อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงมีความห่วงใยต่อพสกนิกร ในการเตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานราชการ ประชาชน และจิตอาสาต่างๆในการเข้าสำรวจขุดลอกคูคลองและท่อระบายน้ำที่อุดตัน รวมถึงการกำจัดขยะ ผักตบชวา และวัชพืชที่มีอยู่ตามบริเวณคูคลองดังกล่าว ในหลายเขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ คลองเสือน้อย คลองบางซื่อ คลองทุ่ง คลองกระเฉด คลองลานโตนด คลองนาวงประชาพัฒนา คลองหมอนทอง และคลองตาสุ่ม เพื่อให้สามารถเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วในกรณีฝนตกหนัก และป้องกันปัญหาน้ำท่วมขัง อีกทั้งยังส่งผลให้สภาพแวดล้อมสะอาดขึ้น ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ของประชาชนในชุมชนใกล้เคียงอีกด้วยนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น
ในการนี้ รัฐบาลและ คสช. ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ในการสืบสานพระราชดำริ โดยได้ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ในการขยายผล ตามแผนเตรียมการรับมือและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ออกไปยังพื้นที่ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน และชุมชน ให้ดูแลคูคลองสาขา และทางระบายน้ำย่อยๆ ในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบด้วย เพื่อควบคู่ไปกับการปฏิบัติของหน่วยงานราชการ ในการเร่งระบายน้ำ และหาวิธีการอื่นๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยให้ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วย
พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ
ประเทศชาติของเรา จำเป็นต้องปฏิรูปในหลายมิติเพื่อขับเคลื่อนประเทศ
1. ประเด็นความมั่นคง เราต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง ช่วยสังเกตสิ่งผิดปกติ ช่วยเจ้าหน้าที่ในการป้องกันเหตุร้ายในทุกกรณี ในพื้นที่ของตน เป็นเรื่องของการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้เป็นสังคมแห่งความสงบสันติ ขณะเดียวกัน เราต้องมีศักยภาพในเรื่องของการป้องกันประเทศ อธิปไตยตามแนวชายแดน ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ ในดินแดนที่เป็นอธิปไตยของเรา ไปพร้อมๆ กันด้วย ทั้งนี้ หากประเทศชาติมั่นคง มีเสถียรภาพ เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น โดยปริยาย
2. ประเด็นเศรษฐกิจ ต้องกลับไปดูการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย และต่างประเทศ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาว่าเราและเขามีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มีความเหมือน ความแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร มีการกระจายรายได้ จากบน กลาง ลงสู่ฐานราก เพียงพอหรือยัง มีกลไกเชื่อมโยงถึงกันหรือไม่เราจะพึ่งพาเพียงระบบราชการอย่างเดียว คงไม่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ ต้องนำมาพิจารณา จากปัญหาพื้นฐานของคนไทยเราก่อนด้วย แล้วจึงจะมาดูว่า เราจะแก้ไขทุกระดับให้เข้มแข็งได้อย่างไร โดยการเพิ่มพูนความรู้ เทคโนโลยี เสริมสร้างขีดความสามารถให้เขาได้อย่างไร ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ทั้งในงบประมาณงานฟังก์ชั่น เพื่อที่จะลดความเหลื่อมล้ำ และงบบูรณาการ เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ความเข้มแข็งให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นพื้นที่ เป็นกลุ่มรายได้นะครับ บางกลุ่ม มีรายได้ต่ำเกินไป ไม่ถึง 100 บาทต่อวัน
จากการลงทะเบียนของผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะมีอาชีพรับจ้าง เกษตรกร อาชีพอิสระ และยังมีหนี้ติดตัวอีกด้วย บางอย่างเราต้องแก้ด้วยกฎหมาย ด้วยความร่วมมือประชารัฐ ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่เราอยากจะมี อยากจะดีขึ้น เราจะต้องเผื่อแผ่แบ่งปันกันได้อย่างไร ทำอย่างไร เราจะแก้ปัญหา “วาทะกรรม” ที่พูดกันมาเสมอเรื่องของการเอื้อประโยชน์นายทุน และการปล่อยให้มีการผูกขาด ให้หมดไปได้บ้าง เรื่องนี้ คงไม่น่าจะใช่ เรื่อง“การแบ่งชนชั้น” ก็ขออย่าสร้างความเข้าใจผิดๆ ให้กับสังคม เราต้องให้เห็นความจริงที่ว่า เป็นเพียงการลงทุน การประกอบ การที่ย่อมมีความแตกต่างกัน ได้รับผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน ทุนมาก ทำมาก เสี่ยงมาก ก็อาจจะได้มาก สัดส่วนแบ่งก็ต้องพอเพียงในการที่จะดูแลผู้ใช้แรงงานต่างๆ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกอบกิจการของท่าน ขอฝากภาคธุรกิจดูแลด้วย อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการค้าการลงทุนในโลกเสรี “สัดส่วน” ของผลประโยชน์ ที่นักลงทุนได้รับ ก็ต้องกระจายไปสู่ “ผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ”ให้ได้มากที่สุด ให้เขาพอเพียง เช่น แรงงานได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ดูแลสวัสดิการต่างๆเพียงพอหรือไม่ สิทธิมนุษยชนต่างๆ เป็นอย่างไรจะเกิดประโยชน์และเกิดการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้นกว่าในอนาคต
3. ประเด็นด้านสังคม เรามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องทำให้สังคมเรานั้น เป็น “สังคมที่มีคุณภาพ” มีคนที่มีคุณภาพ มีการศึกษาที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ตลอดจนถึงการประกอบอาชีพ ที่ต้องมีการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักคิดที่ถูกต้อง เหมาะสมกับความมีอัตลักษณ์ มีวัฒธรรมอันดีงามของไทย การพัฒนาแบบตะวันตก ตะวันออกต้องผสมกันไปด้วย เมื่อจบการศึกษามาแล้วก็ต้องมีงานทำ ทำงานเป็น และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับราชการ หรือเป็นแรงงานในภาคการผลิตต่าง ๆ ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม หรือภาคท่องเที่ยวและบริการ เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เช่น สาขาอาชีพที่ขาดแคลนด้าน STEM นักวิจัยและพัฒนาและอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อจะรองรับนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ที่เน้นการสร้างนวัตกรรม และการให้ความสำคัญกับ “10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย” ที่สำคัญ เราต้องผลิตคนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม จริยธรรม ทั้งนี้ เมื่อคนในสังคมมี “จิตสำนึกที่ดี” องค์กรก็จะมี “ธรรมาภิบาล” แล้วประเทศชาติก็จะแข็งแรงได้ในแบบไทยๆ ในที่สุด เราต้องฝึก “คนไทยยุคใหม่” ให้มีวิสัยทัศน์ คิดล่วงหน้า คิดมีแบบแผน และปฏิบัติงานได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยไม่นิยมความขัดแย้ง ความรุนแรงแต่ยอมรับความเห็นต่าง เพื่อจะแสวงหา “จุดร่วมที่ลงตัว” ร่วมกัน การแก้ไข หรือการดำเนินการใด ก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กแว้น ยกพวกตีกัน โสเภณี ค้ามนุษย์ ผิดกฎหมายอาชญากรรม ต่างๆ เราจะต้องช่วยแก้ไขกันทำให้ได้ เพื่อทำให้สังคมเป็นสังคมที่สันติสุข
ปัญหาสังคมที่สำคัญที่ทุกคนคงมองเห็น ส่วนหนึ่งคือ ความขัดแย้งจากตัวบทกฎหมาย ความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม การปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพบ้าง ปัญหาการเมืองระดับชาติ ระดับท้องถิ่นที่ไม่ดี แต่ที่ดีๆก็มีมาก ทุกอย่างต้องมีทั้งดีและไม่ดี เราคงจะต้องเลือกทำในสิ่งที่ดี และทำให้ดีมากขึ้น สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องพยายามแก้ไขให้หมดไป หรือทำให้ถูกต้อง บางอย่างทำได้เร็ว ทำได้ช้า ค่อยเป็นค่อยไป ก็ต้องไปแยกแยะให้ชัดเจนว่าจะช่วยคิดช่วยกันทำได้อย่างไร ถ้าจะให้รัฐบาลทำเองทั้งหมดเป็นไปไม่ได้เลย เราแก้ไขไม่ได้อย่างสมบูรณ์ ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกทุกครั้งทั้งปัญหาเดิมและปัญหาใหม่ เราจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ทั้งนี้ ปัญหาสังคมนับเป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีส่วนที่ทำให้เป็นสาเหตุให้คนในสังคม “คิดน้อย และก็ทำเร็ว” บางอย่างอาจจะไม่รอบคอบ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ผิดพลาดได้ง่าย บางครั้งการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องในทางทุจริต ทำผิดกฎหมาย ซึ่งเราจำเป็นต้องสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ให้กับประชาชน ประเทศชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสร้างการรับรู้เพื่อความเข้าใจและร่วมมือ เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็จะไม่เกิดการละเมิดสิทธิผู้อื่นและกฎหมาย สังคมก็จะดีขึ้นเองในเรื่องของการที่เราจะทำให้สังคมสงบสุขนั้นที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการปฏิรูปตนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า ไม่ว่าจะอยู่ใน 1.0 2.0 3.0 หรือ 4.0 คนของอนาคตก็ต้องทำไปด้วยกันแต่เวลานี้อย่าไปรอผลิตคนใหม่ และคนเก่าไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงพร้อมกันในเวลานี้ พร้อมกับสร้างคนรุ่นใหม่ไปด้วย
4. ประเด็นด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ไม่ยากเกินความพยายาม ถ้าทำให้คนมีความสนใจ ใส่ใจ ศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ติดตามกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย ดูว่าของเดิมมีปัญหาอะไรอยู่บ้าง กับกฎหมายเดิม บางครั้งก็อาจเป็นการรักษาสิทธิส่วนบุคคลของพวกเรากันเองด้วยถ้าไม่รู้กฎหมายก็จะไม่รู้ว่าตัวเองได้รับการคุ้มครองอย่างไร ซึ่งโดยหลักการแล้ว กฎหมายทุกกฎหมายย่อมรักษาสิทธิของคนส่วนใหญ่ และต้องไม่ลืมที่จะดูแลคนส่วนน้อยอีกด้วย ในเวลาเดียวกันหากทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ไม่ว่าจะกฎหมายใหญ่ กฎหมายเล็กน้อยอะไรก็แล้วแต่ การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น กระบวนการยุติธรรมก็จะเป็นที่เชื่อมั่น ไว้วางใจของประชาชน สังคมก็จะสงบสุข ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ไม่ดีมาเรียกรับผลประโยชน์ หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ หรือตกเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการทุจริตเสียเอง อาทิเช่น การเสนอผลตอบแทน ทุกฝ่ายก็ต้องเป็นหู เป็นตา แจ้งความดำเนินคดี หรือชี้เบาะแสการกระทำผิดกฎหมายที่เราจะต้องคุ้มครองปกป้องให้ด้วย คนทุกระดับเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกล่าวหาว่าเอาแพะเข้ามา ไม่มีการตัดสินคดี โดยปราศจากหลักฐานที่รัดกุม และครบถ้วน ไม่มีวาทะกรรม “คนจนถูกรังแก คนรวยไม่เคยรับโทษ” หรือ “คุกมีไว้ขังคนจน” ซึ่งไม่จริง เพราะอยู่ที่ความชัดเจนของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการเชื่อฟังเคารพกฎหมายของทุกคนด้วย
สิ่งเหล่านี้ เราต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ รัฐบาลนี้ได้ผลักดัน “กองทุนยุติธรรม” ให้เกิดขึ้นแล้ว แม้เป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ก็ยังไม่พอ เราทุกคนต้องใส่ใจ ด้วยการเอากฎหมายมาดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายประชาชนมาดู มาอ่าน มาพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไร เขาเขียนว่าอย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร ไม่ใช่เอามาตีความเพื่อจะต่อต้านกันทั้งหมด อะไรผิด อะไรถูก ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย ถ้าเราจะทำตามกฎหมายง่ายๆเหล่านั้น ก็ต้องเป็นไปตามหลักสากลอยู่แล้ว ทุกคนจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกัน พูดคุยในสิ่งอันเป็นประโยชน์ สื่อมวลชนก็ช่วยได้มาก โดยเฉพาะการเสนอข่าว ที่เราจะต้องเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องกฎหมายไปด้วย หรือให้ระวังภัยต่างๆ มากกว่าการเล่าเรื่องส่วนตัวของผู้กระทำผิด และครอบครัวต่าง ๆ ที่ลงลึกในรายละเอียดจนเกินไป ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งในส่วนของผู้ต้องหาหรือในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดดังกล่าวเหล่านั้นด้วย
สำหรับกระบวนการยุติธรรมนั้น รัฐบาลก็มีส่วนสำคัญ ที่ต้องดูแลให้เดินหน้าได้ตามครรลองของกระบวนที่เป็นสากล เชื่อถือได้ผู้ต้องหาที่มีฐานะดีสามารถต่อสู้คดีได้ รัฐบาลก็ดูแลผู้ถูกกล่าวหาที่ยากจน รายได้น้อย ให้ได้รับโอกาส ในการต่อสู้คดีได้ด้วย อย่างเท่าเทียมกัน แล้วทุกอย่างในกระบวนการยุติธรรม ก็จะได้รับการยอมรับ
5. ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เราต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่อย่างจำกัด โดยใช้สอยให้คุ้มค่าด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการหามาทดแทนเพื่อไม่ให้ขาดแคลน เช่น การหาแหล่งน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำฝน ทั้งในเขตชลประทาน นอกเขตชลประทาน การใช้พลังงานทางเลือก รวมทั้งการปลูกป่าทดแทน การให้คนอยู่ร่วมกับป่า สร้างป่า ดูแลป่า ปลูกป่า สร้างป่าชุมชน ทำป่าในเมือง ปลูกไม้ยืนต้นในเขตเมืองให้มากขึ้น เหล่านี้เป็นต้น
ที่ผ่านมา ทุกคนจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐแต่เพียงผู้เดียว อาจจะถูกมองข้าม ปล่อยปละละเลยมาโดยตลอดก็เป็นนโยบายของรัฐบาลนี้ ให้ทุกส่วนราชการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดในเรื่องของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกต้นไม้ทุกส่วนราชการ คงไม่ใช่เฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกรมป่าไม้แต่เพียงอย่างเดียว เราต้องมุ่งเน้นการพัฒนาที่คำนึงถึงเรื่องความสมดุลกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น
เราต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ว่าวันหน้าจะมีทรัพยากรใช้อย่างพอเพียงได้อย่างไร มีเสถียรภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา โดยสามารถลดผลกระทบอื่นๆ เช่น ภาวะโลกร้อน มลภาวะในชุมชน รวมทั้งปัญหาทางสุขภาพของประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้ เราคงปฏิเสธการพัฒนาไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบตะวันตกหรือตะวันออกก็ตาม แต่เราสามารถจะเลือกการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่จะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นได้ ตรงนี้ต้องร่วมกันก่อน แสวงหาทางออก สร้างความร่วมมือ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทุกอย่างย่อมจะดีขึ้นเอง และวันนี้ก็มีปัญหาเรื่องผลผลิตทางการเกษตรหลายอย่าง ที่ต้องมาดูว่า ดีมานด์กับซัพพลายได้หรือไม่ ไปปลูกในพื้นที่บุกรุกเพิ่มขึ้นหรือไม่ ผมไม่อยากจะไปโทษผู้มีรายได้น้อย แต่ท่านต้องดูว่าถูกต้องหรือไม่ในการที่จะขยับขยายการปลูกไปเรื่อยๆ บุกรุกป่าบ้าง อะไรบ้าง แล้วปลูกมาในปริมาณที่มากจนเกินความต้องการของโรงงานต่างๆ แล้วก็มาร้องให้รัฐบาลช่วยตลอดเวลา ซึ่งผิดกฎหมายตั้งแต่ต้น เสร็จแล้วพอบังคับใช้กฎหมายก็กลายเป็นว่า ไปรังแกคนจนอีก ทำให้เกี่ยวพันกันในหลายๆมิติ เราต้องดูแลกันทั้งด้านสิทธิมนุษยชน สังคม เศรษฐกิจ และกฎหมาย ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องโครงการก่อสร้างต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาต่างๆ อย่างยั่งยืน หลายๆอย่างเป็นนโยบายดีๆ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวม แต่เราเดินหน้าไปไม่ได้เต็มที่มากนัก เป็นเหตุให้เราต้องแตกเป็นโครงการเล็กๆ ทำให้เกิดผลในวงแคบๆ แก้ปัญหาได้ไม่กว้าง ไม่ลึกซึ้ง ไม่ยั่งยืน ทำได้เฉพาะในพื้นที่จำกัด ที่ประชาชนเข้าใจ และยินยอมให้ดำเนินการได้
ผมไม่ได้หมายความจะไปบังคับท่าน แต่ท่านต้องมองว่าท่านมาเจอปัญหาที่ร้ายแรง ที่รุนแรง อาทิเช่น น้ำท่วม ฝนแล้งมาโดยตลอด แต่ท่านก็ให้เราทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้นก็แก้ไม่ได้ทั้งสิ้น ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างบูรณาการ ไม่เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ส่วนรวมก็ไม่ได้รับประโยชน์ ส่วนน้อยอาจจะได้ประโยชน์ แต่ส่วนรวมไม่ได้ประโยชน์ และส่วนน้อยก็ต้องเสียประโยชน์ไปด้วยในภายหลัง เพราะขัดกับผลประโยชน์ส่วนบุคคล หรือองค์กรเท่านั้น อาทิ การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ แก้มลิง ระบบส่งน้ำ หรือระบบชลประทาน เหล่านี้เป็นต้น บางครั้งอาจมีการแสวงหาประโยชน์จากนโยบายทางการเมือง หรือการตีความกฎหมาย ที่ก่อประโยชน์เพียงแต่คนส่วนน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้อะไรเกิดขึ้น แต่กลับยังคงต้องรับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญในการผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ ที่เน้นใน 3 เรื่อง คือ “การคุ้มครอง การเคารพ และเยียวยา” ทั้งนี้ เพื่อจะให้ประชาชนมีความสุข ขอให้ทุกฝ่ายทั้งภาคธุรกิจ เอกชน ข้าราชการให้ความสนใจ และนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย
6. ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้ทุกคนทราบดี โลกมีหลายขั้ว หลายกลุ่ม หลายฝ่าย ยังคงมีความขัดแย้ง และอาจขยายเป็นสงครามได้ตลอดเวลามีทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศยากจน ซึ่งแต่ละประเทศ ต้องย่อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นที่ตั้งมาก่อนสิ่งอื่นใด แต่เราในฐานะเป็นชาวโลก ต้องคิดด้วยว่า เราจะร่วมมือ สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างไร รูปแบบไหน เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และต้องเข้มแข็งไปด้วยกัน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ด้วยความสัมพันธ์ ทั้งทวิภาคี ไตรภาคี พหุภาคี ที่อาจเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ได้กับหลายๆประเทศ หลายๆมหาอำนาจ เพื่อจะส่งเสริมศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างกัน โดยเราเองต้องพัฒนาตนเองให้เร็ว ให้ทันโลก ให้ก้าวมาอยู่ในบทบาทประเทศผู้ให้ โดยเราจะต้องลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศให้ได้ พร้อมกับสนับสนุนความเชื่อมโยงต่างๆให้เกิดความร่วมมือในทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อีกทั้งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งอยู่ในความสนใจในเวทีโลก และองค์กรระหว่างประเทศที่เราต้องสร้างให้เกิดความร่วมมือใหม่ๆ ในอนาคต เช่น “SEP for SGD 2030” ซึ่งเป็นแนวทางของรัฐบาลนี้ ในการน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปแลกเปลี่ยน สนับสนุน ประยุกต์ ให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ สหประชาชาติ ในอีก 15 ปีข้างหน้า เป็นต้น
สำหรับระดับและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น มีผลอย่างมากต่อการลงทุนในปัจจุบันและในอนาคต เพราะเรายังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง 100%และทุกประเทศต่างก็เป็นเสมือนเพื่อน ที่จะช่วยกัน จูงมือกันไปข้างหน้า พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน เราจะต้องรักษาความสมดุลกับประเทศเหล่านั้นให้ได้
7. ประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญลำดับสูงสุด ทุกรัฐบาลต้องให้ความใส่ใจ สนใจ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด อนุบาล ประถม มัธยม อาชีวะ หรือตามอัธยาศัยอื่นๆด้วย โดยรัฐบาลนี้ พยายามจัดระบบให้มีความเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ทั้งสถานศึกษา ตลาดแรงงาน ภาคการผลิต เป็นต้น และต้องเป็นการศึกษาที่ใช้งานได้จริง ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัว ในครอบครัว ในสังคม ไปสู่การประกอบอาชีพการงาน มีการปลูกฝังอุดมการณ์ ปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความตระหนักในบทบาท ความรับผิดชอบ ซึ่งมีทั้งหน้าที่ซึ่งต้องมาคู่กับสิทธิ ทั้งนี้ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ พร้อมกับการพัฒนาการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมกับคนรุ่นเก่าไปด้วย และจะทำอย่างไร เราจะมีบุคลากรที่มีคุณภาพ ทั้งในระบบราชการ ภาคธุรกิจ เอกชน รวมทั้งในการประกอบการ SME และ Start-up ด้วย
ทั้งนี้ เรายังขาดอีกหลายอย่าง ซึ่งรัฐบาลต้องอำนวยความสะดวกให้กลไก “ประชารัฐ” ขับเคลื่อนไปด้วยกันเราแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะรัฐบาลทำเองไม่ได้ทั้งหมดอย่างที่กราบเรียนไปแล้ว หากไม่มีภาคเอกชน ภาคประชาชน ก็จะไม่มีพลัง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย หากไม่ได้รับการเหลียวแล ก็จะขาดองค์ความรู้ ขาดวิทยาการสมัยใหม่ ขาดเทคนิค เทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นต้น รัฐบาล โดยข้าราชการต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยง สร้างเครือข่าย สร้างความเข้าใจ สร้างสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย
ตัวอย่าง ปัญหาที่เกิดจากความไม่เชื่อมโยงกัน ในประเด็นการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และนโยบายในการบริหารประเทศ คือการวิจัยและพัฒนา ซึ่งต้องมองว่าเราจะวิจัยอะไร เราควรวิจัยในสิ่งที่เราขาดก่อนหรือไม่ ควรกำหนดเป้าหมายในการผลิตคน แรงงาน การให้ทุน สนับสนุนโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายชัดเจน การกลับสู่ภูมิลำเนา อยู่กับครอบครัว เพื่อสร้างความอบอุ่นในสังคมได้อีกด้วย เราจะต้องคิดว่าเราจะผลิตใคร ไปทำอะไร เพื่อใคร ที่ไหน อย่างไร จะวิจัย ไปเพื่ออะไร ที่เราจำเป็น มีความต้องการก่อน ทุกอย่างที่เรามีศักยภาพในส่วนของต้นทางอยู่แล้ว ขยายออกไปก็จะเป็นประโยชน์มากกว่าจะวิจัยอะไรออกมาแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้
ประเด็นสำคัญคือเราสามารถจะใช้งบประมาณจัดซื้อจากต่างประเทศลดลง ใช้วัสดุที่เรามีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคการเกษตร รวมทั้งประชาชนทุกระดับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีราคาถูก นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้เอง แล้วก็มีการสร้างมูลค่าเพิ่มคิดค้นพัฒนาต่อไปได้ โดยผมไม่อยากให้ใช้ทุนการวิจัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม เพียงเพื่อในการเพิ่มวิทยฐานะ แต่เพียงอย่างเดียว หัวข้อวิจัย การใช้งบวิจัย ทั้งของรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ทำอย่างไรงบประมาณการวิจัยมีอยู่จำกัด จัดความเร่งด่วนอย่างไร บริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าหมาย ตั้งระยะเวลาที่จะผลิตออกมา เพราะแต่ละเรื่องล้วนเป็นความต้องการทั้งสิ้น
ทั้งนี้ เราอาจต้องมีการรวมกลุ่มงานวิจัย เป็นเรื่องๆ เป็นคลัสเตอร์ อาทิ ด้านเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พลังงานเหล่านี้ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งด้วยกัน ของรัฐมาจากการวิจัยของรัฐ ของภาคเอกชนธุรกิจ และอันที่ 3 คือจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่มากมาย มีผลการวิจัยอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเรามาจัดเป็นคลัสเตอร์แล้ว จะเป็นการสนับสนุนไปสู่ในเรื่องของการขึ้นทะเบียน การสนับสนุนเงินทุน ไปสู่ในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน ผ่านมาตรฐาน สมอ. ผ่านมาตรฐาน อย. ก็นำไปสู่การผลิตได้ และก็ใช้ได้ บางทีทำไม่ครบก็ติดไปหมดทุกอัน วันนี้รัฐบาลได้เร่งรัดอยู่แล้ว เราจะต้องมีกรอบนโยบายวิจัยที่ชัดเจน มีกลไกในการขับเคลื่อน มีงบประมาณรองรับ ตามความเร่งด่วน มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน มีการขึ้นทะเบียนนวัตกรรม ผลักดันสู่ขบวนการผลิตในเชิงพาณิชย์ หรือเอามาใช้ได้ในราชการก่อนเป็นต้น เราต้องคิดต้องทำให้ได้แบบนี้ให้ครบวงจร เราทำหลายอย่าง หลายโครงการวิจัยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ที่ผ่านมานั้นอาจจะไม่มีการขับเคลื่อนเอามาใช้ได้อย่างแท้จริง ก็เลยเหมือนกับว่าเราไม่เก่งหรือไม่ คนไทยไม่มีนักวิจัยหรือไม่ ความเป็นจริงไม่ใช่ เรามี เพียงแต่มีมากมายหลากหลาย ซึ่งบางอย่างสามารถรวมเป็นกลุ่ม เป็นคลัสเตอร์ได้ เราจะได้พัฒนาต่อยอดไปได้เร็วขึ้น แล้วไปเร่งรัดในเรื่องของขบวนการผลิต ผ่านการทดสอบ ทำให้เกิดความปลอดภัยในทุกๆเรื่องก็จะเป็นผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชนต่อไป หากเราสนับสนุนให้ถูกทางถูกต้อง ทำให้เป็นความจริงขึ้นมาได้ ผลงานก็จะเกิดประโยชน์นักวิจัยก็จะมีกำลังใจ มีผลตอบแทนที่ดีพอไม่รั่วไหลไปทำงานต่างประเทศ ทำให้เราเข้าใจว่าเราขาดแคลนนักวิจัย จริงๆแล้วนักวิจัยของเราไปทำงานต่างประเทศมีมาก เห็นอยู่ในภาคธุรกิจเอกชน เพราะฉะนั้นเราต้องเอาทุกคนมารวมมันสมองกันให้ได้ คนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร
บางเรื่องหากเรายังไม่มีประสบการณ์จริงๆ ยังไม่ก้าวหน้าแบบเขา เราก็ต้องเรียนรู้ เอาเทคโนโลยีของเขามาเพิ่มเทคโนโลยีในประเทศของเรา ให้ต่อยอดออกไปให้ได้ เราอาจจะต้องยอมรับความจริงบ้าง บางอย่างเราไม่ถนัด บางอย่างเราไม่มีความชำนาญ เราก็อาจจะต้องเปิดโอกาสให้มีนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เข้ามาช่วยในระยะแรก โดยต้องมีการถ่ายทอดเทคนิค เทคโนโลยี ในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรืออะไรต่างๆก็แล้วแต่ ให้เราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต เราทุกคนต้องเปิดใจให้กว้าง เปิดรับคนอื่นบ้าง ที่ผ่านมาถ้าทุกอย่างเก่งแล้วดี คงไม่หยุดอยู่กับที่ และเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทำไมเรายังไปไม่ถึงประเทศที่มีรายได้สูง ผมก็ไม่อยากให้คิดว่า รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อจะเอื้อประโยชน์ให้กับต่างชาติ ไม่ใช่เลย ไม่ต้องการให้เข้ามาแย่งงาน แย่งอาชีพของคนไทย อะไรที่คนไทยทำได้ ก็ต้องทำ คงไม่ปล่อยให้เราเสียประโยชน์มากขนาดนั้น
ผมอยากให้ไว้ใจรัฐบาลนี้เราจะควบคุม ดูแล ทำให้ข้อกังวลใจต่างๆ เหล่านี้ ได้ดำเนินการได้ ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นผลประโยชน์ต่อคนไทยให้มากที่สุด ใครจะไป ใครจะมา ใครจะได้ประโยชน์ เราเองไม่ใช่หรือเป็นผู้กำหนดมาตรการต่างๆ การทำทีโออาร์ การทำสัญญาต่างๆเราเป็นคนเขียนเอง เพราะฉะนั้นเราย่อมไม่ทำอะไรแบบไม่มียุทธศาสตร์ อย่างที่ทุกคนเป็นห่วงกังวล เราเดินหน้ามาทุกเรื่อง ก็เป็นไปด้วยการพบปะหารือ ศึกษาทำความเข้าใจในทุกๆเรื่อง เปรียบเทียบในประเทศต่าง ๆ บางทีอาจจะรู้ไม่ทั่วถึงกันเลยเกิดความไม่ไว้วางใจมากขึ้น ขอให้ทุกคนสอบถามมาได้
ผมพูดมาทั้งหมดนี้ อาจจะซ้ำๆ กับทุกครั้งที่เคยพูดไป แต่ก็เพียงมุ่งหวังจะทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น ให้เห็นความเชื่อมโยง จากปัญหาหนึ่ง ไปสู่ปัญหาอื่นๆ เพราะฉะนั้น วิธีคิด วิธีการทำ ถ้าหากว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง และแนวทางเดิมแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ต้องหาหนทางใหม่ หากคิดเหมือนเดิม มีโจทย์ มีปัญหา แบ่งปัญหาไปแก้ ต่างคนต่างแก้กันไป แล้วไม่สัมพันธ์กัน ย่อมไม่เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรม ที่เป็นแมส (mass) ขึ้นมา ก็แก้ได้อย่างไม่ยั่งยืน ไม่สมบูรณ์
รัฐบาลนี้ ได้นำแนวทางการแก้ปัญหาแบบบูรณาการมาขับเคลื่อน ทั้งแผนเงิน แผนคน แผนงาน เพื่อจะบริหารจัดการกับปัญหาในทุกปม ทุกประเด็นในเวลาเดียวกัน ให้เกิดการประสานสอดคล้องกัน ซึ่งอาจจะยากเพราะอาจไม่เคยปฏิบัติลักษณะเช่นนี้มาก่อนมากนัก หากเราแก้ไขได้ด้วยการวางแผนร่วมกัน คุยกันให้ละเอียด ตั้งแต่ต้นจนจบ อุปสรรคอยู่ตรงไหน ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน ใครควรจะรับแก้ไขตรงนั้นไป ก็ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่โต้แย้งกันทุกประเด็น ความคิดทุกคนมีประโยชน์ทั้งสิ้น ข้อสำคัญคือ เราต้องมองผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ก็จะมาสู่การแก้ปัญหาได้ทุกปัญหา อย่างยั่งยืน
พี่น้องประชาชน ที่รักครับ
ที่ผมเคยยกเอา “4 คำถาม” กับ “50 ประเด็น” มากล่าวในรายการนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มั่นใจในการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในทางกลับกัน ผมมั่นใจว่าเราทำได้ทุกเรื่องในประเด็นต่างๆ ซึ่งบางประเด็นสำเร็จแล้ว บางอย่างก็ต้องเริ่มต้นทำต่อ บางอย่างต้องอาศัยทั้งเวลาและความร่วมมือเป็นสำคัญ ข้อกฎหมายต้องไปแก้ไขปัญหากัน ไปช่วยกันคิดว่าเราจะร่วมมือกันได้อย่างไร ตามบทบาทหน้าที่และศักยภาพของแต่ละคน แต่ละฝ่าย อย่าคิดอะไรที่ให้เกิดความขัดแย้งกันจนเกินไป บ้านเมืองเราจะไปข้างหน้าไม่ได้ ลูกหลานในวันข้างหน้าในอนาคตก็ไม่มีความสุข รัฐบาลนี้ไม่อยากให้ใครไปบิดเบือนว่า รัฐบาลกลัวว่าจะไม่มีผลงาน ไม่เคยกลัวเพราะผมรู้ดีว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง หลายอย่างอาจจะไม่มีผลมาสู่เป็นรายบุคคล แต่มีผลในส่วนของการทำงานระยะยาวของผู้ร่วมรัฐบาล อย่ามาพูดในเรื่องของสืบทอดอำนาจ หรือต้องการจะเลื่อนการเลือกตั้ง ไม่เคยคิดอย่างนั้นเลย ผมพร้อมน้อมรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ตลอดมา
สำหรับกรณีรถไฟ ไทย-จีน” นั้น ขอให้ทำความเข้าใจอีกที พูดกันหลายครั้ง อย่าสับสนกับข้อมูล เป็นความร่วมมือระหว่างไทย–จีน แบบ “รัฐบาล ต่อ รัฐบาล” มีการร่วมมือกันมาหลายรัฐบาลแล้ว มีข้อตกลงร่วมกัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้เอามาสานต่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อจะเป็นการลงทุนในอนาคต พอดีมีการพัฒนาโครงการหลาย ๆ โครงการของหลายประเทศมหาอำนาจด้วย จึงเชื่อมโยงกันได้พอดี เราจำเป็นต้องเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เชื่อมโยงกับประชาคมโลกอื่นๆอีกด้วย เพราะฉะนั้นมีหลายประเด็น ที่ต้องพิจารณา
1. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง และระบบควบคุมการเดินรถ อาณัติสัญญาณ คือพูดถึงทั้งระบบทั้งเส้นต้องทำทั้ง 3 อย่าง เพราะฉะนั้นฝ่ายไทยได้ตัดสินใจจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีกรอบการเจรจา วงเงินประมาณ 1.7 แสนล้านบาท มีการต่อรองมาตลอด มีการเปรียบเทียบราคาซึ่งกันและกัน ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ได้มีการต่อรองราคาอยู่ประมาณนั้น จะเป็นการจัดการประมูลในส่วนของการก่อสร้าง ให้บริษัทไทยหรืออาจจะมีการร่วมทุนกับบริษัทสัญชาติไทย ดังนั้น ฝ่ายไทยจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และในการบริหารจัดการอื่นๆ ในกรอบดังกล่าว ซึ่งเราต้องเปรียบเทียบมาตลอดในการเจรจาทั้งหมด 18 ครั้ง
2. การร่วมลงทุนของจีนในลักษณะนี้ อาจจะเรียกได้ว่า จีนยังไม่เคยทำกับประเทศใด นอกจากจะใช้ระบบสัมปทานแบ่งปันผลประโยชน์ ทำนองนั้น อันนี้เป็นการรับจ้างก่อสร้าง เมื่อเราพิจารณาแล้วมีความเหมาะสมมากกว่า เพราะฉะนั้นมาตรฐานของจีนนั้น ก็ได้รับการยอมรับเนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีของจีน ไปใช้ก่อสร้างในหลายประเทศแล้ว รวมทั้งหลายประเทศในอาเซียนด้วย หลายหมื่นกิโลเมตร “ฝ่ายไทย” มีโอกาสพิจารณา ทั้งการให้สัมปทานและการลงทุน เราได้เลือกที่จะลงทุนเอง ไม่ได้เป็นการกำหนดจากฝากจีนเลย เนื่องจากหากเป็นระบบสัมปทาน ฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผลประโยชน์ทั้งหมด เช่นที่ทำอยู่ในหลายประเทศในปัจจุบัน ทั้งบนรางสองข้างทางทั้งหมด เพราะว่าไปชดเชยกับค่าก่อสร้าง วันนี้เราจำเป็นต้องเอาตรงนั้นมาอีกส่วนหนึ่งเพื่อพิจารณาให้เกิดประโยชน์ทดแทนรายได้ที่จะลดลงในระยะแรก เราอาจจะได้รายได้ในการสัญจรไปมาขบวนรถอาจจะไม่เพียงพอ ก็เหมือนกับทุกประเทศที่เขาทำอยู่
3. หากฝ่ายไทยเป็นเจ้าของ เราก็จะมีกิจการ เป็นผู้พัฒนา 2 ข้างทางเอง เพื่อจะดูในการสร้างเมืองใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบการทางธุรกิจน้อยใหญ่ ที่พักอาศัยของชุมชน หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องของอนาคต วันนี้ผมได้สั่งการไปยังกระทรวงคมนาคม สนข. ไปคิดแผนเหล่านี้ออกมาควบคู่ด้วยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่ผ่านมาให้แนวทางไปแล้ว ที่สำคัญจะเกิดผลตอบแทนเชิงธุรกิจสูงมาก ดีกว่าที่จะให้เลือกระบบสัมปทาน ประเทศชาติและลูกหลานของเราในอนาคต จะสูญเสียโอกาสและไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า ในอนาคต
4. การแก้กฎหมาย เราจำเป็นต้องไปดูตรงนี้ การใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ในเชิงพาณิชย์ เพราะกฎหมายทำไม่ได้ เราต้องทำให้ได้ในลักษณะ PPP หรือแบบอื่น ด้วยตัวเราเอง จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมานั้น บริเวณเส้นทางรถไฟ ทำอะไรไม่ได้เลย ทางด่วน รถไฟฟ้า เป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคมทั้งหมด ก็ไปทำอย่างอื่นไม่ได้ วันนี้ต้องมาดูตรงนี้ เราจะได้ไม่เสียประโยชน์ธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆไปอีกด้วย ขอร่วมมือด้วย ในอนาคตเรื่องกฎหมาย
5. เราจำเป็นต้องมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ อันนี้จำเป็น เพราะอะไร เพราะว่าต้องมีการเชื่อมต่อเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นไทย – ลาว จีน ปากีสถาน ยุโรปตะวันออก เขามีการเชื่อมโยงกันแล้วในขณะนี้ เราจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงไปด้วยคู่ขนานไปกับทางรถยนต์ข้ามทวีป ข้ามประเทศต่างๆ เราก็ต้อง ทำไปด้วย ทางหลวงต่างๆเหล่านั้น เราก็เคยทำมาแล้ว วันนี้เราเพียงแต่มาทำทางรถไฟ บางคนบอกว่า ทำไมไม่มาทำทางรถไฟไทยทางคู่อย่างเดียวทั้งหมด ก็ต้องคู่ขนานกัน ทางคู่ก็ต้องทำไป ทุกอย่างทั้งหมดปัญหาอยู่ทำได้หรือทำไม่ได้ ติดคนบุกรุกหรือไม่ พื้นที่ป่าหรือไม่ ติดในเรื่องของการทำประชาพิจารณ์หรือไม่ ทั้งหมดคือปัญหาของเรา ถ้าเราปรับได้บ้าง เราเข้าใจกันบ้างก็จะเกิดได้ ไม่เสียเวลา และเราจะได้ตามทันคนอื่นเขาด้วย ในกรอบ One Belt , One Road วันนี้ ลาว อยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมไปยังทางเดียวกับเรา เราต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้
6. เราจำเป็นต้องปรับ จัดทำกฎหมายหลายฉบับ โดยต้องพิจารณาตามความเหมาะสม และคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่เฉพาะ ไทย–จีน รวมทั้งอีก 64 ประเทศในกรอบ One Belt , One Road ควบคู่ไปด้วย
7. การจัดการประมูล ในส่วนที่ “ฝ่ายไทย” ลงทุนเอง เราจะต้องดำเนินการเองทั้งหมด การจัดการประมูล การใช้บริษัทก่อสร้างไทย แรงงานไทยวัสดุในท้องถิ่นของไทยให้มากที่สุด ก็ใช้แต่วิศวกรจากจีนมาเป็นผู้ออกแบบ ควบคุมแล้วดำเนินการก่อสร้างภายใต้การทำงานของบริษัทก่อสร้างของเราซึ่งต้องมี ประสิทธิภาพ มีมาตรฐานด้วย
8. การพิจารณาความคุ้มทุน ทุกคนก็ไม่มองเฉพาะผู้โดยสารที่จะใช้บริการเท่านั้น ทุกประเทศที่ผมไปเยี่ยมเยียนมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แรกๆ ขาดทุนทั้งหมด แต่วันนี้มหาศาลเพราะเกิดผลประโยชน์สองข้างทางตามมาโดยทันที เพราะฉะนั้นเราจะวางแผนอย่างไร เราจะมองผลประโยชน์ตรงนี้อย่างไร ถ้าเราคัดค้านทั้งหมด ธุรกิจเหล่านี้จะเกิดไม่ได้เลย ก็เป็นอย่างที่ทุกคนเป็นห่วง เพราะฉะนั้นผมไม่อยากให้เกิดขึ้น ผลประโยชน์เหล่านี้ จะต้องกระจายลงไปยังแต่ละพื้นที่ที่เส้นทางพาดผ่าน ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างที่อยู่อาศัย พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชนในพื้นที่อีกด้วย
9. เรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการก่อสร้าง โดยวิศวกรของไทยอยู่ร่วมในการวางแผนก่อสร้าง ควบคุมงาน และอื่นด้วย อันนี้อยู่ในสัญญาที่จะต้องไปพูดคุย เจรจากันต่อไป ซึ่งมีการพูดคุยมาต่อเนื่อง
10. ในส่วนประสบการณ์ แม้เราไม่เคยทำมาก่อน แต่ผมเชื่อมั่นในความมีศักยภาพของวิศวกรไทย ว่าสามารถเปิดรับเทคนิคและประสบการณ์ใหม่ๆ จากเส้นทางนี้ ได้มากเพราะเรามีความสามารถอยู่แล้ว เพียงแต่เรื่องอะไรใหม่ๆ เราอาจจะต้องดูในระยะแรกไปก่อน ติดตามศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานในเส้นทางอื่นๆ ซึ่งอาจจะต้องทำเอง ให้มีประสิทธิภาพต่อไป ในเทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
11. เส้นทางอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เส้นทางเหนือ–ใต้ ตะวันออก–ตะวันตก เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอีกครั้ง เราต้องเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันจากหลายๆ ประเทศ ที่มีศักยภาพ สนใจอยากมีส่วนร่วม ไม่ใช่ว่าทำเส้นนี้แล้วเส้นอื่นจะต้องเป็นแบบนี้ มีหลายวิธีการ เราต้องทำให้เกิดขึ้นก่อน 1 เส้นทางหรือไม่ แล้วเรามีการพัฒนา มีการประมูล มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก็จะสามารถที่จะร่วมทุน หรือ TPPร่วมกัน ในโอกาสต่อไปกับทุกประเทศ อย่าเอาอันนี้ไปพันกับอันอื่น ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาในการทำงานต่อไปอีกด้วย
12. เทคนิคในการก่อสร้าง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล อย่าไปห่วงกังวลเลย เพราะเรามีคนรับผิดชอบอยู่แล้ว ที่เรายอมรับได้อยู่แล้ว ระบบอาณัติสัญญาณนั้น เราต้องผูกพันไว้ให้ได้ว่า ต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้กับโครงการต่อๆ ไปไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ตาม ต้องเชื่อมต่อกันให้ได้นะครับ อย่ากังวลในเรื่องนั้นนะครับ เพื่อให้การเดินรถมีความปลอดภัย ต่อเนื่อง ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
13. การกำหนดราคา ก็ได้มีการผ่านการเจรจา ต่อรอง เอารายละเอียดมาดูกัน ราคาค่าก่อสร้าง ราคาวัสดุ อุปกรณ์ มาเทียบกันหมดแล้ว วันนี้ก็ตกลงข้อสรุปกันได้ประมาณ 1 แสน 7 หมื่นล้านบาทก็ลดจากฝ่ายจีนที่เสนอมา จำนวนมากพอสมควร เราได้ศึกษามาอย่างรอบคอบมีข้อมูลการเปรียบเทียบการก่อสร้าง ในลักษณะเดียวกันในประเทศอื่นด้วยในกรอบวงเงินงบประมาณ เพราะฉะนั้นในการดำเนินการทุกเรื่อง เราจะต้องยึดผลประโยชน์ของชาติมาก่อนเสมอ คำนึงถึงหนี้สาธารณะต่างๆในอนาคตด้วยที่จะต้อง อยู่ในกรอบการเงินการคลังของเรา
14. การทำพันธะสัญญา ความร่วมมือในลักษณะ “G2G” นั้น “ฝ่ายไทย” ดำเนินการโดยหน่วยงานราชการ กระทรวงคมนาคม การรถไฟไทย“ฝ่ายจีน” เป็นไปตามหลักการทำธุรกิจของจีน คือ ให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบ ได้แก่ สภาเศรษฐกิจ ในการรับรองบริษัทที่จะมาทำการก่อสร้างกับไทย เท่านั้น ไม่ใช่ว่าบริษัทอะไรก็ได้ ไม่ใช่เขาต้องรับผิดชอบ รับรองด้วย
15. ผมอยากจะขอร้องให้ทุกภาคส่วน ได้มองในภาพกว้าง ไม่ว่าจะประชาชน ประชาสังคม นักวิชาการ วิศวกรต่างๆ ช่วยกัน กรุณานึกถึงผลประโยชน์ในอนาคตด้วย ความห่วงใยของท่าน ผมเคารพในความคิดเห็นของท่านเสมอ เราจะต้องสรรหารูปแบบต่างๆ ในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนให้เกิดการลงทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ จากการสร้างงาน สร้างรายได้ มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาการศึกษาของเรา ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เขาต้องการ อย่างเช่นวันนี้เราต้องการมาก
16. ผมได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการป้องกันการทุจริตทุกอย่างจะต้องโปร่งใสนะครับ ทั้งในส่วนราชการ ข้าราชการ บริษัทก่อสร้าง นักธุรกิจไทยต้องทำงานอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน
17. เรื่องรถไฟความเร็วสูง เป็นเพียงหนึ่งในความร่วมมือระหว่างไทย–จีน ที่มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน มีตั้งหลายโครงการตั้งหลายอย่างที่ร่วมมือกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน กับหลายๆ ประเทศก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การลงทุนร่วมกัน หรือการหาวิธีการแสวงหาความร่วมมือ มันจะช่วยพัฒนาความเชื่อมโยงสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว และสนับสนุนความร่วมมือรูปแบบต่างๆ ที่จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ในอนาคต ขอให้ทุกคนช่วยกันในการบูรณาการในทุกระดับ ทั้งรัฐบาล คสช. กระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนอีกมากมาย ที่มีส่วนร่วมในการเจรจา จนมีความก้าวหน้า ซึ่งรัฐบาลและ คสช. จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ (ม.44) เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ จากผลการเจรจา ทั้งเกือบ 20 ครั้ง ทั้งหมดมีความคืบหน้ามาตามลำดับ แต่ติดอยู่ 3-4 อันตรงนี้ ก็ไปแก้ไขตรงนี้ ย้อนกลับไปดูว่าการเจรจาครั้งสุดท้ายที่เรายอมรับได้คืออะไร แล้วทำให้ได้ตามนั้น ถ้าช้าเกินไปเราจะเสียโอกาส การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เราก็จะสูญเสียไป ขอให้ทุกคนพยายามศึกษาทำความเข้าใจเห็นถึงเหตุผลและความจำเป็น รัฐบาลก็ยืนยันทุกอย่าง มีสัญญาข้อตกลงคุณธรรมเพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีการตรวจสอบได้ ใครทุจริต ก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายโดยทันที ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนก็ตาม
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
สิ่งที่ผมเป็นกังวลคือ เราจะทำสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ และประชาชน ได้ในอนาคต ต้องแก้ไขของเดิมได้ด้วย เรื่องสำคัญในขณะนี้คือ
1. กรณีการใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ในกิจการพลังงาน เราต้องไปดูว่า จะแก้ปัญหาอย่างไรเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร ในประเด็นเหล่านี้ (1) กิจการที่ว่ามีปัญหา ดำเนินการมาก่อนแล้วทั้งสิ้นก่อนที่รัฐบาลนี้จะเข้ามา และ (2) สำหรับการจะใช้ประโยชน์ “เพิ่มเติม” จากที่ระบุไว้เดิม ตามกฎหมาย ส.ป.ก. ที่ใช้เพื่อการเกษตร ต้องไปดูกันอีกครั้ง ส่วนเรื่องของการแก้ไขกฎกระทรวงก็ให้คณะกรรมการ ส.ป.ก. ไปพิจารณามา แต่วันนี้เราต้องแก้ของเดิมที่มีปัญหามาให้ได้ก่อน ถ้าจะทำใหม่ต้องไปดูกฎหมาย กฎกระทรวง อีกมากมาย ไปทำตามขั้นตอนให้ครบ ทุกอย่างต้องเข้ากรอบนโยบายยุทธศาสตร์ หากไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ ก็ต้องกลับมาใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมคือ การจัดสรรที่ดินเพื่อทำกินและอยู่อาศัย สำหรับเกษตรกร เราต้องหาทางแก้ปัญหาและป้องกันความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้ได้ เพราะมีผลความเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชน ตามกฎหมายที่บางพื้นที่ได้รับไป ถ้าเราหยุดชะงักก็มีปัญหา ประชาชนเดือดร้อน เราก็เอาสิ่งนี้กลับมาทำให้ถูกต้อง แล้วอันใหม่ก็ไปทำตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ก็ไม่เกิดผลกระทบในอนาคตอีก แต่ยืนยันว่าที่ดิน ส.ป.ก.ยังมุ่งเน้นไปสู่ประชาชน ต้องให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุดแก่ประชาชน ชุมชน ในส่วนของประเทศชาติก็ไปว่ากันมา ถ้ามีความเป็นไปได้ตามยุทธศาสตร์ ประชาชนมีความพึงพอใจก็ว่ากันอีกที ทั้งหมดนั้นเกิดมานานแล้ว เราปล่อยไปไม่ได้ ต้องสะสาง แต่แน่นอน ความเข้าใจไม่เท่าเทียมกัน ต่างก็มีปัญหา ก็ต้องช่วยกัน ต้องใช้สติปัญญา ใช้ความจริงใจ ช่วยกันทำต่อไป อะไรที่ลงทุนแล้ว อะไรที่จะต้องไปดูเรื่องสัมปทาน มีการเปิดประมูล การสร้างโรงไฟฟ้า การสร้างระบบสาธารณูปโภคทุกวัน มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกันมากนัก ที่ผ่านมาไม่ค่อยทราบ วันนี้รัฐบาลยังไม่ทราบทุกเรื่อง เลยเกิดปัญหาทุกเรื่องเหมือนกัน แต่ไม่เป็นไร เราต้องมองปัญหารวม และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา และยึดแนวทาง “ศาสตร์พระราชา” ใช้ทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย
2. เรื่องผังเมืองเช่นเดียวกัน ต้องชมเชยกระทรวงมหาดไทยที่พยายามทำผังเมืองจนครบทั้ง 76 จังหวัด กรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งค้างมาเป็นเวลานานวันนี้ทำครบหมดแล้วแต่ขณะที่ทำมาต้องใช้เวลาที่ผ่านมาทำไม่เสร็จ พอทำไม่เสร็จคนก็มีการขยับขยาย เคลื่อนย้าย มีคนมากขึ้น ย้ายบ้านย้ายช่องไปอยู่ เพราะฉะนั้นผังเมืองที่เพิ่งจะออกมาได้ ไม่ทันสมัยอีกแล้วหลายๆคนก็ไม่ทำตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามผังเมือง เสร็จแล้วพอมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง ก็แก้ไม่ได้อีกเหมือนเดิม ผมก็อยากขอร้องผู้มีรายได้น้อย หรือใครต่างๆก็ตาม ที่ชอบฝ่าฝืนกฎหมาย อันนี้ท่านจะได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ท่านมีรายได้มากขึ้น ท่านก็พอใจ แต่อย่าลืมว่า คนที่เขาไม่มีรายได้ เช่นเดียวกับท่าน เขาได้รับผลกระทบจากการที่เราได้ไปละเมิดผังเมือง ไปสร้างบ้านคร่อมทางน้ำ หรือไปขวางทางระบายน้ำ ต้องเห็นใจคนเหล่านั้นบ้าง เป็นคนส่วนใหญ่ด้วย ถ้าเราไปดำเนินการใช้กฎหมายเต็มๆทุกเรื่อง ก็กลายเป็นเจ้าหน้าที่ไปรังแกท่านอีก เพราะฉะนั้นปัญหาทุกปัญหามีส่วนร่วมทั้งหมด ส่วนหนึ่งได้เป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่เสียหายก็ไม่ได้ขอให้ทุกคนได้นึกถึงกันบ้าง ผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ผู้ที่มีรายได้น้อย ต้องได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายซึ่งจะต้องบังคับกันมานานแล้ว อันนี้ต้องขอความร่วมมือด้วย ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ถ้าแก้ไม่ได้ ก็อยู่กันอย่างเดิมทั้งหมด
ทั้ง 2 ประเด็นนี้ ผมฝากให้ประชาชนได้ช่วยกันคิด เราจะทำอะไรได้บ้าง ในฐานะที่เป็นเจ้าของประเทศอย่างที่ทุกคนพูดเสมอว่าแผ่นดินนี้เป็นของประชาชน ประชาชนทุกคนต้องเป็นผู้ที่แก้ปัญหาให้ได้ด้วยตัวเอง แล้วมีภาครัฐมาช่วย สนับสนุน อำนวยการ จัดระเบียบให้ได้ วันนี้ ก็มี“จิตอาสา” เป็นจำนวนมาก “ประชารัฐ” ก็ก่อร่างสร้างตัวในหลากหลายกิจกรรม แต่ปัญหาใหญ่ๆ เชิงโครงสร้าง ยังคงต้องการความร่วมมืออีกมาก ในส่วนที่ทำได้ รัฐบาลก็ทำไปแล้ว ยังไม่ได้ทำ กำลังทำ โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการน้ำ สาธารณูปโภคพื้นฐาน การจัดระเบียบ สังคม ซึ่งทุกอย่างจะต้องไม่มองแต่เพียงประเด็นของตัวเองอย่างเดียวต้องเอาประเด็นทุกประเด็นของตนไปดู ประเด็นของคนอื่นด้วย แล้วเอามาดูว่าจะทำอย่างไรจะลดความขัดแย้งลงได้บ้าง เรื่องนี้ถ้าเราไม่ทำวันนี้ รัฐบาลหน้าก็ทำไม่ได้อีกเช่นเดิม เพราะว่าจะต้องไปบังคับใช้กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวก็เสียหายเสียภาพลักษณ์ประเทศ
ในโอกาสวันอิดิ้ลฟิตรี ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1438 ผมขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดี มายังพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั้งหลาย ผมขอพรอันประเสริฐจากเอกองค์พระผู้อภิบาล ได้โปรดประทานพร แก่พี่น้องชาวไทยทุกท่าน จงประสบแต่ความร่มเย็นเป็นสุข มีความจำเริญ รุ่งเรือง และมีสุขภาพพลานามัย ที่สมบูรณ์แข็งแรงโดยทั่วกัน
สุดท้ายนี้ ผมขอประชาสัมพันธ์กับพี่น้องประชาชนว่ารัฐบาลได้กำหนดให้วันเข้าพรรษาของทุกปีเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญที่ชาวพุทธจะได้กำหนดจิตแน่วแน่ในการบำเพ็ญความดีให้มากยิ่งขึ้นเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งการงดดื่มสุราจะถือเป็นมหากุศลด้วย เพราะหากผิดศีลข้อ 5 แล้ว ย่อมมีโอกาสละเมิดศีลข้ออื่นได้โดยง่ายในปี 2560 นี้ ผมได้ให้คำขวัญเนื่องในวันงดดื่มสุราว่า“ห่างไกลสุรา ประชาเป็นสุข ปลอดภัยพาชาติไทยเจริญ” เนื่องจากสุราก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งผู้ดื่มเอง ครอบครัว บุคคลรอบข้างชุมชน สังคม และประเทศชาติ ด้วยมาจากการที่ดื่มสุรา ก่อให้เกิดโรคภัยมากมายส่งผลถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคม และเศรษฐกิจไทย
ดังนั้น ผมขอเชิญชวนพ่อ แม่ พี่ น้อง ชาวไทยทุกท่าน ลด ละ เลิกสุรา และช่วยกันปกป้องเยาวชนของเราให้ห่างไกลเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยกระทรวงสาธารณสุข มีการรณรงค์และจัดกิจกรรมสนับสนุนการปฏิญาณตนงดดื่มสุรา ในช่วงเข้าพรรษาและงดให้ครบพรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ในปีนี้เป็นปีที่สำคัญยิ่งนี้ด้วย ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงมีความห่วงใยต่อพสกนิกร ในการเตรียมพร้อมรับมือกับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ลงพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานราชการ ประชาชน และจิตอาสาต่างๆในการเข้าสำรวจขุดลอกคูคลองและท่อระบายน้ำที่อุดตัน รวมถึงการกำจัดขยะ ผักตบชวา และวัชพืชที่มีอยู่ตามบริเวณคูคลองดังกล่าว ในหลายเขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ คลองเสือน้อย คลองบางซื่อ คลองทุ่ง คลองกระเฉด คลองลานโตนด คลองนาวงประชาพัฒนา คลองหมอนทอง และคลองตาสุ่ม เพื่อให้สามารถเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็วในกรณีฝนตกหนัก และป้องกันปัญหาน้ำท่วมขัง อีกทั้งยังส่งผลให้สภาพแวดล้อมสะอาดขึ้น ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง หรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ของประชาชนในชุมชนใกล้เคียงอีกด้วยนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น
ในการนี้ รัฐบาลและ คสช. ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ในการสืบสานพระราชดำริ โดยได้ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ในการขยายผล ตามแผนเตรียมการรับมือและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ออกไปยังพื้นที่ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน และชุมชน ให้ดูแลคูคลองสาขา และทางระบายน้ำย่อยๆ ในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบด้วย เพื่อควบคู่ไปกับการปฏิบัติของหน่วยงานราชการ ในการเร่งระบายน้ำ และหาวิธีการอื่นๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยให้ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วย
พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ
ประเทศชาติของเรา จำเป็นต้องปฏิรูปในหลายมิติเพื่อขับเคลื่อนประเทศ
1. ประเด็นความมั่นคง เราต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง ช่วยสังเกตสิ่งผิดปกติ ช่วยเจ้าหน้าที่ในการป้องกันเหตุร้ายในทุกกรณี ในพื้นที่ของตน เป็นเรื่องของการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้เป็นสังคมแห่งความสงบสันติ ขณะเดียวกัน เราต้องมีศักยภาพในเรื่องของการป้องกันประเทศ อธิปไตยตามแนวชายแดน ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ ในดินแดนที่เป็นอธิปไตยของเรา ไปพร้อมๆ กันด้วย ทั้งนี้ หากประเทศชาติมั่นคง มีเสถียรภาพ เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น โดยปริยาย
2. ประเด็นเศรษฐกิจ ต้องกลับไปดูการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย และต่างประเทศ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาว่าเราและเขามีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มีความเหมือน ความแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร มีการกระจายรายได้ จากบน กลาง ลงสู่ฐานราก เพียงพอหรือยัง มีกลไกเชื่อมโยงถึงกันหรือไม่เราจะพึ่งพาเพียงระบบราชการอย่างเดียว คงไม่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ ต้องนำมาพิจารณา จากปัญหาพื้นฐานของคนไทยเราก่อนด้วย แล้วจึงจะมาดูว่า เราจะแก้ไขทุกระดับให้เข้มแข็งได้อย่างไร โดยการเพิ่มพูนความรู้ เทคโนโลยี เสริมสร้างขีดความสามารถให้เขาได้อย่างไร ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ทั้งในงบประมาณงานฟังก์ชั่น เพื่อที่จะลดความเหลื่อมล้ำ และงบบูรณาการ เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ความเข้มแข็งให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นพื้นที่ เป็นกลุ่มรายได้นะครับ บางกลุ่ม มีรายได้ต่ำเกินไป ไม่ถึง 100 บาทต่อวัน
จากการลงทะเบียนของผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะมีอาชีพรับจ้าง เกษตรกร อาชีพอิสระ และยังมีหนี้ติดตัวอีกด้วย บางอย่างเราต้องแก้ด้วยกฎหมาย ด้วยความร่วมมือประชารัฐ ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่เราอยากจะมี อยากจะดีขึ้น เราจะต้องเผื่อแผ่แบ่งปันกันได้อย่างไร ทำอย่างไร เราจะแก้ปัญหา “วาทะกรรม” ที่พูดกันมาเสมอเรื่องของการเอื้อประโยชน์นายทุน และการปล่อยให้มีการผูกขาด ให้หมดไปได้บ้าง เรื่องนี้ คงไม่น่าจะใช่ เรื่อง“การแบ่งชนชั้น” ก็ขออย่าสร้างความเข้าใจผิดๆ ให้กับสังคม เราต้องให้เห็นความจริงที่ว่า เป็นเพียงการลงทุน การประกอบ การที่ย่อมมีความแตกต่างกัน ได้รับผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน ทุนมาก ทำมาก เสี่ยงมาก ก็อาจจะได้มาก สัดส่วนแบ่งก็ต้องพอเพียงในการที่จะดูแลผู้ใช้แรงงานต่างๆ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกอบกิจการของท่าน ขอฝากภาคธุรกิจดูแลด้วย อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการค้าการลงทุนในโลกเสรี “สัดส่วน” ของผลประโยชน์ ที่นักลงทุนได้รับ ก็ต้องกระจายไปสู่ “ผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ”ให้ได้มากที่สุด ให้เขาพอเพียง เช่น แรงงานได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ดูแลสวัสดิการต่างๆเพียงพอหรือไม่ สิทธิมนุษยชนต่างๆ เป็นอย่างไรจะเกิดประโยชน์และเกิดการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้นกว่าในอนาคต
3. ประเด็นด้านสังคม เรามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องทำให้สังคมเรานั้น เป็น “สังคมที่มีคุณภาพ” มีคนที่มีคุณภาพ มีการศึกษาที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ตลอดจนถึงการประกอบอาชีพ ที่ต้องมีการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักคิดที่ถูกต้อง เหมาะสมกับความมีอัตลักษณ์ มีวัฒธรรมอันดีงามของไทย การพัฒนาแบบตะวันตก ตะวันออกต้องผสมกันไปด้วย เมื่อจบการศึกษามาแล้วก็ต้องมีงานทำ ทำงานเป็น และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับราชการ หรือเป็นแรงงานในภาคการผลิตต่าง ๆ ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม หรือภาคท่องเที่ยวและบริการ เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เช่น สาขาอาชีพที่ขาดแคลนด้าน STEM นักวิจัยและพัฒนาและอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อจะรองรับนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ที่เน้นการสร้างนวัตกรรม และการให้ความสำคัญกับ “10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย” ที่สำคัญ เราต้องผลิตคนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม จริยธรรม ทั้งนี้ เมื่อคนในสังคมมี “จิตสำนึกที่ดี” องค์กรก็จะมี “ธรรมาภิบาล” แล้วประเทศชาติก็จะแข็งแรงได้ในแบบไทยๆ ในที่สุด เราต้องฝึก “คนไทยยุคใหม่” ให้มีวิสัยทัศน์ คิดล่วงหน้า คิดมีแบบแผน และปฏิบัติงานได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยไม่นิยมความขัดแย้ง ความรุนแรงแต่ยอมรับความเห็นต่าง เพื่อจะแสวงหา “จุดร่วมที่ลงตัว” ร่วมกัน การแก้ไข หรือการดำเนินการใด ก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กแว้น ยกพวกตีกัน โสเภณี ค้ามนุษย์ ผิดกฎหมายอาชญากรรม ต่างๆ เราจะต้องช่วยแก้ไขกันทำให้ได้ เพื่อทำให้สังคมเป็นสังคมที่สันติสุข
ปัญหาสังคมที่สำคัญที่ทุกคนคงมองเห็น ส่วนหนึ่งคือ ความขัดแย้งจากตัวบทกฎหมาย ความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม การปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพบ้าง ปัญหาการเมืองระดับชาติ ระดับท้องถิ่นที่ไม่ดี แต่ที่ดีๆก็มีมาก ทุกอย่างต้องมีทั้งดีและไม่ดี เราคงจะต้องเลือกทำในสิ่งที่ดี และทำให้ดีมากขึ้น สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องพยายามแก้ไขให้หมดไป หรือทำให้ถูกต้อง บางอย่างทำได้เร็ว ทำได้ช้า ค่อยเป็นค่อยไป ก็ต้องไปแยกแยะให้ชัดเจนว่าจะช่วยคิดช่วยกันทำได้อย่างไร ถ้าจะให้รัฐบาลทำเองทั้งหมดเป็นไปไม่ได้เลย เราแก้ไขไม่ได้อย่างสมบูรณ์ ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกทุกครั้งทั้งปัญหาเดิมและปัญหาใหม่ เราจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ทั้งนี้ ปัญหาสังคมนับเป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีส่วนที่ทำให้เป็นสาเหตุให้คนในสังคม “คิดน้อย และก็ทำเร็ว” บางอย่างอาจจะไม่รอบคอบ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ผิดพลาดได้ง่าย บางครั้งการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องในทางทุจริต ทำผิดกฎหมาย ซึ่งเราจำเป็นต้องสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ให้กับประชาชน ประเทศชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสร้างการรับรู้เพื่อความเข้าใจและร่วมมือ เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็จะไม่เกิดการละเมิดสิทธิผู้อื่นและกฎหมาย สังคมก็จะดีขึ้นเองในเรื่องของการที่เราจะทำให้สังคมสงบสุขนั้นที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการปฏิรูปตนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า ไม่ว่าจะอยู่ใน 1.0 2.0 3.0 หรือ 4.0 คนของอนาคตก็ต้องทำไปด้วยกันแต่เวลานี้อย่าไปรอผลิตคนใหม่ และคนเก่าไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงพร้อมกันในเวลานี้ พร้อมกับสร้างคนรุ่นใหม่ไปด้วย
4. ประเด็นด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ไม่ยากเกินความพยายาม ถ้าทำให้คนมีความสนใจ ใส่ใจ ศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ติดตามกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย ดูว่าของเดิมมีปัญหาอะไรอยู่บ้าง กับกฎหมายเดิม บางครั้งก็อาจเป็นการรักษาสิทธิส่วนบุคคลของพวกเรากันเองด้วยถ้าไม่รู้กฎหมายก็จะไม่รู้ว่าตัวเองได้รับการคุ้มครองอย่างไร ซึ่งโดยหลักการแล้ว กฎหมายทุกกฎหมายย่อมรักษาสิทธิของคนส่วนใหญ่ และต้องไม่ลืมที่จะดูแลคนส่วนน้อยอีกด้วย ในเวลาเดียวกันหากทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ไม่ว่าจะกฎหมายใหญ่ กฎหมายเล็กน้อยอะไรก็แล้วแต่ การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น กระบวนการยุติธรรมก็จะเป็นที่เชื่อมั่น ไว้วางใจของประชาชน สังคมก็จะสงบสุข ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ไม่ดีมาเรียกรับผลประโยชน์ หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ หรือตกเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการทุจริตเสียเอง อาทิเช่น การเสนอผลตอบแทน ทุกฝ่ายก็ต้องเป็นหู เป็นตา แจ้งความดำเนินคดี หรือชี้เบาะแสการกระทำผิดกฎหมายที่เราจะต้องคุ้มครองปกป้องให้ด้วย คนทุกระดับเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกล่าวหาว่าเอาแพะเข้ามา ไม่มีการตัดสินคดี โดยปราศจากหลักฐานที่รัดกุม และครบถ้วน ไม่มีวาทะกรรม “คนจนถูกรังแก คนรวยไม่เคยรับโทษ” หรือ “คุกมีไว้ขังคนจน” ซึ่งไม่จริง เพราะอยู่ที่ความชัดเจนของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการเชื่อฟังเคารพกฎหมายของทุกคนด้วย
สิ่งเหล่านี้ เราต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ รัฐบาลนี้ได้ผลักดัน “กองทุนยุติธรรม” ให้เกิดขึ้นแล้ว แม้เป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ก็ยังไม่พอ เราทุกคนต้องใส่ใจ ด้วยการเอากฎหมายมาดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายประชาชนมาดู มาอ่าน มาพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไร เขาเขียนว่าอย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร ไม่ใช่เอามาตีความเพื่อจะต่อต้านกันทั้งหมด อะไรผิด อะไรถูก ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย ถ้าเราจะทำตามกฎหมายง่ายๆเหล่านั้น ก็ต้องเป็นไปตามหลักสากลอยู่แล้ว ทุกคนจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกัน พูดคุยในสิ่งอันเป็นประโยชน์ สื่อมวลชนก็ช่วยได้มาก โดยเฉพาะการเสนอข่าว ที่เราจะต้องเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องกฎหมายไปด้วย หรือให้ระวังภัยต่างๆ มากกว่าการเล่าเรื่องส่วนตัวของผู้กระทำผิด และครอบครัวต่าง ๆ ที่ลงลึกในรายละเอียดจนเกินไป ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งในส่วนของผู้ต้องหาหรือในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดดังกล่าวเหล่านั้นด้วย
สำหรับกระบวนการยุติธรรมนั้น รัฐบาลก็มีส่วนสำคัญ ที่ต้องดูแลให้เดินหน้าได้ตามครรลองของกระบวนที่เป็นสากล เชื่อถือได้ผู้ต้องหาที่มีฐานะดีสามารถต่อสู้คดีได้ รัฐบาลก็ดูแลผู้ถูกกล่าวหาที่ยากจน รายได้น้อย ให้ได้รับโอกาส ในการต่อสู้คดีได้ด้วย อย่างเท่าเทียมกัน แล้วทุกอย่างในกระบวนการยุติธรรม ก็จะได้รับการยอมรับ
5. ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เราต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่อย่างจำกัด โดยใช้สอยให้คุ้มค่าด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการหามาทดแทนเพื่อไม่ให้ขาดแคลน เช่น การหาแหล่งน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำฝน ทั้งในเขตชลประทาน นอกเขตชลประทาน การใช้พลังงานทางเลือก รวมทั้งการปลูกป่าทดแทน การให้คนอยู่ร่วมกับป่า สร้างป่า ดูแลป่า ปลูกป่า สร้างป่าชุมชน ทำป่าในเมือง ปลูกไม้ยืนต้นในเขตเมืองให้มากขึ้น เหล่านี้เป็นต้น
ที่ผ่านมา ทุกคนจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐแต่เพียงผู้เดียว อาจจะถูกมองข้าม ปล่อยปละละเลยมาโดยตลอดก็เป็นนโยบายของรัฐบาลนี้ ให้ทุกส่วนราชการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดในเรื่องของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกต้นไม้ทุกส่วนราชการ คงไม่ใช่เฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกรมป่าไม้แต่เพียงอย่างเดียว เราต้องมุ่งเน้นการพัฒนาที่คำนึงถึงเรื่องความสมดุลกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น
เราต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ว่าวันหน้าจะมีทรัพยากรใช้อย่างพอเพียงได้อย่างไร มีเสถียรภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา โดยสามารถลดผลกระทบอื่นๆ เช่น ภาวะโลกร้อน มลภาวะในชุมชน รวมทั้งปัญหาทางสุขภาพของประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้ เราคงปฏิเสธการพัฒนาไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบตะวันตกหรือตะวันออกก็ตาม แต่เราสามารถจะเลือกการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่จะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นได้ ตรงนี้ต้องร่วมกันก่อน แสวงหาทางออก สร้างความร่วมมือ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทุกอย่างย่อมจะดีขึ้นเอง และวันนี้ก็มีปัญหาเรื่องผลผลิตทางการเกษตรหลายอย่าง ที่ต้องมาดูว่า ดีมานด์กับซัพพลายได้หรือไม่ ไปปลูกในพื้นที่บุกรุกเพิ่มขึ้นหรือไม่ ผมไม่อยากจะไปโทษผู้มีรายได้น้อย แต่ท่านต้องดูว่าถูกต้องหรือไม่ในการที่จะขยับขยายการปลูกไปเรื่อยๆ บุกรุกป่าบ้าง อะไรบ้าง แล้วปลูกมาในปริมาณที่มากจนเกินความต้องการของโรงงานต่างๆ แล้วก็มาร้องให้รัฐบาลช่วยตลอดเวลา ซึ่งผิดกฎหมายตั้งแต่ต้น เสร็จแล้วพอบังคับใช้กฎหมายก็กลายเป็นว่า ไปรังแกคนจนอีก ทำให้เกี่ยวพันกันในหลายๆมิติ เราต้องดูแลกันทั้งด้านสิทธิมนุษยชน สังคม เศรษฐกิจ และกฎหมาย ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องโครงการก่อสร้างต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาต่างๆ อย่างยั่งยืน หลายๆอย่างเป็นนโยบายดีๆ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวม แต่เราเดินหน้าไปไม่ได้เต็มที่มากนัก เป็นเหตุให้เราต้องแตกเป็นโครงการเล็กๆ ทำให้เกิดผลในวงแคบๆ แก้ปัญหาได้ไม่กว้าง ไม่ลึกซึ้ง ไม่ยั่งยืน ทำได้เฉพาะในพื้นที่จำกัด ที่ประชาชนเข้าใจ และยินยอมให้ดำเนินการได้
ผมไม่ได้หมายความจะไปบังคับท่าน แต่ท่านต้องมองว่าท่านมาเจอปัญหาที่ร้ายแรง ที่รุนแรง อาทิเช่น น้ำท่วม ฝนแล้งมาโดยตลอด แต่ท่านก็ให้เราทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้นก็แก้ไม่ได้ทั้งสิ้น ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างบูรณาการ ไม่เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ส่วนรวมก็ไม่ได้รับประโยชน์ ส่วนน้อยอาจจะได้ประโยชน์ แต่ส่วนรวมไม่ได้ประโยชน์ และส่วนน้อยก็ต้องเสียประโยชน์ไปด้วยในภายหลัง เพราะขัดกับผลประโยชน์ส่วนบุคคล หรือองค์กรเท่านั้น อาทิ การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ แก้มลิง ระบบส่งน้ำ หรือระบบชลประทาน เหล่านี้เป็นต้น บางครั้งอาจมีการแสวงหาประโยชน์จากนโยบายทางการเมือง หรือการตีความกฎหมาย ที่ก่อประโยชน์เพียงแต่คนส่วนน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้อะไรเกิดขึ้น แต่กลับยังคงต้องรับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญในการผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ ที่เน้นใน 3 เรื่อง คือ “การคุ้มครอง การเคารพ และเยียวยา” ทั้งนี้ เพื่อจะให้ประชาชนมีความสุข ขอให้ทุกฝ่ายทั้งภาคธุรกิจ เอกชน ข้าราชการให้ความสนใจ และนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย
6. ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้ทุกคนทราบดี โลกมีหลายขั้ว หลายกลุ่ม หลายฝ่าย ยังคงมีความขัดแย้ง และอาจขยายเป็นสงครามได้ตลอดเวลามีทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศยากจน ซึ่งแต่ละประเทศ ต้องย่อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นที่ตั้งมาก่อนสิ่งอื่นใด แต่เราในฐานะเป็นชาวโลก ต้องคิดด้วยว่า เราจะร่วมมือ สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างไร รูปแบบไหน เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และต้องเข้มแข็งไปด้วยกัน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ด้วยความสัมพันธ์ ทั้งทวิภาคี ไตรภาคี พหุภาคี ที่อาจเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ได้กับหลายๆประเทศ หลายๆมหาอำนาจ เพื่อจะส่งเสริมศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างกัน โดยเราเองต้องพัฒนาตนเองให้เร็ว ให้ทันโลก ให้ก้าวมาอยู่ในบทบาทประเทศผู้ให้ โดยเราจะต้องลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศให้ได้ พร้อมกับสนับสนุนความเชื่อมโยงต่างๆให้เกิดความร่วมมือในทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อีกทั้งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งอยู่ในความสนใจในเวทีโลก และองค์กรระหว่างประเทศที่เราต้องสร้างให้เกิดความร่วมมือใหม่ๆ ในอนาคต เช่น “SEP for SGD 2030” ซึ่งเป็นแนวทางของรัฐบาลนี้ ในการน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปแลกเปลี่ยน สนับสนุน ประยุกต์ ให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ สหประชาชาติ ในอีก 15 ปีข้างหน้า เป็นต้น
สำหรับระดับและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น มีผลอย่างมากต่อการลงทุนในปัจจุบันและในอนาคต เพราะเรายังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง 100%และทุกประเทศต่างก็เป็นเสมือนเพื่อน ที่จะช่วยกัน จูงมือกันไปข้างหน้า พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน เราจะต้องรักษาความสมดุลกับประเทศเหล่านั้นให้ได้
7. ประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญลำดับสูงสุด ทุกรัฐบาลต้องให้ความใส่ใจ สนใจ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด อนุบาล ประถม มัธยม อาชีวะ หรือตามอัธยาศัยอื่นๆด้วย โดยรัฐบาลนี้ พยายามจัดระบบให้มีความเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ทั้งสถานศึกษา ตลาดแรงงาน ภาคการผลิต เป็นต้น และต้องเป็นการศึกษาที่ใช้งานได้จริง ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัว ในครอบครัว ในสังคม ไปสู่การประกอบอาชีพการงาน มีการปลูกฝังอุดมการณ์ ปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความตระหนักในบทบาท ความรับผิดชอบ ซึ่งมีทั้งหน้าที่ซึ่งต้องมาคู่กับสิทธิ ทั้งนี้ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ พร้อมกับการพัฒนาการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมกับคนรุ่นเก่าไปด้วย และจะทำอย่างไร เราจะมีบุคลากรที่มีคุณภาพ ทั้งในระบบราชการ ภาคธุรกิจ เอกชน รวมทั้งในการประกอบการ SME และ Start-up ด้วย
ทั้งนี้ เรายังขาดอีกหลายอย่าง ซึ่งรัฐบาลต้องอำนวยความสะดวกให้กลไก “ประชารัฐ” ขับเคลื่อนไปด้วยกันเราแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะรัฐบาลทำเองไม่ได้ทั้งหมดอย่างที่กราบเรียนไปแล้ว หากไม่มีภาคเอกชน ภาคประชาชน ก็จะไม่มีพลัง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย หากไม่ได้รับการเหลียวแล ก็จะขาดองค์ความรู้ ขาดวิทยาการสมัยใหม่ ขาดเทคนิค เทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นต้น รัฐบาล โดยข้าราชการต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยง สร้างเครือข่าย สร้างความเข้าใจ สร้างสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย
ตัวอย่าง ปัญหาที่เกิดจากความไม่เชื่อมโยงกัน ในประเด็นการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และนโยบายในการบริหารประเทศ คือการวิจัยและพัฒนา ซึ่งต้องมองว่าเราจะวิจัยอะไร เราควรวิจัยในสิ่งที่เราขาดก่อนหรือไม่ ควรกำหนดเป้าหมายในการผลิตคน แรงงาน การให้ทุน สนับสนุนโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายชัดเจน การกลับสู่ภูมิลำเนา อยู่กับครอบครัว เพื่อสร้างความอบอุ่นในสังคมได้อีกด้วย เราจะต้องคิดว่าเราจะผลิตใคร ไปทำอะไร เพื่อใคร ที่ไหน อย่างไร จะวิจัย ไปเพื่ออะไร ที่เราจำเป็น มีความต้องการก่อน ทุกอย่างที่เรามีศักยภาพในส่วนของต้นทางอยู่แล้ว ขยายออกไปก็จะเป็นประโยชน์มากกว่าจะวิจัยอะไรออกมาแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้
ประเด็นสำคัญคือเราสามารถจะใช้งบประมาณจัดซื้อจากต่างประเทศลดลง ใช้วัสดุที่เรามีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคการเกษตร รวมทั้งประชาชนทุกระดับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีราคาถูก นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้เอง แล้วก็มีการสร้างมูลค่าเพิ่มคิดค้นพัฒนาต่อไปได้ โดยผมไม่อยากให้ใช้ทุนการวิจัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม เพียงเพื่อในการเพิ่มวิทยฐานะ แต่เพียงอย่างเดียว หัวข้อวิจัย การใช้งบวิจัย ทั้งของรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ทำอย่างไรงบประมาณการวิจัยมีอยู่จำกัด จัดความเร่งด่วนอย่างไร บริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าหมาย ตั้งระยะเวลาที่จะผลิตออกมา เพราะแต่ละเรื่องล้วนเป็นความต้องการทั้งสิ้น
ทั้งนี้ เราอาจต้องมีการรวมกลุ่มงานวิจัย เป็นเรื่องๆ เป็นคลัสเตอร์ อาทิ ด้านเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พลังงานเหล่านี้ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งด้วยกัน ของรัฐมาจากการวิจัยของรัฐ ของภาคเอกชนธุรกิจ และอันที่ 3 คือจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่มากมาย มีผลการวิจัยอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเรามาจัดเป็นคลัสเตอร์แล้ว จะเป็นการสนับสนุนไปสู่ในเรื่องของการขึ้นทะเบียน การสนับสนุนเงินทุน ไปสู่ในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน ผ่านมาตรฐาน สมอ. ผ่านมาตรฐาน อย. ก็นำไปสู่การผลิตได้ และก็ใช้ได้ บางทีทำไม่ครบก็ติดไปหมดทุกอัน วันนี้รัฐบาลได้เร่งรัดอยู่แล้ว เราจะต้องมีกรอบนโยบายวิจัยที่ชัดเจน มีกลไกในการขับเคลื่อน มีงบประมาณรองรับ ตามความเร่งด่วน มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน มีการขึ้นทะเบียนนวัตกรรม ผลักดันสู่ขบวนการผลิตในเชิงพาณิชย์ หรือเอามาใช้ได้ในราชการก่อนเป็นต้น เราต้องคิดต้องทำให้ได้แบบนี้ให้ครบวงจร เราทำหลายอย่าง หลายโครงการวิจัยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ที่ผ่านมานั้นอาจจะไม่มีการขับเคลื่อนเอามาใช้ได้อย่างแท้จริง ก็เลยเหมือนกับว่าเราไม่เก่งหรือไม่ คนไทยไม่มีนักวิจัยหรือไม่ ความเป็นจริงไม่ใช่ เรามี เพียงแต่มีมากมายหลากหลาย ซึ่งบางอย่างสามารถรวมเป็นกลุ่ม เป็นคลัสเตอร์ได้ เราจะได้พัฒนาต่อยอดไปได้เร็วขึ้น แล้วไปเร่งรัดในเรื่องของขบวนการผลิต ผ่านการทดสอบ ทำให้เกิดความปลอดภัยในทุกๆเรื่องก็จะเป็นผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชนต่อไป หากเราสนับสนุนให้ถูกทางถูกต้อง ทำให้เป็นความจริงขึ้นมาได้ ผลงานก็จะเกิดประโยชน์นักวิจัยก็จะมีกำลังใจ มีผลตอบแทนที่ดีพอไม่รั่วไหลไปทำงานต่างประเทศ ทำให้เราเข้าใจว่าเราขาดแคลนนักวิจัย จริงๆแล้วนักวิจัยของเราไปทำงานต่างประเทศมีมาก เห็นอยู่ในภาคธุรกิจเอกชน เพราะฉะนั้นเราต้องเอาทุกคนมารวมมันสมองกันให้ได้ คนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร
บางเรื่องหากเรายังไม่มีประสบการณ์จริงๆ ยังไม่ก้าวหน้าแบบเขา เราก็ต้องเรียนรู้ เอาเทคโนโลยีของเขามาเพิ่มเทคโนโลยีในประเทศของเรา ให้ต่อยอดออกไปให้ได้ เราอาจจะต้องยอมรับความจริงบ้าง บางอย่างเราไม่ถนัด บางอย่างเราไม่มีความชำนาญ เราก็อาจจะต้องเปิดโอกาสให้มีนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เข้ามาช่วยในระยะแรก โดยต้องมีการถ่ายทอดเทคนิค เทคโนโลยี ในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรืออะไรต่างๆก็แล้วแต่ ให้เราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต เราทุกคนต้องเปิดใจให้กว้าง เปิดรับคนอื่นบ้าง ที่ผ่านมาถ้าทุกอย่างเก่งแล้วดี คงไม่หยุดอยู่กับที่ และเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทำไมเรายังไปไม่ถึงประเทศที่มีรายได้สูง ผมก็ไม่อยากให้คิดว่า รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อจะเอื้อประโยชน์ให้กับต่างชาติ ไม่ใช่เลย ไม่ต้องการให้เข้ามาแย่งงาน แย่งอาชีพของคนไทย อะไรที่คนไทยทำได้ ก็ต้องทำ คงไม่ปล่อยให้เราเสียประโยชน์มากขนาดนั้น
ผมอยากให้ไว้ใจรัฐบาลนี้เราจะควบคุม ดูแล ทำให้ข้อกังวลใจต่างๆ เหล่านี้ ได้ดำเนินการได้ ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นผลประโยชน์ต่อคนไทยให้มากที่สุด ใครจะไป ใครจะมา ใครจะได้ประโยชน์ เราเองไม่ใช่หรือเป็นผู้กำหนดมาตรการต่างๆ การทำทีโออาร์ การทำสัญญาต่างๆเราเป็นคนเขียนเอง เพราะฉะนั้นเราย่อมไม่ทำอะไรแบบไม่มียุทธศาสตร์ อย่างที่ทุกคนเป็นห่วงกังวล เราเดินหน้ามาทุกเรื่อง ก็เป็นไปด้วยการพบปะหารือ ศึกษาทำความเข้าใจในทุกๆเรื่อง เปรียบเทียบในประเทศต่าง ๆ บางทีอาจจะรู้ไม่ทั่วถึงกันเลยเกิดความไม่ไว้วางใจมากขึ้น ขอให้ทุกคนสอบถามมาได้
ผมพูดมาทั้งหมดนี้ อาจจะซ้ำๆ กับทุกครั้งที่เคยพูดไป แต่ก็เพียงมุ่งหวังจะทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น ให้เห็นความเชื่อมโยง จากปัญหาหนึ่ง ไปสู่ปัญหาอื่นๆ เพราะฉะนั้น วิธีคิด วิธีการทำ ถ้าหากว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง และแนวทางเดิมแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ต้องหาหนทางใหม่ หากคิดเหมือนเดิม มีโจทย์ มีปัญหา แบ่งปัญหาไปแก้ ต่างคนต่างแก้กันไป แล้วไม่สัมพันธ์กัน ย่อมไม่เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรม ที่เป็นแมส (mass) ขึ้นมา ก็แก้ได้อย่างไม่ยั่งยืน ไม่สมบูรณ์
รัฐบาลนี้ ได้นำแนวทางการแก้ปัญหาแบบบูรณาการมาขับเคลื่อน ทั้งแผนเงิน แผนคน แผนงาน เพื่อจะบริหารจัดการกับปัญหาในทุกปม ทุกประเด็นในเวลาเดียวกัน ให้เกิดการประสานสอดคล้องกัน ซึ่งอาจจะยากเพราะอาจไม่เคยปฏิบัติลักษณะเช่นนี้มาก่อนมากนัก หากเราแก้ไขได้ด้วยการวางแผนร่วมกัน คุยกันให้ละเอียด ตั้งแต่ต้นจนจบ อุปสรรคอยู่ตรงไหน ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน ใครควรจะรับแก้ไขตรงนั้นไป ก็ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่โต้แย้งกันทุกประเด็น ความคิดทุกคนมีประโยชน์ทั้งสิ้น ข้อสำคัญคือ เราต้องมองผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ก็จะมาสู่การแก้ปัญหาได้ทุกปัญหา อย่างยั่งยืน
พี่น้องประชาชน ที่รักครับ
ที่ผมเคยยกเอา “4 คำถาม” กับ “50 ประเด็น” มากล่าวในรายการนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มั่นใจในการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในทางกลับกัน ผมมั่นใจว่าเราทำได้ทุกเรื่องในประเด็นต่างๆ ซึ่งบางประเด็นสำเร็จแล้ว บางอย่างก็ต้องเริ่มต้นทำต่อ บางอย่างต้องอาศัยทั้งเวลาและความร่วมมือเป็นสำคัญ ข้อกฎหมายต้องไปแก้ไขปัญหากัน ไปช่วยกันคิดว่าเราจะร่วมมือกันได้อย่างไร ตามบทบาทหน้าที่และศักยภาพของแต่ละคน แต่ละฝ่าย อย่าคิดอะไรที่ให้เกิดความขัดแย้งกันจนเกินไป บ้านเมืองเราจะไปข้างหน้าไม่ได้ ลูกหลานในวันข้างหน้าในอนาคตก็ไม่มีความสุข รัฐบาลนี้ไม่อยากให้ใครไปบิดเบือนว่า รัฐบาลกลัวว่าจะไม่มีผลงาน ไม่เคยกลัวเพราะผมรู้ดีว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง หลายอย่างอาจจะไม่มีผลมาสู่เป็นรายบุคคล แต่มีผลในส่วนของการทำงานระยะยาวของผู้ร่วมรัฐบาล อย่ามาพูดในเรื่องของสืบทอดอำนาจ หรือต้องการจะเลื่อนการเลือกตั้ง ไม่เคยคิดอย่างนั้นเลย ผมพร้อมน้อมรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ตลอดมา
สำหรับกรณีรถไฟ ไทย-จีน” นั้น ขอให้ทำความเข้าใจอีกที พูดกันหลายครั้ง อย่าสับสนกับข้อมูล เป็นความร่วมมือระหว่างไทย–จีน แบบ “รัฐบาล ต่อ รัฐบาล” มีการร่วมมือกันมาหลายรัฐบาลแล้ว มีข้อตกลงร่วมกัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้เอามาสานต่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อจะเป็นการลงทุนในอนาคต พอดีมีการพัฒนาโครงการหลาย ๆ โครงการของหลายประเทศมหาอำนาจด้วย จึงเชื่อมโยงกันได้พอดี เราจำเป็นต้องเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เชื่อมโยงกับประชาคมโลกอื่นๆอีกด้วย เพราะฉะนั้นมีหลายประเด็น ที่ต้องพิจารณา
ในการนี้ รัฐบาลและ คสช. ขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม ในการสืบสานพระราชดำริ โดยได้ขอให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันอย่างเต็มที่ ในการขยายผล ตามแผนเตรียมการรับมือและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ออกไปยังพื้นที่ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน และชุมชน ให้ดูแลคูคลองสาขา และทางระบายน้ำย่อยๆ ในส่วนที่ตนเองรับผิดชอบด้วย เพื่อควบคู่ไปกับการปฏิบัติของหน่วยงานราชการ ในการเร่งระบายน้ำ และหาวิธีการอื่นๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาอุทกภัยให้ได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้นด้วย
พี่น้องประชาชนที่เคารพ ครับ
ประเทศชาติของเรา จำเป็นต้องปฏิรูปในหลายมิติเพื่อขับเคลื่อนประเทศ
1. ประเด็นความมั่นคง เราต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการเฝ้าระวัง ช่วยสังเกตสิ่งผิดปกติ ช่วยเจ้าหน้าที่ในการป้องกันเหตุร้ายในทุกกรณี ในพื้นที่ของตน เป็นเรื่องของการรักษาความมั่นคงภายใน เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้เป็นสังคมแห่งความสงบสันติ ขณะเดียวกัน เราต้องมีศักยภาพในเรื่องของการป้องกันประเทศ อธิปไตยตามแนวชายแดน ตลอดจนการรักษาผลประโยชน์และทรัพยากรของประเทศ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ ในดินแดนที่เป็นอธิปไตยของเรา ไปพร้อมๆ กันด้วย ทั้งนี้ หากประเทศชาติมั่นคง มีเสถียรภาพ เศรษฐกิจก็จะดีขึ้น โดยปริยาย
2. ประเด็นเศรษฐกิจ ต้องกลับไปดูการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย และต่างประเทศ ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาว่าเราและเขามีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจที่มีความเหมือน ความแตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร มีการกระจายรายได้ จากบน กลาง ลงสู่ฐานราก เพียงพอหรือยัง มีกลไกเชื่อมโยงถึงกันหรือไม่เราจะพึ่งพาเพียงระบบราชการอย่างเดียว คงไม่เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ ต้องนำมาพิจารณา จากปัญหาพื้นฐานของคนไทยเราก่อนด้วย แล้วจึงจะมาดูว่า เราจะแก้ไขทุกระดับให้เข้มแข็งได้อย่างไร โดยการเพิ่มพูนความรู้ เทคโนโลยี เสริมสร้างขีดความสามารถให้เขาได้อย่างไร ซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ทั้งในงบประมาณงานฟังก์ชั่น เพื่อที่จะลดความเหลื่อมล้ำ และงบบูรณาการ เพื่อสร้างความเชื่อมโยง ความเข้มแข็งให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นพื้นที่ เป็นกลุ่มรายได้นะครับ บางกลุ่ม มีรายได้ต่ำเกินไป ไม่ถึง 100 บาทต่อวัน
จากการลงทะเบียนของผู้มีรายได้น้อยที่ผ่านมา ส่วนใหญ่จะมีอาชีพรับจ้าง เกษตรกร อาชีพอิสระ และยังมีหนี้ติดตัวอีกด้วย บางอย่างเราต้องแก้ด้วยกฎหมาย ด้วยความร่วมมือประชารัฐ ด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน ที่เราอยากจะมี อยากจะดีขึ้น เราจะต้องเผื่อแผ่แบ่งปันกันได้อย่างไร ทำอย่างไร เราจะแก้ปัญหา “วาทะกรรม” ที่พูดกันมาเสมอเรื่องของการเอื้อประโยชน์นายทุน และการปล่อยให้มีการผูกขาด ให้หมดไปได้บ้าง เรื่องนี้ คงไม่น่าจะใช่ เรื่อง“การแบ่งชนชั้น” ก็ขออย่าสร้างความเข้าใจผิดๆ ให้กับสังคม เราต้องให้เห็นความจริงที่ว่า เป็นเพียงการลงทุน การประกอบ การที่ย่อมมีความแตกต่างกัน ได้รับผลประโยชน์ไม่เท่าเทียมกัน ทุนมาก ทำมาก เสี่ยงมาก ก็อาจจะได้มาก สัดส่วนแบ่งก็ต้องพอเพียงในการที่จะดูแลผู้ใช้แรงงานต่างๆ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกอบกิจการของท่าน ขอฝากภาคธุรกิจดูแลด้วย อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาของการค้าการลงทุนในโลกเสรี “สัดส่วน” ของผลประโยชน์ ที่นักลงทุนได้รับ ก็ต้องกระจายไปสู่ “ผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ”ให้ได้มากที่สุด ให้เขาพอเพียง เช่น แรงงานได้รับความเป็นธรรมหรือไม่ ดูแลสวัสดิการต่างๆเพียงพอหรือไม่ สิทธิมนุษยชนต่างๆ เป็นอย่างไรจะเกิดประโยชน์และเกิดการสร้างสรรค์สังคมที่ดีขึ้นกว่าในอนาคต
3. ประเด็นด้านสังคม เรามีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องทำให้สังคมเรานั้น เป็น “สังคมที่มีคุณภาพ” มีคนที่มีคุณภาพ มีการศึกษาที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน ตลอดจนถึงการประกอบอาชีพ ที่ต้องมีการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ที่เป็นเหตุเป็นผล มีหลักคิดที่ถูกต้อง เหมาะสมกับความมีอัตลักษณ์ มีวัฒธรรมอันดีงามของไทย การพัฒนาแบบตะวันตก ตะวันออกต้องผสมกันไปด้วย เมื่อจบการศึกษามาแล้วก็ต้องมีงานทำ ทำงานเป็น และตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรับราชการ หรือเป็นแรงงานในภาคการผลิตต่าง ๆ ทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม หรือภาคท่องเที่ยวและบริการ เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ เช่น สาขาอาชีพที่ขาดแคลนด้าน STEM นักวิจัยและพัฒนาและอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อจะรองรับนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ที่เน้นการสร้างนวัตกรรม และการให้ความสำคัญกับ “10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย” ที่สำคัญ เราต้องผลิตคนให้เป็นคนดี มีศีลธรรม จริยธรรม ทั้งนี้ เมื่อคนในสังคมมี “จิตสำนึกที่ดี” องค์กรก็จะมี “ธรรมาภิบาล” แล้วประเทศชาติก็จะแข็งแรงได้ในแบบไทยๆ ในที่สุด เราต้องฝึก “คนไทยยุคใหม่” ให้มีวิสัยทัศน์ คิดล่วงหน้า คิดมีแบบแผน และปฏิบัติงานได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยไม่นิยมความขัดแย้ง ความรุนแรงแต่ยอมรับความเห็นต่าง เพื่อจะแสวงหา “จุดร่วมที่ลงตัว” ร่วมกัน การแก้ไข หรือการดำเนินการใด ก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้ในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กแว้น ยกพวกตีกัน โสเภณี ค้ามนุษย์ ผิดกฎหมายอาชญากรรม ต่างๆ เราจะต้องช่วยแก้ไขกันทำให้ได้ เพื่อทำให้สังคมเป็นสังคมที่สันติสุข
ปัญหาสังคมที่สำคัญที่ทุกคนคงมองเห็น ส่วนหนึ่งคือ ความขัดแย้งจากตัวบทกฎหมาย ความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม การปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ที่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพบ้าง ปัญหาการเมืองระดับชาติ ระดับท้องถิ่นที่ไม่ดี แต่ที่ดีๆก็มีมาก ทุกอย่างต้องมีทั้งดีและไม่ดี เราคงจะต้องเลือกทำในสิ่งที่ดี และทำให้ดีมากขึ้น สิ่งที่ไม่ดีก็ต้องพยายามแก้ไขให้หมดไป หรือทำให้ถูกต้อง บางอย่างทำได้เร็ว ทำได้ช้า ค่อยเป็นค่อยไป ก็ต้องไปแยกแยะให้ชัดเจนว่าจะช่วยคิดช่วยกันทำได้อย่างไร ถ้าจะให้รัฐบาลทำเองทั้งหมดเป็นไปไม่ได้เลย เราแก้ไขไม่ได้อย่างสมบูรณ์ ความขัดแย้งก็จะเกิดขึ้นมาใหม่อีกทุกครั้งทั้งปัญหาเดิมและปัญหาใหม่ เราจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย
ทั้งนี้ ปัญหาสังคมนับเป็นปัญหาสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ ในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีส่วนที่ทำให้เป็นสาเหตุให้คนในสังคม “คิดน้อย และก็ทำเร็ว” บางอย่างอาจจะไม่รอบคอบ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษ ผิดพลาดได้ง่าย บางครั้งการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องในทางทุจริต ทำผิดกฎหมาย ซึ่งเราจำเป็นต้องสร้าง “ภูมิคุ้มกัน” ให้กับประชาชน ประเทศชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสร้างการรับรู้เพื่อความเข้าใจและร่วมมือ เมื่อทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ก็จะไม่เกิดการละเมิดสิทธิผู้อื่นและกฎหมาย สังคมก็จะดีขึ้นเองในเรื่องของการที่เราจะทำให้สังคมสงบสุขนั้นที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของการปฏิรูปตนเองทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า ไม่ว่าจะอยู่ใน 1.0 2.0 3.0 หรือ 4.0 คนของอนาคตก็ต้องทำไปด้วยกันแต่เวลานี้อย่าไปรอผลิตคนใหม่ และคนเก่าไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ต้องเปลี่ยนแปลงพร้อมกันในเวลานี้ พร้อมกับสร้างคนรุ่นใหม่ไปด้วย
4. ประเด็นด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ไม่ยากเกินความพยายาม ถ้าทำให้คนมีความสนใจ ใส่ใจ ศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ติดตามกฎหมายที่ปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัย ดูว่าของเดิมมีปัญหาอะไรอยู่บ้าง กับกฎหมายเดิม บางครั้งก็อาจเป็นการรักษาสิทธิส่วนบุคคลของพวกเรากันเองด้วยถ้าไม่รู้กฎหมายก็จะไม่รู้ว่าตัวเองได้รับการคุ้มครองอย่างไร ซึ่งโดยหลักการแล้ว กฎหมายทุกกฎหมายย่อมรักษาสิทธิของคนส่วนใหญ่ และต้องไม่ลืมที่จะดูแลคนส่วนน้อยอีกด้วย ในเวลาเดียวกันหากทุกคนปฏิบัติตามกฎหมายโดยเคร่งครัด ไม่ว่าจะกฎหมายใหญ่ กฎหมายเล็กน้อยอะไรก็แล้วแต่ การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น กระบวนการยุติธรรมก็จะเป็นที่เชื่อมั่น ไว้วางใจของประชาชน สังคมก็จะสงบสุข ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ไม่ดีมาเรียกรับผลประโยชน์ หากประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ หรือตกเป็นส่วนหนึ่งในขบวนการทุจริตเสียเอง อาทิเช่น การเสนอผลตอบแทน ทุกฝ่ายก็ต้องเป็นหู เป็นตา แจ้งความดำเนินคดี หรือชี้เบาะแสการกระทำผิดกฎหมายที่เราจะต้องคุ้มครองปกป้องให้ด้วย คนทุกระดับเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียม ไม่มีการกล่าวหาว่าเอาแพะเข้ามา ไม่มีการตัดสินคดี โดยปราศจากหลักฐานที่รัดกุม และครบถ้วน ไม่มีวาทะกรรม “คนจนถูกรังแก คนรวยไม่เคยรับโทษ” หรือ “คุกมีไว้ขังคนจน” ซึ่งไม่จริง เพราะอยู่ที่ความชัดเจนของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการเชื่อฟังเคารพกฎหมายของทุกคนด้วย
สิ่งเหล่านี้ เราต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ รัฐบาลนี้ได้ผลักดัน “กองทุนยุติธรรม” ให้เกิดขึ้นแล้ว แม้เป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ก็ยังไม่พอ เราทุกคนต้องใส่ใจ ด้วยการเอากฎหมายมาดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายประชาชนมาดู มาอ่าน มาพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไร เขาเขียนว่าอย่างไร เจตนารมณ์ของกฎหมายคืออะไร ไม่ใช่เอามาตีความเพื่อจะต่อต้านกันทั้งหมด อะไรผิด อะไรถูก ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่สิ่งที่ยากเลย ถ้าเราจะทำตามกฎหมายง่ายๆเหล่านั้น ก็ต้องเป็นไปตามหลักสากลอยู่แล้ว ทุกคนจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง เป็นการให้ความรู้ซึ่งกันและกัน พูดคุยในสิ่งอันเป็นประโยชน์ สื่อมวลชนก็ช่วยได้มาก โดยเฉพาะการเสนอข่าว ที่เราจะต้องเน้นการให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องกฎหมายไปด้วย หรือให้ระวังภัยต่างๆ มากกว่าการเล่าเรื่องส่วนตัวของผู้กระทำผิด และครอบครัวต่าง ๆ ที่ลงลึกในรายละเอียดจนเกินไป ไปละเมิดสิทธิมนุษยชนทั้งในส่วนของผู้ต้องหาหรือในส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดดังกล่าวเหล่านั้นด้วย
สำหรับกระบวนการยุติธรรมนั้น รัฐบาลก็มีส่วนสำคัญ ที่ต้องดูแลให้เดินหน้าได้ตามครรลองของกระบวนที่เป็นสากล เชื่อถือได้ผู้ต้องหาที่มีฐานะดีสามารถต่อสู้คดีได้ รัฐบาลก็ดูแลผู้ถูกกล่าวหาที่ยากจน รายได้น้อย ให้ได้รับโอกาส ในการต่อสู้คดีได้ด้วย อย่างเท่าเทียมกัน แล้วทุกอย่างในกระบวนการยุติธรรม ก็จะได้รับการยอมรับ
5. ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เราต้องคำนึงถึงความจำเป็นที่ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่อย่างจำกัด โดยใช้สอยให้คุ้มค่าด้วยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการหามาทดแทนเพื่อไม่ให้ขาดแคลน เช่น การหาแหล่งน้ำ พื้นที่เก็บกักน้ำฝน ทั้งในเขตชลประทาน นอกเขตชลประทาน การใช้พลังงานทางเลือก รวมทั้งการปลูกป่าทดแทน การให้คนอยู่ร่วมกับป่า สร้างป่า ดูแลป่า ปลูกป่า สร้างป่าชุมชน ทำป่าในเมือง ปลูกไม้ยืนต้นในเขตเมืองให้มากขึ้น เหล่านี้เป็นต้น
ที่ผ่านมา ทุกคนจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐแต่เพียงผู้เดียว อาจจะถูกมองข้าม ปล่อยปละละเลยมาโดยตลอดก็เป็นนโยบายของรัฐบาลนี้ ให้ทุกส่วนราชการได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมให้มากที่สุดในเรื่องของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การปลูกต้นไม้ทุกส่วนราชการ คงไม่ใช่เฉพาะกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือกรมป่าไม้แต่เพียงอย่างเดียว เราต้องมุ่งเน้นการพัฒนาที่คำนึงถึงเรื่องความสมดุลกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น
เราต้องกลับมาทบทวนกันใหม่ว่าวันหน้าจะมีทรัพยากรใช้อย่างพอเพียงได้อย่างไร มีเสถียรภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา โดยสามารถลดผลกระทบอื่นๆ เช่น ภาวะโลกร้อน มลภาวะในชุมชน รวมทั้งปัญหาทางสุขภาพของประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้ เราคงปฏิเสธการพัฒนาไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นแบบตะวันตกหรือตะวันออกก็ตาม แต่เราสามารถจะเลือกการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แต่จะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นได้ ตรงนี้ต้องร่วมกันก่อน แสวงหาทางออก สร้างความร่วมมือ ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ทุกอย่างย่อมจะดีขึ้นเอง และวันนี้ก็มีปัญหาเรื่องผลผลิตทางการเกษตรหลายอย่าง ที่ต้องมาดูว่า ดีมานด์กับซัพพลายได้หรือไม่ ไปปลูกในพื้นที่บุกรุกเพิ่มขึ้นหรือไม่ ผมไม่อยากจะไปโทษผู้มีรายได้น้อย แต่ท่านต้องดูว่าถูกต้องหรือไม่ในการที่จะขยับขยายการปลูกไปเรื่อยๆ บุกรุกป่าบ้าง อะไรบ้าง แล้วปลูกมาในปริมาณที่มากจนเกินความต้องการของโรงงานต่างๆ แล้วก็มาร้องให้รัฐบาลช่วยตลอดเวลา ซึ่งผิดกฎหมายตั้งแต่ต้น เสร็จแล้วพอบังคับใช้กฎหมายก็กลายเป็นว่า ไปรังแกคนจนอีก ทำให้เกี่ยวพันกันในหลายๆมิติ เราต้องดูแลกันทั้งด้านสิทธิมนุษยชน สังคม เศรษฐกิจ และกฎหมาย ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องโครงการก่อสร้างต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาต่างๆ อย่างยั่งยืน หลายๆอย่างเป็นนโยบายดีๆ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในภาพรวม แต่เราเดินหน้าไปไม่ได้เต็มที่มากนัก เป็นเหตุให้เราต้องแตกเป็นโครงการเล็กๆ ทำให้เกิดผลในวงแคบๆ แก้ปัญหาได้ไม่กว้าง ไม่ลึกซึ้ง ไม่ยั่งยืน ทำได้เฉพาะในพื้นที่จำกัด ที่ประชาชนเข้าใจ และยินยอมให้ดำเนินการได้
ผมไม่ได้หมายความจะไปบังคับท่าน แต่ท่านต้องมองว่าท่านมาเจอปัญหาที่ร้ายแรง ที่รุนแรง อาทิเช่น น้ำท่วม ฝนแล้งมาโดยตลอด แต่ท่านก็ให้เราทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้นก็แก้ไม่ได้ทั้งสิ้น ปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างบูรณาการ ไม่เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง ส่วนรวมก็ไม่ได้รับประโยชน์ ส่วนน้อยอาจจะได้ประโยชน์ แต่ส่วนรวมไม่ได้ประโยชน์ และส่วนน้อยก็ต้องเสียประโยชน์ไปด้วยในภายหลัง เพราะขัดกับผลประโยชน์ส่วนบุคคล หรือองค์กรเท่านั้น อาทิ การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ แก้มลิง ระบบส่งน้ำ หรือระบบชลประทาน เหล่านี้เป็นต้น บางครั้งอาจมีการแสวงหาประโยชน์จากนโยบายทางการเมือง หรือการตีความกฎหมาย ที่ก่อประโยชน์เพียงแต่คนส่วนน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้อะไรเกิดขึ้น แต่กลับยังคงต้องรับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ฝนแล้ง ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญในการผลักดันเรื่องสิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ ที่เน้นใน 3 เรื่อง คือ “การคุ้มครอง การเคารพ และเยียวยา” ทั้งนี้ เพื่อจะให้ประชาชนมีความสุข ขอให้ทุกฝ่ายทั้งภาคธุรกิจ เอกชน ข้าราชการให้ความสนใจ และนำไปสู่การปฏิบัติให้ได้ในเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรมด้วย
6. ประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้ทุกคนทราบดี โลกมีหลายขั้ว หลายกลุ่ม หลายฝ่าย ยังคงมีความขัดแย้ง และอาจขยายเป็นสงครามได้ตลอดเวลามีทั้งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศยากจน ซึ่งแต่ละประเทศ ต้องย่อมคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นที่ตั้งมาก่อนสิ่งอื่นใด แต่เราในฐานะเป็นชาวโลก ต้องคิดด้วยว่า เราจะร่วมมือ สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างไร รูปแบบไหน เราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และต้องเข้มแข็งไปด้วยกัน แลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน ด้วยความสัมพันธ์ ทั้งทวิภาคี ไตรภาคี พหุภาคี ที่อาจเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ได้กับหลายๆประเทศ หลายๆมหาอำนาจ เพื่อจะส่งเสริมศักยภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างกัน โดยเราเองต้องพัฒนาตนเองให้เร็ว ให้ทันโลก ให้ก้าวมาอยู่ในบทบาทประเทศผู้ให้ โดยเราจะต้องลดความเหลื่อมล้ำภายในประเทศให้ได้ พร้อมกับสนับสนุนความเชื่อมโยงต่างๆให้เกิดความร่วมมือในทุกมิติ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อีกทั้งต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งอยู่ในความสนใจในเวทีโลก และองค์กรระหว่างประเทศที่เราต้องสร้างให้เกิดความร่วมมือใหม่ๆ ในอนาคต เช่น “SEP for SGD 2030” ซึ่งเป็นแนวทางของรัฐบาลนี้ ในการน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไปแลกเปลี่ยน สนับสนุน ประยุกต์ ให้ไปสู่การบรรลุเป้าหมายของ สหประชาชาติ ในอีก 15 ปีข้างหน้า เป็นต้น
สำหรับระดับและรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น มีผลอย่างมากต่อการลงทุนในปัจจุบันและในอนาคต เพราะเรายังไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง 100%และทุกประเทศต่างก็เป็นเสมือนเพื่อน ที่จะช่วยกัน จูงมือกันไปข้างหน้า พี่จูงน้อง เพื่อนจูงเพื่อน เราจะต้องรักษาความสมดุลกับประเทศเหล่านั้นให้ได้
7. ประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นับว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญลำดับสูงสุด ทุกรัฐบาลต้องให้ความใส่ใจ สนใจ ตั้งแต่เด็กแรกเกิด อนุบาล ประถม มัธยม อาชีวะ หรือตามอัธยาศัยอื่นๆด้วย โดยรัฐบาลนี้ พยายามจัดระบบให้มีความเชื่อมโยงกัน ตั้งแต่ต้นทาง – กลางทาง – ปลายทาง ทั้งสถานศึกษา ตลาดแรงงาน ภาคการผลิต เป็นต้น และต้องเป็นการศึกษาที่ใช้งานได้จริง ทั้งในการดำรงชีวิตส่วนตัว ในครอบครัว ในสังคม ไปสู่การประกอบอาชีพการงาน มีการปลูกฝังอุดมการณ์ ปลูกฝังจิตสำนึก สร้างความตระหนักในบทบาท ความรับผิดชอบ ซึ่งมีทั้งหน้าที่ซึ่งต้องมาคู่กับสิทธิ ทั้งนี้ เราต้องสร้างคนรุ่นใหม่ พร้อมกับการพัฒนาการเรียนรู้ทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมกับคนรุ่นเก่าไปด้วย และจะทำอย่างไร เราจะมีบุคลากรที่มีคุณภาพ ทั้งในระบบราชการ ภาคธุรกิจ เอกชน รวมทั้งในการประกอบการ SME และ Start-up ด้วย
ทั้งนี้ เรายังขาดอีกหลายอย่าง ซึ่งรัฐบาลต้องอำนวยความสะดวกให้กลไก “ประชารัฐ” ขับเคลื่อนไปด้วยกันเราแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะรัฐบาลทำเองไม่ได้ทั้งหมดอย่างที่กราบเรียนไปแล้ว หากไม่มีภาคเอกชน ภาคประชาชน ก็จะไม่มีพลัง โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย หากไม่ได้รับการเหลียวแล ก็จะขาดองค์ความรู้ ขาดวิทยาการสมัยใหม่ ขาดเทคนิค เทคโนโลยีที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นต้น รัฐบาล โดยข้าราชการต้องทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยง สร้างเครือข่าย สร้างความเข้าใจ สร้างสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วย
ตัวอย่าง ปัญหาที่เกิดจากความไม่เชื่อมโยงกัน ในประเด็นการศึกษา เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย และนโยบายในการบริหารประเทศ คือการวิจัยและพัฒนา ซึ่งต้องมองว่าเราจะวิจัยอะไร เราควรวิจัยในสิ่งที่เราขาดก่อนหรือไม่ ควรกำหนดเป้าหมายในการผลิตคน แรงงาน การให้ทุน สนับสนุนโครงการวิจัยที่มีเป้าหมายชัดเจน การกลับสู่ภูมิลำเนา อยู่กับครอบครัว เพื่อสร้างความอบอุ่นในสังคมได้อีกด้วย เราจะต้องคิดว่าเราจะผลิตใคร ไปทำอะไร เพื่อใคร ที่ไหน อย่างไร จะวิจัย ไปเพื่ออะไร ที่เราจำเป็น มีความต้องการก่อน ทุกอย่างที่เรามีศักยภาพในส่วนของต้นทางอยู่แล้ว ขยายออกไปก็จะเป็นประโยชน์มากกว่าจะวิจัยอะไรออกมาแล้วก็ใช้ประโยชน์ไม่ได้
ประเด็นสำคัญคือเราสามารถจะใช้งบประมาณจัดซื้อจากต่างประเทศลดลง ใช้วัสดุที่เรามีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาคการเกษตร รวมทั้งประชาชนทุกระดับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีราคาถูก นำไปสู่การผลิตเพื่อใช้เอง แล้วก็มีการสร้างมูลค่าเพิ่มคิดค้นพัฒนาต่อไปได้ โดยผมไม่อยากให้ใช้ทุนการวิจัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตาม เพียงเพื่อในการเพิ่มวิทยฐานะ แต่เพียงอย่างเดียว หัวข้อวิจัย การใช้งบวิจัย ทั้งของรัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา ต้องสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ทำอย่างไรงบประมาณการวิจัยมีอยู่จำกัด จัดความเร่งด่วนอย่างไร บริหารจัดการอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าหมาย ตั้งระยะเวลาที่จะผลิตออกมา เพราะแต่ละเรื่องล้วนเป็นความต้องการทั้งสิ้น
ทั้งนี้ เราอาจต้องมีการรวมกลุ่มงานวิจัย เป็นเรื่องๆ เป็นคลัสเตอร์ อาทิ ด้านเกษตร อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม พลังงานเหล่านี้ซึ่งจะมาจาก 3 แหล่งด้วยกัน ของรัฐมาจากการวิจัยของรัฐ ของภาคเอกชนธุรกิจ และอันที่ 3 คือจากสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่มากมาย มีผลการวิจัยอยู่เป็นจำนวนมาก ถ้าเรามาจัดเป็นคลัสเตอร์แล้ว จะเป็นการสนับสนุนไปสู่ในเรื่องของการขึ้นทะเบียน การสนับสนุนเงินทุน ไปสู่ในเรื่องของการกำหนดมาตรฐาน ผ่านมาตรฐาน สมอ. ผ่านมาตรฐาน อย. ก็นำไปสู่การผลิตได้ และก็ใช้ได้ บางทีทำไม่ครบก็ติดไปหมดทุกอัน วันนี้รัฐบาลได้เร่งรัดอยู่แล้ว เราจะต้องมีกรอบนโยบายวิจัยที่ชัดเจน มีกลไกในการขับเคลื่อน มีงบประมาณรองรับ ตามความเร่งด่วน มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน มีการขึ้นทะเบียนนวัตกรรม ผลักดันสู่ขบวนการผลิตในเชิงพาณิชย์ หรือเอามาใช้ได้ในราชการก่อนเป็นต้น เราต้องคิดต้องทำให้ได้แบบนี้ให้ครบวงจร เราทำหลายอย่าง หลายโครงการวิจัยที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างมากมาย ที่ผ่านมานั้นอาจจะไม่มีการขับเคลื่อนเอามาใช้ได้อย่างแท้จริง ก็เลยเหมือนกับว่าเราไม่เก่งหรือไม่ คนไทยไม่มีนักวิจัยหรือไม่ ความเป็นจริงไม่ใช่ เรามี เพียงแต่มีมากมายหลากหลาย ซึ่งบางอย่างสามารถรวมเป็นกลุ่ม เป็นคลัสเตอร์ได้ เราจะได้พัฒนาต่อยอดไปได้เร็วขึ้น แล้วไปเร่งรัดในเรื่องของขบวนการผลิต ผ่านการทดสอบ ทำให้เกิดความปลอดภัยในทุกๆเรื่องก็จะเป็นผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชนต่อไป หากเราสนับสนุนให้ถูกทางถูกต้อง ทำให้เป็นความจริงขึ้นมาได้ ผลงานก็จะเกิดประโยชน์นักวิจัยก็จะมีกำลังใจ มีผลตอบแทนที่ดีพอไม่รั่วไหลไปทำงานต่างประเทศ ทำให้เราเข้าใจว่าเราขาดแคลนนักวิจัย จริงๆแล้วนักวิจัยของเราไปทำงานต่างประเทศมีมาก เห็นอยู่ในภาคธุรกิจเอกชน เพราะฉะนั้นเราต้องเอาทุกคนมารวมมันสมองกันให้ได้ คนไทยไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร
บางเรื่องหากเรายังไม่มีประสบการณ์จริงๆ ยังไม่ก้าวหน้าแบบเขา เราก็ต้องเรียนรู้ เอาเทคโนโลยีของเขามาเพิ่มเทคโนโลยีในประเทศของเรา ให้ต่อยอดออกไปให้ได้ เราอาจจะต้องยอมรับความจริงบ้าง บางอย่างเราไม่ถนัด บางอย่างเราไม่มีความชำนาญ เราก็อาจจะต้องเปิดโอกาสให้มีนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เข้ามาช่วยในระยะแรก โดยต้องมีการถ่ายทอดเทคนิค เทคโนโลยี ในการก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐาน หรืออะไรต่างๆก็แล้วแต่ ให้เราสามารถพึ่งพาตัวเองได้ในอนาคต เราทุกคนต้องเปิดใจให้กว้าง เปิดรับคนอื่นบ้าง ที่ผ่านมาถ้าทุกอย่างเก่งแล้วดี คงไม่หยุดอยู่กับที่ และเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทำไมเรายังไปไม่ถึงประเทศที่มีรายได้สูง ผมก็ไม่อยากให้คิดว่า รัฐบาลนี้เข้ามาเพื่อจะเอื้อประโยชน์ให้กับต่างชาติ ไม่ใช่เลย ไม่ต้องการให้เข้ามาแย่งงาน แย่งอาชีพของคนไทย อะไรที่คนไทยทำได้ ก็ต้องทำ คงไม่ปล่อยให้เราเสียประโยชน์มากขนาดนั้น
ผมอยากให้ไว้ใจรัฐบาลนี้เราจะควบคุม ดูแล ทำให้ข้อกังวลใจต่างๆ เหล่านี้ ได้ดำเนินการได้ ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นผลประโยชน์ต่อคนไทยให้มากที่สุด ใครจะไป ใครจะมา ใครจะได้ประโยชน์ เราเองไม่ใช่หรือเป็นผู้กำหนดมาตรการต่างๆ การทำทีโออาร์ การทำสัญญาต่างๆเราเป็นคนเขียนเอง เพราะฉะนั้นเราย่อมไม่ทำอะไรแบบไม่มียุทธศาสตร์ อย่างที่ทุกคนเป็นห่วงกังวล เราเดินหน้ามาทุกเรื่อง ก็เป็นไปด้วยการพบปะหารือ ศึกษาทำความเข้าใจในทุกๆเรื่อง เปรียบเทียบในประเทศต่าง ๆ บางทีอาจจะรู้ไม่ทั่วถึงกันเลยเกิดความไม่ไว้วางใจมากขึ้น ขอให้ทุกคนสอบถามมาได้
ผมพูดมาทั้งหมดนี้ อาจจะซ้ำๆ กับทุกครั้งที่เคยพูดไป แต่ก็เพียงมุ่งหวังจะทำความเข้าใจให้มากยิ่งขึ้น ให้เห็นความเชื่อมโยง จากปัญหาหนึ่ง ไปสู่ปัญหาอื่นๆ เพราะฉะนั้น วิธีคิด วิธีการทำ ถ้าหากว่าเราต้องเปลี่ยนแปลง และแนวทางเดิมแก้ปัญหาไม่ได้ ก็ต้องหาหนทางใหม่ หากคิดเหมือนเดิม มีโจทย์ มีปัญหา แบ่งปัญหาไปแก้ ต่างคนต่างแก้กันไป แล้วไม่สัมพันธ์กัน ย่อมไม่เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรม ที่เป็นแมส (mass) ขึ้นมา ก็แก้ได้อย่างไม่ยั่งยืน ไม่สมบูรณ์
รัฐบาลนี้ ได้นำแนวทางการแก้ปัญหาแบบบูรณาการมาขับเคลื่อน ทั้งแผนเงิน แผนคน แผนงาน เพื่อจะบริหารจัดการกับปัญหาในทุกปม ทุกประเด็นในเวลาเดียวกัน ให้เกิดการประสานสอดคล้องกัน ซึ่งอาจจะยากเพราะอาจไม่เคยปฏิบัติลักษณะเช่นนี้มาก่อนมากนัก หากเราแก้ไขได้ด้วยการวางแผนร่วมกัน คุยกันให้ละเอียด ตั้งแต่ต้นจนจบ อุปสรรคอยู่ตรงไหน ความเสี่ยงอยู่ตรงไหน ใครควรจะรับแก้ไขตรงนั้นไป ก็ต้องแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งกันและกัน ไม่ใช่โต้แย้งกันทุกประเด็น ความคิดทุกคนมีประโยชน์ทั้งสิ้น ข้อสำคัญคือ เราต้องมองผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง ก็จะมาสู่การแก้ปัญหาได้ทุกปัญหา อย่างยั่งยืน
พี่น้องประชาชน ที่รักครับ
ที่ผมเคยยกเอา “4 คำถาม” กับ “50 ประเด็น” มากล่าวในรายการนั้น ไม่ใช่ว่าไม่มั่นใจในการทำงานของรัฐบาลและ คสช. ในห้วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ในทางกลับกัน ผมมั่นใจว่าเราทำได้ทุกเรื่องในประเด็นต่างๆ ซึ่งบางประเด็นสำเร็จแล้ว บางอย่างก็ต้องเริ่มต้นทำต่อ บางอย่างต้องอาศัยทั้งเวลาและความร่วมมือเป็นสำคัญ ข้อกฎหมายต้องไปแก้ไขปัญหากัน ไปช่วยกันคิดว่าเราจะร่วมมือกันได้อย่างไร ตามบทบาทหน้าที่และศักยภาพของแต่ละคน แต่ละฝ่าย อย่าคิดอะไรที่ให้เกิดความขัดแย้งกันจนเกินไป บ้านเมืองเราจะไปข้างหน้าไม่ได้ ลูกหลานในวันข้างหน้าในอนาคตก็ไม่มีความสุข รัฐบาลนี้ไม่อยากให้ใครไปบิดเบือนว่า รัฐบาลกลัวว่าจะไม่มีผลงาน ไม่เคยกลัวเพราะผมรู้ดีว่าเราทำอะไรไปแล้วบ้าง หลายอย่างอาจจะไม่มีผลมาสู่เป็นรายบุคคล แต่มีผลในส่วนของการทำงานระยะยาวของผู้ร่วมรัฐบาล อย่ามาพูดในเรื่องของสืบทอดอำนาจ หรือต้องการจะเลื่อนการเลือกตั้ง ไม่เคยคิดอย่างนั้นเลย ผมพร้อมน้อมรับฟังความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ตลอดมา
สำหรับกรณีรถไฟ ไทย-จีน” นั้น ขอให้ทำความเข้าใจอีกที พูดกันหลายครั้ง อย่าสับสนกับข้อมูล เป็นความร่วมมือระหว่างไทย–จีน แบบ “รัฐบาล ต่อ รัฐบาล” มีการร่วมมือกันมาหลายรัฐบาลแล้ว มีข้อตกลงร่วมกัน เพราะฉะนั้นรัฐบาลนี้เอามาสานต่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อจะเป็นการลงทุนในอนาคต พอดีมีการพัฒนาโครงการหลาย ๆ โครงการของหลายประเทศมหาอำนาจด้วย จึงเชื่อมโยงกันได้พอดี เราจำเป็นต้องเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค เชื่อมโยงกับประชาคมโลกอื่นๆอีกด้วย เพราะฉะนั้นมีหลายประเด็น ที่ต้องพิจารณา
1. การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบราง และระบบควบคุมการเดินรถ อาณัติสัญญาณ คือพูดถึงทั้งระบบทั้งเส้นต้องทำทั้ง 3 อย่าง เพราะฉะนั้นฝ่ายไทยได้ตัดสินใจจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีกรอบการเจรจา วงเงินประมาณ 1.7 แสนล้านบาท มีการต่อรองมาตลอด มีการเปรียบเทียบราคาซึ่งกันและกัน ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ได้มีการต่อรองราคาอยู่ประมาณนั้น จะเป็นการจัดการประมูลในส่วนของการก่อสร้าง ให้บริษัทไทยหรืออาจจะมีการร่วมทุนกับบริษัทสัญชาติไทย ดังนั้น ฝ่ายไทยจะรับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง และในการบริหารจัดการอื่นๆ ในกรอบดังกล่าว ซึ่งเราต้องเปรียบเทียบมาตลอดในการเจรจาทั้งหมด 18 ครั้ง
2. การร่วมลงทุนของจีนในลักษณะนี้ อาจจะเรียกได้ว่า จีนยังไม่เคยทำกับประเทศใด นอกจากจะใช้ระบบสัมปทานแบ่งปันผลประโยชน์ ทำนองนั้น อันนี้เป็นการรับจ้างก่อสร้าง เมื่อเราพิจารณาแล้วมีความเหมาะสมมากกว่า เพราะฉะนั้นมาตรฐานของจีนนั้น ก็ได้รับการยอมรับเนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีของจีน ไปใช้ก่อสร้างในหลายประเทศแล้ว รวมทั้งหลายประเทศในอาเซียนด้วย หลายหมื่นกิโลเมตร “ฝ่ายไทย” มีโอกาสพิจารณา ทั้งการให้สัมปทานและการลงทุน เราได้เลือกที่จะลงทุนเอง ไม่ได้เป็นการกำหนดจากฝากจีนเลย เนื่องจากหากเป็นระบบสัมปทาน ฝ่ายจีนจะเป็นผู้รับผลประโยชน์ทั้งหมด เช่นที่ทำอยู่ในหลายประเทศในปัจจุบัน ทั้งบนรางสองข้างทางทั้งหมด เพราะว่าไปชดเชยกับค่าก่อสร้าง วันนี้เราจำเป็นต้องเอาตรงนั้นมาอีกส่วนหนึ่งเพื่อพิจารณาให้เกิดประโยชน์ทดแทนรายได้ที่จะลดลงในระยะแรก เราอาจจะได้รายได้ในการสัญจรไปมาขบวนรถอาจจะไม่เพียงพอ ก็เหมือนกับทุกประเทศที่เขาทำอยู่
3. หากฝ่ายไทยเป็นเจ้าของ เราก็จะมีกิจการ เป็นผู้พัฒนา 2 ข้างทางเอง เพื่อจะดูในการสร้างเมืองใหม่ เป็นพื้นที่ประกอบการทางธุรกิจน้อยใหญ่ ที่พักอาศัยของชุมชน หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องของอนาคต วันนี้ผมได้สั่งการไปยังกระทรวงคมนาคม สนข. ไปคิดแผนเหล่านี้ออกมาควบคู่ด้วยตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ที่ผ่านมาให้แนวทางไปแล้ว ที่สำคัญจะเกิดผลตอบแทนเชิงธุรกิจสูงมาก ดีกว่าที่จะให้เลือกระบบสัมปทาน ประเทศชาติและลูกหลานของเราในอนาคต จะสูญเสียโอกาสและไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า ในอนาคต
4. การแก้กฎหมาย เราจำเป็นต้องไปดูตรงนี้ การใช้พื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ ในเชิงพาณิชย์ เพราะกฎหมายทำไม่ได้ เราต้องทำให้ได้ในลักษณะ PPP หรือแบบอื่น ด้วยตัวเราเอง จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมานั้น บริเวณเส้นทางรถไฟ ทำอะไรไม่ได้เลย ทางด่วน รถไฟฟ้า เป็นเรื่องของกระทรวงคมนาคมทั้งหมด ก็ไปทำอย่างอื่นไม่ได้ วันนี้ต้องมาดูตรงนี้ เราจะได้ไม่เสียประโยชน์ธุรกิจต่อเนื่องอื่นๆไปอีกด้วย ขอร่วมมือด้วย ในอนาคตเรื่องกฎหมาย
5. เราจำเป็นต้องมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ อันนี้จำเป็น เพราะอะไร เพราะว่าต้องมีการเชื่อมต่อเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นไทย – ลาว จีน ปากีสถาน ยุโรปตะวันออก เขามีการเชื่อมโยงกันแล้วในขณะนี้ เราจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงไปด้วยคู่ขนานไปกับทางรถยนต์ข้ามทวีป ข้ามประเทศต่างๆ เราก็ต้อง ทำไปด้วย ทางหลวงต่างๆเหล่านั้น เราก็เคยทำมาแล้ว วันนี้เราเพียงแต่มาทำทางรถไฟ บางคนบอกว่า ทำไมไม่มาทำทางรถไฟไทยทางคู่อย่างเดียวทั้งหมด ก็ต้องคู่ขนานกัน ทางคู่ก็ต้องทำไป ทุกอย่างทั้งหมดปัญหาอยู่ทำได้หรือทำไม่ได้ ติดคนบุกรุกหรือไม่ พื้นที่ป่าหรือไม่ ติดในเรื่องของการทำประชาพิจารณ์หรือไม่ ทั้งหมดคือปัญหาของเรา ถ้าเราปรับได้บ้าง เราเข้าใจกันบ้างก็จะเกิดได้ ไม่เสียเวลา และเราจะได้ตามทันคนอื่นเขาด้วย ในกรอบ One Belt , One Road วันนี้ ลาว อยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมไปยังทางเดียวกับเรา เราต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้
5. เราจำเป็นต้องมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงหรือไม่ อันนี้จำเป็น เพราะอะไร เพราะว่าต้องมีการเชื่อมต่อเขาด้วย ไม่ว่าจะเป็นไทย – ลาว จีน ปากีสถาน ยุโรปตะวันออก เขามีการเชื่อมโยงกันแล้วในขณะนี้ เราจำเป็นต้องมีการเชื่อมโยงไปด้วยคู่ขนานไปกับทางรถยนต์ข้ามทวีป ข้ามประเทศต่างๆ เราก็ต้อง ทำไปด้วย ทางหลวงต่างๆเหล่านั้น เราก็เคยทำมาแล้ว วันนี้เราเพียงแต่มาทำทางรถไฟ บางคนบอกว่า ทำไมไม่มาทำทางรถไฟไทยทางคู่อย่างเดียวทั้งหมด ก็ต้องคู่ขนานกัน ทางคู่ก็ต้องทำไป ทุกอย่างทั้งหมดปัญหาอยู่ทำได้หรือทำไม่ได้ ติดคนบุกรุกหรือไม่ พื้นที่ป่าหรือไม่ ติดในเรื่องของการทำประชาพิจารณ์หรือไม่ ทั้งหมดคือปัญหาของเรา ถ้าเราปรับได้บ้าง เราเข้าใจกันบ้างก็จะเกิดได้ ไม่เสียเวลา และเราจะได้ตามทันคนอื่นเขาด้วย ในกรอบ One Belt , One Road วันนี้ ลาว อยู่ระหว่างการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมไปยังทางเดียวกับเรา เราต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันนี้
6. เราจำเป็นต้องปรับ จัดทำกฎหมายหลายฉบับ โดยต้องพิจารณาตามความเหมาะสม และคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่เฉพาะ ไทย–จีน รวมทั้งอีก 64 ประเทศในกรอบ One Belt , One Road ควบคู่ไปด้วย
7. การจัดการประมูล ในส่วนที่ “ฝ่ายไทย” ลงทุนเอง เราจะต้องดำเนินการเองทั้งหมด การจัดการประมูล การใช้บริษัทก่อสร้างไทย แรงงานไทยวัสดุในท้องถิ่นของไทยให้มากที่สุด ก็ใช้แต่วิศวกรจากจีนมาเป็นผู้ออกแบบ ควบคุมแล้วดำเนินการก่อสร้างภายใต้การทำงานของบริษัทก่อสร้างของเราซึ่งต้องมี ประสิทธิภาพ มีมาตรฐานด้วย
8. การพิจารณาความคุ้มทุน ทุกคนก็ไม่มองเฉพาะผู้โดยสารที่จะใช้บริการเท่านั้น ทุกประเทศที่ผมไปเยี่ยมเยียนมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แรกๆ ขาดทุนทั้งหมด แต่วันนี้มหาศาลเพราะเกิดผลประโยชน์สองข้างทางตามมาโดยทันที เพราะฉะนั้นเราจะวางแผนอย่างไร เราจะมองผลประโยชน์ตรงนี้อย่างไร ถ้าเราคัดค้านทั้งหมด ธุรกิจเหล่านี้จะเกิดไม่ได้เลย ก็เป็นอย่างที่ทุกคนเป็นห่วง เพราะฉะนั้นผมไม่อยากให้เกิดขึ้น ผลประโยชน์เหล่านี้ จะต้องกระจายลงไปยังแต่ละพื้นที่ที่เส้นทางพาดผ่าน ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ สร้างที่อยู่อาศัย พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ชุมชนในพื้นที่อีกด้วย
9. เรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในการก่อสร้าง โดยวิศวกรของไทยอยู่ร่วมในการวางแผนก่อสร้าง ควบคุมงาน และอื่นด้วย อันนี้อยู่ในสัญญาที่จะต้องไปพูดคุย เจรจากันต่อไป ซึ่งมีการพูดคุยมาต่อเนื่อง
10. ในส่วนประสบการณ์ แม้เราไม่เคยทำมาก่อน แต่ผมเชื่อมั่นในความมีศักยภาพของวิศวกรไทย ว่าสามารถเปิดรับเทคนิคและประสบการณ์ใหม่ๆ จากเส้นทางนี้ ได้มากเพราะเรามีความสามารถอยู่แล้ว เพียงแต่เรื่องอะไรใหม่ๆ เราอาจจะต้องดูในระยะแรกไปก่อน ติดตามศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานในเส้นทางอื่นๆ ซึ่งอาจจะต้องทำเอง ให้มีประสิทธิภาพต่อไป ในเทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
11. เส้นทางอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เส้นทางเหนือ–ใต้ ตะวันออก–ตะวันตก เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอีกครั้ง เราต้องเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันจากหลายๆ ประเทศ ที่มีศักยภาพ สนใจอยากมีส่วนร่วม ไม่ใช่ว่าทำเส้นนี้แล้วเส้นอื่นจะต้องเป็นแบบนี้ มีหลายวิธีการ เราต้องทำให้เกิดขึ้นก่อน 1 เส้นทางหรือไม่ แล้วเรามีการพัฒนา มีการประมูล มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก็จะสามารถที่จะร่วมทุน หรือ TPPร่วมกัน ในโอกาสต่อไปกับทุกประเทศ อย่าเอาอันนี้ไปพันกับอันอื่น ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาในการทำงานต่อไปอีกด้วย
10. ในส่วนประสบการณ์ แม้เราไม่เคยทำมาก่อน แต่ผมเชื่อมั่นในความมีศักยภาพของวิศวกรไทย ว่าสามารถเปิดรับเทคนิคและประสบการณ์ใหม่ๆ จากเส้นทางนี้ ได้มากเพราะเรามีความสามารถอยู่แล้ว เพียงแต่เรื่องอะไรใหม่ๆ เราอาจจะต้องดูในระยะแรกไปก่อน ติดตามศึกษาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานในเส้นทางอื่นๆ ซึ่งอาจจะต้องทำเอง ให้มีประสิทธิภาพต่อไป ในเทคโนโลยีนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
11. เส้นทางอื่นๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เส้นทางเหนือ–ใต้ ตะวันออก–ตะวันตก เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาอีกครั้ง เราต้องเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันจากหลายๆ ประเทศ ที่มีศักยภาพ สนใจอยากมีส่วนร่วม ไม่ใช่ว่าทำเส้นนี้แล้วเส้นอื่นจะต้องเป็นแบบนี้ มีหลายวิธีการ เราต้องทำให้เกิดขึ้นก่อน 1 เส้นทางหรือไม่ แล้วเรามีการพัฒนา มีการประมูล มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ก็จะสามารถที่จะร่วมทุน หรือ TPPร่วมกัน ในโอกาสต่อไปกับทุกประเทศ อย่าเอาอันนี้ไปพันกับอันอื่น ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาในการทำงานต่อไปอีกด้วย
12. เทคนิคในการก่อสร้าง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล อย่าไปห่วงกังวลเลย เพราะเรามีคนรับผิดชอบอยู่แล้ว ที่เรายอมรับได้อยู่แล้ว ระบบอาณัติสัญญาณนั้น เราต้องผูกพันไว้ให้ได้ว่า ต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้กับโครงการต่อๆ ไปไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ตาม ต้องเชื่อมต่อกันให้ได้นะครับ อย่ากังวลในเรื่องนั้นนะครับ เพื่อให้การเดินรถมีความปลอดภัย ต่อเนื่อง ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ
13. การกำหนดราคา ก็ได้มีการผ่านการเจรจา ต่อรอง เอารายละเอียดมาดูกัน ราคาค่าก่อสร้าง ราคาวัสดุ อุปกรณ์ มาเทียบกันหมดแล้ว วันนี้ก็ตกลงข้อสรุปกันได้ประมาณ 1 แสน 7 หมื่นล้านบาทก็ลดจากฝ่ายจีนที่เสนอมา จำนวนมากพอสมควร เราได้ศึกษามาอย่างรอบคอบมีข้อมูลการเปรียบเทียบการก่อสร้าง ในลักษณะเดียวกันในประเทศอื่นด้วยในกรอบวงเงินงบประมาณ เพราะฉะนั้นในการดำเนินการทุกเรื่อง เราจะต้องยึดผลประโยชน์ของชาติมาก่อนเสมอ คำนึงถึงหนี้สาธารณะต่างๆในอนาคตด้วยที่จะต้อง อยู่ในกรอบการเงินการคลังของเรา
14. การทำพันธะสัญญา ความร่วมมือในลักษณะ “G2G” นั้น “ฝ่ายไทย” ดำเนินการโดยหน่วยงานราชการ กระทรวงคมนาคม การรถไฟไทย“ฝ่ายจีน” เป็นไปตามหลักการทำธุรกิจของจีน คือ ให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบ ได้แก่ สภาเศรษฐกิจ ในการรับรองบริษัทที่จะมาทำการก่อสร้างกับไทย เท่านั้น ไม่ใช่ว่าบริษัทอะไรก็ได้ ไม่ใช่เขาต้องรับผิดชอบ รับรองด้วย
15. ผมอยากจะขอร้องให้ทุกภาคส่วน ได้มองในภาพกว้าง ไม่ว่าจะประชาชน ประชาสังคม นักวิชาการ วิศวกรต่างๆ ช่วยกัน กรุณานึกถึงผลประโยชน์ในอนาคตด้วย ความห่วงใยของท่าน ผมเคารพในความคิดเห็นของท่านเสมอ เราจะต้องสรรหารูปแบบต่างๆ ในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนให้เกิดการลงทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ จากการสร้างงาน สร้างรายได้ มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาการศึกษาของเรา ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เขาต้องการ อย่างเช่นวันนี้เราต้องการมาก
16. ผมได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการป้องกันการทุจริตทุกอย่างจะต้องโปร่งใสนะครับ ทั้งในส่วนราชการ ข้าราชการ บริษัทก่อสร้าง นักธุรกิจไทยต้องทำงานอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน
17. เรื่องรถไฟความเร็วสูง เป็นเพียงหนึ่งในความร่วมมือระหว่างไทย–จีน ที่มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน มีตั้งหลายโครงการตั้งหลายอย่างที่ร่วมมือกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน กับหลายๆ ประเทศก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การลงทุนร่วมกัน หรือการหาวิธีการแสวงหาความร่วมมือ มันจะช่วยพัฒนาความเชื่อมโยงสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว และสนับสนุนความร่วมมือรูปแบบต่างๆ ที่จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ในอนาคต ขอให้ทุกคนช่วยกันในการบูรณาการในทุกระดับ ทั้งรัฐบาล คสช. กระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนอีกมากมาย ที่มีส่วนร่วมในการเจรจา จนมีความก้าวหน้า ซึ่งรัฐบาลและ คสช. จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ (ม.44) เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ จากผลการเจรจา ทั้งเกือบ 20 ครั้ง ทั้งหมดมีความคืบหน้ามาตามลำดับ แต่ติดอยู่ 3-4 อันตรงนี้ ก็ไปแก้ไขตรงนี้ ย้อนกลับไปดูว่าการเจรจาครั้งสุดท้ายที่เรายอมรับได้คืออะไร แล้วทำให้ได้ตามนั้น ถ้าช้าเกินไปเราจะเสียโอกาส การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เราก็จะสูญเสียไป ขอให้ทุกคนพยายามศึกษาทำความเข้าใจเห็นถึงเหตุผลและความจำเป็น รัฐบาลก็ยืนยันทุกอย่าง มีสัญญาข้อตกลงคุณธรรมเพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีการตรวจสอบได้ ใครทุจริต ก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายโดยทันที ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนก็ตาม
15. ผมอยากจะขอร้องให้ทุกภาคส่วน ได้มองในภาพกว้าง ไม่ว่าจะประชาชน ประชาสังคม นักวิชาการ วิศวกรต่างๆ ช่วยกัน กรุณานึกถึงผลประโยชน์ในอนาคตด้วย ความห่วงใยของท่าน ผมเคารพในความคิดเห็นของท่านเสมอ เราจะต้องสรรหารูปแบบต่างๆ ในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนให้เกิดการลงทุนหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ จากการสร้างงาน สร้างรายได้ มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาการศึกษาของเรา ให้สอดคล้องกับสิ่งที่เขาต้องการ อย่างเช่นวันนี้เราต้องการมาก
16. ผมได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการป้องกันการทุจริตทุกอย่างจะต้องโปร่งใสนะครับ ทั้งในส่วนราชการ ข้าราชการ บริษัทก่อสร้าง นักธุรกิจไทยต้องทำงานอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐาน
17. เรื่องรถไฟความเร็วสูง เป็นเพียงหนึ่งในความร่วมมือระหว่างไทย–จีน ที่มีความสัมพันธ์อันดีมาอย่างยาวนาน มีตั้งหลายโครงการตั้งหลายอย่างที่ร่วมมือกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน กับหลายๆ ประเทศก็เช่นกัน เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน การลงทุนร่วมกัน หรือการหาวิธีการแสวงหาความร่วมมือ มันจะช่วยพัฒนาความเชื่อมโยงสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว และสนับสนุนความร่วมมือรูปแบบต่างๆ ที่จะเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ในอนาคต ขอให้ทุกคนช่วยกันในการบูรณาการในทุกระดับ ทั้งรัฐบาล คสช. กระทรวงคมนาคม หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนอีกมากมาย ที่มีส่วนร่วมในการเจรจา จนมีความก้าวหน้า ซึ่งรัฐบาลและ คสช. จำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษ (ม.44) เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการได้ จากผลการเจรจา ทั้งเกือบ 20 ครั้ง ทั้งหมดมีความคืบหน้ามาตามลำดับ แต่ติดอยู่ 3-4 อันตรงนี้ ก็ไปแก้ไขตรงนี้ ย้อนกลับไปดูว่าการเจรจาครั้งสุดท้ายที่เรายอมรับได้คืออะไร แล้วทำให้ได้ตามนั้น ถ้าช้าเกินไปเราจะเสียโอกาส การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เราก็จะสูญเสียไป ขอให้ทุกคนพยายามศึกษาทำความเข้าใจเห็นถึงเหตุผลและความจำเป็น รัฐบาลก็ยืนยันทุกอย่าง มีสัญญาข้อตกลงคุณธรรมเพื่อให้เกิดความโปร่งใส มีการตรวจสอบได้ ใครทุจริต ก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายโดยทันที ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาชนก็ตาม
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
สิ่งที่ผมเป็นกังวลคือ เราจะทำสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ และประชาชน ได้ในอนาคต ต้องแก้ไขของเดิมได้ด้วย เรื่องสำคัญในขณะนี้คือ
สิ่งที่ผมเป็นกังวลคือ เราจะทำสิ่งใหม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ และประชาชน ได้ในอนาคต ต้องแก้ไขของเดิมได้ด้วย เรื่องสำคัญในขณะนี้คือ
1. กรณีการใช้ที่ดิน ส.ป.ก. ในกิจการพลังงาน เราต้องไปดูว่า จะแก้ปัญหาอย่างไรเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไร ในประเด็นเหล่านี้ (1) กิจการที่ว่ามีปัญหา ดำเนินการมาก่อนแล้วทั้งสิ้นก่อนที่รัฐบาลนี้จะเข้ามา และ (2) สำหรับการจะใช้ประโยชน์ “เพิ่มเติม” จากที่ระบุไว้เดิม ตามกฎหมาย ส.ป.ก. ที่ใช้เพื่อการเกษตร ต้องไปดูกันอีกครั้ง ส่วนเรื่องของการแก้ไขกฎกระทรวงก็ให้คณะกรรมการ ส.ป.ก. ไปพิจารณามา แต่วันนี้เราต้องแก้ของเดิมที่มีปัญหามาให้ได้ก่อน ถ้าจะทำใหม่ต้องไปดูกฎหมาย กฎกระทรวง อีกมากมาย ไปทำตามขั้นตอนให้ครบ ทุกอย่างต้องเข้ากรอบนโยบายยุทธศาสตร์ หากไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่ ก็ต้องกลับมาใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมคือ การจัดสรรที่ดินเพื่อทำกินและอยู่อาศัย สำหรับเกษตรกร เราต้องหาทางแก้ปัญหาและป้องกันความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตให้ได้ เพราะมีผลความเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ของชาติ ของประชาชน ตามกฎหมายที่บางพื้นที่ได้รับไป ถ้าเราหยุดชะงักก็มีปัญหา ประชาชนเดือดร้อน เราก็เอาสิ่งนี้กลับมาทำให้ถูกต้อง แล้วอันใหม่ก็ไปทำตามขั้นตอนให้ถูกต้อง ก็ไม่เกิดผลกระทบในอนาคตอีก แต่ยืนยันว่าที่ดิน ส.ป.ก.ยังมุ่งเน้นไปสู่ประชาชน ต้องให้เกิดผลประโยชน์มากที่สุดแก่ประชาชน ชุมชน ในส่วนของประเทศชาติก็ไปว่ากันมา ถ้ามีความเป็นไปได้ตามยุทธศาสตร์ ประชาชนมีความพึงพอใจก็ว่ากันอีกที ทั้งหมดนั้นเกิดมานานแล้ว เราปล่อยไปไม่ได้ ต้องสะสาง แต่แน่นอน ความเข้าใจไม่เท่าเทียมกัน ต่างก็มีปัญหา ก็ต้องช่วยกัน ต้องใช้สติปัญญา ใช้ความจริงใจ ช่วยกันทำต่อไป อะไรที่ลงทุนแล้ว อะไรที่จะต้องไปดูเรื่องสัมปทาน มีการเปิดประมูล การสร้างโรงไฟฟ้า การสร้างระบบสาธารณูปโภคทุกวัน มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกันมากนัก ที่ผ่านมาไม่ค่อยทราบ วันนี้รัฐบาลยังไม่ทราบทุกเรื่อง เลยเกิดปัญหาทุกเรื่องเหมือนกัน แต่ไม่เป็นไร เราต้องมองปัญหารวม และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของตน ด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา และยึดแนวทาง “ศาสตร์พระราชา” ใช้ทั้งนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ควบคู่กันไปด้วย
2. เรื่องผังเมืองเช่นเดียวกัน ต้องชมเชยกระทรวงมหาดไทยที่พยายามทำผังเมืองจนครบทั้ง 76 จังหวัด กรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งค้างมาเป็นเวลานานวันนี้ทำครบหมดแล้วแต่ขณะที่ทำมาต้องใช้เวลาที่ผ่านมาทำไม่เสร็จ พอทำไม่เสร็จคนก็มีการขยับขยาย เคลื่อนย้าย มีคนมากขึ้น ย้ายบ้านย้ายช่องไปอยู่ เพราะฉะนั้นผังเมืองที่เพิ่งจะออกมาได้ ไม่ทันสมัยอีกแล้วหลายๆคนก็ไม่ทำตามกฎหมาย ไม่เป็นไปตามผังเมือง เสร็จแล้วพอมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม ฝนแล้ง ก็แก้ไม่ได้อีกเหมือนเดิม ผมก็อยากขอร้องผู้มีรายได้น้อย หรือใครต่างๆก็ตาม ที่ชอบฝ่าฝืนกฎหมาย อันนี้ท่านจะได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ท่านมีรายได้มากขึ้น ท่านก็พอใจ แต่อย่าลืมว่า คนที่เขาไม่มีรายได้ เช่นเดียวกับท่าน เขาได้รับผลกระทบจากการที่เราได้ไปละเมิดผังเมือง ไปสร้างบ้านคร่อมทางน้ำ หรือไปขวางทางระบายน้ำ ต้องเห็นใจคนเหล่านั้นบ้าง เป็นคนส่วนใหญ่ด้วย ถ้าเราไปดำเนินการใช้กฎหมายเต็มๆทุกเรื่อง ก็กลายเป็นเจ้าหน้าที่ไปรังแกท่านอีก เพราะฉะนั้นปัญหาทุกปัญหามีส่วนร่วมทั้งหมด ส่วนหนึ่งได้เป็นส่วนน้อย ส่วนใหญ่เสียหายก็ไม่ได้ขอให้ทุกคนได้นึกถึงกันบ้าง ผู้ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ผู้ที่มีรายได้น้อย ต้องได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายซึ่งจะต้องบังคับกันมานานแล้ว อันนี้ต้องขอความร่วมมือด้วย ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ถ้าแก้ไม่ได้ ก็อยู่กันอย่างเดิมทั้งหมด
ทั้ง 2 ประเด็นนี้ ผมฝากให้ประชาชนได้ช่วยกันคิด เราจะทำอะไรได้บ้าง ในฐานะที่เป็นเจ้าของประเทศอย่างที่ทุกคนพูดเสมอว่าแผ่นดินนี้เป็นของประชาชน ประชาชนทุกคนต้องเป็นผู้ที่แก้ปัญหาให้ได้ด้วยตัวเอง แล้วมีภาครัฐมาช่วย สนับสนุน อำนวยการ จัดระเบียบให้ได้ วันนี้ ก็มี“จิตอาสา” เป็นจำนวนมาก “ประชารัฐ” ก็ก่อร่างสร้างตัวในหลากหลายกิจกรรม แต่ปัญหาใหญ่ๆ เชิงโครงสร้าง ยังคงต้องการความร่วมมืออีกมาก ในส่วนที่ทำได้ รัฐบาลก็ทำไปแล้ว ยังไม่ได้ทำ กำลังทำ โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการน้ำ สาธารณูปโภคพื้นฐาน การจัดระเบียบ สังคม ซึ่งทุกอย่างจะต้องไม่มองแต่เพียงประเด็นของตัวเองอย่างเดียวต้องเอาประเด็นทุกประเด็นของตนไปดู ประเด็นของคนอื่นด้วย แล้วเอามาดูว่าจะทำอย่างไรจะลดความขัดแย้งลงได้บ้าง เรื่องนี้ถ้าเราไม่ทำวันนี้ รัฐบาลหน้าก็ทำไม่ได้อีกเช่นเดิม เพราะว่าจะต้องไปบังคับใช้กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวก็เสียหายเสียภาพลักษณ์ประเทศ
ในโอกาสวันอิดิ้ลฟิตรี ประจำปีฮิจเราะห์ศักราช 1438 ผมขอส่งความระลึกถึงและความปรารถนาดี มายังพี่น้องชาวไทยมุสลิมทั้งหลาย ผมขอพรอันประเสริฐจากเอกองค์พระผู้อภิบาล ได้โปรดประทานพร แก่พี่น้องชาวไทยทุกท่าน จงประสบแต่ความร่มเย็นเป็นสุข มีความจำเริญ รุ่งเรือง และมีสุขภาพพลานามัย ที่สมบูรณ์แข็งแรงโดยทั่วกัน
สุดท้ายนี้ ผมขอประชาสัมพันธ์กับพี่น้องประชาชนว่ารัฐบาลได้กำหนดให้วันเข้าพรรษาของทุกปีเป็น “วันงดดื่มสุราแห่งชาติ” ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันที่ 9 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญที่ชาวพุทธจะได้กำหนดจิตแน่วแน่ในการบำเพ็ญความดีให้มากยิ่งขึ้นเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งการงดดื่มสุราจะถือเป็นมหากุศลด้วย เพราะหากผิดศีลข้อ 5 แล้ว ย่อมมีโอกาสละเมิดศีลข้ออื่นได้โดยง่ายในปี 2560 นี้ ผมได้ให้คำขวัญเนื่องในวันงดดื่มสุราว่า“ห่างไกลสุรา ประชาเป็นสุข ปลอดภัยพาชาติไทยเจริญ” เนื่องจากสุราก่อให้เกิดผลกระทบต่อทั้งผู้ดื่มเอง ครอบครัว บุคคลรอบข้างชุมชน สังคม และประเทศชาติ ด้วยมาจากการที่ดื่มสุรา ก่อให้เกิดโรคภัยมากมายส่งผลถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคม และเศรษฐกิจไทย
ดังนั้น ผมขอเชิญชวนพ่อ แม่ พี่ น้อง ชาวไทยทุกท่าน ลด ละ เลิกสุรา และช่วยกันปกป้องเยาวชนของเราให้ห่างไกลเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยกระทรวงสาธารณสุข มีการรณรงค์และจัดกิจกรรมสนับสนุนการปฏิญาณตนงดดื่มสุรา ในช่วงเข้าพรรษาและงดให้ครบพรรษา เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9ในปีนี้เป็นปีที่สำคัญยิ่งนี้ด้วย ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนมีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ สวัสดีครับ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น