อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 322/2560รมว.ศธ."นพ.ธีระเกียรติ" เปิดการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
วันนี้ (23 มิ.ย.60) เวลา 09.00 น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ณ ห้องประชุมอาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะทำงานเตรียมความพร้อมการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา กล่าวรายงาน จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ชี้แจงถึงพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ส่วน รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ต่อจากนั้นจนถึงช่วงบ่าย เป็นการรับฟังความคิดเห็นในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา และร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับที่เกี่ยวข้อง โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ร่วมรับฟังข้อสรุปและเป็นประธานปิดการประชุมสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายหลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นครบ 4 ภาค
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการดูแลโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เห็นชอบหลักการในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา โดยส่วนตัวขอให้พิจารณาโครงสร้างที่จะต้องแตกต่างไปจากการจัดตั้งทบวงมหาวิทยาลัยในอดีต หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ชุดใหม่ที่จะมีหน้าที่กำกับดูแลทิศทางการอุดมศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นชื่อเดิมหรือชื่อใหม่ก็ได้ แต่ขอให้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขกฎกระทรวงให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
นอกจากนี้ ฝากให้คณะทำงานเตรียมความพร้อมฯ รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จากประชาชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาให้มากขึ้น เพื่อจะได้ทราบความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง เพราะในต่างประเทศก็ได้มีการสอบถามความต้องการของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ตอบมาว่าต้องการใกล้ชิดกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น และขอให้มีสัดส่วนระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ขอให้นำวังวนปัญหาเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยหลายแห่งของไทย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยชื่อดังในเวลานี้ที่ประสบปัญหาธรรมาภิบาล จึงอาจต้องเปลี่ยนวิธีคิดและคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยที่เหมาะสมด้วย
นพ.ธีระเกียรติ ยังได้ฝากให้พิจารณาประเด็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยของไทยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำและประสบผลสำเร็จในการจัดการศึกษา การปลดล็อกกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานง่ายขึ้น การผลิตบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องต่อความต้องการของประเทศ การพิจารณาผลงานทางวิชาการที่จะต้องคำนึงถึงบริบทของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน เช่น มหาวิทยาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ฯลฯ และอีกประเด็นที่สำคัญคือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำเป็นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพ การผลิตผู้เรียน และการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ยืนยันในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมสนับสนุนการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา และเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่ของสังคมต่างต้องการให้เดินหน้าในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ก็ขอให้คณะทำงานตอบสังคมและ Stakeholder ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมถึงความจำเป็นต่อการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาในครั้งนี้
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งประกอบด้วยร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... โดยช่องทางการแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ สกอ. www.mua.go.th ภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2560
ทั้งนี้ ความสำคัญของการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา เพื่อเป็น "เสาหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่า" และตอบโจทย์ที่สำคัญให้กับสังคมด้วย 4 เป้าหมายหลักคือ 1) บริหารงานอุดมศึกษายุคใหม่ที่เป็นพลวัตเพื่อมวลมนุษย์ 2) ผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ ศักยภาพ ตรงเป้า สนองตอบต่อการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 3) สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ก่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน 4) สานความเข้มแข็งของประชารัฐ สร้างสังคมที่มีความสุข ความดีงาม น่าเชื่อถือ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกที่มีคุณภาพ
โดยบทบาทหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา ที่มีต่อโมเดลการขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล กำหนดไว้ใน 5 วาระ คือ
วาระที่ 1 เตรียมคนไทย 4.0 เพื่อก้าวสู่โลก
วาระที่ 2 พัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
วาระที่ 3 บ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
วาระที่ 4 การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านกลไกของ 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
วาระที่ 5 บูรณาการอาเซียน เชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ กล่าวว่า ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ประกอบด้วย 3 ฉบับ โดยมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
1) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีหลักการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
2) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา พ.ศ. .... มีหลักการสำคัญเพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวง ซึ่งได้กำหนดให้กระทรวงการอุดมศึกษามีส่วนราชการ ดังนี้ 1) สำนักงานรัฐมนตรี (สร.) 2) สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรม 3) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการ เป็นนิติบุคคล มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยในส่วนของการแบ่งส่วนราชการของ สร.และ สป.ให้ออกเป็นกฎกระทรวง และให้ระบุหน้าที่และอำนาจของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวง นอกจากนี้ ระบุให้ รมว.การอุดมศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และจะให้มี รมช.การอุดมศึกษาเป็นผู้สั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ส่วนหน้าที่ของ สร.จะกำหนดไว้ในมาตรา 12 โดยมีเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในเรื่องการอุดมศึกษา และเป็นหรือเคยเป็นอธิการบดี รองอธิการบดี หรือคณบดีและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารงานในระดับสูงในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาด้วย
3) ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... มีหลักการสำคัญเพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการอุดมศึกษา ในการจัดการอุดมศึกษา 5 ด้าน คือ หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ หลักความเสมอภาค หลักธรรมาภิบาล และหลักการรับผิดชอบต่อสังคม
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 322/2560รมว.ศธ."นพ.ธีระเกียรติ" เปิดการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
วันนี้ (23 มิ.ย.60) เวลา 09.00 น. นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ณ ห้องประชุมอาคารมหิตลาธิเบศร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะทำงานเตรียมความพร้อมการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา กล่าวรายงาน จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ชี้แจงถึงพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ส่วน รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ บรรยายถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ต่อจากนั้นจนถึงช่วงบ่าย เป็นการรับฟังความคิดเห็นในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา และร่างพระราชบัญญัติทั้ง 3 ฉบับที่เกี่ยวข้อง โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ร่วมรับฟังข้อสรุปและเป็นประธานปิดการประชุมสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายหลังจากที่ได้รับฟังความคิดเห็นครบ 4 ภาค
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวในพิธีเปิดตอนหนึ่งว่า คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญในการดูแลโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เห็นชอบหลักการในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา โดยส่วนตัวขอให้พิจารณาโครงสร้างที่จะต้องแตกต่างไปจากการจัดตั้งทบวงมหาวิทยาลัยในอดีต หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) ชุดใหม่ที่จะมีหน้าที่กำกับดูแลทิศทางการอุดมศึกษา ซึ่งอาจจะเป็นชื่อเดิมหรือชื่อใหม่ก็ได้ แต่ขอให้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขกฎกระทรวงให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
นอกจากนี้ ฝากให้คณะทำงานเตรียมความพร้อมฯ รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) จากประชาชน โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาให้มากขึ้น เพื่อจะได้ทราบความต้องการของผู้เรียนอย่างแท้จริง เพราะในต่างประเทศก็ได้มีการสอบถามความต้องการของผู้เรียนระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่ตอบมาว่าต้องการใกล้ชิดกับอาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น และขอให้มีสัดส่วนระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ที่เหมาะสม
ทั้งนี้ ขอให้นำวังวนปัญหาเดิม ๆ ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยหลายแห่งของไทย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยชื่อดังในเวลานี้ที่ประสบปัญหาธรรมาภิบาล จึงอาจต้องเปลี่ยนวิธีคิดและคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยที่เหมาะสมด้วย
นพ.ธีระเกียรติ ยังได้ฝากให้พิจารณาประเด็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยของไทยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำและประสบผลสำเร็จในการจัดการศึกษา การปลดล็อกกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานง่ายขึ้น การผลิตบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องต่อความต้องการของประเทศ การพิจารณาผลงานทางวิชาการที่จะต้องคำนึงถึงบริบทของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน เช่น มหาวิทยาลัยวิจัย มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ฯลฯ และอีกประเด็นที่สำคัญคือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำเป็นจะต้องมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพ การผลิตผู้เรียน และการบริหารงานของมหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ ยืนยันในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมสนับสนุนการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา และเห็นว่าเสียงส่วนใหญ่ของสังคมต่างต้องการให้เดินหน้าในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ก็ขอให้คณะทำงานตอบสังคมและ Stakeholder ให้ชัดเจนเป็นรูปธรรมถึงความจำเป็นต่อการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาในครั้งนี้
ศาสตราจารย์คลินิก นพ.อุดม คชินทร กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งประกอบด้วยร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... โดยช่องทางการแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ สกอ. www.mua.go.th ภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2560
ทั้งนี้ ความสำคัญของการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา เพื่อเป็น "เสาหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่า" และตอบโจทย์ที่สำคัญให้กับสังคมด้วย 4 เป้าหมายหลักคือ 1) บริหารงานอุดมศึกษายุคใหม่ที่เป็นพลวัตเพื่อมวลมนุษย์ 2) ผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพ ศักยภาพ ตรงเป้า สนองตอบต่อการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 3) สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เน้นการสร้างมูลค่า ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ก่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน 4) สานความเข้มแข็งของประชารัฐ สร้างสังคมที่มีความสุข ความดีงาม น่าเชื่อถือ เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกที่มีคุณภาพ
โดยบทบาทหน้าที่ของกระทรวงการอุดมศึกษา ที่มีต่อโมเดลการขับเคลื่อนสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามนโยบาย Thailand 4.0 ของรัฐบาล กำหนดไว้ใน 5 วาระ คือ
วาระที่ 1 เตรียมคนไทย 4.0 เพื่อก้าวสู่โลก
วาระที่ 2 พัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
วาระที่ 3 บ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
วาระที่ 4 การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านกลไกของ 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
วาระที่ 5 บูรณาการอาเซียน เชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก
วาระที่ 2 พัฒนาคลัสเตอร์เทคโนโลยี และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
วาระที่ 3 บ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม
วาระที่ 4 การเสริมความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านกลไกของ 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัด/กรุงเทพมหานคร
วาระที่ 5 บูรณาการอาเซียน เชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก
ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ กล่าวว่า ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา ประกอบด้วย 3 ฉบับ โดยมีหลักการที่สำคัญ ดังนี้
1) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีหลักการเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา
2) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา พ.ศ. .... มีหลักการสำคัญเพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวง ซึ่งได้กำหนดให้กระทรวงการอุดมศึกษามีส่วนราชการ ดังนี้ 1) สำนักงานรัฐมนตรี (สร.) 2) สำนักงานปลัดกระทรวง (สป.) เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นกรม 3) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการ เป็นนิติบุคคล มีฐานะเทียบเท่ากรม โดยในส่วนของการแบ่งส่วนราชการของ สร.และ สป.ให้ออกเป็นกฎกระทรวง และให้ระบุหน้าที่และอำนาจของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวง นอกจากนี้ ระบุให้ รมว.การอุดมศึกษา เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และจะให้มี รมช.การอุดมศึกษาเป็นผู้สั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ส่วนหน้าที่ของ สร.จะกำหนดไว้ในมาตรา 12 โดยมีเลขานุการ รมว.ศึกษาธิการ เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ ซึ่งหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรี และกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในเรื่องการอุดมศึกษา และเป็นหรือเคยเป็นอธิการบดี รองอธิการบดี หรือคณบดีและมีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารงานในระดับสูงในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาด้วย
3) ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. .... มีหลักการสำคัญเพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการอุดมศึกษา ในการจัดการอุดมศึกษา 5 ด้าน คือ หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ หลักความเสมอภาค หลักธรรมาภิบาล และหลักการรับผิดชอบต่อสังคม
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
โหลด-อ่าน ฉบับเต็มรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น