อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม
คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์
2562
พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ
พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ได้จัดทำรายงานผลการพัฒนาประเทศไทยในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ ปี
พ.ศ. 2557 ถึง 2561 ซึ่งก็มีแง่มุมในเรื่องของ
“การพัฒนา ปรับตัว จุดแข็ง และจุดอ่อน” ที่น่าสนใจนะครับ ผมก็ขอนำมาเล่าให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้พอสังเขป
ดังนี้
ภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
มีความแข็งแกร่งขึ้นและมีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อย่างต่อเนื่อง จาก 1% ในปี 2557 ขึ้นมาจนถึง 4.2% ในปี 2561 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก
ชะลอตัวเหลือ 3.7% โดยมูลค่า GDP ของเราเพิ่มขึ้นจาก
13 ล้านล้านบาท ในปีแรกของรัฐบาลเป็น 16 ล้านล้านบาท ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกที่เป็นความเสี่ยง
นอกจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวแล้ว ก็ยังมีปัญหาสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนปัญหาการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT)
และอัตราดอกเบี้ยโลก
เพราะทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทยและทุกภูมิภาคด้วยนะครับ
การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย
จากการริเริ่มโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
ผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม New S - Curve ในช่วงที่ผ่านมา
มากกว่า 7 แสนล้านบาท
ซึ่งก็เป็นทั้งในส่วนของการลงทุนในภาครัฐ และการลงทุนในภาคเอกชนร่วม ที่เรียกว่า PPP
รวมทั้งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ก็ช่วยสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน
บนพื้นฐานของนวัตกรรมและการสร้างมูลค่า ด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
รวมความไปถึงเรื่องนโยบาย Thailand Plus 1 ไทยแลนด์ บวก 1
ด้วย คือประเทศรอบบ้านของเรา และประชาคมอื่น ๆ ด้วย
สำหรับการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ช่วยให้มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก
39.7% ในปี 2559 มาอยู่ที่ 42.6%
ในปี 2561 โดยเป้าหมายการไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว
ต้องมีสัดส่วน SMEs อยู่ที่ 60 - 70%
การเร่งลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สำคัญ
หลังจากหยุดนิ่งมานับ 10 ปี กว่า 2.44 ล้านล้านบาท การเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เกือบ 3 ล้านไร่
การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติและเปิดประมูลสัมปทานที่จะหมดอายุ
ช่วยลดต้นทุนพลังงานของประเทศ 5 แสนล้านบาท
การดูแลเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ชุมชน อาทิ
การทำเกษตรกรรมแปลงใหญ่เป็นครั้งแรก บนพื้นที่กว่า 5.4 ล้านไร่
มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3 แสนราย
โครงการไทยนิยมยั่งยืน ลงไปทำตามความต้องการของประชาชน ทุกหมู่บ้าน
ชุมชน และมีการอบรมให้ความรู้การพัฒนาตนเองด้วย ดูแลเรื่องหนี้สินนอกระบบ
กฎหมายขายฝาก แก้ปัญหาที่ดิน และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างจริงจัง มีทั้งโครงการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในทุกมิติรวมถึงเกษตรกรรมทุกชนิดด้วย
ที่เราดูแลแก้ปัญหาไป ทั้งโดยทันที ระยะปานกลาง
และก็สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วย ทั้งพืช สัตว์น้ำ ประมง และปศุสัตว์ด้วย
สำหรับค้าขายปลีก เราก็คงต้องปรับตัว เรามีตลาดของเราอยู่แล้ว
คนที่มีรายได้น้อยซื้อปลีกได้ เพราะร้านค้าปลีกนั้นสามารถลดราคาได้
การท่องเที่ยวของไทยก็ติดอันดับ 1 ของโลก
และเป็นอันดับ 4 ของประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดในโลก
หากเทียบย้อนหลัง 10 ปี 2551 ถึง 2561
ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 14 ล้านคน เป็น 40 ล้านคน อย่างไรก็ตาม
เราจะต้องเฝ้าระวัง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ต้องมีการบริหารจัดการให้ดี
เพราะมีคนไทยราว 70 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อีก 40
ล้านคน เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติในบ้านของเราอีกด้วย
อันนี้ก็ต้องดูแล เพราะเป็นการเพิ่มรายได้ประเทศของเรา ดูแลเรื่องขยะ
เรื่องความปลอดภัย เรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม
ทุกคนต้องช่วยกันพัฒนา รักษาไว้ เพราะเป็นแหล่งที่มีมูลค่ามหาศาลให้กับประเทศไทย
เรารังเกียจไม่ได้นะครับ
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
จากวิกฤติฝุ่นละอองในปัจจุบัน ผมอยากถือโอกาสขยายวิสัยทัศน์ของเราทุกคน
ไปสู่เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่มากกว่ามองที่ตัวเราเอง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวม
ประเทศชาติ สังคมโลก มีความรับผิดชอบร่วมกัน
ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อที่นักการเมือง นักปกครอง
นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนา นักวิชาการ และที่สำคัญ
ประชาชนควรให้ความสำคัญและลงมือแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน อย่างจริงจัง
ในลักษณะบูรณาการ ด้วยกลไกประชารัฐ เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเชื่อมโยงกับ
สุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเราโดยตรงและโดยอ้อม
แม้รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาปากท้องที่เป็นปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง
แต่ปัญหาด้านสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยความเสื่อมโทรมและมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นเรื่องอนาคต
หลายคนอาจจะมองว่า เป็นเรื่องไกลตัว ไม่สนใจ กลับกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก
จากการรักษาพยาบาลแทนเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกภูมิภาค
ไม่ใช่สภาพอากาศที่ผันแปรรายวัน ตามปกติ แต่มันคือสภาพอากาศสุดขั้ว หนาวจัด
ร้อนจัด แล้งจัด พายุถล่ม ซึ่งล้วนเป็นผลพวงหนึ่ง
มาจากน้ำมือของมนุษย์เราทุกคนทั่วโลก และในประเทศของเราเอง
มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น สิ่งที่ปรากฏชัดทุกวันนี้ เช่น
ออสเตรเลียกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อน อุณหภูมิทะลุ 50 องศาเซลเซียส
สหรัฐอเมริกาและแคนาดากำลังเผชิญกับกระแสลมกรดขั้วโลก (Polar
Vortex) เกิดอากาศหนาวจัดติดลบ 40 - 50 องศาเซลเซียส
เมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกิดวิกฤติมลพิษทางอากาศ PM
2.5 ที่มองไม่เห็น และหมอกควันปกคลุมท้องฟ้า ทั้งหมดนี้
ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นอกจากนี้สิ่งที่น่ากลัวและกำลังจะส่งผลอย่างรุนแรงในปลายศตวรรษนี้
คืออุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรสูงขึ้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
อาจสูงขึ้นถึง 1 เมตร
ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าอาจทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ ๆ ทั้งหลาย
ด้วยน้ำทะเลหนุนเข้ามาทางปากอ่าวและระบบนิเวศน์ถูกทำลายอย่างรุนแรง
พื้นที่เกษตรกรรมจะเกิดปัญหา น้ำกิน-น้ำใช้ก็เริ่มจะไม่บริสุทธิ์
ในการประชุมใหญ่ World Economic Forum ปีนี้
หรือ Davos 2019 ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นพิเศษ
โดยมีรายงานประเมินความเสี่ยงของโลกประจำปี 2019 (The Global Risks Report
2019) ชี้ว่าสภาพอากาศสุดขั้ว
เป็นความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ
คือภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจและความอยู่รอดของมนุษย์ในอนาคต ในขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ
G20 ประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นวาระสำคัญในการประชุมปีนี้
โดยจะผลักดันงานทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร
รายงานล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว
ชี้ชัดว่าถ้าจะรักษาสมดุลทางสภาพภูมิอากาศของโลกให้ได้
เราจะต้องป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หมายความว่าเราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายใน
12 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเป้าหมายนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่าย
ทุกประเทศ ต้องลงมือปฏิวัติรูปแบบทั้งเศรษฐกิจ
การผลิตและการบริโภคให้พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยที่สุด ทุกอย่างต้องใช้เวลา
เริ่มต้น แล้วก็ทำต่อ ๆ ไป ก็จะดีขึ้นเอง แต่ก็ขอให้ทำอย่างรวดเร็วขึ้น
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
จะเห็นว่าชั่วอายุของเรานี้ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ
สิ่งที่เราลงมือทำตอนนี้ และอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้
จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลนี้
จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)
ขององค์การสหประชาชาติ มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศในทุกมิติ ที่เน้นการพัฒนาสีเขียว
ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมทั้งนี้
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา มีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
ๆ อาทิ
(1) กำกับดูแลการปล่อยมลพิษทางน้ำและทางอากาศอย่างเคร่งครัด
และจริงจัง ของสถานประกอบการ โรงงานและนิคมอุตสาหกรรม
(2) การผลักดันกฎหมายใหม่ เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
(3) กำหนดให้การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ
ซึ่งเน้นการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ให้สามารถจัดการขยะมูลฝอยตกค้างตามหลักวิชาการ ได้ราว 27 ล้านตัน จากทั้งหมด 30 กว่าล้านตัน
(4) รณรงค์ลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก โดยร่วมมือกับศูนย์การค้า
ซูเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ สามารถลดได้ราว 370 ล้านใบ
(5) ลดพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Capseal) ได้กว่า
2,600 ล้านชิ้น/ปี หรือประมาณ 520 ตัน/ปี
(6) ห้ามสูบบุหรี่บริเวณพื้นที่ชายทะเล หรือในพื้นที่สาธารณะ
(7) จัดการของเสียอันตรายชุมชนอย่างถูกต้อง 6 หมื่นกว่าตัน
จาก 6 แสนกว่าตัน
(8) แก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน จำนวนจุดความร้อน
(Hotspot) ลดลงกว่าร้อยละ 40 โดยปริมาณค่าฝุ่นละอองที่ตรวจพบลดลง
จำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานก็ลดลงด้วย
อีกทั้งมีการขยายความร่วมมือกับ 5 ประเทศอนุภูมิภาคแม่โขง
ในการแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอย่างยั่งยืนอีกด้วย การทำทุกอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จะไม่ยากนักหากพวกเราทุกคนช่วยกัน
ดีกว่ามาติติงโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน ไม่เกิดประโยชน์ใดใดทั้งสิ้น
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
สำหรับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในปัจจุบัน
ซึ่งตัวเลขดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ (AQI) ที่ปรากฏนั้น
เป็นภาพรวมของฝุ่นทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยฝุ่นละออง PM 2.5 จะส่งผลกระทบต่อบุคคลทั่วไปในระยะยาว 10 ปี 20
ปีข้างหน้า แต่อาจจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงได้โดยง่าย
ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (หอบหืด
ภูมิแพ้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ทั้งนี้
แหล่งที่มาของฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพฯ นั้น
เกิดจากไอเสียดีเซล ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์กว่า 50% (เช่นเดียวกับทุกเมืองใหญ่
ๆ ที่มีการจราจรหนาแน่น) จากการเผาชีวมวล ขยะ อีก 35% (รวมทั้งการเผาในไร่อ้อย
ข้าว ข้าวโพด) ซึ่งผมแนะนำให้ใช้การไถกลบ แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
หรือจุลินทรีย์อีเอ็ม ก็จะช่วยเพิ่มสารอาหารในดิน ไม่สร้างมลพิษฝุ่นละออง
ที่มาของฝุ่นบางส่วนเกิดจากเขตก่อสร้าง โรงงาน (ที่มีทั้งหมดแสนกว่าแห่ง
แต่ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง 1,700 แห่ง โดย 600 แห่งจะต้องปรับปรุงด่วน) โดยกิจกรรมอื่น ๆ
ที่จะก่อให้เกิดฝุ่นหรือควันเพิ่มขึ้น เช่น จุดธูปเทียน สูบบุหรี่ ก็ควรลดลง
จากวิกฤตฝุ่นละอองนี้ ทุกคนได้รับผลกระทบหมด การที่รัฐบาลจะออกมาตรการอะไรออกไป
ก็ต้องเห็นใจเกษตรกร ธุรกิจเอกชน แต่ต้องคำนึงถึงส่วนรวม และการปฏิบัติตามกฎหมาย
การขนส่ง และก็เป็นการขนส่ง ทั้งอาหาร ทั้งสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ผ่านจากภาคโน้นภาคนี้เข้ามาในเขตเมืองเข้าในกรุงเทพฯ ผ่านกรุงเทพฯไปภาคต่อ
ๆ ไป ก็ต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติ
ภายใต้ทุก ๆ วิกฤติในบ้านเมืองของเรานั้น เช่น
การปฏิบัติการช่วยชีวิตทีมหมูป่า หรือพายุปาบึก รวมถึงวิกฤติฝุ่นละอองในครั้งนี้
เราก็ได้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกัน ระดมสมอง ความคิด
ในการแก้ปัญหาอย่างน่าประทับใจ ทั้งการใช้โดรน การใช้เครื่องบินพ่นน้ำ
การพ่นน้ำที่ตึกสูงโครงการอาชีวะอาสา ตั้งศูนย์ Fix it center ให้บริการเช็คสภาพรถ ทำความสะอาดกรองอากาศ ท่อไอเสีย
ออกแบบเครื่องพ่นละอองน้ำ อุโมงค์พ่นน้ำแรงดันสูง เพื่อช่วยดักจับฝุ่นควัน
การออกแบบเครื่องกำจัดมลพิษทางอากาศแบบเคลื่อนที่ รวมถึงการล้างถนนและลดฝุ่นในเขตก่อสร้าง เป็นต้น
อันนั้นเป็นภาพรวมในการแก้ปัญหาฝุ่น PM ทั้ง 2.5 และ PM10 อื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าอันใดอันหนึ่งจะแก้ 2.5
ได้ทันที เป็นไปไม่ได้ ส่วนใหญ่เราต้องไปแก้ที่การจราจร
และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แล้วก็อื่น ๆ ด้วยที่สร้างฝุ่นละอองขนาดเล็ก
ฉะนั้นจะทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงต้นตอของเขา ของสาเหตุแต่ละเรื่อง
สำหรับแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กของรัฐบาลนั้น
ได้มีการแถลงข่าว และรับทราบกันแล้วตลอดช่วงสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย
มาตรการระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว ที่ต้องการความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย
อาทิ ให้รถยนต์ดีเซล ขสมก. รถยนต์ของทางราชการ ปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน B20 ซึ่งก็น่าจะส่งผลดีต่อตลาดไบโอดีเซลบ้านเรา ทำให้เกิดห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ B20
ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภคด้วย
นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ กรองน้ำมันดีเซล
กรองน้ำมันเครื่อง และล้างหัวฉีด อย่าลืมจอดรถให้ดับเครื่องทุกครั้ง
และห้ามเผาในที่โล่งเด็ดขาด เป็นต้น
โดยรัฐบาลจะเร่งพัฒนาโครงข่ายการให้บริการขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยงทุกระบบ
ตามแผนที่กำหนดไว้ ให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง แทนรถยนต์ส่วนบุคคล
และเร่งรัดแผนการเปลี่ยนรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
(ขสมก.)ให้เป็นรถยนต์ที่มีมลพิษต่ำ เป็นต้น
สำหรับเรื่องพายุปาบึกนั้น ก็กำลังมีการช่วยเหลืออยู่ ในการซ่อม
สร้างบ้าน 5 หมื่นกว่าหลังก็เสร็จไปแล้ว เหลือประมาณ 330
หลังโดยประมาณ ที่จะต้องสร้างใหม่
ซึ่งวันนี้รัฐบาลก็เอางบประมาณต่าง ๆ มาทบทวนดู งบประมาณใดที่เบิกงบประมาณรัฐได้
ก็ใช้งบประมาณรัฐ อันไหนไม่ได้ก็ต้องไปใช้งบประมาณในงบบริจาค
และเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินที่เป็นรายได้จากงานอุ่นไอรักจำนวน
300 ล้านบาทมาให้รัฐบาลนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในเรื่องของพายุปาบึกด้วย
แต่ขอให้ทุกคนเข้าใจอย่างที่ว่าแล้ว เราต้องปรับการใช้งบประมาณเหล่านี้ให้เหมาะสม
เป็นไปตามพระราโชบายของพระองค์ท่านด้วย
ผมก็จะให้นำมาดูเรื่องของการก่อสร้างบ้านทั้งหลัง หรือในเรื่องของการดูแลชาวประมง
เครื่องมือในการทำประมง หรืออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงให้กับประชาชน แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าให้เป็นไปตามกฎหมาย
ตามหลักการและเหตุผลในสิ่งที่ควรจะเป็น
สุดท้ายนี้ ผมขอนำเสนอ ส่วนหนึ่งของมาตรการระยะยาว
ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ ที่กำลังเป็นทิศทางการพัฒนาของโลก ก็คือ การพัฒนาไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยวีดิทัศน์เรื่องแรก
จะเป็น Roadmap ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่การเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
หรือเป็น “EV Hub” ของภูมิภาค และของโลก ในวันข้างหน้า
และเรื่องที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนา
เพื่อดัดแปลงรถยนต์ใช้แล้ว ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในราคาไม่เกิน 2 แสนบาท หรือถูกลงเรื่อย ๆ
ให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถซื้อรถใหม่เป็น EV ที่ยังแพงอยู่
โดยนอกจากจะช่วยประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ราว 45,000 บาทต่อปีแล้ว
ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
ทราบว่ามีเอกชนรายหนึ่ง ที่กำลังเปิดตัว “ควายทอง”
รถเมล์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย ช่วยเติมเต็มระบบขนส่งมวลชนของเรา
ที่สามารถประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็ขอชื่นชมและให้กำลังใจ มา ณ
ที่นี้ด้วย อีกไม่นานก็คงได้เห็นวิ่งกันตามท้องถนนแล้ว ก็ขอให้ดูเรื่องมาตรฐาน
คุณภาพต่าง ๆให้ดี ให้มีการรับรองมาตรฐานให้ดีที่สุด
ที่แพงที่สุดในรถยนต์ไฟฟ้าคือแบตเตอรี่
เราต้องเร่งพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น ต่างประเทศก็มีปัญหาเช่นกัน
ในเรื่องของอายุการใช้งาน จะเห็นได้ว่ามีแบตราคาถูก ราคาแพง
ถ้าราคาถูกคุณภาพก็ด้อยกว่า ราคาแพงบางทีก็แพงเกินไปที่จะซื้อมานะครับ
เพราะฉะนั้นประเทศไทยกำลังพัฒนาในเรื่องนี้ในพื้นที่ของ EEC เรื่องแบตเตอรี่และเรื่องรถไฟฟ้า
เป็นหนึ่งในโครงการ Fast track ของเราด้วย
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของเรา
ให้เหมือนกับการรักษาสุขภาพของตนเอง และดูแลทุกคนในครอบครัวและคนอื่น ๆ
ให้มีความสุขด้วยกันนะครับ เพราะเราอยู่ร่วมกันบนแผ่นดินไทยทุกคนนะครับ สวัสดีครับ
………………………………………….
อนึ่ง วิดีทัศน์ ประกอบรายการสัปดาห์นี้ ดังนี้
1. เรื่องยุทธศาสตร์/แผนงานการยกระดับประเทศไทยให้เป็น “ศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้า(EV)”
<ดาวน์โหลดhttps://youtu.be/aMlnnyS91ro
ปัญหาโลกร้อนส่งผลกระทบต่อโลก สภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิต
อย่างกว้างขวาง โดยมีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาคขนส่ง ประเทศไทยโดยพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัตยาบันในการนำพาประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี
ภายใต้ความตกลงปารีส เมื่อเดือนกันยายน 2559 โดยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ
20 - 25 ภายในปี 2573
เป็นที่มาของการพัฒนายานยนต์แห่งอนาคต
ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ Zero Emission ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และมาตรฐานความปลอดภัย รวมทั้งกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ ต้องติดสติ๊กเกอร์ ECO
sticker ที่จำหน่ายในประเทศ
จึงเป็นการสนับสนุนให้บริษัทรถยนต์นำรถยนต์เทคโนโลยีสูง
เข้ามาผลิตและจำหน่ายในประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
ให้พัฒนาไปสู่ฐานการผลิตยานยนต์ แห่งอนาคต
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน
ทำมาตรการส่งเสริมยานยนต์แห่งอนาคต ตามแนวทางประชารัฐที่ครอบคลุมมาตรการในทุกด้าน
ได้แก่ (1) มาตรการด้านอุปทาน เพื่อส่งเสริมการลงทุน
(2) มาตรการด้านอุปสงค์ เพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ
(3) การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (4) การจัดทำมาตรฐานรถไฟฟ้าและ (5) การบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560
มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
(xEV) ในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
เพื่อวาง Roadmap ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่การเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
และยกระดับเทคโนโลยีให้ก้าวทันกับทิศทางยานยนต์โลก
ที่ผ่านมา
รัฐบาลได้ดำเนินการและมีผลงานที่สำคัญ ดังนี้
(1) มาตรการส่งเสริมรถยนต์ EV
รอบที่ 1 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมการลงทุน
จำนวน 7 ราย ที่ผลิตรถยนต์ HEV และ PHEV
ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกว่า 269,700 คันต่อปี
เงินลงทุนรวม 29,459 ล้านบาท
โดยได้เริ่มผลิตรถยนต์ดังกล่าวแล้ว
(2) สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน
รัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC
: แอดทริก) ที่อำเภอสนามชัยเขต
จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตพื้นที่ EEC ปัจจุบันสนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน
UN R117 ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO
10844 แล้ว
โดยสนามทดสอบนี้จะสามารถทดสอบได้ทั้งยางล้อรถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้า
ได้เป็นแห่งแรกในอาเซียน
อันจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางปัญญา (Value
creation) ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
นอกจากนี้
รัฐบาลกำลังจะออกมาตรการส่งเสริม EV รอบที่ 2 ทั้งนี้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
กระทรวงอุตสาหกรรม และ BOI ร่วมกันปรับปรุงมาตรการภาษีสรรพสามิตรถยนต์
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างและพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์ไปสู่ฐานการผลิตชิ้นส่วนที่เป็นเทคโนโลยีหลัก
(Core Technology) ของรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดฐานการผลิตรถยนต์ BEV และ EV ประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมาตรการส่งเสริม
EV รอบที่ 2 นี้
จะแล้วเสร็จและมีผลภายในรัฐบาลนี้
- การแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM)
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562
มีมติรับทราบแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะยาว
(พ.ศ. 2565 - 2567) ให้ปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Euro
6
จากข้อมูลกรมการขนส่งทางบก พบว่า มีปริมาณรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมในเขตกรุงเทพฯ
กว่า 6 ล้านคัน คิดเป็นร้อยละ
37 ของรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ
ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่า Euro 4 ที่มีการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กมากกว่ามาตรฐาน
Euro 5 และ 6 ถึง 5 เท่าตัว หากประเทศไทยมีการปรับมาตรฐานเป็น Euro 5 ตั้งแต่ปี
2554 ตามแผนเดิมที่กำหนดไว้ จะทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากรถยนต์ในวันนี้หายไปถึง
37,391 ตัน
การปรับปรุงมาตรฐานรถยนต์เป็น Euro 5 และ 6 อาจทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง
แต่เป็นมูลค่าที่เทียบไม่ได้เลยกับต้นทุนด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง
หากคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันตนเองด้วยการซื้อหน้ากากอนามัย N95 ที่สูงถึง 18,250 บาท/ปี/คน
และเครื่องกรองอากาศที่มีราคาเฉลี่ยหลายพันบาทจนถึงหลายหมื่นบาท
รวมถึงค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต
ดังนั้นในส่วนของรถยนต์ รัฐบาลจะดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว
ดังนี้
(1) เร่งรัดให้กระทรวงอุตสาหกรรม
โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปรับปรุงมาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ให้เร็วยิ่งขึ้น
โดยกำหนดให้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องผ่านมาตรฐาน
Euro 6 เท่านั้น สำหรับรถยนต์ใหม่ที่ผลิตในประเทศทุกคัน
ต้องผ่านมาตรฐาน Euro 5 ภายในปี 2564 และมาตรฐาน
Euro 6 ภายในปี 2565
(2) ขอเชิญชวนให้ประชาชนเลือกซื้อรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐาน
Euro 5 และ 6 โดยสามารถดูข้อมูลรายละเอียดที่ถูกต้องได้จาก ECO
Sticker ที่ติดอยู่บนกระจกบนรถยนต์ใหม่ทุกคัน
และค้นหาได้จาก www.car.go.th
(3) ขอเชิญชวนให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันที่ผ่านมาตรฐาน Euro 5
หรือสูงกว่า ซึ่งสามารถเลือกเติมได้แล้วในปัจจุบัน
2. โครงการวิจัยเพื่อการดัดแปลงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า
(i-EV)
<ดาวน์โหลดhttps://drive.google.com/open?id=1m8SOHsXqLYGZzWPPvNGcQOryGhQE9XlC
ปัจจุบันรถยนต์ทั่วโลกมีมากกว่า
1 พันล้านคัน
เป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศมากถึงปีละ 4.6 พันล้านตัน การใช้รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle หรือ EV จึงเป็นทางเลือกสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพราะช่วยลดมลพิษ
และฝุ่นละออง PM 2.5 จากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง
47 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 15 ปี
ผู้ใช้รถ EV ก็จะประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึงปีละประมาณ 26,000
บาท
ด้วยกระแสการปรับตัวหันมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของทั่วโลก
รวมไปถึงการผลักดันจากภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) จึงได้ร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา
มุ่งเน้นดัดแปลงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้แล้ว ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า i-EV
โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์หลักของรถยนต์ไฟฟ้า
7 ส่วน ได้แก่ (1)
มอเตอร์ขับเคลื่อน (2) ชุดควบคุมมอเตอร์ (3)
อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของ ECU (4) อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้า
(5) อุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้า (6) ระบบปรับอากาศ
(7) การออกแบบการจัดวางแบตเตอรี่และระบบดูแลแบตเตอรี่
รถยนต์ไฟฟ้า i-EV
นับเป็น City Car ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึง
160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งได้ระยะทางไม่ต่ำกว่า 200
กิโลเมตรต่อการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง
ซึ่งมีต้นทุนในการดัดแปลงชิ้นส่วน ไม่เกินคันละ 200,000
บาท โดยไม่รวมราคาแบตเตอรี่
ในปี 2563
กฟผ. ตั้งเป้าพัฒนาศูนย์บริการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนเพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์
สร้างรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกให้คนไทยได้ใช้งานในอนาคต
เอกสารประกอบ
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย
เตรียมความรู้ผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์
2562
พลเอก ประยุทธ์
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 20.15 น.
สวัสดีครับ
พ่อแม่พี่น้องชาวไทยที่รักทุกท่าน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายงานผลการพัฒนาประเทศไทยในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 ถึง 2561 ซึ่งก็มีแง่มุมในเรื่องของ “การพัฒนา ปรับตัว จุดแข็ง และจุดอ่อน” ที่น่าสนใจนะครับ ผมก็ขอนำมาเล่าให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้พอสังเขป ดังนี้
ภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีความแข็งแกร่งขึ้นและมีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อย่างต่อเนื่อง จาก 1% ในปี 2557 ขึ้นมาจนถึง 4.2% ในปี 2561 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก ชะลอตัวเหลือ 3.7% โดยมูลค่า GDP ของเราเพิ่มขึ้นจาก 13 ล้านล้านบาท ในปีแรกของรัฐบาลเป็น 16 ล้านล้านบาท ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกที่เป็นความเสี่ยง นอกจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวแล้ว ก็ยังมีปัญหาสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนปัญหาการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) และอัตราดอกเบี้ยโลก เพราะทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทยและทุกภูมิภาคด้วยนะครับ
การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย จากการริเริ่มโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม New S - Curve ในช่วงที่ผ่านมา มากกว่า 7 แสนล้านบาท ซึ่งก็เป็นทั้งในส่วนของการลงทุนในภาครัฐ และการลงทุนในภาคเอกชนร่วม ที่เรียกว่า PPP รวมทั้งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ก็ช่วยสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน บนพื้นฐานของนวัตกรรมและการสร้างมูลค่า ด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมความไปถึงเรื่องนโยบาย Thailand Plus 1 ไทยแลนด์ บวก 1 ด้วย คือประเทศรอบบ้านของเรา และประชาคมอื่น ๆ ด้วย สำหรับการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ช่วยให้มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 39.7% ในปี 2559 มาอยู่ที่ 42.6% ในปี 2561 โดยเป้าหมายการไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องมีสัดส่วน SMEs อยู่ที่ 60 - 70%
การเร่งลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สำคัญ หลังจากหยุดนิ่งมานับ 10 ปี กว่า 2.44 ล้านล้านบาท การเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เกือบ 3 ล้านไร่ การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติและเปิดประมูลสัมปทานที่จะหมดอายุ ช่วยลดต้นทุนพลังงานของประเทศ 5 แสนล้านบาท
การดูแลเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ชุมชน อาทิ การทำเกษตรกรรมแปลงใหญ่เป็นครั้งแรก บนพื้นที่กว่า 5.4 ล้านไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3 แสนราย
โครงการไทยนิยมยั่งยืน ลงไปทำตามความต้องการของประชาชน ทุกหมู่บ้าน ชุมชน และมีการอบรมให้ความรู้การพัฒนาตนเองด้วย ดูแลเรื่องหนี้สินนอกระบบ กฎหมายขายฝาก แก้ปัญหาที่ดิน และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างจริงจัง มีทั้งโครงการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในทุกมิติรวมถึงเกษตรกรรมทุกชนิดด้วย ที่เราดูแลแก้ปัญหาไป ทั้งโดยทันที ระยะปานกลาง และก็สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วย ทั้งพืช สัตว์น้ำ ประมง และปศุสัตว์ด้วย สำหรับค้าขายปลีก เราก็คงต้องปรับตัว เรามีตลาดของเราอยู่แล้ว คนที่มีรายได้น้อยซื้อปลีกได้ เพราะร้านค้าปลีกนั้นสามารถลดราคาได้
การท่องเที่ยวของไทยก็ติดอันดับ 1 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ของประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดในโลก หากเทียบย้อนหลัง 10 ปี 2551 ถึง 2561 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 14 ล้านคน เป็น 40 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เราจะต้องเฝ้าระวัง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ต้องมีการบริหารจัดการให้ดี เพราะมีคนไทยราว 70 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อีก 40 ล้านคน เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติในบ้านของเราอีกด้วย อันนี้ก็ต้องดูแล เพราะเป็นการเพิ่มรายได้ประเทศของเรา ดูแลเรื่องขยะ เรื่องความปลอดภัย เรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทุกคนต้องช่วยกันพัฒนา รักษาไว้ เพราะเป็นแหล่งที่มีมูลค่ามหาศาลให้กับประเทศไทย เรารังเกียจไม่ได้นะครับ
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
จากวิกฤติฝุ่นละอองในปัจจุบัน ผมอยากถือโอกาสขยายวิสัยทัศน์ของเราทุกคน ไปสู่เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่มากกว่ามองที่ตัวเราเอง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวม ประเทศชาติ สังคมโลก มีความรับผิดชอบร่วมกัน ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อที่นักการเมือง นักปกครอง นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนา นักวิชาการ และที่สำคัญ ประชาชนควรให้ความสำคัญและลงมือแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน อย่างจริงจัง ในลักษณะบูรณาการ ด้วยกลไกประชารัฐ เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเชื่อมโยงกับ สุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเราโดยตรงและโดยอ้อม แม้รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาปากท้องที่เป็นปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาด้านสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยความเสื่อมโทรมและมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นเรื่องอนาคต หลายคนอาจจะมองว่า เป็นเรื่องไกลตัว ไม่สนใจ กลับกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก จากการรักษาพยาบาลแทนเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกภูมิภาค ไม่ใช่สภาพอากาศที่ผันแปรรายวัน ตามปกติ แต่มันคือสภาพอากาศสุดขั้ว หนาวจัด ร้อนจัด แล้งจัด พายุถล่ม ซึ่งล้วนเป็นผลพวงหนึ่ง มาจากน้ำมือของมนุษย์เราทุกคนทั่วโลก และในประเทศของเราเอง มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น สิ่งที่ปรากฏชัดทุกวันนี้ เช่น ออสเตรเลียกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อน อุณหภูมิทะลุ 50 องศาเซลเซียส สหรัฐอเมริกาและแคนาดากำลังเผชิญกับกระแสลมกรดขั้วโลก (Polar Vortex) เกิดอากาศหนาวจัดติดลบ 40 - 50 องศาเซลเซียส เมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกิดวิกฤติมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่มองไม่เห็น และหมอกควันปกคลุมท้องฟ้า ทั้งหมดนี้ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้สิ่งที่น่ากลัวและกำลังจะส่งผลอย่างรุนแรงในปลายศตวรรษนี้ คืออุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรสูงขึ้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจสูงขึ้นถึง 1 เมตร ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าอาจทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ ๆ ทั้งหลาย ด้วยน้ำทะเลหนุนเข้ามาทางปากอ่าวและระบบนิเวศน์ถูกทำลายอย่างรุนแรง พื้นที่เกษตรกรรมจะเกิดปัญหา น้ำกิน-น้ำใช้ก็เริ่มจะไม่บริสุทธิ์
ในการประชุมใหญ่ World Economic Forum ปีนี้ หรือ Davos 2019 ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นพิเศษ โดยมีรายงานประเมินความเสี่ยงของโลกประจำปี 2019 (The Global Risks Report 2019) ชี้ว่าสภาพอากาศสุดขั้ว เป็นความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจและความอยู่รอดของมนุษย์ในอนาคต ในขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ G20 ประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นวาระสำคัญในการประชุมปีนี้ โดยจะผลักดันงานทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร รายงานล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ชี้ชัดว่าถ้าจะรักษาสมดุลทางสภาพภูมิอากาศของโลกให้ได้ เราจะต้องป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หมายความว่าเราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายใน 12 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเป้าหมายนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่าย ทุกประเทศ ต้องลงมือปฏิวัติรูปแบบทั้งเศรษฐกิจ การผลิตและการบริโภคให้พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยที่สุด ทุกอย่างต้องใช้เวลา เริ่มต้น แล้วก็ทำต่อ ๆ ไป ก็จะดีขึ้นเอง แต่ก็ขอให้ทำอย่างรวดเร็วขึ้น
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
จะเห็นว่าชั่วอายุของเรานี้ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ สิ่งที่เราลงมือทำตอนนี้ และอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลนี้ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศในทุกมิติ ที่เน้นการพัฒนาสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมทั้งนี้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา มีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ๆ อาทิ
(1) กำกับดูแลการปล่อยมลพิษทางน้ำและทางอากาศอย่างเคร่งครัด และจริงจัง ของสถานประกอบการ โรงงานและนิคมอุตสาหกรรม
(2) การผลักดันกฎหมายใหม่ เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
(3) กำหนดให้การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเน้นการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้สามารถจัดการขยะมูลฝอยตกค้างตามหลักวิชาการ ได้ราว 27 ล้านตัน จากทั้งหมด 30 กว่าล้านตัน
(4) รณรงค์ลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก โดยร่วมมือกับศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ สามารถลดได้ราว 370 ล้านใบ
(5) ลดพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Capseal) ได้กว่า 2,600 ล้านชิ้น/ปี หรือประมาณ 520 ตัน/ปี
(6) ห้ามสูบบุหรี่บริเวณพื้นที่ชายทะเล หรือในพื้นที่สาธารณะ
(7) จัดการของเสียอันตรายชุมชนอย่างถูกต้อง 6 หมื่นกว่าตัน จาก 6 แสนกว่าตัน
(8) แก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ลดลงกว่าร้อยละ 40 โดยปริมาณค่าฝุ่นละอองที่ตรวจพบลดลง จำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานก็ลดลงด้วย
อีกทั้งมีการขยายความร่วมมือกับ 5 ประเทศอนุภูมิภาคแม่โขง ในการแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอย่างยั่งยืนอีกด้วย การทำทุกอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จะไม่ยากนักหากพวกเราทุกคนช่วยกัน ดีกว่ามาติติงโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน ไม่เกิดประโยชน์ใดใดทั้งสิ้น
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
สำหรับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในปัจจุบัน ซึ่งตัวเลขดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ (AQI) ที่ปรากฏนั้น เป็นภาพรวมของฝุ่นทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยฝุ่นละออง PM 2.5 จะส่งผลกระทบต่อบุคคลทั่วไปในระยะยาว 10 ปี 20 ปีข้างหน้า แต่อาจจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงได้โดยง่าย ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (หอบหืด ภูมิแพ้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ แหล่งที่มาของฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพฯ นั้น เกิดจากไอเสียดีเซล ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์กว่า 50% (เช่นเดียวกับทุกเมืองใหญ่ ๆ ที่มีการจราจรหนาแน่น) จากการเผาชีวมวล ขยะ อีก 35% (รวมทั้งการเผาในไร่อ้อย ข้าว ข้าวโพด) ซึ่งผมแนะนำให้ใช้การไถกลบ แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือจุลินทรีย์อีเอ็ม ก็จะช่วยเพิ่มสารอาหารในดิน ไม่สร้างมลพิษฝุ่นละออง ที่มาของฝุ่นบางส่วนเกิดจากเขตก่อสร้าง โรงงาน (ที่มีทั้งหมดแสนกว่าแห่ง แต่ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง 1,700 แห่ง โดย 600 แห่งจะต้องปรับปรุงด่วน) โดยกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะก่อให้เกิดฝุ่นหรือควันเพิ่มขึ้น เช่น จุดธูปเทียน สูบบุหรี่ ก็ควรลดลง จากวิกฤตฝุ่นละอองนี้ ทุกคนได้รับผลกระทบหมด การที่รัฐบาลจะออกมาตรการอะไรออกไป ก็ต้องเห็นใจเกษตรกร ธุรกิจเอกชน แต่ต้องคำนึงถึงส่วนรวม และการปฏิบัติตามกฎหมาย การขนส่ง และก็เป็นการขนส่ง ทั้งอาหาร ทั้งสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ผ่านจากภาคโน้นภาคนี้เข้ามาในเขตเมืองเข้าในกรุงเทพฯ ผ่านกรุงเทพฯไปภาคต่อ ๆ ไป ก็ต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติ
ภายใต้ทุก ๆ วิกฤติในบ้านเมืองของเรานั้น เช่น การปฏิบัติการช่วยชีวิตทีมหมูป่า หรือพายุปาบึก รวมถึงวิกฤติฝุ่นละอองในครั้งนี้ เราก็ได้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกัน ระดมสมอง ความคิด ในการแก้ปัญหาอย่างน่าประทับใจ ทั้งการใช้โดรน การใช้เครื่องบินพ่นน้ำ การพ่นน้ำที่ตึกสูงโครงการอาชีวะอาสา ตั้งศูนย์ Fix it center ให้บริการเช็คสภาพรถ ทำความสะอาดกรองอากาศ ท่อไอเสีย ออกแบบเครื่องพ่นละอองน้ำ อุโมงค์พ่นน้ำแรงดันสูง เพื่อช่วยดักจับฝุ่นควัน การออกแบบเครื่องกำจัดมลพิษทางอากาศแบบเคลื่อนที่ รวมถึงการล้างถนนและลดฝุ่นในเขตก่อสร้าง เป็นต้น อันนั้นเป็นภาพรวมในการแก้ปัญหาฝุ่น PM ทั้ง 2.5 และ PM10 อื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าอันใดอันหนึ่งจะแก้ 2.5 ได้ทันที เป็นไปไม่ได้ ส่วนใหญ่เราต้องไปแก้ที่การจราจร และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แล้วก็อื่น ๆ ด้วยที่สร้างฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฉะนั้นจะทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงต้นตอของเขา ของสาเหตุแต่ละเรื่อง
สำหรับแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กของรัฐบาลนั้น ได้มีการแถลงข่าว และรับทราบกันแล้วตลอดช่วงสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย มาตรการระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว ที่ต้องการความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย อาทิ ให้รถยนต์ดีเซล ขสมก. รถยนต์ของทางราชการ ปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน B20 ซึ่งก็น่าจะส่งผลดีต่อตลาดไบโอดีเซลบ้านเรา ทำให้เกิดห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ B20 ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ กรองน้ำมันดีเซล กรองน้ำมันเครื่อง และล้างหัวฉีด อย่าลืมจอดรถให้ดับเครื่องทุกครั้ง และห้ามเผาในที่โล่งเด็ดขาด เป็นต้น โดยรัฐบาลจะเร่งพัฒนาโครงข่ายการให้บริการขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยงทุกระบบ ตามแผนที่กำหนดไว้ ให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง แทนรถยนต์ส่วนบุคคล และเร่งรัดแผนการเปลี่ยนรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ให้เป็นรถยนต์ที่มีมลพิษต่ำ เป็นต้น
สำหรับเรื่องพายุปาบึกนั้น ก็กำลังมีการช่วยเหลืออยู่ ในการซ่อม สร้างบ้าน 5 หมื่นกว่าหลังก็เสร็จไปแล้ว เหลือประมาณ 330 หลังโดยประมาณ ที่จะต้องสร้างใหม่ ซึ่งวันนี้รัฐบาลก็เอางบประมาณต่าง ๆ มาทบทวนดู งบประมาณใดที่เบิกงบประมาณรัฐได้ ก็ใช้งบประมาณรัฐ อันไหนไม่ได้ก็ต้องไปใช้งบประมาณในงบบริจาค และเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินที่เป็นรายได้จากงานอุ่นไอรักจำนวน 300 ล้านบาทมาให้รัฐบาลนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในเรื่องของพายุปาบึกด้วย แต่ขอให้ทุกคนเข้าใจอย่างที่ว่าแล้ว เราต้องปรับการใช้งบประมาณเหล่านี้ให้เหมาะสม เป็นไปตามพระราโชบายของพระองค์ท่านด้วย ผมก็จะให้นำมาดูเรื่องของการก่อสร้างบ้านทั้งหลัง หรือในเรื่องของการดูแลชาวประมง เครื่องมือในการทำประมง หรืออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงให้กับประชาชน แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามหลักการและเหตุผลในสิ่งที่ควรจะเป็น
สุดท้ายนี้ ผมขอนำเสนอ ส่วนหนึ่งของมาตรการระยะยาว ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ ที่กำลังเป็นทิศทางการพัฒนาของโลก ก็คือ การพัฒนาไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยวีดิทัศน์เรื่องแรก จะเป็น Roadmap ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่การเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือเป็น “EV Hub” ของภูมิภาค และของโลก ในวันข้างหน้า
และเรื่องที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อดัดแปลงรถยนต์ใช้แล้ว ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในราคาไม่เกิน 2 แสนบาท หรือถูกลงเรื่อย ๆ ให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถซื้อรถใหม่เป็น EV ที่ยังแพงอยู่ โดยนอกจากจะช่วยประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ราว 45,000 บาทต่อปีแล้ว ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
ทราบว่ามีเอกชนรายหนึ่ง ที่กำลังเปิดตัว “ควายทอง” รถเมล์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย ช่วยเติมเต็มระบบขนส่งมวลชนของเรา ที่สามารถประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็ขอชื่นชมและให้กำลังใจ มา ณ ที่นี้ด้วย อีกไม่นานก็คงได้เห็นวิ่งกันตามท้องถนนแล้ว ก็ขอให้ดูเรื่องมาตรฐาน คุณภาพต่าง ๆให้ดี ให้มีการรับรองมาตรฐานให้ดีที่สุด
ที่แพงที่สุดในรถยนต์ไฟฟ้าคือแบตเตอรี่ เราต้องเร่งพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น ต่างประเทศก็มีปัญหาเช่นกัน ในเรื่องของอายุการใช้งาน จะเห็นได้ว่ามีแบตราคาถูก ราคาแพง ถ้าราคาถูกคุณภาพก็ด้อยกว่า ราคาแพงบางทีก็แพงเกินไปที่จะซื้อมานะครับ เพราะฉะนั้นประเทศไทยกำลังพัฒนาในเรื่องนี้ในพื้นที่ของ EEC เรื่องแบตเตอรี่และเรื่องรถไฟฟ้า เป็นหนึ่งในโครงการ Fast track ของเราด้วย
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของเรา ให้เหมือนกับการรักษาสุขภาพของตนเอง และดูแลทุกคนในครอบครัวและคนอื่น ๆ ให้มีความสุขด้วยกันนะครับ เพราะเราอยู่ร่วมกันบนแผ่นดินไทยทุกคนนะครับ สวัสดีครับ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายงานผลการพัฒนาประเทศไทยในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 ถึง 2561 ซึ่งก็มีแง่มุมในเรื่องของ “การพัฒนา ปรับตัว จุดแข็ง และจุดอ่อน” ที่น่าสนใจนะครับ ผมก็ขอนำมาเล่าให้พี่น้องประชาชนได้รับรู้พอสังเขป ดังนี้
ภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีความแข็งแกร่งขึ้นและมีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อย่างต่อเนื่อง จาก 1% ในปี 2557 ขึ้นมาจนถึง 4.2% ในปี 2561 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลก ชะลอตัวเหลือ 3.7% โดยมูลค่า GDP ของเราเพิ่มขึ้นจาก 13 ล้านล้านบาท ในปีแรกของรัฐบาลเป็น 16 ล้านล้านบาท ในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกที่เป็นความเสี่ยง นอกจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวแล้ว ก็ยังมีปัญหาสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ตลอดจนปัญหาการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) และอัตราดอกเบี้ยโลก เพราะทั้งหมดมีความเชื่อมโยงกับประเทศไทยและทุกภูมิภาคด้วยนะครับ
การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย จากการริเริ่มโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม New S - Curve ในช่วงที่ผ่านมา มากกว่า 7 แสนล้านบาท ซึ่งก็เป็นทั้งในส่วนของการลงทุนในภาครัฐ และการลงทุนในภาคเอกชนร่วม ที่เรียกว่า PPP รวมทั้งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ก็ช่วยสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน บนพื้นฐานของนวัตกรรมและการสร้างมูลค่า ด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมความไปถึงเรื่องนโยบาย Thailand Plus 1 ไทยแลนด์ บวก 1 ด้วย คือประเทศรอบบ้านของเรา และประชาคมอื่น ๆ ด้วย สำหรับการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ช่วยให้มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 39.7% ในปี 2559 มาอยู่ที่ 42.6% ในปี 2561 โดยเป้าหมายการไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องมีสัดส่วน SMEs อยู่ที่ 60 - 70%
การเร่งลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สำคัญ หลังจากหยุดนิ่งมานับ 10 ปี กว่า 2.44 ล้านล้านบาท การเพิ่มพื้นที่ชลประทาน เกือบ 3 ล้านไร่ การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติและเปิดประมูลสัมปทานที่จะหมดอายุ ช่วยลดต้นทุนพลังงานของประเทศ 5 แสนล้านบาท
การดูแลเศรษฐกิจฐานราก สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้ชุมชน อาทิ การทำเกษตรกรรมแปลงใหญ่เป็นครั้งแรก บนพื้นที่กว่า 5.4 ล้านไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3 แสนราย
โครงการไทยนิยมยั่งยืน ลงไปทำตามความต้องการของประชาชน ทุกหมู่บ้าน ชุมชน และมีการอบรมให้ความรู้การพัฒนาตนเองด้วย ดูแลเรื่องหนี้สินนอกระบบ กฎหมายขายฝาก แก้ปัญหาที่ดิน และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างจริงจัง มีทั้งโครงการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ในทุกมิติรวมถึงเกษตรกรรมทุกชนิดด้วย ที่เราดูแลแก้ปัญหาไป ทั้งโดยทันที ระยะปานกลาง และก็สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วย ทั้งพืช สัตว์น้ำ ประมง และปศุสัตว์ด้วย สำหรับค้าขายปลีก เราก็คงต้องปรับตัว เรามีตลาดของเราอยู่แล้ว คนที่มีรายได้น้อยซื้อปลีกได้ เพราะร้านค้าปลีกนั้นสามารถลดราคาได้
การท่องเที่ยวของไทยก็ติดอันดับ 1 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ของประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดในโลก หากเทียบย้อนหลัง 10 ปี 2551 ถึง 2561 ไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 14 ล้านคน เป็น 40 ล้านคน อย่างไรก็ตาม เราจะต้องเฝ้าระวัง ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ต้องมีการบริหารจัดการให้ดี เพราะมีคนไทยราว 70 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อีก 40 ล้านคน เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติในบ้านของเราอีกด้วย อันนี้ก็ต้องดูแล เพราะเป็นการเพิ่มรายได้ประเทศของเรา ดูแลเรื่องขยะ เรื่องความปลอดภัย เรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทุกคนต้องช่วยกันพัฒนา รักษาไว้ เพราะเป็นแหล่งที่มีมูลค่ามหาศาลให้กับประเทศไทย เรารังเกียจไม่ได้นะครับ
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
จากวิกฤติฝุ่นละอองในปัจจุบัน ผมอยากถือโอกาสขยายวิสัยทัศน์ของเราทุกคน ไปสู่เรื่องสิ่งแวดล้อม ที่มากกว่ามองที่ตัวเราเอง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวม ประเทศชาติ สังคมโลก มีความรับผิดชอบร่วมกัน ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อที่นักการเมือง นักปกครอง นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนา นักวิชาการ และที่สำคัญ ประชาชนควรให้ความสำคัญและลงมือแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน อย่างจริงจัง ในลักษณะบูรณาการ ด้วยกลไกประชารัฐ เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้นเชื่อมโยงกับ สุขภาพและความเป็นอยู่ของพวกเราโดยตรงและโดยอ้อม แม้รัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาปากท้องที่เป็นปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาด้านสุขภาพมีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยความเสื่อมโทรมและมลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นเรื่องอนาคต หลายคนอาจจะมองว่า เป็นเรื่องไกลตัว ไม่สนใจ กลับกลายเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก จากการรักษาพยาบาลแทนเป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกภูมิภาค ไม่ใช่สภาพอากาศที่ผันแปรรายวัน ตามปกติ แต่มันคือสภาพอากาศสุดขั้ว หนาวจัด ร้อนจัด แล้งจัด พายุถล่ม ซึ่งล้วนเป็นผลพวงหนึ่ง มาจากน้ำมือของมนุษย์เราทุกคนทั่วโลก และในประเทศของเราเอง มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสิ้น สิ่งที่ปรากฏชัดทุกวันนี้ เช่น ออสเตรเลียกำลังเผชิญกับคลื่นความร้อน อุณหภูมิทะลุ 50 องศาเซลเซียส สหรัฐอเมริกาและแคนาดากำลังเผชิญกับกระแสลมกรดขั้วโลก (Polar Vortex) เกิดอากาศหนาวจัดติดลบ 40 - 50 องศาเซลเซียส เมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกิดวิกฤติมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ที่มองไม่เห็น และหมอกควันปกคลุมท้องฟ้า ทั้งหมดนี้ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ภาวะโลกร้อน หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้สิ่งที่น่ากลัวและกำลังจะส่งผลอย่างรุนแรงในปลายศตวรรษนี้ คืออุณหภูมิเฉลี่ยของมหาสมุทรสูงขึ้น และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจสูงขึ้นถึง 1 เมตร ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าอาจทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ ๆ ทั้งหลาย ด้วยน้ำทะเลหนุนเข้ามาทางปากอ่าวและระบบนิเวศน์ถูกทำลายอย่างรุนแรง พื้นที่เกษตรกรรมจะเกิดปัญหา น้ำกิน-น้ำใช้ก็เริ่มจะไม่บริสุทธิ์
ในการประชุมใหญ่ World Economic Forum ปีนี้ หรือ Davos 2019 ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเป็นพิเศษ โดยมีรายงานประเมินความเสี่ยงของโลกประจำปี 2019 (The Global Risks Report 2019) ชี้ว่าสภาพอากาศสุดขั้ว เป็นความล้มเหลวในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ คือภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจและความอยู่รอดของมนุษย์ในอนาคต ในขณะที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจชั้นนำ G20 ประกาศว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเป็นวาระสำคัญในการประชุมปีนี้ โดยจะผลักดันงานทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร รายงานล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ชี้ชัดว่าถ้าจะรักษาสมดุลทางสภาพภูมิอากาศของโลกให้ได้ เราจะต้องป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส หมายความว่าเราต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่งภายใน 12 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งเป้าหมายนี้จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อทุกฝ่าย ทุกประเทศ ต้องลงมือปฏิวัติรูปแบบทั้งเศรษฐกิจ การผลิตและการบริโภคให้พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลน้อยที่สุด ทุกอย่างต้องใช้เวลา เริ่มต้น แล้วก็ทำต่อ ๆ ไป ก็จะดีขึ้นเอง แต่ก็ขอให้ทำอย่างรวดเร็วขึ้น
พี่น้องประชาชนที่รักครับ
จะเห็นว่าชั่วอายุของเรานี้ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ สิ่งที่เราลงมือทำตอนนี้ และอีกไม่กี่ปีต่อจากนี้ จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลนี้ จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศในทุกมิติ ที่เน้นการพัฒนาสีเขียว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมทั้งนี้ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา มีผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ๆ อาทิ
(1) กำกับดูแลการปล่อยมลพิษทางน้ำและทางอากาศอย่างเคร่งครัด และจริงจัง ของสถานประกอบการ โรงงานและนิคมอุตสาหกรรม
(2) การผลักดันกฎหมายใหม่ เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
(3) กำหนดให้การกำจัดขยะมูลฝอยเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งเน้นการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเพิ่มบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้สามารถจัดการขยะมูลฝอยตกค้างตามหลักวิชาการ ได้ราว 27 ล้านตัน จากทั้งหมด 30 กว่าล้านตัน
(4) รณรงค์ลดการใช้โฟมและถุงพลาสติก โดยร่วมมือกับศูนย์การค้า ซูเปอร์มาร์เกต ร้านสะดวกซื้อ สามารถลดได้ราว 370 ล้านใบ
(5) ลดพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Capseal) ได้กว่า 2,600 ล้านชิ้น/ปี หรือประมาณ 520 ตัน/ปี
(6) ห้ามสูบบุหรี่บริเวณพื้นที่ชายทะเล หรือในพื้นที่สาธารณะ
(7) จัดการของเสียอันตรายชุมชนอย่างถูกต้อง 6 หมื่นกว่าตัน จาก 6 แสนกว่าตัน
(8) แก้ปัญหาหมอกควันภาคเหนือให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน จำนวนจุดความร้อน (Hotspot) ลดลงกว่าร้อยละ 40 โดยปริมาณค่าฝุ่นละอองที่ตรวจพบลดลง จำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานก็ลดลงด้วย
อีกทั้งมีการขยายความร่วมมือกับ 5 ประเทศอนุภูมิภาคแม่โขง ในการแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนอย่างยั่งยืนอีกด้วย การทำทุกอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่จะไม่ยากนักหากพวกเราทุกคนช่วยกัน ดีกว่ามาติติงโจมตีให้ร้ายซึ่งกันและกัน ไม่เกิดประโยชน์ใดใดทั้งสิ้น
พี่น้องประชาชนที่เคารพครับ
สำหรับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในปัจจุบัน ซึ่งตัวเลขดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศ (AQI) ที่ปรากฏนั้น เป็นภาพรวมของฝุ่นทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยฝุ่นละออง PM 2.5 จะส่งผลกระทบต่อบุคคลทั่วไปในระยะยาว 10 ปี 20 ปีข้างหน้า แต่อาจจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงได้โดยง่าย ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (หอบหืด ภูมิแพ้) โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ทั้งนี้ แหล่งที่มาของฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพฯ นั้น เกิดจากไอเสียดีเซล ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์กว่า 50% (เช่นเดียวกับทุกเมืองใหญ่ ๆ ที่มีการจราจรหนาแน่น) จากการเผาชีวมวล ขยะ อีก 35% (รวมทั้งการเผาในไร่อ้อย ข้าว ข้าวโพด) ซึ่งผมแนะนำให้ใช้การไถกลบ แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือจุลินทรีย์อีเอ็ม ก็จะช่วยเพิ่มสารอาหารในดิน ไม่สร้างมลพิษฝุ่นละออง ที่มาของฝุ่นบางส่วนเกิดจากเขตก่อสร้าง โรงงาน (ที่มีทั้งหมดแสนกว่าแห่ง แต่ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง 1,700 แห่ง โดย 600 แห่งจะต้องปรับปรุงด่วน) โดยกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะก่อให้เกิดฝุ่นหรือควันเพิ่มขึ้น เช่น จุดธูปเทียน สูบบุหรี่ ก็ควรลดลง จากวิกฤตฝุ่นละอองนี้ ทุกคนได้รับผลกระทบหมด การที่รัฐบาลจะออกมาตรการอะไรออกไป ก็ต้องเห็นใจเกษตรกร ธุรกิจเอกชน แต่ต้องคำนึงถึงส่วนรวม และการปฏิบัติตามกฎหมาย การขนส่ง และก็เป็นการขนส่ง ทั้งอาหาร ทั้งสิ่งของเครื่องใช้จำเป็น ผ่านจากภาคโน้นภาคนี้เข้ามาในเขตเมืองเข้าในกรุงเทพฯ ผ่านกรุงเทพฯไปภาคต่อ ๆ ไป ก็ต้องพิจารณาให้ครบทุกมิติ
ภายใต้ทุก ๆ วิกฤติในบ้านเมืองของเรานั้น เช่น การปฏิบัติการช่วยชีวิตทีมหมูป่า หรือพายุปาบึก รวมถึงวิกฤติฝุ่นละอองในครั้งนี้ เราก็ได้เห็นถึงความร่วมแรงร่วมใจกัน ระดมสมอง ความคิด ในการแก้ปัญหาอย่างน่าประทับใจ ทั้งการใช้โดรน การใช้เครื่องบินพ่นน้ำ การพ่นน้ำที่ตึกสูงโครงการอาชีวะอาสา ตั้งศูนย์ Fix it center ให้บริการเช็คสภาพรถ ทำความสะอาดกรองอากาศ ท่อไอเสีย ออกแบบเครื่องพ่นละอองน้ำ อุโมงค์พ่นน้ำแรงดันสูง เพื่อช่วยดักจับฝุ่นควัน การออกแบบเครื่องกำจัดมลพิษทางอากาศแบบเคลื่อนที่ รวมถึงการล้างถนนและลดฝุ่นในเขตก่อสร้าง เป็นต้น อันนั้นเป็นภาพรวมในการแก้ปัญหาฝุ่น PM ทั้ง 2.5 และ PM10 อื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าอันใดอันหนึ่งจะแก้ 2.5 ได้ทันที เป็นไปไม่ได้ ส่วนใหญ่เราต้องไปแก้ที่การจราจร และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ แล้วก็อื่น ๆ ด้วยที่สร้างฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฉะนั้นจะทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงต้นตอของเขา ของสาเหตุแต่ละเรื่อง
สำหรับแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กของรัฐบาลนั้น ได้มีการแถลงข่าว และรับทราบกันแล้วตลอดช่วงสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย มาตรการระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง และระยะยาว ที่ต้องการความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย อาทิ ให้รถยนต์ดีเซล ขสมก. รถยนต์ของทางราชการ ปรับเปลี่ยนไปใช้น้ำมัน B20 ซึ่งก็น่าจะส่งผลดีต่อตลาดไบโอดีเซลบ้านเรา ทำให้เกิดห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ B20 ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ กรองน้ำมันดีเซล กรองน้ำมันเครื่อง และล้างหัวฉีด อย่าลืมจอดรถให้ดับเครื่องทุกครั้ง และห้ามเผาในที่โล่งเด็ดขาด เป็นต้น โดยรัฐบาลจะเร่งพัฒนาโครงข่ายการให้บริการขนส่งสาธารณะให้เชื่อมโยงทุกระบบ ตามแผนที่กำหนดไว้ ให้เป็นทางเลือกในการเดินทาง แทนรถยนต์ส่วนบุคคล และเร่งรัดแผนการเปลี่ยนรถโดยสารขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)ให้เป็นรถยนต์ที่มีมลพิษต่ำ เป็นต้น
สำหรับเรื่องพายุปาบึกนั้น ก็กำลังมีการช่วยเหลืออยู่ ในการซ่อม สร้างบ้าน 5 หมื่นกว่าหลังก็เสร็จไปแล้ว เหลือประมาณ 330 หลังโดยประมาณ ที่จะต้องสร้างใหม่ ซึ่งวันนี้รัฐบาลก็เอางบประมาณต่าง ๆ มาทบทวนดู งบประมาณใดที่เบิกงบประมาณรัฐได้ ก็ใช้งบประมาณรัฐ อันไหนไม่ได้ก็ต้องไปใช้งบประมาณในงบบริจาค และเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินที่เป็นรายได้จากงานอุ่นไอรักจำนวน 300 ล้านบาทมาให้รัฐบาลนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในเรื่องของพายุปาบึกด้วย แต่ขอให้ทุกคนเข้าใจอย่างที่ว่าแล้ว เราต้องปรับการใช้งบประมาณเหล่านี้ให้เหมาะสม เป็นไปตามพระราโชบายของพระองค์ท่านด้วย ผมก็จะให้นำมาดูเรื่องของการก่อสร้างบ้านทั้งหลัง หรือในเรื่องของการดูแลชาวประมง เครื่องมือในการทำประมง หรืออื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์โดยตรงให้กับประชาชน แต่ทั้งนี้ต้องดูว่าให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามหลักการและเหตุผลในสิ่งที่ควรจะเป็น
สุดท้ายนี้ ผมขอนำเสนอ ส่วนหนึ่งของมาตรการระยะยาว ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ ที่กำลังเป็นทิศทางการพัฒนาของโลก ก็คือ การพัฒนาไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า โดยวีดิทัศน์เรื่องแรก จะเป็น Roadmap ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่การเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือเป็น “EV Hub” ของภูมิภาค และของโลก ในวันข้างหน้า
และเรื่องที่ 2 โครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อดัดแปลงรถยนต์ใช้แล้ว ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า ในราคาไม่เกิน 2 แสนบาท หรือถูกลงเรื่อย ๆ ให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถซื้อรถใหม่เป็น EV ที่ยังแพงอยู่ โดยนอกจากจะช่วยประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ราว 45,000 บาทต่อปีแล้ว ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์
ทราบว่ามีเอกชนรายหนึ่ง ที่กำลังเปิดตัว “ควายทอง” รถเมล์ไฟฟ้าแบรนด์ไทย ช่วยเติมเต็มระบบขนส่งมวลชนของเรา ที่สามารถประหยัดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ก็ขอชื่นชมและให้กำลังใจ มา ณ ที่นี้ด้วย อีกไม่นานก็คงได้เห็นวิ่งกันตามท้องถนนแล้ว ก็ขอให้ดูเรื่องมาตรฐาน คุณภาพต่าง ๆให้ดี ให้มีการรับรองมาตรฐานให้ดีที่สุด
ที่แพงที่สุดในรถยนต์ไฟฟ้าคือแบตเตอรี่ เราต้องเร่งพัฒนาให้มากยิ่งขึ้น ต่างประเทศก็มีปัญหาเช่นกัน ในเรื่องของอายุการใช้งาน จะเห็นได้ว่ามีแบตราคาถูก ราคาแพง ถ้าราคาถูกคุณภาพก็ด้อยกว่า ราคาแพงบางทีก็แพงเกินไปที่จะซื้อมานะครับ เพราะฉะนั้นประเทศไทยกำลังพัฒนาในเรื่องนี้ในพื้นที่ของ EEC เรื่องแบตเตอรี่และเรื่องรถไฟฟ้า เป็นหนึ่งในโครงการ Fast track ของเราด้วย
ขอบคุณครับ ขอให้ทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมของเรา ให้เหมือนกับการรักษาสุขภาพของตนเอง และดูแลทุกคนในครอบครัวและคนอื่น ๆ ให้มีความสุขด้วยกันนะครับ เพราะเราอยู่ร่วมกันบนแผ่นดินไทยทุกคนนะครับ สวัสดีครับ
………………………………………….
อนึ่ง วิดีทัศน์ ประกอบรายการสัปดาห์นี้ ดังนี้
1. เรื่องยุทธศาสตร์/แผนงานการยกระดับประเทศไทยให้เป็น “ศูนย์กลางรถยนต์ไฟฟ้า(EV)”
<ดาวน์โหลดhttps://youtu.be/aMlnnyS91ro
ปัญหาโลกร้อนส่งผลกระทบต่อโลก สภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิต อย่างกว้างขวาง โดยมีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาคขนส่ง ประเทศไทยโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัตยาบันในการนำพาประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี ภายใต้ความตกลงปารีส เมื่อเดือนกันยายน 2559 โดยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20 - 25 ภายในปี 2573
เป็นที่มาของการพัฒนายานยนต์แห่งอนาคต ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ Zero Emission ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมาตรฐานความปลอดภัย รวมทั้งกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ ต้องติดสติ๊กเกอร์ ECO sticker ที่จำหน่ายในประเทศ จึงเป็นการสนับสนุนให้บริษัทรถยนต์นำรถยนต์เทคโนโลยีสูง เข้ามาผลิตและจำหน่ายในประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ให้พัฒนาไปสู่ฐานการผลิตยานยนต์ แห่งอนาคต
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ทำมาตรการส่งเสริมยานยนต์แห่งอนาคต ตามแนวทางประชารัฐที่ครอบคลุมมาตรการในทุกด้าน ได้แก่ (1) มาตรการด้านอุปทาน เพื่อส่งเสริมการลงทุน (2) มาตรการด้านอุปสงค์ เพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (3) การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (4) การจัดทำมาตรฐานรถไฟฟ้าและ (5) การบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ปัญหาโลกร้อนส่งผลกระทบต่อโลก สภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิต อย่างกว้างขวาง โดยมีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจก ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภาคขนส่ง ประเทศไทยโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัตยาบันในการนำพาประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี ภายใต้ความตกลงปารีส เมื่อเดือนกันยายน 2559 โดยมีเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20 - 25 ภายในปี 2573
เป็นที่มาของการพัฒนายานยนต์แห่งอนาคต ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หรือ Zero Emission ที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” ประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และมาตรฐานความปลอดภัย รวมทั้งกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ ต้องติดสติ๊กเกอร์ ECO sticker ที่จำหน่ายในประเทศ จึงเป็นการสนับสนุนให้บริษัทรถยนต์นำรถยนต์เทคโนโลยีสูง เข้ามาผลิตและจำหน่ายในประเทศ และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ให้พัฒนาไปสู่ฐานการผลิตยานยนต์ แห่งอนาคต
กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ทำมาตรการส่งเสริมยานยนต์แห่งอนาคต ตามแนวทางประชารัฐที่ครอบคลุมมาตรการในทุกด้าน ได้แก่ (1) มาตรการด้านอุปทาน เพื่อส่งเสริมการลงทุน (2) มาตรการด้านอุปสงค์ เพื่อกระตุ้นตลาดภายในประเทศ (3) การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน (4) การจัดทำมาตรฐานรถไฟฟ้าและ (5) การบริหารจัดการแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- มาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560
มีมติเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า
(xEV) ในประเทศไทยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
เพื่อวาง Roadmap ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยไปสู่การเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
และยกระดับเทคโนโลยีให้ก้าวทันกับทิศทางยานยนต์โลก
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการและมีผลงานที่สำคัญ ดังนี้
(1) มาตรการส่งเสริมรถยนต์ EV รอบที่ 1 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 7 ราย ที่ผลิตรถยนต์ HEV และ PHEV ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกว่า 269,700 คันต่อปี เงินลงทุนรวม 29,459 ล้านบาท โดยได้เริ่มผลิตรถยนต์ดังกล่าวแล้ว
(2) สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC : แอดทริก) ที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตพื้นที่ EEC ปัจจุบันสนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 10844 แล้ว โดยสนามทดสอบนี้จะสามารถทดสอบได้ทั้งยางล้อรถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้า ได้เป็นแห่งแรกในอาเซียน อันจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางปัญญา (Value creation) ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังจะออกมาตรการส่งเสริม EV รอบที่ 2 ทั้งนี้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และ BOI ร่วมกันปรับปรุงมาตรการภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างและพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์ไปสู่ฐานการผลิตชิ้นส่วนที่เป็นเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) ของรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดฐานการผลิตรถยนต์ BEV และ EV ประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมาตรการส่งเสริม EV รอบที่ 2 นี้ จะแล้วเสร็จและมีผลภายในรัฐบาลนี้
ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการและมีผลงานที่สำคัญ ดังนี้
(1) มาตรการส่งเสริมรถยนต์ EV รอบที่ 1 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 7 ราย ที่ผลิตรถยนต์ HEV และ PHEV ซึ่งมีกำลังการผลิตรวมกว่า 269,700 คันต่อปี เงินลงทุนรวม 29,459 ล้านบาท โดยได้เริ่มผลิตรถยนต์ดังกล่าวแล้ว
(2) สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลได้มีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC : แอดทริก) ที่อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตพื้นที่ EEC ปัจจุบันสนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 10844 แล้ว โดยสนามทดสอบนี้จะสามารถทดสอบได้ทั้งยางล้อรถยนต์และรถยนต์ไฟฟ้า ได้เป็นแห่งแรกในอาเซียน อันจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางปัญญา (Value creation) ให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย
นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังจะออกมาตรการส่งเสริม EV รอบที่ 2 ทั้งนี้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และ BOI ร่วมกันปรับปรุงมาตรการภาษีสรรพสามิตรถยนต์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการสร้างและพัฒนาฐานการผลิตยานยนต์ไปสู่ฐานการผลิตชิ้นส่วนที่เป็นเทคโนโลยีหลัก (Core Technology) ของรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ซึ่งจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดฐานการผลิตรถยนต์ BEV และ EV ประเภทต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมาตรการส่งเสริม EV รอบที่ 2 นี้ จะแล้วเสร็จและมีผลภายในรัฐบาลนี้
- การแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละอองขนาดเล็ก
(PM)
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562
มีมติรับทราบแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในระยะยาว
(พ.ศ. 2565 - 2567) ให้ปรับปรุงมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ให้เป็นไปตามมาตรฐาน Euro
6
จากข้อมูลกรมการขนส่งทางบก พบว่า มีปริมาณรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมในเขตกรุงเทพฯ กว่า 6 ล้านคัน คิดเป็นร้อยละ 37 ของรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่า Euro 4 ที่มีการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กมากกว่ามาตรฐาน Euro 5 และ 6 ถึง 5 เท่าตัว หากประเทศไทยมีการปรับมาตรฐานเป็น Euro 5 ตั้งแต่ปี 2554 ตามแผนเดิมที่กำหนดไว้ จะทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากรถยนต์ในวันนี้หายไปถึง 37,391 ตัน
การปรับปรุงมาตรฐานรถยนต์เป็น Euro 5 และ 6 อาจทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เป็นมูลค่าที่เทียบไม่ได้เลยกับต้นทุนด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง หากคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันตนเองด้วยการซื้อหน้ากากอนามัย N95 ที่สูงถึง 18,250 บาท/ปี/คน และเครื่องกรองอากาศที่มีราคาเฉลี่ยหลายพันบาทจนถึงหลายหมื่นบาท รวมถึงค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต
ดังนั้นในส่วนของรถยนต์ รัฐบาลจะดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ดังนี้
(1) เร่งรัดให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปรับปรุงมาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ให้เร็วยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องผ่านมาตรฐาน Euro 6 เท่านั้น สำหรับรถยนต์ใหม่ที่ผลิตในประเทศทุกคัน ต้องผ่านมาตรฐาน Euro 5 ภายในปี 2564 และมาตรฐาน Euro 6 ภายในปี 2565
(2) ขอเชิญชวนให้ประชาชนเลือกซื้อรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐาน Euro 5 และ 6 โดยสามารถดูข้อมูลรายละเอียดที่ถูกต้องได้จาก ECO Sticker ที่ติดอยู่บนกระจกบนรถยนต์ใหม่ทุกคัน และค้นหาได้จาก www.car.go.th
(3) ขอเชิญชวนให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันที่ผ่านมาตรฐาน Euro 5 หรือสูงกว่า ซึ่งสามารถเลือกเติมได้แล้วในปัจจุบัน
จากข้อมูลกรมการขนส่งทางบก พบว่า มีปริมาณรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมในเขตกรุงเทพฯ กว่า 6 ล้านคัน คิดเป็นร้อยละ 37 ของรถยนต์ที่จดทะเบียนสะสมทั่วประเทศ ซึ่งมีมาตรฐานเทียบเท่า Euro 4 ที่มีการปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กมากกว่ามาตรฐาน Euro 5 และ 6 ถึง 5 เท่าตัว หากประเทศไทยมีการปรับมาตรฐานเป็น Euro 5 ตั้งแต่ปี 2554 ตามแผนเดิมที่กำหนดไว้ จะทำให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากรถยนต์ในวันนี้หายไปถึง 37,391 ตัน
การปรับปรุงมาตรฐานรถยนต์เป็น Euro 5 และ 6 อาจทำให้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นบ้าง แต่เป็นมูลค่าที่เทียบไม่ได้เลยกับต้นทุนด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง หากคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการป้องกันตนเองด้วยการซื้อหน้ากากอนามัย N95 ที่สูงถึง 18,250 บาท/ปี/คน และเครื่องกรองอากาศที่มีราคาเฉลี่ยหลายพันบาทจนถึงหลายหมื่นบาท รวมถึงค่ารักษาพยาบาลอื่น ๆ ที่จะตามมาในอนาคต
ดังนั้นในส่วนของรถยนต์ รัฐบาลจะดำเนินการตามขั้นตอน เพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ดังนี้
(1) เร่งรัดให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมปรับปรุงมาตรฐานการระบายสารมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ให้เร็วยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องผ่านมาตรฐาน Euro 6 เท่านั้น สำหรับรถยนต์ใหม่ที่ผลิตในประเทศทุกคัน ต้องผ่านมาตรฐาน Euro 5 ภายในปี 2564 และมาตรฐาน Euro 6 ภายในปี 2565
(2) ขอเชิญชวนให้ประชาชนเลือกซื้อรถยนต์ที่ผ่านมาตรฐาน Euro 5 และ 6 โดยสามารถดูข้อมูลรายละเอียดที่ถูกต้องได้จาก ECO Sticker ที่ติดอยู่บนกระจกบนรถยนต์ใหม่ทุกคัน และค้นหาได้จาก www.car.go.th
(3) ขอเชิญชวนให้ประชาชนเลือกใช้น้ำมันที่ผ่านมาตรฐาน Euro 5 หรือสูงกว่า ซึ่งสามารถเลือกเติมได้แล้วในปัจจุบัน
2. โครงการวิจัยเพื่อการดัดแปลงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า
(i-EV)
<ดาวน์โหลดhttps://drive.google.com/open?id=1m8SOHsXqLYGZzWPPvNGcQOryGhQE9XlC
ปัจจุบันรถยนต์ทั่วโลกมีมากกว่า 1 พันล้านคัน เป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศมากถึงปีละ 4.6 พันล้านตัน การใช้รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle หรือ EV จึงเป็นทางเลือกสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพราะช่วยลดมลพิษ และฝุ่นละออง PM 2.5 จากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 15 ปี ผู้ใช้รถ EV ก็จะประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึงปีละประมาณ 26,000 บาท
ด้วยกระแสการปรับตัวหันมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของทั่วโลก รวมไปถึงการผลักดันจากภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นดัดแปลงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้แล้ว ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า i-EV
โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์หลักของรถยนต์ไฟฟ้า 7 ส่วน ได้แก่ (1) มอเตอร์ขับเคลื่อน (2) ชุดควบคุมมอเตอร์ (3) อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของ ECU (4) อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้า (5) อุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้า (6) ระบบปรับอากาศ (7) การออกแบบการจัดวางแบตเตอรี่และระบบดูแลแบตเตอรี่
รถยนต์ไฟฟ้า i-EV นับเป็น City Car ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งได้ระยะทางไม่ต่ำกว่า 200 กิโลเมตรต่อการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง ซึ่งมีต้นทุนในการดัดแปลงชิ้นส่วน ไม่เกินคันละ 200,000 บาท โดยไม่รวมราคาแบตเตอรี่
ในปี 2563 กฟผ. ตั้งเป้าพัฒนาศูนย์บริการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนเพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์ สร้างรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกให้คนไทยได้ใช้งานในอนาคต
เอกสารประกอบ
ปัจจุบันรถยนต์ทั่วโลกมีมากกว่า 1 พันล้านคัน เป็นสาเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศมากถึงปีละ 4.6 พันล้านตัน การใช้รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle หรือ EV จึงเป็นทางเลือกสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อมเพราะช่วยลดมลพิษ และฝุ่นละออง PM 2.5 จากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 47 เปอร์เซ็นต์ในระยะเวลา 15 ปี ผู้ใช้รถ EV ก็จะประหยัดเงินค่าน้ำมันได้ถึงปีละประมาณ 26,000 บาท
ด้วยกระแสการปรับตัวหันมาใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของทั่วโลก รวมไปถึงการผลักดันจากภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา มุ่งเน้นดัดแปลงรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้แล้ว ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า i-EV
โดยพัฒนาชุดอุปกรณ์หลักของรถยนต์ไฟฟ้า 7 ส่วน ได้แก่ (1) มอเตอร์ขับเคลื่อน (2) ชุดควบคุมมอเตอร์ (3) อุปกรณ์ควบคุมการทำงานของ ECU (4) อุปกรณ์ปรับแรงดันไฟฟ้า (5) อุปกรณ์อัดประจุไฟฟ้า (6) ระบบปรับอากาศ (7) การออกแบบการจัดวางแบตเตอรี่และระบบดูแลแบตเตอรี่
รถยนต์ไฟฟ้า i-EV นับเป็น City Car ที่สามารถขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุดได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วิ่งได้ระยะทางไม่ต่ำกว่า 200 กิโลเมตรต่อการอัดประจุไฟฟ้า 1 ครั้ง ซึ่งมีต้นทุนในการดัดแปลงชิ้นส่วน ไม่เกินคันละ 200,000 บาท โดยไม่รวมราคาแบตเตอรี่
ในปี 2563 กฟผ. ตั้งเป้าพัฒนาศูนย์บริการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเอกชนเพื่อนำไปต่อยอดพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์ สร้างรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกให้คนไทยได้ใช้งานในอนาคต
เอกสารประกอบ
|
|
ที่มา ; เว็บรัฐบาลไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น