อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 119/2560กศน.ประชุมขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2560
จังหวัดสงขลา - สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) จัดการประชุมขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ กลุ่มสำนักงาน กศน.จังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมหรรษา เจบี อำเภอหาดใหญ่ โดยมีครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 446 คน เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม
นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการสำนักงาน กศน. กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า สำนักงาน กศน. ได้มอบหมายให้สำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล ดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา สำหรับปีงบประมาณ 2560 มีสถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ กศน. จำนวน 386 แห่ง คือ ปัตตานี 171 แห่ง, ยะลา 123 แห่ง, นราธิวาส 42 แห่ง, สงขลา 46 แห่ง และสตูล 4 แห่ง โดยมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวนทั้งสิ้น 372 คน มีผู้เรียนจำนวน 21,642 คน ดังนั้น สถาบันศึกษาปอเนาะจึงเป็นสถานศึกษาทางด้านศาสนาอิสลามที่สำคัญของพื้นที่ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ รวมทั้งให้การอบรมสั่งสอนหลักการทางศาสนาแก่ลูกหลานพี่น้องมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และภูมิภาคอาเซียน
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 กศน.กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับสถาบันศึกษาปอเนาะ ได้ดำเนินการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาหลักสูตรโปรแกรมวิชาเลือกอิสลามศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะที่สามารถนำวิชาศาสนาที่โต๊ะครูสอนอยู่แล้วมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียน ทำให้นักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะได้เรียนรู้ควบคู่ทั้งวิชาสามัญและศาสนา นอกจากนั้นยังมีการเสริมสร้างทักษะอาชีพ จัดมุมเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ 1 ปอเนาะ 1 โครงการพัฒนา ตามความต้องการของสถาบันศึกษาปอเนาะในด้านการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสาธารณูปโภค และการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เหมาะสมในการเรียนรู้ ตลอดจนการเข้าไปทำหน้าที่ผู้ช่วยโต๊ะครูอำนวยความสะดวกแก่โต๊ะครูในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
การจัดการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวทางการบูรณาการและส่งเสริมการศึกษา รับทราบปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษา และนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้บริหารสำนักงาน กศน. ผู้บริหารสำนักงาน กศน.จังหวัดชายแดนภาคใต้ และครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 446 คน
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ กล่าวว่า ครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ถือเป็นตัวแทนของส่วนราชการส่วนกลาง คือ กระทรวงศึกษาธิการ ที่ออกไปทำประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่สถาบันศึกษาปอเนาะที่แต่ละคนรับผิดชอบ ซึ่งการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ของกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นไปที่ 2 ส่วน คือ "ความปลอดภัย และคุณภาพทางการศึกษา"
● ในด้านความปลอดภัย ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักเรียน นักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ให้มีการประสานงานร่วมกันทุกหน่วยงาน อย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจากฝ่ายความมั่นคงซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติ ที่ได้ร่วมวางแผนและดำเนินการตามกรอบงานที่กระทรวงศึกษาธิการวางแผนมาโดยตลอด พร้อมทั้งมีการประชุมร่วมกันเป็นห้วง ๆ ทั้งช่วงเปิดและปิดภาคเรียน เพื่อให้ครอบคลุมสถานศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่
จึงฝากให้ค รูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะได้ทำความเข้าใจถึงงานที่เกี่ยวข้องของตนเอง ปฏิบัติตามแนวทางและมาตรการที่กำหนด เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น หากมีข้อสงสัยขอให้สอบถามฝ่ายความมั่นคง หรือศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) แม้กระทั่งการเดินทางบางครั้งจะเป็นเรื่องส่วนตัวก็ตาม แต่หากจำเป็นก็ควรรายงานให้ฝ่ายความมั่นคงได้รับทราบด้วย
● ในด้านคุณภาพการศึกษา ระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาก่อนเข้ามากำกับดูแลการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ได้พบปัญหาไม่บูรณาการทำงานของหลายหน่วยงาน จึงได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดตั้ง ศปบ.จชต. เพื่อทำหน้าที่เป็น "ศูนย์ใต้" เพื่อเป็นหน่วยงานหลักดูแลรับผิดชอบ หรือกรณีปัญหาการขาดแคลนเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการศึกษาเรียนรู้ ก็แก้ไขปัญหาตามแต่ละระดับและประเภทการศึกษา ในส่วนของการศึกษาในสังกัด กศน. ได้ตั้ง ครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นตำแหน่งพนักงานราชการ
ในส่วนของหลักสูตรอิสลามศึกษา ก็ได้ประกาศใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2559 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง ให้ใช้หลักสูตรอิสลามศึกษาฟัรฎูอีนประจำมัสยิด ระดับอิสลามศึกษาตอนต้น (อิบติดาอียะฮฺ) พุทธศักราช 2559/ฮิจเราะฮฺศักราช 1437 (รายละเอียดตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 28 ก.พ.60) ดังนั้น เมื่อสถาบันศึกษาปอเนาะมีหลักสูตรที่ได้รับการปรับปรุงใหม่แล้ว ปลัดกระทรวงศึกษาธิการก็จะพิจารณากรอบใหญ่ในการยกเลิก เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง มาตรฐานการเรียนรู้ระดับชั้นให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการจัดการศึกษาต่อไป
อีกประการที่สำคัญ ขอให้ กศน.ตำบล ปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นตัวตนที่แท้จริงของ กศน.ตำบล ได้แก่ 1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ 2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) 3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน 4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน
นอกจากนี้ ขอให้เน้นการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) หรือความร่วมมือกับ ศปบ.จชต. และจังหวัดสตูล ในการจัดงานชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 12 (The Southern Border Scout Jamboree 2017) กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2560 ณ ค่ายลูกเสือปากบาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ส่งเสริมให้ลูกเสือทำความดีมีจิตอาสา มีความสามัคคีอยู่ร่วมในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสันติสุข ซึ่งคาดว่าจะมีลูกเสือ-เนตรนารีและเจ้าหน้าที่ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งลูกเสือ-เนตรนารีภูมิภาคต่างๆ ภายในประเทศ และลูกเสือจากประเทศอาเซียนที่จะเชิญมาเข้าร่วมงานชุมนุม จากประเทศเมียนมา อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และมาเลเซีย จำนวน 5,258 คน แยกเป็นลูกเสือ 3,470 คน เนตรนารี 990 คน และเจ้าหน้าที่ 798 คน โดยใช้งบประมาณจัดงานชุมนุมครั้งนี้ประมาณ 20 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณบูรณาการจากหน่วยงานและองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ และจะมีการแถลงข่าวในวันที่ 20 มีนาคมนี้ ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธ อ.เมืองสงขลา
โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบโจทย์ให้ ครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะช่วยคิดใน 2 เรื่อง คือ 1) สิ่งใดที่ทำให้ ครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะรู้สึกปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ 2) จะทำงานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเอกชน อาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และ ศปบ.จชต. ได้อย่างไร ซึ่งคำตอบต่าง ๆ เหล่านี้ขอให้รวบรวมและนำเสนอในช่วงปิดการประชุม
โอกาสเดียวกันนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้เป็นประธานการประชุมมาตรการรักษาความปลอดภัยนักเรียน นักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ณ ห้องประชุมโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อ.หาดใหญ่
สำหรับการประชุมครั้งแรก จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุมค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อย้ำถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยในช่วง "เปิดเทอม" ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 เช่น มาตรการรักษาความปลอดภัยบุคคล บ้านพักครูและที่ตั้งโรงเรียน เส้นทางไปกลับ และมาตรการอื่น ๆ เพิ่มเติม
ส่วนการประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานของทุกหน่วยงาน รวมทั้งหน่วยงานความมั่นคง ในช่วงเปิดเทอมที่ผ่านมา พร้อมทั้งได้หารือถึงแผนการกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยด้านต่าง ๆ ในช่วง "ปิดเทอม" รวมทั้งการพิจารณาแต่งตั้งผู้ประสานงานรักษาความปลอดภัยครูในระดับอำเภอ และการทำ MoU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรักษาความปลอดภัยสำหรับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 119/2560กศน.ประชุมขับเคลื่อนการเรียนรู้สู่สถาบันศึกษาปอเนาะ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2560
นายกฤตชัย อรุณรัตน์ เลขาธิการสำนักงาน กศน. กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า สำนักงาน กศน. ได้มอบหมายให้สำนักงาน กศน.จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล ดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา สำหรับปีงบประมาณ 2560 มีสถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับ กศน. จำนวน 386 แห่ง คือ ปัตตานี 171 แห่ง, ยะลา 123 แห่ง, นราธิวาส 42 แห่ง, สงขลา 46 แห่ง และสตูล 4 แห่ง โดยมีครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะ จำนวนทั้งสิ้น 372 คน มีผู้เรียนจำนวน 21,642 คน ดังนั้น สถาบันศึกษาปอเนาะจึงเป็นสถานศึกษาทางด้านศาสนาอิสลามที่สำคัญของพื้นที่ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ รวมทั้งให้การอบรมสั่งสอนหลักการทางศาสนาแก่ลูกหลานพี่น้องมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และภูมิภาคอาเซียน
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 กศน.กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกับสถาบันศึกษาปอเนาะ ได้ดำเนินการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน พัฒนาหลักสูตรโปรแกรมวิชาเลือกอิสลามศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะที่สามารถนำวิชาศาสนาที่โต๊ะครูสอนอยู่แล้วมาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียน ทำให้นักศึกษาในสถาบันศึกษาปอเนาะได้เรียนรู้ควบคู่ทั้งวิชาสามัญและศาสนา นอกจากนั้นยังมีการเสริมสร้างทักษะอาชีพ จัดมุมเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ 1 ปอเนาะ 1 โครงการพัฒนา ตามความต้องการของสถาบันศึกษาปอเนาะในด้านการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสาธารณูปโภค และการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้เหมาะสมในการเรียนรู้ ตลอดจนการเข้าไปทำหน้าที่ผู้ช่วยโต๊ะครูอำนวยความสะดวกแก่โต๊ะครูในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
การจัดการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนแนวทางการบูรณาการและส่งเสริมการศึกษา รับทราบปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษา และนำข้อมูลที่ได้จากการประชุมไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในสถาบันศึกษาปอเนาะ โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วยผู้บริหารสำนักงาน กศน. ผู้บริหารสำนักงาน กศน.จังหวัดชายแดนภาคใต้ และครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 446 คน
● ในด้านความปลอดภัย ได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยแก่นักเรียน นักศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา ให้มีการประสานงานร่วมกันทุกหน่วยงาน อย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจากฝ่ายความมั่นคงซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติ ที่ได้ร่วมวางแผนและดำเนินการตามกรอบงานที่กระทรวงศึกษาธิการวางแผนมาโดยตลอด พร้อมทั้งมีการประชุมร่วมกันเป็นห้วง ๆ ทั้งช่วงเปิดและปิดภาคเรียน เพื่อให้ครอบคลุมสถานศึกษาทุกสังกัดในพื้นที่
อีกประการที่สำคัญ ขอให้ กศน.ตำบล ปรับบทบาทภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและบริบทของพื้นที่ ภายใต้การขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4 ศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นตัวตนที่แท้จริงของ กศน.ตำบล ได้แก่ 1) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ 2) ศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยตำบล (ศส.ปชต.) 3) ศูนย์ดิจิทัลชุมชน 4) ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตชุมชน
โอกาสนี้ พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ ได้มอบโจทย์ให้ ครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะช่วยคิดใน 2 เรื่อง คือ 1) สิ่งใดที่ทำให้ ครูอาสาสมัครประจำสถาบันศึกษาปอเนาะรู้สึกปลอดภัยในการปฏิบัติหน้าที่ 2) จะทำงานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเอกชน อาชีวศึกษา วิทยาลัยชุมชน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักนายกรัฐมนตรี กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน และ ศปบ.จชต. ได้อย่างไร ซึ่งคำตอบต่าง ๆ เหล่านี้ขอให้รวบรวมและนำเสนอในช่วงปิดการประชุม
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น