อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
ข่าวที่ 616/2560 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ลงพื้นที่ชายแดนใต้ ที่ปัตตานี
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ภาคใต้
จังหวัดปัตตานี - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย คณะรัฐมนตรี อาทิ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี, นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี, พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย, พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ฯลฯ พบปะหารือและรับฟังความคิดเห็นของผู้นำชุมชนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในระหว่างการลงพื้นที่ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 ณ ค่ายสมเด็จพระสุริโยทัย อำเภอหนองจิก
ในการพบปะครั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้รับฟังความคิดเห็นของตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 42 คน ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 5 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำไทยพุทธ ผู้นำกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน และภาคประชาสังคม
นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังคงมีความขัดแย้งและสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกันดูแลพื้นที่ด้วยสันติวิธีมากกว่าที่จะใช้ความรุนแรง โดยจะใช้ศาสนาเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งไม่ได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุความไม่สงบ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อโอกาสและคุณภาพการศึกษาแล้ว ก็จะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น ด้านการลงทุน เศรษฐกิจ ความมั่นคง การท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของประชาชน ฯลฯ
ในส่วนของการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นต้องมีการปรับให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกให้ได้ ซึ่งในพื้นที่มีการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการที่รัฐบาลเข้าไปสนับสนุนและดูแลสถาบันศึกษาปอเนาะ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดสรรเงินสมทบรายหัว เงินพัฒนาหลักสูตร และได้ย้ำถึงความสำคัญของหลักสูตรการศึกษาที่จำเป็นต้องมุ่งเน้นให้ครอบคลุมทั้งสองด้านคือ ด้านศาสนาและอาชีพ คือจบแล้วสามารถเลือกเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นจนถึงปริญญาหรือออกไปประกอบอาชีพได้ การจัดทำหลักสูตรหรือส่งบุตรหลานไปศึกษาต่อในสถาบันศึกษาต่างประเทศ จะต้องเป็นหลักสูตรที่ไม่ส่งผลต่อการเทียบวุฒิการศึกษาในบ้านเรา เพราะ ส่งผลให้เกิดข้อจำกัดในการเลือกประกอบอาชีพ และที่สำคัญคือโครงการที่ดี ๆ ในการผลิตและพัฒนาครูสู่ท้องถิ่น เช่น คุรุทายาท หรือเพชรในตม จะทำให้ผู้เรียนจบแล้วกลับมาพัฒนาท้องถิ่นได้ อันจะช่วยแก้ไขปัญหาการโยกย้ายและขาดแคลนบุคลากรในพื้นที่ได้
นอกจากนี้ ขอให้จัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนในการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหรือมัสยิดต่าง ๆ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีเครือข่ายประชาสังคมและเครือข่ายการมีส่วนร่วมของลูกหลานเยาวชน ซึ่งนอกจากเรื่องการศึกษาที่ได้รับฟังแล้ว ยังมีเรื่องของความมั่นคง สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจการค้าการลงทุน ฯลฯ โดยในระหว่างการรับฟัง นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีและจังหวัดรับเรื่องต่าง ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ภายหลังการพบปะหารือ นายกรัฐมนตรี และ รมช.ศึกษาธิการ ได้ให้เกียรติถ่ายภาพหมู่ร่วมกับข้าราชการของกระทรวงศึกษาธิการ (ส่วนหน้า) และข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการ
อนึ่ง ในการลงพื้นที่จังหวัดปัตตานีครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เป็นประธานเปิดป้ายตลาดกลางปศุสัตว์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่บริเวณริมถนนสายปัตตานี-หาดใหญ่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก พร้อมทั้งเยี่ยมชมพื้นที่อุตสาหกรรมแปรรูปโรงงานน้ำมันปาล์ม, ติดตามการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงาน ทั้งเรื่องการพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”, ประชุม ติดตามงานด้านความมั่นคงและการพัฒนา รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน กลุ่มผู้นำท้องถิ่น ภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัด 3 จังหวัดชายแดนใต้
เมื่อวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2559 เวลา 10.00-12.30 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึง วิทยาลัยการอาชีพ สุไหงโก-ลก (สาขา 2) เพื่อ เข้าร่วมประชุมการจัดการศึกษาแบบบูรณาการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" อำเภอสุไหงโก-ลก
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เปิดเผยถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เห็นชอบหลักการ โครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" (ปี พ.ศ.2560-2563) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) จัดทำโครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" โดย คปต. ได้มีมติเห็นชอบหลักการและแนวทางการพัฒนาโครงการดังกล่าว เพื่อต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับพื้นที่ 3 อำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่
-
อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา "เกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน" (Agricultural Industry City)
-
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นเมืองต้นแบบ "การพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน" (Sustainable Development City)
-
อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเมืองต้นแบบ "การค้าชายแดนระหว่างประเทศ" (International Border City)
โดยมีแนวทางการพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1) ระยะเร่งด่วน เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ออกมาตรการด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน จัดตั้งกองทุนส่งเสริมธุรกิจรุ่นใหม่ของแต่ละอำเภอ
2) ระยะที่ 2 สนับสนุนการลงทุนระยะแรก
- อำเภอหนองจิก ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเป็นสินค้า OTOP ปรับปรุงท่าเรือปัตตานี และถนน
- อำเภอสุไหงโก-ลก จัดตั้ง Free Trade Zone ก่อสร้างสะพานโก-ลก แห่งที่ 2 ศึกษาความเหมาะสมศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้า โรงงาน ศูนย์นิทรรศการ
- อำเภอเบตง พัฒนาการท่องเที่ยวครบวงจรและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพระบบไฟฟ้าและระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
3) ระยะที่ 3 การเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งหมดไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ข่าวที่ 616/2560 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ลงพื้นที่ชายแดนใต้ ที่ปัตตานี
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ภาคใต้
ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ภาคใต้
นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงนโยบายของรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างโอกาสทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังคงมีความขัดแย้งและสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยกันดูแลพื้นที่ด้วยสันติวิธีมากกว่าที่จะใช้ความรุนแรง โดยจะใช้ศาสนาเป็นเหตุแห่งความขัดแย้งไม่ได้ เพราะเมื่อเกิดเหตุความไม่สงบ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อโอกาสและคุณภาพการศึกษาแล้ว ก็จะนำไปสู่ปัญหาอื่น ๆ เช่น ด้านการลงทุน เศรษฐกิจ ความมั่นคง การท่องเที่ยว การประกอบอาชีพของประชาชน ฯลฯ
อนึ่ง ในการลงพื้นที่จังหวัดปัตตานีครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี และคณะ ได้เป็นประธานเปิดป้ายตลาดกลางปศุสัตว์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่บริเวณริมถนนสายปัตตานี-หาดใหญ่ ต.บ่อทอง อ.หนองจิก พร้อมทั้งเยี่ยมชมพื้นที่อุตสาหกรรมแปรรูปโรงงานน้ำมันปาล์ม, ติดตามการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงาน ทั้งเรื่องการพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ และโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”, ประชุม ติดตามงานด้านความมั่นคงและการพัฒนา รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน กลุ่มผู้นำท้องถิ่น ภาคเอกชน ในพื้นที่จังหวัด 3 จังหวัดชายแดนใต้
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เปิดเผยถึงการประชุมในครั้งนี้ว่า จากการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เห็นชอบหลักการ โครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" (ปี พ.ศ.2560-2563) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ร่วมกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) จัดทำโครงการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" โดย คปต. ได้มีมติเห็นชอบหลักการและแนวทางการพัฒนาโครงการดังกล่าว เพื่อต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้กับพื้นที่ 3 อำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่
เมื่อวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2559 เวลา 10.00-12.30 น. พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และคณะ เดินทางถึง วิทยาลัยการอาชีพ สุไหงโก-ลก (สาขา 2) เพื่อ เข้าร่วมประชุมการจัดการศึกษาแบบบูรณาการเมืองต้นแบบ "สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" อำเภอสุไหงโก-ลก
- อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ให้เป็นเมืองต้นแบบการพัฒนา "เกษตรอุตสาหกรรมก้าวหน้าผสมผสาน" (Agricultural Industry City)
- อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นเมืองต้นแบบ "การพัฒนาที่พึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน" (Sustainable Development City)
อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเมืองต้นแบบ "การค้าชายแดนระหว่างประเทศ" (International Border City)
โดยมีแนวทางการพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1) ระยะเร่งด่วน เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุน ออกมาตรการด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน จัดตั้งกองทุนส่งเสริมธุรกิจรุ่นใหม่ของแต่ละอำเภอ
2) ระยะที่ 2 สนับสนุนการลงทุนระยะแรก
- อำเภอหนองจิก ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเป็นสินค้า OTOP ปรับปรุงท่าเรือปัตตานี และถนน
- อำเภอสุไหงโก-ลก จัดตั้ง Free Trade Zone ก่อสร้างสะพานโก-ลก แห่งที่ 2 ศึกษาความเหมาะสมศูนย์กระจายสินค้า คลังสินค้า โรงงาน ศูนย์นิทรรศการ
- อำเภอเบตง พัฒนาการท่องเที่ยวครบวงจรและแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รวมทั้งพัฒนาคุณภาพระบบไฟฟ้าและระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ
3) ระยะที่ 3 การเชื่อมโยงระบบขนส่งทั้งหมดไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ที่มา ; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่
" ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น