อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 141/2561 ศธ.เปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลางจ.สมุทรปราการ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง จังหวัดสมุทรปราการ (CEC TVET Career Center : Samutprakan) โดยมีนายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันการอาชีวศึกษา ผู้แทนนิคมอุตสาหกรรมและเครือข่ายผู้ประกอบการ เข้าร่วมงาน เมื่อวันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญและมีนโยบายเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ สอศ.จึงได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนั้นได้มีการขยายผลจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ไปยังพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน โดยคาดหวังให้ศูนย์ประสานงานฯ มีส่วนช่วยขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ในขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่
นายพิชเชฎฐ์ สุคนธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง จังหวัดสมุทรปราการ มีเครือข่ายการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และสมุทรปราการ ดูแลรับผิดชอบสถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐ 33 แห่ง ภาคเอกชน 111 แห่ง รวมจำนวน 144 แห่ง โดยมีภารกิจสำคัญ 5 ด้าน คือ การจัดทำฐานข้อมูลกลาง, การส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ, การส่งเสริมและสนับสนุนการระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน, การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ และการวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
1) การจัดเตรียมสถานที่และบุคลากรสำหรับจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ พร้อมส่งเสริมการสร้างการรับรู้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสำรวจความต้องการกำลังคนของผู้ประกอบการในพื้นที่
2) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการกำลังคน ของสถานประกอบการและภาคการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบ ในระหว่างปี 2560-2564 ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ภาคการผลิต (Supply) ยังผลิตกำลังคนได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ประกอบการ (Demand) นั่นก็คือ "มีความต้องการมากกว่าจำนวนที่ผลิตได้"
3) แผนการดำเนินงานในอนาคต อาทิ การจัดทำระบบฐานข้อมูล (Big Data System), การจับคู่สถานศึกษาและสถานประกอบการ, การจัดอบรมครูและบุคลากร, การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องความต้องการกำลังคน ตลอดจนการวิจัยและวิเคราะห์การผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับสถานประกอบการ เป็นต้น
ในส่วนของการจัดทำระบบฐานข้อมูล ขณะนี้ศูนย์ประสานงานฯ จ.สมุทรปราการ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลแก่สถานศึกษากว่า 52 แห่ง โดยผลการอบรมพบว่าในปี 2561 สถานประกอบการทั้ง 5 จังหวัด มีภาพรวมความต้องการกำลังคนทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวม 4,483 คน นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะหารือร่วมกับสถานประกอบการภาคีเครือข่าย เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมบางพลี นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย เป็นต้น เพื่อร่วมผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ รวมทั้งจัดอบรมการป้อนข้อมูลความต้องการผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย ตอบสนองความต้องการ และทำให้นักเรียนนักศึกษามีงานทำหลังสำเร็จการศึกษา
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า พิธีเปิดศูนย์ประสานงานฯ จังหวัดสมุทรปราการในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานจากทุกภาคส่วนได้มาร่วมกันพัฒนางานด้านอาชีวศึกษาให้มีความก้าวหน้าตามลำดับ ซึ่งที่มาของการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ฯ นั้น ริเริ่มจากข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการวางแผนผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
สอศ. จึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในพื้นที่ EEC และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้จนประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงเตรียมแผนงานขยายไปยังภูมิภาคอื่นตามการบริหารราชการของรัฐบาลใน 6 ภูมิภาค และให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้ "ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร" เป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงเชื่อมโยงกับภาคต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้มีการคำนึงถึงความพร้อมของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ จนทำให้สามารถขยายผลการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาได้ทั่วทุกภูมิภาคในเวลาอันรวดเร็ว
ในส่วนของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง จังหวัดสมุทรปราการ (CEC TVET Career Center : Samutprakan) กำหนดให้จังหวัดสมุทรปราการเป็นศูนย์หลักในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลในระดับภาคกลางและปริมณฑล ประกอบด้วย 5 อาชีวศึกษาจังหวัด คือ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร อาชีวศึกษาจังหวัดนนทบุรี อาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี อาชีวศึกษาจังหวัดนครปฐม และอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ทั้งจากสถานประกอบการที่ร่วมจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สถานประกอบการที่ร่วมจัดฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ สถานประกอบการที่ร่วมจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา หน่วยงานทวิภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สิ่งหนึ่งที่จะขอเน้นย้ำ คือ การเร่งรัดพัฒนาศูนย์ประสานงานฯ อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยเฉพาะการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง (Big Data System) ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งได้มอบให้ศูนย์ประสานงานฯ ทั้ง 6 ภาค เร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลกลางในพื้นที่ตนเองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 เพื่อสรุปรวมเป็นฐานข้อมูลทั้ง 6 ภาค นำเสนอเป็นรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวถึงการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยว่า ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพและมีทักษะ โดยเน้นบูรณาการการทำงานร่วมกันในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการเอง ไม่ว่าจะเป็น สพฐ. สอศ. สช. กศน. และ สกอ. เพื่อให้การอาชีวศึกษาพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมความร่วมมือและระดมทรัพยากร ตลอดจนบุคลากรจากทุกภาคส่วน ซึ่งหมายรวมถึงความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐและรูปแบบทวิภาคีที่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง
ดังนั้น เมื่อภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้ผนึกกำลังร่วมกันทำงาน ก็จะมีผลสำเร็จถึงการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาให้มีทักษะฝีมือที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปรับภาพลักษณ์ที่ดี มีจิตอาสา เป็นบุคคลทรงคุณค่าของสังคม สมกับคำกล่าวที่ว่า "อาชีวะ ฝีมือชน คนสร้างชาติ"
ข่าวที่ 141/2561 ศธ.เปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลางจ.สมุทรปราการ
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง จังหวัดสมุทรปราการ (CEC TVET Career Center : Samutprakan) โดยมีนายชาติชาย อุทัยพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ, นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สถาบันการอาชีวศึกษา ผู้แทนนิคมอุตสาหกรรมและเครือข่ายผู้ประกอบการ เข้าร่วมงาน เมื่อวันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 ณ วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า จากการที่กระทรวงศึกษาธิการให้ความสำคัญและมีนโยบายเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ สอศ.จึงได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จากนั้นได้มีการขยายผลจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ ไปยังพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบน โดยคาดหวังให้ศูนย์ประสานงานฯ มีส่วนช่วยขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ในขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่
นายพิชเชฎฐ์ สุคนธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง จังหวัดสมุทรปราการ มีเครือข่ายการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม และสมุทรปราการ ดูแลรับผิดชอบสถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐ 33 แห่ง ภาคเอกชน 111 แห่ง รวมจำนวน 144 แห่ง โดยมีภารกิจสำคัญ 5 ด้าน คือ การจัดทำฐานข้อมูลกลาง, การส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ, การส่งเสริมและสนับสนุนการระดมทรัพยากรและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน, การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ และการวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
1) การจัดเตรียมสถานที่และบุคลากรสำหรับจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ พร้อมส่งเสริมการสร้างการรับรู้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสำรวจความต้องการกำลังคนของผู้ประกอบการในพื้นที่
2) การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการกำลังคน ของสถานประกอบการและภาคการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบ ในระหว่างปี 2560-2564 ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ภาคการผลิต (Supply) ยังผลิตกำลังคนได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้ประกอบการ (Demand) นั่นก็คือ "มีความต้องการมากกว่าจำนวนที่ผลิตได้"
3) แผนการดำเนินงานในอนาคต อาทิ การจัดทำระบบฐานข้อมูล (Big Data System), การจับคู่สถานศึกษาและสถานประกอบการ, การจัดอบรมครูและบุคลากร, การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องความต้องการกำลังคน ตลอดจนการวิจัยและวิเคราะห์การผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับสถานประกอบการ เป็นต้น
ในส่วนของการจัดทำระบบฐานข้อมูล ขณะนี้ศูนย์ประสานงานฯ จ.สมุทรปราการ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลแก่สถานศึกษากว่า 52 แห่ง โดยผลการอบรมพบว่าในปี 2561 สถานประกอบการทั้ง 5 จังหวัด มีภาพรวมความต้องการกำลังคนทั้งในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รวม 4,483 คน นอกจากนี้ ยังมีแผนที่จะหารือร่วมกับสถานประกอบการภาคีเครือข่าย เช่น นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมบางพลี นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย เป็นต้น เพื่อร่วมผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการในพื้นที่ รวมทั้งจัดอบรมการป้อนข้อมูลความต้องการผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย ตอบสนองความต้องการ และทำให้นักเรียนนักศึกษามีงานทำหลังสำเร็จการศึกษา
สอศ. จึงได้ริเริ่มจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวในพื้นที่ EEC และเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้จนประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงเตรียมแผนงานขยายไปยังภูมิภาคอื่นตามการบริหารราชการของรัฐบาลใน 6 ภูมิภาค และให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้ "ภาคกลางและกรุงเทพมหานคร" เป็นฐานการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงเชื่อมโยงกับภาคต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้มีการคำนึงถึงความพร้อมของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ จนทำให้สามารถขยายผลการผลิตกำลังคนด้านอาชีวศึกษาได้ทั่วทุกภูมิภาคในเวลาอันรวดเร็ว
ในส่วนของศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง จังหวัดสมุทรปราการ (CEC TVET Career Center : Samutprakan) กำหนดให้จังหวัดสมุทรปราการเป็นศูนย์หลักในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลในระดับภาคกลางและปริมณฑล ประกอบด้วย 5 อาชีวศึกษาจังหวัด คือ อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร อาชีวศึกษาจังหวัดนนทบุรี อาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี อาชีวศึกษาจังหวัดนครปฐม และอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ทั้งจากสถานประกอบการที่ร่วมจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สถานประกอบการที่ร่วมจัดฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ สถานประกอบการที่ร่วมจัดฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา หน่วยงานทวิภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สิ่งหนึ่งที่จะขอเน้นย้ำ คือ การเร่งรัดพัฒนาศูนย์ประสานงานฯ อย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยเฉพาะการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลาง (Big Data System) ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งได้มอบให้ศูนย์ประสานงานฯ ทั้ง 6 ภาค เร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลกลางในพื้นที่ตนเองให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2561 เพื่อสรุปรวมเป็นฐานข้อมูลทั้ง 6 ภาค นำเสนอเป็นรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวถึงการส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยว่า ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพและมีทักษะ โดยเน้นบูรณาการการทำงานร่วมกันในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการเอง ไม่ว่าจะเป็น สพฐ. สอศ. สช. กศน. และ สกอ. เพื่อให้การอาชีวศึกษาพัฒนาไปสู่ความสำเร็จ ในขณะเดียวกันก็ต้องส่งเสริมความร่วมมือและระดมทรัพยากร ตลอดจนบุคลากรจากทุกภาคส่วน ซึ่งหมายรวมถึงความร่วมมือในรูปแบบประชารัฐและรูปแบบทวิภาคีที่ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง
ดังนั้น เมื่อภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้ผนึกกำลังร่วมกันทำงาน ก็จะมีผลสำเร็จถึงการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาให้มีทักษะฝีมือที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปรับภาพลักษณ์ที่ดี มีจิตอาสา เป็นบุคคลทรงคุณค่าของสังคม สมกับคำกล่าวที่ว่า "อาชีวะ ฝีมือชน คนสร้างชาติ"
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น