อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 135/2561
สพฐ.ขยายห้องเรียนดนตรี เป็น 8 โรงเรียนทั่วประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขยายโครงการ "ห้องเรียนดนตรี" จากเดิม 3 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ "ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส" เพิ่มอีก 3 โรงเรียนในปีนี้ที่ "สมุทรสงคราม-กาฬสินธุ์-ลำพูน" รวมเป็น 6 โรงเรียน เพื่อมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนไทย ผู้มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการได้เต็มศักยภาพ ทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้มีความสามารถได้เรียนตามความสนใจและความถนัด
เมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2561 ที่หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) เป็นประธานแถลงข่าวโครงการห้องเรียนดนตรี โดยกล่าวว่าการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษ เป็นบทบาทหน้าที่ที่รัฐบาลนานาประเทศให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างต่อเนื่องยาวนาน สำหรับประเทศไทยได้ให้การส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษในหลากหลายรูปแบบ ตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า "ศิลปะและดนตรี" เป็นวิชาที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจ สามารถสร้างคนให้เป็นคนดี มีจิตใจที่อ่อนโยน และเป็นสื่อในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม
เมื่อปีการศึกษา 2560 จึงได้จัดทำโครงการ "ห้องเรียนดนตรี" ในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี 2) โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา 3) โรงเรียนสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านดนตรีแก่นักเรียนที่สนใจ
นอกจากนี้ ยังพบว่าในแต่ละโรงเรียนจะมีนักเรียนที่มีศักยภาพในหลากหลายสาขา สมควรที่จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้ได้เรียนตามความสนใจและความถนัด เช่นเดียวกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในสาขาอื่น ๆ จึงได้มอบหมายให้ สพฐ. คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมที่จะเปิดเรียนเป็นห้องเรียนดนตรีในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มเติมจากภาคใต้ชายแดน
และปีการศึกษานี้ จะเปิดเพิ่มอีกอีก 3 โรงเรียนใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ 1) โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม "ห้องเรียนดนตรีไทย" (ม.1 จำนวน 30 คน ม.4 จำนวน 8 คน) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ "ห้องเรียนดนตรีสากล" (ม.1 จำนวน 9 คน ม.4 จำนวน 5 คน) และโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน "ห้องเรียนดนตรีสากล" (ม.1 จำนวน 40 คน ม.4 จำนวน 40 คน)
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษดนตรี และส่งเสริมเด็กที่มีพรสวรรค์ให้ได้รับการพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้มีความสามารถได้เรียนตามความสนใจและความถนัด และสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาการกับหน่วยงานทางการศึกษา ที่จะเป็นการส่งต่อนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น และมีโอกาสประกอบอาชีพในอนาคต
ทั้งนี้ได้กำหนดแผนพัฒนาต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี และมีเป้าหมายให้นักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านดนตรีในระดับมาตรฐานสากล สร้างบุคลากรด้านดนตรีแก่ประเทศ นำมาซึ่งรายได้ ความคิดสร้างสรรค์ และความสงบสุข นอกจากนี้ยังเตรียมแผนที่จะคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมอีก 13 โรงเรียนภายในปีการศึกษา 2562 ด้วย
"ในส่วนของการนำเสนอผลงานนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี และด้านนาฏศิลป์ รุ่นที่ 1-4 จำนวน 128 คน ในการแถลงข่าวครั้งนี้ ต้องขอชื่นชมนักเรียนที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและแสดงออกซึ่งศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสม ขอขอบคุณผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขา ทั้งศิลปินแห่งชาติและวิทยากร ที่ถือเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กและเยาวชนที่ร่วมโครงการ ให้เกิดความคิดในเชิงสร้างสรรค์ และค้นพบความชอบของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การตัดสินใจที่เลือกศึกษาต่อและประกอบอาชีพในอนาคต" พล.อ.สุทัศน์ กล่าว
น.ส.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สพฐ.ได้กำหนดแผนการสนับสนุนงบประมาณให้แก่โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง ๆ ละ 1 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเป็น "ห้องเรียนมาตรฐาน" สำหรับการเรียนดนตรี ขนาด 8x8 เมตร จำนวน 3 ห้องเรียน ประกอบด้วยห้องเรียนรายบุคคลและห้องเรียนรวม โดยขณะนี้ได้จัดทำรูปแบบรายการไว้เรียบร้อยแล้ว และจะจัดสรรงบประมาณไปยังโรงเรียนเพื่อปรับปรุงอาคารต่อไป เช่นเดียวกับงบประมาณด้านครุภัณฑ์ด้านดนตรี สพฐ.ได้เตรียมการจัดสรรงบประมาณค่าครุภัณฑ์เครื่องดนตรี ให้เพียงพอกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนทั้ง 3 แห่งแล้ว
น.ส.นิจสุดา อภินันทาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า นักเรียนในโครงการฯ จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลาง ส่วนการเรียนดนตรีจะกำหนดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยจะมีการฝึกปฏิบัติการรวมวงและกิจกรรมนอกเวลาเรียนด้านดนตรี ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงต่อภาคเรียน โดย สพฐ. จะจัดสรรครูอัตราจ้างที่เชี่ยวชาญเฉพาะไม่เกิน 5 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอนในรายวิชาดนตรีตามหลักสูตรที่กำหนด
นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ พร้อมกำหนดข้อตกลงในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรี ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ฯลฯ และได้มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในแต่ละภูมิภาค ในการสนับสนุนบุคลากรด้านดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน เพื่อให้นักเรียนโครงการห้องเรียนดนตรีมีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมด้วย.
โดยสรุป "ห้องเรียนดนตรี" ในขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 6 โรง คือ 1) โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี 2) โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา 3) โรงเรียนสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส 4) โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม 5) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 6) โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน และในปีการศึกษา 2562 จะเพิ่มอีก 13 โรงเรียนครบทุกภาคทั่วประเทศ"
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 135/2561
สพฐ.ขยายห้องเรียนดนตรี เป็น 8 โรงเรียนทั่วประเทศ
สพฐ.ขยายห้องเรียนดนตรี เป็น 8 โรงเรียนทั่วประเทศ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขยายโครงการ "ห้องเรียนดนตรี" จากเดิม 3 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ "ปัตตานี-ยะลา-นราธิวาส" เพิ่มอีก 3 โรงเรียนในปีนี้ที่ "สมุทรสงคราม-กาฬสินธุ์-ลำพูน" รวมเป็น 6 โรงเรียน เพื่อมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนไทย ผู้มีความสามารถพิเศษด้านดนตรี ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาการได้เต็มศักยภาพ ทั้งยังช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้มีความสามารถได้เรียนตามความสนใจและความถนัด
เมื่อปีการศึกษา 2560 จึงได้จัดทำโครงการ "ห้องเรียนดนตรี" ในโรงเรียนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 1) โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี 2) โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา 3) โรงเรียนสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อส่งเสริมศักยภาพด้านดนตรีแก่นักเรียนที่สนใจ
นอกจากนี้ ยังพบว่าในแต่ละโรงเรียนจะมีนักเรียนที่มีศักยภาพในหลากหลายสาขา สมควรที่จะได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้ได้เรียนตามความสนใจและความถนัด เช่นเดียวกับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษในสาขาอื่น ๆ จึงได้มอบหมายให้ สพฐ. คัดเลือกโรงเรียนที่มีความพร้อมที่จะเปิดเรียนเป็นห้องเรียนดนตรีในภูมิภาคต่าง ๆ เพิ่มเติมจากภาคใต้ชายแดน
และปีการศึกษานี้ จะเปิดเพิ่มอีกอีก 3 โรงเรียนใน 3 ภูมิภาค ได้แก่ 1) โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม "ห้องเรียนดนตรีไทย" (ม.1 จำนวน 30 คน ม.4 จำนวน 8 คน) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ "ห้องเรียนดนตรีสากล" (ม.1 จำนวน 9 คน ม.4 จำนวน 5 คน) และโรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน "ห้องเรียนดนตรีสากล" (ม.1 จำนวน 40 คน ม.4 จำนวน 40 คน)
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษดนตรี และส่งเสริมเด็กที่มีพรสวรรค์ให้ได้รับการพัฒนาการอย่างเต็มศักยภาพ ตลอดจนช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างโอกาสให้ผู้มีความสามารถได้เรียนตามความสนใจและความถนัด และสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนาการกับหน่วยงานทางการศึกษา ที่จะเป็นการส่งต่อนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น และมีโอกาสประกอบอาชีพในอนาคต
ทั้งนี้ได้กำหนดแผนพัฒนาต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ปี และมีเป้าหมายให้นักเรียนได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะด้านดนตรีในระดับมาตรฐานสากล สร้างบุคลากรด้านดนตรีแก่ประเทศ นำมาซึ่งรายได้ ความคิดสร้างสรรค์ และความสงบสุข นอกจากนี้ยังเตรียมแผนที่จะคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติมอีก 13 โรงเรียนภายในปีการศึกษา 2562 ด้วย
"ในส่วนของการนำเสนอผลงานนักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี และด้านนาฏศิลป์ รุ่นที่ 1-4 จำนวน 128 คนในการแถลงข่าวครั้งนี้ ต้องขอชื่นชมนักเรียนที่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและแสดงออกซึ่งศักยภาพที่มีอยู่อย่างเหมาะสม ขอขอบคุณผู้บริหารโรงเรียน คณะครู ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขา ทั้งศิลปินแห่งชาติและวิทยากร ที่ถือเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจแก่เด็กและเยาวชนที่ร่วมโครงการ ให้เกิดความคิดในเชิงสร้างสรรค์ และค้นพบความชอบของตนเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การตัดสินใจที่เลือกศึกษาต่อและประกอบอาชีพในอนาคต" พล.อ.สุทัศน์ กล่าว
น.ส.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า สพฐ.ได้กำหนดแผนการสนับสนุนงบประมาณให้แก่โรงเรียนทั้ง 3 แห่ง ๆ ละ 1 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงเป็น "ห้องเรียนมาตรฐาน" สำหรับการเรียนดนตรี ขนาด 8x8 เมตร จำนวน 3 ห้องเรียน ประกอบด้วยห้องเรียนรายบุคคลและห้องเรียนรวม โดยขณะนี้ได้จัดทำรูปแบบรายการไว้เรียบร้อยแล้ว และจะจัดสรรงบประมาณไปยังโรงเรียนเพื่อปรับปรุงอาคารต่อไป เช่นเดียวกับงบประมาณด้านครุภัณฑ์ด้านดนตรี สพฐ.ได้เตรียมการจัดสรรงบประมาณค่าครุภัณฑ์เครื่องดนตรี ให้เพียงพอกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนทั้ง 3 แห่งแล้ว
น.ส.นิจสุดา อภินันทาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ. กล่าวว่า นักเรียนในโครงการฯ จะต้องเรียนวิชาพื้นฐานตามหลักสูตรแกนกลาง ส่วนการเรียนดนตรีจะกำหนดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม โดยจะมีการฝึกปฏิบัติการรวมวงและกิจกรรมนอกเวลาเรียนด้านดนตรี ไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมงต่อภาคเรียน โดย สพฐ. จะจัดสรรครูอัตราจ้างที่เชี่ยวชาญเฉพาะไม่เกิน 5 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่สอนในรายวิชาดนตรีตามหลักสูตรที่กำหนด
นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ พร้อมกำหนดข้อตกลงในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพื่อพัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศด้านดนตรี ไม่ว่าจะเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ฯลฯ และได้มีข้อตกลงความร่วมมือกับสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในแต่ละภูมิภาค ในการสนับสนุนบุคลากรด้านดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน เพื่อให้นักเรียนโครงการห้องเรียนดนตรีมีบทบาทในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมด้วย.
โดยสรุป "ห้องเรียนดนตรี" ในขณะนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 6 โรง คือ 1) โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี 2) โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา 3) โรงเรียนสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส 4) โรงเรียนอัมพวันวิทยาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม 5) โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ 6) โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน และในปีการศึกษา 2562 จะเพิ่มอีก 13 โรงเรียนครบทุกภาคทั่วประเทศ"
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น