อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 585/2560 การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 (CONNEXT ED Open House 2017 Show & Share)
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จับมือ 12 องค์กรเอกชนชั้นนำ เดินหน้าสานพลังประชารัฐ CONNEXT ED เผย 711 ผู้นำรุ่นใหม่ฉายแววโดดเด่น ร่วมเป็น School Partners ในการขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐในปีแรกทั้ง 3,351 โรงเรียนจนสัมฤทธิ์ผล ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์หลักโครงสร้างการขับเคลื่อนประเทศ
Photo Credit: CONNEXT ED
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ คณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) (Basic Education and Human Capital Development) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 (CONNEXT ED Open House 2017 Show & Share) เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน, ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้แทนจากภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนผู้นำรุ่นใหม่จากภาคเอกชน (School Partners) 711 คน เข้าร่วมงาน
● รมว.ศธ.ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันทำสิ่งถูกต้องดีงาม สร้างประวัติศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาไทย
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวว่า โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้คณะทำงานสานพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชน 12 องค์กร และภาคประชาสังคม โดยการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะสิ่งที่เราร่วมกันทำในตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นผลในทันที แต่ในอนาคตข้างหน้าการปฏิรูปการศึกษาด้วยความร่วมมือของประชารัฐในครั้งนี้จะคงอยู่อย่างยั่งยืน
สำหรับการปฏิรูปการศึกษานั้น หากทำการศึกษาจริง ๆ จะพบว่าการปฏิรูปมี 3 ระดับ คือ “เร็ว-กลาง-ช้า” กล่าวคือ การปฏิรูปที่จะเห็นผลอย่างเร็วที่สุดจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ถ้าเห็นผลในระดับกลางจะใช้เวลาประมาณ 20 ปี และหากเห็นผลอย่างช้าจะใช้เวลาประมาณ 30 ปี เช่นเดียวกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา เช่น ฟินแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ดังนั้น เราต้องย้อนกลับไปดูว่าเมื่อประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว ประเทศเหล่านี้ได้ทำอะไรที่ทำให้การปฏิรูปการศึกษาจนกระทั่งประสบผลสำเร็จในทุกวันนี้
● แนะแนวคิดสำคัญที่สามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษา
นพ.ธีระเกียรติ ได้ยกประเด็นตัวอย่างที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยควรนำมาศึกษาวิเคราะห์และปรับใช้ เช่น
-
McKinsey Global Institute: MGI ซึ่งได้ทำการศึกษาระบบของโรงเรียนใน 20 ประเทศ ได้ข้อสรุปว่า ประเทศที่ปฏิรูปการศึกษาสำเร็จ จะมีปัจจัยที่สำคัญ 3 สิ่ง คือ 1) การกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง (Political Crisis) หรือมีผลการประเมินที่ชี้ให้เห็นชัดเจน เช่น ผลคะแนน PISA อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น 2) มีทิศทางและมีการนำที่ชัดเจน 3) มีเป้าหมายที่บรรลุได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่ไม่รู้ว่าเป้าหมายที่จะทำคืออะไร
-
คำกล่าวของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ที่เคยกล่าวไว้ว่า หากต้องการให้ประเทศเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควรมี 3 สิ่งที่จำเป็น คือ 1) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 2) การมีกลไกการตลาดที่ดี 3) การมีระบบเงินทุนที่เข้มแข็ง
-
ปัญหาการศึกษาที่มีคุณภาพต่ำ ปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องให้คนที่มีคุณภาพเข้ามาสอน โดยให้ครูและผู้บริหารที่เก่ง ๆ เข้าไปสอนและบริหารงานในโรงเรียนอ่อน จะทำให้ผลการศึกษาดีขึ้น เพื่อลดช่องว่างของการเหลื่อมล้ำดังกล่าว
สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษาได้ทั้งสิ้น ย้ำด้วยว่าการปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยนั้น ประชาชนไม่ได้สนใจว่าเมื่อปฏิรูปแล้วจะมีโครงสร้างการบริหารงานเป็นอย่างไร แต่สนใจว่าลูกหลานจะได้รับการศึกษาที่ดีหรือไม่ หรือเด็กจะมีหนังสือเรียนดี ๆ หรือมีครูที่ดีมีคุณภาพ รวมทั้งจะเรียนต่อหรือมีงานทำได้อย่างไร
● เผยความสำเร็จ CONNEXT ED เกิดจากความเอาจริง มีส่วนร่วม และมืออาชีพ
โครงการ CONNEXT ED ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการทำงาน ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) นั้น จึงเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงไปถึงตัวเด็กและครูจริง ๆ โดยทุกคนเป็นเจ้าของโครงการ ดังนั้น จึงขอให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปควรมีระบบผู้นำอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ตลอดจนขอให้ช่วยกันพัฒนาการศึกษาให้เด็กไทยมีทัศนคติที่ถูกต้อง, มีอุปนิสัยที่มั่นคง มีวินัย, มีงานทำ และเป็นพลเมืองดี ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้วย
ทั้งนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
-
ก
ารทำงานแบบ “เอาจริง” ของทุกฝ่าย ที่ตั้งใจกันทำงาน ไม่ให้เป็นเพียงโครงการที่ผ่านมาแล้วผ่านไปเหมือนไฟไหม้ฟาง โดยช่วงแรกภาครัฐเองยังไม่แน่ใจว่าภาคเอกชนจะเอาจริงแค่ไหน แต่ภาคเอกชนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าได้ตั้งใจทำมากกว่าเป็นการทำ Corporate Social Responsibility (CSR) เรื่องนี้จึงขอยกเครดิตให้ภาคเอกชนอย่างเต็มที่
-
ทุกคนจากทุกภาคส่วน “มีส่วนร่วม” ด้วยกันอย่างแท้จริง การปฏิรูปครั้งนี้ถือได้ว่าทำกันมาอย่างถูกทิศทาง เลือกทำในเรื่องสำคัญที่สุดที่มีองค์ความรู้
-
ทำงานด้วยความเป็น “มืออาชีพ” สังเกตได้จากการเตรียมงาน มีการเก็บข้อมูล การวัดพื้นฐาน การวัดผลความสำเร็จ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย เป็นเป้าหมายระยะยาวใช้เวลาหลายสิบปี แม้ยังไม่เห็นผลลัพธ์ในตอนนี้แต่ทุกคนยังร่วมกันทำงานอย่างเข้มแข็ง คงความเป็นมืออาชีพได้อย่างน่ายกย่อง
● ขอบคุณ 12 บริษัทที่เข้ามาทุ่มทรัพยากรเพื่อร่วมปฏิรูปร่วมกัน
นพ.ธีระเกียรติ กล่าวด้วยว่า ด้วยองค์ประกอบดังกล่าวนี้ มั่นใจว่าในอนาคตจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแน่นอน เปรียบเสมือนเข็มชั่วโมงบนนาฬิกาที่เดินได้ เพราะเข็มวินาทีมุ่งหน้าเดินไปอย่างไม่หยุดหย่อน และทุกคนในวันนี้ก็คือฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปร่วมกันเพื่อให้เกิดภาพความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ จึงขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ทุกภาคส่วนที่เข้ามาช่วยกันทำงานเพื่อลูกหลานของเรา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วองค์กรของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมสามารถอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องเข้ามาช่วยภาครัฐก็ได้ แต่ทั้ง 12 องค์กรภาคเอกชนและภาคประชาสังคมมีใจที่จะเข้ามาช่วย ด้วยการทุ่มทรัพยากรทั้งคนและงบประมาณ จึงขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะในที่สุดแล้วประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้จะส่งผลต่อลูกหลานเราในอนาคต และทำให้ภาคเอกชนได้คนที่มีคุณภาพเข้าไปทำงานอีกด้วย
● ตั้งเป้าหมายร่วมกัน ส่ง“ผู้นำรุ่นใหม่” (School Partner) ลงทำงานในพื้นที่
นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีเวทีให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือกัน ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นประสานงานกับทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมานั้นทางภาคเอกชนดำเนินงานแบบต่างคนต่างทำ เป้าหมายยังไม่ชัดเจน อีกทั้งยังไม่มีเป้าหมายร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและเป้าหมายของประเทศ
โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน หรือ CONNEXT ED ซึ่งเริ่มต้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 จึงตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าว โดยตลอด 1 ปีที่ผ่านมา มีหลายส่วนที่มีความคืบหน้าไปมาก เช่น มีการลงนามความร่วมมือคณะทำงานในการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ, การจัดทำตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ, การจัดทำเว็บไซต์www.pracharathschool.go.th, MOU CONNEXT ED, การคัดเลือก School Partner, การจัดตั้งกองทุนโรงเรียนประชารัฐ, รวมทั้งเวิร์คช็อปมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4, มีการเชื่อมต่อ High Speed Internet แล้ว 1,294 โรงเรียน, การจัดทำแอพพลิเคชั่น Pracharath เป็นต้น
● เผย 10 ยุทธศาสตร์หลักในการยกระดับและพัฒนาการจัดการศึกษาไทย
สำหรับการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ โครงการได้กำหนด 10 ยุทธศาสตร์หลักในการยกระดับและพัฒนาการจัดการศึกษาไทยตามมาตรฐานสากล (10 Strategic Transformation) คือ
1) Transparency ความโปร่งใสของข้อมูลสถานศึกษา
2) Market Mechanism กลไกการตลาดและการมีส่วนร่วมของชุมชน
3) Leadership Development การพัฒนาและส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่
4) Child Centric & Curriculum หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง
5) Digital Infrastructure การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา
6) High Quality Principals & Teachers หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน
7) English Language Capability การยกระดับทักษะความรู้ ความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาจีนด้วย
8) Health & Heart การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะให้นักเรียน
9) Tax Incentive for Local & International Professor การสร้างมาตรฐานการจูงใจด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
10) Technology Hub R&D ศูนย์กลางการศึกษาเทคโนโลยีแห่งอนาคตในระดับภูมิภาค
● วาง เป้าหมาย CONNEXT ED ปี 2018
แผนการดำเนินงาน CONNEXT ED ปี 2018 มีเป้าหมาย 5 เรื่องด้วยกัน คือ
-
ขับเคลื่อนเป้าหมายและ KPIs ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนจัดทำ School Grading โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ Poor-Fair-Good-Great-Excellent พร้อมทำตัวชี้วัดมาตรฐานโรงเรียนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และยกระดับมาตรฐานโรงเรียนนั้นๆ ได้ อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดกลไกการแข่งขันในการยกระดับและพัฒนาตนเองโดยอัตโนมัติ
-
กลไกตลาด โดยเรื่องของประชารัฐเป็นตัวอย่างที่ดีของการเชื่อมโยงกลไกการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งจากส่วนกลางและในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ (Engagement) ผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) เพื่อเชื่อมโยงภาคเอกชน ภาคประชาสังคม วัดในท้องที่ ผู้ปกครอง ชุมชน เข้าด้วยกัน นับเป็นเป้าหมายสำคัญที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนทุกภาคฝ่ายในระดับพื้นที่เพื่อให้โรงเรียนมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
-
การพัฒนาและส่งเสริมผู้นำ เมื่อมีตัววัดผล มีระดับของโรงเรียน มีกลไกตลาดที่ต้องขับเคลื่อนแล้ว บุคคลสำคัญที่สุดคือกลุ่มผู้นำโรงเรียน โดยเฉพาะผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งจะมีการลงพื้นที่ทำงานร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการอย่างต่อเนื่อง
-
กระบวนการเรียนการสอน โดยเฉพาะเรื่อง PISA O-NET STEM เป็นต้น และที่สำคัญคือ Child Centric โดยตั้งเป้าหมายที่จะมีตัววัด Child Centric ที่ชัดเจน
-
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะ Digital Technology ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้วางพื้นฐานไว้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้ต่อเนื่องและทั่วถึง และจะมีการมอบหมายโรงเรียนประชารัฐเพิ่มเติมอีกประมาณ 1,400 โรงเรียน รวมทั้งหมดประมาณ 4,700 โรงเรียน
นอกจากนี้ จะมีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน เพื่อประเมินว่าโรงเรียนได้สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากน้อยเพียงใดตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการ เพราะหากวัดความเปลี่ยนแปลงได้จะทำให้เห็น Best Practice ได้เช่นกัน อีกทั้งโรงเรียนประชารัฐถือเป็นกลไกการทดลองที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่งด้วย
● เผยความสำคัญความสำเร็จ อยู่ที่ 711 School Partners ลงพื้นที่ใน 3,351 โรงเรียน
นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญคือ การลงพื้นที่ของ School Partners ทั้ง 711 คน ที่ได้ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 3,351 โรงเรียน ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมทั้งประเมินผล KPIs ร่วมกัน ในปีแรกนี้เรียกว่า T0 และวัดผลทุกปีมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นผลอย่างชัดเจน
ดังนั้น School Partner จึงถือเป็นกลไกและเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากในการเชื่อมโยงและทำให้เฟืองการทำงานขยับ จึงขอให้ School Partner ทุกคนมีความตั้งใจและอย่าละความตั้งใจที่ที่มีแต่แรก อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของ School Partner คือ "การเชื่อมโยงสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน" เพราะตราบใดที่ผู้ปกครองและชุมชนยังไม่เชื่อว่าการศึกษาจะพัฒนาลูกหลานได้ การพัฒนาการศึกษาก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ
● "ภาค ประชาสังคม" แนะเพิ่มคุณธรรมจริยธรรมสร้างคนดีให้สังคม
ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส กล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษาว่า ประเทศไทยจะก้าวเดินไปเพียงลำพังไม่ได้ ควรร่วมมือกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นกับทุกประเทศ เช่น โรงเรียนสัตยาไสที่สร้างตัวอย่างอันเกิดประโยชน์มากมายทางการศึกษาให้คนอื่นได้มาเรียนรู้ร่วมกัน นำไปเป็นแนวทางเผยแพร่ต่อไป
นอกจากนี้ ดร.อาจอง ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับตัวอักษร E-Engineering ในคำว่า STEM โดยเสนอให้เปลี่ยนเป็น Ethics ซึ่งหมายถึงคุณธรรมจริยธรรมเนื่องจากเห็นว่าการสร้างคนดีนั้นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด
ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป ภาคประชาสังคม กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สิ่งที่เรากำลังร่วมมือกันขณะนี้ไม่ใช่เรื่องของผลประโยชน์ แต่เป็นความดีงามภายใต้การนำของกระทรวงศึกษาธิการและผู้นำภาคเอกชน จึงขอชื่นชมทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันทำสิ่งดีงามให้กับประเทศชาติ
● หลากหลายความเห็นของภาคเอกชน : SCG-กลุ่มเซ็นทรัล-ธนาคารกรุงเทพ เดินหน้าลงพื้นที่ ใช้ School Partner เป็นกลไกหลัก
นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน - CONNEXT ED ระยะแรกดำเนินการไปแล้ว 40 โรงเรียนในทุกจังหวัดที่มีโรงงาน SCG ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ด้วยการทำงานของ School Partner 70 คนและมีแผนจะเพิ่มจำนวนอีกในระยะถัดไป
ด้านกลุ่มเซ็นทรัล ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบริหารทรัพยากรบุคคลและทุนมนุษย์ กล่าวว่า School Partner ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานกับโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งบุคคลเหล่านี้สามารถต่อยอดให้เป็นผู้นำสังคมหรือองค์กรในอนาคตได้ พร้อมทั้งยืนยันว่ากลุ่มเซ็นทรัลจะสนับสนุนโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน - CONNEXT ED อย่างต่อเนื่องต่อไป
ขณะที่นางรัชนี นพเมือง รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ขณะนี้ได้ดำเนินโครงการฯ ไปแล้ว 207 โรงเรียน และมี School Partner ในพื้นที่ที่ใกล้ชิดชุมชนอย่างแท้จริงจึงได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนเป็นอย่างดี ตลอดจนผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนอยู่เสมอ ทำให้ผลการทำงานออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
● ปตท.ผุดโครงการพิเศษ “โรงเรียนไฟไม่ไหม้” ดูแลระบบไฟฟ้าโรงเรียนประชารัฐ
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ผู้แทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พูดถึงโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน - CONNEXT ED ว่าที่ผ่านมาในเฟสแรกดำเนินการไป 42 โรงเรียนแล้ว พบว่ามีความก้าวหน้าอย่างดี ซึ่งปีต่อไปมีแผนจะรับเพิ่มเป็น 80 โรงเรียน ทั้งนี้จากการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในโรงเรียนประชารัฐคือปัญหาไฟไหม้โรงเรียน โดยมีหลายโรงเรียนที่ระบบไฟฟ้าไม่ปลอดภัย ขาดการซ่อมบำรุง ซึ่งโดยปกติแล้วสายไฟจะมีอายุประมาณ 30 ปี ที่น่าตกใจคือมีบางโรงเรียนที่ตรวจแล้วพบว่าพร้อมจะเกิดไฟไหม้ได้ตลอดเวลา เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงที่ส่งกระแสไฟเข้าสู่โรงเรียนนั้นขันไม่แน่น ขณะที่สายไฟอีกเส้นหนึ่งไหม้ไปแล้วครึ่งเส้นและอยู่ในบริเวณที่ติดไฟได้ง่าย กลุ่ม ปตท.จึงจัดโครงการพิเศษขึ้นมาชื่อว่า “โรงเรียนไฟไม่ไหม้” โดยส่งวิศวกรจากโรงงานของ ปตท.เข้าไปตรวจสอบระบบไฟฟ้าของโรงเรียนและให้นักศึกษาอาชีวศึกษารีบเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา ทั้งยังฝากถึงทุกคนว่า "โรงเรียนคือสมบัติของชาติ" ขอความร่วมมือทุกฝ่ายช่วยกันตรวจสอบดูแลอย่างเข้มแข็ง ให้เกิดความยั่งยืน
● ภาคเอกชนยืนยัน พร้อมผนึกกำลัง CONNEXT ED สู่ปีที่ 2 อย่างต่อเนื่อง
ผู้แทนของภาคเอกชนหลายหน่วย พร้อมขับเคลื่อน CONNEXT ED สู่ปีที่ 2 โดยตัวแทนธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในการทำงาน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของครู
กลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล กล่าวว่า ได้ร่วมกับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดฝึกอบรมและพัฒนาครูรวมถึงจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อสอนกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาชีพด้วย ขณะที่กลุ่ม บมจ.ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป พบปัญหานักเรียนออกกลางคันจำนวนมาก จึงเน้นการแนะนำทำความเข้าใจเกี่ยวกับสายอาชีพให้กับนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
ในส่วนของ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ร่วมส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือนและการทำมาหากินโดยเน้นให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ใช้โจทย์ใหญ่คือ ทำอย่างไรให้คนในชนบทเป็นคนดี แล้วผันจากคนดีเป็นคนเก่ง และ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ได้ร่วมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการอยู่รอดอย่างยั่งยืนในชุมชน ซึ่งทุกภาคส่วนต่างใช้องค์ความรู้ที่มีมาร่วมกันขับเคลื่อนการศึกษาไทย เพื่อสร้างอนาคตให้กับลูกหลานไทยในวันข้างหน้า
ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 585/2560การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 (CONNEXT ED Open House 2017 Show & Share)
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จับมือ 12 องค์กรเอกชนชั้นนำ เดินหน้าสานพลังประชารัฐ CONNEXT ED เผย 711 ผู้นำรุ่นใหม่ฉายแววโดดเด่น ร่วมเป็น School Partners ในการขับเคลื่อนโรงเรียนประชารัฐในปีแรกทั้ง 3,351 โรงเรียนจนสัมฤทธิ์ผล ลดความเหลื่อมล้ำ พัฒนาคุณภาพคน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์หลักโครงสร้างการขับเคลื่อนประเทศ
Photo Credit: CONNEXT EDนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ คณะทำงานสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) (Basic Education and Human Capital Development) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 (CONNEXT ED Open House 2017 Show & Share) เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน, ม.ล.ปริยดา ดิศกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ผู้แทนจากภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนผู้นำรุ่นใหม่จากภาคเอกชน (School Partners) 711 คน เข้าร่วมงาน● รมว.ศธ.ขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันทำสิ่งถูกต้องดีงาม สร้างประวัติศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาไทย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ ในฐานะหัวหน้าทีมภาครัฐ กล่าวว่า โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้คณะทำงานสานพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ ภาคเอกชน 12 องค์กร และภาคประชาสังคม โดยการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะสิ่งที่เราร่วมกันทำในตอนนี้อาจจะยังไม่เห็นผลในทันที แต่ในอนาคตข้างหน้าการปฏิรูปการศึกษาด้วยความร่วมมือของประชารัฐในครั้งนี้จะคงอยู่อย่างยั่งยืนสำหรับการปฏิรูปการศึกษานั้น หากทำการศึกษาจริง ๆ จะพบว่าการปฏิรูปมี 3 ระดับ คือ “เร็ว-กลาง-ช้า” กล่าวคือ การปฏิรูปที่จะเห็นผลอย่างเร็วที่สุดจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ถ้าเห็นผลในระดับกลางจะใช้เวลาประมาณ 20 ปี และหากเห็นผลอย่างช้าจะใช้เวลาประมาณ 30 ปี เช่นเดียวกับประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษา เช่น ฟินแลนด์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ดังนั้น เราต้องย้อนกลับไปดูว่าเมื่อประมาณ 10-15 ปีที่แล้ว ประเทศเหล่านี้ได้ทำอะไรที่ทำให้การปฏิรูปการศึกษาจนกระทั่งประสบผลสำเร็จในทุกวันนี้● แนะแนวคิดสำคัญที่สามารถนำไปปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษา นพ.ธีระเกียรติ ได้ยกประเด็นตัวอย่างที่การปฏิรูปการศึกษาของไทยควรนำมาศึกษาวิเคราะห์และปรับใช้ เช่น
McKinsey Global Institute: MGI ซึ่งได้ทำการศึกษาระบบของโรงเรียนใน 20 ประเทศ ได้ข้อสรุปว่า ประเทศที่ปฏิรูปการศึกษาสำเร็จ จะมีปัจจัยที่สำคัญ 3 สิ่ง คือ 1) การกระตุ้นจากภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง (Political Crisis) หรือมีผลการประเมินที่ชี้ให้เห็นชัดเจน เช่น ผลคะแนน PISA อยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น 2) มีทิศทางและมีการนำที่ชัดเจน 3) มีเป้าหมายที่บรรลุได้อย่างชัดเจน ไม่ใช่ไม่รู้ว่าเป้าหมายที่จะทำคืออะไร คำกล่าวของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น ที่เคยกล่าวไว้ว่า หากต้องการให้ประเทศเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควรมี 3 สิ่งที่จำเป็น คือ 1) การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ 2) การมีกลไกการตลาดที่ดี 3) การมีระบบเงินทุนที่เข้มแข็งปัญหาการศึกษาที่มีคุณภาพต่ำ ปัจจุบัน มีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องให้คนที่มีคุณภาพเข้ามาสอน โดยให้ครูและผู้บริหารที่เก่ง ๆ เข้าไปสอนและบริหารงานในโรงเรียนอ่อน จะทำให้ผลการศึกษาดีขึ้น เพื่อลดช่องว่างของการเหลื่อมล้ำดังกล่าว สิ่งเหล่านี้สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิรูปการศึกษาได้ทั้งสิ้น ย้ำด้วยว่าการปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยนั้น ประชาชนไม่ได้สนใจว่าเมื่อปฏิรูปแล้วจะมีโครงสร้างการบริหารงานเป็นอย่างไร แต่สนใจว่าลูกหลานจะได้รับการศึกษาที่ดีหรือไม่ หรือเด็กจะมีหนังสือเรียนดี ๆ หรือมีครูที่ดีมีคุณภาพ รวมทั้งจะเรียนต่อหรือมีงานทำได้อย่างไร● เผยความสำเร็จ CONNEXT ED เกิดจากความเอาจริง มีส่วนร่วม และมืออาชีพ โครงการ CONNEXT EDซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการทำงาน ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) นั้น จึงเป็นการดำเนินงานที่เชื่อมโยงไปถึงตัวเด็กและครูจริง ๆ โดยทุกคนเป็นเจ้าของโครงการ ดังนั้น จึงขอให้การดำเนินงานในขั้นต่อไปควรมีระบบผู้นำอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ตลอดจนขอให้ช่วยกันพัฒนาการศึกษาให้เด็กไทยมีทัศนคติที่ถูกต้อง, มีอุปนิสัยที่มั่นคง มีวินัย, มีงานทำ และเป็นพลเมืองดี ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้วย ทั้งนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่
การทำงานแบบ “เอาจริง” ของทุกฝ่าย ที่ตั้งใจกันทำงาน ไม่ให้เป็นเพียงโครงการที่ผ่านมาแล้วผ่านไปเหมือนไฟไหม้ฟาง โดยช่วงแรกภาครัฐเองยังไม่แน่ใจว่าภาคเอกชนจะเอาจริงแค่ไหน แต่ภาคเอกชนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าได้ตั้งใจทำมากกว่าเป็นการทำ Corporate Social Responsibility (CSR) เรื่องนี้จึงขอยกเครดิตให้ภาคเอกชนอย่างเต็มที่ ทุกคนจากทุกภาคส่วน “มีส่วนร่วม” ด้วยกันอย่างแท้จริง การปฏิรูปครั้งนี้ถือได้ว่าทำกันมาอย่างถูกทิศทาง เลือกทำในเรื่องสำคัญที่สุดที่มีองค์ความรู้ ทำงานด้วยความเป็น “มืออาชีพ” สังเกตได้จากการเตรียมงาน มีการเก็บข้อมูล การวัดพื้นฐาน การวัดผลความสำเร็จ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย เป็นเป้าหมายระยะยาวใช้เวลาหลายสิบปี แม้ยังไม่เห็นผลลัพธ์ในตอนนี้แต่ทุกคนยังร่วมกันทำงานอย่างเข้มแข็ง คงความเป็นมืออาชีพได้อย่างน่ายกย่อง ● ขอบคุณ 12 บริษัทที่เข้ามาทุ่มทรัพยากรเพื่อร่วมปฏิรูปร่วมกัน นพ.ธีระเกียรติ กล่าวด้วยว่าด้วยองค์ประกอบดังกล่าวนี้ มั่นใจว่าในอนาคตจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแน่นอน เปรียบเสมือนเข็มชั่วโมงบนนาฬิกาที่เดินได้ เพราะเข็มวินาทีมุ่งหน้าเดินไปอย่างไม่หยุดหย่อน และทุกคนในวันนี้ก็คือฟันเฟืองเล็ก ๆ ที่ขับเคลื่อนการปฏิรูปร่วมกันเพื่อให้เกิดภาพความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ จึงขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ทุกภาคส่วนที่เข้ามาช่วยกันทำงานเพื่อลูกหลานของเรา ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วองค์กรของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมสามารถอยู่เฉย ๆ ไม่ต้องเข้ามาช่วยภาครัฐก็ได้ แต่ทั้ง 12 องค์กรภาคเอกชนและภาคประชาสังคมมีใจที่จะเข้ามาช่วย ด้วยการทุ่มทรัพยากรทั้งคนและงบประมาณ จึงขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง เพราะในที่สุดแล้วประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้จะส่งผลต่อลูกหลานเราในอนาคต และทำให้ภาคเอกชนได้คนที่มีคุณภาพเข้าไปทำงานอีกด้วย ● ตั้งเป้าหมายร่วมกัน ส่ง“ผู้นำรุ่นใหม่” (School Partner) ลงทำงานในพื้นที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ในฐานะหัวหน้าทีมภาคเอกชน กล่าวว่า โครงการสานพลังประชารัฐด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E5) จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีเวทีให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือกัน ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นประสานงานกับทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง เพราะที่ผ่านมานั้นทางภาคเอกชนดำเนินงานแบบต่างคนต่างทำ เป้าหมายยังไม่ชัดเจน อีกทั้งยังไม่มีเป้าหมายร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการและเป้าหมายของประเทศ โครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน หรือ CONNEXT ED ซึ่งเริ่มต้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2559 จึงตอบโจทย์ในเรื่องดังกล่าว โดยตลอด 1 ปีที่ผ่านมา มีหลายส่วนที่มีความคืบหน้าไปมาก เช่น มีการลงนามความร่วมมือคณะทำงานในการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ, การจัดทำตัวชี้วัดโรงเรียนประชารัฐ, การจัดทำเว็บไซต์www.pracharathschool.go.th, MOU CONNEXT ED, การคัดเลือก School Partner, การจัดตั้งกองทุนโรงเรียนประชารัฐ, รวมทั้งเวิร์คช็อปมาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4, มีการเชื่อมต่อ High Speed Internet แล้ว 1,294 โรงเรียน, การจัดทำแอพพลิเคชั่น Pracharath เป็นต้น ● เผย 10 ยุทธศาสตร์หลักในการยกระดับและพัฒนาการจัดการศึกษาไทย สำหรับการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ โครงการได้กำหนด 10 ยุทธศาสตร์หลักในการยกระดับและพัฒนาการจัดการศึกษาไทยตามมาตรฐานสากล (10 Strategic Transformation) คือ1) Transparency ความโปร่งใสของข้อมูลสถานศึกษา2) Market Mechanism กลไกการตลาดและการมีส่วนร่วมของชุมชน3) Leadership Development การพัฒนาและส่งเสริมผู้นำรุ่นใหม่4) Child Centric & Curriculum หลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนเป็นศูนย์กลาง5) Digital Infrastructure การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา6) High Quality Principals & Teachers หลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน7) English Language Capability การยกระดับทักษะความรู้ ความสามารถด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมทั้งภาษาจีนด้วย8) Health & Heart การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และการมีจิตสาธารณะให้นักเรียน9) Tax Incentive for Local & International Professor การสร้างมาตรฐานการจูงใจด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษี และการมีส่วนร่วมของผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ10) Technology Hub R&D ศูนย์กลางการศึกษาเทคโนโลยีแห่งอนาคตในระดับภูมิภาค● วาง เป้าหมาย CONNEXT ED ปี 2018 แผนการดำเนินงาน CONNEXT ED ปี 2018 มีเป้าหมาย 5 เรื่องด้วยกัน คือ
ขับเคลื่อนเป้าหมายและ KPIs ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียนจัดทำ School Grading โดยแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ Poor-Fair-Good-Great-Excellent พร้อมทำตัวชี้วัดมาตรฐานโรงเรียนเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และยกระดับมาตรฐานโรงเรียนนั้นๆ ได้ อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ซึ่งจะช่วยให้เกิดกลไกการแข่งขันในการยกระดับและพัฒนาตนเองโดยอัตโนมัติ กลไกตลาด โดยเรื่องของประชารัฐเป็นตัวอย่างที่ดีของการเชื่อมโยงกลไกการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งจากส่วนกลางและในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ (Engagement) ผ่านการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) เพื่อเชื่อมโยงภาคเอกชน ภาคประชาสังคม วัดในท้องที่ ผู้ปกครอง ชุมชน เข้าด้วยกัน นับเป็นเป้าหมายสำคัญที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนทุกภาคฝ่ายในระดับพื้นที่เพื่อให้โรงเรียนมีศักยภาพเพิ่มขึ้น การพัฒนาและส่งเสริมผู้นำ เมื่อมีตัววัดผล มีระดับของโรงเรียน มีกลไกตลาดที่ต้องขับเคลื่อนแล้ว บุคคลสำคัญที่สุดคือกลุ่มผู้นำโรงเรียน โดยเฉพาะผู้อำนวยการโรงเรียนซึ่งจะมีการลงพื้นที่ทำงานร่วมกันและได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการอย่างต่อเนื่อง กระบวนการเรียนการสอน โดยเฉพาะเรื่อง PISA O-NET STEM เป็นต้น และที่สำคัญคือ Child Centric โดยตั้งเป้าหมายที่จะมีตัววัด Child Centric ที่ชัดเจน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะ Digital Technology ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้วางพื้นฐานไว้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องดำเนินการให้ต่อเนื่องและทั่วถึง และจะมีการมอบหมายโรงเรียนประชารัฐเพิ่มเติมอีกประมาณ 1,400 โรงเรียน รวมทั้งหมดประมาณ 4,700 โรงเรียน นอกจากนี้ จะมีการวัดและประเมินผลการดำเนินงานทุก 6 เดือน เพื่อประเมินว่าโรงเรียนได้สร้างความเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมากน้อยเพียงใดตั้งแต่เริ่มเข้าโครงการ เพราะหากวัดความเปลี่ยนแปลงได้จะทำให้เห็น Best Practice ได้เช่นกัน อีกทั้งโรงเรียนประชารัฐถือเป็นกลไกการทดลองที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศกว่า 30,000 แห่งด้วย● เผยความสำคัญความสำเร็จ อยู่ที่ 711 School Partners ลงพื้นที่ใน 3,351 โรงเรียน นายศุภชัย กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญคือ การลงพื้นที่ของ School Partners ทั้ง 711 คน ที่ได้ ลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงในโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 3,351 โรงเรียน ร่วมกับผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมทั้งประเมินผล KPIs ร่วมกัน ในปีแรกนี้เรียกว่า T0 และวัดผลทุกปีมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นผลอย่างชัดเจน ดังนั้น School Partner จึงถือเป็นกลไกและเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากในการเชื่อมโยงและทำให้เฟืองการทำงานขยับ จึงขอให้ School Partner ทุกคนมีความตั้งใจและอย่าละความตั้งใจที่ที่มีแต่แรก อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของ School Partner คือ "การเชื่อมโยงสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน" เพราะตราบใดที่ผู้ปกครองและชุมชนยังไม่เชื่อว่าการศึกษาจะพัฒนาลูกหลานได้ การพัฒนาการศึกษาก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ ● "ภาค ประชาสังคม" แนะเพิ่มคุณธรรมจริยธรรมสร้างคนดีให้สังคม ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส กล่าวถึงการปฏิรูปการศึกษาว่า ประเทศไทยจะก้าวเดินไปเพียงลำพังไม่ได้ ควรร่วมมือกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามให้เกิดขึ้นกับทุกประเทศ เช่น โรงเรียนสัตยาไสที่สร้างตัวอย่างอันเกิดประโยชน์มากมายทางการศึกษาให้คนอื่นได้มาเรียนรู้ร่วมกัน นำไปเป็นแนวทางเผยแพร่ต่อไป นอกจากนี้ ดร.อาจอง ยังให้ความเห็นเกี่ยวกับตัวอักษร E-Engineering ในคำว่า STEM โดยเสนอให้เปลี่ยนเป็น Ethics ซึ่งหมายถึงคุณธรรมจริยธรรมเนื่องจากเห็นว่าการสร้างคนดีนั้นสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป ภาคประชาสังคม กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า สิ่งที่เรากำลังร่วมมือกันขณะนี้ไม่ใช่เรื่องของผลประโยชน์ แต่เป็นความดีงามภายใต้การนำของกระทรวงศึกษาธิการและผู้นำภาคเอกชน จึงขอชื่นชมทุกภาคส่วนที่ร่วมมือกันทำสิ่งดีงามให้กับประเทศชาติ ● หลากหลายความเห็นของภาคเอกชน : SCG-กลุ่มเซ็นทรัล-ธนาคารกรุงเทพ เดินหน้าลงพื้นที่ ใช้ School Partner เป็นกลไกหลัก นายชลณัฐ ญาณารณพ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน - CONNEXT ED ระยะแรกดำเนินการไปแล้ว 40 โรงเรียนในทุกจังหวัดที่มีโรงงาน SCG ตั้งอยู่ทั่วประเทศ ด้วยการทำงานของ School Partner 70 คนและมีแผนจะเพิ่มจำนวนอีกในระยะถัดไป ด้านกลุ่มเซ็นทรัล ดร.ชาติชาย นรเศรษฐาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานบริหารทรัพยากรบุคคลและทุนมนุษย์ กล่าวว่า School Partner ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงานกับโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งบุคคลเหล่านี้สามารถต่อยอดให้เป็นผู้นำสังคมหรือองค์กรในอนาคตได้ พร้อมทั้งยืนยันว่ากลุ่มเซ็นทรัลจะสนับสนุนโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน - CONNEXT ED อย่างต่อเนื่องต่อไป ขณะที่นางรัชนี นพเมือง รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า ขณะนี้ได้ดำเนินโครงการฯ ไปแล้ว 207 โรงเรียน และมี School Partner ในพื้นที่ที่ใกล้ชิดชุมชนอย่างแท้จริงจึงได้รับความร่วมมือจากโรงเรียนเป็นอย่างดี ตลอดจนผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียนอยู่เสมอ ทำให้ผลการทำงานออกมาเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ● ปตท.ผุดโครงการพิเศษ “โรงเรียนไฟไม่ไหม้” ดูแลระบบไฟฟ้าโรงเรียนประชารัฐ ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ผู้แทนประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) พูดถึงโครงการผู้นำเพื่อการพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน - CONNEXT ED ว่าที่ผ่านมาในเฟสแรกดำเนินการไป 42 โรงเรียนแล้ว พบว่ามีความก้าวหน้าอย่างดี ซึ่งปีต่อไปมีแผนจะรับเพิ่มเป็น 80 โรงเรียน ทั้งนี้จากการลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยในโรงเรียนประชารัฐคือปัญหาไฟไหม้โรงเรียน โดยมีหลายโรงเรียนที่ระบบไฟฟ้าไม่ปลอดภัย ขาดการซ่อมบำรุง ซึ่งโดยปกติแล้วสายไฟจะมีอายุประมาณ 30 ปี ที่น่าตกใจคือมีบางโรงเรียนที่ตรวจแล้วพบว่าพร้อมจะเกิดไฟไหม้ได้ตลอดเวลา เนื่องจากสายไฟฟ้าแรงสูงที่ส่งกระแสไฟเข้าสู่โรงเรียนนั้นขันไม่แน่น ขณะที่สายไฟอีกเส้นหนึ่งไหม้ไปแล้วครึ่งเส้นและอยู่ในบริเวณที่ติดไฟได้ง่าย กลุ่ม ปตท.จึงจัดโครงการพิเศษขึ้นมาชื่อว่า “โรงเรียนไฟไม่ไหม้” โดยส่งวิศวกรจากโรงงานของ ปตท.เข้าไปตรวจสอบระบบไฟฟ้าของโรงเรียนและให้นักศึกษาอาชีวศึกษารีบเข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหา ทั้งยังฝากถึงทุกคนว่า "โรงเรียนคือสมบัติของชาติ" ขอความร่วมมือทุกฝ่ายช่วยกันตรวจสอบดูแลอย่างเข้มแข็ง ให้เกิดความยั่งยืน ● ภาคเอกชนยืนยัน พร้อมผนึกกำลัง CONNEXT ED สู่ปีที่ 2 อย่างต่อเนื่อง ผู้แทนของภาคเอกชนหลายหน่วย พร้อมขับเคลื่อน CONNEXT ED สู่ปีที่ 2 โดยตัวแทนธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ใช้หลักเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา ในการทำงาน โดยเน้นการพัฒนาศักยภาพของครู กลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล กล่าวว่า ได้ร่วมกับโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดฝึกอบรมและพัฒนาครูรวมถึงจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อสอนกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชาชีพด้วย ขณะที่กลุ่ม บมจ.ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป พบปัญหานักเรียนออกกลางคันจำนวนมาก จึงเน้นการแนะนำทำความเข้าใจเกี่ยวกับสายอาชีพให้กับนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ในส่วนของ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ร่วมส่งเสริมการทำบัญชีครัวเรือนและการทำมาหากินโดยเน้นให้เด็กลงมือทำด้วยตนเอง บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ใช้โจทย์ใหญ่คือ ทำอย่างไรให้คนในชนบทเป็นคนดี แล้วผันจากคนดีเป็นคนเก่ง และ บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ได้ร่วมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการอยู่รอดอย่างยั่งยืนในชุมชน ซึ่งทุกภาคส่วนต่างใช้องค์ความรู้ที่มีมาร่วมกันขับเคลื่อนการศึกษาไทย เพื่อสร้างอนาคตให้กับลูกหลานไทยในวันข้างหน้า
(Basic Education and Human Capital Development)
แนวทางดำเนินงาน
โดยในระยะแรก มีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน
|
ที่มา ; ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น