อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com
-กำหนดการสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ และ ปกติ ปี 2560
-คู่มือ 4 ชุด นโยบาย บริบริหาร ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
โฆษกฯ ปฏิเสธ รัฐเตรียมปรับขึ้นภาษี VAT 1% ชี้นายกฯ เพียงเปรียบเทียบความเสียสละกับข้อเรียกร้องที่สวนทางกัน ย้ำรัฐบาลไม่ซ้ำเติมประชาชนขณะเดือดร้อน เตือนผู้ไม่หวังดีอย่าฉวยโอกาสตีข่าวรัฐถังแตก
พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อมวลชนหลายสำนักนำเสนอข่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 1
วันนี้ (9 มีนาคม 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สื่อมวลชนหลายสำนักนำเสนอข่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้ปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 1 เพื่อเพิ่มรายได้รัฐ ในช่วงที่กล่าวปราศรัยระหว่างลงพื้นที่และพบปะประชาชนที่ จ.ปราจีนบุรี ว่า เรื่องดังกล่าวอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปจากเจตนาที่แท้จริงของนายกรัฐมนตรี จึงมีการนำเสนอข่าวที่ไม่ถูกต้อง เพราะนายกฯ เพียงต้องการชี้ให้เห็นว่า เมื่อประชาชนเสนอข้อเรียกร้องขอความช่วยเหลือมายังรัฐบาลหลายเรื่อง แต่รายได้หลักของรัฐบาลมาจากการเก็บภาษีแต่เพียงอย่างเดียว แล้วจะนำเงินที่ไหนไปจ่าย ฉะนั้น หากประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ หรือได้รับเงินจากภาครัฐ ประชาชนก็ต้องรู้จักเสียสละด้วย โดยได้ยกตัวอย่างว่า หากประชาชนจ่ายภาษี VAT เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1 ก็จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกกว่า 100,000 ล้านบาท
“ยืนยันว่านายกฯ ไม่มีนโยบายปรับขึ้นภาษีดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะไม่มีรัฐบาลไหนที่จะออกนโยบายซ้ำเติมประชาชนในขณะที่ทุกคนเดือดร้อนเนื่องจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ดังนั้น จึงอยากให้พี่น้องสื่อมวลชนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคม และหวังว่าคงไม่มีผู้ใดหยิบฉวยโอกาสนี้ กระพือข่าวโจมตีว่ารัฐบาลถังแตก เพื่อลดความน่าเชื่อถือ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อใครทั้งสิ้น
“ยืนยันว่านายกฯ ไม่มีนโยบายปรับขึ้นภาษีดังกล่าวแต่อย่างใด เพราะไม่มีรัฐบาลไหนที่จะออกนโยบายซ้ำเติมประชาชนในขณะที่ทุกคนเดือดร้อนเนื่องจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ดังนั้น จึงอยากให้พี่น้องสื่อมวลชนสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สังคม และหวังว่าคงไม่มีผู้ใดหยิบฉวยโอกาสนี้ กระพือข่าวโจมตีว่ารัฐบาลถังแตก เพื่อลดความน่าเชื่อถือ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อใครทั้งสิ้น
ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย
เราใช้ VAT 7 % มานานเท่าไหร่แล้ว
ปี 2535 – VAT 7% เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มบังคับใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีลงเหลือ 6.3% บวกจ่ายให้ท้องถิ่นอีก 0.7% ประกาศบังคับใช้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โดยกระทรวงการคลังมอบให้กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ
ปี 2540 – VAT 10% ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง IMF เสนอให้ประเทศไทยขึ้น VAT เป็น 10%
ปลายปี 2540 – VAT 7% พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก ต่อมารัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีการปรับลดภาษี จาก 10% เป็น 7%
ปัจจุบัน จนถึง ก.ย. 2557 – VAT 7% หลังจากปลายปี 2540 ทุกๆ 2 ปี ก็ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มมาเรื่อยๆ หากปีนี้ไม่มีการต่อพรฎ.ลดภาษี VAT ก็จะปรับเป็น 10%
ถ้า VAT ปรับขึ้นจริงๆ จะเกิดอะไรกับเราบ้าง
เนื่องจาก เจ้า VAT เป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าและรับบริการ รวมถึงผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ส่งออก ผู้ผลิต ผู้ให้บริการขายส่ง ขายปลีก นั่นคือใครที่ซื้อสินค้าและรับบริการก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด และจากรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2556 กว่า 80% เป็นรายได้ที่มาจากภาษีอากร และสัดส่วนรายได้ที่มากที่สุดมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของรายได้ที่จัดเก็บทั้งหมด ถือว่าประเทศไทยของเราเพิ่งพาภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูงมากทีเดียว
หากมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งแรกที่ส่งผลกระทบคือ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปจะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอย (Consumption) ได้ลดลง อาจจะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจหดตัวลงได้
แต่หากมองในมุมของรัฐบาล ที่หลายๆคนคิดว่า รัฐบาลอยากปรับขึ้นภาษีเพราะต้องการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเพิ่งพารายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วนที่มากที่สุด แต่คำตอบในข้อนี้ก็ไม่ตายตัวเสมอไป เพราะหากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าน้อยลง คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าลดลงมากหรือน้อย หากผู้บริโภคซื้อสินค้าในปริมาณที่ลดลงมากๆ ถึงแม้อัตราภาษีจะเพิ่ม ยอดรายรับที่ได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มตรงนี้ก็จะลดลง
ปกติแล้วควรใช้นโยบายเพิ่มภาษีเมื่อไหร่
ภาษีเป็นเครื่องมือทางการคลังชนิดหนึ่ง การใช้นโยบายเพิ่มภาษี เราเรียกว่า นโยบายการคลังแบบหดตัว (Restrictive Fiscal Policy) ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ให้ร้อนแรงมากเกินไป และช่วยในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อไม่ให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นเกินไป
ตอนนี้เราคงได้รับความรู้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มกันไปบ้างแล้วนะคะ เดือนกันยายนนี้คงต้องลุ้นกันละค่ะ ว่าจะมีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีต่อหรือไม่ หากไม่มีคงต้องใช้ VAT 10% กันถ้วนหน้า
ปี 2535 – VAT 7% เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเริ่มบังคับใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยใช้ตามมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร และได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีลงเหลือ 6.3% บวกจ่ายให้ท้องถิ่นอีก 0.7% ประกาศบังคับใช้การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โดยกระทรวงการคลังมอบให้กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ
ปี 2540 – VAT 10% ประเทศไทยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง IMF เสนอให้ประเทศไทยขึ้น VAT เป็น 10%
ปลายปี 2540 – VAT 7% พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเกิดปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก ต่อมารัฐบาลนายชวน หลีกภัย มีการปรับลดภาษี จาก 10% เป็น 7%
ปัจจุบัน จนถึง ก.ย. 2557 – VAT 7% หลังจากปลายปี 2540 ทุกๆ 2 ปี ก็ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีมูลค่าเพิ่มมาเรื่อยๆ หากปีนี้ไม่มีการต่อพรฎ.ลดภาษี VAT ก็จะปรับเป็น 10%
ถ้า VAT ปรับขึ้นจริงๆ จะเกิดอะไรกับเราบ้าง
เนื่องจาก เจ้า VAT เป็นภาษีทางอ้อมที่เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าและรับบริการ รวมถึงผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ส่งออก ผู้ผลิต ผู้ให้บริการขายส่ง ขายปลีก นั่นคือใครที่ซื้อสินค้าและรับบริการก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมด และจากรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2556 กว่า 80% เป็นรายได้ที่มาจากภาษีอากร และสัดส่วนรายได้ที่มากที่สุดมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของรายได้ที่จัดเก็บทั้งหมด ถือว่าประเทศไทยของเราเพิ่งพาภาษีทางอ้อมในสัดส่วนที่สูงมากทีเดียว
หากมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สิ่งแรกที่ส่งผลกระทบคือ ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปจะปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอย (Consumption) ได้ลดลง อาจจะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจหดตัวลงได้
แต่หากมองในมุมของรัฐบาล ที่หลายๆคนคิดว่า รัฐบาลอยากปรับขึ้นภาษีเพราะต้องการมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเพิ่งพารายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มในสัดส่วนที่มากที่สุด แต่คำตอบในข้อนี้ก็ไม่ตายตัวเสมอไป เพราะหากราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคก็จะซื้อสินค้าน้อยลง คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคจะซื้อสินค้าลดลงมากหรือน้อย หากผู้บริโภคซื้อสินค้าในปริมาณที่ลดลงมากๆ ถึงแม้อัตราภาษีจะเพิ่ม ยอดรายรับที่ได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มตรงนี้ก็จะลดลง
ปกติแล้วควรใช้นโยบายเพิ่มภาษีเมื่อไหร่
ภาษีเป็นเครื่องมือทางการคลังชนิดหนึ่ง การใช้นโยบายเพิ่มภาษี เราเรียกว่า นโยบายการคลังแบบหดตัว (Restrictive Fiscal Policy) ซึ่งจะใช้เมื่อต้องการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจไม่ให้ร้อนแรงมากเกินไป และช่วยในการแก้ปัญหาเงินเฟ้อไม่ให้ราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้นเกินไป
ตอนนี้เราคงได้รับความรู้เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มกันไปบ้างแล้วนะคะ เดือนกันยายนนี้คงต้องลุ้นกันละค่ะ ว่าจะมีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีต่อหรือไม่ หากไม่มีคงต้องใช้ VAT 10% กันถ้วนหน้า
ที่มา ; https://sites.google.com/a/psu.ac.th/econ-psu/docs/krittaya-1-2015
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วย
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน+การศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น