หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2560

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

title

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2560

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2560 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
 
ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูรทรงพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยมาโดยตลอดและด้วยพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรงสืบสาน รักษา และต่อยอดแนวพระราชดำริของสมเด็จพระบรมชนกนาถ และสมเด็จพระบรมราชชนนี ที่ทรงคุณอเนกอนันต์ และสร้างสุขแก่ปวงประชา  จึงพระราชทานพระราชานุญาตให้จัดทำ โครงการ “จิตอาสาเฉพาะกิจงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ” ขึ้น ตามที่ผมได้นำมากล่าวในรายการนี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั้น  ทราบว่าปัจจุบัน มีพี่น้องประชาชน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ในหลากหลายอาชีพ ต่างมาสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เป็นจำนวนมาก
ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานพระรูปพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ ขณะทรงร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา ร่วมกับข้าราชบริพารในช่วงวันหยุดเรียน  โดยทรงกวาดลานวัด ทรงทำความสะอาดรอยพระพุทธบาทจำลองและบริเวณรอบใต้ฐานพระพุทธรูป ทรงเช็ดถูกระจกหน้าต่างวัด ทรงถูพื้นด้วยพระองค์เอง และถวายภัตตาหารเพลแด่พระภิกษุสงฆ์เป็นต้น พร้อมทั้ง ทรงให้กำลังใจ “จิตอาสาเฉพาะกิจฯ” ทุกคนว่า “สู้ ๆ ครับผม” อีกด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ขอพระองค์ “ทรงพระเจริญ”
 
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ช่วงของการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0” ในยุคดิจิทัลนี้ หากเปรียบประเทศไทยเป็นคอมพิวเตอร์แล้วผมเห็นว่า ส่วนประกอบต่าง ๆ ของประเทศ จำเป็นต้องได้รับการอัพเกรด ยกระดับทั้งระบบ เพื่อจะให้ประเทศของเรา ได้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน บนโลกดิจิทัลได้ ส่วนประกอบเหล่านั้น ได้แก่ 1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  เช่น โครง สร้างพื้นฐานทั้งปวง ต้องลงทุนขนาดใหญ่ เพื่ออนาคต อาทิ ด้านการคมนาคมขนส่ง และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ซอฟท์แวร์ (Software)  คือ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งเราจะต้องปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อจะอำนวยความสะดวกต่อการให้บริการประชาชน ไม่เป็นอุปสรรคต่อภาคการค้า การลงทุน และป้องกันไวรัส คือการทุจริต 
3. ทรัพยากรมนุษย์ (People ware) คือ การยกระดับคุณภาพชีวิต และการพัฒนาศักยภาพให้เป็น “คนไทย 4.0” ด้วยการศึกษา สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและตลาดแรงงานของประเทศ
 4. ระบบปฏิบัติการ OS คือ โครงสร้างระบบราชการ ที่ต้องอัพเดทให้ทันสมัย ทันโลก ทันเทคโนโลยี อยู่เสมอ เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการทำงาน ระหว่าง People ware – Software – Hardware ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งรัฐบาลนี้ยกเครื่องระบบปฏิบัติการใหม่ ให้เป็นการขับเคลื่อนประเทศด้วยกลไกประชารัฐ ซึ่งข้าราชการจะเป็นผู้ประสานงาน ผู้อำนวยความสะดวก ไม่ใช่เพียงผู้คุมกฎ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
ทั้งนี้ กลไกประชารัฐ ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน เป็นสำคัญ  วันนี้ผมอยากจะเพิ่มเรื่องสื่อมวลชนด้วย ทั้งสื่อกระแสหลักที่มีสังกัด และสื่อออนไลน์ที่ไร้สังกัด  รวมทั้งภาควิชาการ เข้าไปอยู่ในกลไกประชารัฐของเราอีกด้วย
โดยเฉพาะภาควิชาการ นั้น ในหลวงรัชกาลที่ 10 เคยมีรับสั่งให้ส่งเสริมสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) อย่างเต็มที่ ใน 2 เรื่องหลัก ๆ คือ
(1)    การผลิตและพัฒนาครู จะต้องวางระบบที่ดี
(2)    ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ ทำหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น แต่ละแห่งของตน ซึ่งต้องวิเคราะห์สภาพ
ปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วย
 ในการนี้ รัฐบาลนี้ ได้น้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าว นับเป็นอีก “ศาสตร์พระราชา” เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ  โดยมีแนวทางให้ทั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สถาบันอุดมศึกษา  และอาชีวศึกษาต่างๆ ต้องมีบทบาท ในเชิงวิชาการ คงไม่เพียงแต่ผลิตบัณฑิต  นักศึกษา สู่ตลาดแรงงานของท้องถิ่นของตน และประเทศเท่านั้น แต่ยังคงต้องมีส่วนร่วมในการวิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของตนเองท้องถิ่นด้วยคลัสเตอร์ภาคการผลิต ทั้งเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมทั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ทั้ง 10 แห่ง ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นฐานการผลิต ที่แตกต่างกันออกไปตามศักยภาพของแต่ละภูมิภาค ซึ่งมีเป้าหมายที่ปลายทาง คือ การกระจายความเจริญไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศ ไม่มากระจุกตัวอยู่เฉพาะกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใหญ่ ๆ ที่เป็นหัวเมืองของภูมิภาคเท่านั้น พี่น้องประชาชน แรงงาน นักเรียน นักศึกษา จะได้กลับไปใช้ชีวิต  ประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานของตน อยู่กับครอบครัวของตน ไม่ต้องเสี่ยงภัย แสวงโชคในเมืองใหญ่ อีกต่อไป ครอบครัวจะได้อยู่พร้อมหน้า สังคมก็จะเข้มแข็ง
สำหรับคำว่า “ราชภัฏ” ซึ่งหมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” นั้น ย่อมมีนัยสำคัญ ที่ลึกซึ้งเปรียบเสมือนว่า “สถาบันราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏ” หรือ “วิทยาลัยครู” ในอดีต จะเป็นผู้ทำงานถวาย และสนองพระราชกรณียกิจ ในเรื่องที่สำคัญ ๆ เพื่อพัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่า ให้ได้มีโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน ช่วยให้ชาวบ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกสถานที่รวมถึงชุมชนสังคมที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ยังเข้าไม่ถึง หรือละเลยในการเข้าไปพัฒนาอย่าต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “ตราประจำพระองค์” หรือ “พระราชลัญจกร” เพื่อให้เป็น “ตราประจำสถาบัน” ของทุกมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ใช้มาจนตราบทุกวันนี้นะครับ
ดังนั้น ผมจึงอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏได้ภาคภูมิใจ และทุ่มเทพลังกาย พลังใจ พลังสมอง ในการสนองพระราชปณิธานของ “ในหลวง” รัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ของปวงชนชาวไทย รวมทั้งทุกสถาบันการศึกษา ได้ดำเนินการในบทบาทเพิ่มเติมของตน ที่เป็นส่วนหนึ่งของกลไกประชารัฐ เพื่อการพัฒนาประเทศของเราในอนาคตด้วย ฝากช่วยริเริ่ม ช่วยดำเนินการด้วย ให้ทุกคนรักที่อยู่ ที่อาศัย ภูมิลำเนาของตนเอง แล้วคาดหวังว่าจะพัฒนาได้อย่างไร ก็จะไปสู่การเรียนรู้ และการศึกษาที่สอดคล้องต้องกันกับสิ่งที่ผมพูดไปแล้ว
 
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
ในการวางรากฐานด้านโครงสร้างสู่ “เศรษฐกิจ 4.0” เรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วประเทศ หรือ “โครงการเน็ตประชารัฐ” ทั้งนี้ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เข้าถึงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐได้ดีขึ้น สร้างโอกาส สร้างอาชีพ เช่น ในเรื่องของการขายสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เปิดช่อง ทางการเข้าสู่ถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของพี่น้องประชาชน รวมถึงการศึกษาค้นคว้าของภาคเอกชนและภาควิชาการ เป็นต้น ทั้งนี้ กว่า 70,000 หมู่บ้านทั่วประเทศพบว่า เกินกว่า 50% หรือ 40,000 กว่าหมู่บ้าน ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์และยังไม่มีบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ในจำนวนนี้มี 3,920 หมู่บ้าน ไม่มีบริการอินเตอร์เน็ตและยากต่อการเข้าถึง   
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้วางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ มาตั้งแต่ห้วงปลายปีที่แล้ว โดยมุ่งเน้นยกระดับการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงแก่หมู่บ้านเหล่านี้เป็นความเร่งด่วนลำดับแรก และก็เป็นที่น่ายินดี วันนี้ผมได้รับรายงานว่าในเบื้องต้น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ส่งมอบการติดตั้งอินเตอร์ เน็ตในหมู่บ้านแล้วกว่า 11,250 หมู่บ้าน โดยส่วนที่เหลือจะได้ทยอยดำเนินการต่อไป
นอกจากนี้ อีกโครงการหนึ่งที่รัฐบาลทำคู่ขนานกันไปคือ โครงการดิจิทัลชุมชนด้าน e-Commerce โดยบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด ได้ร่วมกันดำเนินการ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนขายสินค้าและบริการของท้องถิ่นในรูปแบบออนไลน์ได้ ในอนาคตอีกไม่นานต่อจากนี้ สำหรับความคืบหน้าโครงการนี้ ได้มีการสำรวจร้านค้าในชุมชน รวมทั้งประเมินความพร้อมของจุดรับลงทะเบียนสินค้า และคำสั่งซื้อสินค้า ครอบคลุม ทุกจังหวัด ทั่วประเทศแล้ว ให้ติดตามกันนะครับ โดยในขั้นตอนต่อไป จะเป็นการพัฒนา “ระบบe-Market Place กลาง” ที่จะเป็นฐานข้อมูลสินค้าชุมชนซึ่งต่อไปภาคเอกชน ร้านค้ารายน้อยใหญ่ ก็จะสามารถเลือกเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าดังกล่าว ไปวางขายในพื้นที่ e-Market Place ของตัวเองได้ อีกทั้งจะมีการพัฒนาระบบบริหารจัดการร้านค้า (Point of Sale), ระบบ e-Logistics  ซึ่งเชื่อมโยงกับระบบ Prompt Pay ที่คนไทยเริ่มคุ้นเคยกันมากขึ้นแล้วในปัจจุบันนะครับ และระบบ e-Payment ในทำนองเดียวกับที่ไปรษณีย์ไทยดำเนินการอยู่ในเว็บไซต์ “ไทยแลนด์-โพส-มาร์ท”  (www.thailandpostmart.com)  ซึ่งผมได้เร่งรัดให้โครงการนี้ ดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ก็จะได้ช่วยให้พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ได้ขายสินค้าของตนได้ “โดยตรง” สู่ผู้บริโภคและร้านค้าขนาดใหญ่ ทั้งผลิตผลทางการเกษตร หรือสินค้า OTOP สินค้าพื้นบ้าน สินค้าประจำท้องถิ่น ซึ่งเป็นศิลปหัตถกรรม ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น สินค้า GI เป็นต้น ก็เพื่อเป็นอีกช่องทางในการจำหน่ายสินค้า เพื่อจะสร้างรายได้ให้แก่พี่น้องประชาชน ไม่ว่าอยู่มุมใดของประเทศ ก็จะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ไม่มีใครช่วย ว้าเหว่ ไม่มีกำลังใจ เพราะรัฐบาลนี้ มีนโยบายว่า เราต้องทำทุกอย่างโดยคำนึงถึงคนทั้งประเทศ เราไม่เคยทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทุกคน ทุกชุมชน จะได้มีส่วนช่วยกัน ในการจะสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจ ตั้งแต่ในระดับของตน ไปจนถึงระดับชาติ เป็น “ห่วงโซ่คุณค่า”เดียวกัน เกิดความยั่งยืนต่อไปนะครับ ตามแนวทาง “เศรษฐกิจ 4.0” ที่รัฐบาลได้ตั้งใจไว้ เราต้องสร้างความเชื่อมโยงกันให้ได้ วันนี้หลายเวทีในต่างประเทศก็พูดถึงเรื่องนี้ การสร้างความเชื่อมโยง
สำหรับระยะยาว รัฐบาลนี้ ได้ยกร่างแผนปฏิบัติการดิจิทัลนะครับ เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560 ถึง 2564 และร่างแผนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2560 ถึง 2564 ซึ่งก็เป็นเรื่องใหญ่นะครับ แต่คงไม่ใช่เรื่องที่ยาก หากทุกฝ่ายร่วมมือกัน หาหนทางปฏิบัติให้ได้ และถ้ามีอะไรเกิดขึ้น เราก็สามารถปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ตามสถานการณ์โลก สถานการณ์ภายใน ภายนอกของดรานะครับ แล้วผมก็จะหาโอกาสมาเล่ารายละเอียดให้พี่น้องฟังในโอกาสต่อไป ทั้งนี้ผมก็ได้สั่งการให้ทุกกระทรวงทีเกี่ยวข้อง ได้เตรียมแผนงาน การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคม ที่คู่ขนานกันไปด้วย เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที ไม่อย่างนั้นก็พอสร้างเสร็จแล้ว ก็ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อจะดำเนินการต่อ ผมให้คิดไปพร้อมกันเลย เมื่อติดได้ครบแล้ว ก็ไปใช้ประโยชน์อย่างที่เราต้องการได้นะครับ ประชาชนก็ต้องเรียนรู้ตั้งแต่วันนี้ ไม่อย่างนั้นจะเสียเวลาอีก
 
พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ
ในการที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้กับประเทศ อย่างยั่งยืนและสมดุลนั้น นอกเหนือไปจากยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน หรือที่เรียกว่า “ระเบิดจากข้างใน” แล้วนั้น เราต้องคำนึงถึงยุทธศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือ “กิจการต่างประเทศ” ด้วย ที่ผ่านมา เห็นได้ว่าเราไม่สามารถละเลยสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ได้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้น ณ ส่วนใดของโลกก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านั้น ย่อมจะส่งผลทั้งทางตรง หรือทางอ้อม ต่อบ้านเมืองของเรา ประชาชนของเรานะครับ ในมิติต่าง ๆ อาทิ ความมั่นคง สังคม เศรษฐกิจ หรือสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบจาก “เทคโนโลยีสารสนเทศ และดิจิทัล”  ที่ขยายความเชื่อมโยงกันทั่วโลก เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ มากขึ้นเรื่อย ๆ  ยกตัวอย่างที่เห็นชัดเจนนะครับ เช่น เรื่องราคาสินค้าเกษตรของไทย ที่ตกต่ำมานาน ก็เป็นผลมาจากราคาในตลาดโลกที่อยู่ในระดับต่ำมาตั้งแต่ช่วง “วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์”  หรือในประเด็นความไม่แน่นอน ของเวทีการเมืองต่างประเทศ เช่น BREXIT  หรือประเด็นความกังวลในเรื่องการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ที่สร้างความผันผวนให้กับตลาดหุ้นและตลาดการเงินทั่วโลก ที่มีผลติดต่อหรือมีผลต่อเนื่องมายังตลาดการเงินไทย รวมทั้งการดำเนินนโยบายของชาติมหาอำนาจ หรือประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะขยับอะไร ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้า การส่งออกและการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้อีกด้วย
ดังนั้น ความเชื่อมโยงเรากับโลก นั้นเราจะต้องเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประชาคมโลก ให้มากยิ่งขึ้น อย่างเหมาะสม และสมดุล จึงมีความสำคัญยิ่ง นะครับ วันนี้ถ้าเรามุ่งหวังแต่เพียงค้าขายระหว่างกันเท่านั้น คงไม่เพียงพอ ต้องมีการเชื่อมโยง มีการช่วยเหลือ มีการสนับสนุน มีการค้าการลงทุนในลักษณะ ต่างตอบแทนซึ่งกันและกันนะครับ จะเพิ่มมูลค่าทั้งสองด้าน เราจะหวังแต่เพียงว่าเอาข้าเราขึ้นข้างเดียวไม่ได้ แม้กระทั่งในเรื่องการท่องเที่ยวก็ตาม วันนี้เราก็ต้องมีการท่องเที่ยวในแบบแพคเกจบ้าง คือให้เพิ่มทั้งสองทาง รวมให้เกิดมูลค่ามากขึ้น จัดที่ท่องเที่ยว ของแต่ละประเทศแล้วมาเชื่อมโยงกัน เชื่อมโยงกับประเทศอื่นด้วย ในทั้งต้นทางและปลายทาง ก็ทำให้สามารถเกิดการสัญจรไปมาของประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ สามารถที่จะไปเยี่ยมเยือนกันได้ ไปท่องเที่ยวกันได้ทั้งปี จะเพิ่มมูลค่าขึ้นทั้งสองด้าน สองทาง เราจะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง รอบคอบ ในเรื่องการดำเนินนโยบายต่างประเทศควบคู่ ไปกับการสร้างความแข็งแกร่ง และความมีเสถียรภาพของประเทศ เหตุการณ์ภายในของเราก็เช่นกัน บางอย่างถ้าไม่ใช่เรื่องที่คอขาดบาดตาย ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญมากนัก ก็อย่าช่วยกันประโคมข่าวกันมากนักเลย ทำให้ต่างประเทศเขามองเราว่าไม่ยุติกันเสียที หลายอย่างก็เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรม ก็ให้เขาดำเนินการไป ติดตามไป รอผลออกมา ไม่อย่างนั้นมีผลกระทบไปทั้งสิ้นกับความเชื่อมั่น และการดำเนินการทางต่างประเทศ
ที่ผมไปนั้นช่วงต้นสัปดาห์ ผมได้เดินทางไปร่วมหารือกับมิตรประเทศต่าง ๆ ถึง 2 ครั้ง 2 ครา ด้วยกัน ซึ่งผมอยากมาเล่าสู่กันฟังว่า สิ่งที่ประชาคมโลกและประเทศเพื่อนบ้านของเราให้ความสำคัญ มีอะไรบ้าง แล้วบทบาทและจุดยืน นโยบายของไทย ควรจะเป็นอย่างไร เราต้องเอาของเขามาดูด้วย เราคิดของเราคนเดียวก็ไม่ได้อะไร เพราะว่าเขาไม่ได้ตกลงด้วย ไม่ได้ยินยอมด้วย เราต้องร่วมมือกันอย่างไร ก็ต้องหาแนวทางให้ได้ ที่จะช่วยกระชับความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กันและกัน พึ่งพากัน และ “เดินหน้าไปด้วยกัน”  ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจกันนะครับ เรื่องอะไรที่เป็นเรื่องของประเด็นอ่อนไหวต่าง ๆ ก็ไม่ควรจะพูดอกไปในเวทีใหญ่ หรือเวทีสื่อประชาสัมพันธ์อะไรก็แล้วแต่ ไม่ควรพูด บางเรื่องก็เป็นการพูดหารือเพื่อจะแก้ปัญหา หรือคณะ ครม. ร่วม คณะกรรมาธิการร่วม ในการแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง ๆ อย่าเอาทุกอย่างมาปนกันหมด ทำให้การเดินหน้าต่างประเทศมีปัญหา แล้วในประเทศก็จะมีปัญหาเรื่องความเชื่อมั้นนะครับ สำหรับการประชุมแรก เป็นการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS นะครับ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมีบทบาทในเวทีโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบไปด้วย บราซิล รัสเซีย  อินเดีย  จีน และแอฟริกาใต้กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ที่เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีนนะครับ ซึ่งไทยเป็นหนึ่งใน 5 ประเทศ “นอกกลุ่ม BRICS”  ที่ได้รับเชิญไปร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย เราก็มองได้ว่า สะท้อนให้เห็นถึงบทบาท และความสำคัญ ในด้านความเชื่อมโยงของไทย ที่มีต่อกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ ๆ เหล่านี้ โดยในส่วนการประชุมของประเทศ BRICSนั้น มีหัวข้อหลัก ก็คือความเป็นหุ้นส่วน เพื่ออนาคตที่ดีขึ้น ซึ่งมีประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่
(1) การขยายความมีส่วนร่วม อย่างทั่วถึง ในระบบธรรมาภิบาลโลก                     
(2) การขับเคลื่อนโลกาภิวัฒน์ทางเศรษฐกิจ ที่เปิดกว้าง ครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน                                         
(3) การสร้างความเชื่อมโยงในระดับประชาชน
(4) การพัฒนาเชิงสถาบัน โดยให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกประเทศ ทั้งผู้สนับสนุน และผู้รับการสนับสนุนก็ต้องหารือซึ่งกันและกันว่า ต้องการอะไรกัน และเราให้อะไรกันได้ ก็ต้องไปเจรจากัน พูดคุยกันให้เกิดผลสัมฤทธิ์ 
ในโอกาสที่ผมได้พบปะหารือ กับประธานาธิบดีของจีน แบบทวิภาคี ทุกอย่างก็เป็นไปอย่างราบรื่น และน่าประทับใจโดยท่านประธานาธิบดี สี จิ้งผิง ได้แสดงออกถึงความสัมพันธ์อันใกล้ชิด ท่านได้กล่าวว่าไทยกับจีนนั้นเหมือน คนในครอบครัว เป็นพี่ เป็นน้องกันของทั้ง 2 ประเทศ ไปมาหาสู่ซึ่งกันและกัน จะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็เป็นจำนวนมาก คนไทยเชื้อสายจีนในประเทศไทยก็เป็นจำนวนมาก จีนยอมรับในการตัดสินใจของเรา ไม่ได้ใช้อำนาจ  ไม่ได้ใช้ในฐานะมหาอำนาจเพื่อมาบังคับเรา  ยอมรับในการตัดสินใจของเราในทุก ๆ เรื่อง และเชื่อมั่นในแนวทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาล วันนี้ว่าเหมาะสมกับบริบทของเรา ในช่วงที่มีการปฏิรูป  พร้อมทั้งจะยึดมั่นและดำรงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีเช่นนี้ ในความร่วมมือ และ การแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ในทุกระดับ  ในอนาคตต่อไป ผมก็จะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณท่านประธานาธิบดีของจีนด้วย 
สำหรับในส่วนของประเทศไทย เราได้เข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศเกิดใหม่ และ ประเทศกำลังพัฒนา ที่หารือกันในเรื่องของการเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อการเติบโตร่วมกัน  โดยมุ่งเน้นการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนค.ศ. 2030   ที่หลาย ๆ ท่านเรียกกันติดปาก ว่า SDG 2030 รวมทั้ง เสริมสร้างความร่วมมือ ในด้านการให้ความช่วยเหลือ ระหว่างประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศเริ่มพัฒนา ด้วยกันเองให้มากขึ้น ซึ่งหลักคิดที่ผมนำมาใช้ในการหารือเรื่องนี้  เริ่มจากการที่เราได้เห็น  กระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์มากขึ้น  เริ่มมีหลายประเทศ ที่ไม่อยากอยู่รวมกลุ่ม  โดยเห็นว่าการรวมกลุ่ม มีความสำคัญลดลง แต่ผมยังเชื่อในความร่วมมือ  ร่วมใจกัน เพราะหากเราไม่เกื้อกูลกัน  มุ่งแต่แสวงหาแต่ผลประโยชน์  ไขว่คว้าให้มากขึ้น ๆ เรื่อยๆ เข้าสู่ประเทศของตนเองแต่เพียงด้านเดียว  ก็จะทำให้โลกนั้นเข้าสู่ภาวะของการแข่งขัน อย่างรุนแรง จนในที่สุด ก็อาจเป็นทุกฝ่ายที่พ่ายแพ้ไม่มีใครได้อะไร มีแต่ผลเสีย หรือสูญเปล่านะครับ สำหรับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อย่างเรานี้ เห็นได้ว่า ต่างก็มีนโยบายมุ่งบรรลุเป้าหมาย  คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน และเกื้อกูลกันดี มีความร่วมมือหลากหลาย ทำให้เกิดความเชื่อมโยง ที่แน่นแฟ้น นำไปสู่การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมกันพัฒนา ร่วมกันแก้ปัญหา อันจะนำไปสู่การสร้าง “หุ้นส่วน” เพื่อการพัฒนาที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันได้  และตอบโจทย์ความต้องการในการยกระดับรายได้ และความเป็นอยู่ของประชากร ไปพร้อม ๆ กัน  อย่างยั่งยืนด้วย
ทั้งนี้ สิ่งที่ผมกล่าวในที่ประชุมนั้น ประเด็นแรก คือ การส่งสัญญาณว่าไทยยังคงให้ความสำคัญ ในความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ  และเชื่อว่าเราไม่อาจเติบโตได้ แต่เพียงลำพังเราต้องเดินหน้า เคียงคู่ และพร้อมๆ กันกับประเทศเพื่อนบ้าน ในอนุภูมิภาค  ซึ่งเรายึดถือแนวทาง “ประเทศไทย +1 +2 +3 …” เพื่อสนับสนุนให้การลงทุน และความร่วมมือ กับต่างประเทศ ได้ขยายผลไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านของเราด้วย  หากพวกเราแข็งแกร่ง ก็จะสามารถส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกันและกันได้ เราก็จะเจริญเติบโตไปด้วยกัน
ประเด็นที่สอง คือหากเราจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และครอบคลุม แล้ว หัวใจสำคัญ ก็คือความเชื่อมโยงที่จะช่วยกระจายความเจริญ รายได้ และโอกาส ทั้งทางการศึกษาและทางธุรกิจ ไปยังภาคส่วนต่างๆ อย่างทั่วถึงเพื่อให้ ลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งการที่ไทยตั้งอยู่ใจกลางของอาเซียน  จะสามารถเป็นประตูเชื่อมโยงภูมิภาคอื่น ๆ กับเพื่อนบ้านในอาเซียนได้ เราจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งทุกระบบ เพื่อจะเสริมสร้างความเชื่อมโยงทางกายภาพ เช่น โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ซึ่งจะเชื่อมโยงไทย ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เข้าสู่จีน และจะมีการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ตลอดแนวเส้นทางที่รถไฟผ่าน มีการพัฒนาแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) และเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน  รวมทั้งการผลักดันแผนแม่บทอาเซียน ด้านความเชื่อมโยงด้วย  ทั้งหมดนี้ จะนำมาซึ่งการพัฒนาอย่างรอบด้าน  ไม่เพียงแต่ในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น ก็ยังจะเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก อย่างที่สมาชิกที่ไปร่วมประชุมเขาก็กล่าวกันว่า ทุกคนก็จะสร้างความเชื่อมโยงของตัวเอง กับประเทศเพื่อนบ้าน กับประชาคม และก็จะเชื่อมโยงกับระบบเศรษฐกิจของเรา ซึ่งจีนมีบทบาทในการเชื่อมโยงนี้ ก็ให้ทุกคนได้มีสิทธิมีเสียง มีการพูดคุยมีการได้รับประโยชน์อย่างเท่าเทียม ก็เลิกในลักษณะที่ว่าเป็นการบังคับ หรือเป็นการสร้างอิทธิพล อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ได้มีการพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ด้วย
สำหรับ “ความเชื่อมโยงระดับประชาชน” นับว่าเป็นอีกมิติที่สำคัญ ในการจะขับเคลื่อนความร่วมมือ เพราะว่าถ้าคนเจอกัน พบกัน รักกัน สามัคคีกันข้ามประเทศ ก็จะทำให้เรามีมิตรมากขึ้น จะช่วยสร้างความเข้าใจ ลดความขัดแย้ง ทำให้การเกิดการรวมตัวอย่างราบรื่นในทุกกิจกรรม ซึ่งประเทศที่กำลังพัฒนา ก็ต้องเร่งสร้างความเป็นหุ้นส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับเอกชน เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถ และพัฒนาทักษะแรงงาน  การร่วมมือแลกเปลี่ยนด้านวิจัยและพัฒนา เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม และในยุคสมัยนี้ ประเทศที่กำลังพัฒนาก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มขีดความสามารถเพื่อรองรับ “ความเชื่อมโยงทางดิจิทัล” ซึ่งจะช่วยขยายการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งมีสัดส่วน กว่าร้อยละ 90 ของธุรกิจในภูมิภาคให้เติบโตไปกับเศรษฐกิจในภาพรวมได้ ผ่านการพัฒนา e-Commerce และบริการทางการเงินอื่น ๆ ที่ผมได้เล่าให้ฟังในสัปดาห์ก่อนไปแล้ว
ประเด็นสุดท้าย ที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกัน  ก็คือการพัฒนาที่สมบูรณ์จะต้องมีความยั่งยืนด้วย เราจึงต้องร่วมมือกันสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ควบคู่กับการปกป้องสิ่งแวดล้อม  ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9  และรัชกาลปัจจุบัน  และต้องตระหนักว่า ทุกประเทศมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นความคิด ความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่าง ๆ ต่างกันทั้งสิ้น ฉะนั้นการดำเนินความร่วมมือ จึงต้องคำนึงถึงความต้องการ และข้อจำกัด ของผู้รับด้วย ตลอดจน ของผู้ที่มีส่วนร่วมเป็นสำคัญ อีกทั้งควรมีหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้การรวมกลุ่มของพวกเรา สามารถขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศ ในประชาคมโลกให้กว้างขึ้นไปอีกด้วย ก็เหมือนกับประชารัฐของเราในประเทศแล้ว เราน่าจะต้องมีประชารัฐกับต่างประเทศด้วย ก็เป็นตัวอย่างเทียบกันง่าย ๆ เจริญเติบโตทั้งภายในและภายนอก จะได้เร่งให้เร็วขึ้น
 สำหรับอีกการประชุมหนึ่ง ที่ผมได้เดินทางไปเข้าร่วมในช่วงสัปดาห์นี้ คือการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี อย่างไม่เป็นทางการ ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 3  เป็นการเตรียมการมาล่วงหน้าแล้ว ก็ถือว่าเป็นการเดินทางไปหารือ เพื่อกระชับความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งสลับกัน  ครั้งที่แล้วเราเป็นเจ้าภาพในหลาย ๆ ด้าน ให้สอดรับกับความเชื่อมโยงในภูมิภาค ที่รัฐบาลนี้ ต้องการส่งเสริม ภายใต้นโยบาย “ประเทศไทย +1…”  ตามที่ผมได้กล่าวถึง ในข้างต้น  เพราะกัมพูชา เป็นหนึ่งในประเทศอนุภูมิภาค ที่มีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงกับไทยมายาวนาน มีภูมิศาสตร์ที่ใกล้ชิด ชายแดนติดกับไทย ทำให้มีการค้าระหว่างกัน ทั้งสินค้า บริการ รวมถึงแรงงาน ที่เป็นส่วนสำคัญ ในภาคการผลิตของเศรษฐกิจไทยด้วย มีความเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง
การหารือครั้งนี้ เพื่อจะกำหนดแนวทาง และทิศทางการพัฒนาความสัมพันธ์ ให้แนบแน่นมากยิ่งขึ้น วันนี้ก็ดีมากอยู่แล้ว  เราจะต้องเพิ่มความร่วมมือ ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับทั้ง 2 ฝ่าย 2  ประเทศได้ให้เติบโตไปพร้อมกัน ซึ่งเราได้เห็นความคืบหน้าของความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ในเรื่องการพัฒนาจุดผ่านแดน มาตรการด้านภาษี การพัฒนาด้านแรงงาน การส่งเสริมด้านการศึกษาและการเกษตร การเชื่อมโยงทางถนน  รถไฟ  และทางน้ำ ซึ่งจะต้องต่อไปถึงประเทศอื่น ๆ อีกด้วย   การกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ  รวมถึง การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในบริเวณพื้นที่ชายแดนที่ติดกัน เพื่อจะสร้างงานและเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศด้วย 
 ทั้งนี้ การส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค ที่รัฐบาลได้ดำเนินการมา  เหล่านี้จะถือเป็นการช่วยสร้างสมดุล ให้กับการพัฒนาประเทศ ลดการพึ่งพาเพียงเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างเดียว  และสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันด้วย เพื่อให้ไทยสามารถได้ประโยชน์จากการเติบโตของประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจไทยโตได้ช้ากว่า จากปัญหาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และที่ผ่านมา การส่งออกสินค้าของไทยไปยังต่างประเทศ ก็จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อีกแรงหนึ่งด้วย   ก็จะต้องเป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมให้มากยิ่งขึ้น 
 
พี่น้องประชาชนครับ
 เราอาจมองได้ว่าความเชื่อมโยง ทั้งทางโครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ และทางสังคม ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลกนั้น   จะเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสให้กับประเทศไทย ซึ่งคงเป็นการยากที่เราจะปิดตัว จากความเชื่อมโยงเหล่านี้ ไม่ค้าขาย ไม่ติดต่ออยู่แต่เพียงลำพัง ย่อมทำไม่ได้แล้วในวันนี้ เราจะทำอย่างไร เราจะพลิกฟื้นให้ความท้าทาย  หรือวิกฤติเหล่านั้น  ให้เพิ่มความเชื่อมโยง นำมาสู่การแข่งขันที่ลดลง มีความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพราะว่ามีผลจากตลาดการเงินที่ผันผวนมากขึ้น คือพูดง่าย ๆ ว่า เอาวิกฤตมาเป็นโอกาสให้ได้ จากสิ่งที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ทุกอย่างไม่ดี ต้องเอาทุกปัญหาทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาและหาหนทางปฏิบัติ  ลดวิกฤติ เพิ่มโอกาส  อย่าทำโอกาสให้เป็นวิกฤติเลย ไม่ว่าจะเหตุผลอะไรก็ตาม 
เพราะฉะนั้น เราจะถือว่า สิ่งที่เราร่วมมือกันทำวันนี้ ก็จะเป็นโอกาสของประเทศ เป็นประวัติศาสตร์ที่คนไทยทุกคนได้ร่วมมือกัน ซึ่งนอกเหนือไปจาก เราจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้ยืนอยู่ในประชาคมโลกในยุค 4.0 นี้แล้ว เราคงต้องร่วมมือกับนานาประเทศให้มากยิ่งขึ้นในการสร้างภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสังคมที่แข็งแรงไปด้วยกัน อย่าไปมองปัญหาการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว  เพื่อให้เราสามารถจะช่วยเหลือกัน บรรเทาปัญหาให้แก่กันได้  เมื่อประเทศใดประเทศหนึ่งเกิดปัญหา ก็เดือดร้อนไปด้วยกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีเขตแดนติดกัน แล้วอาจจะลุกลามไปยังประเทศอื่น ๆ ได้มาก ก็ทำให้การแก้ปัญหา แก้ได้ยากไปเรื่อย ๆ จากยากอยู่แล้วก็ยากไปเรื่อย ๆ ทุกคนต้องระมัดระวัง ถ้าเราทำได้ดีแล้ว ก็จะเป็นการสร้างอำนาจการต่อรอง ให้กับกลุ่มประเทศอื่น ๆ ทำให้ประเทศเล็กอย่างเรานั้น หรืออาเซียนที่รวมกันหลายประเทศ ประเทศเล็ก ๆ เหล่านั้น เราก็จะไม่เสียเปรียบในเวทีโลกอีกต่อไป
 
สุดท้ายนี้
ปัจจุบัน เรามีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ และ คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันแล้ว ทั้งนี้ การปฏิรูป คงไม่สามารถทำได้ ทำเสร็จภายในปี หรือ 2 ปี ทั้งหมด   ก็เป็นเรื่องของรัฐบาลนี้ รัฐบาลต่อไป  บางเรื่อง อาจใช้เวลาถึง 5 ปี 10 ปี แต่สิ่งสำคัญ 2 ประการ ที่ผมอยากจะเน้นย้ำในช่วงท้ายรายการนี้ คือ
(1) เราจะมีส่วนร่วม  มีการสร้างความปรองดองเกิดขึ้นได้อย่างไร  เพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะเปลี่ยนแปลงในการจะปฏิรูปประเทศ  แล้วก็เดินหน้าประเทศตามยุทธศาสตร์เหล่านั้น
 
(2) ความอดทน  อดกลั้น  ไม่ใจร้อน  ไม่บิดเบือน ทุกคนก็วิพากษ์วิจารณ์กัน บางทีก็ไม่ใช่  ต้องไว้ใจกัน ร่วมมือกัน ในการจะนำพาประเทศไปสู่จุดหมายของเราคือ “ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน” หลายอย่าง  อย่างที่ผมเรียนไปแล้วว่า บางคนอาจจะบอกว่ายังไม่ได้อะไรเลยจากรัฐบาลนี้  ท่านก็ต้องคอย ถ้าท่านยังเข้าไม่ถึงตรงนี้ ก็ต้องใช้เวลาในการที่จะเข้าถึงให้ได้  มี 2 ทางคือ ท่านเข้าถึงเอง  หรือ 2.รัฐบาลยื่นแขนยื่นขาออกไปอีก  ซึ่งเราต้องสร้างความเข้มแข็ง ยั่งยืนไปด้วย เราให้แต่เพียงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ให้แล้วก็ต้องเข้มแข็งด้วย ท่านก็ต้องปรับปรุงตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวเองเหมือนกัน ด้วยการเรียนรู้ ด้วยการศึกษา  ด้วยการหาข้อมูลอันเป็นประโยชน์  ถ้าทุกคนเข้าไม่ได้เข้าไม่ถึง อยู่เฉย ๆ แล้วก็บ่นว่าทำไมไม่ได้อะไรเลย ถ้าอย่างนี้ผมว่าไปได้ยาก  ทุกคนต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน รัฐบาลพร้อมที่จะนำทาง พร้อมที่จะช่วยเหลือสนับสนุนท่าน  แต่ต้องเป็นการสนับสนุนที่ถูกต้องเป็นไปตามทำนองคลองธรรม ตามกฎหมาย อย่าให้เกิดปัญหาเกิดขึ้นอีกเลย จากนี้เป็นต้นไป 
ขอบคุณครับ  ขอให้“ทุกคน” มีความสุขในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ 
สวัสดีครับ







ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น 

เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560

โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่ 
ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "

1 ความคิดเห็น:

  1. นี่คือประกาศสาธารณะสำหรับทุกคนที่ต้องการขายไตเรามีผู้ป่วยที่ต้องการการปลูกถ่ายไตดังนั้นหากคุณสนใจที่จะขายไตโปรดติดต่อเราทางอีเมลของเราที่ iowalutheranhospital@gmail.com
    นอกจากนี้คุณยังสามารถโทรหรือเขียนถึงเราได้ที่ whatsapp ที่ +1 515 882 1607

    หมายเหตุ: รับประกันความปลอดภัยของคุณและผู้ป่วยของเราได้ตกลงที่จะจ่ายเงินจำนวนมากให้กับทุกคนที่ตกลงที่จะบริจาคไตเพื่อช่วยพวกเขา เราหวังว่าจะได้ยินจากคุณเพื่อให้คุณสามารถช่วยชีวิต

    ตอบลบ

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม