อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 พฤศจิกายน 2561
วันนี้
(6 พฤศจิกายน 2561) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ
1 ทำเนียบรัฐบาล
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
|
1.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมาย
พ.ศ. ….
2.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. ….
3.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ ของผู้ทำการแทนผู้รักษาการแทน
หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของ รัฐวิสาหกิจ
พ.ศ. ….
4.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….)
ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 รวม 3 ฉบับ
(การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ตามพระราชบัญญัติภาษีเงิน ได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560)
5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้บริโภค พ.ศ. 2522
และร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตาม กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน
พ.ศ.
.... รวม 2 ฉบับ
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. 2542 ร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกรรมที่สถาบัน การเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา
16 ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พ.ศ. …. และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง วิธีการแสดงตนของลูกค้า
สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา
16 รวม 3 ฉบับ
8. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า
อำเภอท้ายเหมือง
อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา
อำเภอตะกัวทุ่ง และอำเภอ เกาะยาว จังหวัดพังงา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
9. เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือ ตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
10.
เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามมาตรา 12 (1)
ประเภท นักท่องเที่ยวชนิดใช้ได้ครั้งเดียว
เป็นการชั่วคราว พ.ศ. ….
(ท่านสามารถดาวน์โหลดมติผลการประชุมคณะรัฐมนตรี
ฉบับวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561)
ด้วยการสแกน QR Code
เศรษฐกิจ- สังคม
|
11.
เรื่อง การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562
12.
เรื่อง การปรับปรุงคุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์สำหรับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
(Smart
Visa)
13.
เรื่อง การขยายปริมาณการจัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรปสำหรับให้ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว
GAP
ครบวงจร
ต่างประเทศ
|
14.
เรื่อง การจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปเพื่อแก้ไขความ ตกลงให้การสนับสนุนทางการเงินภายใต้โครงการการอนุรักษ์ความหลากหลาย ทางชีวภาพและการจัดการพื้นที่คุ้มครองในอาเซียน
15. เรื่อง ท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง ชีวภาพ สมัยที่ 14
และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และร่างปฏิญญาชาร์ม เอล เชค (Sharm El-Sheikh Declaration)
16.
เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างราชอาณาจักรไทย – รัฐอิสราเอล
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อการเสนอให้ไทยเป็นที่ตั้งศูนย์บริการด้านธุรการระดับภูมิภาค ของสหประชาชาติ
(Global Shared Service Center)
18.
เรื่อง ขอความเห็นชอบและลงนามร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาล แห่งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
ว่าด้วยการขยายเส้นทางบิน
แต่งตั้ง
|
19.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
20.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
21
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
22.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงสาธารณสุข)
23.
เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่แต่งตั้งโดย
มติคณะรัฐมนตรี
******************
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
กฎหมาย
|
1. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ
ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
เพื่อให้การดำเนินการมาตรา 77 และมาตรา 258 ค. ด้านกฎหมาย (1)
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เกิดความชัดเจน
อันจะนำไปสู่การมีกฎหมายที่มีคุณภาพและมีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น
มีการยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์
หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน
และประชาชนสามารถเข้าถึงตัวบทกฎหมาย ต่าง ๆ ได้โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง
รวมทั้งเพื่อให้ครอบคลุมการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่มิได้อยู่ในฝ่ายบริหารด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย
2.
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ
ดังนี้
1.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
2.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
3.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. หมวดที่ 1 สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
ให้จัดตั้งสภาดิจิทัลฯ
โดยให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจหน้าที่เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาดิจิทัลฯ
โดยให้สภาดิจิทัลฯ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
และมีสำนักงานสาขาในจังหวัดอื่นได้และอาจมีรายได้จากค่าลงทะเบียน ค่าธรรมเนียม
ค่าบำรุงที่เรียกเก็บจากสมาชิก
ค่าตอบแทนและค่าบริการที่ได้รับจากการให้บริการแก่สมาชิกหรือบุคคลภายนอก
เงินหรือทรัพย์สินบริจาคเงินหรือทรัพย์สินอื่น ๆ
ที่ได้จากการดำเนินงานของสภาดิจิทัลฯ เงินรายได้อื่น ๆ และดอกผลและผลประโยชน์อื่นจากเงินหรือทรัพย์สินของสภาดิจิทัลฯ
2. หมวดที่ 2 สมาชิก
กำหนดให้สมาชิกของสภาดิจิทัลฯ
แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่
2.1 สมาชิกสามัญซึ่งประกอบด้วยบริษัทจำกัด
บริษัทมหาชนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัลตามข้อบังคับและสมาคมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการสนับสนุน
การประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัล
2.2 สมาชิกวิสามัญซึ่งประกอบด้วยบุคคลธรรมดา
ผู้ประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัล
ผู้ประกอบการที่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือรับบริการดิจิทัล
บุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัลและสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรดิจิทัล
2.3 สมาชิกกิตติมศักดิ์ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในธุรกิจ
หรืออุตสาหกรรมดิจิทัล หรือผู้ซึ่งทำประโยชนให้แก่สภาดิจิทัลฯ
หรืออุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการเชิญมาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
3. หมวดที่ 3 คณะกรรมการ
กำหนดให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและดำเนินกิจการของสภาดิจิทัลฯ
ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสภาดิจิทัลฯ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นผู้แทนภาคเอกชน
ประสานด้านนโยบายและการดำเนินการกับรัฐบาลเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัล
ตลอดจนศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศ
และให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำการประกอบธุรกิจหรืออุตสาหกรรมดิจิทัล
ในการนี้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงของผู้อำนวยการ
และมีอำนาจหน้าที่ออกข้อบังคับที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาดิจิทัลฯ
4. หมวดที่ 4 พนักงาน
กำหนดให้สำนักงานสภาดิจิทัลฯ มีผู้อำนวยการเป็นหัวหน้าสำนักงานโดยตำแหน่ง
ทำหน้าที่บริหารกำกับดูแลการดำเนินงานประจำของสำนักงานให้เป็นไปตามนโยบายคณะกรรมการบริหารและตามข้อบังคับ
5. หมวดที่ 5
การดำเนินกิจการของสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
ให้คณะกรรมการบริหารของสภาดิจิทัลฯ
จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลงานคณะกรรมการบริหารในปีที่ล่วงมา
และคำชี้แจงเกี่ยวกับนโยบายเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญพร้อมด้วยงบดุล บัญชีรายได้
และรายจ่ายประจำปี
ซึ่งมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและรับรองและให้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อรับทราบต่อไป
6. หมวดที่ 6
การกำกับดูแลของรัฐ
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำกับดูแลการทำงานของสภาดิจิทัลฯ
ได้ตามขอบเขตที่พระราชบัญญัติสภาดิจิทัลฯ กำหนดและเมื่อปรากฏว่าสภาดิจิทัลฯ
ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของสภาดิจิทัลฯ
หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นภัยต่อระบบเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ
หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้กรรมการคนใดคนหนึ่งหรือทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งในกรณีเช่นนี้
กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งไม่มีสิทธิเป็นกรรมการอีก
เว้นแต่จะพ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันที่รัฐมนตรีมีคำสั่ง
7. หมวดที่ 7 บทกำหนดโทษ
ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของสภาดิจิทัลฯ
ต้องระวางโทษปรับ
8. บทเฉพาะกาล
ให้แปรสภาพสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นสภาดิจิทัลฯ
โดยให้คณะกรรมการสมาคมสมาพันธ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งจัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
และให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 คน
ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย
ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านนิเทศศาสตร์การสื่อสารด้านสังคม ด้านกฎหมายดิจิทัล
ด้านธุรกิจการดูแล ด้านสุขภาพ (Healthcare) ด้านเศรษฐศาสตร์
และด้านส่งเสริมสิทธิประชาชนอย่างทั่วถึง (Inclusiveness) ด้านละหนึ่งคนตามที่รัฐมนตรีแต่งตั้งประกอบเป็นคณะกรรมการคณะแรกของสภาดิจิทัลฯ
มีอำนาจดำเนินการเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
และดำเนินการเรียกประชุมสมาชิกสามัญ เพื่อเลือกตั้งกรรรมการใหม่ภายใน 365
วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ถ้ามีความจำเป็นให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกิน
60 วัน แต่ทั้งนี้รวมกันไม่เกิน 120 วัน
3. เรื่อง
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ทำการแทน
ผู้รักษาการแทน
หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้ทำการแทน
ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ….
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตเกี่ยวกับขอบเขตของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่อาจไม่ได้แก้ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจได้อย่างครอบคลุมในคราวเดียวกันของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา
ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจโดยกำหนดให้ผู้ทำการแทน
ผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจ มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น
ซึ่งรวมถึงอำนาจหน้าที่ในฐานะกรรมการในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจนั้น
โดยแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจจำนวน 8 ฉบับ ดังนี้
(1) มาตรา 26
แห่งพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558
(2)
มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550
(3) มาตรา 31
แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522
(4) มาตรา 32
แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. 2501
(5) มาตรา 24
แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511
(6) มาตรา 27
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543
(7) มาตรา 23
แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน พ.ศ. 2535
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.
2540
(8) มาตรา 24
แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนพฤกษศาสตร์ พ.ศ. 2535
4. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….)
ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
พ.ศ. 2514 รวม
3 ฉบับ (การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ
ดังนี้
1.
เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….)
ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 (การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
ตามพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560) รวม 3 ฉบับ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
2.
รับทราบรายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการออกกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับดังกล่าว
ให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่
7) พ.ศ. 2560 มีผลใช้บังคับได้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ..
(พ.ศ. ….) ออกตามความในมาตรา 26 (9/2) และมาตรา 65 เอกวีสติ (7/2)
แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560
เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการคำนวณรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมที่จัดสรรจากสำนักงานใหญ่และรายจ่ายเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมที่เรียกเก็บโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน
ดังนี้
1.1
กำหนดให้รายจ่ายที่สาขาในประเทศไทยได้จ่ายไปให้สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศเพื่อเป็นค่าตอบแทนการให้ความช่วยเหลือหรือการให้บริการแก่กิจการปิโตรเลียมในประเทศไทยที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธินั้น
จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
เช่น
รายจ่ายเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือหรือให้บริการของสำนักงานใหญ่นั้นเกี่ยวกับกิจการของสาขาในประเทศไทย
รายจ่ายเกี่ยวกับการค้นคว้าและพัฒนาที่สาขาในประเทศไทยได้รับบริการหรือได้นำผลการค้นคว้าและพัฒนามาใช้ประโยชน์
1.2
กำหนดให้รายจ่ายที่ได้จ่ายไปให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกันที่จะนำมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธินั้น
จะต้องเป็นกรณีที่มีหลักฐานชัดแจ้งว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
เช่น เป็นรายจ่ายที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นรายจ่ายตามปกติและจำเป็นในจำนวนไม่เกินสมควร
2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ..
(พ.ศ. ….) ออกตามความในมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2560
เป็นการกำหนดเกี่ยวกับกรณีที่มีการโอนกิจการปิโตรเลียม
โดยกำหนดให้บริษัทผู้รับโอนถือเอาผลขาดทุนประจำปีคงเหลือของบริษัทผู้โอนเพื่อประโยชน์ในการหักลดหย่อนตามมาตรา
28 (1) แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่มีการโอนเป็นต้นไปได้ เสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการโอนกิจการปิโตรเลียม
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
3. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ..
(พ.ศ. ….) ออกตามความในมาตรา 65 ฉัพพีสติ แห่งพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
พ.ศ. 2514 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7)
พ.ศ. 2560
เป็นการกำหนดเกี่ยวกับกรณีที่บริษัทเป็นผู้ได้รับสัมปทานหรือผู้ได้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต
สำหรับแปลงสำรวจหลายแปลง
โดยแปลงสำรวจบางแปลงอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.
2541 หรือบางแปลงอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม
(ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2541 โดยให้บริษัทดังกล่าวคำนวณรายได้ รายจ่าย และกำไรสุทธิ สำหรับแปลงสำรวจที่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัตินั้น
ๆ และแปลงสำรวจที่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่ 7) พ.ศง 2560
เสมือนหนึ่งเป็นบริษัทแยกต่างหากจากกัน ถ้ารายได้และรายจ่ายรายการใดไม่สามารถแยกกันได้อย่างชัดแจ้ง
ให้เฉลี่ยรายได้และรายจ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้
5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสำนักงานศาลยุติธรรม
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป
สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดให้คู่พิพาทในทางอนุญาโตตุลาการสามารถตั้งคนต่างด้าวเป็นอนุญาโตตุลาการ
หรือผู้รับมอบอำนาจเพื่อทำหน้าที่แทนในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในราชอาณาจักรได้
2. กำหนดให้คนต่างด้าวตามข้อ 1
ที่ทำหน้าที่ในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการโดยส่วนราชการหรือหน่วยงานที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น
และมีภารกิจที่เกี่ยวเนื่องในด้านการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการ
สามารถขอหนังสือรับรองจากส่วนราชการหรือหน่วยงานดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวได้
3.
กำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้รับหนังสือรับรองตามข้อ 2
มีสิทธิได้รับอนุญาตให้เข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวได้ตามระยะเวลาที่กำหนดในหนังสือรับรองและมีสิทธิทำงานในราชอาณาจักรได้ตามหน้าที่ของตน
6. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
และร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน
พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
และร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน
พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้ปรับรูปแบบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงบางส่วน
เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงทั้งฉบับตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่
.. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
1.1
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถระบุวันเริ่มต้นและสิ้นสุดของการจัดให้มีการเสี่ยงโชค
การประกวดชิงรางวัล และการให้ของแถมหรือให้สิทธิหรือประโยชน์โดยให้เปล่า
หรือต้องทำให้ผู้บริโภคเข้าใจกำหนดระยะเวลาได้
1.2
กำหนดในส่วนของข้อยกเว้นการระบุวันเริ่มต้นและสิ้นสุดในการโฆษณาทางภาพยนตร์และวีดิทัศน์
โดยข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นจะให้ปรากฏในส่วนที่เป็นภาพหรือในส่วนที่เป็นเสียงอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้
แต่ข้อความโฆษณาที่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดนั้นจะต้องให้ปรากฏทั้งในส่วนที่เป็นภาพและส่วนที่เป็นเสียง
1.3
กำหนดในส่วนของข้อยกเว้นการโฆษณาทางกิจการโทรคมนาคม ป้ายโฆษณา ภาพยนตร์
และวีดิทัศน์ ดังนี้
1.3.1
ผู้ประกอบธุรกิจจะไม่ระบุมูลค่าของของแถมพกหรือรางวัลแต่ละสิ่ง
หรือมูลค่ารวมในแต่ละประเภทก็ได้ แต่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องระบุมูลค่ารวมของของแถมพกหรือรางวัลทุกประเภทไว้แทน
และ
1.3.2
ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องระบุเขตหรือถิ่นที่มีการจัดให้มีการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัลหรือการให้ของแถมหรือให้สิทธิหรือประโยชน์โดยให้เปล่า
ทั้งนี้ ข้อความโฆษณาทางสื่อที่ได้รับการยกเว้นต้องมีข้อความตัวอักษรหรือข้อความภาพ
หรือเสียงที่ระบุให้ชัดเจนว่าให้ผู้บริโภคสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากสื่ออื่นใดที่สามารถเข้าถึงได้โดยง่ายหรือหมายเลขโทรศัพท์
1.4
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องระบุวัน เดือน ปี
ที่จะประกาศรายชื่อผู้ได้รับของแถมพกหรือรางวัลจากการเสี่ยงโชคหรือการประกวดชิงรางวัล
ข้อมูลรายละเอียดตามที่กฎกระทรวงกำหนด ซึ่งต้องแสดงให้ผู้บริโภคได้เห็น อ่าน ฟัง
ได้อย่างครบถ้วนชัดเจน และไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญ โดยต้องมีข้อความ
ตัวอักษร ภาพ หรือเสียงที่ระบุให้ชัดเจนว่า ผู้บริโภคสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ใด
1.5
กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจการโฆษณาทางหนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์ต้องระบุข้อความเกี่ยวกับการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(EIA)
โดยการโฆษณาขายห้องชุดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดต้องระบุว่ายังไม่ได้รับหรือได้รับความเห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ส่วนห้องชุดที่จดทะเบียนเป็นอาคารชุดแล้วต้องระบุเลขที่หนังสือ และวัน เดือน ปี
ที่ได้รับความเห็นชอบ
เป็นหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
1.6 แก้ไขถ้อยคำ
จากเดิม “วิทยุกระจายเสียง” เป็น “กิจการกระจายเสียง” “วิทยุโทรทัศน์” เป็น
“กิจการโทรทัศน์” และให้รวมถึงสื่อภาพยนตร์และวีดิทัศน์
เพื่อให้การโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดครอบคลุมสื่อที่เกี่ยวข้องมากยิ่งขึ้น
1.7
กำหนดให้การโฆษณาทางป้ายโฆษณาหรือสื่อโฆษณาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
กรณีการขายห้องชุดในอาคารชุดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุด
ให้ตัดข้อความเกี่ยวกับ “จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของโครงการ
และแผนผังแสดงเขตที่ดิน” ออก
ส่วนการโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดที่จดทะเบียนเป็นอาคารชุดแล้ว ให้ตัดข้อความเกี่ยวกับ
“แผนผังแสดงเขตที่ดิน” ออก
1.8
กำหนดให้การโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
หรือสื่อโฆษณาอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
ให้ครอบคลุมถึงการโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดที่ยังไม่ได้จดทะเบียน
และการโฆษณาขายห้องชุดในอาคารชุดที่จดทะเบียนเป็นอาคารชุดแล้ว
และการโฆษณาขายที่ดินโดยการแบ่งขายเป็นแปลงย่อยไม่ว่าจะเป็นการขายเฉพาะที่ดินหรือขายที่ดินพร้อมอาคาร
2. ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคบางฉบับที่ไม่เหมาะสมกับกาลปัจจุบัน
พ.ศ. ....
เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีน
ในโรงภาพยนตร์และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547
เพื่อให้มีกฎหมายเท่าที่จำเป็นและไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ
7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม
การฟอกเงิน
พ.ศ. 2542 ร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16
ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พ.ศ. …. และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
วิธีการแสดงตนของลูกค้า
สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา
16 รวม 3 ฉบับ
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง
ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.
2542 ร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16
ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พ.ศ. …. และร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
วิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 รวม 3 ฉบับ
ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงและร่างประกาศ
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่
.. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2542)
และที่แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
พ.ศ. 2542
โดยกำหนดให้ธุรกรรมที่เกี่ยวกับทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ที่ทำกับสถาบันการเงินในส่วนที่เป็นธุรกรรมที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล
และธุรกรรมที่เป็นการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมประเภทโอนเป็นที่สาธารณประโยชน์
รวมทั้งธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย
เป็นธุรกรรมที่ไม่อยู่ในข่ายที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรายงาน
2.
ร่างกฎกระทรวงกำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16
ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พ.ศ. ….
เป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดธุรกรรมที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา
16 ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน พ.ศ. 2559 ดังนี้ (1) กำหนดนิยามคำว่า “ลูกค้า”
“บุคคลที่มีการตกลงกันทางกฎหมาย” “ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ” “ธุรกรรมเป็นครั้งคราว”
(2) กำหนดวงเงินที่ต้องจัดให้ลูกค้าแสดงตน
และ (3)
กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16
ต้องมีมาตรการและควบคุมดูแลเพื่อมิให้มี
การปฏิบัติอันเป็นอุปสรรคในการแสดงตนของคนพิการหรือทุพพลภาพ
3. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง วิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงินและ
ผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา
16
เป็นการแก้ไขปรับปรุงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
วิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพตามมาตรา 16 ลงวันที่ 11
กรกฎาคม 2556
โดยกำหนดประเภทข้อมูลและหลักฐานที่ลูกค้าต้องแสดงตนกับสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพ
เพื่อกำหนดมาตรการให้สามารถพิสูจน์ทราบตัวตนของลูกค้า และกำหนดประเภทข้อมูลแสดงตนอิเล็กทรอนิกส์ที่สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพได้รับ
จากลูกค้า
8. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี
อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด
อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง
และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง
กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า
อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
สาระสำคัญของร่างประกาศฯ
1.
ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อให้มีความชัดเจนในการบังคับใช้
ดังนี้
(1) ปรับใช้ขอบเขตป่าสงวนแห่งชาติในเขตอำเภอคุระบุรี
จังหวัดพังงา ตามประกาศของกรมป่าไม้ ในการอ้างอิงขอบเขตบริเวณที่ 2
เพื่อให้ถูกต้อง (2) ยกเว้นเกาะขนาดใหญ่ออกจากบริเวณที่ 5 (สีชมพู) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในแผนที่ท้ายประกาศฯ
2.
ปรับปรุงมาตรการที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชน หรือไม่เอื้อต่อการดำเนิน
โครงการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค
และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น หรือนโยบายภาครัฐต่าง ๆ ดังนี้ (1)
ยกเว้นให้สามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
เพื่อการทำประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
รวมทั้งการดำเนินโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ
และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ตลอดจนเพื่อการศึกษาวิจัย (2)
ยกเว้นให้สร้างสุสานแห่งใหม่ในพื้นที่เกาะยาว ในระยะห่างจากแนวชายฝั่งทะเล
ไม่น้อยกว่า 400 เมตร ได้
3.
เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมระดับ
จังหวัด
เพื่อให้ความเห็นและอนุญาตให้ดำเนินโครงการหรือกิจกรรม แล้วแต่กรณี
9. เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วย
การประมง
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
ดังนี้
1.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ มายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ
เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ .. พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้
2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมประมง) เป็นหน่วยงานหลักและให้กระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) กระทรวงแรงงาน
(กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน) กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดชายทะเล 22 จังหวัด และศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย
ให้การสนับสนุนการเปิดศูนย์เพื่อจดทะเบียนและออกหนังสือคนประจำเรือ
สำหรับแรงงานต่างด้าวเพื่อทำงานในเรือประมง
3.
อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศมอบอำนาจในการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non -
Immigrant) รหัส L- A
ให้กับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในการดำเนินการตรวจลงตราให้กับแรงงานต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทาง
เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลของคนต่างด้าวที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
สาระสำคัญของร่างประกาศ
1. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง
การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2560 ดังนี้
1.1 แก้ไขบทนิยาม
“คนต่างด้าว” โดยเพิ่มคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนามจากเดิมที่มีเฉพาะสัญชาติกัมพูชา
ลาว เมียนมา
1.2 แก้ไขบทนิยาม
“ศูนย์” ให้หมายความถึง ที่ทำการสำนักงานประมงจังหวัด 22 จังหวัดชายทะเล
หรือสถานที่อื่นที่อธิดีประกาศกำหนด
จากเดิมที่ให้หมายถึงศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
กรมประมง และที่ทำการสำนักงานประมงอำเภอด้วย
1.3
ให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจออกประกาศกำหนดระยะเวลาและสถานที่ให้คนต่างด้าวมาลงทะเบียนเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติ
และยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือต่อกรมประมงได้ เพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลนแรงงานประมงทะเล
2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา
ที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ มายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ
เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ .. พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว
และเมียนมาที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป ที่ถือหนังสือเดินทาง (Passport) เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
และเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนหรือในวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติประกาศนี้
และประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล
ให้มาขึ้นทะเบียนและขอรับหนังสือคนประจำเรือ ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน 2561
ถึงวันที่
13 มกราคม
2562 และสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวจนกว่าหนังสือคนประจำเรือหมดอายุ
มีกำหนด 1 ปี
10. เรื่อง
ร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามมาตรา 12 (1)
ประเภทนักท่องเที่ยวชนิดใช้ได้ครั้งเดียว เป็นการชั่วคราว พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามมาตรา
12 (1) ประเภทนักท่องเที่ยวชนิดใช้ได้ครั้งเดียว เป็นการชั่วคราว พ.ศ. ….
ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
สตช. เสนอว่า
1.
ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้ตรวจสอบข้อมูลสถิติผู้โดยสารที่มาขอรับการตรวจลงตรา ณ
ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) พบว่า
ตั้งแต่เดือนมกราคม 2559 จนถึงปัจจุบัน
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยและขอรับการตรวจลงตรา มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
2.
จากข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง
ทำให้ส่งผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจการท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศ
3.
ปัจจุบันคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวันซึ่งขอรับการตรวจลงตรา
ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) ต้องชำระค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา
เป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท
4.
การเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราของคนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน
ในกรณียื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ
ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว
จำนวนเงิน 2,000 บาท แม้ว่าจะเป็นรายได้
แต่เมื่อเทียบกับจำนวนนักท่องเที่ยวซึ่งมีแนวโน้มลดลง
ก็จะส่งผลให้รายได้ที่จัดเก็บ ลดลงไปในทิศทางเดียวกัน
ในขณะเดียวกันหากมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายทางการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเพิ่มขึ้น
โดยจากการคาดการณ์หากมีการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราดังกล่าว
จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 30
ซึ่งจะทำให้มีรายได้ทางการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ที่สูญเสียจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา
ดังนั้น
เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยว
มีการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
อันส่งผลให้ประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นควรดำเนินการนำมาตรการในการยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราของคนต่างด้าว
ซึ่งประสงค์จะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวเป็นเวลาไม่เกินสิบห้าวัน
ในกรณียื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ
ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa On Arrival) โดยจากให้มีการเก็บอัตราค่าธรรมเนียม
ประเภท
นักท่องเที่ยว
ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว จำนวนเงิน 2,000 บาท
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2559)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นให้ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นการชั่วคราว
และในการยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราฯ ควรมีการกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับช่วงเข้าฤดูกาลท่องเที่ยวเทศกาลปีใหม่ไทย
โดยกำหนดเป็นเวลา 60 วัน
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
เป็นการให้ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราตามมาตรา
12 (1) ประเภทนักท่องเที่ยว ชนิดใช้ได้ครั้งเดียว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 -
มกราคม 2562 สำหรับคนต่างด้าวผู้มีสัญชาติของประเทศที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดตามข้อ 6
วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น
และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 ในกรณียื่นขอรับการตรวจลงตรา ณ
ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามที่กำหนดในข้อ 1 (1) (ข) แห่งกฎกระทรวง
(พ.ศ. 2523) ออกตาม
ความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมในกฎกระทรวง ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2559)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
เศรษฐกิจ- สังคม
|
11. เรื่อง
การประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2562
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบการประเมิน
เกณฑ์การประเมินและรอบระยะเวลาในการประเมินส่วนราชการและจังหวัด
ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้
ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ
(5 เมษายน 2559) เห็นชอบการประเมินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
(จัดทำขึ้นตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 5/2559 เรื่อง
มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ
เครืองาม) เสนอ ซึ่งส่วนราชการได้ดำเนินการตามแบบการประเมินดังกล่าวมาตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2559 อย่างไรก็ดี การประเมินส่วนราชการตามแบบการประเมินดังกล่าวมีปัญหาและข้อจำกัด
เช่น (1) ข้อมูลในหลายตัวชี้วัดไม่สามารถออกผลได้ทันภายในการประเมินรอบที่ 1
(ภายในวันที่ 31 มีนาคม) และเกณฑ์การประเมินรูปแบบเดิม
ทำให้ส่วนราชการที่มีผลการดำเนินงานในองค์ประกอบใดเพียงองค์ประกอบหนึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย
ถูกจัดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง
แม้ว่าส่วนราชการนั้นจะมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่เป็นภารกิจหลักอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายก็ตาม
ดังนั้น ในครั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงเสนอกรอบการประเมิน เกณฑ์การประเมิน
และรอบระยะเวลาในการประเมินส่วนราชการและจังหวัด
ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2562 ซึ่งได้ปรับปรุงจากประเมินรูปแบบเดิมที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบไว้
เพื่อแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดจากการดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา โดยได้ปรับปรุงใน
3 ส่วนหลัก ได้แก่
1.
กรอบการประเมิน
องค์ประกอบในการประเมินยังคงมี
5 องค์ประกอบเช่นเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้ ซึ่งประกอบด้วย (1)
ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน (Functional base) (2) ประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามภารกิจยุทธศาสตร์หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
(Adenda base) (3)
การดำเนินงานตามหลักภารกิจพื้นที่/จังหวัด กลุ่มจังหวัด (Area Base) (4)
ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและพัฒนานวัตกรรม (Innovation base) และ (5) ศักยภาพในการดำเนินการของส่วนราชการตามยุทธศาสตร์ชาติ (Potential base)
แต่ได้มีการปรับปรุงประเด็นการประเมินในองค์ประกอบที่ 1
โดยได้เพิ่มเติมประเด็นการประเมินด้านการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันหลายหน่วยงาน
เพื่อให้สะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่า
ในปัจจุบันส่วนราชการหลายแห่งมีการดำเนินงานตามภารกิจหลักโดยบูรณาการการดำเนินงานร่วมกัน
2.
เกณฑ์การประเมิน
สืบเนื่องจากเกณฑ์การประเมินรูปแบบเดิม
ทำให้ส่วนราชการที่มีผลการดำเนินงานใน
องค์ประกอบใดเพียงองค์ประกอบหนึ่งต่ำกว่าเป้าหมาย
ถูกจัดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง
แม้ว่าส่วนราชการนั้นจะมีผลการประเมินในองค์ประกอบที่เป็นภารกิจหลักอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมาย
ก็ตาม ดังนั้น
จึงได้มีการปรับปรุงเกณฑ์การประเมิน เป็นการคำนวณคะแนนเฉลี่ยเป็นร้อยละของทุกองค์ประกอบ และยังคงแบ่งเป็น 3
ระดับเช่นเดียวกับรูปแบบเดิม
โดยส่วนราชการที่จะถูกจัดอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุงจะต้องมีคะแนนผลการดำเนินงานในภาพรวมต่ำกว่าร้อยละ
60 ซึ่งจะสะท้อนผลการดำเนินงานของส่วนราชการได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3.
รอบระยะเวลาในการประเมิน
การประเมินส่วนราชการตามมติคณะรัฐมนตรีเดิมได้กำหนดให้ส่วนราชการต้องประเมิน
ปีละ 2 รอบ (รอบที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 31
มีนาคม และรอบที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน) แต่ข้อมูลในหลายตัวชี้วัดไม่สามารถออกผลได้ทันภายในการประเมินรอบที่
1 (ภายในวันที่ 31 มีนาคม) ดังนั้น สำนักงาน ก.พ.ร.
จึงได้ปรับปรุงรอบระยะเวลาในการประเมิน
โดยกำหนดให้ส่วนราชการและจังหวัดต้องประเมิน ปีละ 1 รอบ (ตั้งแต่วันที่ 1
ตุลาคม – 30 กันยายน)
12.
เรื่อง การปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์
และสิทธิประโยชน์สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(สกท.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบคุณสมบัติ หลักเกณฑ์
และสิทธิประโยชน์ภายใต้การตรวจลงตราประเภทคน
อยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
(Smart
Visa)
2.
มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.)
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) กระทรวง
แรงงาน (รง.)
และ สกท. แก้ไขประกาศ คำสั่ง และคำชี้แจงที่เกี่ยวกับ Smart Visa เพื่อกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิขอ Smart
Visa ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
(ตามข้อ 1.)
3.
มอบหมายให้ สกท.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่รับรองและดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
Smart Visa เพิ่มเติม
ดังนี้
3.1
สถาบันอนุญาโตตุลาการในประเทศ เช่น
สถาบันอนุญาโตตุลาการ
(Thailand Arbitration Center : THAC) มีหน้าที่รับรองการปฏิบัติภารกิจในการบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกในราชอาณาจักรของผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง
3.2
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.)
และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) มีหน้าที่รับรองบริษัทเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Company)
ซึ่งได้รับการร่วมลงทุนจากภาครัฐหรือมีการลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
3.3
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.)
มี
หน้าที่รับรองแผนการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้น
ซึ่งใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
3.4
หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สกท.
และสนช. มีหน้าที่รับรองกิจกรรมหรือ
โครงการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในลักษณะ
Startup
Camp* [Startup Camp คือ กิจกรรม หลักสูตร
หรือโครงการที่เป็นลักษะส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)]
4.
มอบหมายให้ ตม.
อำนวยความสะดวกให้ผู้ถือ Smart
Visa สามารถใช้ช่องทางพิเศษ
(Fast Track)
ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีบริการช่องทางพิเศษ
5.
มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กรมการขนส่งทางบก กรมศุลกากร กรมสรรพากร
สำนักงานประกันสังคม
พิจารณายกเว้นการแสดงใบอนุญาตทำงานประกอบการทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น
การทำใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
การขอยกเว้นภาษีอากรในการนำเข้าของใช้ส่วนตัวและของใช้ในบ้านเรือน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน
การขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี สำหรับคนต่างชาติซึ่งได้รับ Smart Visa ดังนี้
5.1
ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง คู่สมรส
และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
5.2
นักลงทุน และคู่สมรส
5.3
ผู้บริหารระดับสูง และคู่สมรส
5.4
ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
และคู่สมรส
โดยให้เพิ่มเติมอุตสาหกรรมเป้าหมาย
จำนวน 3 สาขา คือ (1) การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (2)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (3)
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน และให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ซึ่งกำหนดให้คนต่างชาติ
(ผู้ได้รับสิทธิหลัก) ต้องไม่ทำงานต้องห้ามตามการกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งนี้
ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
สาระสำคัญของเรื่อง
1.
Smart Visa คือ
วีซ่าประเภทพิเศษที่กำหนดให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย
(10 S – curve)
เพื่อดึงดูดบุคลากรทักษะสูงและนักลงทุนที่จะมีส่วนช่วยเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ
ตอบสนองการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและนโยยายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่บุคลากรชาวไทยทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนต่อไป
โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้เปิดให้บริการ Smart Visa ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา
ทั้งนี้
ผู้ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น
ได้รับการยกเว้นการขอใบอนุญาตทำงาน รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน)
สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry
permit)
คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะได้รับสิทธิในการพำนัก/การทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก
2. ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์
2561 – 30 กันยายน 2561 มีผลการดำเนินการเกี่ยวกับ Smart Visa สรุปได้ดังนี้
2.1
มีผู้ติดต่อขอข้อมูล Smart Visa ด้วยช่องทางต่าง ๆ รวม
1,078 ครั้ง เช่น ทางโทรศัพท์ จำนวน 461 ครั้ง ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน
400 ครั้ง
2.2
มีผู้ยื่นขอรับรองคุณสมบัติ Smart Visa รวม 37 ราย
เช่น สาขาดิจิทัล จำนวน 14 ราย สาขาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จำนวน 8 ราย
2.3
มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิได้รับ Smart Visa แล้ว รวม 28 ราย เช่น สาขาดิจิทัล จำนวน 11 ราย
สาขาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ จำนวน 8 ราย
3.
เพื่อเป็นการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการที่เกี่ยวกับ Smart Visa
ให้สามารถตอบสนองนโยบายและเป้าประสงค์ของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชน และได้นำมาประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขปรับปรุงคุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ ภายใต้การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart
Visa) โดยมีรายละเอียด
สรุปได้ดังนี้
3.1
เพิ่มเติมอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3 สาขา นอกเหนือจาก
10 อุตสาหกรรม S – Curve ได้แก่ (1)
การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (2)
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (3)
การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
3.2
เพิ่มสิทธิและประโยชน์ สำหรับผู้ถือ Smart Visa ให้สามารถใช้ช่องทางพิเศษ (Fast
Track)
ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ
ท่าอากาศยานระหว่างประเทศทุกแห่งที่มีบริการช่องทางพิเศษได้
3.3
ปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำหรับ Smart Visa เช่น
(1) คุณสมบัติของ SMART
“T” สำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง (Talent) จากเดิมที่กำหนดเงินเดือน
(ไม่รวมค่าตอบแทนอื่น) ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท/เดือน เป็น เงินได้ [ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40 (1) และ (2)]
เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/เดือน ในกรณีทั่วไป
เพื่อสะท้อนอัตราเงินได้จริงของพนักงานระดับผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย และให้สามารถ
แข่งขันในการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงจากต่างประเทศได้
และ (2) ยกเลิกหลักเกณฑ์ซึ่งกำหนดให้คนต่างชาติ
(ผู้ได้รับสิทธิหลัก)
ต้องไม่ทำงานต้องห้าม
ตามการกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ
พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ได้รับการตรวจลงตามประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ
(Smart
Visa)
จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
พ.ศ. 2560
ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้คนต่างชาติข้างต้นสามารถทำงานทุกประเภทในราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องมีการอนุญาตทำงานตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว (คู่สมรสยังคงได้รับสิทธิทำงานได้ ทั้งนี้
ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้ามตามกฎหมายสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง ให้รวมถึงบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย
แต่จะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป)
ทั้งนี้ การปรับปรุงคุณสมบัติ
หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำหรับ Smart Visa มีรายละเอียด ดังนี้
1. SMART “T” สำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง
(Talent)
หลักเกณฑ์เดิม
|
หลักเกณฑ์ที่เสนอ
|
เหตุผลที่ทบทวน
|
1.
เงินเดือน/รายได้ขั้นต่ำ
|
||
เงินเดือน
(ไม่รวมค่าตอบแทนอื่น) ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท/เดือน
|
เงินได้
[ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) และ (2)] เฉลี่ย ไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/เดือน ในกรณีทั่วไป
|
เพื่อสะท้อนอัตราเงินได้จริงของพนักงานระดับผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย
และให้สามารถแข่งขันในการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงจากต่างประเทศได้ เนื่องจากประเทศคู่แข่ง
เช่น สิงคโปร์
มีการกำหนดอัตราเงินได้หลายระดับสำหรับวีซ่าและใบอนุญาตทำงานแบบต่าง ๆ
ซึ่งส่วนใหญ่ ต่ำกว่า 200,000 บาท/เดือน
|
เงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า
50,000 บาท/เดือน
ในกรณีผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานในวิสาหกิจเริ่มต้นและผู้เชี่ยวชาญเกษียณอายุ
|
เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมในการผลิตหรือให้บริการ
สามารถใช้ประโยชน์จาก Smart
Visa ได้
|
|
ไม่กำหนดเงินได้ขั้นต่ำ
ในกรณีของผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ
สถาบันอุดมศึกษา สถาบันฝึกอบรมเฉพาะทาง และบุคลากรด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก
|
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานภาครัฐ
สถาบันอุดมศึกษา สถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทาง
และสถาบันอนุญาโตตุลาการในประเทศที่มีการใช้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติในประเทศไทย
|
|
2.
ระยะเวลาขั้นต่ำของสัญญาจ้าง
|
||
สัญญาจ้างต้องมีระยะเวลาอย่างน้อย
1 ปี
|
ไม่กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำของสัญญาจ้าง
ในกรณีผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ
และบุคลากรด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก
|
ลักษณะการจ้างงานของผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้อาจมีระยะสั้นกว่า
1 ปี และการดำเนินภารกิจของบุคลากรด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกไม่สามารถกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดที่แน่นอนได้ล่วงหน้า
|
3.
การรับรองความเชี่ยวชาญและการทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
|
||
หน่วยงานในเครือข่ายศูนย์บุคลากรทักษะสูง
(Strategic
Talent Center: STC) เป็นผู้รับรอง
|
ในกรณีของผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ของหน่วยงานของรัฐ
กำหนดให้หน่วยงานของรัฐนั้น ๆ
เป็นผู้รับรองความเชี่ยวชาญและการทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ในกรณีบุคลากรด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก กำหนดให้สถาบันอนุญาโตตุลาการในประเทศ
เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) เป็นผู้รับรองว่าเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและเข้ามาเพื่อให้บริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกในประเทศไทย
|
เพื่อเป็นการลดภาระในการรับรองความเชี่ยวชาญของหน่วยงานเครือข่าย
เนื่องจากหน่วยงานของรัฐที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญมีข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณสมบัติความเชี่ยวชาญและเหตุผลความจำเป็นในการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญครบถ้วนอยู่แล้ว
สถาบันอนุญาโตตุลาการเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและรับผิดชอบภารกิจด้านการระงับข้อพิพาททางเลือกโดยตรง
จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นหน่วยงานรับรอง
|
2.
SMART
“I” สำหรับนักลงทุน (Investor)
หลักเกณฑ์เดิม
|
หลักเกณฑ์ที่เสนอ
|
เหตุผลที่ทบทวน
|
||
การลงทุนขั้นต่ำ
|
||||
จะต้องลงทุนโดยตรงในนามบุคคลไม่น้อยกว่า
20 ล้านบาท ในบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการผลิตหรือให้บริการ
|
จะต้องลงทุนขั้นต่ำในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้
1. ไม่น้อยกว่า
20
ล้านบาทในนามบุคคลในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ
หรือในกิจการเงินร่วมลงทุนที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ
2. โดยตรงในนามบุคคลไม่น้อยกว่า
5 ล้านบาทในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือโครงการบ่มเพาะ (Incubation)
หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ซึ่งได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
-
เพื่อให้ครอบคลุมรูปแบบการลงทุนมากขึ้น
-
เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศ
และเสริมสร้างความเข้มแข็งของกิจการเงินร่วมลงทุนในประเทศ
-
ส่งผลให้เกิดการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศ (Startup
ecosystem)
|
||
3.
SMART
“E” สำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive)
หลักเกณฑ์เดิม
|
หลักเกณฑ์ที่เสนอ
|
เหตุผลที่ทบทวน
|
||
เงินเดือน/รายได้ขั้นต่ำ
|
||||
เงินเดือน
(ไม่รวมค่าตอบแทนอื่น) ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท/เดือน
|
เงินได้
[ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) และ (2)]
เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200,000 บาท/เดือน
|
เพื่อให้ครอบคลุมผู้บริหารระดับสูงของบริษัทขนาดกลางถึงขนาดย่อม
ซึ่งอาจได้รับเงินเดือนไม่สูงมากนัก
แต่ได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
|
||
4.
SMART
“S” สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)
หลักเกณฑ์เดิม
|
หลักเกณฑ์ที่เสนอ
|
เหตุผลที่ทบทวน
|
||
ระยะเวลาของวีซ่า
|
||||
ได้รับวีซ่าอายุ
1 ปี สำหรับการอนุมัติครั้งแรก และสามารถขยายได้คราวละ 2 ปี
หากได้จัดตั้งกิจการในประเทศไทยภายใน 1 ปี
|
กำหนดอายุของวีซ่าเป็น
3 ระยะได้แก่ 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี โดยมีหลักเกณฑ์ต่างกัน
|
เพื่อให้สามารถสนับสนุนทุกระยะของการพัฒนาของวิสาหกิจเริ่มต้น
รวมทั้งส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมของผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นอย่างครบวงจร
เช่น กิจกรรมในลักษณะ Startup
Camp
|
||
ในกรณีที่คนต่างชาติได้จัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นที่เข้าหลักเกณฑ์แล้ว
โดยไม่ได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต
(Accelerator) หรือโครงการอื่นในลักษณะเดียวกัน ก็ให้ได้รับ Smart Visa ระยะเวลา 2 ปีได้นับตั้งแต่คราวแรก
|
เพื่อลดภาระในการยื่นขยายระยะเวลาวีซ่าของ ผู้ถือ Smart “S” ซึ่งได้จัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทย
และมีคุณสมบัติเป็นไปตามเกณฑ์แล้ว
|
|||
หลักฐานทางการเงิน
|
||||
ในกรณีที่ต้องแสดงหลักฐานทางการเงิน
กำหนดให้ต้องมีเงินฝากในบัญชีเงินฝากประจำที่มีระยะเวลาเหลือไม่น้อยกว่า 1 ปี
|
ให้แสดงหลักฐานการถือครองจำนวนเงินฝากขั้นต่ำที่กำหนดมาแล้วไม่ต่ำกว่า
3 เดือน
|
เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการพิจารณาหลักฐานทางการเงินของผู้ขอ
ซึ่งอาจนิยมฝากเงินในหลากหลายรูปแบบแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
|
||
13. เรื่อง
การขยายปริมาณการจัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรปสำหรับให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว
GAP ครบวงจร
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการขยายปริมาณการจัดสรรโควตาส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป
(EU) ให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์
ภายใต้โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และ ข้าวที่มีการปฏิบัติตามระบบการเกษตรที่ดี
(GAP) ครบวงจร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1.
ผลการดำเนินงานโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว
GAP ครบวงจร
กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และ กษ.
ได้ร่วมกันดำเนินงานโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และ ข้าว GAP ครบวงจร ปี 2560/61
โดย พณ. ได้จัดสรรโควตาการส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรปให้กับโครงการจำนวน
2,000
ตัน (ร้อยละ 10 ของปริมาณโควตาทั้งหมด)
สำหรับเป็นแรงจูงใจ (Incentive)
ให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์กับกลุ่มเกษตรกรมีผลการดำเนินงาน
ดังนี้
ผู้ประกอบการค้าข้าว จำนวน 28
ราย ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงซื้อขายข้าว (MOU) และรับ
ซื้อข้าวจากเกษตรกร
ดังนี้
จำนวน
ประเภทข้าว
|
เกษตรกร
(กลุ่ม)
|
ปริมาณข้าวเปลือก
(ตัน)
|
ข้าวอินทรย์
|
60
|
1,716.32
|
ข้าว
GAP
|
14
|
4,975.15
|
รวม
|
74
|
6,691.47
|
ทั้งนี้
มีผู้ประกอบการค้าข้าว จำนวน 9 ราย ได้รับการจัดสรรโควตาการส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป
ปริมาณ 2,000 ตัน โดยส่งออกข้าวปริมาณ 1,962.36 ตัน (ร้อยละ 98) คงเหลือ 37.64 ตัน
ซึ่งปริมาณคงเหลือจะนำไปรวมเป็นโควตากองกลางสำหรับการจัดสรรต่อไป
2.
การพิจารณาการขยายปริมาณการจัดสรรโควตา
กษ.
ได้แบ่งชนิดของข้าวในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ออกเป็น 3 ชนิด ซึ่งจะมี
ปริมาณมากขึ้นเป็นลำดับ
ดังนี้
หน่วย : ตันข้าวเปลือก
ชนิดข้าว
|
ปี 60
|
ปี 61
|
ปี 62
|
ปี 63
|
ปี 64
|
รวม
|
1.
ข้าวที่ผ่านการเตรียมความพร้อม (T1)
|
56,000
|
85,000
|
80,000
|
-
|
-
|
221,000
|
2. ข้าวที่ผ่านระยะปรับเปลี่ยนแล้ว (T2)
|
4,000
|
65,000
|
95,000
|
90,000
|
-
|
254,000
|
3. ข้าวที่ได้การรับรองมาตรฐานอินทรีย์ (T3)
|
-
|
4,000
|
73,000
|
175,000
|
270,000
|
522,000
|
รวม
|
60,000
|
154,000
|
248,000
|
265,000
|
270,000
|
997,000
|
จากตารางจะเห็นว่าข้าวเปลือกตั้งแต่ปี
2561 – 2564 จะมีปริมาณรวมสูงถึง 997,000
ตันข้าวเปลือก ดังนั้น
เพื่อให้ปริมาณข้าวอินทรีย์มีตลาดรองรับปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น กษ.
จึงได้ขอขยายปริมาณการจัดสรรโควตาการส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรป
ให้แก่ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์
ภายใต้โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
จากเดิมร้อยละ 10 (2,000 ตัน) ของปริมาณโควตาทั้งหมด เป็นร้อยละ 25 (5,000 ตัน)
ของปริมาณโควตาทั้งหมด ภายในปี 2564
เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร ทั้งนี้ ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการฯ
ที่อยู่ในโควตาร้อยละ 10 แรก
สามารถส่งออกข้าวชนิดใดก็ได้ตามเงื่อนไขของสหภาพยุโรป
ส่วนผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการฯ ที่อยู่ในโควตาที่เกินร้อยละ 10
จะต้องใช้โควตาเพื่อการส่งออกข้าวอินทรีย์ที่ได้การรับรองมาตรฐาน Organic
Thailand หรือได้มาตรฐานข้าวอินทรีย์ของประเทศปลายทางเท่านั้น
ทั้งนี้
คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.)
ได้มีมติรับทราบผลการดำเนินงานโครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และเป้าหมายโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ปี 2560/61
และเห็นชอบการขยายปริมาณการจัดสรรโควตาดังกล่าว รวมทั้งมอบหมายให้ พณ. ร่วมกับ กษ.
พิจารณาสัดส่วนโควตาที่เหมาะสมตามการประเมินผลผลิตข้าวในโครงการของ กษ.
และสถิติการส่งออกข้าวที่ พณ. ประมวลได้เป็นรายปีต่อไป
ต่างประเทศ
|
14.
เรื่อง
การจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปเพื่อแก้ไขความตกลงให้การสนับสนุนทางการเงินภายใต้โครงการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการพื้นที่คุ้มครองในอาเซียน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรปเพื่อแก้ไขความตกลงให้การสนับสนุนทางการเงินภายใต้โครงการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการพื้นที่คุ้มครองในอาเซียน
ทั้งนี้
ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงถ้อยคำหรือสาระสำคัญของร่างเอกสารฯ
ที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติหรือเห็นชอบไปแล้ว
หากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบ
ให้สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามนัยมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558
2.
อนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือตอบรับของฝ่ายอาเซียน
และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
แจ้งความเห็นชอบของประเทศไทยต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15
พฤศจิกายน 2559)
เห็นชอบร่างความตกลงให้ความสนับสนุนด้านการเงินของโครงการความร่วมมืออาเซียน -
สหภาพยุโรป
ภายใต้โครงการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการพื้นที่ความคุ้มครองในอาเซียนและอนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในความตกลงดังกล่าว
ในครั้งนี้เลขาธิการอาเซียนและเอกอัครราชทูตคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำอาเซียน ณ
กรุงจาการ์ตา ได้จัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป
เพื่อแก้ไขความตกลงให้การสนับสนุนทางการเงินภายใต้โครงการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพฯ
ใน 2 ประเด็น ดังนี้
1.
ขอเพิ่มระยะเวลาในการดำเนินงานภายใต้ความตกลงฯ สาระสำคัญที่ปรับ เพิ่มจาก
60 เดือน เป็น 66 เดือน
เพื่อให้สอดคล้องกับสัญญาการให้ที่สหภาพยุโรปได้ทำไว้กับศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
2.
ขอเพิ่มเชิงอรรถ 2 ข้อ สาระสำคัญที่ปรับ เพิ่มในภาคผนวก 1 ข้อบทที่ 2.2
ข้อกำหนดด้านเทคนิคและการบริหารจัดการของความตกลงฯ
เพื่อสร้างความชัดเจนให้กับการอ้างอิงกฎหมาย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ดังกล่าว
รวมทั้งขออนุมัติให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือตอบรับของฝ่ายอาเซียน
15. เรื่อง
ท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และร่างปฏิญญาชาร์ม เอล เชค (Sharm
El-Sheikh Declaration)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(ทส.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
2.
เห็นชอบในการรับรองร่างปฏิญญาชาร์ม เอล เชค (Sharm El-Sheikh Declaration) โดยไม่มีการลงนาม
3.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองปฏิญญาชาร์ม เอล เชค
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นจะต้องปรับปรุงถ้อยคำหรือสาระสำคัญของท่าที/ร่างปฏิญญาดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติหรือเห็นชอบไปแล้ว
หากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้
ให้สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
สาระสำคัญของการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
สมัยที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้องมีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 29
พฤศจิกายน 2561 ณ เมืองชาร์ม เอล เชค สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ ทส.
จึงได้เสนอขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมดังกล่าว
และเห็นชอบร่างปฏิญญาชาร์ม เอล เชค (Sharm El-Sheikh Declaration)
โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองปฏิญญาฯ
(ไม่มีการลงนาม) ทั้งนี้ คณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน)
ได้มีมติเห็นชอบร่างท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมดังกล่าว
และเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาชาร์ม เอล เชค ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงเจตจำนงร่วมกันระหว่างผู้แทนรัฐภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในการดำเนินการอนุรักษ์
ใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน
และแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม
ตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิตและเป็นฐานการผลิตในภาคส่วนต่าง
ๆ ซึ่งมีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 1) การบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพ 2)
แผนกลยุทธ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
ค.ศ. 2011 –
2020 และ 3) การดำเนินการเพื่อก้าวสู่ปี
ค.ศ. 2020
16.
เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างราชอาณาจักรไทย – รัฐอิสราเอล
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบต่อร่างพิธีสารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วย
การแก้ไขความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วยบริการเดินอากาศในจุดระหว่างและพ้นไปจากอาณาเขตของตน ลงนามย่อเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2559
ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างพิธีสารฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับ
หลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
2.
เห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทย
– รัฐอิสราเอล
3.
อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่าง
พิธีสารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วยการแก้ไขความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วยบริการเดินอากาศในจุดระหว่างและพ้นไปจากอาณาเขตของตน
และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย
4.
มอบให้ กต. ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความ
เข้าใจและร่างพิธีสารแก้ไขความตกลงดังกล่าวต่อไป
โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ
สาระสำคัญของเรื่อง
บันทึกความเข้าใจฯ
และร่างพิธีสารฯ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงข้อตกลงเดิมให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับคำแนะนำขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะในประเด็นการรักษาความปลอดภัยด้านการบิน
รวมทั้งปรับปรุงจำนวนความจุความถี่ในการรับขนทางอากาศระหว่างกัน
จากเดิมที่ไม่จำกัดจำนวนความจุความถี่ เป็นให้ทำการบินได้ไม่เกิน 28
เที่ยว/สัปดาห์ และปรับปรุงสิทธิการรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5 ดังนี้
เปรียบเทียบสิทธิการรับขนการจราจรเสรีภาพที่
5
|
|
เดิม
|
ใหม่
|
ไทยมีสิทธิทำการบินช่วงเส้นทางระหว่างรัฐอิสราเอลและหนึ่งจุดพ้นที่ฝ่ายไทยจะเลือกในภายหลังได้
3 เที่ยว/สัปดาห์
|
ไทยมีสิทธิทำการบินช่วงเส้นทางระหว่างรัฐอิสราเอลและ จุดพ้นใด ๆ ได้ 3 เที่ยว/สัปดห์
(กรณีผู้โดยสาร) และ 28 เที่ยว/สัปดห์
(กรณีสินค้า)
|
รัฐอิสราเอลมีสิทธิทำการบินช่วงเส้นทางระหว่าง ไทยและสิงค์โปร์ได้ 3
เที่ยว/สัปดาห์
|
รัฐอิสราเอลมีสิทธิทำการบินช่วงเส้นทางระหว่างไทยและ
จุดพ้นใด ๆ ได้ 3 เที่ยว/สัปดาห์
(กรณีผู้โดยสาร) และ 28
เที่ยว/สัปดาห์ (กรณีสินค้า)
|
นอกจากนี้
ได้มีการปรับปรุงข้อบทให้สามารถทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code Share) ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สายการบินทั้งสองฝ่ายสามารถขยายบริการและเครือข่ายการบินเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันเส้นทางการบินระหว่าง ไทย – รัฐอิสราเอล
มีเพียงสายการบิน EL AL Israel Airlines ซึ่งเป็นสายการบินแห่งชาติของรัฐอิสราเอลที่ปฏิบัติการบินในเส้นทางดังกล่าว
ดังนั้น การปรับปรุงข้อตกลงให้สายการบินของรัฐอิสราเอลสามารถรับขนการจราจรเสรีภาพที่
5 จากไทยไปยังจุดพ้นใด ๆ จะส่งผลให้สายการบิน
EL AL Israel Airlines
สามารถรับขนผู้โดยสาร หรือทำการ Code Share กับสายการบินชาติอื่นเพื่อรับขนผู้โดยสารจากประเทศไทยต่อไปยังประเทศที่สามได้
ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบในทางอ้อมต่อรายได้ของสายการบินสัญชาติไทยที่ทำการบินในเส้นทางเดียวกัน
17. เรื่อง
ขอความเห็นชอบต่อการเสนอให้ไทยเป็นที่ตั้งศูนย์บริการด้านธุรการระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ
(Global Shared Service Center)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) เสนอ ดังนี้
1.
อนุมัติการเสนอให้ไทยเป็นที่ตั้งศูนย์ Global Shared Service Center (GSSC) โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ
หากได้รับเลือก
2. อนุมัติให้ กต.
ดำเนินการส่งแบบแสดงเจตจำนงของไทยในการรับเป็นศูนย์ GSSC แก่สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ โดยระบุรายละเอียดที่ไทยจะสนับสนุน ได้แก่
การจัดทำความตกลงประเทศเจ้าบ้าน การอนุญาตให้เจ้าหน้าที่จากประเทศที่สามทำงานได้
และการให้เงินอุดหนุนแก่ศูนย์ GSSC จำนวน 25,200,000 บาท
ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี ระหว่างปี 2563 – 2565
โดยให้ กต.
จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่าย และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม
โดยสอดคล้องกับระยะเวลาและวงเงินตามสัญญาต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
3.
อนุมัติให้เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก หรือ ผู้แทน เป็นผู้ลงนามท้ายแบบแสดงเจตจำนงที่จะส่งให้สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
ภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561
สาระสำคัญของรายละเอียดในแบบแสดงเจตจำนง
1. เอกสิทธิ์ และความคุ้มกัน
ได้แก่ (1) ความสมัครใจในการจัดทำความตกลงประเทศเจ้าบ้านกับสหประชาชาติ (2)
อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ศูนย์ GSSC จากประเทศที่สามทำงานได้เหมือนกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
และ (3)
อนุญาตให้คู่สมรสของเจ้าหน้าที่ต่างชาติทำงานได้
2. พื้นที่สำนักงาน
(สำหรับบุคลากร 100-300 คน) อุปกรณ์สำนักงานระบบรักษาความปลอดภัย
ค่าบริการสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.
กำหนดให้ลงนามในส่วนท้ายของแบบแสดงเจตจำนง
ทั้งนี้
แบบแสดงเจตจำนงดังกล่าวเป็นเอกสารสอบถามความสมัครใจ และแนวทางการสนับสนุนจากรัฐสมาชิก
โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178
ของรัฐธรรมนูญฯ
18.
เรื่อง
ขอความเห็นชอบและลงนามร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งอินโดนีเซีย
มาเลเซีย และไทย ว่าด้วยการขยายเส้นทางบิน
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม
(คค.) เสนอ ดังนี้
1.
เห็นชอบร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งอินโดนีเซีย มาเลเซีย
และไทย ว่าด้วยการขยายเส้นทางบิน
และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัด
ต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย
ให้ คค. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
2.
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างพิธีสารดังกล่าว
และเมื่อลงนามแล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารดังกล่าว
ก่อนแสดงเจตนาการมีผลผูกพันของเอกสารต่อไป
3. ให้กระทรวงการต่างประเทศ
(กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
สำหรับการลงนามในร่างพิธีสารดังกล่าว
4. ให้ กต.
ดำเนินการแจ้งยืนยันการมีผลใช้บังคับของร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งอินโดนีเซีย
มาเลเซีย และไทย ว่าด้วยการขยายเส้นทางบิน
(มีกำหนดการลงนามร่างพิธีสารฯ
ในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 8 – 9 พฤศจิกายน 2561
ณ กรุงเทพมหานคร)
สาระสำคัญของเรื่อง
ร่างพิธีสารแก้ไขบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งอินโดนีเซีย
มาเลเซีย และไทย ว่าด้วยการขยายเส้นทางบิน มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายความเชื่อมโยงทางอากาศภายในภูมิภาค
IMT-GT
เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของการให้บริการเดินอากาศระหว่าง 3 ประเทศ
โดยให้มีการขยายเส้นทางบิน
การให้สิทธิและการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับเส้นทางภายในประเทศ
และการอนุญาตการแต่งตั้งสายการบินที่กำหนดหลายสายการบิน
แต่งตั้ง
|
19. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงมหาดไทย)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง
นายมนตรี ศักดิ์เมือง ผู้อำนวยการสำนักผังประเทศและผังภาค กรมโยธาธิการและผังเมือง
ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการผังเมือง (นักผังเมืองทรงคุณวุฒิ)
กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2561
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
20. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง
นายชยันต์ เมืองสง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านควบคุมการก่อสร้าง)
(วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ) กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา
(ด้านควบคุมการก่อสร้าง) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2561
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
21. เรื่อง
การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง
นางอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ)
สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ)
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2561
ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
22.
เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงสาธารณสุข)
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย ดังนี้
1. นายอิทธิพล สูงแข็ง
สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
2.
นายธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ดำรงตำแหน่ง
ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
3. นายปานเนตร ปางพุฒิพงศ์
รองอธิบดีกรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
4. นายพิทักษ์พล บุณยมาลิก
ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
5. นายภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
เพื่อทดแทนตำแหน่ง ที่ว่าง
23.
เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติมเกี่ยวกับคณะกรรมการต่าง ๆ
ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการต่าง
ๆ ที่แต่งตั้งโดย 1.
เห็นชอบปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน
6 คณะ ดังนี้
ชื่อคณะกรรมการ
|
องค์ประกอบ
|
||
เดิม
|
ขอปรับปรุงใหม่
|
ขอแต่งตั้งเพิ่มเติม
|
|
1.
คณะกรรมการความร่วมมือไทย – สหภาพยุโรป
|
ผู้อำนวยการกองยุโรป
1 กต. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ผู้อำนวยการกองสหภาพยุโรป
กต. เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
-
|
2.
คณะกรรมการว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ
|
ผู้อำนวยการกองวัฒนธรรมสัมพันธ์
กรมสารนิเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ผู้อำนวยการกองการทูตวัฒนธรรม
กรมสารนิเทศ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
-
|
3.
คณะกรรมการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจไทย – เยอรมนี -
|
ผู้อำนวยการกองยุโรป
3 กรมยุโรป เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ผู้อำนวยการกองยุโรปกลาง
กรมยุโรป เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
หรือผู้แทนเป็นกรรมการ
|
4.
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย - รัสเซีย
|
ผู้อำนวยการกองยุโรป
3 กรมยุโรป เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
|
ผู้อำนวยการกองยุโรปตะวันออก
กรมยุโรป เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
|
-
|
5.
คณะกรรมการร่วมฝ่ายไทยว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย - ตุรกี
|
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
เป็นกรรมการ
|
อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
เป็นกรรมการ
|
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เป็นกรรมการ
|
ผู้อำนวยการกองยุโรป
2 เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
ผู้อำนวยการกองยุโรปตะวันออก
เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
|
||
6.
คณะกรรมาธิการฝ่ายไทยสำหรับคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีระหว่างไทยกับยูเครน
|
ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
กต. หรือผู้แทน เป็นกรรมาธิการ
|
อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ
กต. หรือผู้แทน เป็นกรรมาธิการ
|
-
|
ผู้อำนวยการกองยุโรป
3 กรมยุโรป เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
|
ผู้อำนวยการกองยุโรปตะวันออก
กรมยุโรป เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
|
-
|
2.
อนุมัติองค์ประกอบของคณะกรรมการฝ่ายไทยในคณะกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย –
อเมริกัน (ฟุลไบรท์) ประจำปี 2561 รวม 7 คน ดังนี้
1)
นายมนัสพาสน์ ชูโต อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ประธานกรรมการ
2)
อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ หรือผู้แทน กรรมการ
3)
อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ หรือผู้แทน กรรมการ
4)
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ
5)
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กรรมการ
6) ผู้แทนบริษัท ปตท. จำกัด
(มหาชน) กรรมการ
7) นายกสมาคมฟุลไบรท์ไทย กรรมการ
ทั้งนี้
ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 เป็นต้นไป
…………………..
ที่มา; เว็บรัฐบาลไทย
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น