อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เทิดพระเกียรติฯ..ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา"..องค์ทูตสันถวไมตรี/UNODC..
เจริญพรสาธุชนชาวไทย ผู้เคารพธรรมทุกหมู่เหล่า...ได้ติดตามข่าวสารในกระแสสังคมโลกยุคไร้พรมแดน เมื่อว่างเว้นจากภาวนา ขณะบำเพ็ญเพียรบนภูเขาพระธาตุภูหว้า จ.ภูเก็ต ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ พบข่าวชิ้นหนึ่งที่ถูกนำมาเผยแพร่ตามสื่อทุกชนิด.. “กรณีสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) รายงานแต่งตั้ง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador) ด้านหลักนิติธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ UNODC เมื่อ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา..เพื่อขอทูลเชิญพระองค์ได้ทรงพระกรุณาช่วยส่งเสริมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม..ด้วยพระองค์ทรงให้ความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับระบบเรือนจำต่อประเด็นผู้ต้องขังหญิงเป็นกรณีพิเศษ..โดยเฉพาะในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี..โครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง (ELFI)..และโครงการกำลังใจในพระดำริฯ..การได้รับการถวายพระเกียรติจากองค์กรของสหประชาชาติในครั้งนี้ในพระองค์ท่าน จึงนำมาสู่ความภาคภูมิใจ..ความปีติยินดีของประชาชนชาวไทยอย่างถ้วนหน้า
...และเมื่อ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในฐานะทูตสันถวไมตรี ด้านส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ UNODC ได้เสด็จร่วมประชุมเวทีสาธารณะว่าด้วยหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Rule of Law and Sustainable Development) ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ...โดยมีบุคคลสำคัญขององค์การสหประชาชาติ/ไทย ผู้แทนของ UNODC (สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก) และผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ตลอดจนถึงผู้แทนทุกภาคส่วนของสังคมกว่า ๒๐๐ คน เข้าร่วมประชุมรับฟังพระดำรัสในครั้งนี้ ทั้งนี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อสื่อสารมวลชนทุกแขนงทั้งในและต่างประเทศ..ดังที่ปรากฏมีการเผยแพร่พระดำรัสทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทยไปทั่ว
ด้วยพระดำรัสที่ทรงคุณค่ายิ่งต่อแนวทางการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม..จึงได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนของสังคม..ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศที่กำลังโหยหาการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อ..สันติภาพ..สันติสุข ของมนุษยชาติ..จึงมีการนำข้อความในพระดำรัสดังกล่าวไปโยงใยเข้ากับมิติทางความคิด..ความรู้สึกทางจิตวิญญาณ..และความเห็นของแต่ละภาคส่วนของสังคม..เพื่อรับรองความรู้สึก..ความเห็นของแต่ละฝ่าย..จนดูเหมือนจะไม่ชอบธรรมต่อพระดำรัสที่เป็นไปตามหลักวิชาการทางกฎหมายและรองรับด้วยหลักธรรมในพระศาสนา..ด้วยออกจะผิดไปจากเจตนาแท้จริงของพระดำรัสดังกล่าว..
ที่สำคัญยิ่งคือ การแปลความบางส่วน..นำไปเผยแพร่ ที่โยงยึดเข้ากับทิฏฐิหรือความเห็นของตนและหมู่คณะ แม้จะอ้างความเคารพ..แต่อาจจะทำให้สูญเสียความชอบธรรมได้
และที่สำคัญยิ่งคือ การสื่อสำคัญผิดในความหมายที่เป็นรากศัพท์ภาษาขององค์การสหประชาชาติ..จึงทำให้เกิดการนำความหมายไปใช้ผิดไปจากจุดประสงค์แห่งความหมายจริง ดังเช่น “Culture of Lawfulness” ซึ่งเป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งหยิบยกมาใช้ในสหประชาชาติ หรือยูเอ็น..แม้จะกระทำด้วยความเคารพ แต่ก็มิบังควรเลย ด้วยจักทำให้เกิดความกระทบต่อพระทัยในพระองค์ท่านที่ทรงมีพระเมตตายิ่งต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า..
จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายในสังคมได้พึงระมัดระวังในการอ้างอิงพระดำรัสดังกล่าวที่มีคุณประโยชน์ยิ่ง ที่ทรงมีเจตนาประทานความรู้ต่อมนุษยชาติในทุกภาคสังคมของโลก ในเรื่องว่าด้วย หลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน..ซึ่งบัดนี้อาตมภาพในฐานะพระวิปัสสนาจารย์จะได้ขอประทานอนุญาตนำสาระสำคัญโดยสรุปจากพระดำรัสฉบับเต็มมาเผยแพร่ เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณชนดังต่อไปนี้..
“...ข้าฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมประชุมเวทีสาธารณะ ว่าด้วยหลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน..การประชุมในวันนี้มีความสำคัญ เหมาะแก่สมัย เพราะเราต่างกำลังมุ่งมั่นดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน..จึงขอกล่าวถึง ความสำคัญของหลักนิติธรรม ซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญคือการพัฒนาที่ยั่งยืน...ในฐานะทูตสันถวไมตรี ฯลฯ...
ประชาคมนานาชาติ ได้รับบทเรียนที่ดีหลายประการในการแสวงหาหนทางเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน...เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ แม้บรรลุผลสำเร็จด้วยดีในหลายด้าน แต่ยังมีอุปสรรคอยู่บางประการ...ซึ่งเชื่อว่า หากเราให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความยุติธรรมและหลักนิติธรรมมากขึ้น ในฐานะที่เป็นรากฐานอันสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน น่าจะก้าวพ้นปัญหาอุปสรรคและบรรลุผลสำเร็จ ก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง...ซึ่ง หลักนิติธรรม จะเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการพยายามเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ด้วยหลักนิติธรรมไม่ได้เพียงแต่เป็นเป้าหมายพัฒนาในตัวของมันเอง แต่ยังเป็นปัจจัยสนับสนุน เพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอื่นๆ ให้ได้ดีขึ้นอีกด้วย
หลักนิติธรรมที่ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในหลักประกันอย่างชัดเจน ต่อการบังคับใช้อำนาจของรัฐ...การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ...ที่ถูกกำหนดให้มุ่งไปเพื่อประโยชน์สุขของสมาชิกในสังคมทุกคน...”
และพระดำรัสในตอนต่อๆ ไป...ก็ยัง ทรงเน้นย้ำประโยชน์โดยธรรมจากหลักนิติธรรม...ซึ่งสอดคล้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่นำไปสู่ความยุติ...โดยธรรม ในทุกภาคส่วนที่ทุกฝ่ายในสังคมจะได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เลือกปฏิบัติ...เพื่อทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดปรากฏขึ้นได้จริง...โดยความสำคัญของบทบาทนิติธรรม...และทรงมีความเป็นห่วงต่อความเข้าใจหรือการมีความคิดเห็นต่อหลักนิติธรรม..ที่ยังมีความแตกต่างกันในเชิงทฤษฎี จึงได้ทรงหยิบยกประสบการณ์ หรือ ความรู้เชิงประจักษ์ ที่ได้สัมผัสมิติแห่งนิติธรรมที่แท้จริงจากการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ที่ประสบปัญหาเรื่องราวต่างๆ นานา ที่นำมาสู่การยืนยันข้อเท็จจริงที่ว่า ความรู้ความเข้าใจในกฎหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิต..ซึ่งควรให้ความสำคัญต่อการตระหนักรู้และทัศนคติของคนในสังคมนั้นๆ ว่า “สังคมใดมีหลักนิติธรรมดำรงอยู่...สังคมนั้นมีรากฐานมั่นคงสำหรับการต่อยอดการพัฒนาให้งดงามและยั่งยืน...”
ทรงเน้นย้ำในพระดำรัสครั้งนี้ว่า “..ความเชื่อมั่น..ความเคารพ ที่ประชาชนมีต่อกฎหมายเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการทำให้หลักนิติธรรมมีความเข้มแข็ง..เพื่อประโยชน์แห่งการพัฒนาสังคม ประเทศชาติ ที่ยั่งยืนในทุกมิติ..ซึ่งเรื่องดังกล่าวมิใช่เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ต้องพยายามอย่างจริงจัง แม้ต้องเผชิญอุปสรรคอันท้าทายมากมาย เพื่อการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพกฎกติกาให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคงในสังคมนั้นๆ... (… to build such a robust culture of lawfulness, may be useful as an illustration here)...”
ในพระดำรัสต่อมา...ทรงยกย่องการพัฒนาทางเลือก ซึ่งเป็นความพยายามร่วมกันหลายฝ่ายในการสนองพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ โดยทรงกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นอุทาหรณ์ที่ช่วยเตือนใจให้ระลึกว่า “...หลักนิติธรรมช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืนมีส่วนช่วยจรรโลงหลักนิติธรรมให้มั่นคงได้...ดังการพัฒนาทางเลือกที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการปลูกพืชเสพติดที่ผิดกฎหมาย แม้จะอยู่ในบริบทเฉพาะเจาะจง แต่เนื้อแท้แล้วกลับเป็นตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นว่า ความริเริ่มด้านการพัฒนาต่างๆ นั้น จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ที่ขาดแคลนโอกาสมีพลังที่จะค่อยๆ พลิกฟื้นให้ชุมชนกลับมาเข้มแข็ง เพื่อการช่วยเสริมสร้างหลักนิติธรรมให้มั่นคง...” ฯลฯ
โดยสรุปจากการอ่านศึกษาพระดำรัสใน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ทรงประทานแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเวทีสาธารณะ ที่ว่าด้วยหลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ในครั้งนี้ แล้วให้ซาบซึ้งในพระปัญญาที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่นำมาสู่การประยุกต์ใช้กฎหมายเพื่อความเหมาะควร คำนึงถึงประโยชน์โดยธรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะพระกรุณาที่มีต่อมนุษยชาติ...ในประชาคมโลก...ที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน ความสำคัญของนิติธรรม เพื่อการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน...ซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่า ผู้มีหน้าที่ในการปกครองบริหารบ้านเมือง ควรน้อมรับพระดำรัสนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติที่มุ่งสู่การร่วมใจกันในการพัฒนาสังคมของตนให้ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมที่จะต้องกลับมาสู่การสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการให้ความสำคัญต่อหลักนิติธรรม อันเป็นเรื่องของการเคารพกฎกติกา เป็นเรื่องของความเป็นธรรม เป็นเรื่องของความเท่าเทียมกัน...การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้ความรุนแรง และการเคารพในสิทธิมนุษยชน นั่นเป็นหัวใจของนิติธรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
พระองค์ท่านได้ทรงฝากเรื่องดังกล่าวนี้ไว้กับทุกคนในสังคม...เพื่อความสันติสุขของมนุษยชาติและสังคมโลก...อันแสดงถึงน้ำพระทัยของพระองค์ที่ทรงมีความเป็นธรรมต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกชาติภาษาในโลกนี้...จึงควรอย่างยิ่งที่องค์การสหประชาชาติอย่าง UNODC จะได้ถวายพระเกียรติเป็นทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญา สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...
จึงควรที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้ถวายพระพรแด่พระองค์...“ขอทรงพระเจริญ...เพื่อเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทยและประชาคมโลกสืบตลอดไป”
บัดนี้ จึงขอประทานอนุญาตอัญเชิญสาระในพระดำรัสมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในการศึกษา...เพื่อจะได้รักษาไว้ซึ่งพระเจตนารมณ์แห่งพระดำรัส...จะได้ป้องกันการล่วงเกินหรือกระทำมิบังควร ไม่ว่าโดยเจตนาหรือไม่เจตนา เพื่อเทิดไว้ซึ่งพระเกียรติคุณของพระองค์สืบต่อไป...ควรมิควรแล้วแต่จักโปรด...
ขอถวายพระพร.
หมายเหตุ : “เทิดพระเกียรติฯ..ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา” ..องค์ทูตสันถวไมตรี/UNODC.. เขียนโดย พระอาจารย์อารยวังโส ในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2560
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
เจริญพรสาธุชนชาวไทย ผู้เคารพธรรมทุกหมู่เหล่า...ได้ติดตามข่าวสารในกระแสสังคมโลกยุคไร้พรมแดน เมื่อว่างเว้นจากภาวนา ขณะบำเพ็ญเพียรบนภูเขาพระธาตุภูหว้า จ.ภูเก็ต ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ พบข่าวชิ้นหนึ่งที่ถูกนำมาเผยแพร่ตามสื่อทุกชนิด.. “กรณีสำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) รายงานแต่งตั้ง พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador) ด้านหลักนิติธรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ UNODC เมื่อ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา..เพื่อขอทูลเชิญพระองค์ได้ทรงพระกรุณาช่วยส่งเสริมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม..ด้วยพระองค์ทรงให้ความสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับระบบเรือนจำต่อประเด็นผู้ต้องขังหญิงเป็นกรณีพิเศษ..โดยเฉพาะในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี..โครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง (ELFI)..และโครงการกำลังใจในพระดำริฯ..การได้รับการถวายพระเกียรติจากองค์กรของสหประชาชาติในครั้งนี้ในพระองค์ท่าน จึงนำมาสู่ความภาคภูมิใจ..ความปีติยินดีของประชาชนชาวไทยอย่างถ้วนหน้า
...และเมื่อ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในฐานะทูตสันถวไมตรี ด้านส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญา ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ UNODC ได้เสด็จร่วมประชุมเวทีสาธารณะว่าด้วยหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (The Rule of Law and Sustainable Development) ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ...โดยมีบุคคลสำคัญขององค์การสหประชาชาติ/ไทย ผู้แทนของ UNODC (สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก) และผู้อำนวยการสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ตลอดจนถึงผู้แทนทุกภาคส่วนของสังคมกว่า ๒๐๐ คน เข้าร่วมประชุมรับฟังพระดำรัสในครั้งนี้ ทั้งนี้ ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อสื่อสารมวลชนทุกแขนงทั้งในและต่างประเทศ..ดังที่ปรากฏมีการเผยแพร่พระดำรัสทั้งภาคภาษาอังกฤษและภาษาไทยไปทั่ว
ด้วยพระดำรัสที่ทรงคุณค่ายิ่งต่อแนวทางการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญกับหลักนิติธรรม..จึงได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนของสังคม..ไม่ว่าในประเทศหรือต่างประเทศที่กำลังโหยหาการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อ..สันติภาพ..สันติสุข ของมนุษยชาติ..จึงมีการนำข้อความในพระดำรัสดังกล่าวไปโยงใยเข้ากับมิติทางความคิด..ความรู้สึกทางจิตวิญญาณ..และความเห็นของแต่ละภาคส่วนของสังคม..เพื่อรับรองความรู้สึก..ความเห็นของแต่ละฝ่าย..จนดูเหมือนจะไม่ชอบธรรมต่อพระดำรัสที่เป็นไปตามหลักวิชาการทางกฎหมายและรองรับด้วยหลักธรรมในพระศาสนา..ด้วยออกจะผิดไปจากเจตนาแท้จริงของพระดำรัสดังกล่าว..
ที่สำคัญยิ่งคือ การแปลความบางส่วน..นำไปเผยแพร่ ที่โยงยึดเข้ากับทิฏฐิหรือความเห็นของตนและหมู่คณะ แม้จะอ้างความเคารพ..แต่อาจจะทำให้สูญเสียความชอบธรรมได้
และที่สำคัญยิ่งคือ การสื่อสำคัญผิดในความหมายที่เป็นรากศัพท์ภาษาขององค์การสหประชาชาติ..จึงทำให้เกิดการนำความหมายไปใช้ผิดไปจากจุดประสงค์แห่งความหมายจริง ดังเช่น “Culture of Lawfulness” ซึ่งเป็นศัพท์ใหม่ที่เพิ่งหยิบยกมาใช้ในสหประชาชาติ หรือยูเอ็น..แม้จะกระทำด้วยความเคารพ แต่ก็มิบังควรเลย ด้วยจักทำให้เกิดความกระทบต่อพระทัยในพระองค์ท่านที่ทรงมีพระเมตตายิ่งต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า..
จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายในสังคมได้พึงระมัดระวังในการอ้างอิงพระดำรัสดังกล่าวที่มีคุณประโยชน์ยิ่ง ที่ทรงมีเจตนาประทานความรู้ต่อมนุษยชาติในทุกภาคสังคมของโลก ในเรื่องว่าด้วย หลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน..ซึ่งบัดนี้อาตมภาพในฐานะพระวิปัสสนาจารย์จะได้ขอประทานอนุญาตนำสาระสำคัญโดยสรุปจากพระดำรัสฉบับเต็มมาเผยแพร่ เพื่อประโยชน์แห่งสาธารณชนดังต่อไปนี้..
“...ข้าฯ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมประชุมเวทีสาธารณะ ว่าด้วยหลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน..การประชุมในวันนี้มีความสำคัญ เหมาะแก่สมัย เพราะเราต่างกำลังมุ่งมั่นดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน..จึงขอกล่าวถึง ความสำคัญของหลักนิติธรรม ซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นสำคัญคือการพัฒนาที่ยั่งยืน...ในฐานะทูตสันถวไมตรี ฯลฯ...
ประชาคมนานาชาติ ได้รับบทเรียนที่ดีหลายประการในการแสวงหาหนทางเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน...เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ แม้บรรลุผลสำเร็จด้วยดีในหลายด้าน แต่ยังมีอุปสรรคอยู่บางประการ...ซึ่งเชื่อว่า หากเราให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความยุติธรรมและหลักนิติธรรมมากขึ้น ในฐานะที่เป็นรากฐานอันสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน น่าจะก้าวพ้นปัญหาอุปสรรคและบรรลุผลสำเร็จ ก้าวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง...ซึ่ง หลักนิติธรรม จะเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการพยายามเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น ด้วยหลักนิติธรรมไม่ได้เพียงแต่เป็นเป้าหมายพัฒนาในตัวของมันเอง แต่ยังเป็นปัจจัยสนับสนุน เพื่อให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอื่นๆ ให้ได้ดีขึ้นอีกด้วย
หลักนิติธรรมที่ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผล จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในหลักประกันอย่างชัดเจน ต่อการบังคับใช้อำนาจของรัฐ...การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมไปถึงการพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ...ที่ถูกกำหนดให้มุ่งไปเพื่อประโยชน์สุขของสมาชิกในสังคมทุกคน...”
และพระดำรัสในตอนต่อๆ ไป...ก็ยัง ทรงเน้นย้ำประโยชน์โดยธรรมจากหลักนิติธรรม...ซึ่งสอดคล้องตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่นำไปสู่ความยุติ...โดยธรรม ในทุกภาคส่วนที่ทุกฝ่ายในสังคมจะได้รับการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานโดยไม่เลือกปฏิบัติ...เพื่อทำให้การพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดปรากฏขึ้นได้จริง...โดยความสำคัญของบทบาทนิติธรรม...และทรงมีความเป็นห่วงต่อความเข้าใจหรือการมีความคิดเห็นต่อหลักนิติธรรม..ที่ยังมีความแตกต่างกันในเชิงทฤษฎี จึงได้ทรงหยิบยกประสบการณ์ หรือ ความรู้เชิงประจักษ์ ที่ได้สัมผัสมิติแห่งนิติธรรมที่แท้จริงจากการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ที่ประสบปัญหาเรื่องราวต่างๆ นานา ที่นำมาสู่การยืนยันข้อเท็จจริงที่ว่า ความรู้ความเข้าใจในกฎหมายนั้นเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิต..ซึ่งควรให้ความสำคัญต่อการตระหนักรู้และทัศนคติของคนในสังคมนั้นๆ ว่า “สังคมใดมีหลักนิติธรรมดำรงอยู่...สังคมนั้นมีรากฐานมั่นคงสำหรับการต่อยอดการพัฒนาให้งดงามและยั่งยืน...”
ทรงเน้นย้ำในพระดำรัสครั้งนี้ว่า “..ความเชื่อมั่น..ความเคารพ ที่ประชาชนมีต่อกฎหมายเป็นเงื่อนไขสำคัญต่อการทำให้หลักนิติธรรมมีความเข้มแข็ง..เพื่อประโยชน์แห่งการพัฒนาสังคม ประเทศชาติ ที่ยั่งยืนในทุกมิติ..ซึ่งเรื่องดังกล่าวมิใช่เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ต้องพยายามอย่างจริงจัง แม้ต้องเผชิญอุปสรรคอันท้าทายมากมาย เพื่อการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเคารพกฎกติกาให้เกิดขึ้นอย่างมั่นคงในสังคมนั้นๆ... (… to build such a robust culture of lawfulness, may be useful as an illustration here)...”
ในพระดำรัสต่อมา...ทรงยกย่องการพัฒนาทางเลือก ซึ่งเป็นความพยายามร่วมกันหลายฝ่ายในการสนองพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ โดยทรงกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นอุทาหรณ์ที่ช่วยเตือนใจให้ระลึกว่า “...หลักนิติธรรมช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาที่ยั่งยืนมีส่วนช่วยจรรโลงหลักนิติธรรมให้มั่นคงได้...ดังการพัฒนาทางเลือกที่นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการปลูกพืชเสพติดที่ผิดกฎหมาย แม้จะอยู่ในบริบทเฉพาะเจาะจง แต่เนื้อแท้แล้วกลับเป็นตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นว่า ความริเริ่มด้านการพัฒนาต่างๆ นั้น จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องราวต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องคำนึงถึงความต้องการของประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ เพื่อให้ผู้ที่ขาดแคลนโอกาสมีพลังที่จะค่อยๆ พลิกฟื้นให้ชุมชนกลับมาเข้มแข็ง เพื่อการช่วยเสริมสร้างหลักนิติธรรมให้มั่นคง...” ฯลฯ
โดยสรุปจากการอ่านศึกษาพระดำรัสใน พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ทรงประทานแก่ผู้เข้าร่วมประชุมเวทีสาธารณะ ที่ว่าด้วยหลักนิติธรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ในครั้งนี้ แล้วให้ซาบซึ้งในพระปัญญาที่แสดงถึงความรู้ความเข้าใจตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่นำมาสู่การประยุกต์ใช้กฎหมายเพื่อความเหมาะควร คำนึงถึงประโยชน์โดยธรรมเป็นสำคัญ โดยเฉพาะพระกรุณาที่มีต่อมนุษยชาติ...ในประชาคมโลก...ที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจใน ความสำคัญของนิติธรรม เพื่อการนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน...ซึ่งประชาชนทุกหมู่เหล่า ผู้มีหน้าที่ในการปกครองบริหารบ้านเมือง ควรน้อมรับพระดำรัสนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติที่มุ่งสู่การร่วมใจกันในการพัฒนาสังคมของตนให้ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมที่จะต้องกลับมาสู่การสร้างจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการให้ความสำคัญต่อหลักนิติธรรม อันเป็นเรื่องของการเคารพกฎกติกา เป็นเรื่องของความเป็นธรรม เป็นเรื่องของความเท่าเทียมกัน...การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้ความรุนแรง และการเคารพในสิทธิมนุษยชน นั่นเป็นหัวใจของนิติธรรมที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
พระองค์ท่านได้ทรงฝากเรื่องดังกล่าวนี้ไว้กับทุกคนในสังคม...เพื่อความสันติสุขของมนุษยชาติและสังคมโลก...อันแสดงถึงน้ำพระทัยของพระองค์ที่ทรงมีความเป็นธรรมต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกชาติภาษาในโลกนี้...จึงควรอย่างยิ่งที่องค์การสหประชาชาติอย่าง UNODC จะได้ถวายพระเกียรติเป็นทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญา สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...
จึงควรที่พสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้ถวายพระพรแด่พระองค์...“ขอทรงพระเจริญ...เพื่อเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทยและประชาคมโลกสืบตลอดไป”
บัดนี้ จึงขอประทานอนุญาตอัญเชิญสาระในพระดำรัสมาเผยแพร่เพื่อประโยชน์ในการศึกษา...เพื่อจะได้รักษาไว้ซึ่งพระเจตนารมณ์แห่งพระดำรัส...จะได้ป้องกันการล่วงเกินหรือกระทำมิบังควร ไม่ว่าโดยเจตนาหรือไม่เจตนา เพื่อเทิดไว้ซึ่งพระเกียรติคุณของพระองค์สืบต่อไป...ควรมิควรแล้วแต่จักโปรด...
ขอถวายพระพร.
หมายเหตุ : “เทิดพระเกียรติฯ..ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา” ..องค์ทูตสันถวไมตรี/UNODC.. เขียนโดย พระอาจารย์อารยวังโส ในฐานะพระวิปัสสนาจารย์ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันที่ 1 มีนาคม 2560
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น