เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
1.กำหนดการสอบครูผู้ช่วย (กรณีปกติ)
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 75/2558
ผลประชุม กช. 1/2558
ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ว่าที่ประชุม เห็นชอบแนวทางปรับโครงสร้างการขอรับเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชน แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกขอปรับเพิ่มเป็น 70% ในปีหน้า และเพิ่มเป็น 100% ในระยะต่อไป
● เห็นชอบแนวทางการให้เงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่โรงเรียนเอกชน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มอบหมายให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยารับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการให้การอุดหนุนของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในระยะยาวให้มีความเหมาะสมและมีความยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระด้านงบประมาณเกินควร และให้นำเสนอ คสช. ต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการให้การอุดหนุนของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในระยะยาว โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีกรรมการเช่น เลขาธิการสภาการศึกษาหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงบประมาณ นายกสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น มีเลขาธิการ กช. เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะทำงานได้ศึกษาและจัดทำร่างแนวทางดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการการปรับโครงสร้างการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนทุกระดับทุกประเภทอย่างยั่งยืน เป็น 2ระยะ โดยระยะแรกขอปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 70 และระยะที่สองเป็นร้อยละ 100 สรุปดังนี้
-
ระยะที่ 1 ปรับโครงสร้างเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชน ที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกว่า 2,000 โรงเรียน ไปสู่การอุดหนุนด้านอุปสงค์ หรือคูปองการศึกษาในอนาคต เท่ากันทุกระดับคือ ร้อยละ 70 ซึ่งเดิมเงินอุดหนุนในแต่ละระดับไม่เท่ากัน เช่น ก่อนประถมศึกษาร้อยละ 63 ประถมศึกษาร้อยละ 64.14 มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 73.21 เป็นต้น โดย สช.เสนอให้มีการอุดหนุนที่อัตราร้อยละ 70 เท่ากันทุกระดับ/ประเภทวิชา พร้อมทั้งขอตั้งงบประมาณปี 2559 เพื่อดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 (5 เดือน) เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2558 คือ 14,900 บาท เป็น 16,600 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,840,289,800 บาท และขอตั้งเพิ่มในปีงบประมาณต่อไป ปีละ 4,792,505,800 บาท นอกจากนี้ได้เสนอให้รวมรายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เงินสมทบเป็นเงินเดือนครู และเงินอุดหนุน ให้เหลือเพียงเงินอุดหนุนรายบุคคลรายการเดียว เพื่อความสะดวกในการจัดสรรงบประมาณ
-
ระยะที่ 2 ปรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชนเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 70 อีกร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อนำไปสู่อัตราร้อยละ 100ของค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนภาครัฐที่คำนวณเป็นปัจจุบันของปีที่ปรับ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น และวางระบบฐานข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและคุณภาพโรงเรียนด้วย
สำหรับโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลไม่ถึงอัตราร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนภาครัฐ เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาส่วนที่ยังได้รับการอุดหนุนไม่เต็มอัตราได้ แต่เมื่อรวมกับเงินอุดหนุนแล้ว ต้องไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนภาครัฐ เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ปกครองและนักเรียนในระยะแรก และสามารยกเลิกการกำหนดเพดานค่าธรรมเนียมการศึกษา เมื่อได้ปรับอัตราเงินอุดหนุนเป็นร้อยละ 100 แล้ว
นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการ กช. กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ สช.เพิ่มเงินอุดหนุนรายบุคคล แต่จะเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าใด ให้หารือกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สนย.สป.) และคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินที่มี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) สมชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ซึ่งกำลังดำเนินการเรื่องนี้ในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ได้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งระยะแรกอาจจะน้อยหรือมากกว่าที่ สช.เสนอ คือ 16,600 บาทก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังย้ำด้วยว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนรายบุคคลจะต้องส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น และไม่ให้เกิดกรณีเด็กซ้ำซ้อนด้วย ซึ่งในเรื่องความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นไม่น่ากังวล เพราะขณะนี้ สช.ใช้ระบบเลขประจำตัว 13 หลักอยู่แล้ว
● เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
ที่ประชุมเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการ และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
โดยมีประเด็นสำคัญที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข คือ เพิ่มคำนิยามให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น การใช้ที่ดินในการจัดตั้งโรงเรียนในระบบประเภทนานาชาติ การขยายความจุสูงสุดของนักเรียนในโรงเรียนแต่ละประเภท และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้งที่เป็นการขอเปลี่ยนแปลงขนาดที่ดิน หรือสถานที่ตั้ง หรือย้ายสถานที่ข้ามเขตจังหวัด เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
● รับทราบการอนุมัติหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ 2 โรงเรียน
ที่ประชุมรับทราบผลการอนุมัติหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ ของคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติและกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 โรงเรียน คือ
1) โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ กรุงเทพฯ โดยอนุมัติให้ใช้หลักสูตรประเทศสหราชอาณาจักร ระดับชั้นอนุบาล (Nursery 1) Foundation (Early Year Stage Foundation - EYSF : Ages 0-5)
2) โรงเรียนขจรเกียรตินานาชาติ ภูเก็ต โดยอนุมัติให้ใช้หลักสูตรแห่งชาติของประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา Key Stage 3 : Age 11-14 (Year 7-9) and Key Stage 4 : Age 14-16 (Years 10-11)
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 75/2558
ผลประชุม กช. 1/2558
ผลประชุม กช. 1/2558
ศึกษาธิการ - พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) ครั้งที่ 1/2558 เมื่อวันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ว่าที่ประชุม เห็นชอบแนวทางปรับโครงสร้างการขอรับเงินอุดหนุนโรงเรียนเอกชน แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกขอปรับเพิ่มเป็น 70% ในปีหน้า และเพิ่มเป็น 100% ในระยะต่อไป
● เห็นชอบแนวทางการให้เงินอุดหนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่โรงเรียนเอกชน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2557 มอบหมายให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยารับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการให้การอุดหนุนของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในระยะยาวให้มีความเหมาะสมและมีความยั่งยืน โดยไม่เป็นภาระด้านงบประมาณเกินควร และให้นำเสนอ คสช. ต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางการให้การอุดหนุนของรัฐในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนในระยะยาว โดยมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน มีกรรมการเช่น เลขาธิการสภาการศึกษาหรือผู้แทน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงบประมาณ นายกสมาคมสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น มีเลขาธิการ กช. เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งคณะทำงานได้ศึกษาและจัดทำร่างแนวทางดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว จึงเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ที่ประชุมพิจารณาแล้ว มีมติเห็นชอบในหลักการแนวทางการการปรับโครงสร้างการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนทุกระดับทุกประเภทอย่างยั่งยืน เป็น 2ระยะ โดยระยะแรกขอปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 70 และระยะที่สองเป็นร้อยละ 100 สรุปดังนี้
- ระยะที่ 1 ปรับโครงสร้างเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชน ที่รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลกว่า 2,000 โรงเรียน ไปสู่การอุดหนุนด้านอุปสงค์ หรือคูปองการศึกษาในอนาคต เท่ากันทุกระดับคือ ร้อยละ 70 ซึ่งเดิมเงินอุดหนุนในแต่ละระดับไม่เท่ากัน เช่น ก่อนประถมศึกษาร้อยละ 63 ประถมศึกษาร้อยละ 64.14 มัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 73.21 เป็นต้น โดย สช.เสนอให้มีการอุดหนุนที่อัตราร้อยละ 70 เท่ากันทุกระดับ/ประเภทวิชา พร้อมทั้งขอตั้งงบประมาณปี 2559 เพื่อดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 (5 เดือน) เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2558 คือ 14,900 บาท เป็น 16,600 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,840,289,800 บาท และขอตั้งเพิ่มในปีงบประมาณต่อไป ปีละ 4,792,505,800 บาท นอกจากนี้ได้เสนอให้รวมรายการเงินอุดหนุนรายบุคคลในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายพื้นฐาน เงินสมทบเป็นเงินเดือนครู และเงินอุดหนุน ให้เหลือเพียงเงินอุดหนุนรายบุคคลรายการเดียว เพื่อความสะดวกในการจัดสรรงบประมาณ
- ระยะที่ 2 ปรับเงินอุดหนุนรายบุคคลนักเรียนโรงเรียนเอกชนเพิ่มขึ้นจากอัตราร้อยละ 70 อีกร้อยละ 10 ต่อปี เพื่อนำไปสู่อัตราร้อยละ 100ของค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนภาครัฐที่คำนวณเป็นปัจจุบันของปีที่ปรับ โดยให้กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการปรับเพิ่มเงินอุดหนุนให้เชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการตรวจสอบข้อมูลนักเรียนเอกชนที่ได้รับเงินอุดหนุนไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น และวางระบบฐานข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและคุณภาพโรงเรียนด้วย
สำหรับโรงเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลไม่ถึงอัตราร้อยละ 100 ของค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนภาครัฐ เก็บค่าธรรมเนียมการศึกษาส่วนที่ยังได้รับการอุดหนุนไม่เต็มอัตราได้ แต่เมื่อรวมกับเงินอุดหนุนแล้ว ต้องไม่เกินอัตราค่าใช้จ่ายรายบุคคลนักเรียนภาครัฐ เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ปกครองและนักเรียนในระยะแรก และสามารยกเลิกการกำหนดเพดานค่าธรรมเนียมการศึกษา เมื่อได้ปรับอัตราเงินอุดหนุนเป็นร้อยละ 100 แล้ว
นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร เลขาธิการ กช. กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ สช.เพิ่มเงินอุดหนุนรายบุคคล แต่จะเพิ่มขึ้นจำนวนเท่าใด ให้หารือกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สนย.สป.) และคณะอนุกรรมการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินที่มี ศาสตราจารย์ (พิเศษ) สมชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธาน ซึ่งกำลังดำเนินการเรื่องนี้ในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้ได้อัตราเงินอุดหนุนรายบุคคลที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งระยะแรกอาจจะน้อยหรือมากกว่าที่ สช.เสนอ คือ 16,600 บาทก็เป็นได้ อย่างไรก็ตามที่ประชุมยังย้ำด้วยว่า การเพิ่มเงินอุดหนุนรายบุคคลจะต้องส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น และไม่ให้เกิดกรณีเด็กซ้ำซ้อนด้วย ซึ่งในเรื่องความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นไม่น่ากังวล เพราะขณะนี้ สช.ใช้ระบบเลขประจำตัว 13 หลักอยู่แล้ว
● เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ
ที่ประชุมเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการ และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2555 เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
โดยมีประเด็นสำคัญที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข คือ เพิ่มคำนิยามให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น การใช้ที่ดินในการจัดตั้งโรงเรียนในระบบประเภทนานาชาติ การขยายความจุสูงสุดของนักเรียนในโรงเรียนแต่ละประเภท และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้งที่เป็นการขอเปลี่ยนแปลงขนาดที่ดิน หรือสถานที่ตั้ง หรือย้ายสถานที่ข้ามเขตจังหวัด เพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมการศึกษาเอกชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
● รับทราบการอนุมัติหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ 2 โรงเรียน
ที่ประชุมรับทราบผลการอนุมัติหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติ ของคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรโรงเรียนนานาชาติและกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 โรงเรียน คือ
1) โรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ กรุงเทพฯ โดยอนุมัติให้ใช้หลักสูตรประเทศสหราชอาณาจักร ระดับชั้นอนุบาล (Nursery 1) Foundation (Early Year Stage Foundation - EYSF : Ages 0-5)
2) โรงเรียนขจรเกียรตินานาชาติ ภูเก็ต โดยอนุมัติให้ใช้หลักสูตรแห่งชาติของประเทศเครือจักรภพอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา Key Stage 3 : Age 11-14 (Year 7-9) and Key Stage 4 : Age 14-16 (Years 10-11)
โดย www.tuewsob.com
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง ติวสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น