อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 74/2562 รมช.ศธ.ติดตามนวัตกรรมต้นแบบ "เรือเก็บผักตบชวา" ของวิทยาลัยฯ การต่อเรือพระนครศรีอยุธยา แก้ไขปัญหาน้ำเสีย เทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายสาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม, นายพีระพล พูลทวี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เดินทางไปตรวจราชการแบบบูรณาการและเยี่ยมชมสาธิตการทดสอบประสิทธิภาพของเรือเก็บผักตบชวาแบบสายพานลำเลียงและแบบอัดก้อน เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองเปรมประชากร และคลองรังสิตพัฒนา เมื่อวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์2562 ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า "ผักตบชวา" มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก มีการสะสมมวลชีวภาพสูงถึง 20 กรัม น้ำหนักแห้งต่อตารางเมตรต่อวัน โดยมีอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์สูงสุดเท่ากับ 1.50% ต่อวัน หากปล่อยให้ผักตบชวาเติบโตในแหล่งน้ำ โดยเริ่มต้นจาก 500 กรัมน้ำหนักสดต่อตารางเมตร ในระยะเวลาเพียง 3 เดือนครึ่ง ผักตบชวาสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ให้มวลชีวภาพสูงถึง 40,580 กรัม น้ำหนักสดต่อตารางเมตร ในระยะเวลา 1 ปี ผักตบชวาสามารถเจริญเติบโตให้มวลชีวภาพสูงอยู่ในช่วง 717 ตัน น้ำหนักแห้งต่อไร่ ผักตบชวาจะเจริญเติบโตสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน และมีการเจริญเติบโตต่ำสุดในช่วงเดือนมกราคม เป็นอุปสรรคกับการสัญจรทางน้ำ
ในการนี้ ได้มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามโครงการ “จิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิต บนวิถีแห่งความพอเพียง” เพื่อแก้ปัญหาผักตบชวาที่ลอยอย่างหนาแน่นอยู่ในลำน้ำ
โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา ได้คิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สร้างต้นแบบเรือเก็บผักตบชวาแบบอัดก้อนและแบบสายพานลำเลียง ซึ่งได้ออกแบบให้มีความกะทัดรัด สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มีความเหมาะสมกับหน้าประตูระบายน้ำ และคลองสาขา อีกทั้งสามารถขนย้ายเพื่อไปกำจัดต่อได้ง่ายขึ้น และเพื่อให้เกิดความสะดวกในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานคร ที่ประสบปัญหาจากผักตบชวาที่ลอยอยู่ในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นอุปสรรคกีดขวางทางน้ำไหลและกีดขวางทางสัญจรของเรือขนส่งและต้องการให้เป็นคลองที่มีน้ำไหลใสสะอาด โดยคาดหวังว่าปริมาณผักตบชวาในลำคลองเปรมประชากร จะมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งการวัดผลเป็นช่วง ๆ ละ 3 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่สถานีสูบน้ำเปรมเหนือ บางปะอิน ตำบล บางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงโรงเรียนสุลักขณะ ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร
สำหรับเรือต้นแบบเก็บผักตบชวาทั้งแบบอัดก้อนและแบบสายพานลำเลียง จะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และพร้อมดำเนินการจัดทำต่อให้ได้เรือเก็บผักตบชวาแบบอัดก้อน 5 ลำ และแบบสายพานลำเลียงอีก 5 ลำ รวมเป็น 10 ลำ ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2562 สำหรับเครื่องกลเติมอากาศ มีทั้งหมด 3 แบบ คือ แบบเหนือผิวน้ำ แบบใต้น้ำ และแบบผสม ซึ่ง สอศ.ได้ดำเนินการประดิษฐ์และติดตั้งไว้ที่คลองเปรมประชากรเป็นหลัก เป้าหมายคือติดตั้งทั้งสิ้น 500 เครื่อง ระยะห่างในการติดตั้ง 50 เมตร ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งไปแล้ว 430 เครื่อง โดยเหลืออีก 70 เครื่องจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2562 นี้
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ข่าวที่ 74/2562 รมช.ศธ.ติดตามนวัตกรรมต้นแบบ "เรือเก็บผักตบชวา" ของวิทยาลัยฯ การต่อเรือพระนครศรีอยุธยา แก้ไขปัญหาน้ำเสีย เทิดพระเกียรติเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายสาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการอาชีวศึกษาช่างอุตสาหกรรม, นายพีระพล พูลทวี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เดินทางไปตรวจราชการแบบบูรณาการและเยี่ยมชมสาธิตการทดสอบประสิทธิภาพของเรือเก็บผักตบชวาแบบสายพานลำเลียงและแบบอัดก้อน เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสียในคลองเปรมประชากร และคลองรังสิตพัฒนา เมื่อวันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์2562 ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า "ผักตบชวา" มีอัตราการเจริญเติบโตสูงมาก มีการสะสมมวลชีวภาพสูงถึง 20 กรัม น้ำหนักแห้งต่อตารางเมตรต่อวัน โดยมีอัตราการเจริญเติบโตสัมพัทธ์สูงสุดเท่ากับ 1.50% ต่อวัน หากปล่อยให้ผักตบชวาเติบโตในแหล่งน้ำ โดยเริ่มต้นจาก 500 กรัมน้ำหนักสดต่อตารางเมตร ในระยะเวลาเพียง 3 เดือนครึ่ง ผักตบชวาสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ให้มวลชีวภาพสูงถึง 40,580 กรัม น้ำหนักสดต่อตารางเมตร ในระยะเวลา 1 ปี ผักตบชวาสามารถเจริญเติบโตให้มวลชีวภาพสูงอยู่ในช่วง 717 ตัน น้ำหนักแห้งต่อไร่ ผักตบชวาจะเจริญเติบโตสูงสุดในช่วงเดือนเมษายน และมีการเจริญเติบโตต่ำสุดในช่วงเดือนมกราคม เป็นอุปสรรคกับการสัญจรทางน้ำ
ในการนี้ ได้มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำนวัตกรรม ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตามโครงการ “จิตอาสาเพื่อการพัฒนาลำน้ำกับชีวิต บนวิถีแห่งความพอเพียง” เพื่อแก้ปัญหาผักตบชวาที่ลอยอย่างหนาแน่นอยู่ในลำน้ำ
โดยวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา ได้คิดค้นนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์สร้างต้นแบบเรือเก็บผักตบชวาแบบอัดก้อนและแบบสายพานลำเลียง ซึ่งได้ออกแบบให้มีความกะทัดรัด สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก มีความเหมาะสมกับหน้าประตูระบายน้ำ และคลองสาขา อีกทั้งสามารถขนย้ายเพื่อไปกำจัดต่อได้ง่ายขึ้น และเพื่อให้เกิดความสะดวกในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกรุงเทพมหานคร ที่ประสบปัญหาจากผักตบชวาที่ลอยอยู่ในแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นอุปสรรคกีดขวางทางน้ำไหลและกีดขวางทางสัญจรของเรือขนส่งและต้องการให้เป็นคลองที่มีน้ำไหลใสสะอาด โดยคาดหวังว่าปริมาณผักตบชวาในลำคลองเปรมประชากร จะมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ ได้มีการแบ่งการวัดผลเป็นช่วง ๆ ละ 3 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่สถานีสูบน้ำเปรมเหนือ บางปะอิน ตำบล บางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงโรงเรียนสุลักขณะ ตำบลหลักหก อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร
สำหรับเรือต้นแบบเก็บผักตบชวาทั้งแบบอัดก้อนและแบบสายพานลำเลียง จะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ และพร้อมดำเนินการจัดทำต่อให้ได้เรือเก็บผักตบชวาแบบอัดก้อน 5 ลำ และแบบสายพานลำเลียงอีก 5 ลำ รวมเป็น 10 ลำ ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2562 สำหรับเครื่องกลเติมอากาศ มีทั้งหมด 3 แบบ คือ แบบเหนือผิวน้ำ แบบใต้น้ำ และแบบผสม ซึ่ง สอศ.ได้ดำเนินการประดิษฐ์และติดตั้งไว้ที่คลองเปรมประชากรเป็นหลัก เป้าหมายคือติดตั้งทั้งสิ้น 500 เครื่อง ระยะห่างในการติดตั้ง 50 เมตร ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งไปแล้ว 430 เครื่อง โดยเหลืออีก 70 เครื่องจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2562 นี้
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น