หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์
หน้าหลัก ติวสอบดอทคอม เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566
พัฒนาความรู้ สู่ รอง./ผอ.รร. ปี 2566

คลิ๊ก "สมัครพัฒนาความรู้สู่ผู้บริหาร / ครูผู้ช่วย

คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ครูผู้ช่วย
คลิ๊ก... สมัคร พัฒนาความรู้ สู่ ผู้บริหาร

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)

ติวสอบดอทคอม (เตรียมสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากร การศึกษา)
ติวสอบดอทคอม (เว็บฟรีข้อสอบออนไลน์ สอบครู ผู้บริหาร บุคลากร)

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับผู้นำอาเซียน

อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)

เรื่องใหม่น่าสนใจ  (ทั้งหมด ที่ )


(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข


40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ 


เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร









 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

title

นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับผู้นำอาเซียน

นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับผู้นำอาเซียน
วันนี้ (10 พ.ย. 2560)เวลา 16.45 น. ณ ห้องOcean Ballroom โรงแรม Furama Resort Da Nang นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับผู้นำอาเซียนภายใต้หัวข้อ การร่วมมือกันเพื่อสร้างพลวัตใหม่สำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่บูรณาการและเชื่อมโยงในทุกมิติ (Partnering for New Dynamism for a Comprehensively Connected and Integrated Asia-Pacific)โดยภายหลังการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้
 
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณเวียดนามที่จัดให้มีการหารือระหว่างผู้นำเอเปคและอาเซียนในวันนี้ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกก่อตั้งทั้งเอเปคและอาเซียน ไทยเห็นพัฒนาการของทั้งสองกรอบมาตั้งแต่แรกเริ่ม จนในวันนี้ที่อาเซียนครบรอบ 50 ปี และก้าวสู่การเป็นประชาคมเป็นปีที่สอง นับเป็นช่วงเวลาอันเหมาะสมที่เอเปคและอาเซียนมีปฏิสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ระหว่างกันเพื่อสร้างพลวัตใหม่ให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นายกรัฐจึงเสนอมุมมองต่อความร่วมมือระหว่างเอเปคและอาเซียนใน 4 ประเด็น ได้แก่
 
ประการแรก การส่งเสริมความเชื่อมโยงในทุกมิติ ทั้งด้านกายภาพ กฎระเบียบ และระหว่างประชาชน รวมถึงความเชื่อมโยงทางดิจิทัล เป็นเครื่องมือผลักดันการบูรณาการทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค โดยไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เหนือ – ใต้ (North – South Economic Corridor)  และได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งมีเป้าหมายในการยกระดับความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคและภูมิภาค
 
ประการที่สอง การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้การเจรจา RCEP คืบหน้าไปสู่ข้อสรุปโดยเร็วและต่อยอดไปสู่การจัดทำ FTAAP ในอนาคต ทั้ง RCEP และ FTAAP ควรเป็นข้อตกลงที่ได้มาตรฐานและครอบคลุม ดังนั้น เอเปคและอาเซียนจะต้องร่วมกันสื่อสารผลประโยชน์ของการค้าเสรีและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคแก่สาธารณชน
 
ประการที่สาม เอเปคและอาเซียนควรร่วมมือกันพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับสังคมสูงวัยและการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนบุคลากรในสาขาวิชาชีพซึ่งสามารถต่อยอดจากข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (Mutual Recognition Agreement หรือ MRA) และกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพที่เอเปคมีอยู่แล้ว เช่น วิศวกรและสถาปนิก
 
ประการที่สี่ ไทยสนับสนุนความพยายามในการขับเคลื่อนให้เอเปคและอาเซียนก้าวสู่เศรษฐกิจสีเขียวโดยไทยได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับเปรูจัดทำยุทธศาสตร์เอเปคว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน และมีนวัตกรรม (APEC Strategy for Green, Sustainable and Innovative MSMEs) และพร้อมที่จะขยายผลให้เกิดความร่วมมือในประเด็นนี้ในกรอบอาเซียนต่อไป
 
ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีหวังว่าเอเปคและอาเซียนจะเป็น “หุ้นส่วนเชิงสร้างสรรค์” โดยสร้างความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ของเอเปคหลังปี 2563 (ค.ศ. 2020) วิสัยทัศน์อาเซียนปี 2568 (ค.ศ. 2025) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่ม




ที่มา ; เว็บ รัฐบาลไทย



"ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซีย-แปซิฟิค" หรือ "เอเปค" (ASIA-PACIFIC Economic Cooperation: APEC) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 เพื่อตอบสนองการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจ ที่ขยายตัวมากขึ้นในหมู่ประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิค โดยเริ่มต้นจากกลุ่มประเทศที่อยู่ริมมหาสมุทรแปซิฟิค ไม่กี่ประเทศรวมตัวกัน อย่างไม่เป็นทางการ (Informal Dialogue Group) จนกลายเป็นเวทีหลัก ในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการค้าเสรีอย่างจริงจังในที่สุด ทั้งนี้ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง จุดมุ่งหมายหลักของเอเปค คือ เสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิคให้ก้าวไปข้างหน้า และสร้างจิตสำนึก ที่จะรวมกันเป็นรูปกลุ่มความร่วมมือขึ้น โดยจะไม่จัดตั้งเป็นรูปแบบองค์กรถาวร เหมือนกลุ่มประเทศอาเซียน หรือสหภาพยุโรป สมาชิกเอเปคทั้งหมด ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ รวมกันทั้งสิ้นกว่า US$19,293 พันล้านเหรียญสหรัฐ (US$ billion) หรือ 47.5% ของการค้าโลกในปี พ.ศ. 2544


จุดประสงค์ของเอเปค

          เพื่อเสริมสร้างภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิค ให้มีความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่เสมอภาคกัน ด้วยความร่วมมือทางด้านการค้าและเศรษฐกิจ (to build the Asia-Pacific community through achieving economic growth and equitable development through trade and economic cooperation)
          โดย
          - พัฒนาและส่งเสริมระบบการค้าหลายฝ่าย
          - สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและของโลก
          - เพื่อลดอุปสรรค และอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า การค้าบริการ และการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก โดยให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ขององค์กรการค้าโลก
          - ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านการเงินการคลังในการแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ

สมาชิกเอเปค

          สมาชิกเอเปค (APEC Member Economies) จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม
          ผู้สังเกตการณ์ถาวร 3 หน่วยงาน คือ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat), สภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคพื้นแปซิฟิค (Pacific Economic Cooperation Council - PECC), และเวทีหารือแปซิฟิคใต้ (South Pacific Forum - SPF)
          หมายเหตุ เอเปคมีระเบียบการเรียกชื่อสมาชิกเขตเศรษฐกิจ ต่างจากที่เรียกขานตามปกติ ทั้งในเอกสาร และในการประชุมอย่างเป็นทางการของเอเปค คือ จะใช้คำว่า "Economy - เขตเศรษฐกิจ" แทนคำว่า "Country - ประเทศ" ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายจีนเดียวแต่สองระบบเศรษฐกิจ ("One Country, Two Systems" principle) โดยกำหนดให้เรียกไต้หวันว่า "จีน ไทเป - Chinese Taipei" และตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2540 เป็นต้นมา เมื่อฮ่องกงรวมเข้ากับประเทศจีนแล้ว กำหนดให้เรียกฮ่องกง ว่า "จีน ฮ่องกง - Hong Kong, China"
          ข้อสังเกต ในการประชุมของเอเปคไม่ว่าในระดับใด จะไม่มีการประดับธงชาติของเขตเศรษฐกิจสมาชิกไว้ ณ สถานที่ประชุม ไม่ว่าจะเป็นบนโต๊ะประชุม ในห้องประชุม หรืออาคารที่จัดประชุม เช่นเดียวกับการประชุมระดับนานาชาติอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากเรียกขานสมาชิกว่า economy มิใช่ country จึงไม่ควรมีธงชาติมาแสดงความเป็นประเทศใดๆ สำหรับการจัดโต๊ะประชุม จะต้องเสมอกันทุกเขตเศรษฐกิจ โดยจัดเป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม โดยเรียงตามลำดับชื่อเขตเศรษฐกิจ ตามตัวอักษรภาษาอังกฤษไปโดยรอบ


การดำเนินงานของเอเปค

          เอเปคดำเนินงานด้วยมติ ที่เป็นเอกฉันท์ (Consensus) ในหมู่สมาชิก กล่าวคือหากเขตเศรษฐกิจใด ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอใดแล้ว ให้ถือว่าข้อเสนอนั้นตกไป ดังนั้น ก่อนการประชุมสำคัญๆ จะมีการทาบทามให้เห็นชอบกันก่อนเสมอ
          เอเปคได้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการเอเปค (APEC Secretariat) ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2535 โดยตั้งอยู่ ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อทำหน้าที่ประสานงานด้านโครงการ และงบประมาณกลางของเอเปค เจ้าหน้าที่บริหารของสำนักงานเลขาธิการเอเปค คือ Executive Director ดำรงตำแหน่งวาระละ 1 ปี โดยปกติ เขตเศรษฐกิจที่เป็นเจ้าภาพเอเปคในปีนั้น จะรับหน้าที่ Executive Director โดยมีเขตเศรษฐกิจที่จะเป็นเจ้าภาพเอเปคในปีถัดไป ทำหน้าที่เป็น Deputy Executive Director (สถานะของ Executive Director จะเป็นระดับเอกอัครราชทูต - Ambassador)
          เอเปคแยกการปฏิบัติงานออกเป็นระดับต่างๆ คือ
1. การประชุมผู้นำเอเปค (Informal Meetings of Economic Leaders) ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นตามความเหมาะสม ได้มีการประชุมระดับผู้นำเอเปคไปแล้ว คือ
          1. สหรัฐอเมริกา เบลก ไอแลนด์ (Blake Island), ซีแอตเติล 20 พฤศจิกายน 2536
          2. อินโดนีเซีย โบกอร์ 15 พฤศจิกายน 2537
          3. ญี่ปุ่น โอซากา 19 พฤศจิกายน 2538
          4. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ Subic 25 พฤศจิกายน 2539
          5. แคนาดา แวนคูเวอร์ 25 พฤศจิกายน 2540
          6. มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์ 18 พฤศจิกายน 2541
          7. นิวซีแลนด์ Auckland 12 กันยายน 2542
          8. บรูไน ดารุสซาลาม Bandar Seri Begawan 16 พฤศจิกายน 2543
          9 จีน Shanghai 20 ตุลาคม 2544
          10 เม็กซิโก Los Cabos 27 ตุลาคม 2545
          11 ไทย กรุงเทพ 20-21 ตุลาคม 2546
          12 ชิลี ซานติอาโก 20-21 พฤศจิกายน 2547
          13 เกาหลี ปูซาน 18-19 พฤศจิกายน 2548
          14 ฮานอย เวียดนาม 18-19 พฤศจิกายน 2549
          15 ซิดนีย์ ออสเตรเลีย 8-9 กันยายน 2550
2. การประชุมระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค (APEC Ministerial Meetings - AMM - and Senior Officials Meetings) ประเทศต่างๆ จะผลัดกันเป็นประธานเอเปค (APEC Chair) หมุนเวียนกันไปทุกปี โดยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีเศรษฐกิจขึ้นในประเทศของตน ทั้งนี้โดยมีข้อตกลงกันว่าทุกครั้งเว้นครั้ง จะต้องจัดในประเทศกลุ่มอาเซียน
          กำหนดการประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสตั้งแต่แรกตั้ง คือ
          1. ออสเตรเลีย (แคนเบอร่า) 2532
          2. สิงคโปร์ 2533
          3. สาธารณรัฐเกาหลี (โซล) 2534
          4. ประเทศไทย (กรุงเทพ) 2535
          5. สหรัฐอเมริกา (ซีแอตเติล) 2536
          6. อินโดนีเซีย (จาการ์ต้า) 2537
          7. ญี่ปุ่น (โอซากา) 2538
          8. ฟิลิปปินส์ (มะนิลา) 2539
          9. แคนาดา (แวนคูเวอร์) 2540
          10. มาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์) 2541
          11. นิวซีแลนด์ (ออคแลนด์) 2542
          12. บรูไน ดารุสซาลาม (บันดาร์ เสรี เบกาวัน) 2543
          13. สาธารณรัฐประชาชนจีน (เซี่ยงไฮ้) 2544
          14. เม็กซิโก (เม็กซิโก ซิตี้) 2545
          15. ประเทศไทย (กรุงเทพฯ) 2546
          16. ชิลี (ซานติอาโก) 2547
          17. เกาหลี (Busan) 2548
          18. เวียดนาม (ฮานอย) 2549
          19. ออสเตรเลีย (ดาร์วิน) 2550
          20. เปรู 2551
          - นอกเหนือจากการประชุมรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจและการต่างประเทศ ซึ่งจัดให้มีขึ้นตามปกติทุกปีแล้ว ยังมีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านอื่นๆ (Ministerial Meetings) ที่จัดขึ้นตามวาระที่เหมาะสมอีกด้วย
          - สำหรับการประชุมรัฐมนตรีพลังงานเอเปค แต่เดิมรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลงาน ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จะทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีพลังงานของประเทศไทย
          ตั้งแต่ 3 ตุลาคม 2545 เมื่อมีการปรับปรุงระบบราชการ และจัดตั้งกระทรวงพลังงานขึ้นแล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นรัฐมนตรีพลังงานของไทย ไปร่วมประชุม โดยมีปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านพลังงานเอเปค ของไทย
3. คณะกรรมการถาวร (Committees) ปัจจุบันมีทั้งหมด 4 ชุด คือ
          คณะกรรมการการค้าและการลงทุน (Committee on Trade and Investment - CTI) จัดตั้งขึ้นในปี 1994 (predecessor RTI from 1992) จากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวก ให้สินค้าและบริการ ไหลเวียนได้อย่างสะดวก ในหมู่สมาชิก คณะกรรมการชุดนี้นับว่า เป็นกลไกสำคัญที่สุดของเอเปค ในการดำเนินการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ตามแผนปฏิบัติการโอซากา

          ประกอบด้วยการดำเนินงานด้านต่างๆ ได้แก่ Sub-Committees/Experts Groups 11 ชุด คือ
          1. Sub-Committee on Standards & Conformance
          2. Sub-Committee on Customs Procedures
          3. Market Access Group
          4. Group on Services
          5. Investment Experts Group
          6. Intellectual Property Rights
          7. Government Procurement
          8. Mobility of Business People
          9. Competition Policy/Deregulation
        10. WTO Capacity Building
        11. Strengtening Economic Legal Infrastructure

          - สำหรับสาขาพลังงาน เอเปคได้จัดไว้ภายใต้หัวข้อ "การค้าบริการ (Services)" ซึ่งจะต้องดำเนินการเปิดเสรี ไปพร้อมกันกับสาขาเศรษฐกิจอื่นๆ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงานของไทย (Thailand Energy Individual Action Plan) ตามแผนเปิดเสรีทางการค้า และบริการของเอเปค โดยที่ไทยอยู่ในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา ที่จะต้องเปิดเสรีสาขาพลังงาน อย่างเต็มที่ในปี 2020 คือขยายเวลา ให้ดำเนินการเปิดการค้าเสรี ให้สำเร็จหลังประเทศพัฒนาแล้วได้อีก 10 ปี
 
          คณะกรรมการเศรษฐกิจ (Economic Committee - EC) จัดตั้งขึ้นในปี 1995 (predecessor ETI 1991) จากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค โดยปัจจุบัน เน้นการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจ และการศึกษาประเด็นเศรษฐกิจเฉพาะเรื่อง โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวพันต่อเนื่องกัน
          - มีคณะอนุกรรมการย่อย (Sub-Group) 1 คณะ คือ EC Outlook Taskforce
 
          คณะกรรมการ ECOTECH (SOM Committee on Economic and Technical Cooperation - ESC) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 1998 เพื่อช่วยเหลือ SOM ในการประสานงานด้าน ECOTECH
          - มีคณะอนุกรรมการย่อย (Sub-Group) 1 คณะ คือ Group on Economic Infrastructure, ยกเลิกเมื่อปี 2002
 
          คณะกรรมการงบประมาณและการบริหารงาน (Budget and Management Committee - BMC) ก่อตั้ง 1994 (called BAC before 1999) มีหน้าที่ให้คำปรึกษาเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปคในเรื่องงบประมาณ และการบริหารจัดการต่างๆ มีการประชุมตามปกติปีละ 2 ครั้ง
4. กลุ่มที่ปรึกษา (Advisory Group) - ปัจจุบันมีเพียง 1 กลุ่ม คือ
          สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council - ABAC) จัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี 2538 ตามมติที่ประชุมผู้นำที่โอซากา ประกอบด้วยนักธุรกิจเขตเศรษฐกิจละ 3 คน เพื่อให้คำปรึกษาในการดำเนินงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคธุรกิจต่างๆ
5. กลุ่มคณะทำงานเฉพาะกิจ (SOM Special Tasks Group) ปัจจุบันมี 3 ชุด คือ
          1. Steering Group on E-Commerce, ก่อตั้ง 1999
          2. Counter Terrorism Task Force
          3. Gender Focal Point Network
6. คณะทำงาน (Working Groups)
          คณะทำงานด้านต่างๆ ทั้ง 12 คณะนี้ นับเป็นกลไกการปฏิบัติงานตามปกติของเอเปค คือเป็นทั้งผู้รับนโยบายจากการประชุมระดับผู้นำ การประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส ไปปฏิบัติให้เกิดผลงานอย่างจริงจัง พร้อมทั้งต้องเสนอแนะ และริเริ่มงานที่จะก่อประโยชน์ ตามลักษณะงานของแต่ละคณะทำงานนั้นๆ โดยแต่ละคณะทำงาน จะแยกการดำเนินงาน ผ่านทางกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) ต่างๆ ที่ประกอบด้วยผู้แทน จากแต่ละเขตเศรษฐกิจ ที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นๆ โดยตรงมาร่วมเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
          1. คณะทำงานด้านพลังงาน (Energy), ก่อตั้ง 1990
          2. คณะทำงานด้านการประมง (Fisheries), ก่อตั้ง 1991
          3. คณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Development), ก่อตั้ง 1990
          4. คณะทำงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Science and Technology), ก่อตั้ง 1990
          5. คณะทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ (Marine Resources Conservation), ก่อตั้ง 1990
          6. คณะทำงานด้านโทรคมนาคมและสารสนเทศ (Telecommunications & Information), ก่อตั้ง 1990
          7. คณะทำงานด้านส่งเสริมการค้า (Trade Promotion), ก่อตั้ง 1990
          8. คณะทำงานด้านการคมนาคมขนส่ง (Transportation), ก่อตั้ง 1991
          9. คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว (Tourism), ก่อตั้ง 1991
         10. คณะทำงานด้านความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร (Agricultural Technical Cooperation), ก่อตั้ง 2539
         11. คณะทำงานด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small & Medium Enterprises), ก่อตั้ง 2538
         12. คณะทำงานด้านข้อมูลการค้าและการลงทุน (Trade & Investment Data), ก่อตั้ง 1990/ ยกเลิก พ.ย.1998
ที่มา https://www.eppo.go.th/inter/apec/int-APEC-summary-T.html

โอเปก (องค์กรร่วมประเทศผู้ผลิตน้ำมันเพื่อการส่งออก)  หรือ OPEC (Organization of the Petroleum Exporting Countries)
ประวัติโดยย่อของโอเปก
          โอเปก เป็นองค์กรร่วมของรัฐบาลระหว่างประเทศที่มีความถาวร เริ่มก่อตั้งขึ้นในการประชุมที่กรุงแบกแดด ประเทศอิรัก เมื่อวันที่10-14 กันยายน 2503 โดยมีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ (1) อิหร่าน (2) อิรัก (3) คูเวต (4) ซาอุดิอาระเบีย และ (5) เวเนซูเอล่า ต่อมา มีสมาชิกอีก 8 ประเทศ มาเพิ่มเติม ได้แก่ (1) ประเทศกาต้า (2504) (2) อินโดนีเซีย (2505) (3) ลิเบีย (2505) (4) สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (2510) (5) แอลจีเรีย (2512) (6) ไนจีเรีย (2514) (7) เอกวาดอร์ (2516-2535) (8) กาบอง (2518-2537) ในช่วง 5 ปี แรก โอเปกมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ต่อมา เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2508 จึงย้ายที่ทำการไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย

จุดประสงค์ในการตั้งโอเปก
          เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ในการรักษาระดับราคาให้มีความเป็นธรรม และสร้างความมั่นคงให้แก่ประเทศผู้ผลิตปิโตรเลียม ก่อให้เกิดการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเศรษฐกิจ และรักษาระดับความสม่ำเสมอในการผลิตปิโตรเลียม เพื่อให้เพียงพอในการป้อนเข้าสู่ตลาดโลก โดยผู้ผลิตจะได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ในการได้รับการคืนทุนที่ได้ลงไปในอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียม

ยุค 1960S (2503-2512)
          โอเปกที่ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกโดยรวมสมาชิกได้ 5 ประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา เพื่อแสดงตนในการประกาศตัวว่าประเทศสมาชิกเหล่านี้ ว่ามีความชอบธรรมตามกฎหมายในการก้าวเข้าสู่ตลาดการค้าน้ำมันโลก ที่เคยเป็นของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ในนามของ “Seven Sisters”  (Seven Sisters คือ บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลของโลก ได้แก่ (1) Standard Oil of New Jersey, ปัจจุบันนี้ คือ ExxonMobil (2) Royal Dutch Shell Anglo-Dutch (3) British Anglo-Persian Oil Company ต่อมาเป็น British Petroleum ต่อมาเมื่อ BPAmoco ที่เกิดควบรวมกับ Amoco (ซึ่งเดิม คือ Standard Oil of Indiana) ปัจจุบันนี้ คือ BP (4) Standard Oil of Newyork ต่อมาเป็น Mobil เมื่อควบรวมกับ Exxon ปัจจุบัน คือ ExxonMobil (5) Texaco ที่ควบรวมกับ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco (6) Standard Oil of California (Socal) ที่กลายเป็นของ Chevron ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco (7) Gulf Oil ที่หุ้นส่วนใหญ่แล้วเป็นของ Chevron ที่ปัจจุบันนี้ คือ ChevronTexaco โดยเครือข่ายสถานีน้ำมันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า ChevronTexaco ดังนั้น ปัจจุบันนี้ บริษัทน้ำมันที่ยังเหลือรอดอยู่ในวงการ คือ (1) ExxonMobil (2) ChevronTexaco (3) Shell และ (4) BP เท่านั้น)
          กิจกรรมของโอเปกจะเป็นไปตามปกติ คือ เมื่อมีการก่อตั้งขึ้นมาแล้ว ก็ได้กำหนดให้มีสำนักงานเลขาธิการขององค์กร โดยเริ่มงานที่นครเจนีวาก่อนจะย้ายไปยังกรุงเวียนนาในเวลาต่อมาในปี 2508 ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการประชุมตกลงกันระหว่างกลุ่ม และเจรจาต่อรองกับบริษัทน้ำมันต่างๆ โดยมีประเทศสมาชิกจากเดิม 5 ประเทศ ในตอนก่อตั้ง แล้วเพิ่มเป็น 10 ประเทศในทศวรรษนี้เอง

ยุค 1970S (2513-2522)
          โอเปกเริ่มมีชื่อเสียงจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในทศวรรษนี้เอง โดยประเทศสมาชิกได้เข้าไปควบคุมอุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเลียมในประเทศของตน และร่วมกันประกาศราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ในระหว่างนี้ได้เกิดวิกฤตราคาน้ำมันโลก 2 ครั้ง มีการหยุดการขนส่งน้ำมันจากประเทศในกลุ่มอาหรับในปี 2516 และเกิดการปฏิวัติในประเทศอิหร่านในปี 2522 ทั้งสองกรณีนี้ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำมัน ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก จึงมีการประชุมสุดยอดผู้นำของโอเปกขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2518 นอกจากนี้โอเปกได้มีมติรับประเทศไนจีเรียเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ในปี 2514

ยุค 1980S (2523-2532)          ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นสูงลิบลิ่วในต้นทศวรรษนี้ ก่อนที่จะเริ่มลดราคาลงอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา จนเกิดพังพาบลงไปในที่สุดวิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 3 ในปี 2529 ราคาน้ำมันได้ดิ่งลงอย่างต่อเนื่องเรื่อย ๆ จนถึงปีท้าย ๆ ของทศวรรษนี้ โดยไม่เหลือร่องรอยของอดีตแห่งความรุ่งโรจน์เมื่อต้นทศวรรษนี้เลย ซึ่งเป็นการเตือนว่าในการเติบโตของความต้องการ ต้องมีการเชื่อมประสานระหว่างผู้ผลิตทั้งหลาย ถ้าต้องการให้ตลาดมีความยั่งยืนได้ในอนาคต ราคาก็ต้องมีความเป็นธรรม นอกจากนี้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาท โดยถูกจัดให้อยู่เป็นวาระการประชุมในเวทีระดับโลก

ยุค 1990S (2533-2542)          วิกฤตราคาน้ำมันโลกครั้งที่ 4 เริ่มอีกในต้นศตวรรษนี้ จากการเกิดการสู้รบในตะวันออกกลาง เมื่อราคาเกิดการพุ่งทะยานขึ้นอย่างแรงทันที จากการกังวลของตลาดว่าการผลิตจากกลุ่มโอเปกเพิ่มขึ้นได้ไม่มาก ต่อมาราคาจึงค่อนข้างคงที่จนถึงปี 2543 เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น ได้เกิดการรวมตัวกันของโอเปกและประเทศผู้นำการผลิตปิโตรเลียมนอกกลุ่มโอเปกเพื่อเข้ามาเยียวยาปัญหานี้ จนสิ้นทศวรรษนี้ได้เกิดกระแสเร่งด่วนของโครงการควบรวมกิจการของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ทั้งหลายเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอย่างยิ่งใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วในช่วงทศวรรษนี้บรรยากาศของการเจรจาต่อรองระหว่างนานาชาติดำเนินไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้น้ำมันในอนาคต

การบริหารองค์กรของโอเปก
          
สมาชิกโอเปกให้ความร่วมมือกันในการกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นคงในตลาดน้ำมัน และช่วยให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันได้รับการคืนทุนให้คุ้มกับที่ได้ลงทุน นอกจากนี้นโยบายนี้ยังได้กำหนดขึ้นเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าจะได้รับน้ำมันตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน
          องค์กรด้านพลังงานและไฮโดรคาร์บอนจะจัดให้มีการประชุม ปีละ 2 ครั้ง ในการทบทวนบทบาท และสถานะในตลาดน้ำมันโลก รวมทั้งคาดการณ์อนาคต เพื่อจะได้ตกลงร่วมกันในการแสดงบทบาทอย่างเหมาะสม ในการสร้างความมั่นคงให้แก่ตลาดน้ำมัน
          ประเทศสมาชิกยังมีการจัดการประชุมอื่น ๆ ตามระดับความสนใจ ได้แก่ การประชุมของผู้เชี่ยวชาญด้านปิโตรเลียมและด้านเศรษฐศาสตร์ การประชุมของผู้แทนระหว่างประเทศ รวมทั้งงานเฉพาะกิจอื่น ๆ เช่น การประชุมของคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 
          การตกลงใจเพื่อหาจุดเหมาะสมของการผลิตน้ำมันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดนั้นจะเกิดขึ้นในการประชุมของโอเปก รายละเอียดและผลของการประชุมจะมีแถลงการณ์ออกมาทุกครั้ง

          สำนักเลขาธิการโอเปค เป็นองค์กรที่มีสถานะถาวรในการร่วมงานกันของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ สำนักเลขาธิการที่มีฐานการทำงานที่กรุงเวียนนา ตั้งแต่ปี 2508 นั้น ได้ดำเนินงานด้านการวิจัย และงานด้านบุคคล ของประเทศสมาชิก รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลและข่าวสารต่างออกไปทั่วโลก

ภาษาราชการที่ใช้ คือ ภาษาอังกฤษ

ข้อมูลจาก : กรมเชื้อเพลิงพลังงาน

โหลด - อ่าน - เรื่องเด่น 

เกณฑ์สอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี 2560
เกณฑ์สอบผู้บริหารการศึกษา ปี 2560

 คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้   

เว็บฟรี...1,000 ชุด 10,000 ข้อ
ติวสอบครูผู้ช่วย-ผู้บริหาร-บุคลากรการศึกษา -อปท. ที่ 
ติวสอบดอทคอม โดย อ.นิกร "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค
พัฒนาความรู้ครูผู้ช่วย 4 ภาค

ห้องสนทนา บน facebook

ห้องสนทนา บน facebook
ห้องสนทนาติวสอบดอทคอม

ข้อสอบออนไลน์ "ติวสอบดอทคอม" ชุดใหม่

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค

แจ้งย้ายเว็บไปที่ www.tuewsob.com

คู่มือเตรียมสอบผู้บริหาร ภาค ก ข ค (ปรับปรุงใหม่)

รวม เล่ม + แผ่นพับ + ชีตช่วยจำ + DVD เนื้อหา + เสียงบรรยาย + EMS = 800 บาท
สนใจ คู่มือ ภาค ก ข ค ผู้บริหาร คลิ๊กเลย

สั่งจอง... โอนเงินเข้าชื่อบัญชี นายนิกร เพ็งลี ธนาคารกรุงไทย สาขาจอหอ บัญชีเลขที่ 341-1-38912-5 โอนเงินแล้วกรุณาโทรแจ้ง
0872494141 หรือ 0839660030

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร
คู่มือ เตรียมสอบผู้บริหาร

ติวสอบออนไลน์ บน facebook

ติวสอบออนไลน์ บน facebook
ติวสอบออนไลน์ บน facebook

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม
คลังหนังสือ ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม

ติวสอบดอทคอม
ติวสอบดอทคอม