อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 154/2561 ศธ.เปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ร้อยเอ็ด
เมื่อวันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2561 พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC TVET Career Center) ณ วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จ.ร้อยเอ็ด โดยมีนายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ตลอดจนผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันการอาชีวศึกษา ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐ ภาคเอกชน นิคมอุตสาหกรรม และเครือข่ายผู้ประกอบการ ฯลฯ เข้าร่วม
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการ กอศ. กล่าวว่า สอศ. ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยร่วมกับสถานศึกษาและทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำ "ระบบฐานข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา (Big Data System)" มาใช้สำหรับการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการอย่างแท้จริง พบว่าสาขาอาชีพที่เป็นความต้องการสูงสุด 5 อันดับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
1) เกษตรกรรม ประมง และปศุสัตว์ ร้อยละ 30
2) อุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 23
3) อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ร้อยละ 20
4) ท่องเที่ยวและบริการ ร้อยละ 18
5) ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป ร้อยละ 9
ดังนั้น สถานศึกษาจึงต้องปรับตัวและปรับการเรียนการสอนอย่างมีแผน มีระบบ สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว เพื่อที่จะได้เป็นฐานสำคัญในการสร้างกำลังคนที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันก็ทำให้ผู้เรียนได้รู้ข้อมูลและคุณสมบัติที่สถานประกอบการต้องการ มีงานรองรับ เมื่อจบการศึกษา ส่วนภาคเอกชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการผลิตกำลังคนว่าสถานศึกษาใดผลิตคนสาขาใด จำนวนเท่าไร ทำให้ได้กำลังคนที่มีทักษะและสมรรถนะตรงกับความต้องการและตรงตามบริบทของพื้นที่มากขึ้น
ในส่วนของความคาดหวังเกี่ยวกับกำลังคนที่ต้องการเห็น คือ "เด็กอาชีวะที่มีคุณภาพ" และมีคุณลักษณะตามหลักสูตรอาชีวศึกษา สามารถสื่อสารได้ คิดวิเคราะห์ได้ แก้ปัญหาเป็น สร้างนวัตกรรมได้ ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
นายรังสิต วงษ์แก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด และประธานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดร้อยเอ็ด มีศูนย์ประสานงาน NEEC หลัก 5 แห่ง ได้แก่ ศูนย์ประสานงาน NEEC อุดรธานี, ศูนย์ประสานงาน NEEC สกลนคร, ศูนย์ประสานงาน NEEC อุบลราชธานี, ศูนย์ประสานงาน NEEC นครราชสีมา และศูนย์ประสานงาน NEEC ร้อยเอ็ด โดยดูแลรับผิดชอบสถาบันอาชีวศึกษาของ รัฐ 118 แห่ง เอกชน 181 แห่ง รวม 299 แห่ง ซึ่งเป็นจำนวน 1 ใน 3 ของจำนวนสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งประเทศ โดย มีแนวทางดำเนินงานตามบทบาทภารกิจ ดังนี้
1) จัดทำระบบฐานข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา (Big Data System) พร้อมจัดอบรมให้ความรู้และการใช้ระบบแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา
2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ปี 2560-2565 โดยมีภารกิจเร่งด่วนในระยะเวลา 1 ปี อาทิ การจัดตั้งศูนย์ประสานงาน 5 แห่ง, จัดทำหลักสูตรสมรรถนะ 10 หลักสูตร รองรับอุตสาหกรรม First S-Curve และ New S-Curve, การส่งครูไปฝึกงานในสถานประกอบการ 200 คน, การอบรมครูสถานประกอบการ 300 คน, ทำความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาครู 10 หลักสูตร รวมทั้งพัฒนาห้องปฏิบัติการพื้นฐาน 20 ห้อง และห้องปฏิบัติการภาษา 12 ห้อง
3) จัดทำแผนสำรวจข้อมูลความต้องการกำลังคน พร้อมประชุมสร้างการรับรู้และความเข้าใจกับผู้ประกอบการ สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และกำหนดเป้าหมายการผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานสากล
4) แผนการดำเนินงานในอนาคต (ปี 2561-2564) อาทิ การพัฒนาทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษแก่ผู้เรียน 15,000 คน, การพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนสอดคล้องกับหลักสูตร 1,000 คน, การพัฒนาหลักสูตรอบรมครู 285 หลักสูตร, การจัดหลักสูตรระยะสั้นสำหรับประชาชน ตลอดจนหลักสูตรพัฒนาแรงงานในสถานประกอบการกว่า 10,000 คน
พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล กล่าวตอนหนึ่งว่า จากการรับฟังผลการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน NEEC เห็นว่าสามารถเป็นศูนย์หลักของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ในการทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลความต้องการกำลังคนของภาคเอกชน และความสามารถในการผลิตกำลังคนของสถานศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งคุณสมบัติการทำงานของผู้จบการศึกษาในแต่ละสาขา ผ่านระบบฐานข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา (Big DataSystem) ที่จะทำให้ผู้เรียนอาชีวะ เมื่อจบแล้วมีงานทำตามนโยบายรัฐบาล
ขณะนี้ได้มีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว ต่อจากนี้จะเป็นการเติมเต็มข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและทันสมัย รองรับผู้ที่เข้ามาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพร้อมปรับปรุงระบบให้ดีขึ้น จนอาจกลายเป็นต้นแบบในการนำข้อมูลจากเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการทำงานด้านการศึกษาได้ในที่สุด โดยในอนาคตระบบฐานข้อมูลจะต้องเชื่อมโยงข้อมูลกับทุกศูนย์ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ปัตตานี หรือเชียงใหม่ หรืออยู่ในศูนย์ระดับจังหวัดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและนำมาใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วกว่าที่ผ่านมา
สำหรับ ข้อห่วงใยของ รมช.ศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ที่เห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ต้องเกิดจากความพร้อมจริง ๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงและรองรับผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการอย่างเต็มที่ จึงได้เน้นย้ำให้ศูนย์ประสานงานฯ ให้ความสำคัญกับความถูกต้องและทันสมัยของข้อมูลที่นำเข้าในระบบ Big Data System และเชื่อมโยงข้อมูลกับทุกศูนย์ประสานงานทั่วประเทศ ไปจนถึงการเป็น One Stop Service ที่จะสามารถตอบสนองการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์และวางแผนได้อย่างเต็มที่ จึงขอให้ศูนย์ประสานงานฯ ทุกแห่งทั่วประเทศเร่งจัดระบบ Big Data System ในพื้นที่ตนเองให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดข้อมูล Big Data กำลังคนอาชีวศึกษาพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 และจะได้สรุปรวมฐานข้อมูลของทั้ง 6 ภูมิภาค นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
โอกาสนี้ พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ได้พบปะกับผู้ปกครองของนักเรียนนักศึกษา พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงนโยบายรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี" เกี่ยวกับความต้องการของประเทศด้านกำลังคนอาชีวศึกษา ซึ่งเชื่อมั่นว่าผลการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งประโยชน์จาก ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา 6 แห่งทั่วประเทศ จะช่วย สร้างความมั่นใจต่อผู้ปกครองว่า "เรียนอาชีวะจบแล้ว ไม่ตกงานอย่างแน่นอน"
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 154/2561 ศธ.เปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ร้อยเอ็ด
สำหรับ ข้อห่วงใยของ รมช.ศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) ที่เห็นว่าการจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ต้องเกิดจากความพร้อมจริง ๆ เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงและรองรับผู้ที่จะเข้ามาใช้บริการอย่างเต็มที่ จึงได้เน้นย้ำให้ศูนย์ประสานงานฯ ให้ความสำคัญกับความถูกต้องและทันสมัยของข้อมูลที่นำเข้าในระบบ Big Data System และเชื่อมโยงข้อมูลกับทุกศูนย์ประสานงานทั่วประเทศ ไปจนถึงการเป็น One Stop Service ที่จะสามารถตอบสนองการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์และวางแผนได้อย่างเต็มที่ จึงขอให้ศูนย์ประสานงานฯ ทุกแห่งทั่วประเทศเร่งจัดระบบ Big Data System ในพื้นที่ตนเองให้แล้วเสร็จก่อนพิธีเปิดข้อมูล Big Data กำลังคนอาชีวศึกษาพร้อมกันทั่วประเทศ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 และจะได้สรุปรวมฐานข้อมูลของทั้ง 6 ภูมิภาค นำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น