อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 474/2560
วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี 2560
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานต่อ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี 2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 8กันยายน 2560 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล กล่าวว่า องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ได้ประกาศให้วันที่ 8 กันยายนของทุกปี เป็นวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ นับตั้งแต่ปี 2509 เป็นต้นมา ซึ่งแนวคิดหลักของการจัดงานดังกล่าวจะแปรเปลี่ยนไปตามสภาพความจำเป็นในการรู้หนังสือของสังคมโลกในปีนั้น ๆ
สำหรับปีนี้ แนวคิดหลักในการจัดงาน คือ Literacy in a Digital World หรือ “การรู้หนังสือในโลกยุคดิจิทัล” เป้าหมายสำคัญมุ่งไปที่การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือที่จำเป็นของประชาชนที่ยังขาดช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและความรู้ต่าง ๆ รวมถึงทักษะและสมรรถนะจำเป็น ที่นำทางให้สามารถหลุดพ้นจากสภาพการเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่กำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรู้หนังสือในโลกยุคดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้และการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับยุคสมัย และเพื่อให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรู้หนังสือของประชาชนอย่างจริงจังต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง กล่าวว่า รัฐบาลตระหนักดีว่าการรู้หนังสือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อไปสู่ประเทศที่มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ได้ โดยรัฐบาลได้เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในทุกระดับ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นคนไทย 4.0 ที่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และทักษะอาชีพที่สูงขึ้น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า Digital Literacy เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลักดันนโยบายดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายภายใน 3-5 ปี นับจากนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ในสังคมยุคนี้ การรู้หนังสือของประชาชนแค่เพียงอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น คงไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตให้มีความสุข ก้าวทันโลก สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว รู้เท่าทันและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต รวมทั้งการเรียนและการประกอบอาชีพให้ดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ การร่วมกันสร้างมโนทัศน์และวางกรอบแนวทางเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้หนังสือให้เป็นเอกภาพ เพื่อผนึกพลังในการขับเคลื่อนโดยกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งดูแลสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรู้หนังสือ ตลอดจนองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นแกนเชื่อมโยงที่สำคัญในระดับนานาชาติของประชาคมโลก ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสังคมโลกยุคดิจิทัลอย่างจริงจัง และยังช่วยแก้ปัญหาการเกิด “วิกฤตความไร้เดียงสาทางสารสนเทศ” (Information Illiteracy Crisis) ที่เป็นวิกฤตการรู้หนังสือในยุคศตวรรษที่ 21 ของพลเมืองโลกและพลเมืองไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะต้องทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีทักษะสารสนเทศ สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณ มีจริยธรรม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งอาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ การปฏิรูปการศึกษาที่สำเร็จของประเทศ อาจเริ่มต้นจากความพยายามในการทำให้คนไทยเป็นผู้รู้หนังสือที่เรียกว่า “Information Literate Person” ก็เป็นได้
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 474/2560
วันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี 2560
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานต่อ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดงานวันที่ระลึกสากลแห่งการรู้หนังสือ ประจำปี 2560 เมื่อวันศุกร์ที่ 8กันยายน 2560 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สำหรับปีนี้ แนวคิดหลักในการจัดงาน คือ Literacy in a Digital World หรือ “การรู้หนังสือในโลกยุคดิจิทัล” เป้าหมายสำคัญมุ่งไปที่การพัฒนาทักษะการรู้หนังสือที่จำเป็นของประชาชนที่ยังขาดช่องทางการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและความรู้ต่าง ๆ รวมถึงทักษะและสมรรถนะจำเป็น ที่นำทางให้สามารถหลุดพ้นจากสภาพการเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่กำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างเข้มข้น ทั้งนี้ เพื่อกระตุ้นเตือนให้สังคมและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการรู้หนังสือในโลกยุคดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้และการดำรงชีวิตที่สอดคล้องกับยุคสมัย และเพื่อให้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมการรู้หนังสือของประชาชนอย่างจริงจังต่อไป
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง กล่าวว่า รัฐบาลตระหนักดีว่าการรู้หนังสือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และนโยบายประเทศไทย 4.0 เพื่อไปสู่ประเทศที่มีความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ได้ โดยรัฐบาลได้เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในทุกระดับ เพื่อเปลี่ยนให้เป็นคนไทย 4.0 ที่มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม และทักษะอาชีพที่สูงขึ้น มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีอัตลักษณ์ความเป็นไทย และมีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสมัยใหม่ หรือที่เรียกว่า Digital Literacy เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลักดันนโยบายดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายภายใน 3-5 ปี นับจากนี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ในสังคมยุคนี้ การรู้หนังสือของประชาชนแค่เพียงอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น คงไม่เพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตให้มีความสุข ก้าวทันโลก สามารถเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว รู้เท่าทันและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต รวมทั้งการเรียนและการประกอบอาชีพให้ดีขึ้น
ด้วยเหตุนี้ การร่วมกันสร้างมโนทัศน์และวางกรอบแนวทางเกี่ยวกับการส่งเสริมการรู้หนังสือให้เป็นเอกภาพ เพื่อผนึกพลังในการขับเคลื่อนโดยกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งดูแลสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการในสังกัด รวมทั้งภาคเอกชนและภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรู้หนังสือ ตลอดจนองค์การยูเนสโก ซึ่งเป็นแกนเชื่อมโยงที่สำคัญในระดับนานาชาติของประชาคมโลก ร่วมกันส่งเสริม สนับสนุนการรู้หนังสือที่สอดคล้องกับสังคมโลกยุคดิจิทัลอย่างจริงจัง และยังช่วยแก้ปัญหาการเกิด “วิกฤตความไร้เดียงสาทางสารสนเทศ” (Information Illiteracy Crisis) ที่เป็นวิกฤตการรู้หนังสือในยุคศตวรรษที่ 21 ของพลเมืองโลกและพลเมืองไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่จะต้องทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีทักษะสารสนเทศ สามารถนำทักษะที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีวิจารณญาณ มีจริยธรรม พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งอาจเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ การปฏิรูปการศึกษาที่สำเร็จของประเทศ อาจเริ่มต้นจากความพยายามในการทำให้คนไทยเป็นผู้รู้หนังสือที่เรียกว่า “Information Literate Person” ก็เป็นได้
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น