หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2567

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร





 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561

title

ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ แห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561 เวลา 20.15 น.
 
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม ศกนี้  จะมีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับเมืองไทยของเราที่เป็น “ชาติเกษตรกรรม”  ซึ่งสะท้อนถึงความผูกพันอันใกล้ชิด ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้เป็น “พระราชพิธี” ประจำปี ที่สืบทอดมายาวนานตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัย จวบจนปัจจุบันนี้ เพื่อความเป็นสิริมงคลและบำรุงขวัญเกษตรกรให้เกิดความมั่นใจในการเพาะปลูก โดยนับว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นฤดูทำนา อันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย

นอกจากนี้ “วันพืชมงคล” ถือเป็น “วันเกษตรกร” ประจำปีอีกด้วย ทั้งนี้นับเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ได้ทราบข่าวจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยว่า ครึ่งปีแรก ประเทศไทยครองแชมป์ส่งออกข้าวได้เป็นอันดับ 1 ของโลก โดยส่งออกข้าวได้กว่า 4.99 ล้านตัน และกรมการค้าต่างประเทศรายงานว่า ได้ปรับเป้าหมายการส่งออกข้าวไทยในปีนี้ “เพิ่มขึ้น” จาก 9.5 ล้านตัน เป็น 10 ล้านตัน เป็นผลให้ราคาข้าวไทยปรับตัว “สูงขึ้น” อย่างต่อเนื่อง และข้าวหอมมะลิราคายังคงอยู่ในระดับสูง

ที่ผ่านมา เราชนะการประมูลขายข้าว “แบบรัฐต่อรัฐ” ของฟิลิปปินส์ ปริมาณ 120,000 ตัน  และยังสามารถชนะการประมูลของอินโดนีเซียได้อีกกว่า 200,000 ตัน  รวมทั้งเรายังจะมีการส่งมอบข้าวให้กับจีนแบบรัฐต่อรัฐ งวดที่ 5 อีกกว่า 100,000 ตัน ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบเสร็จภายในเดือนนี้ เชื่อว่าการส่งออกข้าวไทยจะดีขึ้น และราคาจะดีต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ขอให้พี่น้องเกษตรกร  ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ ได้ติดตามข่าวสารและคำแนะนำจากทางราชการอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการผลิตและการขายอย่างเหมาะสมด้วย ต้องระมัดระวัง ถ้าปริมาณมากเกินไป ราคาก็ตกลง ถึงจะขายข้าวได้มาก ราคาก็ยังคงได้น้อยอยู่เพราะเราไปแข่งขันใครไม่ได้ รวมไปถึงในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย
รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ในขณะเดียวกันก็นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในทุกวงการ รวมทั้งวงการเกษตรกรรมของไทย เพื่อให้สามารถพยากรณ์ และประมวลผลข้อมูล ที่มีความเชื่อมโยงกันทั้งในเรื่องทรัพยากรน้ำ สภาพลมฟ้าอากาศ รวมไปถึงตลาดสินค้าเกษตรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการในภาพรวมได้ ไม่ต้องประสบกับสภาวะขาดแคลนน้ำ ปริมาณการผลิตหรือราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ จนเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเหมือนที่ผ่านๆ มาอีก ก็ขอทำความเข้าใจ และร่วมมือกัน ไม่ใช่ต่างคนทำ ต่างเอาตัวรอด เพราะรัฐบาลต้องการบริหารให้ “ทุกคนรอด ทุกคนมีความสุข” โดยเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 
 
พี่น้องประชาชนที่รัก ครับ
เมื่อต้นสัปดาห์ ผมและคณะรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์ และ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล และรับฟังเสียงสะท้อนปัญหาความ เดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งรวมไปถึง 4 จังหวัด ทั้งหมด ซึ่งอยู่ในกลุ่มอีสานตอนล่าง โดยอาศัยหลากหลายเวที สำหรับหารือแนวทางแก้ไขปัญหาและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน อีกทั้งสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน ถึงกลไกการบริหารราชการแผ่นดิน ที่รัฐบาลเองจำเป็นต้องจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติ ระยะยาว 20 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการวางรากฐานการพัฒนา และการลงทุนเพื่ออนาคต โดยมองถึงผลประโยชน์ของประชาชนในภาพรวม “ทั้งประเทศ” ส่วนในระดับกลุ่มจังหวัด  จังหวัด ก็จำเป็นต้องมี “แผนพัฒนา” ในลักษณะที่คล้าย ๆ กัน ที่สามารถจะแก้ปัญหาให้กับท้องถิ่นของตนในปัจจุบัน และตอบสนองความต้องการของพี่น้องประชาชนได้อย่างยั่งยืน และทั่วถึง โดยอาศัยศักยภาพของตน ประกอบกับการสนับสนุนจากรัฐบาล ที่ต้องพูดจากัน เพื่อให้เกิดการประสานสอดคล้อง เหมือน “เครื่องดนตรี ดีด – สี –ตี – เป่า” ที่เล่นตามโน้ตของตน แต่ออกมาเป็นเพลงเดียวกัน “ทั้งวง”  ที่สำคัญ ต้องคิดให้ “ครบวงจร” เพราะผมไม่อยากให้เป็นเหมือนบางโครงการในอดีต ที่คิดแต่เรื่องสร้าง แต่ไม่คิดเรื่องการบริหารจัดการหลังจากนั้น เพื่อให้เกิดรายได้ สร้างมูลค่าเพิ่ม และความคุ้มค่าเป็นต้น ดังนั้น รัฐบาลจำเป็นต้องจัดลำดับความจำเป็น ความสำคัญ ความเร่งด่วนในภาพรวม อะไรที่ยังรอได้ อะไรที่รอไม่ได้ การใช้จ่ายงบประมาณต้องมีวินัยการเงินการคลัง ซึ่งอาจไม่ตอบสนองทุกความต้องการ แต่ก็จะไม่สร้างภาระเกินแบกให้กับรัฐบาลในอนาคตด้วย
 
สำหรับการประชุมผู้แทนองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และเกษตรกร กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
หรือกลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์” นั้น  
ทำให้คณะรัฐมนตรีได้รับทราบข้อมูลเชิงลึก ได้เห็นศักยภาพของกลุ่มจังหวัดนี้ทั้งหมด ซึ่งจะถูกนำมาพิจารณาเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติต่อไป หลายอย่างก็อยู่ในแผนงานโครงการ ซึ่งมีงบประมาณรองรับแล้ว บางอย่างก็ต้องจัดลำดับความเร่งด่วนใหม่ บางอย่างต้องกลับมาพิจารณาศึกษาให้รอบคอบ ทุกมิติ ทุกวงจรก่อน ซึ่งรายละเอียดได้มีรายงานข่าวไปแล้วในช่วงต้นสัปดาห์
ทั้งนี้ ผมขอย้ำว่า รัฐบาลได้เห็นความสำคัญ เห็นศักยภาพและโอกาสสูงที่จะขับเคลื่อนและยกระดับให้กลุ่มจังหวัดนี้เป็น “ประตูสู่อีสานและ CLMV”เพื่อเชื่อมโยงกับแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก  และโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก  EEC  ตามที่พวกเรามุ่งหวังกันไว้ ผมเห็นว่า “กุญแจสู่ความสำเร็จ” คือการดำเนินการตามนโยบาย “ประชารัฐ” ที่รัฐบาลนี้ ได้พยายามจะผลักดันอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมียุทธศาสตร์ “พลังประชารัฐ” 4 เสาหลัก คือ ธรรมาภิบาล นวัตกรรมและผลิตภาพ การยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ และการมีส่วนร่วมในความมั่งคั่ง ทั้งนี้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน อันเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่เราต้องการ โดยน้อมนำยุทธศาสตร์ในด้านการพัฒนาก็คือ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน คือการเข้าใจพื้นที่ เข้าใจประชาชน เข้าใจศักยภาพ นี่แหละคือการบริหารงานเป็นภาค เป็นกลุ่มจังหวัด เป็นจังหวัด อย่างแท้จริง ซึ่งทั้ง 4 จังหวัด ก็จะได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการต่อไป ในการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ทั้งของแต่ละจังหวัดที่เร่งด่วน และกลุ่มจังหวัดที่มีกิจกรรมเชื่อมโยงกัน ไม่ใช่ว่ามองว่าให้จังหวัดนี้ มากกว่าจังหวัดนั้น หรือจังหวัดนี้ ไม่ได้อะไรเลย คงเป็นไปไม่ได้ เพราะทุกครั้งที่ไปประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ ทุกจังหวัดในกลุ่มจังหวัดก็เสนอมา ไป 1 จังหวัด 4 จังหวัดก็ประชุมด้วย หรือทุกจังหวัดก็มาประชุมด้วย โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเข้ามาประชุมร่วมกับฝ่ายภาคเอกชน ธุรกิจ สภาเกษตรกร การค้าอุตสาหกรรม อะไรต่างๆ ก็เข้ามาหมด เพื่อเสนอโครงการเข้ามาให้พิจาณาในภาพรวม ที่ผ่านมาเราก็อนุมัติในลักษณะนี้ทั้งหมด
 
พี่น้องประชาชนทุกท่าน ครับ
ผมขอยกตัวอย่างโครงการประชารัฐ และผลสัมฤทธิ์ที่น่าสนใจ จากการลงพื้นที่ในครั้งนี้ มาเล่าให้ฟังคร่าวๆ เพื่อให้เห็นแนวทางการทำงาน และเราก็มีความหวังที่ปลายทาง ดังนี้ 
1.โครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเกษตรอุตสาหกรรมและแปรรูป ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาผักตบชวาให้เกิดความยั่งยืน โดยน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาเป็นหลักคิด และอาศัย “พลังประชารัฐ” มาเป็นกลไกในการปฏิบัติ  ในการนำวัชพืชที่ไร้ค่ามาใช้ประโยชน์ด้วยการแปรรูปเป็นสินค้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็นยิ่งกว่าการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนโดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนพื้นที่และสถานการณ์ อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหน่วยบัญชาการทหารพัฒนากองบัญชาการกองทัพไทย ร่วมกับดร.ไพจิตร แสงไชย ผู้ประกอบการ Start-up ที่ได้รับรางวัลผู้ประดิษฐ์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยแก้ปัญหาสังคมของ World Economic Forum ได้จัดทำโครงการต้นแบบการแปรรูปผักตบชวา เป็น วอลเปเปอร์ 3 มิติ ฝ้าเพดาน อิฐดินประสาน อิฐมอญ แผ่นพื้นทางเท้า งานจักสาน เฟอร์นิเจอร์ งานศิลปะจากผักตบชวาอื่นๆ เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์แปรรูปเหล่านี้จะดำเนินการด้านมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจดสิทธิบัตรต่อไป เช่น ดินปลูกปลอดสารเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีผักตบชวาเป็นส่วนผสมสำคัญ ที่ผ่านการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพ จากกรมพัฒนาที่ดินแล้วรวมทั้งการใช้ผักตบเป็นวัสดุทดแทน เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก สามารถลดต้นทุนการผลิตลง 20 – 30 %  และราคาขายก็ถูกกว่าวัสดุในท้องตลาด 80  ถึง 100 % เช่น ฝ้าเพดานแผ่นเรียบ ปกติราคาแผ่นละ140 บาท แต่ฝ้าเพดานจากผักตบชวามีต้นทุนเพียงแผ่นละ 65 บาท เท่านั้น พื้นแผ่นทางเดินเท้าราคาตลาดแผ่นละ 70 บาท ลดต้นทุนได้ “ครึ่งหนึ่ง” เหลือ แผ่นละ 35 บาท อิฐบล็อกประสานผักตบชวาราคา 4.50 บาท ต่อก้อน ในขณะที่ราคาตลาด 10 – 12 บาทต่อก้อน เป็นต้น  อย่าลืมศึกษาการตลาดก่อนการผลิต

นอกจากนี้ มีการคิดค้นและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเก็บ การขนย้าย และแปรรูผักตบชวาให้กับราษฎร อีกหลายรายการ ทั้งนี้ ข้อมูลและองค์ความรู้นี้ ไม่ได้หวงห้ามแต่อย่างใด ผู้ที่สนใจสามารถสแกน QR CODE หรือเข้าไปดูใน Web Site ที่หน้าจอในขณะนี้ได้ จะได้ช่วยกันขยายผลให้กว้างกว้าง ทั่วทั้งประเทศ ด้วยภูมิปัญญาของเราเอง

2. การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ไหม ได้แก่ หมู่บ้านทอผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่าง  ซึ่งเริ่มจากพระราชเสาวนีย์และ “เงินก้อนแรก” ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 พระราชทานแก่อาจารย์วีระธรรมตระกูลเงินไทยซึ่งเป็นอาจารย์วิทยาลัยในวังชายและเป็นลูกหลานของคนบ้านท่าสว่าง จึงได้เกิดโรงทอจันทร์โสมาขึ้น เพื่อผลิตผ้าไหมยกทองรูปแบบราชสำนักโบราณและเคยใช้ตัดเสื้อมอบแก่ผู้นำ APEC ซึ่งทำให้ผ้าไหมยกทองโบราณบ้านท่าสว่างเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกประเทศ ต่อมาบ้านท่าสว่างได้พัฒนาเป็น “หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ” โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว      รัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนและส่งเสริมให้ทุกชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยในปี 2560 บ้านท่าสว่างได้รับงบประมาณจากกลุ่มจังหวัด เพื่อพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เวทีกลางและพิพิธภัณฑ์บ้านท่าสว่าง รวมถึงได้รับการพัฒนาเป็นหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชนด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหม มีจำนวนครัวเรือนที่เข้าร่วมจำนวน 20 ครัวเรือน และได้ขยายครัวเรือนเพิ่มอีกเป็น 26 ครัวเรือน ในปี 2561 นี้นะครับ

ที่ผ่านมา กลุ่มร้านค้าในพื้นที่ มีรายได้จากการจำหน่ายผ้าไหมและของที่ระลึกทั้งในรูปแบบการขายหน้าร้านขายตามการสั่งซื้อในระบบอินเตอร์เน็ตเฉลี่ยร้านค้าละ 150,000 บาทต่อเดือน มีผู้ได้รับประโยชน์ 35 ครัวเรือน 120 คน  ส่วนกลุ่มผู้ทอผ้ามีรายได้จากการจำหน่ายผ้าทอจำนวน 40 รายๆละ 8,000 บาทต่อเดือน รวมผู้ได้รับประโยชน์ 40 ครัวเรือน 150 คนนอกจากนี้ โรงทอผ้าไหมยกทองโบราณมีรายได้จากการจำหน่ายผ้าไหมยกทองโบราณและให้บริการต่างๆเฉลี่ยจำนวน 1,200,000 บาทต่อเดือน และมีการจ้างงานราษฎรในหมู่บ้านในการทอผ้าทำให้มีรายได้กว่าเดือนละ 180,000 บาท นอกจากในเรื่องการทอผ้าแล้ว ยังมีการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ที่พักโฮมสเตย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย ต้องสร้างนวัตกรรมใหม่เพิ่มเติมอีก พร้อมกับจะต้องรักษาของโบราณไว้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้อง หรือตรงกับความต้องการของตลาด

ผมมีข้อมูลทางสถิติของเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติปี 2561 ในสาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมที่อย่างจะเล่าเพิ่มเติม นะครับ คือ นางกุลกนก    เพชรเลิศ  ที่เข้าร่วมโครงการ เมื่อได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถสร้างรายได้ กว่า 282,600 บาต่อปี  ซึ่งเป็นรายได้จากอาชีพด้านหม่อนไหมที่ “ครบวงจร” จากการปลูกหม่อน 2.5 ไร่ ให้ผลผลิต 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ เลี้ยงไหม 8 รุ่นต่อปี ได้เส้นไหม 16 กิโลกรัม  ทอผ้าไหมได้ 150 เมตรต่อปี รวมทั้งแปรรูปสบู่โปรตีนไหม 500 ก้อนต่อปี และขนมทองม้วนจากใบหม่อน 400 กิโลกรัมต่อปี ส่วนรายละเอียดรายได้แยกเป็นรายการแล้ว ยิ่งมีความน่าสนใจ  โดยมีรายได้จากส่วนอื่นๆ อีก เช่น การทำนา  การเลี้ยงหมูหลุม  การเป็นวิทยากรงานด้านไหม และบ้านพักโฮมสเตย์ อีกด้วย

นอกจากนี้ ในพื้นที่ภาคอีสานไม่เพียงแต่ “ผ้าไหม” เท่านั้น ที่น่าสนใจ เรายังมี “ผ้าขาวม้า” ที่สามารถ “ขยายจุดแข็ง เป็นจุดขาย” อาทิ โครงการ “ผ้าขาวม้าท้องถิ่น  หัตถศิลป์ไทย”ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 โดยความร่วมมือกันของบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี วิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) จำกัด ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) กับ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นการเสริมสร้างอัตลักษณ์ให้กับผ้าขาวม้าไทย ซึ่งเป็นผ้าท้องถิ่นที่มีประวัติยาวนาน กว่า 500 ปี ให้เป็นผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น และสามารถนำมาต่อยอดแปรรูปผ้าขาวม้า ให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้ง การพัฒนาคุณภาพและช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน สนับสนุนให้มีการจดสิทธิบัตร เพื่อให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในอาชีพ และเชิดชูผ้าขาวม้าให้เป็นสินค้าประจำท้องถิ่นด้วย หลายราย ก็เริ่มจากที่ตลาดคลองผดุง วันนี้ก็สามารถจะริเริ่ม สร้างสรรค์เพิ่มเติมมาใช้ตกแต่งบ้าน สถานที่ประชุม กระเป๋า ย่าม หรืออื่นๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในปี 2561 ได้สานต่อความสำเร็จของโครงการมุ่งสร้างความต่อเนื่อง และต่อยอดกิจกรรมการพัฒนาชุมชนผู้ผลิตที่ได้จากการประกวดในปี 2560ผ่านกิจกรรม “การเฟ้นหาทายาทผ้าขาวม้าไทย” เพื่อจะสร้างการรับรู้ ให้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ “ผ้าขาวม้าทอมือ” ในการสืบสานภูมิปัญญา อนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่น ภายใต้แนวคิด “ทอมือ ทอใจ ช่วยชุมชน อย่างยั่งยืน” โดยการรวมตัวเป็น Cluster เพื่อจะเพิ่มศักยภาพการผลิต และต่อยอดทางธุรกิจ รวมถึง ส่งเสริมชุมชนผู้ผลิตต้นแบบที่สืบสานปัญญาท้องถิ่น และนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป  รวมทั้ง มีการประกวดออกแบบผ้าขาวม้าท้องถิ่น หัตถศิลป์ไทย ประจำปี 2561ภายใต้แนวคิด “นวอัตลักษณ์” 3 สาขา ได้แก่ ด้านแฟชั่น เคหะสิ่งทอ และการออกแบบลายผ้าขาวม้า

ที่ผ่านมา ตัวอย่างชุมชนที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ ด้วยศักยภาพของชุมชนทอผ้าขาวม้า จังหวัดอำนาจเจริญ ภายใต้แบรนด์ “นุชบา” ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น “คลัสเตอร์ผ้าขาวม้าเงินล้าน” มีการต่อยอดผลิตภัณฑ์การแปรรูปผ้าขาวม้า ให้เป็นสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  การบริหารจัดการวัตถุดิบการผลิต  องค์ความรู้ในการใช้สีธรรมชาติ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนช่องทางการตลาด ทั้งการออกร้านจำหน่ายสินค้าและตลาดออนไลน์ ทั้งนี้ สามารถแยกรายได้ “เพิ่ม” ในแต่ละกลุ่มงานได้ ดังนี้
(1) กลุ่มทอผ้า จากคนละ 5,000 บาทต่อคน ต่อปี เป็นสูงสุดประมาณ 20,000 บาท ต่อคน ต่อปี
(2) กลุ่มแปรรูปผ้าขาวม้า ปัจจุบันมีรายได้จากการตัดเย็บกระเป๋าผ้าขาวม้าเฉลี่ยคนละประมาณ 20,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน
(3) กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า มีรายได้จากการตัดเย็บเสื้อผ้าขาวม้า ส่งจำหน่ายที่ร้านประชารัฐ และออเดอร์ จากกลุ่มแปรรูปผ้าขาวม้านุชบา เฉลี่ยเดือนละประมาณ 60,000 - 100,000 บาท  เป็นต้น

3. การส่งเสริมพัฒนาการค้าการลงทุนและการค้าชายแดนได้แก่ จุดผ่านแดนถาวรช่องจอมและโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรช่องจอม ทั้งนี้ “ช่องจอม” เป็นช่องทางข้ามแดนไทย-กัมพูชาที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งการค้าชายแดนบริเวณนี้มีมูลค่าสูง ปีที่แล้ว มีมูลค่าการส่งออก เกือบ 880 ล้านบาท และมีมูลค่าการนำเข้า กว่า 2,200 ล้านบาท นับตั้งแต่ปี 2557 จังหวัดสุรินทร์มีโครงการด่านศุลกากรช่องจอมขึ้น เพื่อจะรองรับศักยภาพการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสนับสนุนการให้บริการแบบจุดเดียวของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดการบริการที่สะดวก รวดเร็ว มีมาตรฐาน สากล รวมถึงเพื่อช่วยลดการจราจรที่แออัด ทั้งหมดนี้ จะช่วยสร้างภาพ ลักษณ์ที่ดีของประเทศ
นอกจากนี้ การเพิ่มศักยภาพของด่านช่องจอม จะเป็นการตอบสนองนโยบายของภาครัฐในการจะผลักดันการเจริญเติบโตของกลุ่มจังหวัด ด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ระบบโลจิสติกส์ เพื่อเป็น hub และศูนย์กระจายสินค้าระดับภูมิภาค ซึ่งจะเชื่อมต่อกันได้ ทั้งระบบขนส่งทางบก คือรถไฟทางคู่  รถไฟความเร็วสูง ทางหลวงพิเศษบางปะอิน-นครราชสีมา  ถนนมิตรภาพ รวมถึงทางน้ำ ได้แก่ 3 ท่าเรือหลัก ก็คือ แหลมฉบัง สัตหีบ และมาบตาพุด

นอกจากนี้ จะเป็นพื้นที่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายโลจิสติกส์ ระหว่างประเทศ ทั้งระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกภายใต้ความร่วมมือ GMS และ เป็นประตูเชื่อมโยงกลุ่ม 3 ประเทศ  “สามเหลี่ยมมรกต” ได้แก่ กัมพูชา ลาว และไทย รวมถึงต่อไปยังเวียดนามได้อีกด้วย คาดว่าเมื่อเปิดดำเนินการจะสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุน การท่องเที่ยว และการบริการทางการแพทย์ ซึ่งจะหมายถึงรายได้ของพี่น้องในพื้นที่ และใกล้เคียงได้อย่างยั่งยืน โดยต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาในเรื่องเขตแดนด้วย ความปลอดภัยต่างๆ การเป็นเจ้าบ้านที่ดีเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญทั้งสิ้น 

4. การยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิต ได้แก่ โครงการประชารัฐ พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน Homestay บ้านสนวนนอก   เป็นอีกตัวอย่างที่เราได้เห็นการร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่เป็นการสร้างความแข็งแกร่งของชุมชนจากภายในหรือ “ระเบิดจากข้างใน” ที่ชัดเจน โดยในชุมชนมีประชากรอาศัยอยู่ ประมาณ 165 ครัวเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก และมีการประกอบอาชีพเสริม เช่น ทอผ้า จักสาน หัตถกรรม ที่น่าสนใจและนำมาใช้ต่อได้ ก็คือ การบริหารงานหมู่บ้าน โดยคณะกรรมการที่ยึด "หลักธรรมนูญหมู่บ้าน" ที่ประกอบด้วย เป็นคนดี มีปัญญา มีรายได้ที่สมดุล สุขภาพแข็งแรง สิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ ครอบครัวอบอุ่น หลุดพ้นอาชญากรรม กองทุนพึ่งพาตนเองคณะกรรมการหมู่บ้านเข้มแข็ง โดยเน้นการขับเคลื่อนชุมชนด้วยพลัง “บวร” หรือ บ้าน วัด โรงเรียน นอกจากนี้ชุมชนสนวนนอก ยังเป็นชุมชนคุณธรรมที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ที่มีการรวมกลุ่มจัดตั้ง กองทุนพึ่งพาตนเอง โดยนำเงินจากกองทุนไปบริหารและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเร่งด่วนในชุมชน เช่นการสร้างถนนคอนกรีตนอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มแปรรูปสินค้าชุมชน เช่น เสื้อ กระเป๋าอเนกประสงค์กระเป๋าดินสอ ตุ๊กตาผ้า เป็นต้น ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ “ตู้เย็นรอบบ้าน ATM ข้างกาย” และ มีฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงให้กับชุมชนด้วย

นอกจากนี้ ยังริเริ่มหมู่บ้านท่องเที่ยวไหมบ้านสนวนนอก เนื่องจากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมการทอผ้าไหม เป็นวิถีดั้งเดิมของชนเผ่าในภาคอีสาน ทั้งชนเผ่าไทยอีสาน ไทยลาว ไทยส่วย ไทยเขมรสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรม จากรุ่นสู่รุ่น จึงมีการผสมผสานศิลปวัฒนธรรมจนเกิดเป็นลายผ้าไหม ที่มีเอกลักษณ์เพื่อจะส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านมีอาชีพเสริม ที่พัฒนามาจากองค์ความรู้ และภูมิปัญญาในท้องถิ่น บ้านสนวนนอกจึงได้ผลักดันกลุ่มทอผ้าไหม ให้เป็นหมู่บ้าน ท่องเที่ยวไหมบ้านสนวนนอก เริ่มจากการส่งเสริมการรวมกลุ่มของแม่บ้านที่มีอาชีพทอผ้าไหม และมีการระดมเงินจำนวน 10,000 บาท เพื่อเป็นทุน โดยในระยะแรกสินค้าและผลิตภัณฑ์เป็นผ้าไหมที่มีสีสันลวดลายแบบดั้งเดิมตามที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ยังไม่สามารถจำหน่ายตลาดนอกชุมชนได้ จึงมียอดจำหน่ายเพียง ปีละ 10,000 บาท ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากส่วนราชการให้มีการฝึกอบรมทักษะการผลิตไหมการแปรรูป การตลาดมีการรับสมัครสมาชิกเพิ่ม เพื่อขยายกำลังการผลิตและ นำผลิตภัณฑ์มาลงทะเบียน OTOP ซึ่งได้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 4 และ 5 ดาวรวมถึง พัฒนาจนได้ลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์ คือ “ผ้าหางกระรอกคู่ตีนแดง” ซึ่งมีคุณภาพมีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการของตลาด ยิ่งไปกว่านั้น ยังได้ขับเคลื่อนการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP เชิง วัฒนธรรมโดยมีผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตไหมเป็นแนวคิดจนทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และเป็นอีกหนึ่งจุดหมายของนักท่องเที่ยวที่อยากเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนในหมู่บ้าน ชมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ได้ฝึกทำและชิมขนมพื้นเมือง  ชมการแสดงพื้นบ้าน นั่งรถกระสวยอวกาศชมธรรมชาติ รวมถึง การพักโฮมสเตย์ ส่งผลให้กลุ่มทอผ้าไหมมีความเข้มแข็งและ ขายผลิตภัณฑ์ได้อย่างต่อเนื่องจนสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน “เพิ่มขึ้น” กว่า 3 ล้านบาท

การลงพื้นที่ครั้งนี้ ผมได้ไปตรวจเยี่ยมความพร้อมของประเทศไทย สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันจักรยานยนต์ชิงแชมป์โลก สนามที่ 15 รายการ PTT Thailand Grand Prix ณ สนามช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต ซึ่งเราได้รับการคัดเลือกให้จัดการแข่งขันรายการระดับโลกนี้ เป็นครั้งแรก เป็นเวลา 3 วัน ช่วง 5 - 7 ตุลาคมนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม กว่า 2 แสนคน นอกจากนี้ จะมีการถ่ายทอดผ่านช่องกีฬาชั้นนำ กว่า 200 ช่อง ใน 207 ประเทศ สู่สายตาชาวโลก กว่า 800 ล้านคู่ จะเกิดผลดีทางเศรษฐกิจ อาทิข้อมูลจากการจัดการแข่งขัน ในรายการเดียวกันนี้ที่เมืองเซปัง ประเทศมาเลเซีย เมื่อ 7 ปีที่แล้ว มีรายได้ “โดยตรง” จากผู้เข้าชมชาวต่างชาติ และจากกิจกรรมต่อเนื่อง ราว 1,200 ล้านบาท รายได้ “โดยอ้อม” มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งเมืองรอง เมืองใกล้เคียง อีกกว่า 4,300 ล้านบาท

ทั้งนี้เพื่อรองรับมหกรรมกีฬาครั้งนี้รัฐบาลช่วยสนับสนุนความพร้อมในการปรับปรุงท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ทั้งขยายทางวิ่ง และเพิ่มอาคารที่พักผู้โดยสาร ให้เหมาะสมต่อไป ภาคส่วนต่างๆ ก็จะต้องปรับตัว ทั้งร้านอาหาร ที่พัก - โฮมสเตย์ การเดินทาง การท่องเที่ยว สินค้าชุมชน - ของที่ระลึก รวมไปถึงการบริหารจัดการในพื้นที่ การจราจร  การอำนวยความสะดวก การรักษาความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สิน และการเดินทาง เป็นต้นต้องช่วยการคิดให้เป็นระบบ ช่วยกันทำอย่างมีแบบแผน และเป็นสากลโดยเฉพาะการเป็นเจ้าภาพ เป็นเจ้าบ้าน ที่ดีด้วย ทั้งนี้การที่รัฐบาลจะพิจารณาสนับสนุนกิจกรรมใดๆนั้น ก็ต้องดูศักยภาพ ดูความพร้อมของพื้นที่อีกด้วย

สุดท้ายนี้ ผมมีเรื่องที่น่ายินดี 2 เรื่องเรื่องแรกเกี่ยวกับนักกีฬาฟุตบอล “คนตาบอด” ทีมชาติไทย ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์ เป็นครั้งแรก เข้ารอบ 16 ทีมสุดท้าย ในรายการฟุตบอลคนตาบอดโลก ที่จะแข่งขันระหว่างวันที่ 5 ถึง 18 มิถุนายนนี้ ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ต่างอะไรจากกีฬาระดับโลกประเภทอื่นๆ ที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรค การแข่งขันหลายรอบ กว่าจะได้เป็นตัวแทนทวีปเอเชีย เข้าสู่รอบสุดท้ายนี้ ไม่เพียงศักยภาพรายบุคคลของนักกีฬาการทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด ประกอบกับ “การทำงานเป็นทีม” ซึ่งสำคัญมากในทุกๆ กิจกรรมด้วยโดยเฉพาะรายการนี้ย่อมพิสูจน์ให้พวกเราทุกคนได้เห็นว่า แม้มองไม่เห็น แต่ก็สามารถใช้หูนำทาง ร่วมกับประสาทสัมผัส และทักษะอื่นมาชดเชยได้เพียงแต่ต้องอาศัยการฝึกฝน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ “ทุกคน” ก็มีโอกาสประสบความสำเร็จ สมดังที่มุ่งมั่นตั้งใจไว้ทั้งสิ้น 

ผมขอชื่นชมในความสามารถ ความวิริยะอุตสาหะ จนมาถึงจุดนี้ โดยจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนไทย ทั้งประเทศ  ในทุกวงการ ไม่ให้ย่อท้อต่ออุปสรรค และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนชาวไทยติดตามผลงาน ร่วมส่งกำลังใจไปเชียร์ให้นักกีฬาของเราประสบความสำเร็จสูงสุด นำชื่อเสียง ความภาคภูมิใจ และความสุข มาสู่คนไทยทั้งชาติ  และเป็นบันไดไปสู่การแข่งขันในรายการพาราลิมปิกส์เกมส์ ปี 2020 ณ ประเทศญี่ปุ่น ต่อไปด้วย
อีกเรื่องหนึ่งคือประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ และดำรงตำแหน่งประธานเครือข่ายผู้ประกอบกอบการสตรีอาเซียนต่อจากฟิลิปปินส์ ซึ่งจะมีวาระ 2 ปี คือ ปี 2562 และ 2563 เพื่อขับเคลื่อนประเด็นสตรีทางเศรษฐกิจในอาเซียน ที่สะท้อนการยกระดับความเสมอภาคระหว่างเพศ และ “พลังสตรีกับเศรษฐกิจ” ของภูมิภาคอาเซียน ที่ผมเห็นว่าจะมีส่วนช่วยเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้วยความร่วมมือในลักษณะเกื้อกูลกัน ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDG ขององค์การสหประชาชาติที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ทั้งนี้ ผมได้ฝากข้อพิจารณาสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเราในครั้งนี้ว่า ควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ SMEs โดยเฉพาะผู้ประกอบการสตรี  การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจระดับฐานราก ทั้งด้านการผลิตและการตลาด ในรูปแบบ “ประชารัฐ” เพื่อจะสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  การปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคดิจิทัล รวมทั้งการสร้างความเข้มแข็ง ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สำหรับสร้างการพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืนซึ่งทั้งหมดนี้ เราจะต้องดำเนินการในเชิงสร้างสรรค์ และเป็น “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ที่เท่าเทียม สามารถเข้มแข็งไปด้วยกัน ก้าวเคียงข้างกัน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
 
นอกจากนี้ ผมขอฝากบทกลอนถึงพี่น้องประชาชน เพื่อเป็นหลักคิด ในการร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองอันเป็นที่รักของพวกเราทุกคน ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน  อย่ามองว่าแต่งดี ไม่ดี แต่งผิดแต่งถูก อะไรทำนองนี้ ขอให้ดูสาระผมอยากให้ทุกคนได้ลองคิดดู
 
ทำการเมือง  เป็นพลัง  ไว้สร้างบ้าน
ไม่ก่อการ  ขัดแย้ง  ทุกแห่งหน
ประชาธิปไตย  ใหญ่หลวง  เพื่อปวงชน 
ใช่พร่ำบ่น  ให้คนไทย  ไร้กฎเกณฑ์
 
ทุกโครงการ  ปฏิรูป ช่วยสานต่อ
เหมือนถักทอ  เส้นไหม  ให้เป็นผืน
ทั้งย้อมสี  ลวดลาย  ให้กลมกลืน
ไทยต้องตื่น  รู้เท่าทัน  อันตราย
 
รัฐบาล คสช.  ทำทุกอย่าง  คงไม่ไหว
ไทยช่วยไทย  ประชารัฐ  เร่งขวนขวาย
พ้นยากจน  ทนลำบาก  ยากใจกาย
สู่เป้าหมาย  ปลายทาง  ไทยยั่งยืน
 
ขอบคุณครับ  ขอให้ “ทุกคน ทุกครอบครัว” มีความสุข ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์  โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกร "กระดูกสันหลังของชาติ"ในการเริ่มฤดูกาลทำนา ในปีนี้ 
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ









ที่มา ; เว็บ  รัฐบาลไทย


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)  

เตรียมสอบ ครุผู้ช่วย ปี 2561

โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม