อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 131/2561 งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รุกยกระดับการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ให้มีคุณภาพ จัดงานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 8-9 พ.ค.2561 ซึ่งเป็นผลงานมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการพูด-ฟัง-อ่าน-เขียนที่ดีขึ้น ใช้ในการแสวงหาความรู้วิชา อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (9 พฤษภาคม 2561) ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จ.สงขลา, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิด "งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้" โดยมีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า 1,200 คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นสิ่งสร้างสรรค์ความดีงามต่อสังคม ซึ่งเป็นไปตามหลักแนวคิด "ไทยนิยม ยั่งยืน" ของรัฐบาลที่มองว่า การทำงานส่วนใดเป็นสิ่งที่ดีงาม ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของไทยนิยม ยั่งยืนทั้งสิ้น การได้มาเปิดงาน มอบเกียรติบัตร และโล่รางวัลให้ผู้ที่ทำคุณงามความดีในครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม และเป็นหนึ่งเรื่องที่สำคัญต่อโครงการไทยนิยม ยั่งยืน เป็นอย่างมาก
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การทำงานของกระทรวงศึกษาธิการมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้า และนำไปสู่ความสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างยั่งยืน แม้การทำงานจะพบปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการที่ดี สิ่งที่เห็นเป็นตัวชี้วัดได้ชัดเจนคือ ทุกฝ่ายได้ทำงานตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ทั้ง 6 ด้าน, มีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) อาทิ การพัฒนาคนทุกช่วงวัย การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งมีหลายโครงการ เช่น ห้องเรียนกีฬา ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ
ในเรื่องของการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ จชต. จากการเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าในวันนี้ ทำให้เห็นพัฒนาการ นวัตกรรม ครูแกนนำ รวมทั้ง Best Practices จำนวนมาก แม้แต่การจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่เกิดขึ้นอย่างมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเป็นอย่างดีจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ทำให้เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านนี้ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความมั่นคง เข้มแข็ง ยิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่ จชต.ยังคงมีอยู่ ก็ต้องมาวางแผนแก้ไขไปทีละส่วน ๆ ในระยะแรกจึงได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาสำหรับเด็ก ป.1 แต่ระยะต่อมาก็ขยายไปที่เด็ก ป.1-3 เน้นให้มีทักษะภาษาไทย ครบทั้ง 4 ด้าน คือ การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน รวมทั้งแยกแยะปัญหาต่าง ๆ ให้ชัดเจน ให้สถานศึกษามีการติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล
"อีก สิ่งที่เป็นความภูมิใจ คือ การวางแผนของศูนย์ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จชต. ที่ได้กำหนดเป้าหมายตามแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2560-2564) เพื่อมุ่งหวังยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลดลง เช่น อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง โดยในปีแรก (ภายในปี 2561) วางเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาให้ลดลงครึ่งหนึ่ง, ปีที่สองเหลือปัญหา 30%, ปีที่สามเหลือ 15% และปี 2564 ปัญหานั้น ๆ ต้องหมดไป
นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำให้มีการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงาน เพราะภาษาไทยสำคัญมาก หากเด็กเรียนแล้วเข้าใจ ก็จะเกิดความเข้าใจในการไปเรียนวิชาต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ตลอดจนใช้ในการทำงาน หรือเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แต่ ก็ต้องไม่ทิ้งภาษาถิ่น เพราะเป็นชีวิตประจำวัน " พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
อีกเรื่องซึ่ง รมช.ศึกษาธิการได้เน้นย้ำ คือ การทำงานเพื่อให้เกิดคุณภาพในห้วงต่อ ๆ ไป จะต้องครอบคลุมและมีความทั่วถึงกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กนักเรียนในระบบ ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนประชาชน โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างครู สพฐ., ครูเอกชน, ครู ตชด. ตลอดจนครู กศน. ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทั้งในระดับตำบลและระดับชุมชนอยู่แล้ว ก็จะได้ช่วยเสริมให้การทำงานมีความสมบูรณ์
โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้ให้ข้อคิดในการทำงานด้วยว่า ขอให้นำนวัตกรรม แนวคิด ภูมิปัญญาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้ได้ และในการทำงานขอให้เน้น 5 ร. คือ "ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" ด้วยการทำงานเชิงบูรณาการ และกลไกประชารัฐ คือ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อส่งผลให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่อย่างเข้มแข็งต่อไป
นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า การเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยระยะ 4 ปี พ.ศ.2561-2564 ภายใต้วิสัยทัศน์ "การยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ มุ่งเน้นการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาเป็นต้นไป เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข"
โดยมีพันธกิจ ในการพัฒนานักเรียนและครูผู้สอนทุกสังกัด ให้มีทักษะในการสอนภาษาไทยในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เด็กตั้งแต่ก่อนประถมศึกษาได้ใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยมียุทธศาสตร์ 4 ข้อ ประกอบด้วย เกิดการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตั้งแต่ระดับความประถมศึกษาในทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ มีวัฒนธรรมสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาครูผู้สอนให้ตรงกับความต้องการ และสภาพปัญหาที่พบ ให้สามารถสอน ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนได้อย่างต่อเนื่อง และจัดระบบบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพภาษาไทยในระบบและนอกระบบโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่
โดยมีเป้าหมายโรงเรียนทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4,298 แห่ง แบ่งเป็นสังกัด สพป. 1,196 แห่ง สพม. 68 แห่ง ตชด. 17 แห่ง เอกชนสามัญ 182 แห่ง ศาสนาคู่สามัญ 196 แห่ง สอนศาสนาอย่างเดียว 59 แห่ง สถาบันศึกษาปอเนาะ 477 แห่ง และตาดีกา 2,103 แห่ง ตลอดจนห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอใน 37 อำเภอ
ภายหลังพิธีเปิด พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร คือ โล่รางวัลครูดีศรีสงขลา 10 รางวัล, เกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษาการเขียนเรียงความดีเด่น 17 คน, โล่รางวัลนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย 2 รางวัล โดยมีผู้บริหารและวิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการร่วมให้เกียรติในพิธี อาทิ พล.ต.ต.ธัมมศักดิ์ วาสะศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายศรีชัย พรประชาธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ประธานปิด), น.ส.ดวงใจ บุญยภาส ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทย สพฐ., นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครุและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ., นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง หัวหน้าศูนย์ภาษาไทย จชต. เป็นต้น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 131/2561 งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) รุกยกระดับการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ชายแดนใต้ให้มีคุณภาพ จัดงานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างวันที่ 8-9 พ.ค.2561 ซึ่งเป็นผลงานมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการพูด-ฟัง-อ่าน-เขียนที่ดีขึ้น ใช้ในการแสวงหาความรู้วิชา อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เด็กใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและสื่อสารในชีวิตประจำวันได้อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (9 พฤษภาคม 2561) ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ จ.สงขลา, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และหัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิด "งานแสดงนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้" โดยมีผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเข้าร่วมกว่า 1,200 คน
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การทำงานของกระทรวงศึกษาธิการมีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้า และนำไปสู่ความสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่อย่างยั่งยืน แม้การทำงานจะพบปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็มีพัฒนาการที่ดี สิ่งที่เห็นเป็นตัวชี้วัดได้ชัดเจนคือ ทุกฝ่ายได้ทำงานตามยุทธศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้เป็นอย่างดี ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ทั้ง 6 ด้าน, มีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) อาทิ การพัฒนาคนทุกช่วงวัย การสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งมีหลายโครงการ เช่น ห้องเรียนกีฬา ดนตรี ศิลปะ ฯลฯ
ในเรื่องของการส่งเสริมการใช้ภาษาไทยในพื้นที่ จชต. จากการเยี่ยมชมนิทรรศการความก้าวหน้าในวันนี้ ทำให้เห็นพัฒนาการ นวัตกรรม ครูแกนนำ รวมทั้ง Best Practices จำนวนมาก แม้แต่การจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่เกิดขึ้นอย่างมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน อยู่ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเป็นอย่างดีจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ทำให้เป็นหน่วยงานสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านนี้ ที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อันจะก่อให้เกิดความมั่นคง เข้มแข็ง ยิ่งขึ้นต่อไป
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่ จชต.ยังคงมีอยู่ ก็ต้องมาวางแผนแก้ไขไปทีละส่วน ๆ ในระยะแรกจึงได้เน้นไปที่การแก้ปัญหาสำหรับเด็ก ป.1 แต่ระยะต่อมาก็ขยายไปที่เด็ก ป.1-3 เน้นให้มีทักษะภาษาไทย ครบทั้ง 4 ด้าน คือ การพูด การฟัง การอ่าน การเขียน รวมทั้งแยกแยะปัญหาต่าง ๆ ให้ชัดเจน ให้สถานศึกษามีการติดตามนักเรียนเป็นรายบุคคล
"อีกสิ่งที่เป็นความภูมิใจ คือ การวางแผนของศูนย์ พัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย จชต. ที่ได้กำหนดเป้าหมายตามแผนพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2560-2564) เพื่อมุ่งหวังยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลดลง เช่น อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง โดยในปีแรก (ภายในปี 2561) วางเป้าหมายที่จะแก้ปัญหาให้ลดลงครึ่งหนึ่ง, ปีที่สองเหลือปัญหา 30%, ปีที่สามเหลือ 15% และปี 2564 ปัญหานั้น ๆ ต้องหมดไป นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำให้มีการทำงานเชิงบูรณาการร่วมกันกับทุกหน่วยงาน เพราะภาษาไทยสำคัญมาก หากเด็กเรียนแล้วเข้าใจ ก็จะเกิดความเข้าใจในการไปเรียนวิชาต่าง ๆ รวมทั้งใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ตลอดจนใช้ในการทำงาน หรือเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อไป แต่ ก็ต้องไม่ทิ้งภาษาถิ่น เพราะเป็นชีวิตประจำวัน " พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าว
อีกเรื่องซึ่ง รมช.ศึกษาธิการได้เน้นย้ำ คือ การทำงานเพื่อให้เกิดคุณภาพในห้วงต่อ ๆ ไป จะต้องครอบคลุมและมีความทั่วถึงกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กนักเรียนในระบบ ผู้ที่อยู่นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนประชาชน โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างครู สพฐ., ครูเอกชน, ครู ตชด. ตลอดจนครู กศน. ซึ่งอยู่ในพื้นที่ทั้งในระดับตำบลและระดับชุมชนอยู่แล้ว ก็จะได้ช่วยเสริมให้การทำงานมีความสมบูรณ์
โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้ให้ข้อคิดในการทำงานด้วยว่า ขอให้นำนวัตกรรม แนวคิด ภูมิปัญญาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้ได้ และในการทำงานขอให้เน้น 5 ร. คือ "ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" ด้วยการทำงานเชิงบูรณาการ และกลไกประชารัฐ คือ เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อส่งผลให้เกิดคุณภาพการศึกษาในพื้นที่อย่างเข้มแข็งต่อไป
นายศรีชัย พรประชาธรรม ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า การเรียนการสอนภาษาไทยจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ดำเนินการตามแผนการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยระยะ 4 ปี พ.ศ.2561-2564 ภายใต้วิสัยทัศน์ "การยกระดับการใช้ภาษาไทยให้มีคุณภาพ มุ่งเน้นการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน และใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาเป็นต้นไป เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข"
โดยมีพันธกิจ ในการพัฒนานักเรียนและครูผู้สอนทุกสังกัด ให้มีทักษะในการสอนภาษาไทยในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เด็กตั้งแต่ก่อนประถมศึกษาได้ใช้ภาษาไทยในชั้นเรียนและชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือของการติดต่อสื่อสารและแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ โดยมียุทธศาสตร์ 4 ข้อ ประกอบด้วย เกิดการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรแกนกลางการส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตั้งแต่ระดับความประถมศึกษาในทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ มีวัฒนธรรมสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาครูผู้สอนให้ตรงกับความต้องการ และสภาพปัญหาที่พบ ให้สามารถสอน ทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียนได้อย่างต่อเนื่อง และจัดระบบบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพภาษาไทยในระบบและนอกระบบโรงเรียนให้เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในพื้นที่
โดยมีเป้าหมายโรงเรียนทุกสังกัดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4,298 แห่ง แบ่งเป็นสังกัด สพป. 1,196 แห่ง สพม. 68 แห่ง ตชด. 17 แห่ง เอกชนสามัญ 182 แห่ง ศาสนาคู่สามัญ 196 แห่ง สอนศาสนาอย่างเดียว 59 แห่ง สถาบันศึกษาปอเนาะ 477 แห่ง และตาดีกา 2,103 แห่ง ตลอดจนห้องสมุดประชาชนประจำอำเภอใน 37 อำเภอ
ภายหลังพิธีเปิด พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร คือ โล่รางวัลครูดีศรีสงขลา 10 รางวัล, เกียรติบัตรพร้อมทุนการศึกษาการเขียนเรียงความดีเด่น 17 คน, โล่รางวัลนวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย 2 รางวัล โดยมีผู้บริหารและวิทยากรจากกระทรวงศึกษาธิการร่วมให้เกียรติในพิธี อาทิ พล.ต.ต.ธัมมศักดิ์ วาสะศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายปราโมทย์ แก้วสุข ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายศรีชัย พรประชาธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้, นายชลำ อรรถธรรม รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (ประธานปิด), น.ส.ดวงใจ บุญยภาส ผู้อำนวยการสถาบันภาษาไทย สพฐ., นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครุและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ., นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง หัวหน้าศูนย์ภาษาไทย จชต. เป็นต้น
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น