อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 305/2560
รมว.ศธ.เปิดการประชุมโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัดทั่วประเทศ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดการประชุมสัมมนาโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ระหว่างวันที่ 14-17 มิถุนายน2560 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม เมื่อวันพุธที่ 14 มิถุนายน 2560
● แสดงความยินดีกับ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด เชื่อมั่นว่าจะเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกฝ่ายได้อย่างดี
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความยินดีกับผู้ที่ได้รับตำแหน่งใหม่ ทั้งศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัด ประมาณ 190 คน ซึ่งมาเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้เป็นเวลา 3 วัน อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้าง หรือใครจะได้เป็นตำแหน่งอะไร หรือศึกษาธิการภาค/จังหวัดจะมีจำนวนกี่คนนั้น เป็นเรื่องที่ประชาชนไม่ได้สนใจ เพราะประชาชน ผู้ปกครอง นักเรียน ต้องการจะรู้เพียงว่าพวกเขาจะได้โรงเรียนดี ๆ หรือครูสอนในโรงเรียนที่ลูกหลานเรียนอยู่เป็นอย่างไร
การปฏิรูปการศึกษาในระดับภูมิภาคด้วยการมี ศึกษาธิการภาค/จังหวัด นั้น หลายคนมีความกังวลเกิดขึ้น เพราะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเกิดความแตกแยกกันเองในกระทรวงศึกษาธิการระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่เมื่อเดินหน้ามาถึงจุดนี้แล้ว เชื่อมั่นว่า ศึกษาธิการภาค/จังหวัด จะเดินหน้าและบูรณาการการทำงานกับทุกฝ่ายได้อย่างมีคุณภาพ
● จะมีการประเมินคุณภาพ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด เพื่อให้เกิดการพัฒนา
ทั้งนี้ มีความคาดหวังต่อ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด ว่า จะต้องเป็นผู้สร้างสิ่งใหม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการศึกษาให้ได้ ซึ่งต่อไปจะมีตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินคุณภาพ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด ด้วย เพราะจะทำให้เราทราบถึงสมรรถนะ จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง เหมือนเราเป็นเจ้าของร้านอาหารที่มีสาขามากมายทั่วประเทศ จะรู้ได้อย่างไรว่าแต่ละสาขามีคุณภาพตามเกณฑ์ที่เรากำหนดไว้ ก็ต้องมีกระบวนการในการเช็คมาตรฐานหรือสุ่มตรวจ จนมั่นใจว่ามีคุณภาพจริง ๆ เช่นเดียวกันทุกสาขา
ดังนั้น เราจึงต้องมองการทำงานของเราเองจากสายตาของบุคคลที่สาม เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการทำงานของเรา ซึ่งควรประกอบด้วยคน 3 กลุ่ม คือ 1) ประชาชน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน 2) ความคาดหวังของรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการ 3) คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ทั้งนี้ เคยย้ำเสมอว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่ ไม่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างของกระทรวงครั้งใหญ่ เพราะจะเกิดผลกระทบต่อประเทศชาติไปอีกหลายปี แต่หากจำเป็นต้องเปลี่ยน ก็ควรเป็นการเปลี่ยนเพื่อการเรียนการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษาในขณะนี้เหมือนกับเปลี่ยนเป็นระบบ "ไฮบริด" โดยมีผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเข้ามาทั้ง 2 ส่วน คือ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด และคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่จะเข้ามาช่วยดูพวกเราทำงานเป็นเวลา 2 ปี ดังนั้น จึงฝากขอให้ผู้บริหารทั้งระดับภาคและจังหวัดมีความตั้งใจที่จะทำงาน
● บทบาทแรกของ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด คือการจัดทำงบประมาณปี 2562
สำหรับความคาดหวังงานในความรับผิดชอบซึ่งเป็นงานแรกของศึกษาธิการภาค/จังหวัด คือ การจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ และแผนบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ถือเป็นบทบาทของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ที่จะต้องจัดทำแผนงานโครงการให้สนองตอบต่อความต้องการในระดับจังหวัด หรือแผนบูรณาการระดับภาค โดยต้องเร่งจัดทำแผนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2560 ส่วนการจัดทำแผน บูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคม 2560
● ย้ำรัฐบาลให้ความสนใจ KPI ที่ต้องชัดเจนและไม่มากจนเกินไป
สิ่งสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดทำแผนบูรณาการ คือ "เป้าหมายตัวชี้วัด" หรือ KPI : Key Performance Indicator ซึ่ง เป็นตัวบอกทิศทางการทำงาน แต่ปัญหาการจัดทำ KPI ของโลกมี 2 ส่วน คือ กำหนดตัวชี้วัดมากจนเกินไป และอาจสับสนว่าตัวชี้วัดเป็น ผลลัพธ์ (Outcome) ซึ่งไม่จำเป็น
● เตรียมการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 รูปแบบใหม่ หลังกฎกระทรวงบังคับใช้
ในเรื่องคุณภาพ (Quality) ทางการศึกษา ขณะนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ได้เตรียมเสนอ ร่างแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว และกระทรวงศึกษาธิการก็ได้เตรียมการไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาประเมิน เพราะต้องรอประกาศในกฎกระทรวงก่อน แต่คาดว่าจะดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งแนวทางที่สำคัญในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 คือ เพื่อต้องการวัดคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบประกันคุณภาพการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่
นอกจากนี้ จะมีการปรับหลักเกณฑ์การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย สพฐ. โดยให้มีหน่วยงานกลางออกข้อสอบ เช่นเดียวกับการสอบคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2560 เพื่อเริ่มใช้ในการคัดเลือกครูผู้ช่วยในปี 2561 ด้วย
● ส่วนการ ประเมินคุณภาพภายในไม่ยุ่งยาก ทุกโรงเรียนเพียงเขียน SAR สั้นๆ ไม่เกิน 2 หน้า
ส่วนการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษารูปแบบใหม่ สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินเอง ไม่มีการลงไปประเมินซ้ำซ้อนจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือ สมศ. อีก ซึ่งโรงเรียนทุกแห่งจะต้องเขียน Self Assessment Report ไม่เกิน 2 หน้า โดยระบุไปเลยว่าโรงเรียนได้ทำตามที่รัฐบาลคาดหวังไว้หรือไม่ หรือเกิดผลสำเร็จตามบทบาทงานที่กำหนดไว้ได้อย่างไร และ เมื่อสถานศึกษาประเมินตนเองแล้วก็ส่งผลการประเมินมายังคณะกรรมการที่จะลงไปตรวจสอบ โดยที่กระทรวงศึกษาธิการจะเป็นเพียงผู้สนับสนุนและกำกับติดตามเท่านั้น
ซึ่งคณะกรรมการที่ลงไปตรวจสอบจะมาจาก 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1) ผู้แทนจาก สมศ. 2) ศึกษาธิการภาค/จังหวัด 3) ผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีความเป็นอิสระ ตัวอย่างเช่น หากไปประเมินที่นครพนม ผู้ประเมินในส่วนของผู้อำนวยการโรงเรียนอาจมาจากเชียงใหม่ เพื่อให้มีมุมมองของการบริหารจากพื้นที่อื่น ๆ จึงฝากให้ศึกษาธิการภาค/จังหวัด สร้างความเข้าใจและเตรียมซักซ้อมการประเมินสถานศึกษาภายนอกและภายในไว้ด้วย
● ฝากข้อคิดการทำงานทั้งในฐานะ Leaders และ Managers
นพ.ธีระเกียรติ ได้ฝากข้อคิดการทำงานว่า ท่านอาจจะต้องเป็นทั้งผู้นำ (Leaders) และผู้บริหาร (Managers) เพราะผู้นำมักจะ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Leaders: Do the right things) ส่วนผู้บริหารจะ ทำให้ถูกต้อง (Managers: Do the things right)
ส่วนระบบให้คุณให้โทษ หรือความก้าวหน้าของบุคลากร ควรพิจารณาใน 3 ด้าน 1) Proficiency: ความเชี่ยวชาญ คือ ทักษะ, วิทยฐานะ โดยมิตินี้จะใช้ในการเลือกคนเข้ามาทำงาน หรือหาคนเข้ามาทำงาน แทนที่จะให้แต่ตัวเงิน 2) Performance: ผลงาน ซึ่งบุคลากรบางรายอาจไม่มีความเชี่ยวชาญ แต่ผลงานที่ปรากฏออกมาดี กรณีที่เป็นบริษัทก็ดูได้จากผลประกอบการ ซึ่งเป็นเรื่องที่วัดได้ชัดเจน ต่างจากทักษะข้อแรกที่อาจจะวัดได้ในกลุ่มเดียวกัน หรือผลงานสำหรับให้โบนัส หรือเลื่อนขั้น 3) Potential: ศักยภาพ ซึ่งเกิดจากหลายองค์ประกอบ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้พิจารณาคัดเลือกผู้นำ ซึ่งจะต้องพิจารณาไปถึงความนิยมชมชอบของประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบการบริหารงานบุคคลยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องให้ความสำคัญด้วย ได้แก่ Recruit, Retrain, Retain และ Reward
● แนะกิจกรรม PLC ไม่ใช่การบรรยายหรือเวิร์คช็อปเท่านั้น
อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ "การจัดกิจกรรม PLC: Professional Learning Community หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้" ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของวิชาชีพเดียวกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานของวิชาชีพตนเอง เช่น แพทย์ จะมีการหารือกันเรื่องคนไข้ทั้งรอบเช้าและเย็น จึงทำให้แพทย์แต่ละคนมาถกกันเรื่องคนไข้ เคสการรักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันบ่อย ๆ ทำให้แพทย์เก่งขึ้น ชำนาญมากขึ้น เช่นเดียวกับอาชีพครู เพราะเมื่อเรียนจบแล้ว จะไม่มีใครมาสอนอีกแล้ว
ในปัจจุบัน หลายหน่วยงานในสังกัดกำลังดำเนินการอบรม PLC อยู่ แต่ที่พบเห็นหลายแห่งยังดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักคิดของ PLC เท่าที่ควร ส่วนมากมีลักษณะเป็นการบรรยาย (Lecture) ซึ่งไม่ได้ผล หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ก็ไม่ใช่ PLC เพราะ PLC ที่ดีคือ การที่กลุ่มคนที่มีอาชีพเดียวกันมารวมกลุ่มกันเช่น ครูผู้สอน เลือกหัวข้อ (Topic) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาพูดคุยกัน มาระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และท้ายที่สุด PLC ก็สามารถนำไปเชื่อมโยงกับกระบวนการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะของครูผู้สอนได้
● ย้ำเรื่องงานตัดสินใจเร็ว และระวังการรับข้อมูลข่าวสารที่ผิด ๆ
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวด้วยว่า ข่าวลือต่าง ๆ เช่น จะโยกย้ายผู้บริหารระดับสูง 2 รายนั้น ก็ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ฝากด้วยว่าความมั่นคงเป็นเรื่องสำคัญของคนทำงานและประเทศ ยิ่งในยุคนี้มีข้อมูลข่าวสารมากมาย จึงจำเป็นต้องพิจารณารับฟังและแชร์ข้อมูลด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ข้อมูลควรได้จากหลายทาง ไม่ใช่ทางเดียว
นพ.ธีระเกียรติ ย้ำในส่วนของผู้นำด้วยว่า ผู้นำควรตัดสินใจเร็วทำเร็ว เพราะหากผิด ยังแก้ไขได้ พร้อมกล่าวว่า เรื่องงาน: คิดเร็ว ๆ - มอนิเตอร์ - ผิด - แก้ - ยอมรับ, เรื่องคน: คิดนาน ๆ เพราะตั้งแล้วแก้ยาก
● ย้ำหากป้องกันทุจริตในขั้นตอนนี้ได้ หน่วยงานระดับล่างไม่มีใครกล้าทำ
พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอให้ศึกษาธิการภาค/จังหวัดยุคใหม่ ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นต้นแบบการปราบทุจริตคอร์รัปชัน ต้องเข้ามาไล่คนไม่ดีให้หมดไปจากการศึกษา ดังนั้น ขอให้ทุกคนทำงานอย่างโปร่งใส มีความยุติธรรม และตรวจสอบได้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าหากเราป้องกันการทุจริตได้ตั้งแต่ขั้นตอนนี้ หน่วยงานระดับล่างลงไปก็จะไม่มีใครกล้าทำเรื่องทุจริตอย่างแน่นอน อีกทั้งในคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาเป็นกรรมการอย่างหลากหลาย จึงทำให้มีการคานอำนาจกัน ต่างจากสมัยก่อนที่มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา จนทำให้มีการทุจริตเกิดขึ้นจำนวนมาก
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 305/2560
รมว.ศธ.เปิดการประชุมโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัดทั่วประเทศ
รมว.ศธ.เปิดการประชุมโครงการพัฒนาผู้บริหารสำนักงานศึกษาธิการภาค/จังหวัดทั่วประเทศ
● แสดงความยินดีกับ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด เชื่อมั่นว่าจะเดินหน้าทำงานร่วมกับทุกฝ่ายได้อย่างดี
ดังนั้น เราจึงต้องมองการทำงานของเราเองจากสายตาของบุคคลที่สาม เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาการทำงานของเรา ซึ่งควรประกอบด้วยคน 3 กลุ่ม คือ 1) ประชาชน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน 2) ความคาดหวังของรัฐบาลหรือกระทรวงศึกษาธิการ 3) คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ทั้งนี้ เคยย้ำเสมอว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่ ไม่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างของกระทรวงครั้งใหญ่ เพราะจะเกิดผลกระทบต่อประเทศชาติไปอีกหลายปี แต่หากจำเป็นต้องเปลี่ยน ก็ควรเป็นการเปลี่ยนเพื่อการเรียนการสอน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูปการศึกษาในขณะนี้เหมือนกับเปลี่ยนเป็นระบบ "ไฮบริด" โดยมีผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเข้ามาทั้ง 2 ส่วน คือ ศึกษาธิการภาค/จังหวัด และคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่จะเข้ามาช่วยดูพวกเราทำงานเป็นเวลา 2 ปี ดังนั้น จึงฝากขอให้ผู้บริหารทั้งระดับภาคและจังหวัดมีความตั้งใจที่จะทำงาน
สำหรับความคาดหวังงานในความรับผิดชอบซึ่งเป็นงานแรกของศึกษาธิการภาค/จังหวัด คือ การจัดทำแผนบูรณาการเชิงพื้นที่ และแผนบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ถือเป็นบทบาทของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) สำนักงานศึกษาธิการภาค (ศธภ.) และสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ ที่จะต้องจัดทำแผนงานโครงการให้สนองตอบต่อความต้องการในระดับจังหวัด หรือแผนบูรณาการระดับภาค โดยต้องเร่งจัดทำแผนให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2560 ส่วนการจัดทำแผน บูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในเดือนตุลาคม 2560
สิ่งสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดทำแผนบูรณาการ คือ "เป้าหมายตัวชี้วัด" หรือ KPI : Key Performance Indicator ซึ่ง เป็นตัวบอกทิศทางการทำงาน แต่ปัญหาการจัดทำ KPI ของโลกมี 2 ส่วน คือ กำหนดตัวชี้วัดมากจนเกินไป และอาจสับสนว่าตัวชี้วัดเป็น ผลลัพธ์ (Outcome) ซึ่งไม่จำเป็น
ในเรื่องคุณภาพ (Quality) ทางการศึกษา ขณะนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ได้เตรียมเสนอ ร่างแก้ไขกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 เพื่อให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว และกระทรวงศึกษาธิการก็ได้เตรียมการไว้อยู่แล้ว เพียงแต่ยังไม่ได้กำหนดเวลาประเมิน เพราะต้องรอประกาศในกฎกระทรวงก่อน แต่คาดว่าจะดำเนินการได้ทันในปีงบประมาณ 2561 ซึ่งแนวทางที่สำคัญในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 คือ เพื่อต้องการวัดคุณภาพการศึกษา โดยใช้ระบบประกันคุณภาพการเรียนการสอนว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่
ส่วนการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษารูปแบบใหม่ สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนดมาตรฐานที่ใช้ในการประเมินเอง ไม่มีการลงไปประเมินซ้ำซ้อนจากกระทรวงศึกษาธิการ หรือ สมศ. อีก ซึ่งโรงเรียนทุกแห่งจะต้องเขียน Self Assessment Report ไม่เกิน 2 หน้า โดยระบุไปเลยว่าโรงเรียนได้ทำตามที่รัฐบาลคาดหวังไว้หรือไม่ หรือเกิดผลสำเร็จตามบทบาทงานที่กำหนดไว้ได้อย่างไร และ เมื่อสถานศึกษาประเมินตนเองแล้วก็ส่งผลการประเมินมายังคณะกรรมการที่จะลงไปตรวจสอบ โดยที่กระทรวงศึกษาธิการจะเป็นเพียงผู้สนับสนุนและกำกับติดตามเท่านั้น
นพ.ธีระเกียรติ ได้ฝากข้อคิดการทำงานว่า ท่านอาจจะต้องเป็นทั้งผู้นำ (Leaders) และผู้บริหาร (Managers) เพราะผู้นำมักจะ ทำในสิ่งที่ถูกต้อง (Leaders: Do the right things) ส่วนผู้บริหารจะ ทำให้ถูกต้อง (Managers: Do the things right)
ส่วนระบบให้คุณให้โทษ หรือความก้าวหน้าของบุคลากร ควรพิจารณาใน 3 ด้าน 1) Proficiency: ความเชี่ยวชาญ คือ ทักษะ, วิทยฐานะ โดยมิตินี้จะใช้ในการเลือกคนเข้ามาทำงาน หรือหาคนเข้ามาทำงาน แทนที่จะให้แต่ตัวเงิน 2) Performance: ผลงาน ซึ่งบุคลากรบางรายอาจไม่มีความเชี่ยวชาญ แต่ผลงานที่ปรากฏออกมาดี กรณีที่เป็นบริษัทก็ดูได้จากผลประกอบการ ซึ่งเป็นเรื่องที่วัดได้ชัดเจน ต่างจากทักษะข้อแรกที่อาจจะวัดได้ในกลุ่มเดียวกัน หรือผลงานสำหรับให้โบนัส หรือเลื่อนขั้น 3) Potential: ศักยภาพ ซึ่งเกิดจากหลายองค์ประกอบ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ใช้พิจารณาคัดเลือกผู้นำ ซึ่งจะต้องพิจารณาไปถึงความนิยมชมชอบของประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ ระบบการบริหารงานบุคคลยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องให้ความสำคัญด้วย ได้แก่ Recruit, Retrain, Retain และ Reward
อีกเรื่องที่สำคัญมากคือ "การจัดกิจกรรม PLC: Professional Learning Community หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้" ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของวิชาชีพเดียวกันในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนางานของวิชาชีพตนเอง เช่น แพทย์ จะมีการหารือกันเรื่องคนไข้ทั้งรอบเช้าและเย็น จึงทำให้แพทย์แต่ละคนมาถกกันเรื่องคนไข้ เคสการรักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันบ่อย ๆ ทำให้แพทย์เก่งขึ้น ชำนาญมากขึ้น เช่นเดียวกับอาชีพครู เพราะเมื่อเรียนจบแล้ว จะไม่มีใครมาสอนอีกแล้ว
ในปัจจุบัน หลายหน่วยงานในสังกัดกำลังดำเนินการอบรม PLC อยู่ แต่ที่พบเห็นหลายแห่งยังดำเนินการไม่ถูกต้องตามหลักคิดของ PLC เท่าที่ควร ส่วนมากมีลักษณะเป็นการบรรยาย (Lecture) ซึ่งไม่ได้ผล หรือการอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ก็ไม่ใช่ PLC เพราะ PLC ที่ดีคือ การที่กลุ่มคนที่มีอาชีพเดียวกันมารวมกลุ่มกันเช่น ครูผู้สอน เลือกหัวข้อ (Topic) ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาพูดคุยกัน มาระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน และท้ายที่สุด PLC ก็สามารถนำไปเชื่อมโยงกับกระบวนการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะของครูผู้สอนได้
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวด้วยว่า ข่าวลือต่าง ๆ เช่น จะโยกย้ายผู้บริหารระดับสูง 2 รายนั้น ก็ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ฝากด้วยว่าความมั่นคงเป็นเรื่องสำคัญของคนทำงานและประเทศ ยิ่งในยุคนี้มีข้อมูลข่าวสารมากมาย จึงจำเป็นต้องพิจารณารับฟังและแชร์ข้อมูลด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ข้อมูลควรได้จากหลายทาง ไม่ใช่ทางเดียว
นพ.ธีระเกียรติ ย้ำในส่วนของผู้นำด้วยว่า ผู้นำควรตัดสินใจเร็วทำเร็ว เพราะหากผิด ยังแก้ไขได้ พร้อมกล่าวว่า เรื่องงาน: คิดเร็ว ๆ - มอนิเตอร์ - ผิด - แก้ - ยอมรับ, เรื่องคน: คิดนาน ๆ เพราะตั้งแล้วแก้ยาก
พล.ท.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ขอให้ศึกษาธิการภาค/จังหวัดยุคใหม่ ทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ และเป็นต้นแบบการปราบทุจริตคอร์รัปชัน ต้องเข้ามาไล่คนไม่ดีให้หมดไปจากการศึกษา ดังนั้น ขอให้ทุกคนทำงานอย่างโปร่งใส มีความยุติธรรม และตรวจสอบได้ ซึ่งเชื่อมั่นว่าหากเราป้องกันการทุจริตได้ตั้งแต่ขั้นตอนนี้ หน่วยงานระดับล่างลงไปก็จะไม่มีใครกล้าทำเรื่องทุจริตอย่างแน่นอน อีกทั้งในคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาเป็นกรรมการอย่างหลากหลาย จึงทำให้มีการคานอำนาจกัน ต่างจากสมัยก่อนที่มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา จนทำให้มีการทุจริตเกิดขึ้นจำนวนมาก
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น