อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 64/2562การ ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปัตตานี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ในการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมซี เอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมีนายไกรศร วิศิษฏ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมกว่า 400 คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวถึงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ว่า วัตถุประสงค์หลักของการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น 1 ใน 6 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพหลัก พร้อมให้มีสถานศึกษานำร่องในจังหวัดยะลาและนราธิวาสดำเนินการควบคู่ไปด้วย เพื่อต้องการพัฒนาและยกระดับนวัตกรรม แนวคิด และการบริหารจัดการในพื้นที่ ซึ่งมีอยู่แล้วให้มีความเข้มแข็งและสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีสถานศึกษาเข้าร่วมแล้วจำนวน 26 แห่ง และมีเป้าหมายนักเรียนกว่า 1.6 แสนคน แบ่งเป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 17 แห่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 7 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง
ในส่วนของนวัตกรรมการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับว่ามีทุนเดิมที่ดี ๆ ที่เกิดจากการดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยความเข้มแข็งของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาในหลายพื้นที่ อาทิ การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนประชาอุทิศบ้านโคกม่วง โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบลูกเต๋าคุณภาพ, การพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีแบบเปิด (Open Approach) : PLC ภาคปฏิบัติจริงในโรงเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านกะรุบีและโรงเรียนซอลีฮียะห์, โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส, โรงเรียนวิถีอิสลาม ของโรงเรียนตัรบียะห์ และศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพประจำอำเภอยะหา ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคยะลา เป็นต้น นอกจากนี้สถานศึกษายังสามารถคิดค้นริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นำสู่การพัฒนาเป็นนวัตกรรมได้ในอนาคต
ซึ่งแน่นอนว่าระบบบริหารจัดการการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ย่อมจะต้องมีความเข้มข้นและเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่ ที่จะส่งผลมากเพียงพอต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษาทุกแห่งทุกสังกัดที่เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่รอพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสร็จสมบูรณ์และประกาศใช้ กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความพยายามดำเนินงานในหลายส่วนเพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีความต่อเนื่อง อาทิ การศึกษาและพิจารณาปรับลดระเบียบขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ทั้งงบประมาณและการบริหารงานบุคคล ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนงานได้ตรงกับความต้องการพัฒนาและบริบทของพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ตลอดจนเตรียมการให้มีสถานศึกษานำร่องในจังหวัดยะลาและนราธิวาส เมื่อกฎหมายประกาศใช้ เพื่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดทั้งสองแห่งจะได้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อไป
ขอแสดงความชื่นชมผู้นำเสนอ ที่รวบรวมข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นในการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากทุกจังหวัดสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้การพัฒนาโรงเรียนมีความก้าวหน้ามากขึ้นทีละส่วนในแต่ละจังหวัด เมื่อนั้นก็จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการของการขับเคลื่อนการทำงาน โดยสิ่งสำคัญของการทำงานในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเช่นนี้ เรื่องของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนถือว่าต้องดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่องจึงจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
ดังเช่นความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่มีความมุ่งมั่นทุ่มเท เสียสละ จนเกิดเป็นภาพความสำเร็จในครั้งนี้ ดังนั้นทุกคนจึงเปรียบเสมือนเพื่อนร่วมชีวิตร่วมการทำงานกับผม ขอให้คงความดีเหล่านี้ไว้ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ ให้อยู่ร่วมกันอย่างดีและมีความสุข พร้อมน้อมนำศาสตร์พระราชาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เรื่อง “รู้ รัก สามัคคี” มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ช่วยเหลือและให้เกียรติซึ่งกันและกันในทุกศาสนาของประเทศไทย รวมทั้งนำตัวอย่างดี ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ มาปรับใช้หรือขยายต่อในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษาตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นต้น
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 64/2562การ ประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ปัตตานี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ในการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมซี เอส ปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยมีนายไกรศร วิศิษฏ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วมกว่า 400 คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวถึงการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จังหวัดปัตตานี ว่า วัตถุประสงค์หลักของการกำหนดให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น 1 ใน 6 พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยมีจังหวัดปัตตานีเป็นเจ้าภาพหลัก พร้อมให้มีสถานศึกษานำร่องในจังหวัดยะลาและนราธิวาสดำเนินการควบคู่ไปด้วย เพื่อต้องการพัฒนาและยกระดับนวัตกรรม แนวคิด และการบริหารจัดการในพื้นที่ ซึ่งมีอยู่แล้วให้มีความเข้มแข็งและสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดปัตตานีมีสถานศึกษาเข้าร่วมแล้วจำนวน 26 แห่ง และมีเป้าหมายนักเรียนกว่า 1.6 แสนคน แบ่งเป็นสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 17 แห่ง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) 7 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง
ในส่วนของนวัตกรรมการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับว่ามีทุนเดิมที่ดี ๆ ที่เกิดจากการดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยความเข้มแข็งของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาในหลายพื้นที่ อาทิ การพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้ เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนประชาอุทิศบ้านโคกม่วง โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบลูกเต๋าคุณภาพ, การพัฒนาวิชาชีพครูด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีแบบเปิด (Open Approach) : PLC ภาคปฏิบัติจริงในโรงเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านกะรุบีและโรงเรียนซอลีฮียะห์, โครงการสานฝันการกีฬาสู่ระบบการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โรงเรียนมัธยมสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส, โรงเรียนวิถีอิสลาม ของโรงเรียนตัรบียะห์ และศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพประจำอำเภอยะหา ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคยะลา เป็นต้น นอกจากนี้สถานศึกษายังสามารถคิดค้นริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นำสู่การพัฒนาเป็นนวัตกรรมได้ในอนาคต
ซึ่งแน่นอนว่าระบบบริหารจัดการการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ย่อมจะต้องมีความเข้มข้นและเข้มแข็งมากขึ้น เพื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนวัตกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ของแต่ละพื้นที่ ที่จะส่งผลมากเพียงพอต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษาทุกแห่งทุกสังกัดที่เข้าร่วมโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างที่รอพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเสร็จสมบูรณ์และประกาศใช้ กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีความพยายามดำเนินงานในหลายส่วนเพื่อให้การขับเคลื่อนงานมีความต่อเนื่อง อาทิ การศึกษาและพิจารณาปรับลดระเบียบขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ทั้งงบประมาณและการบริหารงานบุคคล ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนงานได้ตรงกับความต้องการพัฒนาและบริบทของพื้นที่ให้ได้มากที่สุด ตลอดจนเตรียมการให้มีสถานศึกษานำร่องในจังหวัดยะลาและนราธิวาส เมื่อกฎหมายประกาศใช้ เพื่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดทั้งสองแห่งจะได้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาต่อไป
ขอแสดงความชื่นชมผู้นำเสนอ ที่รวบรวมข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นในการดำเนินงานขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากทุกจังหวัดสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้การพัฒนาโรงเรียนมีความก้าวหน้ามากขึ้นทีละส่วนในแต่ละจังหวัด เมื่อนั้นก็จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการของการขับเคลื่อนการทำงาน โดยสิ่งสำคัญของการทำงานในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเช่นนี้ เรื่องของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนถือว่าต้องดำเนินการอย่างจริงจังต่อเนื่องจึงจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จได้ในที่สุด
ดังเช่นความก้าวหน้าการขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ที่มีความมุ่งมั่นทุ่มเท เสียสละ จนเกิดเป็นภาพความสำเร็จในครั้งนี้ ดังนั้นทุกคนจึงเปรียบเสมือนเพื่อนร่วมชีวิตร่วมการทำงานกับผม ขอให้คงความดีเหล่านี้ไว้ เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ ให้อยู่ร่วมกันอย่างดีและมีความสุข พร้อมน้อมนำศาสตร์พระราชาในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เรื่อง “รู้ รัก สามัคคี” มาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ช่วยเหลือและให้เกียรติซึ่งกันและกันในทุกศาสนาของประเทศไทย รวมทั้งนำตัวอย่างดี ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ มาปรับใช้หรือขยายต่อในพื้นที่ใกล้เคียง อาทิ การอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมพหุวัฒนธรรม : กรณีศึกษาตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นต้น
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น