อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 324/2560มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัด การประชุมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2560 " มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.0"
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดการประชุมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2560 เรื่อง "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.0" ระหว่างวันที่ 24-25 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมแชงกรี-ล่า เชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิด และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษ "การปฏิรูปและขับเคลื่อนการศึกษาไทยขานรับ Thailand 4.0" โดยมีอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หัวหน้าสำนักวิชา หัวหน้าภาควิชา กรรมการสภามหาวิทยาลัย ตลอดจนคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 380 คน
นพ.เกษม วัฒนชัย กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า การประชุมสัมมนาผู้บริหาร มช.จะประชุมปีละครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาปาฐกถาพิเศษ (ถึงตรงนี้ผู้เข้าร่วมประชุมยืนปรบมือให้เกียรติพร้อมกันทั้งห้องประชุม) ซึ่งโดยส่วนตัวรู้จัก นพ.ธีระเกียรติ มาก่อน ถือว่าเป็นบุคคลที่เก่ง เสียสละ เข้ามาช่วยงานบ้านเมือง ในช่วงเวลาที่เราต้องการคนเสียสละเข้ามาช่วยพัฒนาบ้านเมือง
ส่วนหัวข้อการประชุมสัมมนาครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศไทย ตามนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 จึงฝากให้มองอดีตก่อนจะเดินหน้าไปสู่อนาคต เพื่อที่ มช.จะได้ set tone มหาวิทยาลัยในการช่วยบ้านเมืองในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง และฝากที่ประชุมด้วยว่าเราจะมี 2 บทบาทเสมอในการประชุม คือ "บทบาทประจำตัว" ในฐานะที่เป็นผู้บริหารในตำแหน่งต่าง ๆ และอีกหนึ่งบทบาทคือ "บทบาทพลเมืองที่ดี" ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เคยให้นิยามคำว่าพลเมืองดีไว้ว่า "เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมือง ก็ต้องทำ" จึงฝากให้คำนึงทั้ง 2 บทบาทในระหว่างการเข้าร่วมประชุม อย่ายึดติดกับความคิดของเราเท่านั้น ต้องฟังคนอื่นด้วย
นอกจากนี้ ขอให้ร่วมกันหารือถึง "อุดมการณ์ของ มช." ที่เน้น 3 ข้อ คือ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน เพื่อความมั่นคง-มั่งคั่ง-ยั่งยืนของประเทศชาติ และเพื่อสันติสุขและสันติภาพของมนุษย์ และฝากที่ประชุมหารือถึงการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ 4 ด้านของประเทศไทย คือ ปัญหาคอร์รัปชัน (Corruption) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร (Population Shift) ช่องว่างทางสังคม (Social Gaps: Education, Health, Moral Behavior, Income, etc.) และการเสริมสร้างศักยภาพการเกษตร (Empowerment of Agricultural Sector)
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ บรรยายตอนหนึ่งว่า การประชุมสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหาร มช. ได้เตรียมความพร้อมให้เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.0 โดยเน้น 5 เรื่องที่สำคัญ คือ การปฏิรูปหลักสูตร การปรับปรุงระบบงานวิจัย การเตรียมพร้อมบัณฑิต มช. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัย และการปฏิรูประบบบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ Thailand 4.0 แต่สิ่งสำคัญอย่างแรกที่มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องให้ความสำคัญก่อน คือ "ธรรมาภิบาล"
ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยมีเป้าหมายชัดเจนต่อนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งก็สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ที่ได้มีนโยบายในเรื่องดิจิทัลและนวัตกรรมเช่นกัน เพียงแต่ชื่อเรียกอาจจะแตกต่างกันไป เช่น Smart Nation คำว่า 4.0 เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2011 ในงาน Trade Fair ที่เยอรมนี แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าทุกสิ่งที่เป็นดิจิทัลและนวัตกรรม ไม่ได้เป็น 4.0 เสมอไป
นพ.ธีระเกียรติ ได้อธิบายถึงผลการประเมิน PISA ของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติ โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งผลการประเมินล่าสุดอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก และจากการไปเยือนเวียดนามเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้เห็นภาพชัดเจนที่เวียดนามประสบความสำเร็จด้านการศึกษา เพราะเด็กเวียดนามอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา แม้จะใช้งบประมาณลงทุนเพื่อการศึกษาน้อยกว่าไทยถึง 3 เท่า จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญในเรื่อง "Growth Mindset" หรือ “Learner Mindset” ซึ่งก็คือการที่เด็กนักเรียนหรือครูมีความอยากเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา บุคคลเหล่านี้จะชอบความท้าทาย และมองว่าความผิดพลาดเป็นบทเรียน
นอกจากนี้ ฝากข้อคิดองค์ประกอบของระบบการศึกษาที่ดี 8 ประการ เพื่อช่วยขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศไปสู่การเป็นประเทศชั้นนำของโลก ( A World-Class Education เขียนโดย Vivien Stewart) ดังนี้
1) การมีวิสัยทัศน์และภาวะความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง (Vision and Leadership) คือ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น นายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์
2) การตั้งมาตรฐานระดับสูง (Ambitious Standards) ด้วยการกำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายสูงในทุกเรื่อง เช่น นักเรียน ครู สถานศึกษา หลักสูตร โดยต้องมีความเชื่อมั่นว่าทุกฝ่ายสามารถทำได้
3) ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (Commitment to Equity) ต้องมีความมุ่งมั่นในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนในต่างจังหวัดและโรงเรียนในเมืองให้ได้ หากจะเรียนรู้จากประเทศชั้นนำด้านการศึกษา เช่น สิงคโปร์ หรือ ฟินแลนด์ จะต้องไม่มองแค่ผลลัพธ์ในปัจจุบัน แต่ให้มองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ว่าแต่ละประเทศเริ่มปฏิรูปการศึกษาจากอะไร และทำอย่างไร เพราะการจะปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จอาจต้องใช้เวลามากถึง 10 ปี
4) การได้มาและการคงไว้ซึ่งครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพ (High-Quality Teachers and Leaders)
5) ความร่วมมือในการทำงานของทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกัน (Alignment and Coherence) การดำเนินงานของทุกภาคส่วนจะต้องมีความสอดคล้องกัน ทั้งผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการประเมิน การจัดทำหลักสูตร และการจัดการ
6) การบริหารจัดการที่ดีและการมีความรับผิดชอบ (Management Accountability)
7) การสร้างแรงจูงใจแก่เด็กนักเรียน (Student Motivation) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่โครงสร้าง หน่วยงาน และบุคลากร
8) การมุ่งเน้นพัฒนาเพื่ออนาคตในระดับโลก (Global and Future Orientation) ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมองโลกในอนาคต มองไปข้างหน้า เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น หลักสูตรการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปด้วย
อีกเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย คือ ต้องคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ดังนั้น การประเมินศาสตราจารย์จึงจะใช้แบบเดียวกันหมดไม่ได้ หรือตัวอย่างอีกประการด้านการเรียนการสอน STEM สถานศึกษาจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง Basic ให้ดีเสียก่อน เพราะการเรียนต้องสอนให้เด็กเริ่มต้นจากการจำ (Remember) จนกระทั่งเข้าใจ (Understand) ก่อนที่จะไปประยุกต์ใช้ (Apply)
นพ.ธีระเกียรติ ได้ฝากข้อคิด "คำถามการเป็นสภามหาวิทยาลัยที่ดี (Questions for an Education Board)" ดังนี้
-
Right composition?
-
Right size?
-
Right compensation for CEO?
-
Right strategies?
-
Right risk plan?
-
Right succession plan?
-
Right self-evaluation?
-
Right governance?
สำหรับนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษาอีกประการที่ดำเนินการในเวลานี้ คือ เรื่องคุณภาพการศึกษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบการปรับเปลี่ยนให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. มาอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดูแลในเรื่องคุณภาพ (Quality) ทางการศึกษา ซึ่ง สมศ. ได้เตรียมเสนอร่างแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ และกระทรวงศึกษาธิการก็ได้เตรียมการไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาประเมิน เพราะต้องรอประกาศในกฎกระทรวงก่อน แต่คาดว่าจะดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งแนวทางที่สำคัญในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 คือ เพื่อต้องการวัดคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบประกันคุณภาพการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ ส่วนการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษารูปแบบใหม่ สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินเอง ไม่มีการลงไปประเมินซ้ำซ้อนจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือ สมศ. อีก ซึ่งโรงเรียนทุกแห่งจะต้องเขียน Self Assessment Report ไม่เกิน 2 หน้า โดยระบุไปเลยว่าโรงเรียนได้ทำตามที่รัฐบาลคาดหวังไว้หรือไม่ หรือเกิดผลสำเร็จตามบทบาทงานที่กำหนดไว้ได้อย่างไร และเมื่อสถานศึกษาประเมินตนเองแล้วก็ส่งผลการประเมินมายังคณะกรรมการที่จะลงไปตรวจสอบ โดยที่กระทรวงศึกษาธิการจะเป็นเพียงผู้สนับสนุนและกำกับติดตามเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการที่ลงไปตรวจสอบจะมาจาก 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1) ผู้แทนจาก สมศ. 2) ศึกษาธิการภาค/จังหวัด 3) ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระ ตัวอย่างเช่น หากไปประเมินที่นครพนม ผู้ประเมินในส่วนของผู้อำนวยการโรงเรียนอาจมาจากเชียงใหม่ เพื่อให้มีมุมมองของการบริหารจากพื้นที่อื่น ๆ
นพ.ธีระเกียรติ ได้ฝากข้อคิดการทำงานด้วยว่า ท่านอาจจะต้องเป็นทั้งผู้นำ (Leaders) และผู้บริหาร (Managers) เพราะผู้นำมักจะทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Leaders: Do the right thing) ส่วนผู้บริหารจะทำให้ถูกต้อง (Managers: Do things right) และผู้นำควรตัดสินใจเร็ว ทำเร็ว เพราะหากผิด ยังแก้ไขได้ ส่วนเรื่องคน ต้องคิดนาน ๆ เพราะตั้งแล้วแก้ยาก หรือกล่าวโดยสรุปสั้น ๆ ว่า "เรื่องคนคิดนาน ๆ เรื่องงานคิดเร็ว ๆ"
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 324/2560มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัด การประชุมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2560 " มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.0"
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จัดการประชุมสัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2560 เรื่อง "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.0" ระหว่างวันที่ 24-25 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมแชงกรี-ล่า เชียงใหม่ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในฐานะนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิด และ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถาพิเศษ "การปฏิรูปและขับเคลื่อนการศึกษาไทยขานรับ Thailand 4.0" โดยมีอธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี หัวหน้าสำนักวิชา หัวหน้าภาควิชา กรรมการสภามหาวิทยาลัย ตลอดจนคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกระดับ เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 380 คน
นพ.เกษม วัฒนชัย กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า การประชุมสัมมนาผู้บริหาร มช.จะประชุมปีละครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาปาฐกถาพิเศษ (ถึงตรงนี้ผู้เข้าร่วมประชุมยืนปรบมือให้เกียรติพร้อมกันทั้งห้องประชุม) ซึ่งโดยส่วนตัวรู้จัก นพ.ธีระเกียรติ มาก่อน ถือว่าเป็นบุคคลที่เก่ง เสียสละ เข้ามาช่วยงานบ้านเมือง ในช่วงเวลาที่เราต้องการคนเสียสละเข้ามาช่วยพัฒนาบ้านเมือง
ส่วนหัวข้อการประชุมสัมมนาครั้งนี้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศไทย ตามนโยบายรัฐบาล Thailand 4.0 จึงฝากให้มองอดีตก่อนจะเดินหน้าไปสู่อนาคต เพื่อที่ มช.จะได้ set tone มหาวิทยาลัยในการช่วยบ้านเมืองในปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าได้อย่างไรบ้าง และฝากที่ประชุมด้วยว่าเราจะมี 2 บทบาทเสมอในการประชุม คือ "บทบาทประจำตัว" ในฐานะที่เป็นผู้บริหารในตำแหน่งต่าง ๆ และอีกหนึ่งบทบาทคือ "บทบาทพลเมืองที่ดี" ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เคยให้นิยามคำว่าพลเมืองดีไว้ว่า "เห็นอะไรที่จะทำเพื่อบ้านเมือง ก็ต้องทำ" จึงฝากให้คำนึงทั้ง 2 บทบาทในระหว่างการเข้าร่วมประชุม อย่ายึดติดกับความคิดของเราเท่านั้น ต้องฟังคนอื่นด้วย
นอกจากนี้ ขอให้ร่วมกันหารือถึง "อุดมการณ์ของ มช." ที่เน้น 3 ข้อ คือ เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชน เพื่อความมั่นคง-มั่งคั่ง-ยั่งยืนของประเทศชาติ และเพื่อสันติสุขและสันติภาพของมนุษย์ และฝากที่ประชุมหารือถึงการแก้ไขปัญหาที่สำคัญ 4 ด้านของประเทศไทย คือ ปัญหาคอร์รัปชัน (Corruption) การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร (Population Shift) ช่องว่างทางสังคม (Social Gaps: Education, Health, Moral Behavior, Income, etc.) และการเสริมสร้างศักยภาพการเกษตร (Empowerment of Agricultural Sector)
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ บรรยายตอนหนึ่งว่า การประชุมสัมมนาครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหาร มช. ได้เตรียมความพร้อมให้เป็นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4.0 โดยเน้น 5 เรื่องที่สำคัญ คือ การปฏิรูปหลักสูตร การปรับปรุงระบบงานวิจัย การเตรียมพร้อมบัณฑิต มช. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัย และการปฏิรูประบบบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ Thailand 4.0 แต่สิ่งสำคัญอย่างแรกที่มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องให้ความสำคัญก่อน คือ "ธรรมาภิบาล"
ทั้งนี้ การที่ประเทศไทยมีเป้าหมายชัดเจนต่อนโยบาย Thailand 4.0 ซึ่งก็สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ที่ได้มีนโยบายในเรื่องดิจิทัลและนวัตกรรมเช่นกัน เพียงแต่ชื่อเรียกอาจจะแตกต่างกันไป เช่น Smart Nation คำว่า 4.0 เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2011 ในงาน Trade Fair ที่เยอรมนี แต่ต้องเข้าใจด้วยว่าทุกสิ่งที่เป็นดิจิทัลและนวัตกรรม ไม่ได้เป็น 4.0 เสมอไป
นพ.ธีระเกียรติ ได้อธิบายถึงผลการประเมิน PISA ของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับนานาชาติ โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งผลการประเมินล่าสุดอยู่ในอันดับที่ 8 ของโลก และจากการไปเยือนเวียดนามเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้เห็นภาพชัดเจนที่เวียดนามประสบความสำเร็จด้านการศึกษา เพราะเด็กเวียดนามอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา แม้จะใช้งบประมาณลงทุนเพื่อการศึกษาน้อยกว่าไทยถึง 3 เท่า จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญในเรื่อง "Growth Mindset" หรือ “Learner Mindset” ซึ่งก็คือการที่เด็กนักเรียนหรือครูมีความอยากเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา บุคคลเหล่านี้จะชอบความท้าทาย และมองว่าความผิดพลาดเป็นบทเรียน
นอกจากนี้ ฝากข้อคิดองค์ประกอบของระบบการศึกษาที่ดี 8 ประการ เพื่อช่วยขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศไปสู่การเป็นประเทศชั้นนำของโลก ( A World-Class Education เขียนโดย Vivien Stewart) ดังนี้
1) การมีวิสัยทัศน์และภาวะความเป็นผู้นำที่เข้มแข็ง (Vision and Leadership) คือ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น นายลี กวน ยู อดีตนายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์
2) การตั้งมาตรฐานระดับสูง (Ambitious Standards) ด้วยการกำหนดมาตรฐานหรือเป้าหมายสูงในทุกเรื่อง เช่น นักเรียน ครู สถานศึกษา หลักสูตร โดยต้องมีความเชื่อมั่นว่าทุกฝ่ายสามารถทำได้
3) ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (Commitment to Equity) ต้องมีความมุ่งมั่นในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างโรงเรียนในต่างจังหวัดและโรงเรียนในเมืองให้ได้ หากจะเรียนรู้จากประเทศชั้นนำด้านการศึกษา เช่น สิงคโปร์ หรือ ฟินแลนด์ จะต้องไม่มองแค่ผลลัพธ์ในปัจจุบัน แต่ให้มองย้อนไปถึงประวัติศาสตร์ว่าแต่ละประเทศเริ่มปฏิรูปการศึกษาจากอะไร และทำอย่างไร เพราะการจะปฏิรูปการศึกษาได้สำเร็จอาจต้องใช้เวลามากถึง 10 ปี
4) การได้มาและการคงไว้ซึ่งครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีคุณภาพ (High-Quality Teachers and Leaders)
5) ความร่วมมือในการทำงานของทุกภาคส่วนที่สอดคล้องกัน (Alignment and Coherence) การดำเนินงานของทุกภาคส่วนจะต้องมีความสอดคล้องกัน ทั้งผู้ที่รับผิดชอบเรื่องการประเมิน การจัดทำหลักสูตร และการจัดการ
6) การบริหารจัดการที่ดีและการมีความรับผิดชอบ (Management Accountability)
7) การสร้างแรงจูงใจแก่เด็กนักเรียน (Student Motivation) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่เมื่อพูดถึงการปฏิรูปการศึกษา ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่โครงสร้าง หน่วยงาน และบุคลากร
8) การมุ่งเน้นพัฒนาเพื่ออนาคตในระดับโลก (Global and Future Orientation) ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมองโลกในอนาคต มองไปข้างหน้า เนื่องจากโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น หลักสูตรการเรียนการสอนจึงต้องเปลี่ยนไปด้วย
อีกเรื่องที่สำคัญต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย คือ ต้องคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ดังนั้น การประเมินศาสตราจารย์จึงจะใช้แบบเดียวกันหมดไม่ได้ หรือตัวอย่างอีกประการด้านการเรียนการสอน STEM สถานศึกษาจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่อง Basic ให้ดีเสียก่อน เพราะการเรียนต้องสอนให้เด็กเริ่มต้นจากการจำ (Remember) จนกระทั่งเข้าใจ (Understand) ก่อนที่จะไปประยุกต์ใช้ (Apply)
- Right composition?
Right size? Right compensation for CEO? Right strategies? Right risk plan? Right succession plan? Right self-evaluation? Right governance?
สำหรับนโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษาอีกประการที่ดำเนินการในเวลานี้ คือ เรื่องคุณภาพการศึกษา ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบการปรับเปลี่ยนให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. มาอยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อดูแลในเรื่องคุณภาพ (Quality) ทางการศึกษา ซึ่ง สมศ. ได้เตรียมเสนอร่างแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบ และกระทรวงศึกษาธิการก็ได้เตรียมการไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาประเมิน เพราะต้องรอประกาศในกฎกระทรวงก่อน แต่คาดว่าจะดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งแนวทางที่สำคัญในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 คือ เพื่อต้องการวัดคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบประกันคุณภาพการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ ส่วนการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษารูปแบบใหม่ สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินเอง ไม่มีการลงไปประเมินซ้ำซ้อนจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือ สมศ. อีก ซึ่งโรงเรียนทุกแห่งจะต้องเขียน Self Assessment Report ไม่เกิน 2 หน้า โดยระบุไปเลยว่าโรงเรียนได้ทำตามที่รัฐบาลคาดหวังไว้หรือไม่ หรือเกิดผลสำเร็จตามบทบาทงานที่กำหนดไว้ได้อย่างไร และเมื่อสถานศึกษาประเมินตนเองแล้วก็ส่งผลการประเมินมายังคณะกรรมการที่จะลงไปตรวจสอบ โดยที่กระทรวงศึกษาธิการจะเป็นเพียงผู้สนับสนุนและกำกับติดตามเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการที่ลงไปตรวจสอบจะมาจาก 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1) ผู้แทนจาก สมศ. 2) ศึกษาธิการภาค/จังหวัด 3) ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระ ตัวอย่างเช่น หากไปประเมินที่นครพนม ผู้ประเมินในส่วนของผู้อำนวยการโรงเรียนอาจมาจากเชียงใหม่ เพื่อให้มีมุมมองของการบริหารจากพื้นที่อื่น ๆ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น