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เพราะเป็นการจัดงานระดับชาติเมื่อใช้จ่ายงบประมาณแล้วก็อยากให้คุ้มค่าที่สุด ไม่ใช่เพียงคนในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเท่านั้น ผมอยากให้คนไทยทั้ง 65 ล้านคนได้มีโอกาส ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ต่าง ๆ ผ่านช่องทางสื่อมวลชน และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว แต่อาจไม่ทั่วถึง หรือไม่ตื่นตาตื่นใจ เท่ากับสื่อมืออาชีพ เราก็ต้องขอร้อง ขอให้ท่านร่วมมือช่วยเหลือในการนำเสนอด้วย เพราะเป็นกิจกรรมที่ดี กิจกรรมภายในงานก็ล้วนแต่เป็นสาธารณะประโยชน์ ตอบโจทย์นโยบาย “ประเทศไทย 4.0” แล้วเราก็ไม่ลืมคน 1.0, 2.0, 3.0 ไปด้วย ว่าจะใช้กันตรงไหนอย่างไร ไม่ใช่ทั้งหมดจะเลิก อันนี้ไปใช้อันโน้นอย่างเดียวเป็นไปไม่ได้
อยากจะฝากถึง “เน็ต-ไอดอล” หรือ “ยู-ทูบเบอร์” ที่ปกติก็จะมีการแชร์ประสบการณ์ นำเสนอสิ่งต่าง ๆ สู่สายตา “ผู้ติดตาม (Followers)” ของท่าน ที่เป็นเยาวชนอยู่แล้ว ผมก็อยากให้ชักชวนกัน มานำเสนอในมุมมองที่จะเป็นประโยชน์ต่อเยาวชนเกี่ยวกับกิจกรรมในงานนี้ ขอให้ใช้ “พรสวรรค์ - ความริเริ่ม” ของท่าน มาช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ เพราะท่านก็เป็นส่วนหนึ่งของกลไกประชารัฐ ด้วย ผมเชื่อว่าจะเป็นการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลาย ๆ คน ในการเข้าสู่วงการดิจิทัล หุ่นยนต์ เครื่องจักรอัจฉริยะของประเทศในอนาคต
ผมอยากให้ทุกคนสนใจเรื่องนี้ให้มาก ๆ มีแนวโน้มใช้กันมากขึ้นในโลกอนาคต อันนี้ทุกคนในประเทศไทยมีการใช้โทรศัพท์ ใช้สมาร์ทโฟนกันมากอยู่แล้ว หรืออาจจะถือได้ว่ามากลำดับแรก ๆ ของอาเซียนเลย ของโลกด้วยซ้ำไป ในสัดส่วนของ 60 กว่าล้าน ผมทราบตัวเลขคร่าว ๆ 50 กว่าล้าน ใช้กันหมดแล้ว ใช้ให้เกิดประโยชน์
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ในช่วงต้นอาทิตย์ที่ผ่านมา ไทยเราได้มีโอกาสต้อนรับคณะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น เกือบ 600 ราย เป็นมิตรประเทศที่สำคัญของเรา ที่นำโดยนายฮิโรชิ เซโกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่น หรือ “เมติ” (METI) ตามที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้เรียนเชิญไว้ในระหว่างการเดินทางไปเข้าร่วมประชุมที่ประเทศญี่ปุ่น ในนามของรัฐบาลในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ความเป็นมาก็คือ ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นนั้น เรามีความสัมพันธ์อันดีทางการทูต ระหว่างกันมาอย่างยาวนานและแน่นแฟ้น ทั้งระดับสถาบัน ระดับรัฐบาล และระดับประชาชน มีการไปมาหาสู่กัน มีประวัติศาสตร์ร่วมกันมาในอดีต ซึ่งจะครบรอบ 130 ปี ในวันที่ 26 กันยายน 2560 นี้ ญี่ปุ่นนั้นเป็นมิตรประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศของไทยมาอย่างต่อเนื่องซึ่งในด้านการค้า ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในคู่ค้าหลัก อันดับต้น ๆ ของไทยมาโดยตลอด จนถึงในปัจจุบัน ในปีที่ผ่านมาประเทศไทยนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 15.8 ของการนำเข้าทั้งหมดและ เป็นประเทศที่ไทยส่งออกสินค้าไปเป็นอันดับ 3 รองจากสหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งคิดเป็นประมาณ ร้อยละ 9.5 ของการส่งออกทั้งหมด ในช่วงที่ทั้งสองประเทศ อยู่ระหว่างการฟื้นตัวนั้น มูลค่าการค้าระหว่างกัน ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาตามลำดับ เมื่อเทียบในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ไทยเรายังคงเป็นตลาดส่งออก ที่สำคัญที่สุดของญี่ปุ่นด้วย
สำหรับเรื่องการลงทุนนั้น ประเทศญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยบริษัทญี่ปุ่นมีการลงทุน ถึง 1 ใน 5 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงการลงทุนใน SMEs และธุรกิจท้องถิ่นของญี่ปุ่น ที่เข้ามาใช้ไทยเป็นฐานในการลงทุน ต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น สอดคล้องกับนโยบาย Thailand+1 ของรัฐบาลด้วย
ในช่วงพบปะหารือกันนั้นคณะนักลงทุนญี่ปุ่น ได้แสดงความสนใจ ในนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลและ ต้องการจะศึกษาลู่ทางการลงทุน รวมถึงการขยายการลงทุนต่อยอดและการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในไทย ที่กำหนดไว้มากขึ้น ซึ่งผมได้เล่าให้นักลงทุนญี่ปุ่นฟังถึงทิศทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของรัฐบาลไทย ที่จะช่วยสร้างความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ ของนักลงทุนชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยผมได้เน้นย้ำ ความพยายามของรัฐบาลไทย ในการจะปรับปรุงในเรื่องของการอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ (หรือ Ease of doing business) ให้กับนักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศเช่น การตั้ง “ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (OSS)” เพื่อให้การทำธุรกรรมในการประกอบธุรกิจ การขอหรือออกใบอนุญาตต่าง ๆ สามารถดำเนินการ ณ ที่เดียวได้โดยไม่ต้องวิ่งเอกสารไปยัง 6 - 7 กระทรวงเหมือนเดิม หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เหมือนเช่นในอดีตที่ผ่านมา ถือเป็นอุปสรรคที่สำคัญในกระบวนการเริ่มต้นของการลงทุน
นอกจากนี้ ผมได้อธิบายนโยบายของรัฐบาลนี้ในการส่งเสริมการลงทุนและทิศทางในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของการจัดตั้ง “ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศตามกลไก “ประชารัฐ”ที่เราต้องการพัฒนาให้ EEC เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่ดีที่สุดและทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาเซียน เพื่อจะยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวมถึง จะเป็น “พื้นที่ยุทธศาสตร์” ของภูมิภาค และของโลก เพื่อจะเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ “1 Belt 1 Road” ของจีน ทั้งในมิติการคมนาคมขนส่ง และ เชื่อมโยงเทคโนโลยีโดยการพัฒนา EEC ให้มีความพร้อมในทุก ๆ ด้านอีกครั้งและต่อยอด “ยุคโชติช่วงชัชวาล” ในอดีต คือยุคสมัยที่เราทำอีสเทิร์นซีบอร์ด จนประสบความสำเร็จมาแล้วให้มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น โดยให้ประเทศไทยเป็น “ที่หมาย” ในการลงทุนขนาดใหญ่ และการเชื่อมโยงธุรกิจ และภาคการผลิตในทุกระดับ ทั้งนี้ EEC จะมีโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคมขนส่งที่เพียบพร้อม ทั้งทางบก ทางราง ทางทะเล และทางอากาศ อาทิ ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด สนามบินอู่ตะเภา รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เหล่านี้ เป็นต้น
สำหรับการยกระดับด้านการบริหารจัดการและการให้บริการภาครัฐ นับว่ามีความสำคัญอย่างมาก เราจะทำอะไรใหม่ ๆ ก็ตามต้องปรับปรุงทั้งหมด รัฐบาลนี้ได้ผลักดันให้มี พ.ร.บ. EEC อันเป็นเครื่องมือสำคัญ ในการขับเคลื่อน EEC ก็สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาล ในการสนับสนุนการลงทุนในโครงการนี้เพื่อจะให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาประเทศในระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ ข้อมูลและนโยบายภาครัฐที่ชัดเจนเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยของคณะนักลงทุนญี่ปุ่นเหล่านี้ในอนาคต เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนให้ได้ เพราะการลงทุนขนาดใหญ่นั้นมีความเสี่ยง การที่เขามาลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลก็เพื่อต้องการฐานการผลิตที่มั่นคง ดังนั้น ความไว้เนื้อเชื่อใจกันจึงสำคัญ วันนี้รัฐบาลได้ทำให้เขาเห็นและทำให้เขาเกิดความมั่นใจให้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนั้น ผมได้เน้นย้ำในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะทางการเมืองโดยจะมุ่งบริหารประเทศตาม Roadmap ที่ชัดเจนเพื่อเดินหน้าประเทศไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ในแบบฉบับที่สอดคล้องกับบริบทของเรา ที่ไม่ขัดแย้งกับของสากลด้วย ทั้งนี้ เมื่อทุกอย่างลงตัว กระบวนการด้านกฎหมายมีความพร้อม ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ มีความปรองดอง เราก็จะมี “การเลือกตั้งทั่วไป” ในปีหน้า นอกจากนี้ การมียุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว 20 ปี ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่สะท้อนว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของไทยจะมีความต่อเนื่องและมั่นคง มีการปฏิรูปประเทศในทุก ๆ ด้าน ย่อมแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคต
นอกจากนั้น นโยบายที่มุ่งผลักดันประเทศไทยเข้าสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0” หรือ การขับเคลื่อนประเทศด้วย “นวัตกรรม” เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุค ที่ให้ความสำคัญกับการผลิต ด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง เราก็ได้เตรียมการในด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องบุคลากร นโยบายสนับสนุนนวัตกรรมและการปรับกฎระเบียบ ให้เอื้อต่อการลงทุน ซึ่งภาครัฐและเอกชนของญี่ปุ่น จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การถ่ายทอด การสร้างบุคลากรทางเทคนิคขั้นสูง เพื่อเข้าสู่ยุค 4.0 และ สามารถใช้ไทยเป็นฐาน ในการพัฒนาบุคลากร ในภูมิภาคร่วมกันในการดำเนินการเหล่านั้น ผ่านความร่วมมือ การแลกเปลี่ยนความรู้ และบุคลากร ระหว่างกัน ในอนาคตต่อไป
คณะนักลงทุนญี่ปุ่น ได้ให้ความสนใจดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน มีการประชุมร่วม มีการจับคู่สนทนา เจรจาเจรจาธุรกิจร่วมกันจำนวนมาก และได้ไปเยี่ยมชมพื้นที่ EEC ให้ความสนใจ ได้รับรายงานว่าจากการลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมเหมราช และอื่น ๆ ด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะของญี่ปุ่น รู้สึกพอใจที่ประเทศไทยเห็นความสำคัญในการทำงานร่วมกับญี่ปุ่น ที่เป็นมิตรอันดีของเราของเขาด้วย ภายใต้กรอบการพัฒนาประเทศไทย 4.0 โดยรับทราบเจตนารมย์อันมุ่งมั่น และมีความเข้าใจ ต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนของไทย และยืนยันว่าบริษัทญี่ปุ่น ที่มีการลงทุนในไทยอยู่แล้ว จะขยายการลงทุนต่อเนื่อง ต้องขอขอบคุณ
ในช่วงที่ผ่านมานั้น น้ำท่วมในพื้นที่อุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งก็ไม่ได้ย้ายฐานการผลิตออกไปเลย มีแต่ปรับปรุงและพัฒนาต่อก็แสดงว่า เขารักประเทศไทย มีความคุ้นเคย มีความพอใจ เราก็ต้องช่วยดูแลเขาด้วย เช่นเดียวกัน ต้องดูแลทุกประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทย เราคาดว่าจะมีนักลงทุนญี่ปุ่นรายใหม่ที่มีความเชื่อมั่น ตัดสินใจเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้มีโอกาสหารือในเรื่องโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินสะอาด ซึ่งมีการทดสอบแล้ว ที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันว่า มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก และมีความปลอดภัยต่อชุมชนอย่างไร ซึ่งเราก็ต้องศึกษา พิจารณากันต่อไป
ญี่ปุ่นพร้อมให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน - ถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวกับไทย อีกทั้งยังมีความร่วมมือในสาขายานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นยินดีร่วมมือกับไทย ในการยกระดับให้ไทยเป็น “ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า” ที่สำคัญในภูมิภาคต่อไปด้วย วันนี้เขาคิดไปถึงระยะต่อไปหลังจากรถไฟฟ้าแล้วเสร็จ เขาคิดต่อแล้วว่าจะพัฒนาไปสู่พลังงานไฮโดรเจนได้อย่างไร ผมคุยกับท่านรัฐมนตรีญี่ปุ่นมา ในส่วนของด้านการแพทย์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจฯ ญี่ปุ่น ก็ได้นำคณะธุรกิจ และภาครัฐ ในสาขาการแพทย์ เข้าพบปะกับภาครัฐ และภาคเอกชนของไทย เพื่อแนะนำเครื่องมือทางการแพทย์ ที่มีคุณภาพสูงของญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้ไทยและญี่ปุ่นมีความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือทางการแพทย์ อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ การมาเยือนไทยของคณะนักลงทุนญี่ปุ่นในครั้งนี้ เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง ที่เราได้เห็นการลงนามใน MOU และ MOI จำนวน 7 ฉบับ ระหว่างนักธุรกิจญี่ปุ่น กับนักธุรกิจไทย ซึ่งนับเป็นอีกก้าว ในการไปสู่ความสำเร็จของการส่งเสริมการค้า การลงทุน และ ตอกย้ำถึงความสัมพันธ์ที่แนบแน่นเหนือกาลเวลาของทั้งสองประเทศด้วย ทั้งนี้ เรายังคงให้ความสำคัญกับทุกโครงการของมิตรประเทศของเรา ในสิ่งที่เรามีศักยภาพและ ตรงกับความต้องการของซึ่งกันและกัน
พี่น้องประชาชน ครับ
ต้นสัปดาห์หน้า วันที่ 18 - 19 กันยายนนี้ ผมและคณะรัฐมนตรี จะได้ลงพื้นที่เพื่อพบปะพี่น้องประชาชน อีกครั้งโดยครั้งนี้จะเดินทางไปพบพี่น้องชาวสุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ส่วนรัฐมนตรีต่าง ๆ ก็มีแผนที่จะกระจายกันลงปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐ เพราะผ่านไปแล้ว ออกนโยบายไปแล้ว ขับเคลื่อนไปแล้ว ก็ต้องติดตามประเมินผล ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลทุกรัฐบาล กำกับดูแล เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
ทั้งนี้ รัฐบาลพร้อมรับทราบปัญหา ข้อเรียกร้องจากพี่น้องประชาชนเพิ่มเติมเช่นเคย ในพื้นที่ก็ขอให้ส่ง ผมจะให้มีการเปิดศูนย์รับเรื่องความเดือดร้อน ข้อเสนอแนะอะไรต่าง ๆ ก็ส่งให้เขา ไม่ต้องตรวจดูให้ตรง เดี๋ยวก็ถึงผมเอง ไม่งั้นจะวุ่นวายสับสน มีปัญหาเรื่อง รปภ. อีก เพราะรัฐบาลนี้ เห็นว่า “ตำบล - ชุมชน -หมู่บ้าน” ประชาชนทุกหมู่เหล่านั้นแหละเป็น จุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศ หากเราสามารถสร้างความเข้มแข็งในระดับฐานรากนี้ ได้สำเร็จ เหมือนกับเราปลูกต้นไม้มีรากแก้วที่มั่นคงประเทศชาติก็จะมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนด้วยถ้าประชาชนเราเข้มแข็ง ทราบว่ามีหลายโครงการ ทั้งในปัจจุบัน และในปีหน้า ตามแผนพัฒนาภาคกลาง เราบอกแล้วว่าเรามีการพัฒนาโครงการเป็นภาค 6 ภาคด้วยกัน ในการบริหารจัดการด้วยงบประมาณในแผนงานดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งผมต้องการรับทราบความคืบหน้า และ ลงไปแก้ปัญหาให้ โดยหยิบยกขึ้นมาสู่ “โต๊ะประชุม ครม.” เพื่อให้การสั่งการต่าง ๆ รวดเร็วยิ่งขึ้น อะไรทำได้ และต้องเร่งดำเนินการ ก็ให้ทำทันทีทั้งการเพิ่มศักยภาพภาคการเกษตร เรื่องเกษตรแปลงใหญ่ - เกษตรปลอดภัย การยกระดับภาคอุตสาหกรรม การค้า และการลงทุน รวมทั้งการค้าชายแดน การพัฒนาโครงการพิเศษขนาดใหญ่ อาทิ โครงการเมืองสมุนไพร การบริหารจัดการน้ำ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เชิงธรรมชาติ เชิงประวัติศาสตร์ และที่สำคัญ คือการพัฒนาสังคม การยกระดับคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมก็ดีใจที่จะได้ไปพบพี่น้องถึงถิ่นอาศัยของท่าน บางท่านอาจจะต้องเดินทางมาบ้าง เพราะเราไม่มีเวลามากขนาดนั้นที่จะไปเยี่ยมในทุกพื้นที่ ก็อยากให้มาทุกภาคส่วน รัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการก็มีความกระตือรือร้นและเตรียมทำการบ้านล่วงหน้า ก่อนลงพื้นที่ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนสูงสุด ส่วนราชการต้องไม่สร้างภาระให้กับประชาชนในการต้อนรับ หรือมีพิธีการใหญ่โต ไปเอาเรื่องว่าเราจะทำงานกันยังไง พบปะประชาชนพ่อแม่พี่น้อง คนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกกลุ่ม ต้องไม่สร้างความเข้าใจผิด ให้ใครนำไปบิดเบือนได้เช่นที่ผ่านมา
รัฐบาลและ คสช. ต้องการลงไปรับทราบปัญหา และเร่งแก้ไข ไม่ใช่ไปสร้างคะแนนเสียง ความนิยมอย่างที่วิพากษ์วิจารณ์กันในปัจจุบัน ผมทำอะไรที่แตกต่าง เพราะวันนี้หลายคนก็อ้างว่าไม่มี สส.ไม่มีใครไปดูแล วันนี้เราก็มีศูนย์ดำรงธรรมรับข้อมูลอยู่แล้วทุกพื้นที่ระดับอำเภอ และคล้าย ๆ กับมี สส. อยู่แล้ว แต่เราไปรับทุกคน ทุกพวก ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะใครก็ตามทุกกลุ่ม และก็ขึ้นมา ที่ผ่านมาหลายล้านเรื่อง ก็แก้ปัญหาได้ประมาณ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ อะไรที่ซับซ้อน อะไรที่มีปัญหาเรื่องกฎหมายก็ต้องใช้เวลาบ้าง ยังไม่ทั่วถึงทั้งหมด เพราะมีจำนวนมากมายมหาศาล เรามีคนตั้งเกือบ 70 ล้านคน รายได้น้อยก็ 14 ล้านกว่า ต่ำกว่า 3 หมื่น 14 ล้านกว่าเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ อันนี้ผมก็จะนำผลการลงพื้นที่ดังกล่าวในรายการครั้งหน้า
สุดท้ายนี้ ผมอ่านหนังสือมาก หนังสือราชการ หนังสือนอก หนังสือทั่วไปในการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมาผมได้ให้ข้อมูลมีหนังสือ 1 เล่มไม่ได้แจก ให้เฉพาะสรุปใบข้างหน้า 10 ข้อหลักการของเขาที่ผมให้เขาย่อมา มีชื่อว่า The Speed of Trust ให้ ครม. ไปอ่านหลักการไปก่อน แล้วค่อยไปหาหนังสืออ่านเพราะเล่มใหญ่ แล้วพิจารณาตนเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นประโยชน์เช่นกัน หากพี่น้องประชาชนได้รับทราบ รับฟังด้วย กล่าวโดยสรุปได้ว่า สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ หากขาดหายไปไม่ได้ ถ้าหากขาดหายไป เราจะไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทำงานหรือดำรงชีวิตอะไรก็ตาม แต่ถ้าสามารถสร้างขึ้นมาได้ ทั้งตนเอง ทั้งชุมชน ครอบครัว เพื่อนฝูงยิ่งมาก ก็จะยิ่งให้ประสบความสำเร็จ อันยิ่งใหญ่ สิ่งนั้นก็คือ “ความไว้วางใจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่บังคับไม่ได้ แต่ต้อง “แลกกันด้วยใจ” ต้อง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ต้องพิสูจน์ตนเอง และผมหวังว่า “ความจริงใจ” ของผมที่มีต่อพี่น้องประชาชน และประเทศชาติจะสามารถสร้าง "ความไว้เนื้อเชื่อใจ" ให้กับทุกคน จนนำไปสู่ความเข้าใจและความร่วมมือกันในการช่วยกัน นำพาประเทศก้าวข้ามอุปสรรคต่าง ๆ และเดินหน้าต่อไป อย่างยั่งยืน
ขอบคุณครับ ขอให้ “ทุกคน” มีความสุขในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น