อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 70/2562รมว.ศธ. เปิดงาน "เดินหน้า สกสค." ครั้งที่ 1
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดงาน "เดินหน้า สกสค." ครั้งที่ 1 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ หอประชุมคุรุสภา โดยมี พล.อ.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา, นายณรงค์ แผ้วพลสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, น.ส.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ เลขาธิการ ก.ค.ศ., ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมงานจำนวนมาก
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือว่ามีความก้าวหน้าและช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับกระทรวงศึกษาธิการในยุคนี้ที่สามารถสะสางการทุจริตคอร์รัปชั่นมีความก้าวหน้าและอยู่ในขั้นตอนของกฎหมายหลายคดี
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ที่ได้หารือร่วมกับธนาคารออมสิน ทำให้ทราบว่าธนาคารมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 18% จากหนี้สินครูกว่า 5 แสนล้านบาท ประกอบกับในอดีต สกสค. หักเงิน 0.5-1% ในโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) และโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) เข้ากองทุนสนับสนุนพิเศษ ช.พ.ค. พร้อมมีข้อตกลงว่า หากผู้กู้ไม่ชำระเงินติดต่อกันต่อเนื่อง 3 เดือน เพื่อไม่ให้ธนาคารมีหนี้ NPL ธนาคารสามารถหักเงินส่วนนี้คืนจนกว่าจะมีหนี้สะสมติดกัน ทำให้ธนาคารต้องหักเงินไปกว่า 1 หมื่นล้านบาท เมื่อนั้นธนาคารออมสินจึงจะทยอยคืน
ซึ่งการเจรจาเพื่อขอให้ธนาคารออมสินยกเลิกการหักเงินส่วนต่างของดอกเบี้ย 0.5-1% ในโครงการ ช.พ.ค.และ ช.พ.ส. ก็ประสบความสำเร็จ โดยจะนำเงินส่วนนี้คืนให้แก่ครูที่มีวินัยทางการเงินดี เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ย ขณะนี้มีครูได้รับประโยชน์แล้วกว่า 3.9 แสนคน และทำให้ NPL ลดลงจาก 18% เหลือเพียง 0.5% เท่านั้น ทั้งนี้ธนาคารจะไม่คืนไม่ได้ มิฉะนั้นธนาคารจะล้มและกระทรวงการคลังก็ต้องหาเงินมาช่วยเหลือ ดังนั้น ครูทั้งหลายจึงมีส่วนช่วยให้ธนาคารอยู่รอด
ในส่วนของการทำประกันชีวิต ได้ขอให้ทบทวนรูปแบบที่เหมาะสมและดีขึ้นกว่าเดิม และหากนำเงินส่วนนี้กลับคืนมาได้จริง ก็จะมีงบประมาณในการพัฒนาสวัสดิการเพื่อช่วยวิชาชีพครูมากขึ้น จึงเชื่อว่า สกสค.ในยุคนี้มีศักยภาพในการบริหารจัดการงบประมาณและลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อนำผลกำไรมาช่วยบุคลากรทางวิชาชีพครูมากขึ้นอีกทางหนึ่ง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำถึงการทำงานของ สกสค.ด้วยว่า ควรยึดหลักความโปร่งใสและไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขต เพื่อพัฒนางานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา อาทิ การออกข้อบังคับเอง ระบบการเงินที่ไม่ชัดเจน หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ พร้อมได้ประสานขอความร่วมมือให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มาช่วยตรวจสอบเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ขอฝากคำสอนของพระนักปฏิบัติที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการโกงว่า “ใครโกง ลูกหลานไม่เจริญ ทำให้ชีวิตจมลงทุกราย และเมื่อต้องจบชีวิตก็จะจบแบบไม่ดี”
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบโล่แก่พระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ ผู้มีคุณปการต่อการศึกษาชาติ พร้อมโล่สำหรับผู้บริจาคทรัพย์ให้โรงพยาบาลครู จำนวน 6 คน ได้แก่ 1) นายธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ 2) นายพิทยา มหิทธิวาณิชชา 3) นายโชติ แสงรัตนกุล 4) นางสาวศศิธร เอี่ยมแก้ว 5) นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ และ 6) นางสุณี พิทยาอิสรกุล และรางวัลผู้ที่ประสบความสำเร็จจากโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ : นางพิมพ์รัตน์ วิลาชัย ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลพะเยา จ.พะเยา จากครูสู่เจ้าของธุรกิจ, ภาคใต้ : นางเสาวลักษณ์ ทองย้อย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง สร้างรายได้จากอสังหาริมทรัพย์, ภาคกลาง : นายทรงเดช ขุนแท้ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ อดีตข้าราชการครู ต่อยอดการเกษตรสู่เจ้าของกิจการ "บ้านสวนขนุนเดช" และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : นางกมลเนตร เพ็ชรกูล ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเชียงยืนวิทยาคม จ.มหาสารคาม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น "หัตกรรมบนแผ่นกระจก" เพื่อสร้างรายได้ และส่งต่อสู่เด็กเยาวชนรุ่นหลัง
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 70/2562รมว.ศธ. เปิดงาน "เดินหน้า สกสค." ครั้งที่ 1
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดงาน "เดินหน้า สกสค." ครั้งที่ 1 เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2562 ณ หอประชุมคุรุสภา โดยมี พล.อ.โกศล ประทุมชาติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายสุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสภาการศึกษา, นายณรงค์ แผ้วพลสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ, น.ส.อุษณีย์ ธโนศวรรย์ เลขาธิการ ก.ค.ศ., ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมงานจำนวนมาก
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวแสดงความชื่นชมการทำงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งถือว่ามีความก้าวหน้าและช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับกระทรวงศึกษาธิการในยุคนี้ที่สามารถสะสางการทุจริตคอร์รัปชั่นมีความก้าวหน้าและอยู่ในขั้นตอนของกฎหมายหลายคดี
รวมทั้งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู ที่ได้หารือร่วมกับธนาคารออมสิน ทำให้ทราบว่าธนาคารมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 18% จากหนี้สินครูกว่า 5 แสนล้านบาท ประกอบกับในอดีต สกสค. หักเงิน 0.5-1% ในโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) และโครงการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษาในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) เข้ากองทุนสนับสนุนพิเศษ ช.พ.ค. พร้อมมีข้อตกลงว่า หากผู้กู้ไม่ชำระเงินติดต่อกันต่อเนื่อง 3 เดือน เพื่อไม่ให้ธนาคารมีหนี้ NPL ธนาคารสามารถหักเงินส่วนนี้คืนจนกว่าจะมีหนี้สะสมติดกัน ทำให้ธนาคารต้องหักเงินไปกว่า 1 หมื่นล้านบาท เมื่อนั้นธนาคารออมสินจึงจะทยอยคืน
ซึ่งการเจรจาเพื่อขอให้ธนาคารออมสินยกเลิกการหักเงินส่วนต่างของดอกเบี้ย 0.5-1% ในโครงการ ช.พ.ค.และ ช.พ.ส. ก็ประสบความสำเร็จ โดยจะนำเงินส่วนนี้คืนให้แก่ครูที่มีวินัยทางการเงินดี เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ย ขณะนี้มีครูได้รับประโยชน์แล้วกว่า 3.9 แสนคน และทำให้ NPL ลดลงจาก 18% เหลือเพียง 0.5% เท่านั้น ทั้งนี้ธนาคารจะไม่คืนไม่ได้ มิฉะนั้นธนาคารจะล้มและกระทรวงการคลังก็ต้องหาเงินมาช่วยเหลือ ดังนั้น ครูทั้งหลายจึงมีส่วนช่วยให้ธนาคารอยู่รอด
ในส่วนของการทำประกันชีวิต ได้ขอให้ทบทวนรูปแบบที่เหมาะสมและดีขึ้นกว่าเดิม และหากนำเงินส่วนนี้กลับคืนมาได้จริง ก็จะมีงบประมาณในการพัฒนาสวัสดิการเพื่อช่วยวิชาชีพครูมากขึ้น จึงเชื่อว่า สกสค.ในยุคนี้มีศักยภาพในการบริหารจัดการงบประมาณและลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อนำผลกำไรมาช่วยบุคลากรทางวิชาชีพครูมากขึ้นอีกทางหนึ่ง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำถึงการทำงานของ สกสค.ด้วยว่า ควรยึดหลักความโปร่งใสและไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขต เพื่อพัฒนางานและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้ดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา อาทิ การออกข้อบังคับเอง ระบบการเงินที่ไม่ชัดเจน หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ พร้อมได้ประสานขอความร่วมมือให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มาช่วยตรวจสอบเรื่องดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ ขอฝากคำสอนของพระนักปฏิบัติที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับการโกงว่า “ใครโกง ลูกหลานไม่เจริญ ทำให้ชีวิตจมลงทุกราย และเมื่อต้องจบชีวิตก็จะจบแบบไม่ดี”
โอกาสนี้ รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบโล่แก่พระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธมฺมธโช) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพฯ ผู้มีคุณปการต่อการศึกษาชาติ พร้อมโล่สำหรับผู้บริจาคทรัพย์ให้โรงพยาบาลครู จำนวน 6 คน ได้แก่ 1) นายธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ 2) นายพิทยา มหิทธิวาณิชชา 3) นายโชติ แสงรัตนกุล 4) นางสาวศศิธร เอี่ยมแก้ว 5) นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ และ 6) นางสุณี พิทยาอิสรกุล และรางวัลผู้ที่ประสบความสำเร็จจากโครงการเงินกู้ ช.พ.ค.ใน 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ : นางพิมพ์รัตน์ วิลาชัย ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลพะเยา จ.พะเยา จากครูสู่เจ้าของธุรกิจ, ภาคใต้ : นางเสาวลักษณ์ ทองย้อย ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดตรัง สร้างรายได้จากอสังหาริมทรัพย์, ภาคกลาง : นายทรงเดช ขุนแท้ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ อดีตข้าราชการครู ต่อยอดการเกษตรสู่เจ้าของกิจการ "บ้านสวนขนุนเดช" และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : นางกมลเนตร เพ็ชรกูล ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเชียงยืนวิทยาคม จ.มหาสารคาม สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น "หัตกรรมบนแผ่นกระจก" เพื่อสร้างรายได้ และส่งต่อสู่เด็กเยาวชนรุ่นหลัง
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น