อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
ศธ.ประชุม
นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือเพื่อติดตามความก้าวหน้าการยกอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศโดย World Economic Forum (WEF) และ Institute for Management Development (IMD) ซึ่งในระยะหลังพบว่า อันดับของไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง นายกรัฐมนตรีจึงได้มอบให้ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการประเมินตามตัวชี้วัดดังกล่าว ทั้งการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ และด้านการศึกษา เพื่อทบทวนการดำเนินงานและหาแนวทางนำเสนอผลงานให้ตอบโจทย์ตัวชี้วัดได้ตรงจุด ที่จะเป็นการช่วยยกอันดับของประเทศในภาพรวมให้สูงขึ้น
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ศธ.ประชุม ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน เพื่อยกอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อยกอันดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทย เมื่อวันพุธที่ 2 พฤษภาคม 2561 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ
ในส่วนของการศึกษา พบว่าอยู่ในอันดับที่ไม่น่าพึงพอใจนัก เช่น อัตราสัดส่วนครูต่อนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา เมื่อปี 2560 มีสัดส่วน 1:24 และปี 2561 มีสัดส่วน 1:22 ซึ่งยังไม่สามารถไปถึงสัดส่วน 1:20 (ครู 1 คนต่อนักเรียน 20 คน) ตามที่กำหนดได้ ในขณะที่กรีซอยู่ในอันดับ 1 และประเทศในอาเซียนคือสิงคโปร์ก็อยู่ในอันดับ 32 จึงขอให้องค์กรหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนว่าควรนำข้อมูลครูในสังกัดต่าง ๆ มารวมไว้หรือไม่ ทั้งครูอัตราจ้าง ครูสังกัดอื่น ครูตำรวจตระเวนชายแดน เป็นต้น
นอกจากนี้ จำนวนปีการศึกษา (เฉลี่ย) ก็ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเฉลี่ย 14 ปี โดยล่าสุดปี 2560 มีจำนวนเฉลี่ย 9.52 ปี ส่วนปี 2561 จำนวนเฉลี่ย 9.62 ปี ซึ่งก็ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคันและเด็กตกหล่น พร้อมกับพัฒนาระบบเทียบโอนวุฒิการศึกษาจากการเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อเพิ่มจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยให้สูงขึ้น และยังเป็นการดำเนินการตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 ซึ่งกำหนดเป้าหมายจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของเด็กไทยต้องอยู่ที่ 12.5 ปีด้วย
ที่ประชุมมีความเห็นด้วยว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำเป็นต้องเร่งผลักดันการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพของอาชีวศึกษาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่ การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ “อาชีวะพรีเมียม” ตลอดจนการสร้างโอกาสการศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ เป็นต้น
อีกประเด็นคือ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้ร่วมกับสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะภาคีเครือข่าย เตรียมจัดประชุมสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลการดำเนินงานด้านการศึกษา ให้ภาคเอกชนที่เป็นผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นตัวชี้วัดด้านการศึกษาของ WEF และ IMD ได้รับรู้และเข้าใจถึงผลการดำเนินงานของภาครัฐที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาไทย อาทิ โครงการอาชีวะพันธุ์ใหม่ โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ รวมถึงการยกระดับคุณภาพการศึกษาในโครงการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบ “โรงเรียนร่วมพัฒนา” (Partnership School) 40 แห่ง ที่มีภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่น เข้ามาร่วมบริหารจัดการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ภาคเอกชนมีความเข้าใจงานด้านการศึกษาด้วยข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงและมีความถูกต้อง ที่จะส่งผลดีต่ออันดับขีดความสามารถด้านการศึกษาของไทยต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น