เรื่องใหม่ ...น่าโหลด...(วันนี้)
1.กำหนดการสอบครูผู้ช่วย (กรณีปกติ)
3.เครื่องแบบพนักงานราชการ 2557
- คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
-นโยบาย รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ
- ครม.ประยุทธ์ 1 ที่ http://tuewsob.blogspot.com/2014/08/blog-post_29.html
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/A/055/1.PDF
ข้อสอบออนไลน์ ( สอบครู - ผู้บริหาร - บุคลากรการศึกษา) ชุดใหม่ล่าสุด
เตรียมสอบ บน ยูทูป ทั้งหมด ได้ที่
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 107/2558
ผลการประชุม ก.พ.อ. 3/2558
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา - ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันพุธที่ 25 มีนาคม 2558 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 โดยมีผลการประชุมที่สำคัญสรุปดังนี้
เห็นชอบร่างข้อบังคับ ก.พ.อ.ว่าด้วยการอุทธรณ์ฯ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ ปลดออก หรือไล่ออก
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับ ก.พ.อ.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือกรณีถูกสั่งลงโทษปลดออกหรือไล่ออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีการแก้ไขปรับปรุงจากเดิมที่ได้ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 คือ ข้อ 4 ซึ่งแต่เดิมกำหนดให้ ก.พ.อ.อาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอุทธรณ์แทนได้ แต่ร่างใหม่ได้กำหนดให้ "คณะอนุกรรมการมีอำนาจเพียงดำเนินการตามขั้นตอนต่าง และรวบรวมข้อเท็จจริง และเสนอความเห็นต่อ ก.พ.อ.พิจารณาวินิจฉัยเท่านั้น" และข้อ18 และ 19 กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ หรือปลดออก หรือไล่ออก ซึ่งแต่เดิมได้กำหนดให้ต้องมีการลงลายมือชื่อของกรรมการที่วินิจฉัยอุทธรณ์ ทำให้เกิดความยุ่งยากในทางปฏิบัติ จึงได้แก้ไขให้เกิดความคล่องตัวขึ้น โดยกำหนดให้ "ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้มีการจัดทำรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐานแห่งคำวินิจฉัย โดยมีข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณา และข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ"
เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ ในการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเข้าสู่บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์และวิธีการในการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเข้าสู่บัญชีเงินเดือนท้ายกฎ ก.พ.อ.ว่าด้วยการกำหนดบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. .... เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาถือปฏิบัติให้สอดคล้องกับการพิจารณาปรับเงินเดือนเพิ่มขั้นร้อยละ 4 และการขยายเพดานเงินเดือนขั้นสูงร้อยละ 10 ของข้าราชการทั้งระบบต่อไป
เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของสถาบันวิทยาลัยชุมชน
จากการที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติในคราวประชุม เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 ได้ลงมติเห็นสมควรประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยให้ประกาศเป็นกฎหมายต่อไปนั้น จะส่งผลให้สถาบันวิทยาลัยชุมชนเป็นนิติบุคคล ที่ประชุมจึงเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อวางระบบและหลักการ กำหนดเกณฑ์ วิธีการ แนวทาง ในบริหารงานบุคคล รวมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับตำแหน่งทางวิชาการและเงินประจำตำแหน่ง ของผู้สอนในสถาบันวิทยาลัยชุมชน ให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรใหม่ทั้งระบบ ซึ่งองค์ประกอบคณะอนุกรรมการดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 14 คน โดยมี นายบุญปลูก ชายเกตุ เป็นประธานอนุกรรมการ
เห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย
ที่ประชุมเห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ จำนวน 2 ราย นับตั้งแต่วันที่แต่ละสภามหาวิทยาลัยได้รับเรื่อง ดังนี้ 1) รศ.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาวิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2) รศ.โสภณ ชีวะธนรักษ์ ให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาวิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การดำเนินงานตาม นโยบาย Talent Mobility
จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 ได้เห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility) ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการนั้นจะต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยของภาครัฐที่จะไปปฏิบัติงานเต็มเวลาในภาคเอกชน มีการนับอายุราชการหรืออายุงานต่อเนื่อง รวมทั้งบุคลากรที่มีข้อผูกพันตามสัญญาการชดใช้ทุน ให้นับเป็นระยะเวลาชดใช้ทุนตามสัญญาด้วย
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้เสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณา ร่างประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รอง ศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรต้องมีการปรับปรุงร่างประกาศดังกล่าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดนิยามภาระงานด้านการสอน/การวิจัย/บริการวิชาการ การกำหนดภาระงานขั้นต่ำ ฯลฯ แล้วให้นำเสนอที่ประชุม ก.พ.อ.พิจารณาครั้งต่อไป
โอกาสนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวในที่ประชุมถึงนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้สถาบันอุดมศึกษา re-Profile แต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อ "ดูแลประเทศชาติ ไม่ใช่ดูแลแค่นักศึกษาเท่านั้น" ใน 3 กลุ่ม ทั้งมหาวิทยาลัยกลุ่มวิจัยและพัฒนา กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่เน้นสร้างนักปฏิบัติทาง ด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หรือกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เน้นด้านเทคโนโลยีและอาชีพเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่มีการจัดการ สอนอาชีพหรือเทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ เช่น ด้านอิเล็กทรอนิกส์IT การแปรรูปอาหาร ฯลฯ
จึงต้องการให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็น Smart Worker ที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะการนำความรู้ด้าน IT-Based เพื่อนำการศึกษาไปสู่นักศึกษาและประชาชน รวมทั้งสามารถจัดการเรียนการสอนภาษาประเทศอาเซียนได้ เช่น การสอนภาษาBahasa ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือภาษาเขมร ในจังหวัดที่มีชายแดนติดกับกัมพูชา เป็นต้น
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 107/2558
ผลการประชุม ก.พ.อ. 3/2558
ผลการประชุม ก.พ.อ. 3/2558
เห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ ในการปรับเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาเข้าสู่บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง
การดำเนินงานตาม นโยบาย Talent Mobility
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จึงได้เสนอให้ที่ประชุมได้พิจารณา ร่างประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รอง ศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ พ.ศ. .... เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานตามนโยบายดังกล่าว ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรต้องมีการปรับปรุงร่างประกาศดังกล่าวให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น การกำหนดนิยามภาระงานด้านการสอน/การวิจัย/บริการวิชาการ การกำหนดภาระงานขั้นต่ำ ฯลฯ แล้วให้นำเสนอที่ประชุม ก.พ.อ.พิจารณาครั้งต่อไป
โอกาสนี้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ ได้กล่าวในที่ประชุมถึงนโยบายของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้สถาบันอุดมศึกษา re-Profile แต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อ "ดูแลประเทศชาติ ไม่ใช่ดูแลแค่นักศึกษาเท่านั้น" ใน 3 กลุ่ม ทั้งมหาวิทยาลัยกลุ่มวิจัยและพัฒนา กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่เน้นสร้างนักปฏิบัติทาง ด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หรือกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เน้นด้านเทคโนโลยีและอาชีพเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ที่มีการจัดการ สอนอาชีพหรือเทคโนโลยีอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ไม่ใช่เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ เช่น ด้านอิเล็กทรอนิกส์IT การแปรรูปอาหาร ฯลฯ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โดย www.tuewsob.com
โดย www.tuewsob.com
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง เตรียมสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
อัพเดทเรื่องราว - ข้อสอบใหม่ ๆ
เข้าห้องสอบออนไลน์ ( ฟรี)
ห้องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
... ห้องเตรียมสอบผู้บริหาร + การศึกษาพิเศษ
... ห้อง เตรียมสอบ (กรณีศึกษา)
เตรียมสอบครูผู้ช่วย 5 ภาค ปี 2558
ฟรี... ห้องเตรียมสอบ-ครูผู้ช่วย
-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น