อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 127/2560 หลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ รูปแบบ "PLC หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ "
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม และแถลงข่าว "การเสนอโครงการหรือหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน" เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการจำนวนมากเข้าร่วมประชุมและแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร และนางสุจิตรา พัฒนะภูมิ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.), นายอำนาจ วิชยานุวัติ และนายณรงค์ แผ้วพลสง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กว่า 400 คน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำโครงการดังกล่าว ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการพัฒนาครูในประเทศไทย เพราะมุ่งหวังให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้ตรงตามศักยภาพ สามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการประกอบอาชีพครู อีกทั้งเป็นการพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ ซึ่ง ในอนาคตอันใกล้นี้ ครูทุกคนจะมี Logbook และมี e-Portfolio ในการสะสมชั่วโมง ว่าไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรใดไปแล้วบ้าง และใช้เงินคูปองการอบรมที่จะได้รับคนละ 10,000 บาทต่อปีไปแล้วเท่าไร เงินดังกล่าวไม่สามารถโอนไปเป็นเงินค่าใช้จ่ายอื่นได้ และกระทรวงศึกษาธิการจะมีการประเมินผลหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของครูรายอื่น ๆ ในการเลือกเข้ารับการอบรมต่อไปในอนาคตด้วย
โดยสรุป การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครู จะเน้นไปที่ 2 ส่วน คือ
-
ด้านปริมาณ โดยมุ่งหวังให้ครูสะสมชั่วโมงการสอน เพราะครูยิ่งสอนมาก ยิ่งเก่ง เหมือนนักบินที่มีการสะสมชั่วโมงบิน
-
ด้านคุณภาพ ที่จะให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และสามารถนำไปใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ครูชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ จนถึงเชี่ยวชาญพิเศษ โดยจะให้ครูไปเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานตามวิทยฐานะจาก "สถาบันคุรุพัฒนา" สังกัดสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้นในเร็ว ๆ นี้ โดยสถาบันคุรุพัฒนาจะทำหน้าที่เสมือนฝ่ายวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้กับข้าราชการครู ซึ่งจะมีหน่วยงานจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอหลักสูตรการอบรมให้สถาบันคุรุพัฒนาพิจารณา อีกทั้งครูสามารถเลือกหลักสูตรที่จะเข้าอบรมได้เองด้วย ถือเป็นการยกเลิกระบบการสั่งการจากส่วนกลาง พร้อมทั้งทำลายระบบคอร์รัปชันของการจัดฝึกอบรม และตัดวงจรในการดึงครูออกจากห้องเรียนเพื่อไปเข้าอบรมหลักสูตรต่าง ๆ และการเข้ารับการอบรมจะนำไปรวมกับชั่วโมงการสอนของครูด้วย
แต่หากครูคนใดแจ้งจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมเป็นเท็จก็จะมีความผิดทางกฎหมาย พร้อมทั้งถูกเรียกคืนวิทยฐานะ และจะไปเริ่มต้นการขอวิทยฐานะใหม่ตั้งแต่แรก ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำลังพิจารณากำหนดวิธีการนับชั่วโมงการอบรมพัฒนาว่าต้องอบรมหลักสูตรอะไรบ้าง และแต่ละหลักสูตรคิดเป็นจำนวนชั่วโมงเท่าใด จึงจะขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้
สำหรับหลักสูตรการพัฒนาครูประจำการ จะทำในรูปแบบ PLC (Professional Learning Community) หรือ "ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ" ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การเอาปัญหาของนักเรียนมาหารือหรือหาวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน โดยไม่ใช่การ Lecture หรือการนำผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ มาบรรยาย โดยมีขั้นตอนกระบวนการพิจารณาหลักสูตรเพื่อพัฒนาครู ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลื่อนวิทยฐานะของครูแบบใหม่ จะสอดคล้องกับรายละเอียดในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555ความว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหารเพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward”
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจะยกเลิกการเลื่อนวิทยฐานะแบบอิงผลงานวิชาการหรือการประเมินจากกระดาษ โดยจะเปิดให้มีการขอวิทยฐานะแบบใหม่อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระราชดำรัสข้างต้นของในหลวงรัชกาลที่ 9
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวด้วยว่า ภายหลังการประชุมครั้งนี้จะนำเรื่องการจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนาเข้าประชุมในบอร์ดบริหารของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เพื่อทำการจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนาต่อไป ส่วนหน่วยงานหรือผู้ที่สนใจเสนอหลักสูตรอบรมดังกล่าวข้างต้น สามารถศึกษารายละเอียดได้จากเว็บไซต์ "สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน" hrd.obec.go.th โทร 02 288 5635 หรือ e-mail: spkobec@gmail.com
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 127/2560 หลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ รูปแบบ "PLC หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ "
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุม และแถลงข่าว "การเสนอโครงการหรือหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน" เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมบางกอกพาเลส โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการจำนวนมากเข้าร่วมประชุมและแถลงข่าวครั้งนี้ อาทิ ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร และนางสุจิตรา พัฒนะภูมิ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (กคศ.), นายอำนาจ วิชยานุวัติ และนายณรงค์ แผ้วพลสง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม กว่า 400 คน
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า การที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดทำโครงการดังกล่าว ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการพัฒนาครูในประเทศไทย เพราะมุ่งหวังให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้ตรงตามศักยภาพ สามารถนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ได้จริงในการประกอบอาชีพครู อีกทั้งเป็นการพัฒนาครูเพื่อเชื่อมโยงกับวิทยฐานะ ซึ่ง ในอนาคตอันใกล้นี้ ครูทุกคนจะมี Logbook และมี e-Portfolio ในการสะสมชั่วโมง ว่าไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรใดไปแล้วบ้าง และใช้เงินคูปองการอบรมที่จะได้รับคนละ 10,000 บาทต่อปีไปแล้วเท่าไร เงินดังกล่าวไม่สามารถโอนไปเป็นเงินค่าใช้จ่ายอื่นได้ และกระทรวงศึกษาธิการจะมีการประเมินผลหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของครูรายอื่น ๆ ในการเลือกเข้ารับการอบรมต่อไปในอนาคตด้วย
โดยสรุป การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครู จะเน้นไปที่ 2 ส่วน คือ
- ด้านปริมาณ โดยมุ่งหวังให้ครูสะสมชั่วโมงการสอน เพราะครูยิ่งสอนมาก ยิ่งเก่ง เหมือนนักบินที่มีการสะสมชั่วโมงบิน
- ด้านคุณภาพ ที่จะให้ครูได้พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และสามารถนำไปใช้ในการเลื่อนวิทยฐานะได้ในทุกระดับ ตั้งแต่ครูชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ จนถึงเชี่ยวชาญพิเศษ โดยจะให้ครูไปเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่ได้รับรองมาตรฐานตามวิทยฐานะจาก "สถาบันคุรุพัฒนา" สังกัดสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ที่กำลังจะจัดตั้งขึ้นในเร็ว ๆ นี้ โดยสถาบันคุรุพัฒนาจะทำหน้าที่เสมือนฝ่ายวิชาการในการพัฒนาหลักสูตรการอบรมให้กับข้าราชการครู ซึ่งจะมีหน่วยงานจากทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอหลักสูตรการอบรมให้สถาบันคุรุพัฒนาพิจารณา อีกทั้งครูสามารถเลือกหลักสูตรที่จะเข้าอบรมได้เองด้วย ถือเป็นการยกเลิกระบบการสั่งการจากส่วนกลาง พร้อมทั้งทำลายระบบคอร์รัปชันของการจัดฝึกอบรม และตัดวงจรในการดึงครูออกจากห้องเรียนเพื่อไปเข้าอบรมหลักสูตรต่าง ๆ และการเข้ารับการอบรมจะนำไปรวมกับชั่วโมงการสอนของครูด้วย
แต่หากครูคนใดแจ้งจำนวนชั่วโมงการเข้าอบรมเป็นเท็จก็จะมีความผิดทางกฎหมาย พร้อมทั้งถูกเรียกคืนวิทยฐานะ และจะไปเริ่มต้นการขอวิทยฐานะใหม่ตั้งแต่แรก ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กำลังพิจารณากำหนดวิธีการนับชั่วโมงการอบรมพัฒนาว่าต้องอบรมหลักสูตรอะไรบ้าง และแต่ละหลักสูตรคิดเป็นจำนวนชั่วโมงเท่าใด จึงจะขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเลื่อนวิทยฐานะของครูแบบใหม่ จะสอดคล้องกับรายละเอียดในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555ความว่า “ปัญหาปัจจุบันคือ ครูมุ่งเขียนงานวิทยานิพนธ์ เขียนตำราส่งผู้บริหารเพื่อให้ได้ตำแหน่งและเงินเดือนสูงขึ้น แล้วบางทีก็ย้ายไปที่ใหม่ ส่วนครูที่มุ่งการสอนหนังสือกลับไม่ได้อะไรตอบแทน ระบบไม่ยุติธรรม เราต้องเปลี่ยนระเบียบตรงจุดนี้ การสอนหนังสือต้องถือว่าเป็นความดีความชอบ หากคนใดสอนดี ซึ่งส่วนมากคือมีคุณภาพและปริมาณ ต้องมี reward”
ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการจะยกเลิกการเลื่อนวิทยฐานะแบบอิงผลงานวิชาการหรือการประเมินจากกระดาษ โดยจะเปิดให้มีการขอวิทยฐานะแบบใหม่อย่างเป็นทางการในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระราชดำรัสข้างต้นของในหลวงรัชกาลที่ 9
ที่มา ; เว็บสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
เกณฑ์และกำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีปกติและพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น