หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 10 สิงหาคม 2561

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน 10 สิงหาคม 2561
title
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม 2561 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ทรงดำรงฐานะเป็นทั้งสมเด็จพระอัครมเหสีที่ทรงติดตาม พ่อหลวง
โดยทรงร่วมทุกข์สุข และทรงสนับสนุนพระราชกรณียกิจนานัปการ อย่างมิได้ทรงย่อท้อ อีกทั้ง ทรงเป็นพระราชมารดาผู้ประเสริฐ โดยทรงอบรมสั่งสอนพระราชโอรส พระราชธิดา ให้ตระหนักในหน้าที่ อันพึงทรงบำเพ็ญต่อชาติบ้านเมือง และอาณาประชาราษฎร์ สำหรับในฐานะที่ทรงเป็น แม่ของแผ่นดิน นั้นพระองค์ทรงพากเพียร และมีพระวิริยะอุตสาหะ ประกอบพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่อให้ประชาชนหาเลี้ยงชีพได้โดยชอบ เป็นปกติสุข บ้านเมืองมีความมั่นคง ไม่แตกแยก เป็นสำคัญ ซึ่งหลักการทรงงานของพระองค์ ที่ทรงยึดถือ คือ ศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 อาทิ ทรงให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาใน ชนบท - ชุมชนที่เป็นพื้นฐานของประเทศ อีกทั้งเป็นแหล่งผลิต แหล่งอาหาร และ เกษตรกรรมของคนทั้งประเทศ ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้าน จิตใจอันจะนำไปสู่ความสุข สันติ และการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างแท้จริง อีกทั้ง ทรงให้ความสำคัญกับการให้ โอกาสแก่ราษฎร ที่จะได้รับการพัฒนา และมีส่วนร่วม อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร เป็นต้น  ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ ที่จะทรง สืบสาน รักษา ต่อยอดหลักการทรงงานและศาสตร์พระราชาดังกล่าว เพื่อสร้างประโยชน์สุขให้กับปวงชนชาวไทยทุกคน จวบจนทุกวันนี้ และตลอดไป

เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 รัฐบาลขอเชิญประชาชนร่วมกิจกรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และแสดงความจงรักภักดี ด้วยการประดับธงชาติไทยคู่กับธงพระนามาภิไธย ส.ก. พระฉายาลักษณ์ และตั้งเครื่องราชสักการะ ตามหน่วยงาน อาคาร บ้านเรือน พร้อมจัดสถานที่ลงนามถวายพระพร ตลอดเดือนสิงหาคม โดยในวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม นี้ เวลา 19 นาฬิกา ขอเชิญปวงชนชาวไทยร่วมพิธีถวายเครื่องราชสักการะ  จุดเทียนถวายพระพรชัยมงคล  และร่วมร้องเพลง สดุดีพระแม่เจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศ นะครับ นอกจากนี้ ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกท่าน ร่วมกันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย โดยทรงส่งเสริมอาชีพและช่วยเหลือราษฎรให้มีอาชีพเสริม เพิ่มพูนรายได้อย่างกว้างขวาง ภายใต้โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ และมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ทำให้เกิดการเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญา ไปสู่นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ เปรียบประดุจทรงเป็น"พระประทีป" ส่องสว่างนำทางพสกนิกรไทย ทั้งชาติ ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ของแต่ละภูมิภาค รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์นะครับ ซึ่งก็เป็นไปตามแนวทางของ ศิลปาชีพเดิม ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถนะครับ ได้ทรงเริ่มต้นไว้ โดยจะจัดงาน ศิลปาชีพ ประทีปไทย OTOP ก้าวไกลด้วยพระบารมีขึ้น ระหว่างวันที่ 11 - 19 สิงหาคม นี้ ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-3 อิมแพค เมืองทองธานี

 สำหรับ วันแม่แห่งชาติประจำปี 2561 นี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญ ความว่า เมื่อเรารวมกำลังกันทั้งชาติ  ย่อมสามารถช่วยไทยไขปัญหา ผนึกแรงหลอมรวมร่วมปัญญา จักนำพาชาติตนรอดพ้นภัย ผมเห็นว่าเป็น สัจธรรม ที่เราได้พิสูจน์ให้ทั้งโลกได้เห็นพลังแห่งความสามัคคีของคนในชาติจากความสำเร็จในการกู้ภัย ทีมเยาวชนหมูป่าที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ที่ผ่านมา ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ และ ความรู้ รัก สามัคคีนี้ จะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ ให้เราได้เสมอนะครับ ในหลายๆเรื่องด้วยกัน อาทิ โครงการจิตอาสาเราทำความ ดี ด้วยหัวใจ ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่จะช่วยปลูกฝังจิตสาธารณะให้กับประชาชน และเยาวชนไทย ในการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และแก้ไขปัญหาให้แก่สังคม  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วมในเขตชุมชน ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปัญหาการจราจร และอื่น ๆ เป็นต้น

ในวันนี้ ผมได้เห็นกิจกรรมต่อยอดมากมาย ในลักษณะพลังประชารัฐที่น่าชื่นชม ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 6 จาก 100 ประเทศนะครับ ที่กำลังประสบปัญหาเรื่องการจัดการขยะ  เป็นเรื่องร้ายแรง โดยในแต่ละปี จะมีขยะรูปแบบต่าง ๆ เกิดขึ้น และ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นกล่องโฟม จากการบรรจุอาหาร วันละ 138 ล้านใบ กระดาษชำระเกือบ 4 ล้านตันต่อปี ถุงพลาสติก 5,300 ตันต่อปี ขยะจากขวดพลาสติก มากกว่า 3,800 ล้านใบต่อปี หรือ แม้แต่หลอดพลาสติก 500 ล้านหลอดต่อวัน ไม่นับรวมขยะอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งที่ย่อยสลายได้ และย่อยสลายไม่ได้ ขยะพิษ อะไรต่าง ๆ อีกมากมาย อันเกิดจากน้ำมือของเราเอง ทั้งชาวชุมชน นักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศ

ดังนั้น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการลดภาระสิ่งแวดล้อม ในแหล่งท่องเที่ยว โดยการช่วยกันลดใช้ขยะพลาสติก ได้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีไทย ไปพร้อม ๆ กับการสร้างกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการ เที่ยวไทยเท่ ไม่สร้างขยะ ลดโลกเลอะที่มุ่งเน้นการรณรงค์ปลูกจิตสำนึก และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวร่วมกันรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ลดการสร้างภาระขยะในแหล่งท่องเที่ยว หรือเรียกได้ว่าเป็นการท่องเที่ยวแบบรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราสามารถทำง่าย ๆ ตามคำแนะนำ เช่น ลดการสร้างขยะ หรือพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ด้วยการใช้ถุงผ้าขวดน้ำ ปิ่นโต กล่องข้าวส่วนตัวแบบพกพา หลอดดูดน้ำจากวัสดุธรรมชาติ หรือที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และ การใช้ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีโครงการความร่วมมือ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและขยะอย่างยั่งยืน ก็หลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นกะทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย กระทรวงการท่องเที่ยวฯ กระทรวงมหาดไทย และทุกพื้นที่ วันนี้ผมก็ได้สั่งย้ำไปแล้วว่าในสถานที่ราชการทั้งหมด จำเป็นต้องขจัดขยะเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด มีการประเมินด้วย การใช้ขยะถุงพลาสติกต่าง ๆ ในสถานที่ราชการ ทุกสถานที่ราชการ วันนี้ภาครัฐก็มุ่งเน้นการให้ความรู้กับชุมชน เราต้องรู้ ว่าจะเกิดภัยอะไรบ้าง ถ้ารู้เราจะได้ไม่ทำ เราต้องปรับพฤติกรรมใหม่ อาจจะลดความสะดวกสบายลงไปบ้าง อีกเรื่องสำคัญก็คือการจัดการขยะอินทรีย์ ที่จะต้องช่วยให้การคัดแยกขยะมีประสิทธิภาพ กรุณาแยกขยะให้หน่อย ถึงแม้ว่าบางครั้งจะมีการเก็บ เพราะว่าเรายังมีปัญหาเรื่องของการเก็บขยะ แยกกันอีกต่างหาก เพราะเป็นหน้าที่ของหลายหน่วยงานด้วยกัน แล้วงบประมาณในเรื่องนี้ก็ไม่มากนัก เราต้องช่วยกันลดตรงนี้ ขยะจะต้องถูกแยกอย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ชั้นต้น อย่าไปโทษการเก็บ โทษอะไร ต่อไปเราแยกไว้เถิดครับ เดี๋ยวเขาจะได้หาวิธีการที่จะจัดการขยะเหล่านี้ให้ได้โดยเร็ว ตัวขยะที่คัดแยกได้มีคุณภาพมากขึ้น ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น รวมความไปถึงในเรื่องของการให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ รีไซเคิลให้ได้มาตรฐาน อีกด้วย

ทั้งนี้ ผมเห็นว่าความเคลื่อนไหวในการรักษ์โลกด้วยการควบคุมขยะนั้น เป็นสิ่งที่ดี และสอดคล้องกับกระแสโลก และปัญหาของเราภายในประเทศ เรื่องขยะทราบมาว่ามีกลุ่ม Trash Hero ผมอยากตั้งชื่อให้ว่า ผู้พิทักษ์โลกให้ปลอดขยะ ที่เน้นการปลูกฝังกลุ่มเยาวชน ให้มีจิตสำนึก ร่วมแก้ปัญหาขยะในชุมชน ชายหาด และพื้นที่สาธารณะ สถานประกอบการ ร้านค้าอะไรก็แล้วแต่ ด้วยทั้งหมดโดยมีองค์กรกลางรับบริจาคถุงมือ - ถุงขยะ - อาหาร เครื่องดื่มเล็ก ๆ น้อย ๆ จากผู้ประกอบการในพื้นที่ ฝากถึงผู้ประกอบการด้วย ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ ที่เกี่ยวข้อง เพราะฉะนั้นเมื่อให้บริการไป ประชาชนก็เอาไปใช้ด้วยความสะดวก ง่ายดาย ก็ไปสร้างภาระต่อไป ทำยังไงจะสร้างการมีส่วนร่วมได้ ระหว่างทั้งผู้ประกอบการ รวมความไปถึงผู้รับบริการด้วยต้องหากลไก วิธีการ ช่วยกันเถิดครับ ขยะเราจะได้หมดสิ้นไป หรือน้อยลง สามารถบริหารจัดการได้ สำหรับ เยาวชนจิตอาสาที่ได้สละเวลาและแรงกาย มาร่วมกิจกรรมกำจัดขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อม กิจกรรมนี้ เกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยของเรา ผมอยากให้เราถูกยกระดับดีขึ้นในเรืองการบริหารจัดการขยะ ในสายตาของต่างประเทศด้วย วันนี้ของเรามีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว นี่พียงคน 1 แสนคน สามารถกำจัดขยะได้ เกือบ 6 แสนกิโลกรัม ถ้าเราคำนวณถึงคนทั้งประเทศนี่ 50-60 ล้านคน นี่จะลดได้เท่าไร  เพราะฉะนั้นปัญหาขยะที่เป็นตัวเลขข้างต้นมา จะลดลงทันที ขอให้เริ่มตั้งแต่บัดนี้ ขอชื่นชม เป็นกำลังใจให้ประสบความสำเร็จ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อย่าให้ต้องบังคับใช้กฎหมาย หรือโทษกันไป โทษกันมาวันนี้ก็ต้องฟังกัน แล้วก็หารือกันสังคมช่วยกันได้ เพื่อสังคมและเพื่อส่วนรวมของเราเอง ผมก็เชื่อว่ากิจกรรมแบบนี้ จะเป็นหนึ่งในหลาย ๆ กิจกรรมที่จะเพาะพันธุ์ต้นกล้าแห่งความดีงามในเรื่องอื่น ๆ อีกด้วยให้กับบ้านเมืองและสังคมโลกต่อไป

ในส่วนของรัฐบาล การแก้ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเรื่องขยะพลาสติกนั้น อยากให้พี่น้องประชาชนช่วยกันพิจารณาดูให้ดีว่า การบังคับใช้กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวจะนำไปสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืนหรือไม่ ผมเชื่อว่าทุกคนรู้คำตอบดีว่า การแก้ปัญหาที่ยั่งยืนนั้น เราต้องอาศัยความ ร่วมมือกัน ทั้งประชาชน เอกชน ผู้ประกอบการอย่างที่ผมกล่าวไปแล้วข้างต้น รวมทั้งช่วยกันสอดส่องพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมาย เช่น การลักลอบนำขยะพิษ  ซากอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาในประเทศ ต้องแก้ไขให้ได้ ให้เร็วที่สุด การทิ้งขยะจากรถที่เดินทางบนท้องถนน ก็โยนลงมาจากรถตัวเองไปข้างทาง แบบนี้ถือว่าไม่รับผิดชอบเลย การนำขยะไปกองสุมกัน หรือทิ้งนอกพื้นที่ที่เตรียมไว้  บางทีภาชนะไม่พอ ก็ทิ้งอีเหละเขละขละ ไว้ข้างนอก ก็ต้องไปแก้กัน เจ้าหน้าทีต้องเตรียมภาชนะให้เพียงพอ มีการเก็บอะไรต่าง ๆ ตามห้วงระยะเวลา เราไม่สามรถจะแยกเก็บ วันนี้ เก็บพรุ่งนี้ วันที่ 2 เก็บอีกพวก อีกกลุ่มหนึ่ง อีกประเภทหนึ่งทำไม่ได้ในขณะนี้ ถ้าเราแยกไว้ก่อน เขาจะได้ไปหาทางว่าจะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าไม่ทำอะไรเลย แล้วให้เขามารับผิดชอบเก็บอย่างเดียว ผมว่าก็ยากเหมือนกันนะ ทั้งสองส่วน การทิ้งนอกพื้นที่ที่เตรียมไว้นี่สำคัญที่สุด หลักการสำคัญ ก็คือขยะเกิดที่ไหน ต้องกำจัดที่นั่น ดังนั้น การสร้างโรงขยะในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเราจะต้องกระจายไปกว่า 300 แห่งใน Cluster ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ประเทศเรามีท่าไร 77 จังหวัด ใช่ไหม รวมกรุงเทพ มหานครด้วย เพราะฉะนั้นเราก็ต้องแบ่ง Cluster ของเราทั้งหมด 77 จังหวัด ได้ 300 กว่าแห่ง ที่จำเป็นต้องมรการบริหารจัดการขยะ มีโรงขยะ เพื่อจะลดการขนย้ายขยะไปกำจัด ในพื้นที่ที่มีระยะทางไกล ไม่คุ้มค่า ต่อการลงทุน ของภาคเอกชน เพราะถ้าจะต้องสิ้นเปลืองทั้งการลงทุน สิ้นเปลืองทั้งการขนย้าย ระหว่างการขนย้ายก็ เรี่ย ราด ไปตลอดทาง วันนี้ก็ยังมีอยู่ ซึ่งเรื่องนี้แต่ละท้องถิ่นต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเป็นผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย การจะจัดตั้งอะไรขึ้นมา ก็ต้องขออนุมัติขึ้นมา ให้ถูกต้อง ไม่ใช่รัฐบาลมุ่งหวังจะทำเรื่องนี้เพื่อเอื้อประโยชน์ใคร เพราะว่ามีกฎหมายอยู่แล้ว วันนี้ต้องบูรณาการกฎหมายของทุกหน่วยงาน ทุกกระทรวงให้ได้  ทำงานร่วมกัน การลงทุนหรือการดำเนินการใด ๆ ก็ต้องทำให้ถูกต้อง โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ ตามที่ผมได้เคยกล่าวมาแล้ว เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา 
 
พี่น้องประชาชน ครับ
การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลนี้ เน้นการบูณาการ ทั้งในเรื่องแผนงาน โครงการ งบประมาณ เครื่องมือ ระบบต่าง ๆ เพื่อความเป็นเอกภาพ  สำหรับเตรียมการรับมือ และแก้ไขปัญหา ทั้งน้ำท่วม และน้ำแล้ง เราต้องพิจารณาไปด้วยกัน พร้อม ๆ กัน  ทั้งนี้ เราไม่อาจพร่องน้ำ หรือ ผลักดันมวลน้ำลงทะเลจนหมด หรือมากเกินไป โดยไม่คิดถึงวันข้างหน้า หากฝนขาดช่วง ฝนตกนอกเขื่อน เราก็อาจจะเกิดปัญหาภัยแล้ง แทนอุทกภัย เราต้องคำนวณการเก็บกักน้ำ ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้น้ำทุกมิติโดยเฉพาะภาคการผลิตที่   หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจ และน้ำกินน้ำใช้น้ำบริโภคในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคนอีกด้วย ประกอบกับการพยากรณ์ลมฟ้าอากาศเราต้องติดตามตลอด เพื่อจะบริหารจัดการได้เหมาะสม 3 ปีที่ผ่านมา เราถือว่าบริหารได้ดี จากท่วมมาก เคยท่วมมากก็เหลือเป็นท่วมน้อย จากท่วมนาน เป็นท่วมไม่นาน คือเราต้องไม่ให้เกิดความเดือดร้อนมากที่สุด เราได้พยายามทำให้เต็มที่ ทำอย่างไรพี่น้องประชาชนจะเดือดร้อนน้อยที่สุดปัจจุบัน สถานการณ์น้ำ ภาคเหนือและภาคกลาง ที่เชื่อมโยงกันไม่มีปัญหาด้วยหลากหลายมาตรการ เช่น การกำหนดให้พื้นที่ 12 ทุ่ง พื้นที่ภาคกลาง สำหรับรองรับน้ำ เป็นแก้มลิงที่สามารถส่งเสริมให้ทำประมงเป็นอาชีพเสริม ทดแทนการทำนาได้ ในช่วงที่มีอุทกภัย หรือน้ำมาก สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ก็เริ่มคลี่คลาย ด้วยระดับน้ำในแม่น้ำโขงเริ่มลดลง แต่เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร ก็ยังมีวิกฤตอยู่ ต้องเร่งระบายออกในปริมาณที่เหมาะสม ถ้าระบายมากเกินไป ก็ไหลท่วม ประชาชนก็เดือดร้อนมาก ต้องมีเวลาในการเตรียมตัวนะครับ การอพยพ การเคลื่อนย้าย คน สัตว์ พืช ต่าง ๆ เหล่านี้  มีมาตรการทุกมาตรการ ที่จะต้องเป็นแผนเผชิญเหตุ ในการเข้าสู่ขั้นตอน การป้องกัน การฟื้นฟู การเยียวยา ต่อไป เพื่อจะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และชาวเกษตรกร ให้ได้
 
ส่วนภาคตะวันตกนั้น การบริหารจัดการน้ำและสถานการณ์น้ำ เขื่อนแก่งกระจาน เขื่อนวชิราลงกรณ์ ปัจจุบันยังคงอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง ระดับน้ำสูง เราคงต้องเฝ้าติดตาม แล้วก็เตรียมปฏิบัติการตามแผนเผชิญเหตุ ซึ่งมีประชาชนเกี่ยวข้องในทางปฏิบัติด้วย เราต้องมีการเร่งระบายน้ำลงทะเล ให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนด้วย และใช้ข้อมูลทางสถิติที่ผ่าน ๆ มาเป็นพื้นฐานในการพร่องน้ำ ในช่วงที่ผ่านมานั้น  ระดับน้ำในเขื่อนแก่งกระจานสูงขึ้น เราก็ได้มีการพร่องน้ำล่วงหน้าแล้ว ถึง 42% โดยที่ไม่มีใครเดือดร้อน แต่เมื่อปริมาณฝนตกมาเมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา ฝนตกมาถึง กว่า 100 มิลลิเมตร ลงมาวันเดียวเพิ่มปริมาณน้ำจนน้ำเต็มเขื่อน นั่นคือสถานการณ์ของธรรมชาติของเรา ซึ่งเราหยุดธรรมชาติไม่ได้ แต่ต้องมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม อาจจะต้องมีการท่วมบ้าง เพราะการระบายน้ำก็ต้องมากขึ้น ถ้าปริมาณน้ำเติมเข้ามาอีก อันนี้คือสิ่งที่ทุกคนต้องเข้าใจในข้อเท็จจริง ไม่อย่างนั้นถ้าทุกคนบอกเดือดร้อนหมด แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น อย่างไรก็มีปัญหา เราทำอย่างไรจะลดความเดือดร้อนให้มากที่สุด แล้วทำอย่างไรจะฟื้นฟูให้ได้มากที่สุด ก็ต้องดูแลทั้งเกษตรกร ทั้งทำไร่ทำนา ชาวประมง เรื่องบ้านช่องอะไรต่าง ๆ ก็ต้องดูหมด รัฐบาลก็มีมาตรการอย่างนี้อยู่แล้ว เรามีประสบการณ์มามากมาย จากน้ำท่วมปี 54 วันนี้เราก็ต้องบริหารจัดการน้ำให้ได้ อย่างที่ผมได้กล่าวไปแล้วเรื่องหลักการในการ มีการบริหารที่เป็นเอกภาพ เป็นองค์รวม แล้วให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาทำงานร่วมกัน วันนี้เราก็ได้เสริมคันกั้นน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อป้องกันน้ำล้นตลิ่ง แต่ก็ขึ้นกับปริมาณน้ำที่จะต้องลงมาอีก เราก็ต้องเตรียมความพร้อมตรงนี้ไว้ด้วย และมีการขุดลอกท้ายน้ำแม่น้ำเพชรบุรี รวมทั้ง เร่งขุดคลองระบายน้ำ D9 เพื่อให้น้ำระบายได้เร็วขึ้น วันนี้ก็สามารถระบายน้ำไปได้ระดับหนึ่ง ก็ยังมี 1 หรือ 2 เส้น ถ้าทำได้ เราก็จะสามารถพร่องน้ำได้มากกว่านี้ โดยที่ไม่ผ่านบ้านเรือนประชาชนมากนัก แล้วน้ำก็ไม่สูงจนเกินไป  ที่จะเอ่อล้นท่วมอะไรต่าง ๆ อย่างเช่นวันนี้ ก็ขอความร่วมมือจากภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของที่ดินด้วย ในเรื่องของการสร้างเขื่อน สร้างแก้มลิง หรือทางระบายน้ำ เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลอีกด้วย ทุกภาคจำเป็นต้องสร้างเพิ่มเพื่อจะระบายน้ำ หรือพร่องน้ำจากภาคตะวันตก ตะวันออก ไปให้ได้โดยเร็ว ไม่ว่าจะลงทะเล หรือเป็นเส้นทางอื่น ๆ ที่ไม่ให้ไหลเข้าท่วมตัวเมือง เข้าพื้นที่เศรษฐกิจ โรงพยาบาล การสัญจรไปมา ถนนหนทาง ต้องมีทางเบี่ยงทั้งหมด วันนี้เราทำได้ระดับหนึ่งจากการบริหารจัดการน้ำ จาก 4 ปี ของเรา บางอันยังทำได้ไม่สมบูรณ์ บางอันยังทำไม่ได้ เพราะยังไม่ผ่านการพิจารณา หรือการทำประชาพิจารณา บางทีก็ติดอยู่ไม่กี่ราย ติดอยู่ระยะทางไม่เท่าไร ขณะเดียวกัน อีกเกือบ 50 กิโล ทำไปแล้วขาดอยู่ 3- 4 กิโลต้น ๆ อะไรทำนองนี้  ถ้าทำต่อไม่ได้ ก็ไปไม่ได้ เช่นเดียวกัน การสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ รถไฟทางคู่ ถนน เหล่านั้น เราจำเป็นต้องให้ครบทั้งสาย แล้วทำให้เกิดการบายพาสไปให้ได้ ไม่ใช่ขึ้นแล้วลง แล้วไปขึ้นใหม่ ก็ติดทั้งหมด ทั้งข้างบน ข้างล่าง วันนี้ก็ได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคม แล้วก็ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การทางพิเศษ กรมทางหลวงได้ไปดูเรื่องนี้ว่าทำยังไง จะบรรเทาความเดือดร้อนด้านการจราจรไปด้วย ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่มีบายพาสไป แต่ไม่ต่อเนื่อง ไม่ยาวไป เพราะบางคนก็ไม่ต้องการจะลงมา จะไปต่อเลย แต่ต้องลงมาข้างล่าง ข้างล่างก็ติด ข้างบนก็ติดด้วย แล้วทำให้ทางด่วนพิเศษติดไปทั้งหมด แล้วก็ติดทั้งสาย ต้องคิดตรงนี้

ปัจจุบันเราได้ตั้งศูนย์เฉพาะกิจชั่วคราวในภาวะวิกฤต ในเรื่องน้ำเพื่อบูรณาการข้อมูล  การคาดการณ์สถานการณ์น้ำ สำหรับจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการตามช่วงเวลา เพื่อจะรองรับทุกระดับของความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงแจ้งเตือนพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบให้ชัดเจน อาทิ การเตรียมการช่วยเหลือ การเคลื่อนย้ายประชาชน บางทีท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต้องมีการตัดสินใจเองด้วย ก่อนที่น้ำจะมา แล้วก็กว่าที่หน่วยงานจกภายนอก หรือหน่วยงานระดับบนจะลงมาช่วยได้ทันก็เสียหายไปก่อนแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องดูให้ละเอียด ทุกคนก็ต้องช่วยดูแลประชาชน และไปกับรัฐบาลด้วย แล้วเร่งระบายน้ำ เราก็มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดเสี่ยง การติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เราก็มีจำนวนมากพอสมควร วันนี้ก็ทยอยใช้ดำเนินการไปแล้วที่เพชรบุรี เราก็เตรียมพร้อมที่เหลือไว้ ในพื้นที่อื่น ๆ อีกด้วย ในครั้งที่แล้วนี่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเราก็เอาไปใช้ด้วย การระบายน้ำสู่แม่น้ำโขง ทั้งนี้ก็เพื่อจะเร่งระบายน้ำในจุดที่มีการระบายน้ำได้ช้า น้ำที่ออกทะเล วันนี้ก็ต้องไปดูระดับน้ำในทะเลด้วย มีน้ำขึ้น น้ำลง วันหนึ่ง 2 ช่วง เพราะฉะนั้นก็ต้องไปดูด้วย ไม่ใช่ว่ารอจนกระทั่งน้ำขึ้น แล้วระบายตอนนั้นก็ไม่ได้ ช่วงไหนที่น้ำทะเลไม่หนุน อาจจะมีการระบายมากหน่อย อาจมีผลกระทบมากสักนิดหนึ่ง เหล่านี้ต้องทำความเข้าใจให้ได้ การเตรียมพร้อมยานพาหนะขนย้ายเครื่องจักรกล - รถขุดตัก ประจำในพื้นที่ ให้พร้อมที่จะขุดเปิดทางน้ำได้ทันที ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ไปกระทบต่อเขตเมืองมากนักนะครับ การหน่วงน้ำเหนือเขื่อน การเร่งระบายน้ำหน้าเขื่อน ท้ายน้ำ แล้วเราจะต้องดูจังหวะการขึ้นลงของน้ำทะเลตามที่ผมกล่าวไปแล้ว เพื่อจะตัดเข้าระบบชลประทานฝั่งซ้าย -ฝั่งขวา การผันเข้าคลองระบาย D9 ที่ผมพูดถึง ที่เพชรบุรี เรื่องการเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือผมพูดไปแล้ว แผนเผชิญเหตุต่าง ๆ  แล้วถ้าหากว่าในช่วงต่อไปนี้ วันที่ 10 ไปแล้ว ถึงวันที่ 15 มีฝนเติมเข้ามาอีก มีมรสุมลูกใหม่เข้ามา

วันนี้รอบบ้านเราโดนหมด ทุกประเทศเลย เราก็ช่วยเหลือไปทุกประเทศ เราก็เดือดร้อนไปด้วยเช่นเดียวกัน แต่ให้นึกเสมอว่า เรายังเบากว่าเขา เราก็เป็นแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ บรรพบุรุษของเราได้เลือกพื้นที่ของเราได้เหมาะสม ในการทำการเกษตร แต่อย่างไรก็ตามเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำอยู่บ้าง เป็นพื้นที่เป็นพื้นราบเยอะ เมื่อฝนตกมากมาก ก็อยู่ที่เราจะบริหารจัดการน้ำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ และให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด มีสมมติฐานที่ตั้งไว้ การเคลื่อนย้ายเตรียมการไว้ล่วงหน้า ขอเตือนไว้ทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอยู่แล้วเดิม มีจากภัยธรรมชาติ ฝนตกหนัก แผ่นดินถล่ม ถ้าเราหลีกเลี่ยงได้ก็ต้องอพยพออกไปก่อน ไม่ต้องรอใครเขามาสั่งตัวเองก็รู้ตัวเองอยู่แล้ว ถ้าใครอยู่ใกล้เขา ดูซิครับว่าน้ำเยอะแค่ไหน ถ้าตก 3 วัน 3 คืน แล้วยังไม่ย้าย แล้วอยู่ใกล้เขา โอกาสพร้อมที่จะได้รับบาดเจ็บสูญเสีย เราต้องป้องกันตัวเอง ได้ก่อน แล้วรัฐบาลก็จะบริหารจัดการ ตั้งแต่ต้นทางจรดปลายทาง ให้ได้ ทั้งก่อน - ระหว่าง - หลัง การเกิดสาธารณภัยต่าง ๆ การแจ้งเตือนภัยของทางราชการ และ การสื่อสารกับพี่น้องประชาชน จะต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องนี้ก็ขอให้ดูแลในเรื่องประปา ในเรื่องน้ำใช้บริโภคบางทีน้ำท่วมระบบประปาเสียหายใช้ไม่ได้ ไฟฟ้าก็ใช้ไม่ได้  บางครั้งต้องมีการเตรียมการเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นเทียนไข ตะเกียง ตะเกียงน้ำมัน อะไรเหล่านี้ แต่ต้องระวังเรื่องอัคคีภัยด้วย ก็ขอให้มีการเตรียมพร้อมของประชาชนไปด้วย และการติดต่อสื่อสารในช่วงที่การสื่อสารขาดเช่น โทรศัพท์ใช้ไม่ได้จะทำอย่างไร หอกระจายข่าวใช้ไม่ได้จะทำอย่างไร ท่านต้องเตรียมการของท่าน การเตรียมออกข่าวแจ้งทางวิทยุปรกติ AM FM  ก็ต้องเตรียมการให้พร้อมว่าจะใช้ได้อย่างไร การเตรียมการอพยพคน ใครจะเฝ้าบ้าน ใครจะไปอยู่ในพื้นที่ที่เตรียมการให้ไปพักพิงอยู่ท่านต้องแยกแยะเหล่านี้ให้ออก เราจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ ขอให้ฟังทางราชการกำหนดอย่างใกล้ชิดด้วย

ในช่วงที่ผ่านมา ก่อนที่ผมได้ลงพื้นที่ จ.เพชรบุรี นั้นก็ทราบว่ามีการรายงานข่าว อาจจะเกินความเป็นจริงอาจจะโดยความตั้งใจ ไม่ตั้งใจ เข้าใจผิด หรือไม่เข้าใจ เช่น การระบายน้ำผ่าน spill-way จนเกิดความตื่นตระหนก จนเกิดมโนภาพที่น่ากลัวจนหลายคณะทัวร์ยกเลิกที่พัก และการเดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ชายหาดชะอำ หัวหิน จนเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ประชาชนก็ไม่มีความสุข ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ไม่ได้เป็นอย่างนั้น มีกิจกรรม สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ อีกมากมายในพื้นที่ ถ้าบอกทั้งจังหวัด ก็เดือดร้อนทั้งจังหวัด แต่มันเป็นบางพื้นที่เท่านั้นเอง ท่านก็ต้องชี้แจงให้เข้าใจว่าตรงไหนมันท่วม ตรงไหนมันเสี่ยง ตรงไหนที่ไม่มีฝน หรือยังปรกติอยู่ เพื่อที่นักท่องเที่ยวจะได้ไป และได้เพิ่มอาชีพรายได้ให้กับเขาท่านทำลายเศรษฐกิจเขาไม่ได้ ชาวเพชรบุรีเขาฝากมา แล้วรวมความถึงจังหวัดอื่น ๆ ด้วย เพราะเราคงต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวของชุมชน การท่องเที่ยวในประเทศ ท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ ขอให้ความมั่นใจในการบริหารจัดการของภาครัฐด้วย หน้านี้เรารู้อยู่แล้ว หน้าฝน เป็นช่วยโลว์ของท่านอยู่แล้ว  ท่านอย่าทำให้ทุกอย่างมันโลว์ไปกว่าเดิมเลย  ก็ขอร้องสื่อทุกสื่อด้วย  ช่วยแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องด้วย ผมไม่ได้ตำหนิ เพียงแต่แนะนำให้ทราบว่าควรจะทำอย่างไร

 เรื่อง พ.ร.บ. ข้าว เหมือนกัน ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ร่างขึ้นมานั้นอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาในประเด็นที่ว่า เราจะมีคนดูแลการประกอบการข้าวได้อย่างไร ทั้งเกษตรกร ผู้ค้าข้าว เพราะมันเป็นห่วงโซ่เดียวกัน ต้องดูแลทั้งหมด ไม่ว่าในเรื่องของการผลิต ในการแปรรูป ในการตลาด มันต้องไปดูว่ากลไกที่มีอยู่วันนี้มันเพียงพอหรือยัง เรามีกลไกในการดูแลอย่างเป็นระบบอยู่แล้ว ผมก็เรียนให้ทราบเท่านั้นเองว่า เรามีกรมการข้าว ที่จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวของประเทศ  มีการสนับสนุนการศึกษา และวิจัยพันธุ์ข้าว การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี รวมถึง การจัดการผลผลิต ทุก ๆ ปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการผลิตนั้น มีการขึ้นทะเบียน การปลูกข้าวในทุกจังหวัด กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร ทุกอย่างมีข้อมูลทั้งหมด เรียกว่าบิ๊กเดต้าเข้ามา เพื่อจะมาบริหารรวมกันเรียกว่าการทำแผนการผลิตข้าวครบวงจร โดยมีคณะกรรมการฯ ทั้งภาครัฐ  เช่น กระทรวงพาณิชย์ ปลายทางภาคเอกชน เช่น ตัวแทนจากสมาคมเกษตรกร  สมาคมโรงสี มาหารือร่วมกันเพื่อวางแผนการผลิตไปจนถึงการตลาด ตั้งแต่การกำหนดอุปสงค์ - อุปทาน ช่วงเวลาการผลิต บางครั้งอาจจะต้องมีการผลิต เหลื่อมเวลากันจากเหนือมาใต้ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารจัดการน้ำ ออกมามากเวลาเดียวกัน ทั้งหมดปลูกพร้อมกัน นั่นคือปัญหา 

วันนี้ราคาข้าวก็สูงอยู่แล้ว ถ้าสมมติว่าเราปลูกพร้อมกันทั้งหมด แล้วปลูกหลายขอบเข้ามาอีก ข้าวมากแล้วจะขายไม่ออกราคาก็จะลดลง นี่ผมเป็นห่วงนะ ตอนนี้ก็มีการผลิตข้าวมากขึ้น ก็ขอให้ระมัดระวังด้วย แล้ววันหน้าเราจะเอาเงินที่ไหนมา ท่านต้องไปดูว่า เอ๊ะวันนี้สิ่งของต่าง ๆ ที่มันดีไม่ว่าจะเกษตรกรรม ไม่ว่าจะประมง ไม่ว่าจะปลูกข้าว  ปลูกยาง ปลูกผลไม้  ทุกอย่างราคามันดี ค่อนข้างดี  เพราะอะไร  เพราะปริมาณของเรายังไม่มากนัก เมื่อมากขึ้นไป การแข่งขันมันทำได้ยากการส่งออกไปต่างประเทศ มันก็มีปัญหาหมด วันนี้เรื่องข้าวเราบริหารโดยคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน วันนี้มีการปรับปรุงระเบียบ นบข.มากมาย ไม่ใช่เป็นแบบเดิม มีความเข้มงวดในทุกมิติ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ตั้งแต่การบริหาร การผลิต ไปถึงการเพิ่มมูลค่าสร้างนวัตกรรมเรื่องข้าวออกมาไปถึงการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศคำนวณความต้องการต่าง ๆ มาทั้งหมดแล้วจึงเป็นแผนออกมาว่าเราจะปลูกข้าวกันอย่างไร วันนี้เรามีกรอบนโยบาย แผนงานต่าง ๆ  มีมาตรการทั้งระบบ มีการบูรณาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีตัวแทนจากสมาคมผู้ส่งออกข้าว มาด้วย  นักวิชาการ เข้าร่วมหารือใน นบข. ด้วย ในการจะกำหนดแผนงานโครงการมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกรสถาบันเกษตรกรโรงสีผู้ค้า และผู้ส่งออกข้าวการลดต้นทุนปลูกข้าว เพิ่มปัจจัยการผลิต ลดการลงทุน การสนับสนุนพันธุ์ข้าว ในส่วนของรัฐ ในส่วนของการพัฒนาพันธุ์ข้าว ในส่วนของประชาชน ในส่วนของเกษตรกรเองด้วย   เพื่อให้เกิดการการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นการที่ท่านพิจารณาในเรื่องของความจำเป็นของ พ.ร.บ. ข้าว ก็ต้องหารือกันต่อไป  จะต้องดูถึงความซ้ำซ้อน ไม่ซ้ำซ้อน มันดีกว่าหรือไม่อย่างไร แล้วก็ขอให้รับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย ว่ามันมีปัญหาหรือเปล่า ครบถ้วนหรือยัง ถ้ายังไม่ครบจะทำอย่างไร  จะมีหรือไม่มี เป็นเรื่องของการพิจารณาด้วยหลักการและเหตุผลที่ครบถ้วนไปดูตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง  สิ่งที่ผมเน้นย้ำอย่างเดียว ดูแลต้นทางให้มากที่สุด เกษตรกรผู้ปลูกข้าว และดูในเรื่องของตลาดนำการผลิตดีมานด์ - ซัพพลาย อุปสงค์ - อุปทานให้ได้ ทำอย่างไรให้ประชาชนมีรายได้สูงขึ้น

เรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วันนี้น่ายินดี ธนาคารโลกประกาศผลการจัดลำดับความสามารถด้านโลจิสติกส์ ประจำปี 2561 โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 32 จาก 160 ประเทศทั่วโล  ดีขึ้น 13 อันดับ ขณะที่เราวางแผนไปแล้ว บางอันทำ บางอันอยู่ในระหว่างการเตรียมการ บางอย่างเป็นอนาคต เขายังให้เราขึ้นมาถึงขนาดนี้ ไม่ใช่ว่าเราทำเสร็จไปทุกอย่าง แต่เขาเห็นความพัฒนาในช่วงนี้มันดีขึ้น 13 อันดับ ถือเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน และอันดับ 7 ของเอเชีย อันดับ 2 ของอาเซียน ก็ต้องไปดูอีกว่าประเทศเรามันใหญ่แค่ไหน  ประเทศอันดับ 1 เขามีพื้นที่แค่ไหน เรามีแค่ไหน เราได้มาอย่างนี้ ไม่ได้มาโดยง่าย แต่เป็นผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ของการบริหารงานอย่างมียุทธศาสตร์ และเอาจริงเอาจังของรัฐบาล และทุก ๆ ฝ่ายที่ร่วมมือกัน 2 ปีที่ผ่านมา เราได้ขับเคลื่อนแผนงาน และจัดสรรงบประมาณในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ จนสามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ เห็นอนาคต ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยของเรา รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง หรือแม้กระทั่งเส้นทางที่ไม่เคยมีรถไฟวิ่ง ก็ต้องมีแผนงานทั้งหมด ท่าเรือ ขยายสนามบินเพิ่มเติม อะไรต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ได้รับการพิจารณาการประเมินไปด้วย แสดงว่าแผนที่เราทำไว้ สิ่งที่เราทำวันนี้ การจัดทำอนาคต ได้รับการตอบรับที่ดี ก็ขอให้ทุกคนเข้าใจด้วย  ขณะเดียวกันไม่ใช่คิดจะทำ มีเงิน หาเงินมา เราต้องดูกฎหมายด้วย กฎหมาย กฎระเบียบ ให้สอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของโลกอีกด้วย ประชาชนต้องเห็นด้วยให้ความร่วมมือ เพราะการทำเส้นทางเหล่านี้เป็นที่ของเอกชนเกือบทั้งสิ้น เราไม่ละเลย ต้องคำนึงถึงความสมดุลของความเจริญทั้งด้านวัตถุ และจิตใจไปด้วย รักษาความสมดุลทางธรรมชาติด้วย วันนี้ก็ขอให้อย่าเป็นกังวล รัฐบาลกังวลอยู่แล้วเรื่องของการลงทุนต่าง ๆ ที่มีตัวเลขอาจจะดูมากมาย แต่เรามีกฎ กติกา กฎหมาย ควบคุม ไม่ให้เกิดหนี้สาธารณะ เกินกว่าร้อยละ 60 ตามที่ พรบ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 ได้กำหนดไว้ การลงทุนต่าง ๆ จำเป็นต้องมีเงินลงทุน ทั้งจากการคลังหรือภาครัฐ บวก PPP รัฐร่วมเอกชน หรือ เอกชนลงทุนเอง แต่ต้องมีทั้ง 3 แบบร่วมกัน รัฐบาลลงทุนคนเดียวไม่ไหวแล้ว ไม่ได้ ทั้งของเก่าของใหม่ วันนี้เราต้องทำให้มันชัดเจนขึ้น จำเป็นต้องกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์บนที่ดิน เพื่อประกอบกิจการอย่างอื่น อันเป็นประโยชน์ เป็นรายได้ทั้งต่อรัฐ และประชาชน และผู้ลงทุนด้วย ถ้าเราไม่ดำเนินการแบบนี้ วันหน้า ผลประโยชน์ระยะยาวของรัฐก็ไม่เกิดขึ้น ยิ่งจะลดลงไปเรื่อย ๆ ประชาชนจะไม่ได้รับบริการที่เพียงพอ ต้องฝากให้ช่วยกันคิดด้วย เราไม่ได้มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์เฉพาะนายทุน อย่างที่ได้กล่าวอ้างกันในวันนี้  มีการประมูล การจัดซื้อจัดจ้าง หลายลักษณะขออย่ามาบิดเบือนกันเลย ไม่อย่างนั้นเกิดขึ้นไม่ได้ สิ่งใหม่ ๆ กำลังคิดกำลังเกิด แต่หลายคนก็ไม่ไว้ใจ เรื่องไม่ไว้ใจ เรื่องการทุจริตผิดกฎหมาย คอรัปชั่น ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง ก็ต้องรับผิดชอบกันไป ตามลำดับความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานที่มีอยู่ รวมถึงการลงทุนใน EEC หรือพื้นที่อื่น ๆ ด้วย ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น ในระบบของโลกใบนี้ การค้าเสรี เราหลีกเลี่ยงการลงทุนจากนักลงทุนไม่ได้ และรัฐบาลก็ไม่ควรต้องแบกภาระมากมายเช่นเดิมอีกต่อไป เราต้องรับภาระเรื่องของรัฐสวัสดิการ อีกมากมายที่เราทำมาแล้วในหลาย ๆ เรื่อง ทำยังไงถึงจะดีขึ้นล่ะ ทำไมถ้าเราไม่ลงทุนเพิ่ม มันก็ไม่มีรายได้มาเติมอีก แล้วเรารายได้จากที่ไหน ฉะนั้นเรื่องใดก็ตามที่ใช้เงินไปแล้วไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่ม ไม่ทันต่อความต้องการของประชาชน วันนี้เราต้องทำใหม่ทั้งหมด ที่เรานำมาใช้นั้นเป็นหลักการที่ต่างประเทศใช้มาแล้วทั้งสิ้น เพื่อลดภาระของรัฐบาลแล้วก็มีผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่า และช่วยแก้ปัญหาในระยะแรก ซึ่งไม่เกิดผลกำไรหรอกครับ เส้นทางใหม่ ๆ เหล่านี้ ก็ต้องทำยังไงให้ผู้ที่เขาประกอบการได้มีเงินทุนที่จะมาหมุนเวียนในการชำระหนี้ ให้เค้าไปด้วย ต้องคิดแบบนี้นะครับ ถ้าเราไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันเลยมันก็เกิดไม่ได้ทั้งหมด ไม่เกิดแรงจูงใจในการลงทุน และข้อสำคัญ ทุกอย่างยังเป็นของรัฐเมื่อระยะเวลาที่กำหนดไว้มันก็กลับมาเป็นของรัฐทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นใครลงทุนก็ตาม รัฐต้องได้ประโยชน์ ประชาชนได้รับการบริการ และ สามารถดูแลประชาชนให้เข้าถึงในเรื่องของรัฐสวัสดิการ ต่อไปในวันหน้าด้วย สังคมผู้สูงวัยอีกด้วย
         
สำหรับเรื่องการแก้ไขปัญหาจราจร ในกรุงเทพมหานคร เราก็ต้องแก้ปัญหาทั้งระบบ รถไฟฟ้า รถเมล์ ส่วนนอก กทม. รถไฟ รถไฟฟ้า ที่อาจต้องมีเพิ่มขึ้น ถนนหนทาง ท่าอากาศยาน ท่าเรือ จะเชื่อมโยงกันได้อย่างไร ครอบคลุมการขนส่ง ทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ เราต้องสร้างเครือข่าย ให้บูรณาการร่วมกันสอดประสานกัน ต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง ใช้งบประมาณ หางบประมาณมาสร้าง รวมทั้งจุดเชื่อมด้วย แต่ปัญหาอุปสรรคของประชาชนผู้สัญจร และในเรื่องของการลงทุน  ไม่ง่ายนัก ทุกรัฐบาลต้องทำ ทำให้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการก่อสร้าง วันนี้เราต้องมาเร่งก่อสร้างในยุคนี้โดยเฉพาะในเขตเมือง และ กทม. ที่อาจจะเป็นเหตุให้รถติดในหลายเส้นทาง ก็พยายามแก้ปัญหาให้อยู่อย่างเต็มที่ เราต้องสร้างความเชื่อมโยง ในลักษณะไร้รอยต่อไม่ใช่ทำตรงนี้ไปตรงโน้นจบแค่นั้นแล้วมาติดข้างล่าง ไม่ได้ ผมได้สั่งการไปแล้ว ให้เกิดการต่อเนื่อง การข้ามไม่ต้องลงข้างล่าง คนที่เค้าไม่ต้องการลงจะต้องบังคับให้ลงแล้วไปขึ้นใหม่ ก็เสียเงินเสียทอง 2-3 ต่อ ต้องคิดแบบนี้ ขอให้ทุกคนอดทน เพื่อความสะดวกสบายในวันข้างหน้า วันนี้ก็ กทม. ก็กำลังจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อน ในกรุงเทพมหานคร ในการสัญจรประจำวันของพี่น้องประชาชนอยู่ เรื่องที่จอดรถต่าง ๆ รถใต้ดิน ผมก็พูดมาหลายทีแล้วก็ยังไม่เกิดขึ้นเท่าไหร่ เกิดขึ้น น้อยมาก ในส่วนของการก่อสร้าง สถานประกอบการธุรกิจ ศูนย์การค้า ต้องคำนึงถึงที่จอดรถด้วย ท่านต้องมีที่จอดรถยนต์ไม่พอ แล้วจอดล้นมาข้างล่าง คนที่สัญจรไปมาก็ติดไปหมด มันต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อีกเรื่องที่สำคัญก็คือเรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปตำรวจ และระบบราชการ หรือการปฏิรูปตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ข้อ เราก็ต้องมีการวางแผน ในการจัดทำแผนแม่บท แผนแม่บทในการปฏิรูปนะครับ ทุกอย่างต้องมีแผนหมด และทยอยดำเนินการเป็นเรื่อง ๆ บางเรื่อง 1 ปี 2 ปี 3 ปี 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี วาดภาพอนาคตให้เกิดขึ้น โครงสร้างต่างๆ จะเป็นอย่างไร ถนนหนทางจะเป็นอย่างไร เศรษฐกิจการลงทุนจะเป็นอย่างไร ชุมชนเมือง ชนบทจะเกิดขึ้นได้อย่างไร เหล่านี้ต้องมองอนาคตยาวไกล แล้วเราค่อย ๆ เดินตามนี้ออกไป นั่นแหละเค้าเรียกว่าแผนแม่บท การปฏิรูปก็อยู่ในแผนแม่บท ทั้งหมดนั้นต้องมีเป้าหมายอันเดียวกัน  ที่เราต้องการ แล้วไปสู่การบริหารจัดการที่มีการดำเนินการของงบประมาณของหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่อันนี้ทำติดของอันนี้ ติดของอันโน้น ก็ติดไปหมด วันนี้รัฐบาลเต็มที่ที่จะแก้ไขปลดล็อคสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้กฎหมายเดิมมีอยู่มากที่ต้องแก้ไข หลายกระทรวงก็ไม่ได้รับการแก้ไขเหมือนเดิม เราก็ต้องมาแก้วันนี้ สิ่งที่ทำวันนี้เรื่องกฎหมายไม่ได้ทำเพื่อรักษาอำนาจรัฐบาล ทำเพื่อรักษาอำนาจประชาชนในการเลือกตั้ง รัฐบาลเข้ามาเลือกตั้งสส.เข้ามาเป็นรัฐบาล อะไรที่ผมทำได้ก็ให้ทำ เว้นแต่ว่าเราไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง ไม่มีการปรับปรุงตนเอง ไม่อยากจะเหน็ดเหนื่อยก็แล้วแต่ ผมไม่อยากให้มีการบิดเบือน จนเราเริ่มต้นอะไรก็ไม่ได้ สร้างความขัดแย้งในภาครัฐ ประชาชนโดยไม่จำเป็น เราจะเดินก้าวที่สอง ก้าวที่สาม ก้าวที่สี่ เราต้องเดินก้าวหนึ่งเสมอ ไม่อย่างนั้นหกล้ม ในเรื่องการเป็นประชาธิปไตยซึ่งเป็นเป้าหมายของเรา นั้นการเลือกตั้งก็เป็นกระบวนการหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญ แม้จะไม่ใช่คำตอบทั้งหมดอย่างที่ประชาชนให้ความคิดเห็นมากับการตอบแบบสอบถามที่ผมออกไป 10 ข้อ แต่ทั้งนี้เพื่อให้การเลือกตั้งที่จะมาถึง เป็นไปด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม เราก็จำเป็นต้องสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะพรรคการเมือง นักการเมือง ที่มีความคิดเห็นที่เห็นว่าประเทศไทยควรต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว

วันนี้เห็นหลายคน หลายฝ่ายย้ายกันไปย้ายกันมา ก็เป็นเรื่องของท่าน แต่ถ้าทุกคนคิดว่าการย้ายมาจะทำให้เกิดความร่วมมือกันมากขึ้นในการทำงาน ซึ่งผมคิดว่าในวันหน้ารัฐบาลใหม่ที่เข้ามา ก็คงต้องทำตามกติกา กฎระเบียบ กฎหมายมากมาย เราคงทำอย่างเดิมไม่ได้อีกต่อไป ในกรณีที่ทำให้เกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจจากประชาชน เราทำไม่ได้อีกแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องปลูกฝังคุณธรรม ประกอบกับให้ความรู้  ความเข้าใจที่ลึกซึ้งและถ่องแท้ อย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่ทำได้วันนี้เลย ก็คือทุกคนต้องเตรียมการ การรักษาสิทธิ์ของตนด้วยการออกมาใช้สิทธิ์ แล้วก็ต้องมีความรู้ว่าใช้อย่างไร จะเกิดผลอย่างไร ช่วยกันรักษากฎหมาย ไม่ยอมให้ใครละเมิดกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และ ไม่เพิกเฉยต่อพฤติกรรมการซื้อสิทธิ์ - ขายเสียง การมาเลือกตั้งตั้งแต่กาบัตรแล้วจะเป็นอย่างไร ไม่กาใครเลยแล้วจะเกิดอะไรขึ้น หรือคนต่างจังหวัดเลือกตั้งมาคนในกรุงเทพฯไม่เลือก ไม่ออกไปเลือกตั้งเพราะไม่ชอบการเมือง ก็เป็นแบบเดิมทั้งหมดนะครับ ทุกคนต้องร่วมมือกัน เดินหน้าประเทศของเราไปได้ ไม่ว่าจะใครก็ตาม วันนี้เราก็ต้องมาดูในเรื่องของผู้ที่จะมาร่วมมือกันในวันข้างหน้า ผมเองก็ต้องร่วมมือ ด้วยการไปเลือกตั้ง ไปเลือกตั้งในคูหาเหมือนท่านเหมือนกัน ผมก็ต้องการรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลเข้ามาบริหารประเทศ อย่างมียุทธศาสตร์ อย่างที่เราต้องการ

สุดท้ายนี้... แม้ว่าผมจะพยายามสื่อสารกับพี่น้องประชาชนในทุกครั้งที่มีโอกาส ทั้งในรายการนี้ ทุกคืนวันศุกร์ หรือการให้สัมภาษณ์สื่อฯ ในประเด็นต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องทำให้เกิดความชัดเจน และถูกต้อง  แต่ก็ยังคงปรากฏว่ามีข้อมูลข่าวสารบางส่วนที่ผิดเพี้ยน - บิดเบือน ฟังไม่จบ หรือไม่มีข้อมูลพื้นฐาน เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆผมก็ขอเน้นย้ำช่องทางสื่อสาร ที่จะเป็นคำตอบสุดท้าย ที่เชื่อถือได้กรณีที่ท่านยังสงสัยอยู่ เรามีช่องทางของรัฐบาลและ คสช. ขอให้ไว้เนื้อเชื่อใจเถอะครับ  ไลน์แอดข่าวจริงประเทศไทย โดยกรมประชาสัมพันธ์  facebook สายตรงไทยนิยม โดยสำนักนายกรัฐมนตรี และ ไทยคู่ฟ้าโดยสำนักโฆษกฯ รวมทั้ง GNEWS โดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (สพร.) เป็นต้น ซึ่งข้อเท็จจริงที่ปรากฏนั้น เกิดจากการบูรณาการกันอย่างเป็นระบบ ถามมาตอบไปด้วยข้อมูล ด้วยหลักการ ด้วยผล ด้วยกฎหมาย ท่านต้องเข้าใจคำว่ากฎหมายด้วย แล้วยังมีรายการเดินหน้าประเทศไทย โดย คสช. และ ความร่วมมือจากสถานีวิทยุโทรทัศน์ทุกช่อง อย่าเพิ่งเบื่อ เพราะเรากำลังเปลี่ยนแปลงประเทศของเรา เรากำลังสร้างประวัติศาสตร์ของเรา เพราะฉะนั้นวันนี้ผมก็ได้ให้มีการปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รูปแบบที่น่าสนใจยิ่งขึ้นในวันเสาร์นี้ เน้นเรื่องการปฏิรูปประเทศ จะมีดารา นักร้อง หรือผู้มีชื่อเสียง มาร่วมดำเนินรายการก็คงจะน่าดูกว่าที่ผมพูด และ เชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกันสร้างไทยไปด้วยกัน ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้มาร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และประชาชน  วันพรุ่งนี้ ก็จะเป็นณเดชน์ คูกิมิยะ ที่จะพาพี่น้องประชาชนไขปัญหาหนี้นอกระบบ ซึ่งมีความก้าวหน้าพอสมควร ซึ่งเป็นทุกข์ของพี่น้องประชาชนจำนวนมาก

ขอบคุณนะครับ  ขอให้ ทุกคนรักษาสุขภาพ และ ทุกครอบครัวมีความสุขนะครับ  สวัสดีครับ

ที่มา; เว็บรัฐบาลไทย


 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)  
โดย อ.นิกร ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีสอบราชการ ครู ผู้บริหาร ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม