อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 67/2562 รมช.ศธ.ลงพื้นที่ตรวจติดตามผล การดำเนินงานการขับเคลื่อน ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ที่ จ.ราชบุรี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลาง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายธวัชชัย อุ่ยพานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษา ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วม ณ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า การรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลด้านอาชีวศึกษา ควรเน้นให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ตรงกับข้อเท็จจริง และมีความแม่นยำ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับฝ่ายผลิตกำลังคนและสถานประกอบการ พร้อมสร้างการรับรู้ถึงประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายจะได้รับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ ขอให้ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาทุกแห่ง ทบทวนข้อมูลภารกิจแต่ละด้าน พร้อมจัดกลุ่มและประเภทอย่างเหมาะสมและทันสมัย รวมทั้งสานต่อการพัฒนาภาษาต่างประเทศ และข้อมูลความต้องการในแต่ละพื้นที่ มีความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับศูนย์ประสานงานฯ ในภาคอื่น ๆ ได้
สำหรับการสรุปผลการทำงานในครั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการทำงานในห้วงต่อไปให้ทันการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคกลางตอนล่าง 1 และ 2 ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี (ประกอบด้วยเครือข่าย 7 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์) มีผลการดำเนินงาน 6 ภารกิจ ดังนี้
-
ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: ได้เก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการด้านแรงงานของภาคกลาง พร้อมวิเคราะห์ความต้องการ ผลการผลิตและพัฒนากำลังคนของแต่ละจังหวัด ตลอดจนปรับปรุงข้อมูลระบบ Big Data System สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมของสถานประกอบการ ทั้ง 7 จังหวัดผ่านเว็บไซต์ และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
-
ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: ได้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาระบบทวิภาคี ร่วมกับสถานประกอบการ จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น 108 อาชีพ และอบรมแนะแนวการศึกษาต่อ ตลอดจนจัดมหกรรมตลาดนัดแรงงาน และส่งเสริมการทดสอบความรู้ความสามารถทางการศึกษา (V-NET)
-
ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: มีความร่วมมือกับสถานประกอบการเพิ่มขึ้น พร้อมส่งครู นักเรียนและนักศึกษา ฝึกปฏิบัติงาน ฝึกอบรม และฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการ โดยสนับสนุนให้ครูและบุคลากรอบรมหลักสูตรบ่มเพาะนักวิจัยอาชีวศึกษา และ PLC
-
ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: โดยจัดอบรมและแนะแนวอาชีพการศึกษาต่อ ใช้แอพพลิเคชั่นวัดความถนัดทางอาชีพ พร้อมส่งเสริมให้สถานศึกษาในเขตพื้นที่ภาคกลาง วางแผนแนวทางการผลิตและพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการ
-
ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ได้สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพของหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง) และสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครอง เกี่ยวกับการเรียนการสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง รวมทั้งส่งประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่
-
ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: ใช้ Application Line เป็นช่องทางแจ้งสรุปผลการดำเนินงานและนำข้อมูลเข้าระบบ พร้อมประชุมผู้บริหารศูนย์ประสานงานฯ เพื่อรายงานผลการจัดทำข้อมูล Big Data ร่วมกับภาคอื่น ๆ
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี (ประกอบด้วย สถานศึกษาของรัฐ 21 แห่ง สถานศึกษาของเอกชน 79 แห่ง และสถานประกอบการรวม 16,482 แห่ง) โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
-
ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: ได้รวบรวมข้อมูลสถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต ที่ขึ้นทะเบียนในระบบ Big Data System พร้อมได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาในระบบทวิภาคีและครูในสถานประกอบการช่วยกันเก็บข้อมูล
-
ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: ได้จัดการฝึกอบรม อาทิ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน การทดสอบการศึกษาแห่งชาติด้านอาชีวศึกษา ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ TOEIC เป็นต้น อีกทั้งได้ดำเนินโครงการด้านอื่น ๆ เช่น โครงการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาต่างประเทศ การแข่งขันทักษะวิชาชีพ การอบรมหลักสูตรระยะสั้นฐานสมรรถนะ เป็นต้น
-
ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรบุคคล เครื่องจักรอุปกรณ์ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ
-
ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: ส่งเสริมสนับสนุนการมีงานทำและมีรายได้ระหว่างเรียน ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มวิสาหกิจที่ใช้นวัตกรรม โดยสาขาที่ได้รับความนิยมมาก 5 อันดับ คือ ช่างซ่อมบำรุงอาคารสูง การจัดการงานคหกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ช่างไฟฟ้ากำลัง การจัดการธุรกิจค้าปลีก/การตลาด
-
ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ได้ทำการศึกษาวิจัยหลานด้าน ประกอบด้วย ความต้องการคุณลักษณะของพนักงานและจำนวนความต้องการของสถานประกอบการ, นวัตกรรมด้านซอฟท์แวร์และสมองกล, ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร, เครื่องมือแพทย์หรือการสาธารณภัย, ผลิตภัณฑ์ด้านหัตถศิลป์ และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
-
ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: จัดประชุมผู้บริหารสถานศึกษา พร้อมประชุมสร้างการรับรู้ร่วมกับสถานประกอบการในพื้นที่ และประชุมการจัดทำระบบฐานข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์ "BEC Website Fanpage" และสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา R-Radio
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคกลางและปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม และปทุมธานี โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
-
ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: จัดประชุมชี้แจงและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบ Big Data System ให้กับสถานศึกษาและสถานประกอบการในเขตภาคกลางและปริมณฑล พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูล Demand และ Supply ในระบบ Big Data System ให้เป็นปัจจุบัน
-
ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นร่วมกับสถานประกอบการและสถานศึกษา จำนวน 87 หลักสูตร พร้อมทั้งดำเนินโครงการ Fix It Center อาชีวะอาสา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการทดสอบสมรรถนะวิชาชีพให้กับนักเรียนนักศึกษา
-
ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: มีความร่วมมือกับสถานประกอบการจำนวน 1,687 แห่งในปี 2561 ส่งผลให้นักศึกษาเข้าฝึกอาชีพในระบบทวิภาคี จำนวน 3,225 คน รวมทั้งได้พัฒนาครูฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการรวม 228 คน ตลอดจนได้รับการระดมทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอก
-
ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: พัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนทวิภาคี อาทิ โครงการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีร่วมกับหอการค้าเยอรมัน-ไทย และบริษัท Mercedes Benz ประเทศไทย, โครงการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีร่วมกับบริษัทช่างอากาศยานไทยโดยมีแนวทางที่จะพัฒนาโครงการ พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ทั้งการเปิดสาขาวิชาเพิ่มเติม การเพิ่มจำนวนห้องเรียนในสาขาวิชาเดิม และการเปิดหลักสูตรระยะสั้น E to E
-
ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ได้ดำเนินการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เช่น เครื่องจำหน่ายผ้าอัดเม็ดอเนกประสงค์ผ่านระบบคิวอาร์โค้ด, เครื่องแกะสลักด้วยเลเซอร์, อุปกรณ์อเนกประสงค์สำหรับงานมุ้งลวดและกระจก เป็นต้น
-
ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: ได้จัดทำสื่อวีดิทัศน์แนะนำศูนย์ประสานงานจำนวน 4 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โดยจัดทำคู่มือและของที่ระลึกมอบให้สถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานประกอบการ ตลาดจนจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ CEC TVET DATA โดยมีผู้แทนจากสถานประกอบการเข้าร่วมจำนวน 120 คน
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคกลางตอนบน ณ วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ คือ จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
-
ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: รวบรวมข้อมูลบุคลากร หลักสูตรที่เปิดสอน ข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา และข้อมูลผู้จบหลักสูตรระยะสั้น เป็นต้น
-
ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: โดยดำเนินงานผ่านการจัดกิจกรรมในหลายด้าน อาทิ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ การเยี่ยมชมดูงานในสถานประกอบการ การเข้าร่วมกิจกรรมอาชีวะอาสาและ Fix It Center
-
ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: ได้รับการสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ สื่อ และอุปกรณ์การสอนจากหน่วยงานภายนอก อีกทั้งมีความร่วมมือกับสถานประกอบการในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าฝึกงานและฝึกอาชีพ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้น ๆ ร่วมสอนกับครูในสถานศึกษา
-
ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างเรียน และจัดให้อบรมทักษะวิชาชีพ หลักสูตรระยะสั้น Local Need โครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่หรืออาชีวะพรีเมี่ยม เป็นต้น
-
ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ส่งนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมประกวด "สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา" ระดับภาค ปี 2561 โดยได้รับรางวัล อาทิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีโคกสำโรง รางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมด้านหัตถศิลป์ วิทยาลัยเทคนิคอยุธยา รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมซอฟต์แวร์ และระบบสมองกล เป็นต้น
-
ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินงานศูนย์ประสานงานฯ ให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สถานศึกษา สถานประกอบการในพื้นที่ ผ่านสื่อท้องถิ่น สื่อสารสนเทศของสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
-
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 67/2562 รมช.ศธ.ลงพื้นที่ตรวจติดตามผล การดำเนินงานการขับเคลื่อน ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ที่ จ.ราชบุรี
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา พื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลาง เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายธวัชชัย อุ่ยพานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด, ผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษา ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา เข้าร่วม ณ ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคกลาง ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
สำหรับการสรุปผลการทำงานในครั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนการทำงานในห้วงต่อไปให้ทันการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคกลางตอนล่าง 1 และ 2 ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี (ประกอบด้วยเครือข่าย 7 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และประจวบคีรีขันธ์) มีผลการดำเนินงาน 6 ภารกิจ ดังนี้
- ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: ได้เก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการด้านแรงงานของภาคกลาง พร้อมวิเคราะห์ความต้องการ ผลการผลิตและพัฒนากำลังคนของแต่ละจังหวัด ตลอดจนปรับปรุงข้อมูลระบบ Big Data System สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมของสถานประกอบการ ทั้ง 7 จังหวัดผ่านเว็บไซต์ และนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
- ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: ได้พัฒนาหลักสูตรรายวิชาระบบทวิภาคี ร่วมกับสถานประกอบการ จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น 108 อาชีพ และอบรมแนะแนวการศึกษาต่อ ตลอดจนจัดมหกรรมตลาดนัดแรงงาน และส่งเสริมการทดสอบความรู้ความสามารถทางการศึกษา (V-NET)
- ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: มีความร่วมมือกับสถานประกอบการเพิ่มขึ้น พร้อมส่งครู นักเรียนและนักศึกษา ฝึกปฏิบัติงาน ฝึกอบรม และฝึกวิชาชีพในสถานประกอบการ โดยสนับสนุนให้ครูและบุคลากรอบรมหลักสูตรบ่มเพาะนักวิจัยอาชีวศึกษา และ PLC
- ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: โดยจัดอบรมและแนะแนวอาชีพการศึกษาต่อ ใช้แอพพลิเคชั่นวัดความถนัดทางอาชีพ พร้อมส่งเสริมให้สถานศึกษาในเขตพื้นที่ภาคกลาง วางแผนแนวทางการผลิตและพัฒนาคนให้สอดคล้องกับความต้องการ
- ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ได้สำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพของหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เพื่อเตรียมความพร้อมเปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (ต่อเนื่อง) และสำรวจความพึงพอใจของผู้ปกครอง เกี่ยวกับการเรียนการสอนหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง รวมทั้งส่งประกวดสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่
- ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: ใช้ Application Line เป็นช่องทางแจ้งสรุปผลการดำเนินงานและนำข้อมูลเข้าระบบ พร้อมประชุมผู้บริหารศูนย์ประสานงานฯ เพื่อรายงานผลการจัดทำข้อมูล Big Data ร่วมกับภาคอื่น ๆ
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี (ประกอบด้วย สถานศึกษาของรัฐ 21 แห่ง สถานศึกษาของเอกชน 79 แห่ง และสถานประกอบการรวม 16,482 แห่ง) โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: ได้รวบรวมข้อมูลสถานประกอบการในกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต ที่ขึ้นทะเบียนในระบบ Big Data System พร้อมได้รับความร่วมมือจากสถานศึกษาในระบบทวิภาคีและครูในสถานประกอบการช่วยกันเก็บข้อมูล
- ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: ได้จัดการฝึกอบรม อาทิ การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน การทดสอบการศึกษาแห่งชาติด้านอาชีวศึกษา ทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ TOEIC เป็นต้น อีกทั้งได้ดำเนินโครงการด้านอื่น ๆ เช่น โครงการจัดการเรียนการสอนด้านภาษาต่างประเทศ การแข่งขันทักษะวิชาชีพ การอบรมหลักสูตรระยะสั้นฐานสมรรถนะ เป็นต้น
- ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน พร้อมทั้งได้รับการสนับสนุนด้านทรัพยากรบุคคล เครื่องจักรอุปกรณ์ และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ
- ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: ส่งเสริมสนับสนุนการมีงานทำและมีรายได้ระหว่างเรียน ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการในกลุ่มวิสาหกิจที่ใช้นวัตกรรม โดยสาขาที่ได้รับความนิยมมาก 5 อันดับ คือ ช่างซ่อมบำรุงอาคารสูง การจัดการงานคหกรรม อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ช่างไฟฟ้ากำลัง การจัดการธุรกิจค้าปลีก/การตลาด
- ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ได้ทำการศึกษาวิจัยหลานด้าน ประกอบด้วย ความต้องการคุณลักษณะของพนักงานและจำนวนความต้องการของสถานประกอบการ, นวัตกรรมด้านซอฟท์แวร์และสมองกล, ผลิตภัณฑ์ด้านอาหาร, เครื่องมือแพทย์หรือการสาธารณภัย, ผลิตภัณฑ์ด้านหัตถศิลป์ และด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
- ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: จัดประชุมผู้บริหารสถานศึกษา พร้อมประชุมสร้างการรับรู้ร่วมกับสถานประกอบการในพื้นที่ และประชุมการจัดทำระบบฐานข้อมูล เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์ "BEC Website Fanpage" และสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสถานีวิทยุเพื่อการศึกษา R-Radio
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคกลางและปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม และปทุมธานี โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: จัดประชุมชี้แจงและจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานระบบ Big Data System ให้กับสถานศึกษาและสถานประกอบการในเขตภาคกลางและปริมณฑล พร้อมทั้งจัดเก็บข้อมูล Demand และ Supply ในระบบ Big Data System ให้เป็นปัจจุบัน
- ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นร่วมกับสถานประกอบการและสถานศึกษา จำนวน 87 หลักสูตร พร้อมทั้งดำเนินโครงการ Fix It Center อาชีวะอาสา การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการทดสอบสมรรถนะวิชาชีพให้กับนักเรียนนักศึกษา
- ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: มีความร่วมมือกับสถานประกอบการจำนวน 1,687 แห่งในปี 2561 ส่งผลให้นักศึกษาเข้าฝึกอาชีพในระบบทวิภาคี จำนวน 3,225 คน รวมทั้งได้พัฒนาครูฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการรวม 228 คน ตลอดจนได้รับการระดมทรัพยากรจากหน่วยงานภายนอก
- ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: พัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนทวิภาคี อาทิ โครงการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีร่วมกับหอการค้าเยอรมัน-ไทย และบริษัท Mercedes Benz ประเทศไทย, โครงการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคีร่วมกับบริษัทช่างอากาศยานไทยโดยมีแนวทางที่จะพัฒนาโครงการ พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ทั้งการเปิดสาขาวิชาเพิ่มเติม การเพิ่มจำนวนห้องเรียนในสาขาวิชาเดิม และการเปิดหลักสูตรระยะสั้น E to E
- ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ได้ดำเนินการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เช่น เครื่องจำหน่ายผ้าอัดเม็ดอเนกประสงค์ผ่านระบบคิวอาร์โค้ด, เครื่องแกะสลักด้วยเลเซอร์, อุปกรณ์อเนกประสงค์สำหรับงานมุ้งลวดและกระจก เป็นต้น
- ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: ได้จัดทำสื่อวีดิทัศน์แนะนำศูนย์ประสานงานจำนวน 4 แห่ง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โดยจัดทำคู่มือและของที่ระลึกมอบให้สถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถานประกอบการ ตลาดจนจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ CEC TVET DATA โดยมีผู้แทนจากสถานประกอบการเข้าร่วมจำนวน 120 คน
ศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภาคกลางตอนบน ณ วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ คือ จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
- ภารกิจที่ 1 ฝ่ายข้อมูลกลาง: รวบรวมข้อมูลบุคลากร หลักสูตรที่เปิดสอน ข้อมูลนักเรียนนักศึกษา ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา และข้อมูลผู้จบหลักสูตรระยะสั้น เป็นต้น
- ภารกิจที่ 2 ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนสู่มาตรฐานอาชีพ: โดยดำเนินงานผ่านการจัดกิจกรรมในหลายด้าน อาทิ การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษ การเยี่ยมชมดูงานในสถานประกอบการ การเข้าร่วมกิจกรรมอาชีวะอาสาและ Fix It Center
- ภารกิจที่ 3 ฝ่ายระดมทรัพยากรและความร่วมมือ: ได้รับการสนับสนุนด้านครุภัณฑ์ สื่อ และอุปกรณ์การสอนจากหน่วยงานภายนอก อีกทั้งมีความร่วมมือกับสถานประกอบการในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าฝึกงานและฝึกอาชีพ โดยมีผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพนั้น ๆ ร่วมสอนกับครูในสถานศึกษา
- ภารกิจที่ 4 ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ: ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างเรียน และจัดให้อบรมทักษะวิชาชีพ หลักสูตรระยะสั้น Local Need โครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่หรืออาชีวะพรีเมี่ยม เป็นต้น
- ภารกิจที่ 5 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา: ส่งนักเรียนนักศึกษาเข้าร่วมประกวด "สุดยอดนวัตกรรมอาชีวศึกษา" ระดับภาค ปี 2561 โดยได้รับรางวัล อาทิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีโคกสำโรง รางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมด้านหัตถศิลป์ วิทยาลัยเทคนิคอยุธยา รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมซอฟต์แวร์ และระบบสมองกล เป็นต้น
- ภารกิจที่ 6 ฝ่ายประสานงานและสร้างการรับรู้: ได้ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการดำเนินงานศูนย์ประสานงานฯ ให้กับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สถานศึกษา สถานประกอบการในพื้นที่ ผ่านสื่อท้องถิ่น สื่อสารสนเทศของสถานศึกษา และการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น