อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 159/2561
สพฐ.-สกอ.ออกมาตรการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นพนันบอลในสถานศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ตามลำดับ ได้ออกมาตรการ ในการป้องกันและแก้ปัญหาการเล่นพนันบอลในสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมปีนี้ที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งถึงแม้มาตรการจะแตกต่างกันบ้าง ก็เพราะความเหมาะสมของหน่วยงานและสถานศึกษาแต่ละระดับ โดย สพฐ.กำหนด 7 มาตรการ สกอ.กำหนด 10 มาตรการ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาต่างก็มุ่งหวังไม่ให้ "ปัญหาหนี้พนัน" เกิดขึ้นกับนักเรียนนักศึกษา อันจะส่งผลทำให้ชีวิตพัง และเกิดปัญหา ทางสังคม อื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
มาตรการในการป้องกันและแก้ปัญหาการเล่นพนันบอลในสถานศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
1. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสถานศึกษา ดูแล รับผิดชอบการป้องกันและแก้ปัญหาการเล่นพนันทายผลฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ถือเป็นพันธกิจที่ต้องปฏิบัติทุกระดับชั้น หากบุคลากรที่ได้รับมอบหมายละเลย ให้ถือว่าผู้นั้นจงใจละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที
2. ครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวในสถานศึกษาต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ปัญหาอย่างเต็มศักยภาพ
3. ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและญาติของนักเรียนให้ดูแลอย่างใกล้ชิด
4. หากพบว่าครู บุคลากร และลูกจ้างในสถานศึกษามีพฤติกรรมการเล่นพนันให้ว่ากล่าวตักเตือน หากยังมีพฤติกรรมเช่นเดิมอีกให้พิจารณาโทษทางวินัย
5. ให้สถานศึกษาตรวจสอบและประมวลผลการมาสาย หรือไม่มาเรียนของนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา เปรียบเทียบช่วงก่อนและระหว่างมีการแข่งขันว่าผิดปกติหรือไม่ และมีผลมาจากการแข่งขันฟุตบอลหรือไม่ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสม
6. ให้สถานศึกษาบันทึกการแข่งขันฟุตบอล เพื่อเปิดให้นักเรียนชมในเวลาที่เหมาะสม
7. หากโรงเรียนประสบปัญหาพนันบอลไม่สามารถแก้ปัญหาเองได้ ขอให้ประสานความช่วยเหลือมาที่สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สพฐ.
ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการพนันในสถาบันอุดมศึกษา โดยกำหนดแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการพนันในสถาบันอุดมศึกษา ดังนี้
1. กำกับดูแลไม่ให้นิสิต นักศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพนันทุกชนิด
2. ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมทางบวก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับนิสิต นักศึกษา
3. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการพนัน ชี้ให้นิสิต นักศึกษา ตระหนักถึงผลเสียการเล่นพนัน พร้อมประชาสัมพันธ์สายด่วนการแจ้งเบาะแสการพนันฟุตบอลออนไลน์
4. ให้อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำวิชาสอดแทรกเรื่องผลเสียหายที่เกิดจากพนันทุกครั้งที่มีโอกาส
5. สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายนิสิต นักศึกษา เพื่อเฝ้าระวัง แจ้งเบาะแส หากพบให้แจ้งผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการแก้ไข
6. สร้างช่องทางในการแจ้งเบาะแส หรือศูนย์ฮอตไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและใกล้ชิด
7. ให้อาจารย์ประจำห้องคอมพิวเตอร์ดูแลไม่ให้นิสิต นักศึกษาใช้ช่องทางระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการเล่นพนัน
8. ประสานสถานีตำรวจในท้องที่ให้หมั่นตรวจตราและจับกุมแหล่งรับพนันฟุตบอลที่แอบเข้ามารับพนันฟุตบอลในสถาบันอุดมศึกษา บริเวณโดยรอบ หรือบริเวณหอพักนิสิต นักศึกษา
9. มีมาตรการและบทลงโทษทางวินัยกับนิสิต นักศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการพนัน โดยเฉพาะผู้เป็นเจ้ามือจะต้องลงโทษขั้นเด็ดขาด
10. พิจารณาออกมาตรการอื่นเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาการพนันทุกชนิดในสถาบันอุดมศึกษา โดยสอดคล้องกับประกาศ สกอ.
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 159/2561
สพฐ.-สกอ.ออกมาตรการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการเล่นพนันบอลในสถานศึกษา
สพฐ.-สกอ.ออกมาตรการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ตามลำดับ ได้ออกมาตรการ ในการป้องกันและแก้ปัญหาการเล่นพนันบอลในสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมปีนี้ที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งถึงแม้มาตรการจะแตกต่างกันบ้าง ก็เพราะความเหมาะสมของหน่วยงานและสถานศึกษาแต่ละระดับ โดย สพฐ.กำหนด 7 มาตรการ สกอ.กำหนด 10 มาตรการ ซึ่งมาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาต่างก็มุ่งหวังไม่ให้ "ปัญหาหนี้พนัน" เกิดขึ้นกับนักเรียนนักศึกษา อันจะส่งผลทำให้ชีวิตพัง และเกิดปัญหา ทางสังคม อื่น ๆ ตามมาอีกด้วย
1. ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสถานศึกษา ดูแล รับผิดชอบการป้องกันและแก้ปัญหาการเล่นพนันทายผลฟุตบอลอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ถือเป็นพันธกิจที่ต้องปฏิบัติทุกระดับชั้น หากบุคลากรที่ได้รับมอบหมายละเลย ให้ถือว่าผู้นั้นจงใจละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัยทันที
2. ครู บุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ และลูกจ้างชั่วคราวในสถานศึกษาต้องให้ความร่วมมือในการป้องกันและแก้ปัญหาอย่างเต็มศักยภาพ
3. ขอความร่วมมือจากผู้ปกครองและญาติของนักเรียนให้ดูแลอย่างใกล้ชิด
4. หากพบว่าครู บุคลากร และลูกจ้างในสถานศึกษามีพฤติกรรมการเล่นพนันให้ว่ากล่าวตักเตือน หากยังมีพฤติกรรมเช่นเดิมอีกให้พิจารณาโทษทางวินัย
5. ให้สถานศึกษาตรวจสอบและประมวลผลการมาสาย หรือไม่มาเรียนของนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา เปรียบเทียบช่วงก่อนและระหว่างมีการแข่งขันว่าผิดปกติหรือไม่ และมีผลมาจากการแข่งขันฟุตบอลหรือไม่ พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขให้เหมาะสม
6. ให้สถานศึกษาบันทึกการแข่งขันฟุตบอล เพื่อเปิดให้นักเรียนชมในเวลาที่เหมาะสม
7. หากโรงเรียนประสบปัญหาพนันบอลไม่สามารถแก้ปัญหาเองได้ ขอให้ประสานความช่วยเหลือมาที่สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สพฐ.
1. กำกับดูแลไม่ให้นิสิต นักศึกษาเข้าไปเกี่ยวข้องกับการพนันทุกชนิด
2. ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมทางบวก เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับนิสิต นักศึกษา
3. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับพิษภัยของการพนัน ชี้ให้นิสิต นักศึกษา ตระหนักถึงผลเสียการเล่นพนัน พร้อมประชาสัมพันธ์สายด่วนการแจ้งเบาะแสการพนันฟุตบอลออนไลน์
4. ให้อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ประจำวิชาสอดแทรกเรื่องผลเสียหายที่เกิดจากพนันทุกครั้งที่มีโอกาส
5. สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายนิสิต นักศึกษา เพื่อเฝ้าระวัง แจ้งเบาะแส หากพบให้แจ้งผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการแก้ไข
6. สร้างช่องทางในการแจ้งเบาะแส หรือศูนย์ฮอตไลน์ เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและใกล้ชิด
7. ให้อาจารย์ประจำห้องคอมพิวเตอร์ดูแลไม่ให้นิสิต นักศึกษาใช้ช่องทางระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อการเล่นพนัน
8. ประสานสถานีตำรวจในท้องที่ให้หมั่นตรวจตราและจับกุมแหล่งรับพนันฟุตบอลที่แอบเข้ามารับพนันฟุตบอลในสถาบันอุดมศึกษา บริเวณโดยรอบ หรือบริเวณหอพักนิสิต นักศึกษา
9. มีมาตรการและบทลงโทษทางวินัยกับนิสิต นักศึกษา ที่เกี่ยวข้องกับการพนัน โดยเฉพาะผู้เป็นเจ้ามือจะต้องลงโทษขั้นเด็ดขาด
10. พิจารณาออกมาตรการอื่นเพิ่ม เพื่อแก้ไขปัญหาการพนันทุกชนิดในสถาบันอุดมศึกษา โดยสอดคล้องกับประกาศ สกอ.
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น