อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 78/2562 รมช.ศธ.(พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) มอบนโยบาย การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล รุ่นที่ 3 ในพื้นที่ จชต.
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบแนวทางการวางแผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลอย่างมีประสิทธิภาพ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล รุ่นที่ 3 เมื่อวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมกว่า 480 คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล" (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพลังงาน เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2562
จากนั้น สพฐ.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายละเอียดการวางแผนดำเนินงานตามโครงการให้มีความพร้อมมากที่สุด ก่อนถ่ายทอดสู่การวางแผนระดับปฏิบัติของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการฯ ครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 3 ของการชี้แจงทำความเข้าใจและวางแผนการปฏิบัติขับเคลื่อนของโรงเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องการมาให้กำลังใจ และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยย้ำให้ผู้บริหารและผู้อำนวยการโรงเรียน น้อมนำ "ศาสตร์พระราชา" ซึ่งถือว่ามีคุณค่ายิ่งต่อประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานด้านการศึกษา ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ความว่า "การให้การศึกษาที่ดีนั้น เป็นงานที่ละเอียดลึกซึ้งมาก จำเป็นต้องใช้ความรู้อันกว้างขวาง ใช้ความสุขุมรอบคอบ ประกอบด้วยความตั้งใจ และความเพียรพยายาม และความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า จึงจะทำได้สำเร็จ" รวมทั้งพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอด และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ที่การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพ และ 4) เป็นพลเมืองดี นำมาเป็นหลักในการทำงาน โดยเฉพาะงานด้านการศึกษา ใช้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต ที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้า อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้ รัก สามัคคี และขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้หลักคิด "5ร แห่งความสำเร็จ คือ ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" นำไปใช้ในการทำงานวางแผนการดำเนินงาน การปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครบถ้วนตามบริบทของพื้นที่และสังคม การพัฒนาครูเก่งครูดีมีจิตวิญญานความเป็นครู รวมทั้งสื่อการเรียนการสอน พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชน บ้าน วัด/มัสยิด ภาครัฐ และโรงเรียน สิ่งสำคัญคือการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้เกิดโรงเรียนที่มีคุณภาพ ทั้งโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กระจายอยู่ในทุกตำบลทั่วประเทศ อันจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมอย่างทั่วถึง เพื่อที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชน จะได้มีโรงเรียนดี ๆ ให้การศึกษาแก่ลูกหลานในพื้นที่ โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนในอำเภอหรือจังหวัดอีกต่อไป ซึ่งนี่คือเป้าหมายสูงสุดของโครงการฯ
ในส่วนของการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" จนเกิดความก้าวหน้าและบรรลุตามนโยบายที่กำหนดให้ปี 2561 เป็น "ปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม" ซึ่งพบว่าสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์การศึกษาของสถานศึกษาในทั้ง 3 จังหวัดให้สูงขึ้น และประชาชนในพื้นที่ก็มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก
ดังนั้นในปี 2562 จึงพร้อมที่จะขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาให้เป็น "ปีแห่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม" เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้และเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาว่า มีคุณค่าต่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ เกิดจากการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ตามกลไกประชารัฐอย่างเข้มข้นเสมอมา จึงขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 78/2562 รมช.ศธ.(พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์) มอบนโยบาย การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล รุ่นที่ 3 ในพื้นที่ จชต.
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบแนวทางการวางแผนขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลอย่างมีประสิทธิภาพ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล รุ่นที่ 3 เมื่อวันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าร่วมกว่า 480 คน
จากนั้น สพฐ.ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาทั่วประเทศ และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำรายละเอียดการวางแผนดำเนินงานตามโครงการให้มีความพร้อมมากที่สุด ก่อนถ่ายทอดสู่การวางแผนระดับปฏิบัติของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ
สำหรับการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการฯ ครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 3 ของการชี้แจงทำความเข้าใจและวางแผนการปฏิบัติขับเคลื่อนของโรงเรียนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงต้องการมาให้กำลังใจ และสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยย้ำให้ผู้บริหารและผู้อำนวยการโรงเรียน น้อมนำ "ศาสตร์พระราชา" ซึ่งถือว่ามีคุณค่ายิ่งต่อประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานด้านการศึกษา ทั้งหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงาน พระบรมราโชวาทของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ความว่า "การให้การศึกษาที่ดีนั้น เป็นงานที่ละเอียดลึกซึ้งมาก จำเป็นต้องใช้ความรู้อันกว้างขวาง ใช้ความสุขุมรอบคอบ ประกอบด้วยความตั้งใจ และความเพียรพยายาม และความเพียรพยายามอย่างแรงกล้า จึงจะทำได้สำเร็จ" รวมทั้งพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่จะสืบสาน รักษา ต่อยอด และพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ที่การศึกษาต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ดังนี้ 1) มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม 3) มีงานทำ มีอาชีพ และ 4) เป็นพลเมืองดี นำมาเป็นหลักในการทำงาน โดยเฉพาะงานด้านการศึกษา ใช้เป็นกำลังใจในการดำเนินชีวิต ที่จะสร้างความเจริญก้าวหน้า อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข รู้ รัก สามัคคี และขับเคลื่อนการศึกษาในพื้นที่อย่างยั่งยืน
โอกาสนี้ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้หลักคิด "5ร แห่งความสำเร็จ คือ ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" นำไปใช้ในการทำงานวางแผนการดำเนินงาน การปรับหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ครบถ้วนตามบริบทของพื้นที่และสังคม การพัฒนาครูเก่งครูดีมีจิตวิญญานความเป็นครู รวมทั้งสื่อการเรียนการสอน พร้อมบูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชน บ้าน วัด/มัสยิด ภาครัฐ และโรงเรียน สิ่งสำคัญคือการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะช่วยให้เกิดโรงเรียนที่มีคุณภาพ ทั้งโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กระจายอยู่ในทุกตำบลทั่วประเทศ อันจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมอย่างทั่วถึง เพื่อที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชน จะได้มีโรงเรียนดี ๆ ให้การศึกษาแก่ลูกหลานในพื้นที่ โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนในอำเภอหรือจังหวัดอีกต่อไป ซึ่งนี่คือเป้าหมายสูงสุดของโครงการฯ
ในส่วนของการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา กระทรวงศึกษาธิการได้ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์พระราชทาน "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" จนเกิดความก้าวหน้าและบรรลุตามนโยบายที่กำหนดให้ปี 2561 เป็น "ปีแห่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม" ซึ่งพบว่าสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์การศึกษาของสถานศึกษาในทั้ง 3 จังหวัดให้สูงขึ้น และประชาชนในพื้นที่ก็มีความพึงพอใจต่อการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก
ดังนั้นในปี 2562 จึงพร้อมที่จะขับเคลื่อนพัฒนาการศึกษาให้เป็น "ปีแห่งการเสริมสร้างความเข้มแข็งคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มุ่งเน้นให้เกิดผลสัมฤทธิ์เป็นรูปธรรม" เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้และเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาว่า มีคุณค่าต่อการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ เกิดจากการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ตามกลไกประชารัฐอย่างเข้มข้นเสมอมา จึงขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น