อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 507/2560นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายใน การประชุมสัมมนา "มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ที่ จ.ชลบุรี
จังหวัดชลบุรี - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายและเป็นประธานปิดการประชุมสัมมนา "มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2560 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน อำเภอสัตหีบ ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดประชุมสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีผู้บริหารให้การต้อนรับและร่วมรับฟังนโยบาย กว่า 1,500 คน อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ผู้บริหารระดับสูงองค์กรหลัก ศึกษาธิการภาค 18 ภาค, คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดและผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดที่มีโครงการพื้นที่พิเศษ 35 จังหวัด ๆ ละ 30 คน, ศึกษาธิการจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีโครงการพื้นที่พิเศษ 42 จังหวัด, ผู้บริหารการศึกษา, ผู้ประกอบการ
• พบปะครั้งนี้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการศึกษาของประเทศ เพราะเด็กเยาวชน ครู บุคลากรทางการศึกษา มีจำนวนมาก เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่มีบทบาทสร้างคนให้มีความรู้ ให้เด็กรู้จักตนเอง รู้จักประเทศ และรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อเติบโตเป็นพลเมืองที่ดี นำความรู้ความสามารถขับเคลื่อนสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศในอนาคต
ในวันนี้จึงต้องการมาพบปะกับทุกคน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการบริหารประเทศทุกด้านโดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งทุกคนคือผู้ชี้ชะตาประเทศในการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการทำงานต่าง ๆ และในฐานะที่เป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด ก็ต้องทำงานให้ดี นึกถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
ต้องยอมรับว่าประเทศของเรา ยังมีปัญหาหลากหลายด้านที่ต้องแก้ไข เพื่อให้เราเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกัน ตามคำกล่าวที่ว่า "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" จึงขอฝากให้ช่วยกันพินิจพิจารณารายละเอียดและต้นตอของแต่ละปัญหาอย่างถี่ถ้วน โดยนำหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เข้ามาช่วยแก้ปัญหา
• ให้เชื่อมโยงการศึกษาทั้งในระบบ-นอกระบบ-การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อดึงความร่วมมือทุกภาคส่วน
ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการศึกษาในระบบ ที่จัดโดยรัฐและเอกชน การศึกษานอกระบบ สำหรับผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ตามความสนใจและตามบริบทในการพัฒนาพื้นที่
ดังนั้น วันนี้เรารับผิดชอบคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ จึงต้องบริหารจัดการให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานในกระทรวงทุกหน่วยต้องร่วมมือกันก่อน เมื่อนั้นการจะดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เข้ามาช่วยจัดการศึกษา ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
• ต้องส่งเสริมให้เด็กมีความรู้รอบด้าน
โลกวันนี้เป็นยุคแห่ง โลกาภิวัตน์ ไม่มีพรมแดน สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วขึ้นด้วยดิจิทัล การสร้างเด็กและเยาวชนในยุคโลกาภิวัตน์ จึงต้องส่งเสริมพัฒนาให้เด็กมีความรู้รอบด้าน ทั้งสายสามัญ อาชีพ ทักษะชีวิต การติดต่อสื่อสาร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนภาษาที่หลากหลาย พร้อมเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต เพื่อเป็นแนวทางป้องกันปัญหาในอนาคต และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก ให้อยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิทยาการ เทคโนโลยี ภัยคุกคามต่าง ๆ ให้ได้ เพราะหากเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว ประเทศไทยจะยิ่งล้าหลัง
ในส่วนของทักษะ นอกจากเด็กจะต้องมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะวิชาชีพ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความมีระเบียบวินัยแล้ว ต้องทำให้เด็กรู้จักตัวเอง รู้ความต้องการและความถนัดของตัวเอง เพื่อตั้งเป้าหมายในชีวิตทั้งในเรื่องการเรียนและการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตัวเอง พ่อแม่ และครอบครัวด้วย
วันนี้รัฐบาลต้องจัดการศึกษาให้ทั่วถึง แต่ประเด็นคือได้ทำงานครบถ้วนแล้วหรือยัง ที่จะมีวิธีปฏิบัติแนวทางที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน วันนี้ยังพบว่าเด็กหลายคนไม่มีเป้าหมายในชีวิต เมื่อถามก็ตอบไม่ได้ จึงต้องส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้
• การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่พิเศษ
ในความเป็นจริง ทุกพื้นที่ของประเทศทั้ง 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร คือ "พื้นที่พิเศษ" ที่รอให้พวกเราทุกคนเข้าไปช่วยพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการก็ได้สนับสนุนการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนากำลังคนของประเทศ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน, การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, การขับเคลื่อนการศึกษาแบบบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”, การขับเคลื่อนการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนโครงการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพื้นที่สูง และเกาะแก่ง โดยได้มีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แล้วด้วยนั้น
แต่แน่นอนว่า การที่ประเทศจะมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนได้นั้น ต้องเกิดจากการที่คนในประเทศมีหลักคิดที่ถูกต้อง พร้อมเรียนรู้ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงปรับตัว ดังนั้น เราจะต้องสร้างคนด้วยความคิดใหม่ วิธีการใหม่ หลักคิดใหม่ พร้อมเรียนรู้บทเรียนที่ผ่านมา เพื่อสร้างให้เป็นพื้นฐานที่จะปรับเปลี่ยนและประยุกต์ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโดยรวม ที่จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์เร็วขึ้น มากขึ้น
ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่พิเศษ นอกจากจะมีแผนแม่บทหรือยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาแล้ว "คน" จึงถือว่ามีความสำคัญที่สุด ที่จะต้องมาช่วยกัน ภายใต้ความร่วมมือของประชารัฐ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น ศาสนสถาน นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง นั่นจึงถือเป็นการปฏิรูปทั้งหมดอย่างแท้จริง และเมื่อนั้นความร่วมมือต่าง ๆ ก็จะตามมา เพราะจะหวังให้รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ แก้ไขปัญหาทุกอย่างคงไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน
• หนุน กศน.-อาชีวะ-อุดมศึกษา ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ขอให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) เข้าถึงประชาชนทุกคนทุกพื้นที่ให้มากที่สุด เพื่อสร้างคนคืนสู่สังคม ให้ประชาชนได้เรียนรู้ตามความต้องการ โดยจะต้องปรับหลักสูตรและวิธีการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคนที่ไม่ได้เรียน คนทำงานที่ต้องการเรียนเพิ่ม ต้องการให้ กศน.เปิดในหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ทหาร แรงงานในโรงงาน เพื่อส่งเสริมให้คนเหล่านี้สามารถกลับมาเรียนต่อและได้รับวุฒิหรือเทียบวุฒิการศึกษาได้ ซึ่ง กศน.จะเป็นตัวหลักในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของรัฐบาล ให้ประชาชนได้เรียนรู้ อ่านออกเขียนได้ เท่าทันวิทยาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่
ส่วนของการอาชีวศึกษาก็เช่นกัน ต้องเปิดโอกาสให้คนทำงานได้กลับไปเรียน และได้วุฒิการศึกษาเพื่อต่อยอดในอาชีพ ตลอดจนเทียบวุฒิจากประสบการณ์การทำงานหรือนำไปลดเวลาเรียนได้ด้วย
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ในการพัฒนาท้องถิ่น เกาะเกี่ยวกับชุมชนให้ได้มากที่สุด ต้องทบทวนการทำงานและหลักสูตรที่เอื้อต่อการผลิตคนออกสู่ตลาดแรงงานสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่และประเทศ พร้อมติดตามการมีงานทำหลังจบการศึกษา เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการจัดการศึกษา การมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็จะใช้สำหรับวางแผนการบริหารจัดการอย่างมีระบบต่อไปด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 507/2560นายกรัฐมนตรีมอบนโยบายใน การประชุมสัมมนา "มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ที่ จ.ชลบุรี
จังหวัดชลบุรี - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายและเป็นประธานปิดการประชุมสัมมนา "มิติการศึกษา พัฒนาพื้นที่พิเศษ เดินหน้าประเทศไทย มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" เมื่อวันจันทร์ที่ 25 กันยายน 2560 ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน อำเภอสัตหีบ ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดประชุมสัมมนาในครั้งนี้ โดยมีผู้บริหารให้การต้อนรับและร่วมรับฟังนโยบาย กว่า 1,500 คน อาทิ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ผู้บริหารระดับสูงองค์กรหลัก ศึกษาธิการภาค 18 ภาค, คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดและผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดที่มีโครงการพื้นที่พิเศษ 35 จังหวัด ๆ ละ 30 คน, ศึกษาธิการจังหวัดในจังหวัดที่ไม่มีโครงการพื้นที่พิเศษ 42 จังหวัด, ผู้บริหารการศึกษา, ผู้ประกอบการ
ในวันนี้จึงต้องการมาพบปะกับทุกคน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการบริหารประเทศทุกด้านโดยเฉพาะด้านการศึกษา ซึ่งทุกคนคือผู้ชี้ชะตาประเทศในการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการทำงานต่าง ๆ และในฐานะที่เป็นกระทรวงที่ได้รับงบประมาณมากที่สุด ก็ต้องทำงานให้ดี นึกถึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
ต้องยอมรับว่าประเทศของเรา ยังมีปัญหาหลากหลายด้านที่ต้องแก้ไข เพื่อให้เราเดินหน้าขับเคลื่อนประเทศไปพร้อมกัน ตามคำกล่าวที่ว่า "จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง" จึงขอฝากให้ช่วยกันพินิจพิจารณารายละเอียดและต้นตอของแต่ละปัญหาอย่างถี่ถ้วน โดยนำหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เข้ามาช่วยแก้ปัญหา
ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการจัดการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการศึกษาในระบบ ที่จัดโดยรัฐและเอกชน การศึกษานอกระบบ สำหรับผู้พลาดโอกาสทางการศึกษา และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ตามความสนใจและตามบริบทในการพัฒนาพื้นที่
ดังนั้น วันนี้เรารับผิดชอบคนกลุ่มใหญ่ของประเทศ จึงต้องบริหารจัดการให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงทั้งระบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานในกระทรวงทุกหน่วยต้องร่วมมือกันก่อน เมื่อนั้นการจะดึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เข้ามาช่วยจัดการศึกษา ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
โลกวันนี้เป็นยุคแห่ง โลกาภิวัตน์ ไม่มีพรมแดน สามารถเข้าถึงได้รวดเร็วขึ้นด้วยดิจิทัล การสร้างเด็กและเยาวชนในยุคโลกาภิวัตน์ จึงต้องส่งเสริมพัฒนาให้เด็กมีความรู้รอบด้าน ทั้งสายสามัญ อาชีพ ทักษะชีวิต การติดต่อสื่อสาร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตลอดจนภาษาที่หลากหลาย พร้อมเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต เพื่อเป็นแนวทางป้องกันปัญหาในอนาคต และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก ให้อยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวิทยาการ เทคโนโลยี ภัยคุกคามต่าง ๆ ให้ได้ เพราะหากเราไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองแล้ว ประเทศไทยจะยิ่งล้าหลัง
ในส่วนของทักษะ นอกจากเด็กจะต้องมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะวิชาชีพ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความมีระเบียบวินัยแล้ว ต้องทำให้เด็กรู้จักตัวเอง รู้ความต้องการและความถนัดของตัวเอง เพื่อตั้งเป้าหมายในชีวิตทั้งในเรื่องการเรียนและการประกอบอาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตัวเอง พ่อแม่ และครอบครัวด้วย
วันนี้รัฐบาลต้องจัดการศึกษาให้ทั่วถึง แต่ประเด็นคือได้ทำงานครบถ้วนแล้วหรือยัง ที่จะมีวิธีปฏิบัติแนวทางที่เหมาะสมให้แก่ผู้เรียน วันนี้ยังพบว่าเด็กหลายคนไม่มีเป้าหมายในชีวิต เมื่อถามก็ตอบไม่ได้ จึงต้องส่งเสริมในเรื่องเหล่านี้
ในความเป็นจริง ทุกพื้นที่ของประเทศทั้ง 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร คือ "พื้นที่พิเศษ" ที่รอให้พวกเราทุกคนเข้าไปช่วยพัฒนาในด้านต่าง ๆ ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการก็ได้สนับสนุนการดำเนินการในแต่ละพื้นที่ โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนากำลังคนของประเทศ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน, การจัดการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, การขับเคลื่อนการศึกษาแบบบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้, โครงการพัฒนาเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”, การขับเคลื่อนการศึกษาแบบบูรณาการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนโครงการพัฒนาการศึกษาโรงเรียนพื้นที่สูง และเกาะแก่ง โดยได้มีการวางแผนงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แล้วด้วยนั้น
แต่แน่นอนว่า การที่ประเทศจะมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนได้นั้น ต้องเกิดจากการที่คนในประเทศมีหลักคิดที่ถูกต้อง พร้อมเรียนรู้ พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงปรับตัว ดังนั้น เราจะต้องสร้างคนด้วยความคิดใหม่ วิธีการใหม่ หลักคิดใหม่ พร้อมเรียนรู้บทเรียนที่ผ่านมา เพื่อสร้างให้เป็นพื้นฐานที่จะปรับเปลี่ยนและประยุกต์ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาโดยรวม ที่จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์เร็วขึ้น มากขึ้น
ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่พิเศษ นอกจากจะมีแผนแม่บทหรือยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาแล้ว "คน" จึงถือว่ามีความสำคัญที่สุด ที่จะต้องมาช่วยกัน ภายใต้ความร่วมมือของประชารัฐ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น ศาสนสถาน นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้ปกครอง นั่นจึงถือเป็นการปฏิรูปทั้งหมดอย่างแท้จริง และเมื่อนั้นความร่วมมือต่าง ๆ ก็จะตามมา เพราะจะหวังให้รัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ แก้ไขปัญหาทุกอย่างคงไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องเดินหน้าไปพร้อมกัน
ส่วนของการอาชีวศึกษาก็เช่นกัน ต้องเปิดโอกาสให้คนทำงานได้กลับไปเรียน และได้วุฒิการศึกษาเพื่อต่อยอดในอาชีพ ตลอดจนเทียบวุฒิจากประสบการณ์การทำงานหรือนำไปลดเวลาเรียนได้ด้วย
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องคงไว้ซึ่งอุดมการณ์ในการพัฒนาท้องถิ่น เกาะเกี่ยวกับชุมชนให้ได้มากที่สุด ต้องทบทวนการทำงานและหลักสูตรที่เอื้อต่อการผลิตคนออกสู่ตลาดแรงงานสอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่และประเทศ พร้อมติดตามการมีงานทำหลังจบการศึกษา เพื่อประเมินความคุ้มค่าในการจัดการศึกษา การมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ที่จะช่วยขับเคลื่อนประเทศ ในขณะเดียวกัน ก็จะใช้สำหรับวางแผนการบริหารจัดการอย่างมีระบบต่อไปด้วย
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น