อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
ข่าวที่ 435/2561 ศธ.ประกาศรูปแบบการจัดการศึกษากลุ่มโรงเรียนบนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร “อ่างขางโมเดล”
นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีประกาศรูปแบบการจัดการศึกษากลุ่มโรงเรียนบนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร “อ่างขางโมเดล” (Angkhang Model) เมื่อวันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2561 ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ, นายการุณ สกุลประดิษฐ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา, ศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ตลอดจนผู้บริหารองค์การส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 และกลุ่มโรงเรียนอ่างขางโมเดล เข้าร่วมกว่า 300 คน
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า ต้องขอแสดงความชื่นชมการทำงานของครูและผู้บริหารโรงเรียนทั้ง 5 แห่ง ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ทำให้เกิดการพัฒนาโรงเรียนบนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร นำมาสู่การประกาศรูปแบบการจัดการศึกษากลุ่มโรงเรียนบนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร “อ่างขางโมเดล” (Angkhang Model) ในวันนี้ ซึ่งการขับเคลื่อนการทำงานในระดับพื้นที่โดยคนในพื้นที่เอง ถือว่าสอดคล้องกับแนวคิดในการทำงานของตน โดยเฉพาะการดึงครูเรียม สิงห์ทร คุณครูโรงเรียนบ้านขอบด้ง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เข้ามาเป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) ก็เพื่อให้ครูที่ทำงานอยู่ในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา ที่จะสามารถสะท้อนมุมมองและสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานในพื้นที่จริง ๆ และการเพิ่มพลังสนับสนุนจากส่วนกลางเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เข้าถึงการศึกษาได้ตรงกับบริบทและความต้องการเชิงพื้นที่ด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการในยุคนี้ ไม่ต้องการที่จะรบกวนครูด้วยนโยบายต่าง ๆ ดังเช่นที่ผ่านมา โดยจะสังเกตได้จากการดำเนินโครงการและกิจกรรมในระยะหลัง ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการของพื้นที่เป็นสำคัญ (Bottom up) เพราะส่วนกลางหรือผู้บริหารคงไม่รู้ถึงความต้องการพัฒนาพื้นที่หรือปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ได้มากเท่าครูหรือผู้บริหารในพื้นที่เอง ในขณะที่ส่วนกลางก็พยายามที่จะปรับบทบาทเป็นผู้กำกับ ดูแล พร้อมช่วยเติมเต็มและแก้ไขในส่วนที่ยังด้อยหรือขาดแคลน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ขอฝากให้ทุกคนช่วยกันดำเนินงานอย่างเต็มที่ เพื่อลูกหลานของเราที่ยังด้อยโอกาสอีกมาก และเมื่อเจอปัญหาอุปสรรคขอให้นำแนวทางแก้ไขปัญหาเป็นตัวตั้ง จากนั้นจึงนำกฎระเบียบต่าง ๆ มาช่วยพิจารณาการทำงานในพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดารให้สำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ อย่างไรก็ตาม มีคำถามที่จะเป็นแง่คิดเกี่ยวกับการทำงานที่ผ่านมา ตอบโจทย์ “ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” ใน 3 คำถาม คือ
- ครูต้องการเป็นนักเรียนในห้องเรียนที่สอนหรือไม่
- คิดว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องการส่งลูกมาเรียนในห้องเรียนที่ครูสอนหรือไม่
- ครูอื่น ๆ ให้คะแนนการสอนของครูเท่าไหร่
- คิดว่าพ่อแม่ผู้ปกครอง ต้องการส่งลูกมาเรียนในห้องเรียนที่ครูสอนหรือไม่
- ครูอื่น ๆ ให้คะแนนการสอนของครูเท่าไหร่
เช่นเดียวกับผู้บริหารโรงเรียน ที่ต้องพยายามตั้งคำถามกับตัวเองเสมอว่า “ต้องการให้ลูกมาเรียนในโรงเรียนที่บริหารอยู่หรือไม่” ด้วย
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น