อ่านชัด-อ่านครบ กด ดูเวอร์ชั่นสำหรับเว็บ (ด้านล่าง)
เรื่องใหม่น่าสนใจ (ทั้งหมด ที่ )
(เนื้อหา-ข้อสอบ 1,000 ชุุด หมื่นข้อ ภาค กข
+ 40 วิชาเอก) ที่ ห้องสอบด้านขวา หรือ
เว็บฟรีข้อสอบ 1,000 ชุด ที่ ติวสอบดอทคอม คลิ๊ก www.tuewsob.com โดย อ.นิกร
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ข่าวที่ 417/2561
ศธ.ประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่ศรีสะเกษ
7 พฤศจิกายน 2561 - กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ของกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2561 ที่โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อชี้แจงแนวนโยบาย สร้างการรับรู้ ระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2563 เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน 3 มิติ คือ 1) การขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค 2) การส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา-อุดมศึกษา 3) การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานรับฟังการนำเสนอผลการประชุม และมอบนโยบาย
นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า สืบเนื่องจากที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่ง พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่ทั้ง 6 ภาค โดยกำหนดจังหวัดจุดจัดประชุม ได้แก่ ปัตตานี ระยอง กาญจนบุรี เชียงราย สตูล และศรีสะเกษ
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้ในการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค และสร้างการรับรู้ถึงผลการดำเนินการส่งเสริมเวทีประชาคมเพื่อจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในปีที่ผ่านมา รวมทั้งสร้างการรับรู้ถึงการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่สำคัญคือ เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนงานทั้งสามในปีงบประมาณ 2562 และ 2563 จากผู้เข้าร่วมประชุม
โดยในครั้งนี้ เป็นการประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่ตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล กล่าวคือ "เป็นพื้นที่ที่เป็นฐานการผลิตพืชผลทางการเกษตร การแปรรูปสินค้า การพัฒนาแหล่งน้ำ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับขับเคลื่อนประเทศให้มีศักยภาพด้านการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน" ซึ่งจำเป็นต้องใช้มิติการศึกษาเพื่อเป็นเป็นฐานรากไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และคณะอนุกรรมการฯ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา สถานศึกษา ตลอดจนผู้แทนจากส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่จำนวน 400 ท่าน
โอกาสนี้ นายอำนาจ วิชยานุวัติ ได้นำเสนอสรุปสาระสำคัญภาพรวมการประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในการประชุมวันแรก ดังนี้
-
ช่วงเช้า ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาภาคทั้ง 6 ภาคของรัฐบาล ซึ่งดำเนินการโดยกลไกคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ทั้ง 5 คณะ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานแต่ละคณะ โดยในส่วนของ อ.ก.บ.ภ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) เป็นประธาน ในการนี้ ได้สร้างการรับรู้และชี้แจงให้ที่ประชุมทราบประเด็นและการดำเนินงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาภาคที่มีกรอบแนวคิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับศักยภาพและประเด็นความท้าทายของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะนำไปสู่แผนงานโครงการสำคัญที่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคของแต่ละกระทรวง/หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หรือสภาพัฒน์ฯ) อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทย่อยด้านต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เน้นย้ำให้ที่ประชุมเล็งเห็นถึงความสำคัญของการติดตามความก้าวหน้าของเรื่องดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การพิจารณาดำเนินงานแผนงานโครงการของหน่วยงานทุกระดับให้สอดคล้องกับแผนแม่บทด้านต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้อง
- หลักเกณฑ์การวิเคราะห์แผนงานโครงการ ที่จะบรรจุในแผนปฏิบัติการภาค ที่ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ประเด็นการพัฒนา พื้นที่เป้าหมาย และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตามทิศทางการพัฒนาภาคอย่างชัดเจน มุ่งเน้นผลประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้าง และเกิดผลกระทบบรรลุเป้าหมายในระดับภาค
- ปฏิทินงบประมาณฯ 2563 และกรอบเวลา (Timeline) การจัดทำแผนปฏิบัติการภาค ซึ่งจากการประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ภายใต้ ก.บ.ภ. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และสภาพัฒน์เป็นฝ่ายเลขา ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ได้มีการกำหนดขั้นตอน กรอบเวลาการเสนอแผนงาน โครงการเพื่อบรรจุภายใต้แผนปฏิบัติการภาค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของรัฐบาล ที่จะสามารถขับเคลื่อน เพื่อตอบทิศทางการพัฒนาภาค ซึ่งการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณภายใต้แผนฯ ภาคนั้น ทุกกระทรวง/หน่วยงานต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามกรอบเวลาและปฏิทินดังกล่าว เป็นสำคัญ
- ที่มาและการดำเนินงานนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของ สพฐ. ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. .... ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญ ได้แก่ 1) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาและการเรียนรู้ 2) ลดความเหลื่อมล้ำทางศึกษา 3) กระจายอำนาจและให้อิสระในการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษา 4) สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ร่วมกัน โดยขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติได้ผ่านการอนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 ภูมิภาค ได้แก่ สตูล เชียงใหม่ ระยอง กาญจนบุรี ศรีสะเกษ และปัตตานี
-
ช่วงบ่าย เป็นการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อหารือ ระดมความคิดเห็น สร้างการรับรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และขอรับมติ/ข้อเสนอที่ประชุมใน 3 เรื่องหลัก (อ่านสรุปช่วงท้าย)
พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลัง รับฟังการนำเสนอผลการประชุมว่า ถือเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันที่ทุกท่านและทุกหน่วยงานในพื้นที่ได้ทำความดีให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในพื้นที่ ซึ่งถือว่ามีคุณค่าอย่างมาก ในระหว่างรับฟังการนำเสนอก็ได้จดประเด็นต่าง ๆ และหารือเกี่ยวกับข้อมูลบางส่วนไปด้วย
สำหรับ การจัดทำแผนบูรณาการศึกษาระดับภาค 6 ภาค ซึ่งเริ่มต้นในกรอบเวลาของปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านไปแล้ว แต่ก็ได้นำมาทบทวนต่อเนื่อง หากแผนงานโครงการใดที่ไม่ได้ผลก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ส่วนปีงบประมาณ 2562 ในช่วงปัจจุบันซึ่งมีแผนงานโครงการแล้ว ก็จำเป็นต้องขับเคลื่อนให้เกิด "ผลสัมฤทธิ์/เป็นรูปธรรม/เกิดความยั่งยืน" ส่วนกรอบการทำงานปีงบประมาณ 2563 ก็จะเป็นการวางแผนนำเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณตามแผนบูรณาการด้านการศึกษาต่อไป ซึ่งเท่ากับการประชุมครั้งนี้ได้สรุปการทำงานในช่วง 3 ปีงบประมาณให้เห็นภาพชัดเจนเข้าใจง่าย คือ "ทบทวนอดีต พัฒนาปัจจุบัน และสร้างสรรค์คุณค่าในอนาคต"
พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการวางแผนและการทำงานสู่การปฏิบัติด้วยว่า หากเริ่มต้นการวางแผนที่ดีเท่ากับงานสำเร็จไปแล้วกว่า 35% ที่เหลืออีก 65% อยู่ที่การปฏิบัติที่ดี, หากแผนดี-ปฏิบัติดี ก็ถือว่าการทำงานอยู่ในระดับดีมาก, หากแผนไม่ดี-ปฏิบัติดี ก็ยังคงอยู่ในระดับดี, หากแผนดี-ปฏิบัติไม่ดี อยู่ในระดับพอใช้ แต่ หากแผนไม่ดี-ปฏิบัติไม่ดี เป็นเรื่องที่ต้องฝากให้ไปคิดทบทวนกันเอง
สำหรับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาภาค รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จะต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) เพื่อต้องการพัฒนาให้ภาคอีสานเป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” เช่น บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ แก้ปัญหาความยากจน สร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายใน รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-นครราชสีมา พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจภาคกลางและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ๆ ของภาค ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน-ระเบียงเศรษฐกิจ เป็นต้น
อีกทั้งการบูรณาการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการทำงานเชื่อมโยง กับศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) ซึ่งศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ จ.ร้อยเอ็ด และมีศูนย์ระดับกลุ่มจังหวัดที่อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา และอุบลราชธานี รวมทั้งเชื่อมโยงกับการทำงานของ กศน.ตำบล เพื่อช่วยเหลือประชาชนในเรื่องการมีอาชีพ การมีงานทำ การค้าขายออนไลน์อีกด้วย
พล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า การวางแผนและขับเคลื่อนการทำงานของ กระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงรัชกาลที่ 9) มาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการทำงาน อาทิ พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ ดังนั้น จึงต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น" (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 12 ธันวาคม 2512) และพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ 10) ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมทั้งมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง, การสร้างลักษณะพื้นฐานที่มั่นคง มีคุณธรรม, เรียนแล้วมีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง
"ขอฝากให้ทุกท่านร่วมกันทำงานให้การศึกษาเกิดความเข้มแข็ง "Education Strong" ภายใต้บทบาทหน้าที่ของแต่ละคนแต่ละหน่วยงาน เพื่อนำไปสู่ "ความสำเร็จ ที่เกิดจากความเพียร+ความร่วมมือ+กลไกประชารัฐ" หรืออาจนำหลักคิด "5ร แห่งความสำเร็จ คือ ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" ไปใช้ในการทำงาน พร้อมทั้งยึดหลักคิดการทำงานให้เกิดความรอบด้านคือ "คิดให้ครบ ทบทวนเป็นห้วงๆ ห่วงการรับรู้ สู่การบูรณาการ สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ซึ่งจะส่งผลให้การวางแผนและการทำงานเกิดคุณค่าอย่างมีคุณภาพต่อไป"
ที่มา; เว็บ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าวที่ 417/2561ศธ.ประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ที่ศรีสะเกษ
7 พฤศจิกายน 2561 - กระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ของกระทรวงศึกษาธิการ ระหว่างวันที่ 6-7 พฤศจิกายน 2561 ที่โรงแรมศรีลำดวน อำเภอเมืองฯ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อชี้แจงแนวนโยบาย สร้างการรับรู้ ระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2563เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน 3 มิติ คือ 1) การขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค 2) การส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน-อาชีวศึกษา-อุดมศึกษา 3) การขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โดย พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานรับฟังการนำเสนอผลการประชุม และมอบนโยบาย นายอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ว่า สืบเนื่องจากที่คณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งพล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดโครงการประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาค ของกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่ทั้ง 6 ภาค โดยกำหนดจังหวัดจุดจัดประชุม ได้แก่ ปัตตานี ระยอง กาญจนบุรี เชียงราย สตูล และศรีสะเกษ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้ในการขับเคลื่อนแผนบูรณาการด้านการศึกษาระดับภาค และสร้างการรับรู้ถึงผลการดำเนินการส่งเสริมเวทีประชาคมเพื่อจัดทำรูปแบบและแนวทางพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาในปีที่ผ่านมา รวมทั้งสร้างการรับรู้ถึงการดำเนินงานพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ที่สำคัญคือ เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนงานทั้งสามในปีงบประมาณ 2562 และ 2563 จากผู้เข้าร่วมประชุมโดยในครั้งนี้ เป็นการประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญที่ตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล กล่าวคือ "เป็นพื้นที่ที่เป็นฐานการผลิตพืชผลทางการเกษตร การแปรรูปสินค้า การพัฒนาแหล่งน้ำ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับขับเคลื่อนประเทศให้มีศักยภาพด้านการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน" ซึ่งจำเป็นต้องใช้มิติการศึกษาเพื่อเป็นเป็นฐานรากไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ดังกล่าว โดยผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และคณะอนุกรรมการฯ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา สถานศึกษา ตลอดจนผู้แทนจากส่วนราชการ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่จำนวน 400 ท่านโอกาสนี้ นายอำนาจ วิชยานุวัติ ได้นำเสนอสรุปสาระสำคัญภาพรวมการประชุมขับเคลื่อนการบูรณาการการศึกษาระดับภาค (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ในการประชุมวันแรก ดังนี้
ช่วงเช้า ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบถึงทิศทางการพัฒนาภาคทั้ง 6 ภาคของรัฐบาล ซึ่งดำเนินการโดยกลไกคณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และคณะอนุกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค (อ.ก.บ.ภ.) ทั้ง 5 คณะ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานแต่ละคณะ โดยในส่วนของ อ.ก.บ.ภ. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง) เป็นประธาน ในการนี้ ได้สร้างการรับรู้และชี้แจงให้ที่ประชุมทราบประเด็นและการดำเนินงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- ความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาภาคที่มีกรอบแนวคิดการพัฒนาที่เหมาะสมกับศักยภาพและประเด็นความท้าทายของแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะนำไปสู่แผนงานโครงการสำคัญที่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคของแต่ละกระทรวง/หน่วยงาน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หรือสภาพัฒน์ฯ) อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทย่อยด้านต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ร่วมกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงได้เน้นย้ำให้ที่ประชุมเล็งเห็นถึงความสำคัญของการติดตามความก้าวหน้าของเรื่องดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การพิจารณาดำเนินงานแผนงานโครงการของหน่วยงานทุกระดับให้สอดคล้องกับแผนแม่บทด้านต่าง ๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศที่เกี่ยวข้อง
- หลักเกณฑ์การวิเคราะห์แผนงานโครงการ ที่จะบรรจุในแผนปฏิบัติการภาค ที่ต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ประเด็นการพัฒนา พื้นที่เป้าหมาย และห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตามทิศทางการพัฒนาภาคอย่างชัดเจน มุ่งเน้นผลประโยชน์ต่อประชาชนในวงกว้าง และเกิดผลกระทบบรรลุเป้าหมายในระดับภาค
- ปฏิทินงบประมาณฯ 2563 และกรอบเวลา (Timeline) การจัดทำแผนปฏิบัติการภาค ซึ่งจากการประชุมเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ภายใต้ ก.บ.ภ. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และสภาพัฒน์เป็นฝ่ายเลขา ซึ่งล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ได้มีการกำหนดขั้นตอน กรอบเวลาการเสนอแผนงาน โครงการเพื่อบรรจุภายใต้แผนปฏิบัติการภาค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของรัฐบาล ที่จะสามารถขับเคลื่อน เพื่อตอบทิศทางการพัฒนาภาค ซึ่งการเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณภายใต้แผนฯ ภาคนั้น ทุกกระทรวง/หน่วยงานต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามกรอบเวลาและปฏิทินดังกล่าว เป็นสำคัญ
- ที่มาและการดำเนินงานนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของ สพฐ. ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. .... ที่มีวัตถุประสงค์สำคัญ ได้แก่ 1) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษาและการเรียนรู้ 2) ลดความเหลื่อมล้ำทางศึกษา 3) กระจายอำนาจและให้อิสระในการจัดการศึกษาในระดับสถานศึกษา 4) สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาในระดับพื้นที่ร่วมกัน โดยขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติได้ผ่านการอนุมัติในหลักการจากคณะรัฐมนตรีแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา อย่างไรก็ตาม กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาทั้ง 6 ภูมิภาค ได้แก่ สตูล เชียงใหม่ ระยอง กาญจนบุรี ศรีสะเกษ และปัตตานี ช่วงบ่าย เป็นการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อหารือ ระดมความคิดเห็น สร้างการรับรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และขอรับมติ/ข้อเสนอที่ประชุมใน 3 เรื่องหลัก (อ่านสรุปช่วงท้าย)พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลัง รับฟังการนำเสนอผลการประชุมว่า ถือเป็นความภาคภูมิใจร่วมกันที่ทุกท่านและทุกหน่วยงานในพื้นที่ได้ทำความดีให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาในพื้นที่ ซึ่งถือว่ามีคุณค่าอย่างมาก ในระหว่างรับฟังการนำเสนอก็ได้จดประเด็นต่าง ๆ และหารือเกี่ยวกับข้อมูลบางส่วนไปด้วย สำหรับการจัดทำแผนบูรณาการศึกษาระดับภาค 6 ภาค ซึ่งเริ่มต้นในกรอบเวลาของปีงบประมาณ 2561 ที่ผ่านไปแล้ว แต่ก็ได้นำมาทบทวนต่อเนื่อง หากแผนงานโครงการใดที่ไม่ได้ผลก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ ส่วนปีงบประมาณ 2562 ในช่วงปัจจุบันซึ่งมีแผนงานโครงการแล้ว ก็จำเป็นต้องขับเคลื่อนให้เกิด "ผลสัมฤทธิ์/เป็นรูปธรรม/เกิดความยั่งยืน" ส่วนกรอบการทำงานปีงบประมาณ 2563 ก็จะเป็นการวางแผนนำเสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณตามแผนบูรณาการด้านการศึกษาต่อไป ซึ่งเท่ากับการประชุมครั้งนี้ได้สรุปการทำงานในช่วง 3 ปีงบประมาณให้เห็นภาพชัดเจนเข้าใจง่าย คือ "ทบทวนอดีต พัฒนาปัจจุบัน และสร้างสรรค์คุณค่าในอนาคต" พล.อ.สุรเชษฐ์ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ของการวางแผนและการทำงานสู่การปฏิบัติด้วยว่า หากเริ่มต้นการวางแผนที่ดีเท่ากับงานสำเร็จไปแล้วกว่า 35% ที่เหลืออีก 65% อยู่ที่การปฏิบัติที่ดี, หากแผนดี-ปฏิบัติดี ก็ถือว่าการทำงานอยู่ในระดับดีมาก, หากแผนไม่ดี-ปฏิบัติดี ก็ยังคงอยู่ในระดับดี,หากแผนดี-ปฏิบัติไม่ดี อยู่ในระดับพอใช้ แต่ หากแผนไม่ดี-ปฏิบัติไม่ดี เป็นเรื่องที่ต้องฝากให้ไปคิดทบทวนกันเอง สำหรับข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านการศึกษาภาค รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า จะต้องสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564) เพื่อต้องการพัฒนาให้ภาคอีสานเป็น “ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” เช่น บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอ แก้ปัญหาความยากจน สร้างความเข้มแข็งของฐานเศรษฐกิจภายใน รถไฟความเร็วสูง มอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-นครราชสีมา พัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจภาคกลางและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เพื่อพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ ๆ ของภาค ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงกับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน-ระเบียงเศรษฐกิจ เป็นต้น อีกทั้งการบูรณาการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการทำงานเชื่อมโยง กับศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) ซึ่งศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ จ.ร้อยเอ็ด และมีศูนย์ระดับกลุ่มจังหวัดที่อุดรธานี สกลนคร นครราชสีมา และอุบลราชธานี รวมทั้งเชื่อมโยงกับการทำงานของ กศน.ตำบล เพื่อช่วยเหลือประชาชนในเรื่องการมีอาชีพ การมีงานทำ การค้าขายออนไลน์อีกด้วยพล.อ.สุรเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า การวางแผนและขับเคลื่อนการทำงานของกระทรวงศึกษาธิการ ได้น้อมนำพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงรัชกาลที่ 9) มาเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการทำงาน อาทิ พระบรมราโชวาทตอนหนึ่งว่า "งานด้านการศึกษาเป็นงานสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของชาติ เพราะความเจริญและความเสื่อมของชาตินั้น ขึ้นอยู่กับการศึกษาของพลเมืองเป็นข้อใหญ่ ดังนั้น จึงต้องจัดการศึกษาให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น" (ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร 12 ธันวาคม 2512) และพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร (ในหลวงรัชกาลที่ 10) ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาของในหลวงรัชกาลที่ 9 รวมทั้งมีพระบรมราโชบายด้านการศึกษา ที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ การสร้างทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง, การสร้างลักษณะพื้นฐานที่มั่นคง มีคุณธรรม, เรียนแล้วมีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยมาโดยตลอดอย่างต่อเนื่อง "ขอฝากให้ทุกท่านร่วมกันทำงานให้การศึกษาเกิดความเข้มแข็ง "Education Strong" ภายใต้บทบาทหน้าที่ของแต่ละคนแต่ละหน่วยงาน เพื่อนำไปสู่ "ความสำเร็จ ที่เกิดจากความเพียร+ความร่วมมือ+กลไกประชารัฐ" หรืออาจนำหลักคิด "5ร แห่งความสำเร็จ คือ ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รอบด้าน และเรียบร้อย" ไปใช้ในการทำงาน พร้อมทั้งยึดหลักคิดการทำงานให้เกิดความรอบด้านคือ "คิดให้ครบ ทบทวนเป็นห้วงๆ ห่วงการรับรู้ สู่การบูรณาการ สืบสานศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ซึ่งจะส่งผลให้การวางแผนและการทำงานเกิดคุณค่าอย่างมีคุณภาพต่อไป"
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
( คลิ๊ก ) สมัครพัฒนาความรู้
เตรียมสอบติวสอบครูผู้ช่วยกรณีพิเศษ + ทั่วไป
เตรียมติวสอบผู้บริหารสถาน (รอง/ผอ.รร.)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น